งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 11 โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 11 โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 11 โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
ชีววิทยา เล่ม 3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เนื้อหาสาระ เนื้อเยื่อพืช อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช การแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำของพืช การลำเลียงน้ำของพืช การลำเลียงสารอาหารของพืช การลำเลียงอาหารของพืช คำถามท้ายบทที่ 11 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลการเรียนรู้ 1. บอกความหมายของเนื้อเยื่อเจริญและเนื้อเยื่อ ถาวรได้ 2. จำแนกชนิดของเนื้อเยื่อเจริญโดยใช้ ลักษณะ/โครงสร้างและตำแหน่งที่อยู่ป็นเกณฑ์ได้ 3. อธิบายและจำแนกลักษณะของเนื้อเยื่อพืชแต่ละชนิดได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

4 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เนื้อเยื่อพืช จำแนกได้เป็น 3 ระบบดังนี้ 1. ระบบเนื้อเยื่อห่อหุ้ม ได้แก่เนื้อเยื่อที่อยู่ผิวนอกสุดของพืช ทำหน้าที่ปกคลุมส่วนอื่นๆ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชนิด คือ 1.1 เอพิเดอร์มิส (epidermis) 1.2ฟริเดิร์ม (periderm) 2.ระบบเนื้อเยื่อท่อลำเลียง ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ แร่ธาตน้ำ แร่ธาตุ และอาหาร ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชนิด คือ 2.1 ไซเลม (xylem) ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ และแร่ธาต 2.2 โฟลเอ็ม (phloem) ทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

5 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เนื้อเยื่อพืช เนื่อเยื่อเจริญ (meristem)  ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่มีการเจริญและแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitosis) อยู่ตลอดเวลา จำแนกได้ ดังนี้ 1. จำแนกตามตำแหน่งในส่วนต่าง ๆ ของพืช เป็น 3 ชนิด ได้แก่ 1.1 เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (apical meristem) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ บริเวณ ปลายยอด หรือ ปลายรากทำให้รากและลำต้นยืดยาวออก  1.2 เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (intercalary meristem) เป็นเนื้อเยื่อที บริเวณเหนือข้อ หรือโคน ของปล้องในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ช่วยให้ปล้องยาวขึ้น หรือตาม ก้านช่อดอกของพืช บางชนิด เช่น พวกว่านสี่ทิศ ดอกพลับพลึง ซึ่งก้านดอกจะแทง ขึ้นมาจากดินโดยตรง 1.3 เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (lateral meristem) เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่ แบ่งตัวออกด้านข้าง ทำให้ลำต้น ราก ขยายขนาดใหญ่ออก ได้แก่ พวกเยื่อเจริญหรือ แคมเบียม (cambium) ถ้าเกิดขึ้นในกลุ่มท่อลำเลียง เรียกว่า vascular cambium ถ้าเกิดขึ้นใต้ชั้นเอพิเดอร์มิส เรียกว่า cork cambium ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

6 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เนื้อเยื่อพืช 2. จำแนกตามระยะการเจริญ เป็น 3 ชนิด ได้แก่ 2.1 Promeristem เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ จากการ แบ่งตัว มีนิวเคลียส ขนาดใหญ่ เซลล์มีขนาดเท่ากัน พบที่บริเวณปลาย ยอดปลายราก 2.2 Primary meristem เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่เปลี่ยนแปลงมา จาก promeristem พบตาม บริเวณต่ำกว่าปลายยอดลงมา ใน ราก พบบริเวณที่เซลล์ยืดตัว 2.3 Secondary meristem เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่พบในพืช ที่มีการเจริญขั้นที่สอง เพื่อขยาย ขนาดให้กว้างออก ได้แก่ vascular cambium และ cork cambium ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

7 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เนื้อเยื่อพืช เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่เจริญเปลี่ยนแปลงมาทำหน้าที่เฉพาะ โดยจะไม่แบ่งตัวอีก จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ  1.เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (Simple permanent tissues) 1.1 Parenchyma เป็นเนื้อเยื่อพื้นที่พบมากที่สุดในพืช ตามส่วนต่างๆ โดยเฉพาะส่วน ที่อ่อนนุ่ม เช่น บริเวณคอร์เทก พิธ เนื้อผลไม้ พาเรนไคมาเป็นเซลล์ที่มีชีวิต ขนาดค่อนข้าง ใหญ่ มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปกลม รี ทรงกระบอก ภายในเซลล์อาจพบหรือไม่พบ นิวเคลียส ผนังเซลล์บางเป็นผนังเซลล์ชั้นแรก (primary wall) มักพบ central vacuoles ขนาดใหญ่ และมี intercellular spaces ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

8 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เนื้อเยื่อพืช 1.2 Collenchyma รูปร่างรี ยาว เซลล์มีผนังหนาไม่สม่ำเสมอ จัดเป็นผนังเซลล์ชั้นแรก เป็นเนื้อเยื่อที่สร้างความแข็งแรงให้กับพืช เมื่อมีการเจริญเติบโตเต็มที่ก็ยังเป็นเนื้อเยื่อ ที่มีชีวิต พบโดยทั่วไปในส่วนของพืช เช่น stems petioles (stalk) laminae roots เมื่อ cross-section ส่วนของลำต้น มักพบ collenchyma อยู่ติดกับ epidermis หรือถูกขั้นด้วย parenchyma 2-5 แถว นอกจากนี้ยังพบบริเวณเส้นใบ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อลำเลียง พบบริเวณ มุมหรือเหลี่ยมของลำต้น ผนังเซลล์หนาทำหน้าไม่พบ Intercellular air spaces หรือพบน้อยมาก ส่วนประกอบภายในเซลล์อาจพบ nucleus chloroplasts บ้างแต่พบน้อย มาก เนื่องจากมีผนังเซลล์ที่หนา Collenchyma เชื่อว่า Collenchyma มีต้นกำเนิดมาจาก parenchyma จากนั้น differentiate โดยผนังเซลล์จะ เสริมให้มีความแข็งแรงมากขึ้น โดยการสะสมของ cellulose และ pectin  ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เนื้อเยื่อพืช 1.2 Collenchyma รูปร่างรี ยาว เซลล์มีผนังหนาไม่สม่ำเสมอ จัดเป็นผนังเซลล์ชั้นแรก เป็นเนื้อเยื่อที่สร้างความแข็งแรงให้กับพืช เมื่อมีการเจริญเติบโตเต็มที่ก็ยังเป็นเนื้อเยื่อ ที่มีชีวิต พบโดยทั่วไปในส่วนของพืช เช่น stems petioles (stalk) laminae roots เมื่อ cross-section ส่วนของลำต้น มักพบ collenchyma อยู่ติดกับ epidermis หรือถูกขั้นด้วย parenchyma 2-5 แถว นอกจากนี้ยังพบบริเวณเส้นใบ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อลำเลียง พบบริเวณ มุมหรือเหลี่ยมของลำต้น ผนังเซลล์หนาทำหน้าไม่พบ Intercellular air spaces หรือพบน้อยมาก ส่วนประกอบภายในเซลล์อาจพบ nucleus chloroplasts บ้างแต่พบน้อย มาก เนื่องจากมีผนังเซลล์ที่หนา Collenchyma เชื่อว่า Collenchyma มีต้นกำเนิดมาจาก parenchyma จากนั้น differentiate โดยผนังเซลล์จะ เสริมให้มีความแข็งแรงมากขึ้น โดยการสะสมของ cellulose และ pectin  ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

10 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เนื้อเยื่อพืช 1.3 Sclerenchyma เมื่อเจริญเต็มที่จะไม่มีชีวิต มีผนังเซลล์ที่หนามาก ลักษณะเด่น ของเซลล์นี้คือ ผนังเซลล์ ขั้นที่สอง (secondary wall) หนา ประกอบด้วย cellulose และ/หรือ lignin โปรโตพลาสต์มักสลายไป หลังจากผนังเซลล์เจริญเต็มที่ เหลือเป็นช่องว่าง ภายในเซลล์ เรียกว่า Lumen Sclerenchyma cells มักพบปะปนกับเซลล์ชนิดอื่นเพื่อ ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงแก่โครงสร้างต่างๆ Sclerenchyma มักพบ ตามลำต้น และในใบพบในส่วนของมัดท่อน้ำท่ออาหาร Sclerenchyma สร้างความแข็งแรงให้กับ เมล็ด โดยเฉพาะส่วนของเปลือกหุ้มเมล็ดจัดเป็นเนื้อเยื่อสำคัญที่สร้างความแข็งแรง ให้กับพืช Sclerenchyma สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด โดยใช้ลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันดังนี้  Fibres ลักษณะเซลล์ยาว ปลายเซลล์เรียว ผนังเซลล์หนามาก พบ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นมัด เช่น ในเนื้อไม้  Sclereids (Stone cells) ที่เรียกstone เนื่องจากเซลล์มี ความแข็งแรงเหมือนหิน มีรูปร่างหลายแบบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

