งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเลี้ยงไหม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเลี้ยงไหม."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเลี้ยงไหม

2 ไหมวัยอ่อน การเลี้ยงเองที่บ้าน
ไหมวัยอ่อน หมายถึง ไหมวัย 1, วัย 2 และ วัย 3 การเลี้ยงไหมวัยอ่อนมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และความแข็งแรงของไหมวัยแก่เป็นอย่างมาก แบบของการเลี้ยงไหมวัยอ่อน แบ่งออกเป็น 2 วิธี การเลี้ยงเองที่บ้าน ข้อดี เวลาไหมเป็นโรคมักจะเป็นเฉพาะของตนเองไม่กระจายไป ยังแหล่งอื่น ข้อเสีย - ทำการฆ่าเชื้อเพียงครั้งเดียว - เจ้าหน้าที่ทางวิชาการควบคุมดูแลไม่ทั่วถึง - เสียเวลามากเนื่องจากใช้เวลาเลี้ยงนานและไหมวัยอ่อนใช้ แรงงานน้อยมาก

3 ไหมวัยอ่อน การเลี้ยงแบบสหกรณ์
กลุ่มผู้เลี้ยงไหมวัยอ่อนจะเลี้ยงไหมร่วมกัน ในโรงเลี้ยงไหมของสหกรณ์แล้วแต่ขนาดของ กลุ่มว่าใหญ่โตขนาดใด เมื่อไหมกำลังนอน 3 หรือหลังจากให้อาหารวัย 4 แล้ว 2 มื้อ กสิกรก็จะนำไปเลี้ยงที่บ้านของตนเอง ข้อดี - มีการอบยาฆ่าเชื้อทั้งโรงเลี้ยงวัยอ่อนและวัยแก่ - เจ้าหน้าที่วิชาการควบคุมดูแลได้ ทั่วถึง - ทุ่นแรงงานเพราะกสิกรอาจสับเปลี่ยนหมุนเวียนมาเลี้ยง ไหมวัยอ่อนได้ ข้อเสีย - เมื่อเวลาที่เกิดโรคหรือได้รับผลเลียหายมักจะเสียหายหมดทั้งกลุ่ม

4 ไหมวัยอ่อน การเตรียมไข่ไหม ลักษณะของไข่ไหมมี 2 ประเภทคือ แผ่นไข่
เตรียมโดยให้ผีเสื้อประมาณ แม่ วางไข่ติดบนแผ่นกระดาษขนาดประมาณ 30 x 20 เซนติเมตร 1 แผ่นจะมีไข่ไหมประมาณ 20,000 ฟอง ไข่บรรจุกล่อง จัดเตรียมโดยให้แม่ผีเสื้อวางไข่บนแผ่นกระดาษที่เหมาะสมหรือบนผ้าที่ทาด้วยแป้งเปียก จากนั้นใช้น้ำล้างไข่ให้ร่วงจากกระดาษ นำไข่ที่ได้บรรจุลงในกล่องตาข่ายผ้า โดยกำหนดจำนวนไข่แต่ละกล่องให้มีน้ำหนัก 10 กรัมหรือ 20,000 ฟอง ซึ่งพร้อมจะนำออกจำหน่ายได้

5 ไหมวัยอ่อน การเตรียมเลี้ยงไหมแรกฟัก
ในกรณีที่ไข่ไหมเป็นแผ่น เมื่อจะทำการเลี้ยงไหมแรกฟัก ควรใช้ขนนกปัดตัวไหมลงบนภาชนะที่เลี้ยง ซึ่งมีกระดาษรอง ห้องเลี้ยงไหมควรจะควบคุมอุณหภูมิ องศาเซลเซียสความชื้นประมาณ 90 % โดยการพรมน้ำลงบนพื้นห้อง การเพิ่มจำนวนครั้งการให้ใบหม่อน และหาวัสดุคลุมกระด้งเลี้ยงไหม

