งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177285)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177285)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177285)
สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่

2 แนะนำเอกสารและรูปแบบการสอน
เริ่มต้นด้วยการอภิปรายคดีอาญาที่เป็นข่าวที่น่าสนใจ ซึ่งนำเสนอโดยนักศึกษาวันละ 2-3 เรื่อง 2. ทำแบบฝึกหัดสั้น ๆ จากสถานการณ์จริง 3. บรรยายตามหัวข้อ ประกอบการแลกเปลี่ยนโดยนักศึกษา 4. ฝึกทำแบบฝึกหัดแบบสั้น ๆ ในชั้นเรียน

3 อภิปรายคดีอาญาโดยนักศึกษา

4 แบบทดสอบสถานการณ์จริง

5 แบบทดสอบสถานการณ์จริง
ให้นักศึกษาให้คำแนะนำต่อผู้เกี่ยวข้องดังนี้ ในฐานะทนายความฝ่ายจำเลย ให้คำแนะนำทางกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อจำเลยทั้ง ๖ มากที่สุด ในฐานะอัยการ ให้คำแนะนำทางกฎหมายที่จะลงโทษจำเลยให้หนักที่สุดเท่าที่พยานหลักฐานและกฎหมายจะไปถึงได้ ให้ทำเป็นกลุ่มกลุ่มละไม่เกิน 5 คน ในเวลา 20 นาที

6 แบบฟอร์มการตอบ ในฐานะอัยการ เห็นว่าควรฟ้องจำเลยทั้ง ๖ ในข้อหา ๑..... เพราะ จากพฤติกรรม/ข้อเท็จจริง ๒ เพราะ จากพฤติกรรม/ข้อเท็จจริง

7 แบบฟอร์มการตอบ ในฐานะทนายจำเลย เห็นว่าควรตั้งประเด็นต่อสู้ว่า
ในฐานะทนายจำเลย เห็นว่าควรตั้งประเด็นต่อสู้ว่า จำเลยทั้ง ๖ กระทำผิดเพียงฐาน เพราะ นาย A ผิดฐาน....เพราะ ส่วนนาย B,C,D ผิดฐาน....เพราะ

8 หัวข้อการบรรยาย อภิปราย เหตุผลของฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านการทำแท้ง จากกรณีศึกษา ภาพรวมสถานการณ์และกฎหมายการทำแท้งทั่วโลก เหตุผลสนับสนุนและคัดค้านการทำแท้ง ความผิดฐานทำให้แท้งลูก มาตรา ๓๐๑-๓๐๕ ความผิดฐานทอดทิ้งผู้ที่พึ่งตนเองไม่ได้ มาตรา ๓๐๖-๓๐๘

9 แบบสำรวจเบื้องต้น นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการทำแท้ง เพราะอะไร

10 แหล่งข้อมูล https://www.youtube.com/watch?v=z2T6mvKyKec

11 กรณีศึกษา หนังสั้น สารคดีเรื่อง “พลาด”
ถ้านักศึกษาเป็นบุคคลในหนังเรื่องพลาด นักศึกษาจะ ตัดสินใจทำแท้งหรือไม่เพราะเหตุใด

12 สถานการณ์การทำแท้งทั่วโลก
ทั่วโลกมีการหญิงทำแท้งกว่า 56 ล้านคนต่อปี หรือประมาณ 25เปอร์เซ็นต์ของคนท้อง ส่วนใหญ่ของคนที่ทำท้องเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา คือประมาณ 50 ล้านคน จาก 56 ล้านคน กฎหมายห้ามการทำแท้งไม่มีผลต่ออัตราการทำแท้งแต่อย่างใด

13 สถานการณ์การทำแท้งทั่วโลก
อัตราการตายของการทำแท้งไม่ปลอดภัยมีประมาณปีละเพิ่มขึ้นจากปีละ 25,000 คนในปี 2010 เป็น 44,000 คน ในปี 2014 เหตุผลหลักมาจากการท้องโดยไม่ตั้งใจและไม่พร้อมของผู้เกี่ยวข้อง

14 กฎหมายทำแท้งทั่วโลก

15 กฎหมายทำแท้งทั่วโลก สีน้ำเงินเข้มหมายถึงมารดามีสิทธิที่จะทำแท้งได้ภายในอายุครรภ์ที่กำหนด สีชมพู ซึ่งพบมากในกลุ่มประเทศมุสลิมและแอฟริกา หมายถึงการทำแท้งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย โดยมีข้อยกเว้นเรื่องสุขภาพ กรณีของประเทศไทยอยู่ในกลุ่มสีส้ม คือผิดกฎหมายแต่มีข้อยกเว้นเรื่องสุขภาพและการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืน สีดำคือกฎหมายทำแท้งแตกต่างกันไปตามรัฐ

