ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การผิดนัด
2
ลูกหนี้ผิดนัด กรณีที่ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ต้องเตือนก่อน
ได้แก่ หนี้ในลักษณะดังต่อไปนี้ กรณีที่หนี้นั้นไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ หรือ กรณีที่หนี้ถึงกำหนดชำระหนี้อาจอนุมานเอาได้จากพฤติการณ์ทั้งปวง หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระนั้น ถ้ากำหนดเวลานั้นไม่ใช่กำหนดเวลาตามวันปฏิทิน เจ้าหนี้ต้องเตือนก่อนลูกหนี้จึงจะผิดนัด แต่ถ้ากำหนดเวลาไว้ตามวันปฏิทินลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยไม่ต้องเตือน หนี้ดังกล่าวเจ้าหนี้ย่อมเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลันและฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 203 วรรคหนึ่ง ดั้งนั้นในทั้งสองกรณีดังกล่าว นี้กำหนดเวลาชำระหนี้ไม่ชัดเจนแน่นอนเหมือนดังเช่น กรณีที่หนีนั้นได้ กำหนดเวลาชำระหนี้กันไว้ตามวันแห่งปฏิทิน การที่ลูกหนี้จะตกเป็นผู้ผิดนัดอันทำให้เกิดความรับผิดเพิ่มขึ้น จึงควรให้ลูกหนี้มี โอกาสรู้ตัวล่วงหน้า ดังนั้นในกรณีนี้จึงต้องเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน หากเจ้าหนี้เตือนแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด มาตรา ๒๐๔ วรรค ๑ “ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว”
3
ข้อสังเกต การเตือนของเจ้าหนี้ ทำได้ด้วยการแสดงเจตนาไปยังลูกหนี้ว่าต้องการให้ชำระหนี้แล้ว อาจทำเป็นหนังสือ ด้วยวาจา หรือทางโทรศัพท์ ก็ได้ และต้องให้เวลาอันสมควรที่จะให้ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วย จึงจะเป็นการ เตือนโดยชอบ การเตือนเป็นการกระทำเพื่อให้ลูกหนี้ ตกเป็นผู้ผิดนัด ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ในการฟ้องคดีเพราะถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ยื่นฟ้องลูกหนี้ให้ชำระหนี้ได้โดยทันทีไม่ต้องบอกกล่าวหรือเตือนก่อน (ฎีกาที่ 2103/2535) ฎีกาที่ 2103/2535 สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ผู้ให้กู้ย่อมจะเรียกให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้ได้โดยพลัน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 วรรคแรก และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระหนี้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวตามประมวล กฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 652 ก่อนก็ได้ อย่างไรก็ตามการที่เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ ให้ชำระหนี้ก็เท่ากับเป็นการเตือน ลูกหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง (ฎีกาที่ 627/2532) ฎีกาที่627/2532 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าระวางพาหนะ ไม้อัดที่โจทก์ขนส่งให้จำเลย จำเลยรับว่าได้ค้างชำระค่าระวางพาหนะ ดังกล่าว เพราะโจทก์ไม่ส่งใบเสร็จรับเงินไปเรียกเก็บจากจำเลย ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ขนส่งไม้อัดให้จำเลยแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระค่า ระวางพาหนะ ให้โจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องทวงถาม เมื่อโจทก์ฟ้องคดีอันเป็นการเรียกให้ชำระหนี้แล้ว จำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยนับ แต่วันฟ้อง
4
