งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
เทคนิคการวิเคราะห์รายงานการเงิน / การตรวจสอบการควบคุมภายในทางการบัญชี/การตรวจสอบทางการเงิน สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ฐิติมา พราวศรี

2 เทคนิคการวิเคราะห์รายงานการเงิน

3 ขอบเขต ความหมาย ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน ข้อจำกัดในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน เทคนิคการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน ตัวอย่างการวิเคราะห์ การตรวจสอบการควบคุมภายในการบัญชีและการตรวจสอบ รายงานทางการเงิน

4 ความหมาย : การวิเคราะห์
กระบวนการหา ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงิน และผลการ ดำเนินงานของกิจการ โดยนำเครื่องมือ หรือเทคนิคต่างๆ มาใช้ วิเคราะห์ และจำแนกแยกแยะ หาความสัมพันธ์ ระหว่างรายการ ต่างๆ แล้วนำข้อเท็จจริงจากการวิเคราะห์ มาใช้ประกอบการ ตัดสินใจทางการเงิน หรือใช้ในการประเมินการปฏิบัติงานภายใน หน่วยงานได้

5 ความหมาย : รายงานการเงิน
รายงานการเงิน หมายถึง ข้อมูลทุกชนิดที่หน่วยงานได้เสนอแก่ บุคคลภายนอก ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ ตัวเงิน และเป็นทั้งข้อมูลในอดีตและข้อมูลในอนาคต งบการเงิน คือ ข้อมูลทางการเงินที่มีแบบแผนเพื่อแสดงฐานะ ทางการเงิน และรายการทางบัญชีของหน่วยงาน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน ช่วยใน การตัดสินใจในเชิงเศรษฐกิจ

6 ความหมาย : รายงานการเงิน (ต่อ)
งบการเงินที่ต้องจัดทำตามระเบียบกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ว่าด้วยการบันทึกบัญชี การจัดทำทะเบียน และการรายงาน การเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543 จัดทำงบแสดงฐานะการเงินและงบอื่นๆ โดยต้องเสนอหัวหน้า ฝ่ายบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เช่น งบแสดงฐานะการเงิน งบทรัพย์สิน งบหนี้สิน งบแสดงผลการดำเนินงานรายรับ – รายจ่ายตามงบประมาณ เป็นต้น

7 ความหมาย : รายงานการเงิน (ต่อ)
งบแสดงฐานะทางการเงิน คือ รายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้น เพื่อแสดงฐานะทาง การเงินของหน่วยงาน ณ วันใดวันหนึ่ง ซึ่งจะแสดงให้เห็นทรัพยากรที่หน่วยงานมี ภาระผูกพันที่มีต่อเจ้าหนี้ เป็นต้น งบแสดงฐานะทางการเงินจะแสดงเป็น 2 ส่วน สินทรัพย์รวม หนี้สินและเงินสะสมรวม งบแสดงผลการดำเนินงานรายรับ-รายจ่ายตามงบประมาณ คือ รายงานที่แสดงให้ ทราบถึงความที่เกิดขึ้นกับกระแสเงินของหน่วยงานในปีงบประมาณที่ผ่านมาว่ามี รายรับ รายจ่ายเท่าใด งบทรัพย์สิน คือ รายงานที่แสดงให้ทราบถึง ผลรวมของทรัพย์สินในแต่ละ หน่วยงานพร้อมทั้งจำแนกรายการทรัพย์สินที่มีอยู่ส่วนใหญ่แล้วเป็นประเภทใด โดยจำแนกเป็น 2 อย่าง อสังหาริมทรัพย์ และ สังหาริมทรัพย์

8 ความหมาย : การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน
การค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงิน และ ผลการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อนำผลการ วิเคราะห์มาใช้ในการวางแผน ควบคุมและตัดสินใจ

9 ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการวิเคราะห์รายงานการเงิน
ผู้ใช้ภายใน (Internal User) ผู้ใช้ภายนอก (External User)

10 ผู้ที่ได้รับประโยชน์ (ต่อ)
วางแผน / ควบคุมการเงิน หน่วยงานกำกับ ประชาชน ผู้บริหาร ผู้ตรวจสอบภายใน การวิเคราะห์งบการเงิน เจ้าหนี้ วิเคราะห์ความเสี่ยง / ให้ข้อสังเกตแก่ผู้บริหาร ความสามารถในการชำระหนี้ สตง. ให้ความเห็นเกี่ยวกับงบการเงิน