11 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เนื้อเยื่อพืช 1.4. Epidermis เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของส่วนต่างๆ ของพืช ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัว เพียงชั้นเดียว มักไม่พบ intercellular spaces รูปร่างแบนยาว ผนังเซลล์บาง โดยส่วนใหญ่ผนังเซลล์ด้านนอกจะหนากว่าด้านใน และพบมีสารคิวตินซึ่งเป็นสารพวกไขมัน เคลือบอยู่ชั้นนอก ยกเว้นในรากจะมี suberin เคลือบ พืชที่ขึ้นอยู่ในที่แห้งแล้งมักมีคิวติน เคลือบหนา เพื่อรักษาน้ำที่อยู่ภายใน โดยทั่วไปอิพิเดอร์มิสไม่มี chloroplast ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

12

13 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (Complex permanent tissues) คือ เนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์หลายๆ ชนิดมาทำหน้าที่ร่วมกัน ได้แก่  2.1 Xylem จัดเป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่หลักในการลำเลียงน้ำ (water-conducting tissue) ใน vascular plants ประกอบด้วย tracheary elements ได้แก่ Vessel member และ Tracheid นอกจากนั้นยังมี xylem fibres และ xylem parenchyma เพื่อทำหน้าที่ในการลำเลียงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เซลล์ที่ประกอบเป็น xylem มี secondary cell walls ซึ่งมักไม่มี protoplasts ในช่วงที่เซลล์ maturity และมักพบ Bordered pits เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการาลำเลียง ส่วน vessels ลำเลียงน้ำผ่าน perforated ผ่านทาง end walls 2.2 Phloem มาจากภาษกรีก phloios หมายถึง เปลือกไม้ (bark) ทำหน้าที่ลำเลียง สารอินทรีย์ เช่น sucrose ไปยังส่วนต่างๆ ของพืช ทุกส่วนซึ่งจากการลำเลียงน้ำ ที่ลำเลียงจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ประกอบ sieve element, companion cell, phloem fibres และ phloem parenchyma ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

14 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช ลำต้นคือส่วนของพืชที่เจริญมาจาก epicotyl และ hypocotyl มักเจริญต้านแรงโน้มถ่วงของโลก ลำต้นอาจมีการเจริญและ เปลี่ยนแปลงรูปร่างต่างๆ แต่ลำต้นมักประกอบด้วยส่วนที่สำคัญคือ ตา ข้อ ปล้อง  หน้าที่หลัก 1. ช่วยค้ำจุน (supporting) ส่วนต่างๆ ของพืช เช่นใบ กิ่งให้แผ่ ่กิ่งก้านสาขาอยู่ได้ 2. ลำเลียง (transportation) ลำต้นมีเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและอาหาร เมื่อรากพืชดูดน้ำและแร่ธาตุจากนั้นก็จะถูกลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ โดยเฉพาะใบ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง และลำเลียงอาหาร ที่ได้จากใบไปยังส่วนอื่นๆ ของต้นพืชนอกจากหน้าที่หลักดังกล่าวแล้ว ลำต้นยังมีหน้าที่อื่นๆ ตามลักษณะของลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไป  ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

15 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช ตอนที่1ลำต้นใต้ดิน (Underground stem) 1. เหง้า (rhizome or root stock)  เป็นลำต้นใต้ดินที่มักเจริญในแนวขนานกับผิวดิน อาจมีลักษณะกลม แตกติดต่อกันหรือกลมยาว มีข้อและปล้องสั้นๆ มีใบเกล็ด หุ้มตาไว้ ตาอาจแตกแขนงเป็นลำต้นใต้ดิน หรือลำต้นและใบแทงขึ้นเหนือดิน มีส่วนรากแทงลงดิน ได้แก่ ขมิ้น ขิง ข่า พุทธรักษา 2. Tuber  เป็นลำต้นใต้ดินสั้นๆ ประกอบด้วยข้อและปล้อง 3-4 ปล้องไม่มีใบ ลำต้นมีอาหารสะสมทำให้อวบกลม มีตาอยู่โดยรอบเกล็ด บริเวณ ปล้องมีตา ซึ่งตามักจะบุ๋มลงไป ตาเหล่านี้สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้ ได้แก่ มันฝรั่ง มันหัวเสือ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

16 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช 3. Bulb เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรงมีข้อปล้องสั้นมากตามปล้องมี ใบเกล็ด (Scale Leaf) ทำหน้าที่สะสมอาหารซ้อนห่อหุ้มลำต้นไว้หลายชั้นจนเห็นเป็นหัว ลักษณะกลม ใบชั้นนอกสุดจะลีบแบนไม่สะสมอาหาร ส่วนล่างของลำต้น มีรากเป็นกระจุก เช่น หอม กระเทียม พลับพลึง ว่านสี่ทิศหัวกลม 4. Corm เป็นลำต้นใต้ดินที่มีลำต้นตั้งตรง ลักษณะกลมยาวหรือกลมแบน มีข้อปล้องเห็นชัด ตามข้อมีใบเกล็ดบางๆ หุ้ม ลำต้นสะสมอาหารทำให้ อวบกลม มีตาตามข้อสามารถงอกเป็นใบ โผล่ขึ้นเหนือดินหรืออาจแตกเป็น ลำต้นใต้ดินต่อไปได้ ด้านล่างของลำต้นมีรากฝอยเส้นเล็กจำนวนมาก ได้แก่ เผือก แห้ว บัวสวรรค์ ซ่อนกลิ่น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

17 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช ตอนที่ 2 Modified stems 1. ไหล (stolon or runner) เป็นลำต้นเลื้อยไปตามผิวดินหรือผิวน้ำ มีข้อปล้อง ชัดเจน ตามข้อมีรากแทงลงไปในดินเพื่อช่วยยึดลำต้น นอกจากนี้บริเวณข้อ จะ มีตาเจริญไปเป็นแขนงยาว ขนานไปกับพื้นดินหรือผิวน้ำ ซึ่งจะงอกรากและ ลำต้นขึ้นใหม่ ได้แก่ สตรอเบอรี่ บัวบก ผักบุ้ง แว่นแก้ว หญ้านวลน้อย  2. ลำต้นปีนป่าย (climbing stem or climber) มักเป็นลำต้นที่อ่อนเกาะพัน ไปกับวัตถุที่ใช้ปีนป่ายไปในที่สูงๆ เช่น เถาวัลย์ พลูด่าง  3. มือเกาะ (stem tendril) เป็นลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นมือเกาะ (tendril) ใช้ยึดกับวัตถุเพื่อไต่ขึ้นที่สูงๆ หรือช่วยให้ทรงตัวอยู่ได้ เช่น มือเกาะฟักทอง น้ำเต้า บวบ แตงกวา พวงชมพู การสังเกตว่าเป็นใบหรือลำต้นที่เปลี่ยนแปลง เป็นมือเกาะมีหลักดังนี้ ถ้าข้อนั้นมีใบครบ แล้วมีมือเกาะออกมาตรงซอกใบ แสดงว่ามือเกาะนั้นเปลี่ยนแปลงมาจากลำต้น  ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

18 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช 4. หนาม (stem spine or thorn) เป็นลำต้นเปลี่ยนแปลงเป็นเพื่อทำหน้าที่ ป้องกันอันตรายต่างๆ ให้กับลำต้น เช่นหนามไผ่ หนามเฟื่องฟ้า นอกจากลำต้น แล้วใบก็สามารถเปลี่ยนเป็นหนามได้ เรียกว่า leaf spine เช่น กระบองเพชร ถ้าเปลี่ยนมาจากผิวของเปลือกเรียกว่า prickle เช่น หนามกุหลาบ 5. Cladophyll เป็นลำต้นที่มีลักษณะและทำหน้าที่คล้ายใบ มีสีเขียวของ คลอโรฟิลล์สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เช่น ต้นพญาไร้ใบ กระบองเพชร ลำต้นอวบน้ำสีเขียวใบลดรูป ซึ่งช่วยลดการคายน้ำ ซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัว ของพืชเพื่อให้อาศัยอยู่ในที่แห้งแล้งได้ สนทะเล สนประดิพัทธ์ ส่วนของกิ่ง หรือลำต้นมีสีเขียวคล้ายใบมาก แต่ใบที่แท้จริงเป็นใบเกล็ดขนาดเล็ก เรียกว่า scale leaf  ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

