ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยRoss Gilmore ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
บทที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีจริยศาสตร์ จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ (ต่อ)
4. จรรยาบรรณและจริยธรรมทั่วไป 4.1 จริยธรรมทั่วไป 4.2 จรรยาบรรณทั่วไป
2
จริยศาสตร์ มาจากภาษาสันสกฤต 2 คำ คือ
จริย หมายถึงความประพฤติ ศาสตร์ หมายถึงความรู้ จริยศาสตร์ หมายถึงความรู้เกี่ยวกับความประพฤติ จริยศาสตร์ในภาษาอังกฤษ คือ Ethicslซึ่งมาจากคำภาษากรีกว่า Ethos มีความหมายว่า Customllคือ ขนบธรรมเนียม หรือ ธรรมเนียมปฏิบัติ และคำว่า Ethics มีความหมายว่า ศาสตร์แห่งศีลธรรม (Science of Morals)
3
1. จริยธรรมทั่วไป ความหมายของจริยธรรม - ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช >> “จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาว่า กำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร หลักจริยธรรมก็จะกำหนดให้ปฏิบัติตามนั้น” -พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ >> ให้คำนิยามว่า “จริยธรรม” คือ ธรรมที่เป็น ข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม -สาโรช บัวศรี >> จริยธรรมมีหลายระดับ ซึ่งสามารถจำแนกตามระดับกว้าง ๆ ได้ 2 ระดับ ได้แก่ ระดับของผู้ครองเรือน คือ โลกีย์ธรรม กับ ระดับของผู้ที่สละบ้านเรือนแล้ว คือ โลกุตตรธรรม
4
-ศาสตราจารย์ ดร. สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ >> จริยธรรม หมายถึง ความถูกต้องดีงาม สังคมทุกสังคมจะกำหนดกฎเกณฑ์กติกา บรรทัดฐานของตนเองว่า อะไรเป็นสิ่งที่ดีงาม และอะไรคือความถูกต้อง โดยทั่วไปมิได้มีการเขียนเป็นกฎข้อบังคับให้สมาชิกทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติตาม ซึ่งหากมีการละเมิดจะถูกลงโทษโดยสังคมในขณะเดียวกัน -ศาสตราจารย์เกียรติคุณแสง จันทร์งาม >> จริยธรรมกับค่านิยมมีความหมายแตกต่างกันเฉพาะในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติยากที่จะชี้ให้เห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
5
จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม (Conscience) เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเช่นนั้นได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด ค่านิยม หมายถึง ความโน้มเอียง หรือแนวทางที่คนจะประพฤติตนไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่งที่ตัวเองได้พิจารณาไตร่ตรองแล้วว่า เป็นสิ่งที่ดีสำหรับตนหรือสังคมยอมรับนับถือและปฏิบัติตามแนวคิดนั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยก็ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ค่านิยมมีความหมายถึงแนวคิดเกี่ยวกับความดีงามในความประพฤติ โดยผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากความประพฤตินั้น ๆ ถ้าหากเป็นเพียงเจตคติ (Attitude) ความเชื่อ (Belief) ยังไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นค่านิยมจนกว่าจะได้พิจารณาถึงผลที่จะตามมาจากความประพฤติหรือการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบและมีการปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอ(แสง จันทร์งาม )
6
ส่วนประกอบสำคัญระบบจริยธรรม ประกอบด้วย
1. ความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ (ความเห็นแก่ตัว เอาเปรียบกัน ) 2. ความเชื่อเกี่ยวกับอุดมคติหรือความดีสูงสุด (บำเพ็ญตน) 3. ระเบียบปฏิบัติหรือแนวทางแห่งการดำเนินชีวิต (อะไรควรทำอะไร ไม่ควรทำ ) 4. เหตุจูงใจให้คนปฏิบัติดีและเลิกละการปฏิบัติผิด 4.1 ผลประโยชน์ส่วนตน 4.2 ความเคารพกฎกติกาจนเป็นนิสัย 4.3 ความมีน้ำใจต่อผู้อื่น
