องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

2 ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการ
พ.ศ.2476 : - มีการจัดตั้งสภาจังหวัดขึ้น ตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476 - เป็นองค์การแทนประชาชน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือและคำแนะนำแก่คณะกรรมการจังหวัด - เป็นส่วนหนึ่งของราชการส่วนภูมิภาค พ.ศ.2481 : - ตรา พ.ร.บ.สภาจังหวัด พ.ศ.2481 ขึ้น - ยังคงทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของคณะกรรมการจังหวัด

3 ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการ
พ.ศ.2495 : - ประกาศใช้ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 - ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบบริหารราชการในจังหวัด แทนคณะกรรมการจังหวัดเดิม - สภาจังหวัดจึงมีฐานะเป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด พ.ศ.2498 : - ตรา พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 - อบจ. มีฐานะเป็นนิติบุคคล ทำหน้าที่จัดบริการสาธารณะให้กับประชาชน

4 ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการ
- รับผิดชอบดูแลพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเทศบาล และนอกเขตสุขาภิบาลในจังหวัด พ.ศ.2540 : - ใช้ พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 - แยกข้าราชการส่วนภูมิภาคออกจากการบริหารงานของ อบจ. - รับผิดชอบดูแลพื้นที่ทั้งจังหวัด

5 โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม พ. ร. บ
โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 ฝ่ายบริหาร : ประกอบด้วยข้าราชการที่มาจากส่วนภูมิภาค ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอหรือปลัดอำเภอ สภาจังหวัด : มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จำนวน ส.จ. ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในพื้นที่ ดังนี้

6 โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม พ. ร. บ
โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 - ประชากรไม่เกิน 200,000 คน มี ส.จ.ได้ 18 คน - ประชากร 200, ,000 คน มี ส.จ.ได้ 24 คน - ประชากร 500,001-1,000,000 คน มี ส.จ.ได้ 30 คน - ประชากร 1,000,001 คนขึ้นไป มี ส.จ.ได้ 36 คน

7 โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม พ. ร. บ
โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยใช้เกณฑ์จำนวนประชากร ดังนี้ - ประชากรไม่เกิน 500,000 คน มี ส.อบจ. ได้ 24 คน - ประชากร 500,001 – 1,000,000 คน มี ส.อบจ.ได้ 30 คน - ประชากร 1,000,001 – 1,500,000 คน มี ส.อบจ.ได้ 36 คน - ประชากร 1,500,001 – 2,000,000 คน มี ส.อบจ.ได้ 42 คน - ประชากร 2,000,001 คนขึ้นไป มี ส.อบจ.ได้ 48 คน

8 โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม พ. ร. บ
โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส.อบจ. เลือก ส.อบจ.ด้วยกันขึ้นเป็นนายก อบจ. และนายก อบจ. สามารถแต่งตั้งรองนายก อบจ. จาก ส.อบจ. ดังนี้ - กรณี ส.อบจ. 48 คน ให้มี รองนายก อบจ. 4 คน - กรณี ส.อบจ. 42 หรือ 36 คน ให้มีรองนายก อบจ. 3 คน - กรณี ส.อบจ. 30 หรือ 24 คน ให้มีรองนายก อบจ. 2 คน ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

9 โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม พ. ร. บ
โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 สภาอบจ. สมาชิกสภา อบจ. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ประชากรไม่เกิน 5 แสน มี ส.อบจ. ได้ 24 คน ประชากรเกิน 5 แสน แต่ไม่เกิน 1 ล้าน มี ส.อบจ. ได้ 30 คน ประชากรเกิน 1 ล้าน แต่ไม่เกิน 1.5 ล้าน มี ส.อบจ. ได้ 36 คน ประชากรเกิน 1.5 ล้าน แต่ไม่เกิน 2 ล้าน มี ส.อบจ. ได้ 42 คน ประชากรเกิน 2 ล้าน มี ส.อบจ. ได้ 48 คน นายก อบจ. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของ ประชาชน นายก อบจ. อาจแต่งตั้งบุคคล ประกอบด้วย 1.รองนายก อบจ. กรณีมี ส.อบจ. 48 คน แต่งตั้งได้ 4 คน กรณีมี ส.อบจ. 36 หรือ 42 คน แต่งตั้งได้ 3 คน กรณีมี ส.อบจ. 24 หรือ 30 คน แต่งตั้งได้ 2 คน 2.เลขานุการและที่ปรึกษานายก อบจ. แต่งตั้ง รวมกันได้ไม่ เกิน 5 คน ประธานสภา อบจ. 1 คน รองประธานสภา อบจ. 2 คน ข้าราชการและลูกจ้าง อบจ. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต อบจ. เป็นผู้เลือกตั้งทั้งนายก อบจ. และ ส.อบจ. โดยบัตรเลือกตั้งมี 2 ใบ ใบหนึ่งเลือกนายก อบจ. ได้ 1 เบอร์และอีกใบหนึ่งเลือก ส.อบจ. ได้1 เบอร์

10 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ที่มา : มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี เขตเลือกตั้ง : เขตจังหวัด คุณสมบัติของผู้สมัคร : 1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ 2. จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาท้องถิ่นผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา (ส.ส. หรือ ส.ว.)