19 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช ตอนที่3 วงปี (annual ring) ในรอบ 1 ปี vascular cambium จะแบ่งตัวให้ secondary xylem แตกต่างกันในแต่ละฤดู ในฤดูฝนที่มีน้ำมาก vascular cambium จะแบ่งตัวให้เซลล์ที่มีขนาดใหญ่จำนวนมาก ผนังเซลล์บาง ไม่มีลิกนินมาสะสม จะมองเห็นเป็นสีจาง เรียกเนื้อไม้แบบนี้ว่า spring wood ในฤดูแล้งปริมาณน้ำฝนมีน้อย vascular cambium จะแบ่งตัวให้เซลล์ที่มีขนาดเล็ก จำนวนน้อย ผนังเซลล์หนา เพราะมี ลิกนินมาสะสมมาก จะมองเห็นเป็นสีเข้ม เรียกเนื้อไม้แบบนี้ว่า summer wood เมื่อครบ 1 ปีจะเห็นเนื้อไม้มีสีเข้มกับสีจาง ซึ่งสามารถใช้นับอายุของต้นไม้ได้  ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช ตอนที่ 4 กระพี้ (sap wood) และแก่นไม้ (heart wood) เมื่อตัดตามขวางต้นไม้ที่มีอายุมากจะเห็นเนื้อไม้มีสีเข้มอยู่บริเวณตรงกลางของลำต้น ประกอบด้วย xylem ที่อายุมาก และไม่ทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำแล้ว มีสารประกอบต่างๆ เช่น tannin มาสะสม มีความแข็งมาก เรียกเนื้อไม้ที่มีสีเข้มนี้ว่า แก่นไม้ ส่วนกระพี้จะเป็นเนื้อไม้ที่มีสีจางอยู่บริเวณ ด้านนอกและยังคงทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำ  ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

21 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช รากคือส่วนของพืชที่มักมีการเจริญเติบโตตามแรงโน้มถ่วงของโลก มีหน้าที่ที่สำคัญดังนี้ 1.ค้ำจุนส่วนต่างๆ ของพืชให้ทรงตัวอยู่ได้ (anchorage) 2. ดูดและลำเลียงน้ำ (absorption and transportation) 3.หน้าที่อื่นๆ ขึ้นกับลักษณะของรากเช่น สะสมอาหาร ยึดเกาะ ใช้ใน การหายใจเป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

22 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช ตอนที่1ระบบราก (Root system) 1. ระบบรากแก้ว (Tap root system) ระบบรากแก้วประกอบด้วยรากแก้วซึ่งเป็นรากที่มีขนาดใหญ่กว่ารากอื่นๆ (เจริญมาจาก radicle หรือ embryonic root) และมีรากแขนงเจริญออกจากรากแก้ว จำนวนมากและมี ีขนาดรากแตกต่างกัน พืชใบเลี้ยงคู่และพืชกลุ่ม gymnosperm ส่วนใหญ่มีระบบรากแก้ว รากแก้วที่มีขนาดใหญ่จะช่วยในการยึดเกาะและพยุงให้ลำต้น ตั้งตรงและทรงตัวได้ดี 2. ระบบรากฝอย (Fibrous root system) ระบบรากฝอยพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวเมื่องอกออกจากเมล็ด มีรากแก้วแต่รากแก้วจะสลายไป ประกอบด้วยรากที่มีขนาดใกล้เคียงกัน จำนวนมาก ซึ่งรากดังกล่าวเจริญและพัฒนามาจากเซลล์ที่อยู่ปลายสุดของลำต้น ดังนั้นจึงอาจถูกเรียกว่า adventitious root ได้ รากฝอยบริเวณโคนรากมีขนาดใกล้เคียงกับปลายรากและมักจะมี ีการเจริญขนานไปกับพื้นดิน ซึ่งแตกต่างจากระบบรากแก้วที่มักเจริญลงด้านล่างลึกลงไปในดิน เพื่อดูดน้ำและแร่ธาตุ ตัวอย่างระบบรากฝอย เช่น รากหญ้า ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

23 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช ตอนที่2 ชนิดของราก (Kind of root) จำแนกตามแหล่งกำเนิดของรากสามารถแบ่งรากออกเป็นชนิดต่างๆ ดังนี้ 1. รากแก้ว (primary root ) เจริญเติบโตมาจากแรดิเคิล รากแก้วมีลักษณะของโคนราก มีขนาดใหญ่อ้วนและเรียวเล็กลงทางปลายราก ดังนั้นปลายรากและโคนราก มีขนาด แตกต่าง กันอย่างชัดเจน  2. รากแขนง (secondary roots) เป็นรากที่เจริญจาก primary root โดยเนื้อเยื่อชั้น pericycle แบ่งตัวเกิดเป็นรากที่มีโครงสร้างภายในรากเหมือนกับรากแก้วทุกประการ ลักษณะ การเกิดของราก เกิดจากเซลล์ที่อยู่ภายในลักษณะนี้เรียกว่า endogenous branching  3.รากวิสามัญ (adventitious roots) รากชนิดอื่นๆ ที่ไม่ได้มีจุดกำเนิดมาจากแรดิเคิลและรากแก้ว จะเรียกว่ารากวิสามัญ เช่น รากผักบุ้ง รากไทร ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณลำต้นอาจเกิดจาก เซลล์ในชั้นคอร์เทก แบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนจนกลายเป็นราก รากวิสามัญนี้แยกประเภท ตามหน้าที่ได้ดังนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

24 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช 4. Zone of cell differentiation or Zone of root hair ประกอบด้วยเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เช่น เนื้อเยื่อลำเลียง คอร์เทก อิพิเดอร์มิส และพบขนรากจำนวนมาก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

25 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช ใบคืออวัยวะหรือรยางค์ของพืชที่เจริญออกจากด้านข้างของลำต้น ใบทั่วไปมักแผ่แบนมีสีเขียว ซึ่งทำหน้าที่หลักในการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) และคายน้ำ (transpiration) ใบพืชมีความ แตกต่างกันทั้งใน ด้านรูปร่าง ขอบใบ เส้นใบ ลักษณะการติดกับลำต้น  ตอนที่1ส่วนประกอบของใบ Complete Leaf 1. แผ่นใบหรือตัวใบ (leaf blade or lamina) มักแผ่แบน มีสีเขียว ส่วนใหญ่มีรูปร่างรี บางชนิดอาจมีรูปร่างกลม รูปหัวใจ รูปพัด ในใบหญ้าแผ่นใบมักจะเรียวยาว แผ่นใบเป็นส่วน สำคัญที่สุด เพราะเป็นส่วนที่สร้างอาหาร บางชนิดมีขนาดเล็กเป็นใบเกล็ด (scale leaf) หรือม้วนเป็นท่อ เช่นในใบหอม  2. ก้านใบ (petiole) เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างตัวใบกับลำต้น มีลักษณะเป็นก้านสั้นๆ ในใบหญ้าก้านใบมักจะแบนบางโอบส่วนลำต้นไว้ ซึ่งนิยมเรียกว่ากาบ หรือ sheath พืชบางชนิดอาจไม่มีก้านใบ เรียกใบแบบนี้ว่า sessile leaf ถ้ามีก้านใบเรียกว่า petiolate ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

26 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช 3. หูใบ (stipule) เป็นส่วนของระยางค์ที่ยื่นออกมาตรงโคนใบ ที่ติดกับ ลำต้น หูใบมักมีอายุ ไม่นานและจะลดร่วงไป หูใบมักมีสีเขียว แต่อาจมีสี เช่น หูใบของต้นยางอินเดีย หูใบมีสีสันสวยงาม หุ้มยอดอ่อนเอาไว้ พืชบางชนิดอาจไม่มีหูใบ เรียกใบแบบนี้ว่า exstipulate leaf ถ้ามีหูใบ เรียกว่า stipulate leaf เช่น เข็ม พุดน้ำบุด มีหูใบอยู่ระหว่าง ใบทั้งสอง ข้าง กุหลาบมีหูใบเชื่อมติดต่อกับก้านใบ ชบามีหูใบอยู่บริเวณ ซอกใบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

27 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช ตอนที่ 2 ชนิดของใบ 1. ใบเดี่ยว (simple leaf)  ใบที่มีตัวใบแผ่นเดียว เช่น ใบน้อยหน่า มะม่วง ชมพู่ พืชบางชนิดตัวใบเว้า โค้งไปมา จึงทำให้ดูคล้ายมีตัวใบหลายแผ่นแต่บางส่วนของตัวใบยังเชื่อมกันอยู่ถือว่าเป็นใบเดี่ยว เช่น ใบมะละกอ ใบฟักทอง ตัวใบมักติดกับก้านใบ ถ้าใบที่ไม่มีก้านใบเรียก sessile leaves เช่น บานชื่น  2. ใบประกอบ (compound leaf)  ใบที่มีตัวใบหลายแผ่นติดอยู่กับก้านใบเดียว เช่น ขี้เหล็ก ใบจามจุรี ใบย่อย เรียกว่า leaflets ใบประกอบจะมีตาที่ซอกใบที่ติดกับลำต้นเท่านั้น (แต่ส่วนที่เป็นก้านใบย่อยจะไม่พบตา) ใบประกอบยังสามารถ แบ่งเป็นประเภทย่อยๆ ได้ 2 ประเภทดังนี้  ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

