ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ความหมาย และ คำจำกัดความของคำว่า “ รัฐประศาสนศาสตร์ “
2
รัฐประศาสนศาสตร์ : ความหมาย
Nicholas Henry “วิชารัฐประศาสนศาสตร์มีเอกลักษณ์ เพราะมีความแตกต่างจากวิชารัฐศาสตร์ในแง่ที่ว่าเป็นวิชาที่ให้ความสนใจต่อการศึกษาโครงสร้างและพฤติกรรมของระบบราชการ รวมทั้งเป็นศาสตร์ที่มีระเบียบวิธีการศึกษาเป็นของตนเอง วิชารัฐประศาสนศาสตร์ยังแตกต่างจากศาสตร์การบริหารทั่วไปในแง่ที่ว่าเป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องขององค์การของรัฐ ซึ่งมิได้มุ่งแสวงหากำไรดังเช่นองค์การเอกชน และเป็นวิชาที่สนับสนุนให้องค์การของรัฐมีโครงสร้างกลไกการตัดสินใจและพฤติกรรมของข้าราชการที่เกื้อกูลการให้บริการสาธารณะ”
3
รัฐประศาสนศาสตร์ : ความหมาย
James W. Fesler การกำหนดและปฏิบัติตามนโยบายของระบบราชการ วิชารัฐประศาสนซึ่งตัวระบบนั้นมีขนาดใหญ่โต และมีลักษณะของความเป็นสาธารณะ” เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึง - ความพยายามร่วมกันของกลุ่มคนในทางสาธารณะ - กิจกรรมของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ - เรื่องการกำหนดนโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนโยบาย - ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดของการบริหารงานของรัฐและเอกชน - บทบาทของเอกชนและบุคคลหลายฝ่าย ที่มีต่อการให้บริการแก่ชุมชน Felix A. Nigro & Lloyd G. Nigro
4
รัฐประศาสนศาสตร์ : ความหมาย
Thomas Vocino and Jack Rabin เป็นการประยุกต์ทฤษฎี และวิธีการปฏิบัติ ในเรื่องด้านที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร องค์การ การตัดสินใจ บุคลากร การแก้ปัญหาสาธารณะ George J. Gordon & Michael E. Milakovich เป็นกระบวนการต่าง ๆ องค์การ บุคคลที่อยู่ในระบบราชการ และเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามกฎหมาย และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ถูกออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ
5
รัฐประศาสนศาสตร์ : ความหมาย
George J. Gordon “รัฐประศาสนศาสตร์ หมายถึง กระบวนการ องค์การ และบุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งทางราชการทั้งหลายและมีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดและนำเอากฎหมาย ระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ซึ่งออกโดยฝ่าย นิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ไปปฏิบัติ”
6
รัฐประศาสนศาสตร์ : ความหมาย
ปฐม มณีโรจน์ public administration - กิจกรรมการบริหารงานสาธารณะ ทั้งที่เป็นราชการและรัฐวิสาหกิจ - เป็น สาขาวิชาการบริหาร(วิชา) ที่รู้จักกันในชื่อ “ รัฐประศาสนศาสตร์” ติน ปรัชญาพฤทธิ์ รัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) - เป็นสาขาของวิชาการบริหารงานของรัฐ(ภาครัฐ) การบริหารรัฐกิจ (public administration) - เน้นการเป็นกิจกรรม หรือ กระบวนการ ในการบริหารงานของภาครัฐ(หน่วยงานของรัฐ)
7
รัฐประศาสนศาสตร์ : ความหมาย
วานิต ทรงประทุม รัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) - การศึกษาการบริหารงานราชการ และ การกิจกรรมด้านการบริหารของราชการ อุทัย เลาวิเชียร รัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) - มีความเป็นวิชา อันเป็นวิชาที่ศึกษาการบริหารรัฐกิจ การบริหารรัฐกิจ (public administration) - เน้นการเป็นกิจกรรม(Activity)
8
สร้อยตระกูล อรรถมานะ รัฐประศาสนศาสตร์ : ความหมาย
รัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) - เป็นการบริหารงานสาธารณะ ใน ฐานะสาขาวิชา - เป็นการบริหารงานสาธารณะที่ เน้นการเป็นกระบวนการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานสาธารณะ การบริหารรัฐกิจ (public administration)
9
รัฐประศาสนศาสตร์ : ความหมาย
ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา รัฐประศาสนศาสตร์ หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานสาธารณะ ซึ่งรวมไปถึงการบริหารงานราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ด้วย รัฐประศาสนศาสตร์ หมายถึง สาขาวิชาการแขนงหนึ่ง ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการบริหารงานของรัฐ
10
สรุป รัฐประศาสนศาสตร์ : ความหมาย
รัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) - มีความหมายในเชิงวิชาการ ในฐานะวิชาที่ศึกษาการบริหารงานของภาครัฐ การบริหารรัฐกิจ (public administration) - เป็นการบริหารงาน หรือ การดำเนินงาน กิจกรรมต่าง ๆ ของ ภาครัฐ
11
รัฐประศาสนศาสตร์ และ บริหารรัฐกิจ
รัฐประศาสนศาสตร์ และ บริหารรัฐกิจ “ รัฐประศาสนศาสตร์” (Public Administration) รัฐประศาสนศาสตร์ คือ การศึกษาการทำงาน การบริหารงานของรัฐ มีความหมายเป็นลักษณะวิชาซึ่งจะไม่เรียกว่าบริหารรัฐกิจ “ บริหารรัฐกิจ “ (public administration) บริหารรัฐกิจ คือ การศึกษาการบริหารราชการซึ่งหมายถึงกิจกรรม (Activity)ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานในภาครัฐทั้งหมด (อุทัย เลาหวิเชียร, 2533:10)
12
รัฐประศาสนศาสตร์ และ บริหารรัฐกิจ
รัฐประศาสนศาสตร์ และ บริหารรัฐกิจ “ รัฐประศาสนศาสตร์” (Public Administration) เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ “ บริหารรัฐกิจ “ (public administration) เป็นกระบวนการในการบริหารกิจกรรมต่างๆ ของรัฐ เพื่อให้สาธารณกิจต่างๆ ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐ
13
รัฐประศาสนศาสตร์ บริหารรัฐกิจ และ สาธารณกิจ
รัฐประศาสนศาสตร์ บริหารรัฐกิจ และ สาธารณกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ บริหารรัฐกิจ (public administration) เป็นกระบวนการในการบริหารกิจกรรมต่างๆ ของรัฐ เพื่อให้สาธารณกิจต่างๆ ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐ สาธารณกิจ หรือ ภารกิจสาธารณะ (Public Affairs) เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกับชุมชน ถูกกำหนดขึ้นและนำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.