7
โครงสร้างของแนวคิดด้านจริยธรรม ซึ่งส่วนมากมาจากศาสนา ดังนี้
1. ความรับผิดชอบ (Accountability) คือ ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน ด้วยความพากเพียร และความละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่ ให้ดียิ่งขึ้น 2. ความซื่อสัตย์ (Honesty) คือ การประพฤติอย่างเหมาะสม และตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติ ปฏิบัติ อย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น 3. ความมีเหตุผล (Rationality) คือ ความสามารถในการใช้ปัญญา ในการประพฤติปฏิบัติ รู้จักไตร่ตรอง พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์และความยึดมั่นของตนเอง ที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจผิดได้
8
4. ความกตัญญูกตเวที (Gratitude) คือ ความรู้สำนึกในอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นมีต่อเรา
5. ความมีระเบียบวินัย (Disciplined) คือ การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม 6. ความเสียสละ (Sacrifice) คือ การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่บุคคลที่ควรให้ด้วยกำลังกาย กำลังสติปัญญา รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเอง 7. การประหยัด (Thrifty) คือ การใช้สิ่งของพอเหมาะพอควรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ให้มีส่วนเกินมากนัก รวมทั้งการรู้จักระมัดระวัง รู้จักยับยั้งความต้องการให้อยู่ในกรอบและขอบเขตที่พอเหมาะ
9
8. ความอุตสาหะ (Diligence) คือ ความพยายามอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความสำเร็จในงาน
9. ความสามัคคี (Harmony) คือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความพร้อมเพรียงร่วมมือกันกระทำกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว 10. ความเมตตาและกรุณา (Loving Kindness and Compassion) คือ ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นมีสุข กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ 11. ความยุติธรรม (Justice) คือ การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริงและเหตุผล ไม่มีความลำเอียง
10
ศีลธรรม เป็นหลักคำสอนทางศาสนาที่ว่าด้วยความประพฤติปฏิบัติชอบ จริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติปฏิบัติชอบ ซึ่งมีรากฐานอยู่บนหลักคำสอนของศาสนา ปรัชญาและขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติตนเพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าที่พึงประสงค์ กฎหมาย เป็นสิ่งบังคับให้คนทำตาม และมีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน สาเหตุที่คนเคารพเชื่อฟังกฎหมายเพราะกลัวถูกลงโทษ ขณะที่จริยธรรมไม่มีบทลงโทษ
11
“จรรยา” (Etiquette) หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่คณะ เช่น จรรยาครู จรรยาตำรวจ ฯลฯ
“คุณธรรม” (Virtue) คือ คุณ + ธรรมะ เป็นคุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม คุณธรรมจึงเป็นจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของ ผู้นั้น คุณธรรมจึงเป็นจริยธรรมที่ฝึกฝนจนเป็นนิสัย เช่น ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน เสียสละ รับผิดชอบ
12
“จรรยาบรรณ” (Code of Conduct) หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก “มโนธรรม” (Conscience) หมายถึง ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความรู้สึกว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เชื่อกันว่า มนุษย์ทุกคนมีมโนธรรม เนื่องจากบางขณะเราจะเกิดความรู้สึกขัดแย้งในใจระหว่างความรู้สึกว่าต้องการทำสิ่งหนึ่ง และรู้ว่าควรทำอีกสิ่งหนึ่ง “มารยาท” (Manner) หมายถึง กิริยา วาจา ที่สังคมกำหนดไว้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มแต่ละท้องถิ่นซึ่งมีแตกต่างกันไป