11 วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์งบการเงิน
เพื่อช่วยกลั่นกรองข้อมูลเบื้องต้นเพื่อวิเคราะห์ เพื่อช่วยพยากรณ์ฐานะการเงินในอนาคต ใช้วินิจฉัยปัญหาการบริหารงาน เป็นเครื่องมือประเมินผลการบริหารงาน ของฝ่ายบริหารและ ฝ่ายจัดการ

12 ข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงิน
ใช้เหตุการณ์ในอดีตชี้วัดเหตุการณ์ในอนาคต ไม่มีมาตรฐานในการวัดที่แน่นอน ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่ง การจัดหาข้อมูล ดุลยพินิจของผู้วิเคราะห์ เป็นต้น

13 เทคนิคการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน
กำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการวิเคราะห์ /เข้าใจในข้อมูลพื้นฐานของ รายงานการเงิน เลือกเครื่องมือหรือเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ให้เหมาะสม มีหลายอย่างด้วยกัน เช่น การวิเคราะห์ตามแนวตั้งหรือการย่อส่วนตามแนวดิ่ง การวิเคราะห์อัตราร้อยละของแนวโน้ม การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน การเก็บรวบรวมข้อมูล จัดวางข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน แปลความหมายและประเมินผลที่ได้จากการวิเคราะห์ จัดทำรายงานเสนอต่อผู้ที่ต้องการทราบผลการวิเคราะห์

14 เทคนิคการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน (ต่อ)
การวิเคราะห์อัตราร้อยละ การวิเคราะห์แนวตั้ง ( Vertical Analysis) การวิเคราะห์อัตราร้อยละของแนวโน้ม (Trend Analysis) การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis)

15 เทคนิคการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน (ต่อ)
การวิเคราะห์แนวตั้ง ( Vertical / Common size Analysis) เป็นการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ของรายการต่างๆในงบการเงินเดียวกัน ในรูป ร้อยละ สามารถแบ่งการวิเคราะห์ออกได้ ดังนี้ การวิเคราะห์โครงสร้างของรายการทั้งหมด การวิเคราะห์โครงสร้างเฉพาะประเภทของรายการ สูตรการคำนวณ = รายการ …..... X 100 ยอดรวมรายการ.....

16 เทคนิคการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน (ต่อ)
การวิเคราะห์อัตราร้อยละของแนวโน้ม (Trend Analysis) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป ในรูปของอัตราส่วนเพิ่มขึ้น / ลดลง สามารถแบ่งการวิเคราะห์ได้ 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวม 2. การวิเคราะห์ข้อมูลผลต่าง ร้อยละของยอดรวม = ข้อมูลฐานปีปัจจุบัน x 100 ข้อมูลปีฐาน สูตรการคำนวณ ร้อยละที่เปลี่ยนแปลง = ข้อมูลปีปัจจุบัน – ข้อมูลปีฐาน x 100 ข้อมูลปีฐาน สูตรการคำนวณ

17 เทคนิคการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน (ต่อ)
การวิเคราะห์อัตราร้อยละของแนวโน้ม (Trend Analysis) (ต่อ) มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี 1. การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นร้อยละของปีฐาน การกำหนดให้ข้อมูลในงบการเงิน ปีใดปีหนึ่งเป็นปีฐาน แล้วนำข้อมูลของปีถัดไปมาหาความสัมพันธ์เป็นร้อยละของปี ฐาน 2. การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นร้อยละของงวดก่อน การคำนวณหาอัตราร้อยละ ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงคำนวณได้ ดังนี้ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลของปีที่ ร้อยละที่เปลี่ยนแปลง = ข้อมูลปีที่ 2 – ข้อมูลปีที่ 1 x 100 ข้อมูลปีที่ 1 เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลของปีที่ ร้อยละที่เปลี่ยนแปลง = ข้อมูลปีที่ 3 – ข้อมูลปีที่ 2 x 100 ข้อมูลปีที่ 2

18 เทคนิคการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน (ต่อ)
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis) เป็นการวิเคราะห์งบการเงินแบบละเอียด โดยการนำรายการต่างๆ มาเทียบอัตราส่วน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างทรัพย์สิน หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่ ประเภทของอัตราส่วนทางการเงิน แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการใช้ได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้ 1. การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Analysis) 2. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Earnings Before Interest Taxation Depreciation and Amortization : EBITDA) 3. การวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรของเงินทุน (Profitability Ratios) 4. การวิเคราะห์นโยบายทางการเงินของบริษัท (Policy of Financial Company)