16 ข้อถกเถียงเรื่องการทำแท้ง
ประเด็นที่ ๑ จุดเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ ฝ่ายแรก ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นเมื่ออสุจิผสมกับไข่ โดยเห็นว่านั่น เป็นจุดเริ่มแรกของชีวิต ซึ่งชีวิตนี้เป็นชีวิตใหม่ ไม่ใช่ของบิดา มารดา ฝ่ายที่สอง ชีวิตเริ่มต้นเมื่อคลอดออกมาจากครรภ์แล้วเท่านั้น การผสมกันของไข่กับอสุจิเป็นเพียงตัวอ่อนที่ยังไม่ใช่มนุษย์ การ ทำแท้งคือการทำลายตัวอ่อนไม่ใช่การทำลายมนุษย์

17 ข้อถกเถียงเรื่องการทำแท้ง
ฝ่ายแรก สิทธิทําแท้งของผู้หญิงเป็นความไม่รับผิดชอบ คุณใช้สิทธิโดย ไม่คิดว่าเด็กมีสิทธิที่จะเกิด การที่ผู้หญิงเรียกร้องที่จะใช้สิทธิ ในร่างกาย คุณละลาบละล้วงสิทธิของคนอื่นหรือเปล่า คือสิทธิ ของทารกที่คุณจะไปฆ่าเขา

18 ข้อถกเถียงเรื่องการทำแท้ง
ประเด็นที่ ๒ สิทธิการทำแท้ง ฝ่ายที่สอง ผู้หญิงย่อมมีสิทธิตัดสินใจปัญหาของตัวเอง เพราะผลของ การ ตัดสินใจย่อมกระทบต่อชีวิตของผู้หญิงโดยตรง การ พัฒนา ตัวอ่อนให้เจริญเติบโตจนคลอดออกมาเป็นคนนั้น เป็นภาระที่ ผูกพันกันระหว่างแม่ลูก ผู้ที่ต้องรับภาระโดยตรงคือ แม่ ไม่ใช่ คนอื่นในสังคม จึงสมควรอย่างยิ่งที่ผู้รับภาระนั้นจะ เป็นฝ่าย เลือกเองว่ายินยอมที่จะเข้ารับภาระนั้นๆ หรือไม่

19 ข้อถกเถียงเรื่องการทำแท้ง
ประเด็นที่ 2 สิทธิการทำแท้ง ฝ่ายแรก อ้างถึงสิทธิในการมีชีวิตรอดของทารก ซึ่งพ่อ แม่ไม่ควร มีสิทธิจะตัดอนาคตของลูกที่ไม่มีทางสู้ ฝ่ายที่สอง อ้างถึงสิทธิในชีวิตและร่างกายของแม่ เห็นว่าทารกใน ครรภ์เป็นส่วนหนึ่งของแม่ที่แยกจากกันไม่ได้ แม่ควรเป็นคนมีสิทธิ ตัดสินใจเหนือเนื้อตัวร่างกายตนเอง เปรียบเทียบการฆ่าตัวตาย

20 ภาพรวมความผิดฐานทำให้แท้งลูก
หญิงทำให้ตนเองแท้งลูก- 301 ผู้อื่นทำให้หญิงแท้งโดยหญิงยินยอม-302 ผู้อื่นทำให้หญิงแท้งโดยหญิงไม่ยินยอม-303

21 สาระสำคัญของมาตรา ๓๐๑ องค์ประกอบภายนอก หญิงใด
ทำให้ตนแท้งลูก หรือ ยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก องค์ประกอบภายใน : เจตนาให้แท้งลูก

22 สาระสำคัญของมาตรา ๓๐๑ ความผิดมาตรานี้ผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้น ความผิดตามมาตรานี้ไม่มีตัวการร่วม ถ้าผู้อื่นร่วมกระทำความผิดก็ผิดตามมาตรา ๓๐๒ ไม่ใช่มาตรานี้ อย่างไรเรียกว่าแท้งลูกมีสองความเห็น คือ ๓.๑ ต้องยังไม่มีสภาพบุคคลจึงจะถือว่าทำแท้ง ๓.๒ ต้องยังไม่เริ่มกระบวนการคลอดจึงจะถือว่าทำแท้ง

23 สาระสำคัญที่ไม่ปรากฏใน ๓๐๑
คำถาม : ถ้าการทำแท้งเป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างหญิงและชาย ฝ่ายชายต้องมีความรับผิดเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร

24 กรณีศึกษา ฝนและโอ๊ต เป็นแฟนกัน ทั้งคู่อยู่กินด้วยกันในระหว่างที่กำลัง
ฝนและโอ๊ต เป็นแฟนกัน ทั้งคู่อยู่กินด้วยกันในระหว่างที่กำลัง ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ ๓ ของมหาวิทยาลัยชื่อดังในภาคเหนือ ฝนท้อง ทั้งคู่ปรึกษาหารือกัน รวมทั้งปรึกษากับแม่ของโอ๊ต และตกลงว่า จะให้ฝนทำแท้งเนื่องจากต้องการเรียนให้จบก่อน แม่โอ๊ตจึงส่งยา ขับเลือดมาให้ โอ๊ตผสมยาให้ฝนกินทุกวันจนครบ ๓ วัน ฝนก็แท้ง ลูกโดยมีก้อนเลือดหลุดออกมา กรณีนี้หากมีการดำเนินคดีใคร ต้องมีความผิดอย่างไร