13
“ธรรมาภิบาล” (Good Governance) หมายถึง การจัดการปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมือง การควบคุมดูแลกิจการ การกำกับดูแลที่ดี อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และระบบ (System)lซึ่งองค์การหรือสังคมได้มีการปฏิบัติหรือดำเนินการ (Operate) ปกครองด้วยคุณความดี ซื่อตรงต่อกัน มั่นคงในสัญญาที่มีต่อกัน ซึ่งจะครอบคลุมประเด็นเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน นิติธรรม ความโปร่งใส การตอบสนอง การแสวงหาฉันทามติ ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ภาระรับผิดชอบ
14
องค์ประกอบของจริยธรรม นักจิตวิทยาและนักวิชาการได้จำแนกไว้ ดังนี้
กระทรวงศึกษาธิการ (2523 : 18) สรุปว่า จริยธรรมของบุคคลประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ องค์ประกอบด้านความรู้ คือ ความเข้าใจในเหตุผลของความถูกต้องดีงามสามารถตัดสินแยกความถูกผิดได้ด้วยความคิด องค์ประกอบด้านอารมณ์ ความรู้สึก คือ ความพึงพอใจ ศรัทธา เลื่อมใส เกิดความนิยมยินดีที่จะรับจริยธรรมนั้นมาเป็นแนวปฏิบัติ องค์ประกอบด้านพฤติกรรมการแสดงออก คือ พฤติกรรมที่บุคคลตัดสินในการที่จะกระทำถูกหรือผิดในสถานการณ์แวดล้อมต่างๆ กัน
15
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก (2520 : 4-6)
ความรู้เชิงจริยธรรม หมายถึง การบอกได้ว่าการกระทำใดเลวควรงดเว้น ซึ่งความรู้เชิงจริยธรรมของคนเราจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอายุ ระดับการศึกษา และสติปัญญา ทัศนคติเชิงจริยธรรม หมายถึง ความรู้สึกเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมว่าชอบหรือไม่ชอบลักษณะนั้นเพียงใด ทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคลส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับค่านิยมในสังคมนั้น และในเวลาต่างกัน เหตุผลเชิงจริยธรรม หมายถึง การยกเหตุผลมาอ้างถึงการตัดสินใจที่จะกระทำ หรือไม่กระทำ พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง พฤติกรรมเชิงจริยธรรม หมายถึง การที่บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบหรืองดเว้นไม่ไปแสดงพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ในสังคมนั้น
16
บราวน์ (Brown 1965 : ) ฮอฟแมน (Hoffman 1979 : ) มีความเห็นว่า จริยธรรมประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ความคิดทางจริยธรรม (moral thought) ความรู้สึกทางจริยธรรม (moral feeling) พฤติกรรมทางจริยธรรม (moral behavior)
17
2. จรรยาบรรณ -พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม -สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ 2522 จรรยาบรรณ คือ ประมวลพฤติกรรมที่กำหนด ลักษณะมาตรฐานการกระทำของครู อันจะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้าอย่างถาวร โดยที่ครูจะต้องดำเนินการเรียนการสอนโดยการยึดจรรยาบรรณต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน และต่อตนเอง ในการทำหน้าที่ของครูให้สมบูรณ์
18
จรรยาบรรณ จรรยาบรรณ คือ จริยธรรมวิชาชีพ วิชาชีพ มีองค์ประกอบ 4 ประการ 1. มีความรู้ 2. มีจรรยาบรรณ 3. มีการคัดเลือก 4. มีสมาคมวิชาชีพคอยควบคุม
19
จรรยาบรรณ / จรรยาชีพ มุ่งให้เกิดประโยชน์
1. ทำให้คนที่อยู่ในอาชีพนั้นมีประสิทธิภาพ 2. ให้เกิดความเป็นธรรม 3. ให้ผู้อยู่ในอาชีพมีเกียรติ / ศักดิ์ศรี * คนเก่งแต่ไม่ดี ? * คนดีไม่เก่ง ? * คนเก่งและคนดี ?