19 1. การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน
1. การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน 1. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) 2. อัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัว (Quick Ratio)  3. อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Receivable Turnover) 4. ระยะเวลาถัวเฉลี่ยการเก็บหนี้ (Average Collection Period) 5. อัตราการหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover)  = สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน = เงินสดและรายการเทียบเท่า+ลูกหนี้+ตั๋วเงินรับ = ขายสุทธิ ลูกหนี้การค้าสุทธิเฉลี่ย = ’ อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ = ต้นทุนสินค้าขาย สินค้าคงเหลือเฉลี่ย

20 2. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
2. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน 1. ความสามารถหากำไร หรือกำไรจากการ ดำเนินงานต่อสินทรัพย์ทั้งหมด (Earning power) 2. อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ ดำเนินงาน (Operating Asset Turnover) 3. อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อ ยอดขาย (Operating Income Margin)  = กำไรจากการดำเนินงาน *100 สินทรัพย์ทั้งหมดเฉลี่ย = ขายสุทธิ = กำไรจากการดำเนินงาน * ขายสุทธิ

21 3. การวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรของเงินทุน
3. การวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรของเงินทุน 1. ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด (Return on Asset) 2. ผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity) = กำไรจากการดำเนินงาน * 100 สินทรัพย์ทั้งหมดเฉลี่ย = กำไรสุทธิ *100 ส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย

22 4. การวิเคราะห์นโยบายทางการเงินของบริษัท
4. การวิเคราะห์นโยบายทางการเงินของบริษัท 1. อัตราส่วนของหนี้สินต่อทรัพย์ สินรวม (Debt Ratio) 2. อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของ ผู้ถือหุ้น (Debt to Equity Ratio) 3. ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage) 4. อัตราการจ่ายปันผล (Dividend Payout) = หนี้สินรวม สินทรัพย์รวม = หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้น = กำไรจากการดำเนินงาน ดอกเบี้ยจ่าย หรือ กำไรสุทธิ+ภาษีเงินได้+ดอกเบี้ยจ่าย ดอกเบี้ยจ่าย = เงินปันผล *100 กำไรสุทธิ

23 แผนผังทบทวนการใช้อัตราส่วน
ถ้าอัตราส่วนสูง ถ้าอัตราส่วนต่ำ สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน ยอดขาย เงินทุนหมุนเวียน หนี้สินทั้งหมด ทุน EBIT*100 ยอดขายสุทธิ กำไรสุทธิ*100 ตรวจสอบรายการหนี้สินบัญชีออมทรัพย์ สินค้าคงคลัง เป็นต้น ดูว่าเงินดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร ตรวจสอบเช่นเดียวกับรายการข้างต้นดูหนทางที่จะได้เงินมา ตรวจสอบโครงสร้างหนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินระยะยาว เป็นปกติ พยายามรักษาค่างานไว้ ตรวจสอบรายการสินค้าคงคลัง ลูกหนี้การค้า และโครงสร้างของหนี้สินเพื่อดูหนทางที่จะได้เงินมาแก้ไข คุณอาจมีเงินส่วนเกินนำมาใช้ในการลงทุน เช่นออมทรัพย์ หรือชำระหนี้ ถ้าต่ำมากเกินไปควรพิจารณาหาแหล่งเงินกู้และพอใจในเงื่อนไข/ระยะเวลา ถ้าอัตราส่วนต่ำเป็นผลมาจากดอกเบี้ยและภาษี ตรวจสอบค่าใช้จ่ายและคำนวณแผนการขาย