25 สาระสำคัญของมาตรา ๓๐๒ องค์ประกอบภายนอก ทำให้หญิงแท้งลูก โดยหญิงยินยอม
องค์ประกอบภายใน : เจตนาทำให้แท้งลูก บทฉกรรจ์ : ทำให้บาดเจ็บสาหัส หรือตาย

26 สาระสำคัญของมาตรา ๓๐๒ หญิงต้องยินยอม ผู้กระทำความผิดเป็นใครก็ได้
ความผิดสามระดับ ทำให้แท้ง แท้งและเป็นอันตรายสาหัส แท้งและเสียชีวิต

27 กรณีศึกษา น้ำชานักศึกษาปี 4 มหาวิทยาลัย ได้มีสัมพันธ์กับกาแฟ แฟน
น้ำชานักศึกษาปี 4 มหาวิทยาลัย ได้มีสัมพันธ์กับกาแฟ แฟน หนุ่มและตั้งท้อง น้ำชาและกาแฟ ตกลงร่วมกันว่าจะทำแท้ง เพราะต้องการเรียนให้จบและหางานทำให้ได้ก่อนจึงจะมีลูก ด้วยกัน น้ำชาจึงตัดสินใจไปทำแท้งที่คลินิกเถื่อน ในวันดังกล่าว กาแฟเป็นคนพาน้ำชาไป หลังจากทำแท้งสำเร็จ ตำรวจเข้าตรวจ ค้นคลินิกดังกล่าว จับกุมหมอเถื่อน น้ำชาและกาแฟได้ หากท่าน เป็นตำรวจจะดำเนินคดีกับคนทั้งสามอย่างไร

28 สาระสำคัญของมาตรา ๓๐๓ องค์ประกอบภายนอก ทำให้หญิงแท้งลูก
โดยหญิงไม่ยินยอม องค์ประกอบภายใน : เจตนาทำให้แท้งลูก บทฉกรรจ์ : ทำให้บาดเจ็บสาหัส หรือตาย

29 สาระสำคัญของมาตรา ๓๐๓ หญิงต้องไม่ยินยอม ผู้กระทำความผิดเป็นใครก็ได้
ความผิดสามระดับ ทำให้แท้ง แท้งและเป็นอันตรายสาหัส แท้งและเสียชีวิต หมายเหตุ : โทษหนักกว่า ๓๐๒

30 กรณีศึกษา

31 เหตุยกเว้นความผิดมาตรา ๓๐๕
ถ้าการกระทำตามมาตรา ๓๐๑ และ๓๐๒ เป็นการ กระทำของแพทย์และ 1) จำเป็นต้องทำเนื่องจากสุขภาพของหญิง 2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๗๖,๒๗๗,๒๘๒, ๒๘๓ หรือ ๒๘๔ ผู้กระทำไม่มีความผิด

32 เหตุยกเว้นโทษ มาตรา ๓๐๔ ผู้ใดเพียงแต่พยายามกระทำความผิดตามมาตรา ๓๐๑ หรือ มาตรา ๓๐๒ วรรคแรก ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

33 สาระสำคัญของมาตรา ๓๐๖ องค์ประกอบภายนอก ผู้ใดทอดทิ้ง
เด็กอายุไม่เกินเก้าปี โดยประการที่ทำให้เด็กปราศจากผู้ดูแล องค์ประกอบภายใน : เจตนาทอดทิ้งเด็ก มูลเหตุจูงใจ : เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตน

34 สาระสำคัญของมาตรา ๓๐๖ ๑. ผู้ทอดทิ้งเป็นใครก็ได้ที่มีเด็กอยู่ด้วยตามข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ ๒. การทอดทิ้งต้องมีลักษณะทำให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแล ๓. ต้องมีเจตนาทอดทิ้ง โดยรู้ข้อเท็จจริงว่าเด็กอายุไม่เกินเก้าปี และมีมูลเหตุจูงใจคือเพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปจากตน

35 สาระสำคัญของมาตรา ๓๐๗ ๓) ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนไม่ได้ องค์ประกอบภายนอก
๑) มีหน้าที่ตามกฎหมายหรือสัญญา ๒) ต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองไม่ได้เพราะ อายุ ความเจ็บป่วย กายพิการหรือจิตพิการ ๓) ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนไม่ได้ ๔) โดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิต

36 สาระสำคัญของมาตรา ๓๐๗ องค์ประกอบภายใน : เจตนาธรรมดา

37 เหตุเพิ่มโทษ หากการทอดทิ้งตามมาตรา ๓๐๖ และมาตรา ๓๐๗ เป็นเหตุให้ผู้ถูกทอดทิ้งถึงแก่ความตายหรือบาดเจ็บสาหัส ต้องรับโทษตามมาตรา ๒๙๐, ๒๙๗ และ ๒๙๘ แล้วแต่กรณี


ดาวน์โหลด ppt วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177285)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google