ฎีกาที่ 2740/2532 โจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ตกลงกันว่า จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ เมื่อรับเงินค่างวดจากการรถไฟแห่ง ประเทศไทยตามจำนวนที่ตกลงกันไว้โดยทันที ถือว่ามิใช่กรณีที่มีการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยที่ 1 จะตก เป็นผู้ผิดนัดก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ให้คำเตือนแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ให้คำเตือนจำเลยที่ 1 หลังจากจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจากการ รถไฟแห่งประเทศไทยแต่ละงวด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว ฎีกาที่ 599/2535 จำเลยยืมปุ๋ยและของอื่นไปจากโจทก์เพื่อใช้ในการทำใบยาสูบจำเลยจะทำใบยาสูบ เองหรือไม่ไม่ใช่ข้อสำคัญ แม้ สัญญายืมสิ่งของดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดเวลาคืนสิ่งของไว้แต่ตามพฤติการณ์ การให้ยืมสิ่งของดังกล่าวเพื่อใช้ในฤดูกาลทำใบ ยาสูบ เมื่อสิ้นฤดูกาลแล้วก็ต้องส่งคืนหากใช้ไม่หมด ส่วนที่ใช้ไปแล้วไม่อาจส่งคืนได้ ก็ต้องใช้ราคา ดังนี้ เป็นกรณีที่ไม่ได้ กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เป็นเพียงอนุมานจากพฤติการณ์ การที่จำเลยไม่ส่งคืนของที่ยืมเมื่อสิ้นระยะเวลาที่ อนุมานจากพฤติการณ์ได้ นั้น ก็ยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด แต่ต่อมาเมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยคืนของที่ยืมภายในวันที่ กำหนด จำเลยไม่คืน จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันถัดจากวันที่กำหนดนั้น
5
กรณีที่ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือนก่อน
ได้แก่ หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน เช่น ให้ชำระส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายวันที่ 30 กันยายน 2559 หรือ ให้ชำระราคาภายใน 30 วันนับแต่วันที่ส่งมอบสินค้า (ฎีกาที่ 3359/2526,ฎีกาที่ 808/2533,105/2536) หนี้ที่มีข้อตกลงให้บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งระยะเวลาบอกกล่าวที่ได้กำหนดไว้นั้นสามารถ คำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว กรณีนี้เป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาตามปฏิทินโดยตรง แต่ตกลงกันให้เวลาชำระหนี้คำนวณตามปีปฏิทินนับจากวันบอกกล่าว จะ บอกกล่าวด้วยวิธีใดก็ได้ เช่น ตกลงกันว่าจะให้เวลาชำระหนี้ภายใน 15 วันนับแต่วันบอกกล่าว ดังนี้ เมื่อเจ้าหนี้บอกกล่าวไปถึงลูกหนี้แล้วนับจากนั้นไป 15 วัน ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ก็ตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีโดยไม่ต้องเตือน เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้นั้นแล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้อยู่อีก ลูกหนี้ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือนเลย เพราะ ถือว่าลูกหนี้ย่อมรู้แล้วว่าถึงเวลาที่ตนจะต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ มาตรา ๒๐๔ วรรค ๒ “ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตาม กำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย”
6
ข้อสังเกต กรณีที่มีการกำหนดเวลาไว้ตามวันปฏิทิน แต่พอถึงเวลานั้นกลับมีการผ่อนผันให้มีการปฏิบัติการชำระหนี้ช้า โดยเจ้าหนี้ ก็ยอมรับมาเรื่อยๆ เท่ากับไม่สนใจที่จะถือเอากำหนดเวลาเป็นสำคัญ จึงกลายเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาตามปฏิทินไป กรณีนี้ ลูกหนี้จะตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อเจ้าหนี้ต้องเตือนก่อน (ฎีกา2264/2528) ฎีกา2264/2528 สัญญาจะซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินกำหนดชำระเงินไว้เป็นงวด ๆ ผู้จะซื้อได้ชำระเงินให้ผู้จะขายแล้ว บางส่วน แม้จะไม่ ครบถ้วนและไม่ตรงตามกำหนดเวลาตามสัญญาแต่ผู้จะขายก็รับเงินและออกใบเสร็จรับ เงินให้ ถือได้ว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย มิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาการชำระเงินและจำนวนเงินที่ ชำระกันตามสัญญาเป็นสาระสำคัญผู้ จะซื้อจึงยังมิใช่ผู้ผิดสัญญา
7
