งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การตอบสนองของพืช.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การตอบสนองของพืช."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การตอบสนองของพืช

2 การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม
1. การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเจริญเติบโต (growth movement) การตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก การตอบสนองที่เกิดจากสิ่งเร้าภายใน การเคลื่อนไหวเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง แรงดันเต่ง turgor movement) 3. การตอบสนองของพืชต่อ สารควบคุมการเจริญเติบโต

3 การตอบสนองที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอกมี 2 แบบ
1.1 แบบมีทิศทางเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งเร้า การตอบสนองแบบนี้อาจจะทำให้ส่วนของพืชโค้งเข้าหาสิ่งเร้า เรียกว่า positive tropism เคลื่อนที่หนีสิ่งเร้าที่มากระตุ้น เรียกว่า negative tropism จำแนกได้ตามชนิดของสิ่งเร้า

4 Tropism or tropic movement

5 Phototropism

6 Gravitropism

7 Negative tropism โฟโททรอปิซึม (phototropism) เป็นการตอบสนองของพืชที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นแสง -ปลายยอดพืช (ลำต้น) มีทิศทางการเจริญเติบโตเจริญเข้าหาแสงสว่าง (positive phototropism) -ปลายรากจะมีทิศทางการเจริญเติบโตหนีจากแสงสว่าง (negative phototropism)

8 โฟโททรอปิซึม (phototropism)

9

10 1.1.2 จีโอทรอปิซึม (geotropism)
เป็นการตอบสนองของพืชที่ตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลก -รากพืชจะเจริญเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลกเพื่อรับน้ำและแร่ธาตุจากดิน (positive geotropism ) -ปลายยอดพืช (ลำต้น) จะเจริญเติบโตในทิศทางตรงข้ามกับแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อชูใบรับแสงสว่าง (negative geotropism)

11 1.1.3 เคมีอทรอปิซึม (chemotropism)
เป็นการตอบสนองของพืชโดยการเจริญเข้าหาหรือหนีจากสารเคมีบางอย่างที่เป็นสิ่งเร้า เช่น การงอกของหลอดละอองเรณู ไปยังรังไข่ของพืช โดยมีสารเคมีบางอย่างเป็นสิ่งเร้า

12 Chemotropism

13 1.1.4ไฮโดรทรอปิซึม (hydrotropism)
เป็นการตอบสนองของพืชที่ตอบสนองต่อความชื้น ซึ่งรากของพืชจะงอกไปสู่ที่ที่มีความชื้น

14 Hydrotropism

15 1.1.5 ทิกมอทรอปิซึม (thigmotropism)
เป็นการตอบสนองของพืชบางชนิดที่ตอบสนองต่อการสัมผัส เช่น การเจริญของ มือเกาะ (tendril) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ยื่นออกไปพันหลักเช่น ต้นตำลึง ต้นพลู ต้นองุ่น ต้นพริกไทย เป็นต้น

16 1.2 แบบมีทิศทางที่ไม่สัมพันธ์กับทิศทางของ สิ่งเร้า(nasty หรือ nastic movement)
การตอบสนองแบบนี้จะมีทิศทางคงที่คือ การเคลื่อนขึ้นหรือลงเท่านั้น ไม่ขึ้นกับทิศทางของสิ่งเร้าการบานของดอกไม้ (epinasty) เกิดจากกลุ่มเซลล์ด้านในหรือด้านบนของกลีบดอกยืดตัวหรือขยายขนาดมากกว่ากลุ่มเซลล์ด้านนอกหรือด้านล่าง

17 การหุบของดอกไม้ (hyponasty)
เกิดจากกลุ่มเซลล์ด้านนอก หรือด้านล่างของกลีบดอกยืดตัวหรือขยายขนาดมากกว่ากลุ่มเซลล์ด้านมนหรือด้านบน ดอกบัว ส่วนมากมักหุบในตอนกลางคืน และบานในตอนกลางวัน ดอกกระบองเพชร ส่วนมากจะบานใน ตอนกลางคืนและหุบในตอนกลางวัน

18 โฟโตนาสที (photonasty)

19 2. การตอบสนองที่เกิดจากสิ่งเร้า ภายในของต้นพืชเอง
2.1 การเอนหรือแกว่งยอดไปมา เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดเฉพาะส่วนยอดของพืช สาเหตุเนื่องจาก ด้านสองด้านของลำต้น (บริเวณยอดพืช) เติบโตไม่เท่ากัน ทำให้ยอดพืชโยกหรือแกว่งไปมาขณะที่ปลายยอดกำลังเจริญเติบโต