28 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช Pinnately compound leaf ใบที่ประกอบด้วยหลายใบย่อย (leaflets) แต่ละใบย่อยมีก้านใบย่อย (petiolule) ออกจากแกนกลาง (rachis) เป็นคู่ๆ คล้ายขนนก ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว (Pinnately compound leaf)  ใบที่ประกอบด้วยใบย่อยแตกออกจากก้านใบเพียงครั้งเดียว ใบย่อยแต่ละใบจะมีก้านใบย่อย เรียกว่า petiolue ได้แก่ ใบกุหลาบ ใบมะขาม ใบขี้เหล็ก ใบสะเดา ใบทองอุไร ใบกาลพฤกษ์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

29 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น (bipinnately compound leaf)  ใบที่ประกอบด้วยใบย่อยแตกออกจากก้านใบเพียง 2 ครั้ง และมีช่วงของก้านใบหรือแกนกลาง 2 แห่ง คือ rachis และ rachilla เช่น ใบหางนกยูงฝรั่ง จามจุรี กระถิน  ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

30 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น (tripinnately compound leaf)  ใบที่ประกอบด้วยใบย่อยแตกออกจากก้านใบเพียง 3ครั้ง และมีช่วงของก้านใบหรือแกนกลาง 2 แห่ง คือ rachis และ rachilla แต่แกนกลางที่ 3 อาจเรียกรวมว่า rachilla ตัวอย่าง เช่น ใบมะรุม บีบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

31 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช Palmately compound leaf ใบที่ประกอบด้วยหลายใบย่อย (leaflets) แตกออกจากส่วนก้านใบลักษณะคล้ายนิ้วมือ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ bifoliage ใบที่ประกอบด้วยใบย่อย 2 ใบ trifoliage ใบที่ประกอบด้วยใบย่อย 3 ใบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

32 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช ตอนที่ 3 Modified leave -Leaf tendril ใบเปลี่ยนแปลงไปเป็นมือเกาะ ใช้ในการยึดเพื่อไต่ขึ้นที่สูงๆ ได้ เช่น ใบถั่วเลาเตา ใบดองดึง -Leaf spine ใบเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนาม อาจเปลี่ยนแปลงมาจากใบทั้งใบ หรือเพียงบางส่วนของใบ เป็นทั้งใช้ป้องกันอันตรายต่างๆ เช่น กระบองเพชร เหงือกปลาหมอ ใบสับปะรด ใบป่านศรนารายณ์ -Scale leaf ใบเกล็ด ใบที่มีขนาดเล็กมาก ไม่ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงแต่ใช้ส่วนลำต้น สังเคราะห์ด้วยแสง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง หญ้าถอดปล้อง หรือทำหน้าที่ห่อหุ้มตาไว้ เช่น ใบเกล็ดของขิง ข่า  -Bract หรือใบประดับ ใบที่มีสีสันสวยงาม ลักษณะคล้ายกลีบดอก ใบประดับของต้น คริสมาสต์ ส่วนที่มีสีสันสวยงามในเฟื่องฟ้า ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

33 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช Carnivorous leaf ใบที่เปลี่ยนแปลงเป็นที่ดักแมลง อาจมีลักษณะคล้ายหม้อ (pitcher) เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง ลักษณะเป็นกาบหยาดน้ำค้าง และกายหอยแครง มีน้ำเหนียวยึดตัวแมลง Bubil ใบที่ทำหน้าที่ในการขยายพันธุ์ มีต้นเล็กๆ เกิดขึ้นที่ขอบใบ นำไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้ เช่น ตีนตุ๊กแก คว่ำตายหงายเป็น ว่านเศรษฐี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

34 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การแลกเปลี่ยนก๊าซและการคายน้ำของพืช ปากใบพืชจำแนกตามชนิดของพืชที่เจริญอยู่ในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็น 3 แบบ คือ .1.ปากใบแบบธรรมดา (typical stomata) เป็นปากใบของพืชทั่วไปโดยมีเซลล์คุมอยู่ในระดับเดียวกับเซลล์เอพิเดอร์มิส พืชที่ปากใบเป็นแบบนี้เป็นพวกเจริญอยู่ในที่ ๆ มีน้ำอุดมสมบูรณ์พอสมควร (mesophyte) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

35 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การแลกเปลี่ยนก๊าซและการคายน้ำของพืช .2.ปากใบแบบจม (sunken stomata) เป็นปากใบที่อยู่ลึกเข้าไปในเนื้อใบเซลล์คุมอยู่ลึกกว่าหรือต่ำกว่าชั้น เซลล์เอพิเดอร์มิสพบในพืชที่อยู่ในที่แห้งแล้ง (xerophyte) เช่น พืชทะเลทราย พวกกระบองเพชร พืชป่าชายเลน (halophyte) เช่น โกงกาง แสม ลำพูล 3.ปากใบแบบยกสูง (raised stomata) เป็นปากใบที่มีเซลล์คุมอยู่สูงกว่าระดับเอพิเดอร์มิสทั่วไป เพื่อช่วยให้น้ำระเหยออกจากปากใบได้เร็วขึ้นพบได้ในพืชที่เจริญอยู่ในน้ำที่ ที่มีน้ำมากหรือชื้นแฉะ(hydrophyte) ใบพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น หญ้า ข้าวโพด ที่ชั้นเอพิเดอร์มิสมีเซลล์ขนาดใหญ่และผนังเซลล์บาง เรียกว่า บัลลิฟอร์มเซลล์ (bulliform cell) ช่วยทำให้ใบม้วนงอได้เมื่อพืชขาดน้ำช่วยลดการคายน้ำของพืชให้น้อยลง พืชบางชนิดอาจมีเอพิเดอร์มิสหนามากกว่า 1 ชั้น ซึ่งพบมากทางด้านหลังใบมากกว่าทางด้านท้องใบเรียกว่า มัลติเปิล เอพิเดอร์มิส (multiple epidermis) ซึ่งพบในพืชที่แห้งแล้งช่วยลดการของได้ เซลล์ชั้นนอกสุดเรียกว่า เอพิเดอร์มิส ส่วนเซลล์แถวที่อยู่ถัดเข้าไปเรียกว่า ไฮโพเดอร์มิส (hypodermis) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

36 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การแลกเปลี่ยนก๊าซและการคายน้ำของพืช การคายน้ำของพืชเป็นไปในลักษณะของการแพร่เป็นส่วนใหญ่ แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามตำแหน่งที่ไอน้ำออกมา คือ 1.Stomatal transpiration เป็นการคายน้ำที่กำจัดไอน้ำออกมาทางปากใบซึ่งมีอยู่มากมายตามผิวใบ ปากนี้เป็นทางที่มีการคายน้ำออกมากที่สุด 2.Cuticular transpiration เป็นการคายน้ำที่กำจัดไอน้ำออกมาทางผิวใบที่มี cuticle ฉาบอยู่ข้างนอกสุดของ epidermis แต่เนื่องจาก cuticle ประกอบด้วยสาร cutin ซึ่งเป็นสารประกอบคล้ายขี้ผึ้ง ไปน้ำจึงแพร่ออกทางนี้ได้ยาก ดังนี้ พืช จึงคายน้ำออกทางนี้ได้น้อยและ ถ้าหากพืชใดมี cuticle หนามากน้ำก็ยิ่งออกได้ยากมากขึ้นทั้ง stomatal และcuticular transpiration ต่างก็เป็นการคายน้ำที่กำจัดไอน้ำออกมาจากใบ จึงเรียกการคายน้ำทั้ง 2 ประเภทนี้รวม ๆ กันว่า Foliar transpiration การคายน้ำออกจากใบดังกล่าวนี้จะเกิดที่ปากใบประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์และที่ cuticle ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

37 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การแลกเปลี่ยนก๊าซและการคายน้ำของพืช .3.Lenticular transpiration เป็นการคายน้ำที่กำจัดไอน้ำออกมาทาง lenticel ซึ่งเป็นรอยแตกตามลำต้นและกิ่ง การคายน้ำประเภทนี้เกิดขึ้นน้อยมาก เพราะ lenticel มีในพืชเป็นส่วนน้อยและเซลล์ของ lenticel ก็เป็น cork cell ด้วยไอน้ำจึงออกมาได้น้อย การคายน้ำในรูปหยดน้ำ เป็นการคายน้ำในรูปหยดน้ำเล็ก ๆ ทางรูเปิดเล็ก ๆ ตามปลายเส้นใบที่ขอบใบที่เรียกว่า โฮดาโธด (hydathode) การคายน้ำนี้เรียกว่า กัตเตชัน (guttation)ซึ่งเกิดขึ้นเมื่ออากาศมีความชื้นมากๆอุณหภูมิต่ำและลมสงบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