6 ไหมวัยอ่อน วันและเวลาเลี้ยงไหมแรกฟัก
ต้องกำหนดให้แน่นอนก่อนที่จะให้ไหมฟักออกควรให้แผ่นไข่ได้รับแสงสว่างประมาณ 16 ชั่วโมง และให้อยู่มืด 8 ชั่วโมง แสงจะเป็นตัวกระตุ้นการฟักออกของไหม หลังจากไข่ไหมได้รับแสงสว่างในวันก่อนการฟักออก ไหมจะเริ่มฟักออกตั้งแต่ตอนเย็นเรื่อยไปจนประมาณ น. ของวันรุ่งขึ้นเปอร์เซ็นต์การฟักจะค่อย ๆ ลดลง เวลาฟักออกที่เหมาะสมควรเป็น น. เมื่อประมาณเวลาฟักออกแล้ว ใบหม่อนสำหรับไหมวัยอ่อนควรจะเตรียมไว้ล่วงหน้า หากเป็นวันที่มีฝนตกชุก ควรเก็บใบหม่อนในตอนเย็นก่อนวันที่จะใช้

7 ไหมวัยอ่อน วิธีการเลี้ยงไหมแรกฟัก วิธีที่1
เปิดแผ่นไข่ไหมวางบนภาชนะที่ใช้เลี้ยง โรยยาฆ่าเชื้อบนตัวหนอนไหมด้วยตะแกรงร่อน อัตราการใช้ประมาณ 1 กรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางฟุต เพื่อป้องกันเชื้อ Aspergillus และเชื้อ muscadine ลักษณะนิสัยของไหมฟักใหม่ มักจะคลานไปรอบ ๆ บริเวณเมื่อโรยยาแล้ว รอประมาณ นาที หรือประมาณว่ายาที่โรยติดทั่วตัวหนอนไหมดีแล้ว หั่นใบหม่อนเป็นฝอย ประมาณ 40 กรัมต่อไหม 50 แม่ หรือ 20,000 ตัว เพื่อล่อตัวไหมเข้ามารวมกันและให้ใบหม่อนพวกนั้นเป็นตัวกันการกระทบกระเทือนในการขยายพื้นที่ที่จัดเลี้ยงไหม

8 ไหมวัยอ่อน รอประมาณ 10 - 15 นาที หรือประมาณว่าไหมมารวมตัวกันแล้ว
ปัดไหมที่อยู่บนกระดาษวางไข่ไหม และบนกระดาษห่อไข่ไหมลงพื้นที่เลี้ยง หรือเคาะแผ่นไข่ โดยการจับกระดาษขนานกับพื้นแล้วเคาะลงโดยใช้มือ หรือด้ามขนนกตีลงบนหลังของแผ่นไข่นั้นปัดด้วยขนนกให้มารวมกัน ไหมจำนวน 20,000 ตัว ควรขยายพื้นที่ประมาณ 2 เท่าแผ่นไข่หรือประมาณ 80 X 100 เซนติเมตร ในขณะเดียวกันก็กระจายไหมให้อยู่สม่ำเสมอ หั่นใบหม่อนขนาด 0.5 X 0.5 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 80 กรัม โรยบนตัวไหมให้สม่ำเสมอ ไข่ไหมที่ยังไม่ฟักในเวลานี้ควรห่อกระดาษไว้เพื่อฟักในวันรุ่งขึ้น และทำวิธีเดียวกัน

9 ไหมวัยอ่อน วิธีที่ 2 เป็นวิธีที่คล้ายคลึงกัน ยกเว้นการโรยยาฆ่าเชื้อ ให้ทำในมื้อที่ 2 การโรยยาฆ่าเชื้อในขณะไหมแรกฟัก ยาอาจไปทำอันตรายผิวหนังอ่อนๆ ของไหมได้ จึงควรใช้ยาในมื้อที่ 2 ของการให้อาหาร ในกรณีที่ไข่ไหมบรรจุกล่อง ก่อนที่ไหมจะฟักออก หากระดาษที่มีรูทั้งแผ่นวางทับบนภาชนะที่ใช้รองไข่ซึ่งมีขนาดเท่ากับแผ่นไข่ เมื่อให้ใบหม่อนลงบนแผ่นกระดาษที่มีรูนั้นตัวไหมจะขึ้นมาหาอาหารเมื่อหนอนไหมขึ้นมาหมดแล้ว ยกแผ่นกระดาษขึ้นไปปัดและเลี้ยงบนภาชนะที่ใช้เลี้ยง จะทำให้ตัวไหมกับไข่ไหมแยกจากกัน การทำงานจะสะดวกขึ้น จากนั้นโรยยาในมื้อที่สองของการให้อาหาร

