ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยศุภวุฒิ พิศาลบุตร ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2
กรอบแนวคิด 1.1 แนวคิดเรื่องการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่กับการจัดการภาครัฐที่มุ่งเน้นความสำคัญของประชาชนในฐานะผู้รับบริการ (New Public Management and Demand Side Oriented) 1.2 แนวคิดเรื่องหลักการส่งเสริมศักยภาพและความเป็นอิสระของหน่วยการปกครองในระดับล่าง (The Principle of Subsidiarity) 1.3 แนวคิดเรื่องการทำงานขององค์กรภาครัฐแบบมีการแข่งขัน (The Principle of Competitive Government) 1.4 แนวความคิดและหลักการทำงานขององค์กรภาครัฐแบบเครือข่าย (Networking and Public affairs)
3
โครงสร้างการบริหารงานของจังหวัดในปัจจุบัน
ส.ส./ส.ว. ภาคเอกชน ประชาชน ราชการบริหาร ส่วนกลาง 40 – 300 หน่วย แล้วแต่ขนาดจังหวัด สำนักงานจังหวัด สนง.ปศุสัตว์จังหวัด สนง.ประมงจังหวัด สนง.การพัฒนาชุมชนจังหวัด ที่ทำการปกครองจังหวัด สนง.ที่ดินจังหวัด สนง.โยธาธิการและผังเมือง จ. สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด สนง.เกษตรจังหวัด สนง.สหกรณ์จังหวัด ส่วนภูมิภาคประมาณ 27หน่วย สนง.ปฏิรูปที่ดินจังหวัด สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สนง.พาณิชย์จังหวัด สนง.สาธารณสุขจังหวัด สนง.แรงงานจังหวัด สนง.อุตสาหกรรมจังหวัด สนง.จัดหางานจังหวัด สนง.ประกันสังคมจังหวัด สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สนง.สถิติจังหวัด ที่ทำการสัสดีจังหวัด สนง.ประชาสัมพันธ์จังหวัด สนง.ขนส่งจังหวัด ตำรวจภูธรจังหวัด สนง.คลังจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ( 2-3 คน) องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น กบจ. เรือนจำจังหวัด
4
ปัญหาการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในปัจจุบัน
1.ปัญหาพื้นฐานในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่มีมาตั้งแต่อดีต การรวมอำนาจและการใช้อำนาจบริหาร ไว้ที่ส่วนกลาง ระดับ "กรม" ทำให้การบริหารงานในส่วนภูมิภาค (จังหวัด) ไม่มีความคล่องตัว การบริหารราชการส่วนภูมิภาคของไทยยังไม่มีเอกภาพ ปัญหาการไม่มีการมอบอำนาจหรือเพิ่มอำนาจให้ผู้ปฏิบัติงานในภูมิภาคอย่างเพียงพอ
5
ปัญหาการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในปัจจุบัน
2. ปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการส่วนภูมิภาคแบบบูรณาการ ปัญหาการขาดการเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานภายในจังหวัดกันเอง วัฒนธรรมในการทำงานของข้าราชการส่วนภูมิภาคยังไม่สอดรับกับการบริหารราชการส่วนภูมิภาคแบบบูรณาการ ปัญหาการใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ปัญหาขาดเจ้าภาพหลักในขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด
6
ผลกระทบที่เกิดจากปัญหา ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคของไทย
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคของไทยขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ส่งผลให้สิ้นเปลืองงบประมาณ การบริหารราชการส่วนภูมิภาคขาดทิศทางที่ชัดเจน เกิดความสับสนของข้าราชการและผู้ปฏิบัติงาน การเร่งรัดในปรับระบบการทำงานของส่วนราชการมากเกินไปส่งผลให้ ข้าราชการทำงานหนัก การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการสนองต่อหน่วยงานมากกว่าสนองต่อประชาชน