38 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การแลกเปลี่ยนก๊าซและการคายน้ำของพืช ปัจจัยในการควบคุมการคายน้ำ ใบไม้จะคายน้ำได้ช้าหรือเร็ว มากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพภายในของพืชเอง คือ 1.แสงสว่าง ถ้าความเข้มข้นของแสงสว่างมากจะช่วยให้การคายน้ำมีอัตราสูงขึ้น 2.อุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิของบรรยากาศสูง จะทำให้ใบคายน้ำได้มากและรวดเร็วขึ้น ทั้งนี้เพราะว่า (1) เมื่ออุณหภูมิสูง อุณหภูมิของน้ำในใบก็จะสูงขึ้น ทำให้น้ำระเหยเป็นไอได้ง่ายและเร็วขึ้น จึงระเหยออกไปจากใบได้มากและเร็วขึ้นด้วย (2) เมื่ออุณหภูมิต่ำ อากาศภายนอกสามารถอุ้มไอน้ำเอาไว้ได้มากขึ้น   ปากใบเปิดได้ดีที่อุณหภูมิ 25 – 30 องศาเซลเซียส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

39 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การแลกเปลี่ยนก๊าซและการคายน้ำของพืช 3.ความชื้น ถ้าหากความชื้นในบรรยากาศมีน้อย คือ อากาศ ความชื้นในบรรยากาศจึงแตกต่างกับความชื้นในช่องว่างที่อากาศในใบมาก ทำให้การคายน้ำเกิดขึ้นได้มากและรวดเร็ว อากาศชื้น ใบจะคายน้ำได้น้อยและช้าลง ตามทฤษฎีถ้าความชื้นอิ่มตัวใบไม่ควรจะคายน้ำเลย ซึ่งก็เป็นความจริง กล่าวคือ ใบจะไม่คายน้ำออกมาเป็นไอน้ำ แต่มันคายมาเป็นหยดน้ำอย่างหนึ่งที่เรียกว่า Guttation นั่นเอง 4.ลม โดยที่ลมช่วยพัดพาไอน้ำที่ระเหยออกมาจากใบและอยู่บริเวณรอบ ๆ ใบให้พ้นไปจากผิว บริเวณนั้นจึงมีไอน้ำน้อยหรือมีอากาศแห้งเข้ามาแทนที่ ก็สามารถรับไอน้ำจากใบได้อีก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

40 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การแลกเปลี่ยนก๊าซและการคายน้ำของพืช 5. ความอุดมสมบูรณ์ของน้ำในดิน ถ้าในดินมีน้ำมากหรือดินแฉะ และสภาพอื่น ๆ ก็เหมาะสมกับการคายน้ำ น้ำในดินจะถูกดูดและลำเลียงไปยังใบได้มากและตลอดเวลาก็จะทำให้ใบคายน้ำได้ มาก แต่ถ้าน้ำในดินน้อยหรือดินแห้ง แม้ว่าสภาพอื่น ๆ จะเหมาะสมกับการคายน้ำมาก อย่างไรก็ตามการคายน้ำก็เกิดขึ้นได้น้อย เพราะเมื่อดินแห้งก็ไม่มีน้ำที่จะลำเลียงขึ้นไปยังใบ ใบจึงขาดน้ำที่จะระเหยออกไปได้ อนึ่ง สภาพอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่การคายน้ำที่กล่าวถังนั้น ได้แก่ ความสามารถของรากในการดูดน้ำจากดิน อุณหภูมิของดิน ความเข้มข้นของสารละลายในดิน เป็นต้น 6. ความกดดันของบรรยากาศ ในที่ที่มีความกดดันของบรรยากาศต่ำ อากาศจะบางลงและความแน่นน้อย เป็นโอกาสให้ไอน้ำแพร่ออกไปจากใบได้ง่าย อัตราของการคายน้ำก็สูง แต่ถ้าความดันของบรรยากาศสูง ใบก็จะคายน้ำได้น้อยลง 7. ลักษณะและโครงสร้างของใบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

41

42 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงน้ำของพืช ในพืชจะมีการลำเลียงน้ำ และ แร่ธาตุจากดินผ่านทางรากไปสู่ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ โดยผ่านท่อเล็กๆ มากมาย เรียกท่อเล็กๆ นี้ว่า ท่อลำเลียงน้ำไซเล็ม ( Xylem) น้ำตาลกูลโคสและสารอาหารอื่นๆ จะถูกลำเลียงไปยัง กิ่ง ก้านลำต้นผ่าน ทางท่อลำเลียงอาหาร โฟลเอ็ม ( Phloem) ไปยังส่วนที่กำลังเจริญเติบโต สู่ส่วนที่สร้างอาหารไม่ได้ คือรากและหัว ไปสู่ส่วนที่ทำหน้าที่สะสมอาหาร คือรากและเมล็ด โดยอาหารจะแพร่ออกจากรากไปตามท่อ ลำเลียงอาหาร ไปยังเซลล์ต่างๆ โดยตรง การลำเลียงอาหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นในตอนกลางคืน ลักษณะการลำเลียงอาหารในท่อลำเลียง อาหารมีดังนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

43 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงน้ำของพืช 1. อัตราการลำเลียงอาหารเกิดขึ้นได้ช้ากว่าการลำเลียงน้ำและเกลือแร่ในท่อลำเลียงน้ำ 2. ทิศทางการลำเลียงในท่อลำเลียงอาหารเกิดขึ้นได้ทั้งในแนวขึ้นและแนวลง ในเวลาเดียวกัน แต่การลำเลียงในท่อลำเลียงน้ำจะเกิดในแนวขึ้นในทิศเดียว 3. เซลล์ที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารโดยตรงต้องเป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิต ส่วนเซลล์ที่ใช้ในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุเป็นเซลล์ที่ไม่มีชีวิตข้อแตกต่าง ของท่อลำเลียงน้ำและท่อลำเลียงอาหารของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่คือ มัด(กลุ่ม)ของท่อลำเลียงของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะอยู่ไม่เป็นระเบียบ ส่วนพืชใบเลี้ยงคู่จะเป็นระเบียบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

44 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงน้ำของพืช รูปแบบการเคลื่อนที่ 1.อโพพลาส apoplast : “โดยน้ำจะเคลื่อนที่ผ่านชั้นต่างๆ หรือจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง หรือ ผ่านช่องทางช่องว่างระหว่างเซลล์” ความเข้มข้นของสารภายใน > ภายนอก -> น้ำในดินแพร่เข้าสู่เซลล์โดยจะแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ที่ผิวของราก -> ชั้นคอร์เทกซ์ -> เอนโดเดอร์มิส 2.ซิมพลาส symplast : “การเคลื่อนที่ของน้ำผ่านเซลล์หนึ่งสู่เซลล์หนึ่งทางไซโทพลาซึม ที่เรียกว่าพลาสโมเดสมาเข้าไปในเซลล์เอนโดเดอร์มิส ก่อนเข้าสู่ไซเลม” เมื่อน้ำเคลื่อนที่มาถึงผนังเซลล์เอนโดเดอร์มิสที่มีแคสพาเรียนสตริพกั้น อยู่ แคสพาเรียนสติพป้องกันไม่ให้น้ำผ่านผนังเซลล์เข้าไปในไซเลม ดังนั้นน้ำจึงต้องผ่านทางไซโทพลาซึมจึงจะเข้าไปในไซเลมได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

45 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงน้ำของพืช ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

46 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงน้ำของพืช เวลาที่เราตัดลำต้นของ พืชที่ชุ่มน้ำ แล้วสังเกตตรงบริเวณรอยตัดของลำต้น ส่วนที่ติดกับรากจะเห็นของเหลวซึมออกมา เนื่องจากในไซเลมของรากมีแรงดัน เรียกว่า แรงดันราก (root pressure) ข้อควรจำ <<โคฮีชัน>> แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของน้ำ <<แอดฮีชชัน>> แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้ำกับผนังท่อไซเลม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

47

48 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงอาหารของพืช ส่วนของพืชที่เป็นจำนวนมากที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงจำเป็นต้องอาศัยอาหารที่สังเคราะห์ขึ้นจากส่วนอื่นที่ไม่ใช่คลอโรฟิลล์ ดังนั้นสารการเคลื่อนย้ายสารจากส่วนหนึ่งไปอีกส่วนหนึ่งของพืช เรียกว่า translocation of solute พืชที่ จึงต้องมีการลำเลียงตัวถูกละลายหรืออาหารที่ละลายได้จากแหล่งเก็บ (ใบเลี้ยง หรือendosperm )ไปส่วน เช่น ที่ปลายราก ปลายยอด การลำเลียงสารต่างๆ และไปในทิศทางต่างๆในพืชนั้น จำแนกได้ดังนี้ คือ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