10 ไหมวัยอ่อน การเลี้ยงไหมวัยอ่อน
ไหมควรจะเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่สะอาด ใบหม่อนจำเป็นต้องเป็นใบอ่อนเหมาะสมกับวัย สะอาด สด และปริมาณที่มากตามความต้องการ ถ้าต้องการให้ไหมได้กินใบหม่อนสดอยู่เสมอ จำเป็นต้องเพิ่มจำนวนครั้งในการให้อาหารหรือหาวัสดุคลุม หากพบว่าอุณหภูมิสูงควรระบายอากาศ โดยเปิดหน้าต่างเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพที่ไหมวัยอ่อนต้องการ คือ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง องศาเซลเซียส ความชื้นประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ในระยะที่ไหมนอน ควรจะลดความชื้นด้วยการถ่ายมูลไหมและงดการให้อาหาร เพื่อให้ความชื้นน้อยลง ความชื้นสัมพัทธ์ในระยะไหมนอนควรเป็น 60 – 70 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้หนอนไหมลอกคราบได้สะดวก และไม่มีเชื้อโรคเข้าทำลายเมื่อหนอนไหมลอก

11 ไหมวัยอ่อน สรุปเทคนิคบางประการในการเลี้ยงไหมวัยอ่อน
เอาใจใส่เรื่องความสม่ำเสมอในการเจริญเติบโตของหนอนไหม ขนาดใบหม่อนที่หั่นไม่ควรแตกต่างกันมากนัก ความหนาแน่นของหนอนไหมต่อพื้นที่ที่เลี้ยงควรเหมาะสม ไม่มาก หรือน้อยเกินไป เตรียมใบหม่อนไว้ล่วงหน้า เพื่อความรวดเร็วในการให้อาหาร จัดเตรียมตารางจำนวนใบหม่อนในแต่ละวัน จัดทำโปรแกรมกำหนดวันที่และเวลาในการลอกคราบของหนอนไหม ให้อาหารหนอนไหมหลังจากลอกคราบเกือบหมดแล้ว

12 ไหมวัยแก่ ไหมวัยแก่ หมายถึง ไหมวัย 4 และ 5 ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและต้องการอาหารมาก เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าไหมแรกฟัก 8,000 – 10,000 เท่า แต่มีการย่อยน้อยกว่าไหมวัยอ่อน ไหมวัย 5 ส่วนของน้ำภายในร่างกายจะลดลงตามระบบทางสรีรวิทยา ดังนั้น การเลี้ยงไหมวัย 5 จึงต้องปรับสภาพแวดล้อมให้มีความชื้นต่ำ

13 ไหมวัยแก่ หลักการเลี้ยงไหมวัยแก่
เลี้ยงในสภาพที่อากาศถ่ายเทได้ดี ให้ใบหม่อนสดและมีคุณค่าทางอาหารเพียงพอ ในกรณีที่หนอนไหมกินใบหม่อนที่ไม่มีคุณภาพ มีผลทำให้คุณภาพของเส้นใยลดลงได้ เลี้ยงไหมวัยแก่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คืออุณหภูมิ 24 – 30 องศาเซลเซียส ความชื้น 70 –75 เปอร์เซ็นต์ จำเป็นต้องปลูกต้นไม้รอบ ๆ โรงเลี้ยงไหมเพื่อไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไป

14 ไหมวัยแก่ ข้อพิจารณาในการให้ใบหม่อน
การให้ใบหม่อนควรให้ใบหม่อนที่สด เวลาที่เหมาะสมในการเก็บใบหม่อนคือ เวลาเช้า 6.00 น. เมื่อเก็บใบหม่อนแล้วใช้น้ำพรมเพื่อไม่ให้ใบหม่อนเหี่ยว หนอนไหมวัยแก่ต้องการปริมาณใบหม่อนมาก ปริมาณใบหม่อนที่ให้นั้นจะต้องเพียงพอกับความต้องการของหนอนไหม การเลี้ยงไหม 1 กล่อง (ไข่ไหม 20,000 ฟอง) ต้องการใบหม่อน ประมาณ 450 กิโลกรัม จะได้รังไหม 30 กิโลกรัม ถ้าใบหม่อนเหลืออยู่ในกระด้งมากแสดงว่าให้ใบหม่อนมากเกินไป แต่ถ้าหนอนไหมกินใบหม่อนหมดจนเหลือก้านใบแสดงว่าให้ใบหม่อนน้อยเกินไป

15 ไหมวัยแก่ การขยายพื้นที่ วัยที่ 4
วันที่ จำนวนหนอนไหม 350 ตัวต่อ 1 กระด้ง วันที่ จำนวนหนอนไหม 240 ตัวต่อ 1 กระด้ง วันที่ 3 เป็นต้นไป จำนวนหนอนไหม 200 ตัวต่อ 1 กระด้ง วัยที่ 5 วันที่ จำนวนหนอนไหม 200 ตัวต่อ 1 กระด้ง วันที่ จำนวนหนอนไหม 180 ตัวต่อ 1 กระด้ง วันที่ 3 เป็นต้นไป จำนวนหนอนไหม 150 ตัวต่อ 1 กระด้ง

16 ไหมวัยแก่ การถ่ายมูล การถ่ายมูลไหมวัยแก่ควรทำบ่อยๆ เพื่อรักษาสภาพอากาศในห้องเลี้ยงไหมให้ดี และป้องกันการสูญเสียของจำนวนหนอนไหม สำหรับหนอนไหมวัย 4 ควรถ่ายมูลวันเว้นวัน และถ่ายมูลทุกวัน วันสำหรับหนอนไหมวัย 5 วิธีการถ่ายมูล อาจใช้ตาข่ายถ่ายมูลเช่นเดียวกับไหมวัยอ่อน แต่เป็นตาข่ายที่มีตาใหญ่กว่า

17 ไหมวัยแก่ ไหมนอนไหมตื่น
ก่อนไหมจะนอนนั้น ลำตัวจะเริ่มใสสะท้อนแสง กินอาหารน้อยลงจนหยุดกินอาหารเมื่อโตเต็มที่ จะอยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหว ชูหัว เมื่อพบลักษณะดังกล่าวควรหยุดให้อาหาร เมื่อไหมลอกคราบเสร็จจะสังเกตได้จาก ลำตัวจะเหี่ยวย่นมีสีเทา ส่วนหัวจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เคลื่อนไหวไปมาและเริ่มต้องการอาหาร ถ้าสังเกตเห็นลักษณะดังกล่าว ควรเริ่มให้อาหารกับไหมที่ลอกคราบเสร็จแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือในระยะไหมนอน หรือลอกคราบนั้นจำเป็นต้องให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พอเหมาะ มีการระบายถ่ายเทอากาศที่ดี เมื่อไหมลอกคราบเสร็จแล้ว การเริ่มให้อาหารครั้งแรกก็มีความสำคัญคือ ต้องค่อย ๆ ให้ทีละน้อยแล้วเพิ่มปริมาณให้มากขึ้นเรื่อย ๆ

18 ไหมวัยแก่ ไหมสุก ไหมวัย 5 เมื่อเข้าสู่วันที่ 5 – 6 ไหมจะกินอาหารน้อยลง ถ่ายมูลเหลว ลำตัวโปร่งแสงเพราะต่อมผลิตเส้นไหมเจริญเติบโตเต็มที่ปิดทางเดินอาหาร ตัวไหมจะไต่ไปรอบๆ เพื่อหาที่ทำรังและไต่ขึ้นที่สูง แล้วขับถ่ายปัสสาวะ ไหมสุกจะพ่นเส้นใยด้านในออกมาเป็นรูปเลขแปด ไหมจะทำรังเสร็จ ภายใน 48 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ความยาวของเส้นใยขึ้นกับไหมแต่ละสายพันธุ์