20
วัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณ มี 10 ประการ
1. เป็นที่ยอมรับของหมู่คณะ (สังฆสุฏฐุตา) 2. เพื่อความผาสุกของหมู่คณะ (สังฆผาสุตา) 3. เพื่อข่มคนดื้อและเป็นเครื่องอ้าง (นิคคหะ) 4. เพื่อพิทักษ์คนดี (ผาสุวิหาร) 5. เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ (สังวร)
21
6. เพื่อกำจัดปัญหาในอนาคตที่จะเกิดขึ้น(ปฏิฆาตะ)
7. เพื่อสร้างความเลื่อมใสศรัทธาของผู้บริการ(ปสาทะ 8. ทำให้คนที่ศรัทธาและเลื่อมใสระบบระราชการ อยู่แล้ว มีศรัทธายิ่ง ๆ ขึ้นไป (ภิยโยภาพ) 9. เพื่อความรู้รอกของระบบ (ฐิติ) 10 เพื่อการอนุเคราะห์เรื่องระเบียบวินัย(วินยานุคคหะ)
22
จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ
จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ คือ กฎเกณฑ์หรือแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนของผู้ประกอบอาชีพในแต่ละสาขาอาชีพกำหนดขึ้น เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ จรรยาบรรณวิชาชีพในการประกอบอาชีพ 1. จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพค้าขาย 1.1 มีสัจจะ คือ มีความจริงใจในอาชีพของตน 1.2 มีเมตตากรุณา 1.3 ไม่มุ่งผลกำไรเพียงอย่างเดียว
23
2. จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพครู
2.1 เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย 2.2 ยึดมั่นในหลักศาสนา 2.3 ตั้งใจอบรมสั่งสอนศิษย์ ถ่ายทอดวิชาความรู้ โดยไม่บิดเบียนหรือปกปิดอำพราง 2.4 สุภาพเรียบร้อย
24
3. จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพแพทย์
3.1 มีเมตตาจิตใจผู้ป่วยโดยไม่แบ่งชั้นวรรณะ 3.2 อ่อนน้อมถ่อมตน 3.3 มีความละเอียดและเกรงกลัวต่อบาป 3.4 ไม่โอ้อวดวิชาให้ผู้อื่นหลงเชื่อ
25
4. จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพทหาร
4.1 จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 4.2 ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย 4.3 เสียสละประโยชน์สุขส่วนตัว 4.5 มีคุณธรรม ซื่อตรง 4.6 รักษาชื่อเสียงและเกียรติยศของทหา
26
ความสําคัญของจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณเปนเครื่องมืออันสําคัญที่จะชวยใหผูประกอบวิชาชีพมีหลักการและ แนวทางปฏิบัติตามที่ถูกตองเหมาะสมอันจะนํามาซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลใน การปฏิบัติงาน รวมทั้งความเลื่อมใสศรัทธาและความเชื่อมั่นจากผูที่เกี่ยวของ
27
หลักการของจรรยาบรรณวิชาชีพ
1. ความรักความศรัทธาในอาชีพ 2. ความซื่อสัตยสุจริต 3. การใหความเคารพตอกฎระเบียบขอบังคับหรือจรรยาบรรณในอาชีพ 4. ยกยองใหเกียรติผูรวมวิชาชีพ 5. การรวมกลุมเพื่อสรางความมั่นคงในวิชาชีพ
28
หลักจรรยาบรรณวิชาชีพ
ความพอใจของสาธารณะ ที่มีต่ออาชีพ ความซื่อสัตย ปฏิบัติงานอยางมีเกียรติและซื่อสัตยตลอดเวลาที่ไดรวมงานกับลูกคา ความเปนกลาง ดําเนินกิจกรรมอยางยุติธรรมและ ไมลําเอียง จะตองปราศจากอคติ
29
ความเปนอิสระ จะตองมีความเปนอิสระที่ใหบริการ