24 กำไรจากการดำเนินงาน*100 สินค้าคงคลังโดยเฉลี่ย
อัตราส่วน ถ้าอัตราส่วนสูง ถ้าอัตราส่วนต่ำ กำไรสุทธิ*100 ทุนเฉลี่ย กำไรจากการดำเนินงาน*100 สินทรัพย์รวมเฉลี่ย ลูกหนี้การค้า x 365 ยอดขาย ต้นทุนขาย สินค้าคงคลังโดยเฉลี่ย สินทรัพย์ถาวร ทุน ยอดขายสุทธิ ตรวจสอบโครงสร้างของทุน ควรนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นปกติพยายามรวมรักษาค่างานไว้ ตรวจสอบนโยบายการให้สินเชื่อ อาจเป็นนัยที่ดีให้ตรวจสอบสินค้าที่มีอยู่และรายการสั่งสินค้าที่ไม่สมบูรณ์ พิจารณาสินทรัพย์ถาวรที่จำเป็น เป็นปกติพยายามรักษาค่างานไว้ ตรวจสอบโครงสร้างหนี้สินค่าใช้จ่ายหรือนโยบายดำเนินงาน ตรวจสอบนโยบายการดำเนินงานสำหรับบริหารจัดทรัพย์สิน เป็นปกติ พยายามรักษาค่างานไว้ ตรวจสอบสินค้าคงคลังที่มีมากหรือขาดแคลนพร้อมกับดูกระแสเงินสดด้วย ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ พิจารณาสินทรัพย์ทั้งหมดที่จำเป็นทั้งจากการขายที่อาจทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้น

25 ตัวอย่างการวิเคราะห์รายงานการเงิน

26 การตรวจสอบการควบคุมภายในทางการบัญชี และ การตรวจสอบรายงานทางการเงิน

27 วัตถุประสงค์การตรวจสอบ
เพื่อให้ทราบว่ามีการรับ – จ่ายเงินและทรัพย์สินต่างๆ เป็นไปตามกฎระเบียบและ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทราบว่ารายการต่างๆ ที่ปรากฏในรายงานทางการเงิน มีความครบถ้วน ถูกต้อง และเชื่อถือได้ เพื่อให้ทราบว่าการจัดทำรายงานการเงินเป็นไปตามหลักการและนโยบายบัญชีตามที่ หน่วยงานท้องถิ่นกำหนด เพื่อให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการรับ–จ่ายเงิน รวมทั้งการจัดทำบัญชีและการจัดทำ รายงานการเงิน

28 การตรวจสอบระบบการควบคุมภายในทางการเงินและบัญชี
การสอบทานระบบการควบคุมภายในทางการเงิน และบัญชีของหน่วยรับตรวจ เพื่อพิจารณาว่าระบบ การควบคุม เหมาะสมและมีประสิทธิภาพหรือไม่

29 การตรวจสอบทางการเงินการบัญชี
เป็นการตรวจสอบรายงานทางการเงิน การรับจ่าย การเก็บ รักษา และการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สิน บัญชี ทะเบียน เอกสารหรือหลักฐานอื่น หรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของ หน่วยรับตรวจ

30 กระบวนการตรวจสอบทางการเงินบัญชี
ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยรับตรวจ สำรวจข้อมูลเบื้องต้น การวางแผนการปฏิบัติงานตรวจสอบ การดำเนินการตรวจสอบ การรายงานผลการตรวจสอบ การติดตามผลการตรวจสอบ (Follow up)

31 การตรวจสอบ/สอบทานระบบการควบคุมภายใน
ขั้นตอน ได้แก่ - การอธิบายและการวิเคราะห์ระบบการควบคุมภายใน - การประเมินการควบคุมภายในเบื้องต้น - การประเมินความเสี่ยงอีกครั้ง

32 การสอบทานระบบการควบคุมภายใน (ต่อ) : การอธิบายและการวิเคราะห์ระบบการควบคุมภายใน
การใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับการควบคุมภายใน การใช้ผังทางเดินของงานและการพรรณาความ การ Walk-Through ของงานใดงานหนึ่ง การทดสอบระบบแบบจำกัด

33 การสอบทานระบบการควบคุมภายใน (ต่อ) : การประเมินการควบคุมภายในเบื้องต้น
ผู้ตรวจสอบภายในจะมีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะทำการประเมินระบบการควบคุมภายในเบื้องต้น เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ การตรวจสอบ โดยการประเมินจะทำให้ทราบถึง ลักษณะและความรุนแรงของความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น วิธีการควบคุมและชนิดของการควบคุมที่เกี่ยวข้อง ผลการประเมิน เป็นการประเมินระดับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นของกิจกรรมของหน่วยรับตรวจอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่ได้เคยประเมินไว้ในขั้นตอนการวางแผน ความเสี่ยงที่ประเมินอีกครั้งนั้นอาจพบว่า เสี่ยงน้อยกว่าที่ได้เคยประเมินไว้ หรือเสี่ยงน้อยกว่าความเสี่ยงที่ของงานหรือกิจกรรมอื่นที่อยู่ในข่ายที่จะต้องตรวจ ซึ่งผู้ตรวจสอบก็ควรเบนไปตรวจสอบงานที่มีความเสี่ยงสูงกว่า