19 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหม
อุณหภูมิ อุณหภูมิภายนอกเมื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิภายในของตัวไหมแล้ว จะสูงกว่าอุณหภูมิภายนอก 1 องศาเซลเซียส ไหมจะทนอุณหภูมิได้ระหว่าง องศาเซลเซียส เมื่ออุณหภูมิสูงควรให้อากาศถ่ายเทโดยเปิดหน้าต่างให้อากาศร้อนกระจายออกไปหรือใช้น้ำฉีดพ่นหลังคาหรือใช้จากมุงทับหลังคาเดิมอีกชั้น ฤดูหนาวบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำ การเลี้ยงไหมควรเพิ่มอุณหภูมิโดยการใช้เตาไฟฟ้าเข้าไปไว้ในห้องเลี้ยงไหม การปลูกต้นไม้รอบ ๆ บริเวณโรงเลี้ยงไหม ยังเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้หนอนไหมหายใจและกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์

20 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหม
ความชื้นสัมพัทธ์ ทำให้ระยะเวลาการเลี้ยงไหมสั้นหรือยาว ถ้าความชื้นในอากาศต่ำกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ใบหม่อนจะเหี่ยวเร็ว หนอนไหมก็จะกินอาหารไม่ได้เต็มที่ หนอนไหมจะอ่อนแอและเติบโตช้า การเพิ่มความชื้นทำได้โดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำวางไว้รอบ ๆ กองใบหม่อน แต่ไหมจะแข็งแรงดีหากมีความชื้นสูง หม่อนจะสดอยู่นาน ไหมกินใบหม่อนได้เรื่อยๆ เมื่อความชื้นสูงเกิน 90 เปอร์เซ็นต์ เชื้อราเข้าทำอันตรายได้ง่ายซึ่งจะทำให้ไหมอ่อนแอ การลดความชื้นทำได้โดยใช้พัดลมช่วยระบายความชื้นออกจากโรงเลี้ยงไหม

21 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหม
อากาศ ไหมต้องการออกซิเจนสำหรับหายใจและคายคาร์บอนไดออกไซด์ ห้องเลี้ยงไหมจึงควรจัดระบบการถ่ายเทอากาศให้ดี การปลูกต้นไม้รอบบริเวณจะช่วยทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น มีผลทำให้อากาศบริสุทธิ์ ป้องกันอากาศหนาวเย็นและกันลมร้อนโดยทางอ้อมด้วย แสงสว่าง เป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของไหมมักพบว่าที่เลี้ยงแห่งไหนใกล้รังสีของแสงผ่าน มักจะมีการลอกคราบและสุกก่อนส่วนที่ได้รับรังสีของแสงน้อย โรงเลี้ยงไหมจึงควรวางอยู่ในแนวเหนือใต้ กระด้งไหมควรสลับทุกวัน เพื่อให้ไหมเจริญเติบโตและสุกพร้อมกัน

22 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหม
อาหาร ขนาดของใบหม่อน หนอนไหมวัย 1-3 หากหั่นใบหม่อนสี่เหลี่ยมควรจะเป็น 2 เท่าความยาวลำตัว หากหั่นขวางความกว้างควรจะเป็น 1 เท่าความยาวลำตัว การหั่นใบหม่อนเพื่อให้หนอนไหมกินอาหารได้ง่ายขึ้นและหนอนไหมทุกตัวสามารถกินใบหม่อนได้พร้อมๆ กัน จะทำให้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