7
เงื่อนไขสำคัญบางประการในกระบวนการเปลี่ยนผ่าน ของระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
1. การลดสภาพความเป็นนิติบุคคลของกรมและหน่วยราชการ 2. การปรับปรุงแก้ไขปัจจัยด้านต่าง ๆ ให้รองรับการบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในปัจจุบัน ได้แก่ งบประมาณ บุคลากร และการมอบอำนาจ 3. การบริหารราชการตามหลักยุทธศาสตร์และภารกิจที่รับผิดชอบของกลุ่มจังหวัด
8
ตัวแบบโครงสร้างและภารกิจของจังหวัด แบบบูรณาการมุ่งผลสัมฤทธิ์
9
ตัวแบบโครงสร้างจังหวัดบูรณาการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
ผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและจัดทำงบประมาณ) คณะกรรมการที่ ปรึกษาภาคประชาชน (Citizen Board) ( กลุ่มภารกิจ A ) ภารกิจด้านการบริหารงานทั่วไปของจังหวัด - ด้านงานแผนและยุทธศาสตร์ - ด้านการเงินการคลังและทรัพย์สิน - ด้านการบริหารจัดการบุคลากร - ด้านการเป็นศูนย์รวมการประสานงานระหว่างจังหวัดกับราชการส่วนกลางและท้องถิ่น - ด้านฐานข้อมูลรวมของจังหวัด - ด้านการวิจัยและพัฒนาระบบการบริหารและการให้บริการขั้นพื้นฐานของจังหวัด ( ภารกิจ B1 ) ภารกิจด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน - ด้านการเกษตร - ด้านปศุสัตว์ - ด้านประมงและสัตว์น้ำ - ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า ธุรกิจ และการประกันภัย - ด้านอุตสาหกรรม - ด้านธุรกิจการท่องเที่ยว - ด้านการบริหารระบบภาษี - ด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ - ด้านการก่อสร้าง การวางผังเมือง รวมทั้งการจัดการที่ดิน ( ภารกิจ B2 ) ภารกิจด้านสังคม - ด้านสวัสดิการสังคม - ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม - ด้านการให้บริการสาธารณสุข - ด้านการศึกษา - ด้าน การนันทนาการ ศาสนา และวัฒนธรรม - ด้านการเคหะและชุมชน ( ภารกิจ B3 ) ภารกิจด้านระเบียบสังคมและความปลอดภัยสาธารณะ ด้านเรือนจำ ทัณฑสถาน และการคุมประพฤติ ด้านงานทะเบียนและเอกสารทางราชการต่างๆ ด้านการดูแลควบคุมทหารกองเกินและกองหนุนในพื้นที่จังหวัด ด้านกิจการตำรวจ ด้านการบริหารจัดการชายแดน ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( กลุ่มภารกิจ C ) ภารกิจตามยุทธศาสตร์หลัก (ภารกิจตามยุทธศาสตร์หลักของแต่ละจังหวัด ซึ่งแตกต่างกัน) ( กลุ่มภารกิจ B ) ภารกิจพื้นฐานที่ทุกจังหวัดพึงกระทำหรือต้องปฏิบัติตามตัวบทกฎหมาย ( กลุ่มภารกิจ D ) ภารกิจตามยุทธศาสตร์รอง (ภารกิจตามยุทธศาสตร์รองของแต่ละจังหวัด ซึ่งแตกต่างกัน และมีได้มากกว่า 1 ภารกิจ เช่น D1,D2,D….) ตัวแบบโครงสร้างจังหวัดบูรณาการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
10
ภารกิจของจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์
1. กลุ่มภารกิจด้านการบริหารงานทั่วไปของจังหวัด 2. กลุ่มภารกิจพื้นฐานที่ทุกจังหวัดพึงกระทำหรือต้องกระทำตามกฎหมาย 3. กลุ่มภารกิจตามยุทธศาสตร์หลักของจังหวัด 4. กลุ่มภารกิจตามยุทธศาสตร์รองของจังหวัด
11
กลุ่มภารกิจด้านการบริหารงานทั่วไปของจังหวัด