11 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
3. ไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่ง เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญา หรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ถึง 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง 4. สัญชาติไทย 5. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตจังหวัดไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน

12 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
คุณสมบัติต้องห้าม : 1. ติดยาเสพติด 2. เป็นบุคคลล้มละลาย 3. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 4. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช 5. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 6. ต้องคำพิพากษาให้จำคุก 7. ได้รับโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป และพ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปี

13 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
8. ต้องคำพิพากษาว่ากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ยังไม่ถึง 5 ปี 9. เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ 10. เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน 11. เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง 12. อยู่ในระหว่างเสียสิทธิ 13. เคยถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมายังไม่ถึง 1 ปี

14 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
14. เป็น ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นอยู่ 15. เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นของ อปท.เดียวกันหรืออปท.อื่นอยู่ 16. เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินประจำ 17. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น 18. เป็นกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กรรมการ ป.ป.ช. กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

15 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ทีมบริหารของนายก อบจ. : 1. รองนายก อบจ. - อบจ.ที่มี ส.อบจ. 48 คน สามารถแต่งตั้งรองนายกได้ไม่เกิน 4 คน - อบจ.ที่มี ส.อบจ. 36 คน หรือ 42 คน สามารถแต่งตั้งรองนายกได้ไม่เกิน 3 คน - อบจ.ที่มี ส.อบจ. 24 คน หรือ 30 คน สามารถแต่งตั้งรองนายกได้ไม่เกิน 2 คน

16 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
2. เลขานุการและที่ปรึกษานายก อบจ. นายก อบจ. สามารถแต่งตั้งบุคคลซึ่งไม่ได้เป็น ส.อบจ. ให้เป็นเลขานุการ และที่ปรึกษา รวมกันได้ไม่เกิน 5 คน

17 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
อำนาจหน้าที่นายก อบจ. : 1. ก่อนเข้ารับตำแหน่งต้องแถลงนโยบายต่อสภา อบจ. และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภา อบจ.ทุกปี 2. มีอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา 35/5 - กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย - สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของ อบจ. - แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก เลขานุการนายก และที่ปรึกษานายก อบจ.

18 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
- วางระเบียบเพื่อให้งานของ อบจ.เป็นไปด้วยความเรียบร้อย - รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ อบจ. - ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น 3. ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบจ. 4. มีสิทธิเข้าประชุมสภา อบจ. 5. ในกรณีฉุกเฉินสามารถเรียกประชุม สภา อบจ.ได้ 6. กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธาน รองประธาน หรือ ส.อบจ.ถูกยุบ อาจดำเนินการไปก่อนได้ 7. อาจถูก รมว.มหาดไทย สั่งให้พ้นจากตำแหน่งได้

19 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
การพ้นจากตำแหน่งของนายก อบจ. : 1. ถึงคราวออกตามวาระ 2. ตาย 3. ลาออก 4. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม 5. กระทำการฝ่าฝืน 6. รมว.มหาดไทยสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง

20 สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
จำนวน ส.อบจ. : ขึ้นอยู่กับจำนวนประชาชนในแต่ละจังหวัด โดย - ประชาชนไม่เกิน 500,000 คน มี ส.อบจ. ได้ 24 คน - ประชาชน 500,001-1,000,000 คน มี ส.อบจ. ได้ 30 คน - ประชาชน 1,000,001-1,500,000 คน มี ส.อบจ. ได้ 36 คน - ประชาชน 1,500,001-2,000,000 คน มี ส.อบจ. ได้ 42 คน - ประชาชน 2,000,001 คนขึ้นไป มี ส.อบจ. ได้ 48 คน เขตเลือกตั้งส.อบจ. : เขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง

21 สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
คุณสมบัติของ ส.อบจ. : 1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ 2. ไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่ง เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญา หรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ถึง 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง 3. สัญชาติไทย 4. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตจังหวัดไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน

22 สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
คุณสมบัติต้องห้าม : เหมือนคุณสมบัติต้องห้ามไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ. อำนาจหน้าที่ของ ส.อบจ. 1. เลือกประธาน และรองประธานสภา อบจ. 2. เลือกกรรมการสามัญและกรรมการวิสามัญ 3. รับทราบนโยบายและรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายจาก นายก อบจ. 4. อนุมัติร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนา 3 ปีของ อบจ. 5. ให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ อบจ. ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

