ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
BARCODE By Group 3
2
บาร์โค้ด (Barcode) บาร์โค้ด คือ เลขหมายประจำตัวสินค้า ใช้แทนด้วยแท่งบาร์ขาว-ดำ เรียงเข้าด้วยกัน และประกอบด้วยตัวเลข 8-13 หลัก สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ โดยอาศัยหลักของการสะท้อนแสง นิยมใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคแทบทุกชนิด และสินค้าสำเร็จรูปต่าง ๆ
3
บาร์โค้ด (Barcode) ประเทศไทยไทยเริ่มใช้บาร์โค้ดอย่างจริงจังในปี 2536 โดยมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย “Thai Article Numbering Council” หรือ “TANC” เป็นองค์กรตัวแทนของ ”EAN” ภายใต้การดูแลของ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ระบบ EAN ที่ประเทศไทยใช้นั้นจะมีลักษณะเป็นเลขชุด 13 หลัก ดังนี้
4
ระบบ EAN ที่ใช้ในประเทศไทย
หมายเลข 1 สัญลักษณ์แท่งสีเข้มสลับสีอ่อนสำหรับอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์ หมายเลข 2 885 : ตัวเลข 3 หลักแรก คือ รหัสของประเทศไทย หมายเลข 3 0000 : ตัวเลข 4 ตัวถัดมา เป็นรหัสโรงงานที่ผลิตหรือรหัสสมาชิก หมายเลข 4 : 5 ตัวถัดมาเป็นรหัสสินค้า หมายเลข 5 : ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็นตัวเลขตรวจสอบเลข 12 ข้างหน้าว่ากำหนดถูกต้อง หรือไม่ ถ้าตัวสุดท้ายผิด บาร์โค้ดตัวนั้นจะอ่านไม่ออกสื่อความหมายไม่ได้
5
สัญลักษณ์ของรหัสแท่งที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน
บาร์โค้ด (Barcode) สัญลักษณ์ของรหัสแท่งที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน
6
EAN/UPC รูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งประเภทนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อใช้สำหรับการเก็บเงิน (check out) ยูพีซี เป็นรหัสแท่งที่มีความยาวของรหัสแท่งที่แน่นอน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และเป็นมาตรฐาน ที่ถูกกำหนดใช้ในธุรกิจขายปลีกและธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารเท่านั้น
7
EAN-8 เป็นบาร์โค้ดแบบ EAN ที่เหมาะสมหรับผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก ใช้หลักการคล้ายกันกับบาร์โค้ดแบบ EAN-13 แต่จำนวนหลักน้อยกว่า
8
UPC-A (Universal Product Code)
พบมากในธุรกิจค้าปลีกของประเทศสหรัฐอเมริกาและ แคนนาดา รหัสบาร์โค้ดที่ใช้เป็นแบบ 12 หลัก หลักที่ 1 เป็นหลักที่ระบุประเภทสินค้า และตัวที่ 12 เป็นหลักที่แสดงตัวเลขที่ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด
9
Interleaved 2 of 5 เป็นรหัสบาร์โค้ดที่ใช้ในระบบรับ-ส่งสินค้า รหัสบาร์โค้ดแบบนี้เหมาะสำหรับพิมพ์ลงบนกระดาษลูกฟูก มักใช้ในโกดังจัดเก็บสินค้า และอุตสาหกรรมต่างๆ
10
Barcode 2D บาร์โค้ด 2 มิติ หรือ QR Code (Quick Response) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มเติมจากบาร์โค้ด 1 มิติ โดยออกแบบให้บรรจุข้อมูลได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ทำให้บรรจุข้อมูลมากถึง 4,000 ตัวอักษร
11
Barcode Scanner เครื่องอ่านบาร์โค้ด
12
CCD Scanner CCD Scanner (Charge Coupled Device Scanner) จะเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีลักษณะเป็นตัวปืน มีข้อดีในการใช้งานกลางแจ้งบริเวณที่มีแสงสว่างมากๆ แต่ข้อเสียก็คือการยิงบาร์โค้ดด้วยเครื่องอ่านชนิดนี้จำเป็นต้องใช้กับบาร์โค้ดที่มีลักษณะพื้นผิวแบนเรียบเท่านั้น
13
Laser Scanner เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีทั้งแบบพกพาติดตัวและการติดตั้งอยู่กับที่ ในการยิงจะเป็นการฉายแสงเลเซอร์ออกมาเป็นเส้นตรงเส้นเดียว มีขนาดเล็ก และความถี่เดียว แสงเลเซอร์จึงไม่กระจายออกไปนอกพื้นที่ที่ต้องการอ่านข้อมูลทำให้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ดี
14
Omnidirectional Scanner
เป็นเครื่องอ่านแบบเลเซอร์ ลักษณะการทำงานเหมือนกัน แต่มีการฉายแสงเลเซอร์ออกมาลายเส้นหลายทิศทาง มีลักษณะตัดกันไปมาเหมือนใยแมงมุม ซึ่งจะเหมาะกับการอ่านบาร์โค้ดบนสินค้าซึ่งไม่ได้มีการติดตำแหน่งของบาร์โค้ดในจุดเดียวกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน
15
Imager Scanner เป็นเครื่องอ่านที่ใช้หลักการในการจับภาพของตัวบาร์โค้ด เช่น เดียวกันกับกล้องถ่ายรูป และใช้เทคนิคการประมวลผลภาพที่ทันสมัยในการถอดรหัสบาร์โค้ด สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กมากๆได้
16
บาร์โค้ดใช้กับธุรกิจด้านใดบ้าง ?