34 เทคนิคการตรวจสอบทางการเงินและบัญชี
หมายถึง วิธีการตรวจสอบที่ผู้ตรวจสอบภายในควรนำ มาใช้หรือเลือกใช้ เพื่อให้สามารถรวบรวมหลักฐานที่เพียงพอและ เหมาะสมสำหรับสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ/พิสูจน์ โดยเสียค่าใช้จ่าย น้อยที่สุด เช่น ตรวจนับ ตรวจเอกสาร สังเกตการณ์ คำนวณ สอบถาม ยืนยันยอด เป็นต้น

35 เทคนิคการตรวจสอบ (ต่อ) : การตรวจนับ (Counting)
เป็นการตรวจนับสินทรัพย์ที่มีตัวตนด้วยตาตนเอง เกี่ยวกับจำนวน สภาพ และการดูแลเก็บรักษา เช่น ตรวจนับเงินสด วัสดุ ครุภัณฑ์เพื่อพิสูจน์ความมีอยู่จริง ด้านปริมาณ และคุณภาพ ข้อจำกัด ไม่เป็นเครื่องพิสูจน์กรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินบางประเภทเสมอไป ต้องใช้เทคนิค อื่นประกอบด้วย เช่น รถยนต์ ต้องตรวจสอบสมุดทะเบียนรถยนต์ (ตรวจดูเอกสาร)

36 เทคนิคการตรวจสอบ (ต่อ) : การตรวจดู (Inspection)
เป็นการตรวจดูเอกสารหลักฐาน ให้ทราบรายละเอียดต่างๆ ของเอกสารหลักฐาน รายการบัญชีมี เอกสารประกอบรายการเชื่อถือได้หรือไม่ เช่น สัญญายืมเงิน ใบเสร็จรับเงิน รายงานการประชุม ระเบียบและข้อบังคับ เป็นต้น เพื่อพิสูจน์ ความมีอยู่จริง กรรมสิทธิ์ สภาพ และมูลค่า ข้อจำกัด กรณีตรวจพิสูจน์ทรัพย์สิน ต้องมีรูปร่าง

37 เทคนิคการตรวจสอบ (ต่อ) : การตรวจสอบเอกสารใบสำคัญ (Examination of original Documents /Vouching)
เป็นการตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่ประกอบการบันทึกรายการ เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องและเชื่อถือได้ของรายการที่บันทึกว่า เกิดขึ้นจริง มีการบันทึก เปิดเผยถูกต้อง ครบถ้วน(การแสดงมูลค่า กรรมสิทธิ์ ภาระผูกพัน) และมีการอนุมัติ รายการตามระเบียบ ข้อจำกัด เอกสารอาจมีการปลอมแปลง แก้ไข หรือจัดทำใหม่ การตรวจสอบเอกสารใบสำคัญบางครั้ง อาจไม่แสดงภาพที่มีอยู่จริง

38 เทคนิคการตรวจสอบ (ต่อ) : การสังเกตการณ์ (Observation)
เป็นการเห็นข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ โดยใช้วิจารณญาณพิจารณาสิ่งที่เห็นและบันทึกไว้ เช่น สังเกตการณ์ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ สังเกตการณ์ปฏิบัติตามระบบ การควบคุมภายใน เป็นต้น เพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง เชื่อถือได้ เหมาะสม ของการปฏิบัติงาน ข้อจำกัด ได้ข้อมูลเฉพาะในเวลาที่สังเกตการณ์นั้น ซึ่งอาจตรงหรือไม่ตรงกับการปฏิบัติงานปกติก็ได้ ต้องหาหลักฐานอื่นมาสนับสนุนเพิ่มเติม