การรักษาความลับ การใหบริการทางวิชาชีพขอมูลควรไดรับการปกปดแกบุคคลที่ 3 มาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ จะตองแสดงออกในการใหบริการทางวิชาชีพดวยความระมัดระวัง ดวยความสามารถ และดวยความขยันหมั่นเพียร พฤติกรรมทางจริยธรรม จะตองประพฤติตนอยางมีจริยธรรมตลอดเวลาและตองรักษา ชื่อเสียงที่ดีในวิชาชีพ
30
ขอพึงปฏิบัติตามแนวทางแหงจรรยาบรรณวิชาชีพแนวใหม่
ขอพึงปฏิบัติตอตนเอง ตั้งมั่นในความซื่อสัตยสุจริต และมีคุณธรรม ตองปฏิบัติ หนาที่ดวยความรับผิดชอบ รอบคอบ ทุมเทกําลังกายและกําลังความคิดในการทํางาน โดยถือประโยชนของผูใชบริการเปนสําคัญ ปฏิบัติหนาที่อยางมืออาชีพ ดวยความรู ความเชี่ยวชาญ ความมุงมั่น ดวยความระมัดระวัง การมองปญหาลวงหนา และหาวิธีการแกปญหาที่อาจจะเกิดขึ้นรวมทั้งการรักษามาตรฐานการปฏิบัติงานดังกลาวได
31
2) ขอพึงปฏิบัติในการพัฒนาตนเอง
• การวางแผน (Planning) • การวิเคราะหการเงิน (Finance Analysis) • การบริหารงาน(Management) • การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management) • ความรูทางกฎหมายและระเบียบขอบังคับ (Government Regulation & Legal Requirement)
32
2) ขอพึงปฏิบัติในการพัฒนาตนเอง
• จริยธรรมและขอพึงปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพ (Code of Ethics and Professional Conducts) • ทักษะการประเมิน (Client Assessment) • ทักษะการสรางสัมพันธภาพและการใหคําปรึกษาหารือ (Counseling and Interpersonal Skill)
33
2) ขอพึงปฏิบัติในการพัฒนาตนเอง
• จริยธรรมจรรยาบรรณวิชาชีพ จริยธรรมจรรยาบรรณวิชาชีพ • ทักษะการแกไขปญหาและตัดสินใจ (Problem Solving and Decision Making) • เสริมสรางความรูและประสบการณที่จําเปนตอการทํางานดวยการเขาอบรม หลักสูตรที่สนับสนุนการทํางานใหทันตอเหตุการณอยูเสมอ
34
3) ขอพึงปฏิบัติตอลูกคาและสาธารณชน
อํานวยความสะดวกและปฏิบัติตอผูมาติดตอดวยความ สุภาพอยางเต็มใจและ เต็มสามารถโดยไมชักชา ยินดีรับฟงความคิดเห็นหรือขอแนะนําจากบุคคลอื่น และ พรอมที่จะชี้แจงขอมูลที่ถูกตองตามสถานะแหงตน เห็นคุณคาของบุคคลอื่น และใหเกียรติผูอื่นอยูเสมอ พึงมีสวนรวมในกิจกรรมที่เปนการสรางสรรคและพัฒนาสังคมสวนรวมให สงบสุข โดยไมกอใหเกิดความเสียหาย ตองานและภาพลักษณของอาชีพ
35
4) ขอพึงปฏิบัติตอสังคมและสิ่งแวดลอม
สนับสนุนกิจกรรมชุมชนสัมพันธอยางตอเนื่องและจริงใจ ปฏิบัติหนาที่ในความรับผิดชอบดวยจิตสํานึกถึงผลกระทบตอสุขอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดลอม 5) ขอพึงปฏิบัติเมื่อเกิดความขัดแยง มีหลักฐานอางอิงและเชื่อถือได ตองดําเนินการตามระเบียบ
36
หลักปฏิบัติที่ตองการ
1) CREDITBILITY (ความเชื่อถือ) 2) PROFESSIONALISM (ความเปนมืออาชีพ) 3) QUALITY OF SERVICES (คุณภาพของบริการ) 4) CONFIDENCE (ความเชื่อมั่น/ความมั่นใจ)
37
คนมีจริยธรรมเพราะมีแรงจูงใจ อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมในฐานะเป็นแรงหนุนจากภายนอกเพื่อให้คนมีจริยธรรม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.