กรณีที่หนี้มีกำหนดเวลาชำระหนี้เป็นคราวๆ (เป็นงวดๆ) ตามวันปฏิทิน ถ้าผิดนัดงวดใดงวดหนึ่ง ก็ถือว่าผิดนัดทุกงวด ไม่ว่าจะมีข้อตกลงกันเช่นนั้นหรือไม่ (ฎีกาที่ 521/2510,3027/2528) ฎีกาที่ 521/2510 จำเลยทำสัญญายอมความชำระหนี้จำนองจำนวนหนึ่ง โดยมีข้อตกลงกำหนดและเวลาชำระหนี้ ว่า จะต้องชำระภายในวันที่ 1 ของทุก ๆ เดือน เดือนละ 1,000 บาท แต่ไม่มีข้อความว่าถ้าผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดสัญญายอมการที่จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้เป็นงวดๆ นี้ หาได้แยกหนี้ ออกเป็นรายๆ ต่างรายกันไม่เหตุนี้เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ แม้แต่งวดหนึ่งงวดใดก็ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดชำระ หนี้จำนองรายนั้นทั้งหมด หาใช่ผิดนัดแต่เฉพาะงวดไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2510) ฎีกาที่ 3027/2528 จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นงวด แม้ไม่ได้ระบุว่าผิดนัดงวด ใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมดโจทก์ฟ้องบังคับ ให้ชำระหนี้ได้ก็ตามแต่เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามเวลาที่ ตกลงกัน ไว้แม้แต่งวดหนึ่งงวดใด ก็ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญายอมทั้งหมด หาใช่ผิดนัดแต่เฉพาะงวดไม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้ จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดได้
8
เหตุที่ไม่ทำให้ลูกหนี้ผิดนัด
อย่างไรก็ตามการที่ลูกหนี้จะตกเป็นผู้ผิดนัด ลูกหนี้ต้องเป็นผู้ผิดในการไม่ชำระหนี้ ดังที่มาตรา 205 ได้บัญญัติไว้ มาตรา ๒๐๕ “ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้อง รับผิดชอบ ตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่” กรณีที่ลูกหนี้ชำระหนี้ล่าช้า แต่มีพฤติการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ย่อมจะถือว่าเป็นความผิดของลูกหนี้ไมได้ จึงไม่ถือ ว่าลูกหนี้ตกในฐานะเป็นผู้ผิดนัดตามมาตรา 205 พฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ อาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากหนี้ถึงกำหนดก็ได้ แต่ต้องเกิดก่อนผิดนัด เพราะถ้าเกิดหลัง ผิดนัดแล้ว ไม่ทำให้กลายเป็นผู้ไม่ผิดนัดไปได้ เหตุดังต่อไปนี้ เป็นเหตุที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ได้เพราะเหตุสุดวิสัย เพราะการกระทำของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ หรือ เป็นเพราะความผิดของเจ้าหนี้เอง
9
ฎีกาที่ 1768/2549 การที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ทั้งที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดแล้ว เกิดจากจำเลยที่ 1 ถูก กระทรวงการคลังสั่งระงับการดำเนินกิจการ อันเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระหนี้เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่ ฎีกาที่ 3930/2541 จำเลยนำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับถือว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว โจทก์จะ ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้หาได้ไม่ กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลย ตกเป็นผู้ผิดนัด ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขับไล่ และเรียก ค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิ โดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
10
ฎีกาที่ 2669/2532 จำเลยทั้งสองไม่นำเงินมาวางต่อศาลตามกำหนดในคำพิพากตามสัญญาประนีประนอมยอม ความ โดยอ้างว่า มารดาป่วยกะทันหันต้องเดินทางไปเยี่ยมที่ต่างจังหวัดนั้น มิใช่ความจำเป็นถึงขนาดจะนำเงินมาวางศาลไม่ได้ เพราะการ นำเงินมาวางศาลมิใช่กิจการที่จำเลยทั้งสองจะต้องทำเองโดยเฉพาะตัว ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองไม่ต้อง รับผิดชอบซึ่งจะทำให้จำเลยทั้ง สองไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 205 ฎีกาที่ 3941/2540 การที่จำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เนื่องจากปรากฏว่าโจทก์ไม่ ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งสองเช่า ซื้อ จำเลยทั้งสองอาจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นแม้ได้ปฏิบัติตาม เงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระเงินโดยครบถ้วน ทั้ง เจ้าของที่ดินพิพาทก็ประกาศให้จำเลยทั้งสองทราบด้วยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งสองอาจถูกฟ้องขับไล่ เมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทกลับคืนมา จำเลยทั้งสองเตรียมเงินค่าเช่าซื้อที่ค้าง 49,000บาท ไปชำระให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับโดยจะขอคิดดอกเบี้ยและค่าบริการเพิ่มอีกรวมแล้วเป็นเงิน ประมาณ130,000 บาท นั้น ถือได้ว่าเป็น กรณีการชำระหนี้ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งจำเลยทั้งสองผู้เป็น ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 205 จำเลยทั้งสองจึงมิได้ผิดนัดและสัญญาเช่าซื้อ
11
ลูกหนี้ผิดนัดทันที เมื่อถึงกำหนดชำระแล้วไม่ชำระ คำนวณนับได้ตามปีปฏิทิน
กำหนดเวลาชำระหนี้ สิทธิของเจ้าหนี้ ในการบังคับชำระหนี้ ลูกหนี้ผิดนัด ตามปีปฏิทิน ต้องรอให้ถึงกำหนด ลูกหนี้ผิดนัดทันที เมื่อถึงกำหนดชำระแล้วไม่ชำระ คำนวณนับได้ตามปีปฏิทิน อนุมาณจากพฤติการณ์ทั้งปวง ต้องรอให้พฤติการณ์พ้นไปก่อน เจ้าหนี้ต้องเตือนให้ชำระก่อน เมื่อครบกำหนดตามที่เตือน ถ้ายังไม่ชำระ ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ บังคับชำระหนี้ได้โดยทันที
12
ผลของการที่ลูกหนี้ผิดนัด
เมื่อลูกหนี้ผิดนัด จะก่อให้เกิดผล ดังนี้ คือ ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้น มาตรา 217 เจ้าหนี้บอกปัดไม่รับชำระหนี้ได้ มาตรา 216 หนี้เงินต้องเสียดอกเบี้ย มาตรา
13
ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้นระหว่างที่ตนผิดนัด มาตรา 217
มาตรา ๒๑๗ “ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่าง เวลาที่ตนผิดนัด ทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลา ที่ผิดนัดนั้นด้วย เว้นแต่ความเสียหายนั้นถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง” ตามมาตรา 217 เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ในระหว่างผิดนัด ถ้าเจ้าหนี้เกิดความเสียหายลูกหนี้ต้องรับผิด 2 กรณีคือ ลูกหนี้กระทำโดยประมาทเลินเล่อให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยที่เกิดขึ้นในระหว่างผิดนัด แม้จะเกิดจากอุบัติเหตุ ลูกหนี้ก็ต้องรับผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ ว่า แม้ลูกหนี้จะชำระหนี้ภายในกำหนด หรือช้ากว่ากำหนดก็ตาม ก็ไม่มีผลต่างกัน
14
นาย ก. ยืมกล้องถ่ายรูปนาย ข. โดยจะคืนให้วันที่ 28 ธันวาคม 2555
เช่น นาย ก. ยืมกล้องถ่ายรูปนาย ข. โดยจะคืนให้วันที่ 28 ธันวาคม 2555 วันที่ 28 นาย ก. ไม่คืนกล้องให้นาย ข. วันที่ 29 มีคนขโมยกล้องไปจากนาย ก. ทั้งที่นาย ก. ดูแลอย่างดีแล้ว วันที่ 29 แผ่นดินไหว ทำให้กล้องตกได้รับความเสียหาย วันที่ 29 แผ่นดินไหว ทำให้กล้องตกได้รับความเสียหาย ซึ่งบ้านของ นาย ข. ก็แผ่นดินไหวเช่นเดียวกัน และบ้าน ของนาย ข. ก็พังเสียหายทั้งหลัง
15
ระดับที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบ เมื่อตกเป็นผู้ผิดนัด
เหตุสุดวิสัย อุบัติเหตุ ประมาทเลินเล่อ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จงใจ
16
เจ้าหนี้ผิดนัด การที่เจ้าหนี้ผิดนัด ไม่เกี่ยวกับข้องโดยตรงกับเวลาชำระหนี้ แต่เกิดจากการที่เจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้ของลูกหนี้ ส่วนการผิดนัดของลูกหนี้เกิดจากการชำระหนี้ล่าช้า จึงเกี่ยวข้องกับเวลาชำระหนี้ ตามปกติ เจ้าหนี้เป็นฝ่ายที่มีสิทธิบังคับชำระหนี้ ไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดอันใดตามมูลหนี้ ยกเว้นแต่ จะเป็นสัญญาต่าง ตอบแทน ดังนั้น การที่เจ้าหนี้ผิดนัดไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้ เพียงแต่ทำให้เจ้าหนี้เสียสิทธิบางประการต่อ ลูกหนี้เท่านั้น เจ้าหนี้อาจตกเป็นผู้ผิดนัดในกรณีดังต่อไปนี้ เจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้ เจ้าหนี้ไม่กระทำการเพื่อรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ไม่ชำระหนี้ตอบแทน