49 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงอาหารของพืช 1. Upward translotion of mineral salts ไม่ว่าจะเป็น Xylem หรือ Phloem มีพวกเกลือแร่อยู่ด้วยทั้งนั้น การลำเลียงเกลือแร่นี้เป็นการลำเลียงขึ้นข้างบนโดยไปทาง Xylem เมื่อตัดเอา Xylem ออก การลำเลียงเกลือแร่จะหยุดชะงักเกลือแร่ส่วนใหญ่ลำเลียงไปทาง Xylem มากกว่า Phloem หลายสิบเท่า 2. Upward translocation of organic solutes organic solute ส่วนใหญ่เป็นพวกคาร์โบไฮเดรต (จากการสังเคราะห์แสง) พวกกรดอินทรีย์ โปรตีน กรดอะมิโน ฮอร์โมน และวิตามิน ต่างๆ มีการลำเลียงขึ้นข้างบนโดยทาง Phloem เพื่อไปเลี้ยงส่วนที่ยังอ่อนอยู่ เช่น ที่ยอด พบว่าลำเลียงไปทาง Phloem โดยสรุปแล้วการลำเลียงอินทรีย์สารไปเลี้ยงยังส่วนยอดนั้นไปทาง Phloem ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

50 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงอาหารของพืช 3.Downward translocation of organic solutes เป็นการลำเลียงพวกอินทรีย์สารลงข้างล่าง ทาง Phloem มีน้อยมากที่ลำเลียงไปทาง Xylem 4.Outward translocation of salts from leaves เป็นการลำเลียงพวกเกลืออื่นๆ เนื้อเยื่อใดทำหน้าที่ลำเลียง แสดงถึงความสามารถในการเคลื่อนย้าย (Mobility) ของธาตุอีกด้วย การลำเลียงนี้เป็นไปได้เมื่อก้านใบสมบูรณ์ดี แต่ถ้าเอาไอน้ำร้อนๆ มาพ่นที่ก้านใบก็จะไปยับยั้งการลำเลียงธาตุออกจากใบ “การลำเลียงธาตุหรือเกลือต่างๆ ออกจากใบไปทาง Phloem เท่านั้น” .5.Lateral translocation of solutes เป็นการลำเลียงอินทรียสารและอนินทรีย์สารไปทางด้านข้างของลำต้น การลำเลียงประเภทนี้จะผ่านไป ทาง Vascular ray cell ในพืชบางชนิดมี Lateral translocation ไม่สู้ดีนัก ซึ่งถ้าตัดด้านหนึ่งด้านใดของลำต้นหรือกิ่งออก จะทำให้การเจริญเติบโตของด้านนั้นไม่ดีเท่าอีกด้านหนึ่ง หรือถ้าตัดรอบต้นก็จะคอด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

51 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงอาหารของพืช กลไกของการลำเลียงไปทาง Phloem   ต้องมีลักษณะพิเศษ คือ 1.เซลล์ต้องมีชีวิต เพราะถ้าเซลล์ของ Phloem ตายไปการลำเลียงก็ หยุดชะงักลงทันที 2.การลำเลียงเป็นไปได้ทั้งสองทาง มีทั้งขึ้นและลง อาจจะขึ้นคนละเวลาก็ได้ 3.สามารถลำเลียงได้เป็นปริมาณมากๆ 4.อัตราความเร็วของการลำเลียงสูง การลำเลียงประเภทนี้เกิดขึ้นด้วยความเร็วสูง 5.การลำเลียงเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว บางเวลาเกิดขึ้นเร็ว บางเวลาก็เกิดขึ้นได้ช้า ก็ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของวัน (กลางวันหรือกลางคืน) การลำเลียงโดยทาง Phloem นี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และปริมาณของ ออกซิเจนด้วยกล่าวคือ ถ้าอุณหภูมิต่ำ ออกซิเจนน้อย การลำเลียงจะเกิดขึ้นช้าหรืออาจไม่เกิดเลย แต่ถ้าอุณหภูมิสูงและมีออกซิเจนเพียงพอ การลำเลียงดังกล่าวก็จะเกิดขึ้นเร็ว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

52 การลำเลียงอาหารของพืช
สรุปกระบวนการลำเลียงสารอาหาร สังเคราะห์แสง -> เกิดการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็นซูโครส ในไซโทรพลาซึม -> ซีฟทิวบ์ของโฟลเอ็ม -> ความเข้มข้นของสารละลายต้นทางสูงขึ้น -> น้ำออสโมซิสเข้ามาบริเวณต้นทาง -> บริเวณต้นทางที่มีสารละลายอยู่ก็เกิดแรงดันมากเพิ่มขึ้น -> สารละลายจะถูกดันด้วยแรงดันให้ลำเลียงไปตามท่อโฟลเอ็ม จนถึงบริเวณปลายทาง “ ดังนั้นการลำเลียงจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการสังเคราะห์แสง ” ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

53 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเคลื่อนย้ายอาหารในพืช นักเรียนได้ทราบมาแล้วว่า การลำเลียงอาหารจะลำเลียงไปตามเนื้อเยื่อโฟลเอ็ม นักวิยาศาสตร์หลายท่านได้ศึกษาเพื่อให้ทราบถึงการลำเลียงสารอาหารในพืช ในปี พ.ศ.2229 มาร์เซลโล มัลพิจิ (Marcello Malpighi) ได้ควั่นรอบเปลือกลำต้นโดยให้รอยควั่นห่างกันประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อปล่อยให้พืชเจริญระยะหนึ่งพบว่าเปลือกของลำต้นเหนือรอยควั่นจะพองออก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

54 การเคลื่อนย้ายอาหารในพืช ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

55 การเคลื่อนย้ายอาหารในพืช ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

56 การเคลื่อนย้ายอาหารในพืช ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
จากการทดลอง พืชใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้รับเข้ามาทางรูปากเพื่อใช้ในการสร้างอาหาร อาหารที่พืชสร้างขึ้นจะมีการลำเลียงไปยังแหล่งที่สร้างอาหารได้น้อย เช่น ยอด หรือแหล่งที่สร้างอาหารไม่ได้ เช่น ราก การลำเลียงอาหารจะลำเลียงทางโฟลเอ็มมีทิศทางขึ้นไปสู้ยอดและลงไปสู่รากซึ่งแตกต่างจากการลำเลียงน้ำและอาหารที่ลำเลียงทางไซเล็มและมีทิศทางจากรากไปสู่ยอดและใบเท่านั้น ประมาณปี พ.ศ เอ็ม เอช ซิมเมอร์แมน (M.H. Zimmerman) นักชีววิทยาแห่งมหาลัยฮาร์วาร์ดได้ค้นพบว่า เพลี้ยอ่อนสามารถใช้งวงแทงข้าไปถึงโฟลเอ็มแล้วดูดของเหลวจากท่อโฟลเอ็มออกมากินจนเหลือแล้วปล่อยให้ของเหลวไหลออกทางก้นของเพลี้ยอ่อน ขณะที่เพลี้ยอ่อนกำลังดูดอยู่นั้นก็วางยาสลบเพลี้ยอ่อนแล้วตัดให้เหลือแต่ส่วนที่เป็นงวงติดอยู่ที่ต้นไม้ พบว่าของเหลวก็ยังคงไหลออกมาทางงวงเมื่อนำของเหลวนี้ไปวิเคราะห์พบว่าส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลซูโครสและสารอื่นๆ เช่น กรดอะมิโน ฮอร์โมนและธาตุอาหาร เป็นต้น สิ่งที่น่าสงสัยต่อไปนี้คือ อาหารที่ลำเลียงในทิอโฟลเอ็มมีวิธีการเคลื่อนย้ายอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

57 กระบวนการลำเลียงอาหาร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ในพ.ศ อี มึนซ์ (E. Munch) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน อธิบายกระบวนการลำเลียงอาหารได้ว่า ส่วนหนึ่งของน้ำตาลที่พืชสร้างได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงในคลอโรพลาสต์จะถูกลำเลียงออกมาในไซโทรพลาซึมแล้วเปลี่ยนเป็นน้ำตาลซูโครส จากนั้นซูโครสจะเคลื่อนย้ายออกจากเซลล์ที่เป็นแหล่งสร้างไปยังโฟลเอ็มโดยเข้าสู่ซีฟทิวบ์ของโฟลเอ็ม ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายในซีฟทิวบ์ต้นทางสูงขึ้น น้ำจากเซลล์ข้างเคียงออสโมซิสเข้ามาและเพิ่มแรงดันในซิฟทิวบ์ ดันให้สารละลายน้ำตาลซูโครสลำเลียงไปตามท่อซีฟทิวบ์จนถึงเนื้อเยื่อต่างๆ น้ำตาลซูโครสจะออกจากซีฟทิวบ์เข้าสู่เซลล์ในเนื้อเยื่อเหล่านั้นเพื่อใช้ในกระบวนการต่างๆ หรือเก็บสะสมไว้ในเซลล์ ทำให้ซีฟทิวบ์ปลายทางมีความเข้มข้นของสารละลายลดลง น้ำจากซีฟทิวบ์ปลายทางจึงแพร่ออกสู่เซลล์ข้างเคียงเป็นผลให้ซีฟทิวบ์ปลายทางมีแรงดันน้อยกว่าซีฟทิวบ์ต้นทาง จึงมีการลำเลียงอาหารอย่างต่อเนื่องเกิดขึ้นตลอดเวลาที่ใบพืชมีการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยมีแรงผลักดันจากความแตกต่างของแรงดันในซิฟทิวบ์ต้นทางและปลายทาง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