23 สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
6. ตั้งกระทู้ถามนายก หรือรองนายก อบจ. 7. เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป 8. เสนอข้อสอบถามให้ผู้ว่าฯ ชี้แจงเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนภูมิภาค 9. การปรึกษาในเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ อบจ.เท่านั้น สมัยประชุมของสภา อบจ. : ใน 1 ปี มีสมัยประชุมสามัญ 2 สมัย สมัยละ 45 วัน

24 สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสภา อบจ. : 1. ถึงคราวออก หรือมีการยุบสภา 2. ตาย 3. ลาออก 4. ขาดประชุมสภา 3 ครั้ง ติดต่อกัน 5. เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่ อบจ.เป็นคู่สัญญา

25 สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
6. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม 7. สภา อบจ.มีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยสมาชิกไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 เข้าชื่อเสนอ และสภามีมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ให้พ้นจากตำแหน่ง 8. ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต อบจ. ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เห็นว่าไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไป

26 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2546 : 1. อำนาจภายในเขต อบจ. - ตราข้อบัญญัติ - จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด - สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น - ประสานและให้ความร่วมมือสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น - แบ่งสรรเงินให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น - อำนาจหน้าที่ของจังหวัดในเขตสภาตำบล

27 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
- บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น - จัดทำกิจการที่เป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขต อบจ. - จัดทำกิจการตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ อบจ. 2. การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน 3. อบจ. อาจจัดทำกิจการที่เป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นหรืออยู่นอกจังหวัดได้ หากได้รับความยินยอม

28 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
4. ถ้า อบจ. ไม่ทำกิจการตามอำนาจหน้าที่ รมว.มหาดไทย อาจให้ส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคจัดทำกิจการนั้นได้ 5. อบจ.อาจให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นได้ 6. อบจ.อาจให้เอกชนทำกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ แทนได้ 7. อบจ.สามารถดำเนินกิจการพาณิชย์ได้

29 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 : 1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นและประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด 2. สนับสนุน อปท.อื่นในการพัฒนาท้องถิ่น 3. ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของ อปท.อื่น 4. การแบ่งสรรเงินให้ อปท.อื่น 5. คุ้มครอง ดูแล บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. จัดการศึกษา

30 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
7. ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพของประชาชน 8. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร 9. ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม 10. จัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม 11. กำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม 12. จัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ 13. จัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ 14. ส่งเสริมการท่องเที่ยว

31 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
15. การพาณิชย์ ส่งเสริมการลงทุน สหการ 16. สร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อต่อระหว่าง อปท.อื่น 17. จัดตั้งและดูแลตลาดกลาง 18. ส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 19. จัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด รักษาพยาบาล ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ 20. จัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ 21. การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร 22. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

32 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
23. การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด 24. จัดทำกิจการในเขต อบจ. 25. สนับสนุน ช่วยเหลือ ส่วนราชการ หรือ อปท.อื่นในการพัฒนาท้องถิ่น 26. ให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ อปท.อื่น 27. สังคมสงเคราะห์ และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 28. จัดทำกิจการที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ อบจ. 29. ทำกิจการที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น

33 สรุป ดำเนินงานโครงการที่มีขนาดใหญ่ เกินศักยภาพ อปท.ในจังหวัด
ดำเนินงานในกิจกรรมที่เป็นภาพรวมของ อปท.ในเขตจังหวัด ดำเนินงานตามโครงการที่มีลักษณะคาบเกี่ยวต่อเนื่อง หรือมีผู้ ได้รับประโยชน์ใน อปท. มากกว่า 1 แห่ง

34 การบริหารงานบุคคล คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ก.จ.) คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ก.จ.จ.)

35 รายได้และรายจ่าย รายได้ที่ อบจ.จัดเก็บเอง : 1. ภาษีน้ำมัน
1. ภาษีน้ำมัน 2. ภาษีบุหรี่ 3. ค่าธรรมเนียมผู้เข้าพักในโรงแรม 4. ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ 5. รายได้จากทรัพย์สิน สาธารณูปโภค และการพาณิชย์ของ อบจ. 6. เงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ ฯลฯ

36 รายได้และรายจ่าย รายได้ที่รัฐจัดสรรมาให้ :
1. ภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ 2. เงินอุดหนุน ฯลฯ รายจ่าย : 1. รายจ่ายประจำ ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง เงินตอบแทนอื่นๆ ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ฯลฯ 2. รายจ่ายเพื่อการลงทุน ได้แก่ ค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง

37 การกำกับดูแล การกำกับดูแลการกระทำ : - การตั้งกระทู้ถาม
- การให้ความเห็นชอบ - การอนุมัติให้ใช้ข้อบัญญัติชั่วคราว ฯลฯ การกำกับดูแลองค์กรและบุคคล : - การกำกับดูแลภายใน อบจ. - การกำกับดูแลโดยองค์กรภายนอก อบจ.


ดาวน์โหลด ppt องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google