17
เจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้
มาตรา 207 “ ถ้าลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ และเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้นั้นโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมาย ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด” มาตรา 208 “การชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้น โดยตรง.....” เมื่อลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ หากเจ้าหนี้ไม่รับชำหนี้โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ เจ้าหนี้ได้ชื่อว่า เป็นผู้ผิดนัด หลักเกณฑ์การผิดนัดของเจ้าหนี้ ประกอบด้วย ลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ เจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้ การไม่รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้
18
เมื่อลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้
มาตรา 208 ว.1 “การชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ เป็นอย่างนั้นโดยตรง” มีปัญหาว่า การขอปฏิบัติชำระหนี้ ต้องกระทำอย่างไร การขอปฏิบัติการชำระหนี้ได้แก่ การกระทำอันเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการชำระหนี้ ซึ่งถ้าเจ้าหนี้รับการชำระหนี้ ดังกล่าวหนี้นั้นก็ระงับไปทันที ก. สั่งรถยนต์คันหนึ่งจาก ข. ให้ส่งมอบ ณ บ้าน ก. ข. บอกว่ารถอยู่ที่โรงเก็บสินค้าของบริษัทเดินเรือน ก. ต้องการเมื่อใดก็ได้เมื่อนั้น ฉะนี้ การขอปฏิบัติไม่ตรงตามมูลหนี้ ก . สัญญาจะส่งคนมาซ่อมหลังคาเรือน ข. วันถึงกำหนด ก. ส่งคนมายังเรือน ข. พร้อมด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ ที่จำเป็น ฉะนี้ การขอปฏิบัติตรงตามมูลแห่งหนี้ ถ้า ก. มาคนเดียว และบอกแต่เพียงว่าเต็มใจจะเริ่มทำการ เท่านั้น ฉะนี้ การขอปฏิบัติไม่ตรงตามมูลหนี้ ต่อเจ้าหนี้โดยตรง หมายความว่า ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อย่างใด ก็ต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้นั้นต่อเจ้าหนี้ตามที่ตนเป็น หนี้
19
อุทาหรณ์การขอปฏิบัติการชำระหนี้ของ กรมร่างกฎหมาย(เป็นตัวอย่างขณะมีการเสนอ ป.พ.พ)
ก. สั่งรถยนต์คันหนึ่งจาก ข. ให้ส่งมอบ ณ บ้าน ก. ข. บอกว่ารถอยู่ที่โรงเก็บสินค้าของบริษัทเดินเรือน ก. ต้องการ เมื่อใดก็ได้เมื่อนั้น ฉะนี้ การขอปฏิบัติไม่ตรงตามมูลหนี้ ก . สัญญาจะส่งคนมาซ่อมหลังคาเรือน ข. วันถึงกำหนด ก. ส่งคนมายังเรือน ข. พร้อมด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ที่ จำเป็น ฉะนี้ การขอปฏิบัติตรงตามมูลแห่งหนี้ ถ้า ก. มาคนเดียว และบอกแต่เพียงว่าเต็มใจจะเริ่มทำการเท่านั้น ฉะนี้ การขอปฏิบัติไม่ตรงตามมูลหนี้ ก. สัญญาจะส่งข้าวเปลือกแก่โรงสีเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้ลำ ซึ่งต้องส่งมอบกันที่ท่าน้ำหน้าโรงสี ทุกๆสัปดาห์ ต่อมา ก. นำข้าวเปลือกครบจำนวนลำเรือ และตามชนิดที่ได้ตกลงกันมาที่ท่าโรงสี ฉะนี้ การขอปฏิบัติตรงตามมูลแห่งหนี้ ถ้า ก. เพียงแต่บอกเจ้าของโรงสี่ว่า เรือมาจอดอยู่แห่งใดแห่งหนึ่งในลำแม่น้ำ ข. ต้องการเมื่อใดก็ได้ ฉะนี้ การขอ ปฏิบัติไม่ตรงตามมูลหนี้
20
ข้อยกเว้นที่ลูกหนี้ไม่ต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้