58 กระบวนการลำเลียงอาหาร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ในปีต่อมามึนซ์ ได้เสนอแบบจำลองการลำเลียงอาหาร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

59 จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าโครงสร้างต่างๆ ของพืชมีความเหมาะสมต่อการทำหน้าที่ต่างๆกัน สิ่งที่น่าศึกษาต่อไปคือ อาหารที่พืชใช้ในการเจริญเติบโตที่แหล่งสร้างอยู่ที่ส่วนใดของพืช และพืชมีกลไกอย่างไรในการสร้างอาหาร คำถามเหล่านี้นักเรียนจะสามารถตอบได้ เมื่อนักเรียนได้ศึกษาเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสงในบทต่อไป

60 คำถามท้ายบทที่ 11 จงเปรียบเทียบโครงสร้างต่อไปนี้
1.1 เนื้อเยื่อรากและลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่ แนวคำตอบ ข้อเปรียบเทียบ เนื้อเยื่อรากพืชใบเลี้ยงคู่ เนื้อเยื่อลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ 1. เอพิเดอร์มิส 1. มีชั้นเดียวอยู่ชั้นนอกสุด เซลล์บาง เซลล์เปลี่ยนไปเป็นขนราก 1. มีชั้นเดียวอยู่ชั้นนอกสุด บางเซลล์ เปลี่ยนแปลงไปเป็นขนหนาม หรือเป็น เซลล์คุม 2. คอร์เทกซ์ 2. มีชั้นคอร์เทกซ์ อยู่ถัดชั้น เอพิ เดอร์มิสเข้ามา ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อ พาเรงคิมา ชั้นคอร์เทกซ์ ในรากจะ กว้าง กว่าในลำต้น 2. มีชั้นคอร์เทกซ์ เป็นเนื้อเยื่อที่ อยู่ ถัดจากเอพิเดอร์มิส เข้ามาประกอบด้วย เนื้อเยื่อคอลเลงคิมา และพาเรงคิมา 3.  เอนโดเดอร์มิส 3. มีเซลล์เอนโดเดอร์มิส เรียงแถว เดียว อยู่ในสุดของชั้นคอร์เทกซ์ 3. ส่วนใหญ่ไม่มี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

61 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 11 4. สตีล 4. ชั้นสตีลจะแคบกว่าชั้น คอร์เทกซ์ และแบ่งแยกจากชั้น คอร์เทกซ์เห็นได้ชัดเจน 4. ชั้นสตีลจะกว้างกว่าชั้นคอร์เทกซ์ และแบ่งแยกจากชั้นของคอร์เทกซ์ เห็น ได้ไม่ชัดเจน 5. เพริไซเคิล 5. มี เป็นชั้นนอกสุดของสตีล 5. ไม่มี 6. กลุ่มท่อลำเลียง 6. ประกอบด้วยไซเล็มอยู่ตรงกลาง เรียงเป็นแฉก มีโฟลเอ็มอยู่ระหว่างแฉก และมีเนื้อเยื่อวาสคิวลาร์แคมเบียม คั่น ระหว่างไซเล็ม และโฟลเอ็ม 6. ประกอบด้วยไซเล็ม อยู่ด้านใน และโฟลเอ็มอยู่ด้านนอก โดยมี วาสคิวลาร์แคมเบียม คั่นระหว่างกลาง เรียงในแถวรัศมีเดียวกัน 7. พิธ 7. ไม่มีพิธ เนื่องจากในรากพืชใบเลี้ยง คู่ ตรงกลางมักเป็น ไซเล็มที่เรียง ออกมาเป็นแฉกๆ 7. มีพิธส่วนใหญ่เป็นไส้ของลำต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

62 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 11 1.2 ไซเล็ม กับ โฟลเอ็ม แนวคำตอบ  ไซเล็ม โฟลเอ็ม 1.ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 4 ชนิด คือ เทรคีด เวสเซล พาเรงคิมา และไฟเบอร์ 1.ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 4 ชนิด คือ ซีฟทิวบ์ เซลล์คอมพาเนียน พาเรงคิมา และไฟเบอร์ 2.การเรียงตัวของไซเล็ม จะอยู่ด้านในของ กลุ่มท่อลำเลียง 2.การเรียงตัวของโฟลเอ็ม จะอยู่ด้านนอก ของกลุ่มท่อลำเลียง 3.เนื้อเยื่อไซเล็มเมื่อเจริญต่อไป คือส่วนของ เนื้อไม้ 3.เนื้อเยื่อโฟลเอ็ม เมื่อเจริญต่อไป ส่วนนี้คือ ส่วนเปลือกไม้ 4.ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและสารอาหารจากดิน ไปสู่ส่วนต่างๆของพืช 4.ทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร ที่พืชสร้างจาก กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ไปยังส่วนต่างๆ ของพืช ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

63 รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 11 1.3 รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว กับรากพืชใบเลี้ยงคู่ แนวคำตอบ รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว รากพืชใบเลี้ยงคู่ 1.มีขนราก 1.มีขนรากในช่วงที่เมล็ดงอกใหม่ เมื่อเจริญเติบโตแล้วจะไม่มีขน ราก 2.มีไซเล็มเรียงเป็นแฉกมากกว่า 6 แฉก 2.มีไซเล็มเรียงเป็นแฉกประมาณ 3-4 แฉก 3.ปกติไม่มีเนื้อเยื่อวาสคิวลาร์แคมเบียม อยู่ระหว่างไซเล็มกับโฟล เอ็ม จึงไม่มีการเจริญเติบโต ในระยะทุติยภูมิ ยกเว้นพืชบางชนิด 3.มีเนื้อเยื่อวาสคิวลาร์แคมเบียม อยู่ระหว่าง ไซเล็ม กับ โฟลเอ็ม เพื่อให้กำเนิดเนื้อเยื่อ ที่เจริญเติบโตใน ระยะทุติยภูมิ 4.ไม่มีคอร์ก และคอร์แคมเบียม 4.ถ้าเป็นไม้ต้น จะมีคอร์ก และ คอร์กแคมเบียม 5.เอนโดเดอร์มิสเห็นเป็นแนวชัดเจนดี และ เห็นแคสพาเรียนสต ริพ เด่นชัดกว่าในรากพืชใบเลี้ยงคู่ 5.เอนโดเดอร์มิส เรียงชั้นเดียว มีผนังค่อนข้างหนา และมีเม็ด แป้งมาก และส่วนใหญ่มักเห็นเอนโดเดอร์มิสไม่ชัด หรือ ไม่มีเลย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

64 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 11 เอพิเดอร์มิส กับ เอนโดเดอร์มิส แนวคำตอบ เอพิเดอร์มิส เอนโดเดอร์มิส 1. เป็นกลุ่มเซลล์อยู่ผิวนอกสุด ในส่วน ต่างๆ ของพืช ส่วนใหญ่ เซลล์เรียงเป็น ชั้นเดียว 1. เป็นกลุ่มเซลล์ที่อยู่ชั้นนอกสุดของคอร์ เทกซ์ เซลล์เรียงเป็นชั้นเดียว 2. รูปร่างเซลล์มีหลายแบบ อาจเป็นเหลี่ยม หรือรูปเซลล์หยักไปมา บางเซลล์ เปลี่ยนเป็นเซลล์คุม ขน หนามหรือต่อม 2. เซลล์ส่วนใหญ่ มีรูปร่างเป็นเหลี่ยม เรียงเป็นวง อาจมีแคสพาเรียนสตริพ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

65 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 11 2. ถ้าใช้วาสลีน เคลือบผิวใบทั้งด้านบนและด้านล่าง และเคลือบที่ลำต้น จะเกิดอะไรขึ้นกับพืชต้นนั้น แนวคำตอบ ทำให้พืชไม่สามารถคายน้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สออกซิเจน ที่ได้จากกระบวนการเมแทบอลิซึม ของเซลล์ออกไปได้ ในทางกลับกันพืชไม่สามารถรับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจน ผ่านเข้าไปสู่ใบหรือลำต้นที่มีสีเขียวได้ จึงมีผลต่อการดำรงชีวิตของพืช ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

66 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 11 3. จงเก็บตัวอย่างใบพืชแบบต่างๆ และพยายามจัดจำแนกใบพืชที่เก็บตัวอย่างมา แนวคำตอบ วิธีการจำแนกใช้หลักเกณฑ์ดังนี้           1. จำแนกใบออกเป็นใบพืชใบเลี้ยงคู และใบพืชใบเลี้ยงเดี่ยว           2. จำแนกใบเดี่ยวหรือใบประกอบ โดยอาศัยหลักเกณฑ์การสังเกตใบเดี่ยว ใบประกอบที่เคยศึกษามาแล้ว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