23 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหม
ปริมาณใบหม่อน การให้ใบหม่อนควรให้พอเหมาะไม่น้อยหรือมากเกินไป ถ้ามากเกินไปใบหม่อนจะเหลือมาก ทำให้สูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ ถ้าให้น้อยเกินไป หนอนไหมกินอาหารไม่เพียงพอทำให้ไหมอ่อนแอ ปริมาณการให้อาหารขึ้นอยู่กับอายุ อุณหภูมิ พันธุ์ไหม ระยะเวลาให้อาหาร ควรให้ใบหม่อนในอัตราส่วน 30 : 20 : 50 โดยคิดการให้อาหารวันละ 3 ครั้งเป็นทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ การใช้ประสบการณ์และการสังเกตในการเลี้ยงไหมจะสามารถกำหนดปริมาณการให้อาหารได้เหมาะสม ไม่สิ้นเปลืองโดยการให้ในปริมาณที่หนอนไหมกินได้หมดพอดี

24 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหม
จำนวนครั้งของการให้อาหาร หนอนไหมจะกินใบหม่อนอย่างสม่ำเสมอ ก่อนกินใบหม่อน หนอนไหมต้องมีระยะเวลาหยุดพักสั้น ๆ เพื่อพักและหยุดการเคลื่อนไหว เมื่อกินอาหารอิ่มแล้วหนอนไหมจะไม่เคลื่อนไหว จนกระทั่งใบหม่อนถูกย่อยหมดแล้วหนอนไหมจะเริ่มหิว เกษตรกรต้องหมั่นสังเกตลักษณะนิสัยของหนอนไหม เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการให้อาหาร ทั้งช่วงเวลาและปริมาณอาหาร โดยทั่วไปเกษตรกรจะให้อาหาร 3 ครั้ง คือเวลา น., น. และ น.

25 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหม
การเก็บใบหม่อนเลี้ยงไหมวัยอ่อน หม่อนสำหรับเลี้ยงไหมวัยอ่อน คือ หม่อนที่มีโปรตีนสูง น้ำมาก เยื่อใยน้อยแผ่นใบบาง และสามารถสังเคราะห์แสงได้แล้ว การเก็บใบหม่อนที่ถูกต้องและเหมาะสมกับช่วงเวลาการเจริญเติบโตของหนอนไหมและสภาพอากาศ ควรปฏิบัติดังนี้ ขนาดของไหม ฤดูฝน ฤดูแล้ง วัย 1 วัย 2 วัย 3 3 ใบจากยอดที่สังเคราะห์แสงแล้ว 6 ใบจากยอดที่สังเคราะห์แสงแล้ว 9 ใบจากยอดที่สังเคราะห์แสงแล้ว 2 ใบจากยอดที่สังเคราะห์แสงแล้ว 4 ใบจากยอดที่สังเคราะห์แสงแล้ว

26 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหม
การเก็บใบหม่อนเลี้ยงไหมวัยอ่อนมีด้วยกัน 2 วิธี - การเก็บเป็นใบ - การเก็บเป็นกิ่งแขนง

27 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหม
การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวของไหม ไหมแรกฟัก เท่า ไหมตื่นวัย เท่า ไหมตื่นวัย เท่า ไหมตื่นวัย เท่า ไหมตื่นวัย , ,200 เท่า ไหมเจริญเติบโตเต็มที่ , ,000 เท่า

28 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหม
การถ่ายมูล เพื่อกำจัดตัวตาย เศษอาหาร มูลไหม ลดความชื้น ขยายเนื้อที่โดยใช้ตาข่ายถ่ายมูล วัสดุที่ใช้เพื่อกำจัดความชื้น ได้แก่ ปูนขาว แกลบเผา ในวัย 1 ถ่ายมูล 1 ครั้ง ก่อนไหมนอนครั้งที่ 1 ในวัย 2 ถ่ายมูล 2 ครั้ง หลังตื่นนอนครั้งที่ 1 และก่อนนอนครั้งที่ 2 ในวัย 3 ถ่ายมูล 2 ครั้ง หลังตื่นนอนครั้งที่ 2 และก่อนนอนครั้งที่ 3