โดยปกติ ถ้าลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ แล้วเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้นั้นโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ เจ้าหนี้ย่อม ตกเป็นผู้ผิดนัด ในทางกลับกันถ้าลูกหนี้ยังมิได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ ก็ไม่มีเหตุที่จะเรียกว่าเจ้าหนี้ผิดนัด แต่ในบางกรณี ลูกหนี้ไม่จำต้องขอปฏิบัติชำระหนี้ เพียงแต่ ลูกหนี้ส่งคำบอกกล่าวแก่เจ้าหนี้ว่าได้เตรียมการที่จะชำระหนี้แล้ว ก็เสมอกับคำขอปฏิบัติการชำระหนี้ มาตรา 208 ว.2 “แต่ถ้าเจ้าหนี้ได้แสดงแก่ลูกหนี้ว่า จะไม่รับชำระหนี้ก็ดี หรือเพื่อที่จะชำระหนี้จำเป็นที่เจ้าหนี้จะต้อง กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนก็ดี ลูกหนี้จะบอกกล่าวแก่เจ้าหนี้ว่าได้เตรียมการที่จะชำระหนี้ไว้พร้อมเสร็จแล้ว ให้ เจ้าหนี้รับชำระหนี้นั้น เท่านี้ก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้ว ในกรณีเช่นนี้ท่านว่าคำบอกกล่าวของลูกหนี้นั้นก็เสมอกับคำขอ ปฏิบัติการชำระหนี้”
21
กรณีที่ลูกหนี้ไม่ต้องขอปฏิบัติชำระหนี้ มี 2 กรณี
ถ้าเจ้าหนี้ได้แสดงแก่ลูกหนี้ว่าจะไม่รับชำระหนี้ เช่น ก. สั่งซื้อนกแก้วพันธ์หายากจาก ข. โดยมีข้อตกลงว่า ถ้า ข. หานกเงือกได้แล้ว ให้บอก ก. ล่วงหน้า 10 วัน เพื่อ ก. จะได้สร้างกรงนกได้ทันหากต่อมา ก. บอก ข. ว่าไม่ต้องการนกแก้วแล้ว ดังนี้ ข. เพียงส่งคำบอกกล่าวไปยัง ก. เมื่อพร้อมจะส่งนกแก้วให้แก่ ก. ก็เป็นการเพียงพอแล้วว่า เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้ แทนการส่งนกแก้ว ให้แก่ ก. เพราะถึงอย่างไรถ้า ข. ส่งมอบแก้วให้ ก. (ขอปฏิบัติการชำระหนี้) ก. ไม่ยอมรับชำระหนี้อยู่นั่นเอง ดังนั้น ข. จึงไม่ต้องส่งมอบนกแก้วให้แก่ ก. ให้เสียค่าขนส่ง หรือเสียเวลา เจ้าหนี้ต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน เพื่อรับชำระหนี้ของลูกหนี้ เช่น ตามตัวอย่างข้างต้น ถ้า ก. ยังประสงค์จะได้นกแก้วอยู่ เมื่อ ข. จัดหานกแก้วได้แล้ว ข. เพียงส่งคำบอกกล่าว ให้ ก. ทราบได้ทราบก็เป็นอันเพียงพอเสนอคำขอปฏิบัติชำระหนี้แล้ว โดย ข. ไม่ต้องส่งมอบนกแก้วให้ ก. จริงๆ เพราะถึงอย่างไร ก. ก็ไม่อยู่ในสภาพที่จะรับชำระหนี้จาก ข. เพราะ ก. ยังไม่มีกรงนก แต่อย่างใด
22
การไม่รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ เจ้าหนี้ก็ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด
ฎีกาที่ 1253/2530 จำเลยมีหนังสือนัดหมายโจทก์ไปทำการไถ่ถอนจำนองและรับชำระหนี้จากจำเลยที่ สำนักงาน ที่ดิน โดยจำเลยจะขอชำระหนี้ให้โจทก์เพียงบางส่วน ไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่จะต้องชำระให้โจทก์ โจทก์ย่อมปฏิเสธที่จะ ไม่รับชำระหนี้ดังกล่าวได้ การที่โจทก์ไม่รับชำระหนี้และไปไถ่ถอนจำนองให้ จะถือว่าโจทก์ผิดนัดไม่ได้ ฎีกาที 3308/2532 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 กำหนดเกี่ยวกับการชำระค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน กรณีเจ้าของที่ดินไม่ยอมรับราคาที่เจ้าหน้าที่เวนคืนของจำเลยเสนอไว้ว่าให้นำเงินไปวางต่อศาลเมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ เวนคืนของจำเลยมิได้นำเงินดังกล่าวไปวางต่อศาล และการที่เจ้าของที่ดินไม่ยอมรับราคาที่เสนอก็เพราะเห็นว่าเป็นราคาที่ ไม่เป็นธรรมอันเป็นมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ซึ่งถือไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 237 ดังนั้น จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในต้นเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ นับแต่วันที่เข้าครอบครองที่ดินของ โจทก์ ตามมาตรา 224 ฎีกาที่ 5952/2533จำเลยทั้งสองค้างชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ 161, บาท หนี้ครบกำหนดชำระแล้ว จำเลยที่ 1 จะบังคับให้โจทก์รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน 65,331 บาท ไม่ได้ การที่โจทก์ไม่ยอมรับชำระจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิด นัด โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในต้น เงิน 65,331บาท จากจำเลยทั้งสองได้.
