งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเตรียมการตรวจประเมินตัวชี้วัด 3.4 Best Service

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเตรียมการตรวจประเมินตัวชี้วัด 3.4 Best Service"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเตรียมการตรวจประเมินตัวชี้วัด 3.4 Best Service
การใช้ระบบการส่งต่อมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน ของศูนย์บริการสาธารณสุข ด้วยโปรแกรม MCH Refer โดย คุณชุดาภรณ์ ศิริสนธิ ผู้อำนวยการกองการพยาบาลสาธารณสุข

2 วัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมการตรวจประเมินตัวชี้วัด 3.4 ระดับความสำเร็จของการดำเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service) เพื่อชี้แจงแนวทางปฏิบัติงานตามตัววัดชี้วัดโครงการฯ เพื่อให้ศูนย์บริการสาธารณสุขสามารถใช้งานและติดตามโปรแกรมการส่งต่อมารดาและทารกหลังคลอด MCH Refer เพื่อให้มารดาและทารกหลังคลอดที่ได้รับการส่งต่อ ใน 6 สป.แรกให้ได้รับการดูแลและเยี่ยมตามเกณฑ์

3 การประเมินผลปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2557
ประเด็นการประเมิน พัฒนาการให้บริการ มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กร โครงการให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service) ปีงบประมาณ 2557 ประเมินตามกรอบการประเมินตัวชี้วัด ที่ 3.4 ร้อยละความสำเร็จของ การดำเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service) ลักษณะการให้บริการที่ 4 * มีโปรแกรมประยุกต์ส่วนกลางเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถบันทึก แลกเปลี่ยน เชื่อมโยงและใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกันได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้รับบริการที่จะขอหรือนำเข้าข้อมูล ไปใช้

4 กองการพยาบาลสาธารณสุข
กรุงเทพมหานคร โครงการให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service) สำนักอนามัย กองการพยาบาลสาธารณสุข โครงการ การใช้ระบบการส่งต่อมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน ของศูนย์บริการสาธารณสุข ด้วยโปรแกรม MCH refer สำนักอนามัย มอบหมายให้ กองการพยาบาลสาธารณสุข จัดทำโครงการ การใช้ระบบการส่งต่อมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน ของศูนย์บริการสาธารณสุข ด้วยโปรแกรม MCH refer เพื่อเป็น

5 โครงการ การใช้ระบบการส่งต่อมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน ของศูนย์บริการสาธารณสุข ด้วยโปรแกรม MCH refer
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้มารดาและทารกหลังคลอดได้รับบริการที่สะดวก และรวดเร็ว จากการลดขั้นตอนการส่งต่อมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน 2. เพื่อให้พยาบาลเยี่ยมบ้านสามารถให้บริการได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อให้ศูนย์บริการสาธารณสุขมีโปรแกรมการส่งต่อมารดาและทารกหลังคลอด (MCH Refer) ที่ช่วย ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน 4.เพื่อให้สำนักอนามัยมีฐานข้อมูลการส่งต่อมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน ใน ๖ สัปดาห์แรก สำหรับวางแผนเพื่อพัฒนาระบบบริการ และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ การส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลในเครือข่ายและศูนย์บริการสาธารณสุข

6 เป้าหมายของการดำเนินโครงการ
ศูนย์บริการสาธารณสุขของสำนักอนามัย จำนวน ๖๘ แห่ง มีการใช้โปรแกรมการส่งต่อมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน เพื่อให้มารดาและทารกหลังคลอดที่ได้รับการส่งต่อ ได้รับการดูแลสุขภาพตามเกณฑ์

7 ตัวชี้วัดโครงการ 1.ร้อยละ ๙0 ของศูนย์ส่งต่อเพื่อการดูแลมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้านบันทึกข้อมูลการส่งต่อมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน ใน ๖ สัปดาห์แรก ที่ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน 2.ระยะเวลาเฉลี่ยในการเชื่อมโยง/เรียกใช้ข้อมูลของศูนย์ส่งต่อเพื่อการดูแลมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน ไม่เกิน ๕ นาทีต่อครั้ง 3.จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม MCH Refer ของศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ แห่ง ใน ๓ เดือน ไม่เกิน 5 ครั้ง 4.ร้อยละ ๘๐ ของมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน (๖ สัปดาห์แรก) ที่ส่งต่อในระบบได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้านตามเกณฑ์ 5.ร้อยละ ๑๐๐ ของมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการส่งต่อตามเกณฑ์มาตรฐาน