29 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหม
การถ่ายมูล (ต่อ) การถ่ายมูลใช้ตาขายถ่ายมูลของไหมวัยอ่อน ช่องตาข่ายมีขนาด เซนติเมตร ก่อนวางตาข่ายควรใช้สารเคมีป้องกันโรคแล้ววางตาข่ายก่อนให้อาหาร 10 – 15 นาที โรยใบหม่อนบนตาข่าย หนอนไหมจะไต่ขึ้นมากินอาหารข้างบน เมื่อหนอนไหมขึ้นมาหมดแล้วจึงยกตาข่ายเอามูลเก่าทิ้ง ข้อควรระวังในการถ่ายมูลไหม ระวังไม่ให้ไหมช้ำหรือเป็นแผล การถ่ายมูลจำเป็นต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งด้วยสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ

30 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหม
การขยายพื้นที่ วัย 1 ขยายพื้นที่ 3 เท่าความกว้างลำตัว วัย 2 ขยายพื้นที่ 3 เท่าความกว้างลำตัว วัย 3 ขยายพื้นที่ 3 เท่าความกว้างลำตัว วัย 4 ขยายพื้นที่ 2 เท่าความกว้างลำตัว วัย 5 ขยายพื้นที่ 1 เท่าความกว้างลำตัว

31 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหม
การอบโรงฆ่าเชื้อ วิธีการที่นิยมปฏิบัติกันมากที่สุดคือ การฉีดหรือพ่นด้วยฟอร์มาลีน 3% โดยทำก่อนและหลังการเลี้ยงไหมทุกครั้ง ปิดอบโรงเลี้ยงไว้ประมาณ 1-2 วัน วิธีนี้ใช้ทำลายเชื้อที่ติดมากับอุปกรณ์การเลี้ยงและโรงเลี้ยงไหม ถ้าห้องเลี้ยงไหมมีความสูงไม่เกิน 2.70 เมตร สามารถใช้ฟอร์มาลีน 3% ฉีดพ่นทำลายเชื้อโรค ในอัตรา 1 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร

32 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหม
การหาปริมาณของฟอร์มาลีนที่ใช้ในพื้นที่ที่กำหนด สามารถคำนวณได้จากสูตร ฟอร์มาลีนเดิมที่ต้องใช้ผสม = ปริมาณฟอร์มาลีน 3% ที่ใช้ทั้งหมด x % ของฟอร์มาลีนที่ต้องการ % ของฟอร์มาลีนเดิม x ถ.พ. ของฟอร์มาลีนเดิม น้ำที่ใช้ผสม = ปริมาณฟอร์มาลีน 3 % ที่ใช้ทั้งหมด – ฟอร์มาลีนเดิมที่ต้องใช้ผสม

33 การผลิตอาหารเทียม การศึกษาประสิทธิภาพของอาหารเทียม ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ อาหารเทียมสำหรับการเลี้ยงไหมวัยอ่อน และ อาหารเทียมของไหมวัยแก่ สูตรอาหารเทียมไหมวัยอ่อน ใช้สูตรอาหารเทียมจากประเทศเกาหลี เมื่อปรับส่วนผสมต่างๆ แล้วนำมาเลี้ยงไหมวัยอ่อน นำผลที่ได้จากการปรับระดับที่ให้ผลดีที่สุดมาประกอบเป็นสูตรอาหารเทียม เลือกสูตรอาหารเทียมจากการปรับระดับส่วนประกอบที่มีอัตราการเลี้ยงรอดในวัยอ่อนสูง

34 การผลิตอาหารเทียม สูตรอาหารเทียมไหมวัยแก่
ใช้สูตรอาหารเทียมจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อปรับส่วนผสมต่างๆ แล้วนำมาเลี้ยงไหมวัยแก่ นำผลที่ได้จากการปรับระดับที่ให้ผลดีที่สุดมาประกอบเป็นสูตรอาหารเทียม และเลือกสูตรอาหารเทียมจากการปรับระดับส่วนประกอบที่มีอัตราการเลี้ยงรอดในวัยแก่ เปอร์เซ็นต์ดักแด้สมบูรณ์ ให้ผลผลิตรังไหมสูง ***สูตรอาหารเทียมของไหมวัยอ่อนและสูตรอาหารเทียมของไหมวัยแก่ให้ผลผลิตที่ไม่แตกต่างไปจากการเลี้ยงไหมด้วยใบหม่อน ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ


ดาวน์โหลด ppt การเลี้ยงไหม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google