23
ข. เจ้าหนี้ไม่กระทำการเพื่อรับชำระหนี้
มาตรา ๒๐๙ “ถ้าได้กำหนดเวลาไว้เป็นแน่นอนเพื่อให้เจ้าหนี้กระทำการอันใดท่านว่า ที่จะขอ ปฏิบัติการชำระหนี้นั้นจะต้องทำก็แต่เมื่อเจ้าหนี้ทำการอันนั้นภายใน เวลากำหนด” เป็นกรณีที่มีการตกลงกันกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะต้องทำการเพื่อรับชำระหนี้ไว้เป็นการแน่นอน ไม่ว่าจะกำหนดตามวันปฏิทิน หรือไม่ก็ตาม หากเจ้าหนี้ไม่กระทำการภายในกำหนดนั้น เจ้าหนี้ก็ตกเป็นผู้ผิดนัดทันที เมื่อพ้นกำหนดเวลานั้น ซึ่งเท่ากับ เจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยลูกหนี้ไม่ต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ เช่น ตามตัวอย่าง ข้างต้น ถ้า ข. ได้บอกกล่าวว่าพร้อมจะส่งมอบนกแก้วให้แล้ว ถ้า ก. ไม่สร้างกรงนกให้เสร็จจนพ้น 10 วันตามที่ตกลงกันไว้ ดังนี้ ถือว่า ก. ตกเป็นผู้ผิดนัดทันที แต่ถ้าเจ้าหนี้กระทำการนั้นแล้ว ลูกหนี้ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ เจ้าหนี้กลับไม่รับชำระหนี้นั้นอีก เจ้าหนี้ ก็ตกเป็นผู้ผิดนัดได้ ตามหลักการในมาตรา 207 เช่น ตามตัวอย่าง ถ้า ก. สร้างกรงนกเสร็จภายใน 10 วัน เมื่อ ข. ส่งมอบนกแก้วให้ ก. ก. กลับไม่ยอมรับชำระหนี้ เช่นนี้ ก. ย่อมได้ชื่อว่า ไม่ยอมรับชำระหนี้ ตามมาตรา 207
24
ค. เจ้าหนี้ไม่ชำระหนี้ตอบแทน
มาตรา ๒๑๐ “ถ้าลูกหนี้จำต้องชำระหนี้ส่วนของตนต่อเมื่อเจ้าหนี้ชำระหนี้ตอบแทนด้วยไซร้ แม้ถึงว่า เจ้าหนี้จะได้เตรียมพร้อมที่จะรับชำระหนี้ตามที่ลูกหนี้ขอปฏิบัตินั้นแล้วก็ดี หากไม่เสนอที่จะทำการชำระหนี้ตอบแทนตามที่ จะพึงต้องทำ เจ้าหนี้ก็เป็นอันได้ชื่อว่าผิดนัด” กรณีนี้เป็นกรณีหนี้ที่เจ้าหนี้มีหนี้ที่ต้องชำระหนี้ตอบแทนลูกหนี้ด้วย ดังนั้น ถ้าเจ้าหนี้ไม่เสนอที่จะชำระหนี้ตอบแทนในเวลาที่ ลูกหนี้ขอปฏิบัติชำระหนี้ แม้เจ้าหนี้ได้เตรียมพร้อม(เจ้าหนี้ไม่ได้ปฏิเสธไม่รับชำระหนี้) เจ้าหนี้ก็เป็นอันได้ชื่อว่าผิดนัด เช่น ตามตัวอย่างเรื่องนกแก้ว ข้างต้น แม้ ก. จะพร้อมรับชำระหนี้จาก ข. โดยสร้างกรงนกเสร็จภายใน 10 วันตาม ข้อตกลง แต่ถ้า ก. ไม่เสนอชำระราคานกแก้วให้กับ ข. เช่นนี้ ก. ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด แต่ทั้งนี้ การที่เจ้าหนี้ไม่เสนอชำระหนี้ตอบแทนและตกเป็นผู้ผิดนัดนั้น จะต้องไม่ปรากฏว่า การชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่มีเงื่อน เวลากำหนดไว้ด้วย ถ้าการชำระหนี้มีเงื่อนเวลากำหนดไว้ เจ้าหนี้ย่อมไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด จนกว่าจะถึงเวลาชำระหนี้ เช่น ตามตัวอย่างข้างต้น ถ้า ก. กับ ข. ตกลงกันว่า ก. จะชำระราคาหลังจาก ข. ส่งมอบนกแก้วภายใน 15 วัน เช่นนี้ ก. ไม่จำต้องเสนอการชำระหนี้ตอบแทน ในขณะที่ ข. ส่งมอบนกแก้ว
25
เหตุที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด
เหตุที่ทำไม่ทำให้เจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด มีกรณีดังต่อไปนี้ ลูกหนี้ไม่อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ แม้ว่าลูกหนี้จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ หรือในเวลาที่กำหนดให้เจ้าหนี้ กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง มาตรา 211 มาตรา ๒๑๑ “ในเวลาที่ลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้นั้นก็ดี หรือในเวลาที่กำหนดไว้ให้เจ้าหนี้ทำการอย่าง ใดอย่างหนึ่ง โดยกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐๙ นั้นก็ดี ถ้าลูกหนี้มิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ไซร้ท่าน ว่าเจ้าหนี้ยังหาผิดนัดไม่” มาตรา ๒๐๙ “ถ้าได้กำหนดเวลาไว้เป็นแน่นอนเพื่อให้เจ้าหนี้กระทำการอันใดท่านว่า ที่จะขอปฏิบัติการ ชำระหนี้นั้นจะต้องทำก็แต่เมื่อเจ้าหนี้ทำการอันนั้นภายใน เวลากำหนด” เช่น ตามตัวตัวอย่างเรื่อง นกแก้ว แม้ ข. จะได้บอกกล่าวแก่ ก. ว่าตนพร้อมส่งมอบนกแก้ว ให้แก่ ก. หรือ ข. จะได้บอก กล่าวให้ ก. สร้างกรงนกไว้ก็ตาม ถ้านกแก้วที่ ข. จะส่งมอบให้แก่ ก. ไม่ใช่นกแก้วพันธุ์ หายากตามที่ได้ตกลงกัน เช่นนี้ ก. ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่
26
เจ้าหนี้หนี้มีเหตุขัดข้องชั่วคราวไม่อาจรับชำระหนี้ได้ ในหนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้หรือลูกหนี้มีสิทธิที่จะชำระหนี้ได้ ก่อนเวลากำหนด ตามมาตรา 212 มาตรา ๒๑๒ “ถ้ามิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ก็ดี หรือถ้าลูกหนี้มีสิทธิที่จะชำระหนี้ได้ก่อนเวลากำหนดก็ดี การที่เจ้าหนี้มีเหตุขัดข้องชั่วคราวไม่อาจรับชำระหนี้ที่เขาขอปฏิบัติแก่ตนได้นั้น หาทำให้เจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ เว้น แต่ลูกหนี้จะได้บอกกล่าวการชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าโดยเวลาอันสมควร” หนี้ที่ไม่กำหนดเวลาชำระหนี้ หรือลูกหนี้มีสิทธิที่จะชำระหนี้ได้ก่อนกำหนดเวลา เจ้าหนี้ย่อมไม่สามารถจะทราบได้ว่า ลูกหนี้จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่ตนในวันใด ฉะนั้นในเวลาที่ลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ ถ้าเจ้าหนี้มีเหตุขัดข้อง ชั่วคราวไม่อาจรับชำระหนี้ได้ จะถือว่าเจ้าหนี้ผิดนัดยังไม่ได้ ยกเว้นแต่ ลูกหนี้ได้บอกกล่าวให้เจ้าหนี้รู้ตัวล่วงหน้าโดยเวลาอันควรว่าจะขอปฏิบัติการชำระหนี้
27
เช่น ก. ยืมรถยนต์ของ ข. ไป โดยไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ หรือได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ แต่ไม่แน่นอน และ ลูกหนี้มีสิทธิจะชำระหนี้ ได้ก่อนกำหนดเวลา เช่น ก. สัญญาว่าจะนำมาคืนภายใน 1 เดือน ดังนี้ ถ้า ก. นำรถยนต์ มาคืนให้ ข. ในระหว่างที่ ข. ไม่อยู่บ้านเพราะเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ดังนี้ จะถือว่า ข. ผิดนัดยังไม่ได้ เว้นแต่ ก. จะได้แจ้งให้ ข. ทราบล่วงหน้าโดยเวลาอันควรว่าจะนำเงินมาชำระหนี้ ข้อสังเกต มาตรา 212 มาตรา 212 ใช้สำหรับหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน ส่วนหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน เมื่อถึง กำหนดเวลานั้น ลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ แม้มีเหตุชั่วคราวที่เจ้าหนี้รับชำระหนี้ได้ ถ้าเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้นั้น เจ้าหนี้ ก็ตกเป็นผู้ผิดนัด
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.