20 2.2 การบิดลำต้นไปรอบๆเป็นเกลียว
เป็นการเคลื่อนไหวเนื่องจากลำต้นทั้งสองด้านเจริญเติบโตไม่เท่ากัน การบิดลำต้นไปรอบๆ เป็นเกลียวเพื่อพยุงลำต้น เรียกว่า twining - การพันหลักของต้นมะลิวัลย์ - พริกไทย - อัญชัน - ตำลึง ฯลฯ

21

22 Spiral movement

23 การเคลื่อนไหวที่เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่ง
พืชบางชนิดที่ตอบสนองได้เร็ว โดยการสัมผัสจะไปทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำภายในเซลล์ ของเซลล์เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วและไม่ถาวร ซึ่งมีหลายแบบ คือ 1. การหุบของใบจากการสะเทือน 2. การหุบใบตอนพลบค่ำของพืชตระกูลถั่ว 3. การเปิดปิดของปากใบ

24

25 1. การหุบของใบจากการสะเทือน
1. การหุบของใบจากการสะเทือน - การหุบใบของต้นไมยราบ ตรงบริเวณโคนก้านใบมีกลุ่มเซลล์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า พัลไวนัส (pulvinus) มีความไวสูงต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น - เมื่อสิ่งเร้ามาสัมผัสจะมีผลทำให้แรงดันเต่งของกลุ่มเซลล์คือ เซลล์จะสูญเสียน้ำให้กับเซลล์ข้างเคียงทำให้ใบหุบ - ถ้าน้ำซึมผ่านกลับเข้าสู่เซลล์พัลไวนัสอีกแรงดันเต่งในเซลล์ขึ้นทำให้แรงดันเต่งและใบกางออก

26 การหุบของใบพืชเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปเพื่อจับแมลง
ได้แก่ ใบของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ต้นสาหร่ายข้าวเหนียว ต้นกาบหอยแครง ต้นหยาดน้ำค้าง เป็นต้น ภายในใบจะมีกลุ่มเซลล์หรือขนเล็กๆ (hair) ที่ไวต่อสิ่งเร้าอยู่ทางด้านในของใบ เมื่อแมลงบินมาถูกหรือมาสัมผัสจะเกิดการสูญเสียน้ำ ใบจะเคลื่อนไหวหุบทันที แล้วจึงปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยโปรตีนของแมลงให้เป็น กรดอะมิโน จากนั้นจึงดูดซึมที่ผิวด้านในนั้นเอง

27 2. การหุบใบตอนพลบค่ำของพืชตระกูลถั่ว
เป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มของแสงของพืชตระกูลถั่ว เช่น ใบก้ามปู ใบมะขาม ใบไมยราบ ใบถั่ว ใบแค ใบกระถิน ใบผักกระเฉด เป็นต้น โดยที่ใบจะหุบ ก้านใบจะห้อยและลู่ลงในตอนพลบค่ำ เนื่องจากแสงสว่างลดลง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ต้นไม้นอน” แต่พอรุ่งเช้า ใบก็จะกางตามเดิม

28

29 3. การเปิดปิดของปากใบ (guard cell movement)

30 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชด้วยการเคลื่อนไหวแบบต่างๆ
สรุปได้ดังนี้ 1. การหันยอดเข้าหาแสงสว่าง ช่วยให้พืชสังเคราะห์อาหารได้อย่างทั่วถึง การหันรากเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ช่วยให้รากอยู่ในดิน 3. การเจริญเข้าหาสารเคมีของละอองเรณู ช่วยในการผสมพันธุ์ 4. การเคลื่อนไหวแบบ twining movement ช่วยให้พืชเกาะพันกับ สิ่งอื่นๆสามารถชูกิ่งหรือยอด เพื่อรับแสงแดด หรือชูดอกและผล เพื่อการสืบพันธุ์หรือกระจายพันธุ์ 5. การหุบของต้นกาบหอยแครงช่วยในการจับแมลง 6.อาหารการหุบของไมยราบช่วยในการหลบหลีกศัตรู


ดาวน์โหลด ppt การตอบสนองของพืช.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google