67 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 11 4. จงศึกษาการทดลองข้างล่างนี้แล้วตอบคำถาม มีผู้ทำการทดลองดังภาพ โดยเคลือบวาสลีน ที่รอยตัดที่อยู่เหนือน้ำ แต่พืชในหลอดที่ 6 เคลือบรอยตัดที่อยู่เหนือน้ำ และรอยตัดของลำต้นที่อยู่ใต้น้ำด้วย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

68 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 11 4.1 การทดลองนี้ผู้ทดลองมีจุดประสงค์ในการทดลองอย่างไร แนวคำตอบ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการดูดน้ำ และ การคายน้ำของพืช 4.2 การทดลองนี้นักเรียนคิดว่าผลการทดลองเป็นอย่างไร หลอดที่ และ 6 ปริมาณน้ำในหลอดไม่ลดลง เพราะไม่มีการคายน้ำ ออกสู่บรรยากาศ เนื่องจากหลอดที่ 1 ปากหลอดปิด ส่วนหลอดที่ 3 และ 5 ลำต้นมีรอยตัดถูกเคลือบด้วยวาสลีน ส่วนหลอดที่ 6 ลำต้นมีรอยตัดอยู่ใต้น้ำถูกเคลือบด้วยวาสลีน เช่นกัน ดังนั้นจึงไม่มีการคายน้ำ แต่ในหลอดที่ 2 และ 4 มีการคายน้ำที่ใบ ดังนั้นปริมาณน้ำในหลอดทดลองจะลดลง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

69 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 11 4.3 นักเรียนจะเก็บผลการทดลองอย่างไร แนวคำตอบ วัดระดับน้ำในหลอดทดลองที่ลดลง 4.4 ถ้าจะปรับปรุงการทดลองนี้ให้น่าเชื่อถือ นักเรียนจะปรับปรุงการทดลองอย่างไร เพิ่มหลอดทดลองที่ 7 เหมือนกับหลอดที่ 3 แต่ใช้วาสลีน ทาที่รอยตัดด้านล่างด้วย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

70 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 11 4.5 ถ้านักเรียนจะใช้การทดลองในลักษณะนี้ ตรวจสอบว่าความเข้มข้นของแสงมีผลต่อการทดลองหรือไม่ นักเรียนจะดัดแปลงการทดลองนี้อย่างไร แนวคำตอบ ทำการทดลองเช่นเดียวกันทั้ง 2 ชุด            ชุดที่ 1 ให้ความเข้มของแสงมาก            ชุดที่ 2 ให้ความเข้มของแสงน้อย โดยให้แสงส่องผ่านน้ำเพื่อควบคุมอุณหภูมิทั้งสองชุด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

71 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 11 5. ชาวสวนคนหนึ่งปลูกต้นมะม่วง แล้วออกใบเขียวทั้งต้น ชาวสวนเรียกว่า บ้าใบ นักเรียนจะอธิบายสาเหตุของการบ้าใบได้อย่างไร แนวคำตอบ แสดงว่าในดินที่ปลูกมีธาตุไนโตรเจนมาก ธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ของสารภายในเซลล์ โดยเฉพาะคลอโรฟิลล์ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของลำต้น ใบ หัว ดังนั้น พืชที่ได้รับปริมาณธาตุไนโตรเจนมากเกินไป พืชจะเจริญเติบโตโดยแตกใบมากแบบที่ชาวบ้านเรียกว่า เฝือใบ หรือ บ้าใบ และสีใบจะมีสีเขียวเข้ม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

72 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 11 6. จงศึกษาภาพนี้แล้วตอบคำถาม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

73 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
6.1 หมายเลข 1 2 และ 3 คือเนื้อเยื่ออะไร และเกิดจากเนื้อเยื่ออะไร แนวคำตอบ หมายเลข 1 และ 2 คือเนื้อเยื่อไซเล็ม ทุติยภูมิเกิดจากการแบ่งเซลล์ของวาสคิวลาร์แคมเบียม หมายเลข 3 คือ คอร์ก เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของลำต้น พบในพืชที่มีการเจริญเติบโตทุติยภูมิ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

74 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
6.2 เนื้อเยื่อหมายเลข 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างไร แนวคำตอบ เนื้อเยื่อหมายเลข 1 เจริญมาก่อนเนื้อเยื่อหมายเลข 2 ฉะนั้นกลุ่มเนื้อเยื่อหมายเลข 1 น่าจะเป้นกลุ่มเซลล์ไซเล็มที่ไม่มีชีวิต และอาจมีสารพวกลิกนิน มาพอกเพิ่มความแข็งแรง ให้กับเนื้อไม้ เนื้อไม้ส่วนนี้อยู่ในกลุ่มแก่นไม้ ส่วนเนื้อเยื่อหมายเลข 2 เป็นกลุ่มเนื้อเยื่อไซเล็มที่เกิดภายหลัง กลุ่มเซลล์เหล่านี้อาจยังคงมีชีวิตอยู่ และยังทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ และสารอาหาร อยู่ยังไม่มีสารพวกลิกนิน มาพอก เนื้อไม้ในหมายเลข 2 จึงเรียกว่ากระพี้ไม้ ความแข้งแรงเนื้อไม้ในชั้นนี้ จึงแข้งแรงน้อยกว่าเนื้อไม้ในหมายเลข 1 6.3 จากโครงสร้างเนื้อไม้ดังในภาพ บอกอะไรแก่นักเรียนได้บ้าง พืชต้นนี้เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ อายุประมาณ 7-8 ปี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

75 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.  จงอธิบายว่าเหตุใดจึงใช้การทดลองในภาพนี้ ตรวจสอบสมมติฐาน ว่าการคายน้ำทำให้เกิดการลำเลียงน้ำในลำต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

76 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
แนวคำตอบ จากภาพ ก แสดงภาพการสูญเสียน้ำ ออกทางวัสดุที่ทำจากดินเผา ที่ครอบอยู่ด้านบน  ส่วนภาพ ข แสดงการที่พืชคายน้ำออกมา ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อมีการสูญเสียน้ำจากการคายน้ำ เกิดขึ้นเนื่องจากแรงดึงจากการคายน้ำออกจากพืช เมื่อพืชสูญเสียน้ำออกไปแล้ว  น้ำในอ่างจะไหลเข้าแทนที่จนถึงต้นพืช  ภายในลำต้นพืชสามารถดูดน้ำจากอ่างขึ้นมาได้โดยอาศัยแรงดึงโคฮีชัน และ แรงดึงแอดฮีชัน ขึ้นมาทดแทนน้ำที่สูญเสียไป ในภาพ ก. ก็เกิดทำนองเดียวกัน กับภาพ ข. คือเมื่อน้ำระเหยออกไปตามทิศทางลูกศร น้ำจากอ่างจะเข้ามาทดแทนในหลอดแก้วโดย ใช้แรงดึงโคฮีชันและแอดฮีชัน เช่นเดียวกับที่เกิดในภาพ ข. ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

77 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
8. จงอธิบายว่าเหตุใด จึงใช้การทดลองนี้ตรวจสอบ เรื่องการลำเลียงสารอาหารในท่อโฟลเอ็ม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

78 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
แนวคำตอบ จากชุดการทดลองนี้จะเห็นว่า ในกระเปาะแก้วที่ 1 มีสารละลายน้ำตาลที่เข้มข้นกว่า ในกระเปราะแก้วที่ 2 น้ำจากอ่างน้ำจะออสโมซีสเข้าสู่กระเปราะแก้วที่ 1 มากกว่า จึงทำให้สารละลายน้ำตาลในกระเปราะแก้วที่ 1 มีแรงดันออสโมติกสูงกว่ากระเปราะแก้วที่ 2 จึงดันสารละลายน้ำตาลจากกระเปราะแก้วที่ 1 เคลื่อนที่มายังกระเปราะแก้วที่ 2 สารละลายน้ำตาลในกระเปราะแก้วที่ 2 จึงมีแรงดันออสโมติกสูงขึ้น แรงดันที่เกิดขึ้นจึงดันน้ำในกระเปราะแก้วที่ 2 ออกสู่อ่างน้ำ เช่นเดียวกับการเคลื่อนที่ของอาหารจากเซลล์ที่แหล่งสร้างอาหาร ในใบลำเลียงมายังชีฟ ทิวป์ ที่มีแรงดันออสโมติกต่ำกว่าซีฟทิวป์ต้นทางที่มีแรงดันออสโมติกสูงขึ้น เกิดการลำเลียงอาหาร จากเซลล์ซีฟทิวบ์ต้นทาง ไปยังเซลล์ซีฟทิวบ์ปลายทางที่มีแรงดัน ออสโมติกต่ำกว่า ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 11 โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google