บาร์โค้ด (Barcode) บาร์โค้ดใช้กับธุรกิจด้านใดบ้าง ?
17
ด้านผู้ผลิต เลขหมายประจำตัวสินค้าก่อให้เกิดวิวัฒนาการด้านบรรจุภัณฑ์ ตามหลักการ "หีบห่อก่อผลกำไรงาม" เลขหมายประจำตัวของผู้ผลิตแต่ละราย จะมีส่วนช่วยบ่งบอกถึงคุณภาพของสินค้าและแหล่งติดต่อของผู้ผลิต โอกาสทางการตลาดของผู้ผลิตจึงเปิดกว้างไปอีกมาก
18
ด้านผู้ค้าส่ง หรือ ผู้นำเข้าในต่างประเทศ มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิต หรือแหล่งผลิตที่จะสามารถจัดหาสินค้าได้สะดวกและกว้างขวางออกไป ตลอดจนมีโอกาสซื้อสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์ด้านระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงาน โดยเฉพาะข้อมูลด้านการขายและสินค้าคงคลัง
19
ด้านการค้าปลีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าปลีกขนาดใหญ่แบบ Supermarket หรือ Mass market ระบบเลขหมายประจำตัวสินค้าและสัญลักษณ์รหัสแท่ง จะช่วยให้การคิดเงินและการเก็บเงินของพนักงานถูกต้องและรวดเร็วมาก จึงสามารถบริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
20
บาร์โค้ดในงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
บาร์โค้ด มีประโยชน์ในโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย สามารถป้อนข้อมูลแต่ละรายการได้ ทำให้กำจัดงานที่สำคัญประจำวัน เพิ่มการผลิต การรับสินค้า การจัดเก็บสินค้า การหยิบสินค้า การจัดส่ง การจ่ายเงิน และการติดตามสินทรัพย์ในองค์กร
21
กรณีศึกษาการใช้งานบาร์โค้ด
บริษัท นิปปอนเพนต์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้พัฒนาการบริหารจัดการคลังสินค้า ด้วยการจัดทำโครงการระบบบาร์โค้ดมาใช้สำหรับงานบริหารคลังสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods Warehouse) ระบบบาร์โค้ดดังกล่าวจะช่วยบริหารจัดเก็บสินค้า นำสินค้าออกจากคลังเก็บสินค้าเพื่อส่งต่อไปยังลูกค้า รวมทั้งการบริหารจัดการภายในคลัง และการตรวจสอบปริมาณสินค้าคงคลัง แบบออนไลน์ และเรียลไทม์
22
วีดิโอเกี่ยวกับบาร์โค้ด
บาร์โค้ด (Barcode) วีดิโอเกี่ยวกับบาร์โค้ด
23
Barcode ทำงานอย่างไร
24
QR Code คืออะไร
25
เทคโนโลยีบาร์โค้ดไม่ต้องติดฉลาก
26
THE END
27
จัดทำโดย กลุ่ม 3 นายธีรพงษ์ ทองคำ เลขที่ 1
นายธีรพงษ์ ทองคำ เลขที่ 1 นางสาวณีรนุช สมศักดิ์ เลขที่ 10 นางสาววรุณพร บั้งเงิน เลขที่ 17 นางสาวสุนิษา สุขี เลขที่ 23 นางสาวหมี่นอ แซ่หมื่อ เลขที่ 25 นางสาวอรวรรณ โตไผ่ เลขที่ 26 ชั้น สบจ.1/2
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.