39 เทคนิคการตรวจสอบ (ต่อ) : การยืนยันยอด (Confirmation)
เป็นการขอให้บุคคลที่สามซึ่งทราบเรื่องเกี่ยวกับหลักฐานต่าง ๆ ให้การยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร มายังผู้ตรวจสอบภายในโดยตรง ใช้ในการยืนยันยอดเงินฝากธนาคาร ลูกหนี้และเจ้าหนี้ และสินทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครอง ของบุคคลนั้นๆผู้ตรวจสอบต้องควบคุมสอบทาน การจัดทำ/ส่ง/รับ คำยืนยันยอดด้วยตนเองเพื่อ พิสูจน์ความถูกต้องครบถ้วน มีอยู่จริง กรรมสิทธิ์ ภาระผูกพัน มูลค่า ข้อจำกัด หากคำตอบที่ได้รับมีจำนวนน้อยเกินควรจะทำให้หมดความหมาย เป็นการพิสูจน์ว่าลูกหนี้มีอยู่จริงแต่ไม่ช่วยให้ทราบว่าเก็บหนี้ได้หรือไม่

40 เทคนิคการตรวจสอบ (ต่อ) : การคำนวณ (Recomputation)
เป็นการคำนวณตัวเลขโดยผู้ตรวจสอบ รวมถึงการสอบทานการคำนวณที่ผู้รับตรวจจัดทำไว้ เช่น การบวกเลขในสมุดรายวันเงินสด การบวกเลขในสมุดบัญชี แยกประเภททั่วไป การคำนวณ ค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ยรับ ตัวเลขต้นทุนการผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องตัวเลข ข้อควรระวัง พิสูจน์แต่เพียงว่า ผลลัพธ์ถูกต้องหรือไม่ แต่มิได้ พิสูจน์แหล่งที่มาของตัวเลข ว่าถูกต้องหรือไม่

41 เทคนิคการตรวจสอบ (ต่อ) : การตรวจหารายการผิดปกติ (Scanning)
เป็นการตรวจรายการในสมุดบัญชีหรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ว่ามีรายการผิดปกติหรือไม่ เช่น ค่าใช้จ่ายบางรายการ เช่น ค่าสาธารณูปโภค ปกติหนึ่งปี ควรมีจำนวน 12 รายการ บัญชีบางประเภทมีรายการเดบิตหรือเครดิตเพียงด้านเดียว เช่น ดอกเบี้ยรับ ไม่ควรมีด้านเดบิต การปรับปรุงรายการหนึ่งๆ ในสมุดรายวันทั่วไปเป็นประจำซ้ำซาก รายการที่เป็นจำนวนเงินมากๆ ที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น มีเงินฝากเข้าธนาคารปลายปีและถอนออกจำนวนเดียวกันในวันต้นปี ข้อจำกัด รายการผิดปกติที่พบมิใช่หลักฐานแต่เป็นเครื่องชี้ ให้ทราบว่าจะต้องตรวจสอบเพิ่มเติมหรือหาหลักฐานด้วยเทคนิคอื่น

42 เทคนิคการตรวจสอบ (ต่อ) : การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Analytical Tests)
เป็นการศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์และความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลต่าง ๆ ทั้งข้อมูลการเงินและที่ไม่ใช่การเงิน ว่าเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล สมควร หรือคาดหมายหรือไม่ ระบุ/ให้ ร่องรอย ประเด็นความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ความผิดปกติ เช่น เปรียบเทียบข้อมูลของงวดปัจจุบันกับปีก่อน งวดปัจจุบันกับประมาณการราคาจัดซื้อจริงกับราคากลาง/มาตรฐาน ผลการเบิกจ่ายกับผลการดำเนินงาน เงินฝากธนาคารกับดอกเบี้ยรับ ข้อจำกัด จะเชื่อถือได้มากหากใช้กับข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ กันชัดเจน

43 เทคนิคการตรวจสอบ (ต่อ) : การสอบถาม (Inquiry)
เป็นการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ สามารถทำได้ทั้งเป็นลายลักษณ์ อักษรหรือด้วยวาจา คำตอบจากบุคคลหลายคนถ้ามีเหตุผลและไม่ขัดแย้งกันแล้วย่อม น่าเชื่อถือมากขึ้น ข้อจำกัด เป็นเพียงหลักฐานประกอบเท่านั้นจะต้องมีการพิสูจน์ด้วยเทคนิคอื่น ๆ ต่อไป ระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูล ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ความเป็น อิสระ และความซื่อสัตย์ของบุคคลนั้นๆ

44 เทคนิคการตรวจสอบทางการเงิน
สรุปเทคนิคการตรวจสอบทางการบัญชี

45 Q & A สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ
โทรศัพท์ : ต่อ โทรสาร : address : web page บัญชีและตรวจสอบภายใน กำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ


ดาวน์โหลด ppt สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google