8 ศูนย์ส่งต่อดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 1 และ2

9 แนวทางปฏิบัติงานตามตัววัดชี้วัดโครงการฯ
1. แนวทางปฏิบัติงานตามตัววัดชี้วัดโครงการฯ ตัวชี้วัด วิธีประเมิน ร้อยละ ๙0 ของศูนย์ส่งต่อเพื่อการดูแลมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้านบันทึกข้อมูลการ ส่งต่อมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน ใน ๖ สัปดาห์แรก ที่ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน ประเมินการบันทึกข้อมูล การส่งต่อมารดาและทารกหลังคลอดใน ๖ สัปดาห์แรก ที่ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน จากโปรแกรม MCH Refer แนวทางปฏิบัติงานตามตัววัดชี้วัดโครงการฯ ศูนย์ส่งต่อฯ ส่งข้อมูล RF 01 ไปให้ศูนย์บริการสาธารณสุขได้ถูกต้องครบถ้วน 2. ศูนย์ส่งต่อส่งข้อมูลเป็นปัจจุบันโดยส่งข้อมูลไม่เกิน 1 วัน หลังจากได้รับ case จาก รพ.

10 ภาพโปรแกรมการส่งใบ RF 01

11 แนวทางปฏิบัติงานตามตัววัดชี้วัดโครงการฯ
2. แนวทางปฏิบัติงานตามตัววัดชี้วัดโครงการฯ ตัวชี้วัด วิธีประเมิน ระยะเวลาเฉลี่ยในการเชื่อมโยง/เรียกใช้ข้อมูลของศูนย์ส่งต่อเพื่อการดูแลมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน ไม่เกิน ๕ นาทีต่อครั้ง ประเมินการระยะเวลาเฉลี่ยในการเชื่อมโยง/เรียกใช้ข้อมูลของศูนย์ส่งต่อเพื่อการดูแลมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน จากโปรแกรม MCH Refer แนวทางปฏิบัติ 1.ศูนย์ส่งต่อฯ ตรวจสอบและดูแลระบบโปรแกรม MCH Refer ทุกวัน 2.แบบฟอร์ม Check list การตรวจสอบใช้งานโปรแกรม MCH Refer

12 ภาพการเข้าหน้าโปรแกรม
ภาพแบบฟอร์มการติดตาม ภาพการตรวจสอบโปรแกรม(ถ่ายรูปจอย)

13 ศูนย์บริการสาธารณสุขดำเนินการ
ตามตัวชี้วัดที่ 3 ,4 และ 5

14 แนวทางปฏิบัติงานตามตัววัดชี้วัดโครงการฯ
3. แนวทางปฏิบัติงานตามตัววัดชี้วัดโครงการฯ ตัวชี้วัด วิธีประเมิน จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม MCH Refer ของศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ แห่ง ใน ๓ เดือน ไม่เกิน 5 ครั้ง ประเมินข้อร้องเรียนการใช้งานโปรแกรม MCH Refer จากแบบฟอร์ม ข้อร้องเรียนที่ส่งไปยังศูนย์บริการสาธารณสุข 68 แห่ง ทุก 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค., เม.ย.-มิ.ย., ก.ค.-ก.ย.) แนวทางปฏิบัติ แบบฟอร์มการรับข้อร้องเรียนการใช้งานโปรแกรม MCH Refer ส่งบันทึกข้อความพร้อมแนบแบบฟอร์มร้องเรียน ทุก 3 เดือน

15 ภาพการเข้าหน้าโปรแกรม
ภาพแบบฟอร์มการติดตาม ภาพการตรวจสอบโปรแกรม(ถ่ายรูปจอย)

16 แนวทางปฏิบัติงานตามตัววัดชี้วัดโครงการฯ
4. แนวทางปฏิบัติงานตามตัววัดชี้วัดโครงการฯ ตัวชี้วัด วิธีประเมิน ร้อยละ ๘๐ ของมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน (๖ สัปดาห์แรก) ที่ส่งต่อในระบบได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้านตามเกณฑ์ ประเมินการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน (๖ สัปดาห์แรก) ตามเกณฑ์(Caseปกติ เยี่ยมภายใน 14 วัน เสี่ยง และป่วย เยี่ยมภายใน 7 วัน) จากรายงานผลการเยี่ยมของศูนย์ส่งต่อฯ แนวทางปฏิบัติ ศูนย์ส่งต่อฯ จะติดตาม หน้าแสดง Case ทุกวัน ถ้ามีสีเหลือง ถึง สีแดง จะแจ้งให้ศูนย์บริการสาธารณสุข 68 แห่ง ทราบ รายงานทะเบียน มารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด ถึง 6 สัปดาห์ ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย

17 ภาพการแสดงCase ภาพรายงานทะเบียน

18 แนวทางปฏิบัติงานตามตัววัดชี้วัดโครงการฯ
5. แนวทางปฏิบัติงานตามตัววัดชี้วัดโครงการฯ ตัวชี้วัด วิธีประเมิน ร้อยละ ๑๐๐ ของมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการส่งต่อตามเกณฑ์มาตรฐาน ประเมินการส่งต่อมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อน จากรายงานการส่งต่อของศูนย์บริการ-สาธารณสุข แนวทางปฏิบัติ การส่งต่อมารดาหลังคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน (เอกสารแนบ) 2. แบบฟอร์มการส่งต่อมารดาหลังคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน

19 ภาพแบบฟอร์มส่งต่อภาวะแทรกซ้อน

20 เกณฑ์การส่งต่อภาวะแทรกซ้อน
การส่งต่อมารดาหลังคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน หมายถึง โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ หรือนอกสังกัดสำนักการแพทย์ หรือโรงพยาบาลอื่นๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่งข้อมูลหญิงหลังคลอดภายใน 6 สัปดาห์แรก ที่มีภาวะสุขภาพเสี่ยง และป่วยมาที่ศูนย์ส่งต่อเพื่อการดูแลมารดาและทารกหลังคลอดที่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ที่กองการพยาบาลสาธารณสุข ศูนย์ส่งต่อฯ ส่งข้อมูลให้ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ภายใน ๑ วัน เพื่อดำเนินการเยี่ยมตามเกณฑ์ (ภายใน 7 วัน) จากพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในชุมชน หากพบภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด ให้ดำเนินการส่งต่อทุกราย

21 - การอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometritis)
เกณฑ์การส่งต่อภาวะแทรกซ้อน 1. ตกเลือดหลังคลอด ๒. การติดเชื้อหลังคลอด - ติดเชื้อแผลฝีเย็บ - การอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometritis) - เต้านมอักเสบ (Mastitis) - ติดเชื้อแผลผ่าตัดที่หน้าท้องจากการผ่าตัดคลอด 3. หลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน (Deep vein thrombosis) 4. ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)

22 *** การพิจารณาความเร่งด่วนในการส่งต่อมารดาหลังคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน พิจารณาจากอาการแสดงของมารดาว่ามีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งไม่มีเกณฑ์ตัดสินที่ตายตัว เนื่องจากต้องอาศัยการประเมินอาการและอาการแสดงในวันที่พบผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นแบบ urgency คือเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ไม่ควรเกิน 24 ชม. แต่หากภาวะแทรกซ้อนขณะที่พบมีความรุนแรงมากซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความรุนแรงถึงชีวิตควรพิจารณาส่งแบบ Emergency ผู้ป่วยฉุกเฉินมาก (Emergent) ภาวะแทรกซ้อนขณะที่พบมีความรุนแรงมากซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความรุนแรงถึงชีวิต ผู้ป่วยฉุกเฉิน (Urgent) เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ไม่ควรเกิน 24 ชม.

23 สรุป ศูนย์บริการสาธารณสุข ดำเนินการตรวจสอบการส่งข้อมูลมารดาหลังคลอด (RF 01) จากโปรแกรม MCH Refer ทุกวันเพื่อดูการส่ง Case มารดาหลังคลอดฯ และดำเนินการเยี่ยม ตามเกณฑ์ (ถ้าเป็นสีเหลืองให้รีบดำเนินการเยี่ยมทันที ) ถ้าเป็น Case ที่มีภาวะสุขภาพ เสี่ยงและป่วย แล้วพบภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดให้ดำเนินการส่งต่อทุกรายและบันทึกในแบบฟอร์มการส่งต่อมารดาหลังคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนทุกราย 3. ลงบันทึกผลการเยี่ยมมารดาและทารกหลังคลอด ฯ (HV 03.1 และ HV04.1) ในโปรแกรม MCH Refer ควบคุม กำกับและติดตามการลงบันทึกข้อมูล HV03.1 และ HV04.1 ให้เป็นปัจจุบัน

24 Q&A

25 Thank you


ดาวน์โหลด ppt การเตรียมการตรวจประเมินตัวชี้วัด 3.4 Best Service

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google