1. ภารกิจด้านงานแผนและยุทธศาสตร์ของจังหวัด 2. ภารกิจด้านการเงินการคลังและทรัพย์สินของจังหวัด 3. ภารกิจด้านการบริหารจัดการบุคลากรของจังหวัด 4. ภารกิจด้านการเป็นศูนย์รวมการประสานงานระหว่างจังหวัดกับราชการส่วนกลางและท้องถิ่น 5. ภารกิจฐานข้อมูลรวมของจังหวัด 6. ภารกิจงานวิจัยและพัฒนาระบบการบริหารและการให้บริการขั้นพื้นฐานของจังหวัด 7. ภารกิจด้านการให้ข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์ของจังหวัด
12
กลุ่มภารกิจพื้นฐานที่ทุกจังหวัดพึงกระทำหรือต้องกระทำตามกฎหมาย
1. ภารกิจบริการสาธารณะพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน 1.1) ภารกิจบริการขั้นพื้นฐานด้านเกษตรกรรมในจังหวัด 1.2) ภารกิจบริการขั้นพื้นฐานด้านการปศุสัตว์ในจังหวัด 1.3) ภารกิจบริการขั้นพื้นฐานด้านการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัด 1.4) ภารกิจบริการ ส่งเสริม และพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า ธุรกิจ และการประกันภัย 1.5) ภารกิจบริการขั้นพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมในจังหวัด 1.6) ภารกิจบริการ ส่งเสริม และพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัด 1.7) ภารกิจการบริหารระบบภาษีอากรของจังหวัด 1.8) ภารกิจบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในความรับผิดชอบของจังหวัด 1.9) ภารกิจบริการขั้นพื้นฐานด้านการก่อสร้าง การวางผังเมือง และการจัดการที่ดิน ในพื้นที่จังหวัด 1.10) ภารกิจบริการขั้นพื้นฐานด้านการขนส่งและคมนาคมภายในจังหวัด 1.11) ภารกิจบริการขั้นพื้นฐานด้านโทรคมนาคมและกิจการคลื่นความถี่ในความรับผิดชอบของจังหวัด 1.12) ภารกิจบริหารงานบริการด้านพลังงานในจังหวัด
13
กลุ่มภารกิจพื้นฐานที่ทุกจังหวัดพึงกระทำหรือต้องกระทำตามกฎหมาย
2. ภารกิจบริการสาธารณะพื้นฐานด้านสังคม 2.1) ภารกิจบริการขั้นพื้นฐานด้านสวัสดิการสังคมในจังหวัด 2.2) ภารกิจบริหารจัดการด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัด 2.3) ภารกิจบริหารงานบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานในจังหวัด 2.4) ภารกิจบริหารงานบริการการศึกษาและฝึกอบรมขั้นพื้นฐานในจังหวัด 2.5) ภารกิจบริการขั้นพื้นฐานด้านการนันทนาการ ศาสนา และวัฒนธรรมในจังหวัด 2.6) ภารกิจบริการขั้นพื้นฐานด้านการเคหะและชุมชน ในจังหวัด
14
กลุ่มภารกิจพื้นฐานที่ทุกจังหวัดพึงกระทำหรือต้องกระทำตามกฎหมาย
3. ภารกิจบริการสาธารณะพื้นฐานด้านระเบียบสังคมและความปลอดภัย 3.1) ภารกิจบริหารงานเรือนจำ ทัณฑสถาน และการคุมประพฤติ ในจังหวัด 3.2) ภารกิจบริการงานทะเบียนและเอกสารทางราชการทุกประเภทในความรับผิดชอบของจังหวัด 3.3) ภารกิจบริหารงานด้านทหารกองเกินและกองหนุนในพื้นที่จังหวัด 3.4) ภารกิจบริการพื้นฐานด้านกิจการตำรวจในพื้นที่จังหวัด 3.5) ภารกิจบริหารกิจการชายแดนขั้นพื้นฐานในพื้นที่ความรับผิดชอบของจังหวัด 3.6) ภารกิจบริการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในจังหวัด
15
กลุ่มภารกิจตามยุทธศาสตร์หลักของจังหวัด
การจัดภารกิจของจังหวัดจึงควรยึดความต้องการและลักษณะพิเศษตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด รวมทั้งควรจะต้องยึดถือความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป็นตัวตั้ง (Area Initiative) ซึ่งสามารถจำแนกกลุ่มภารกิจตามยุทธศาสตร์หลักของจังหวัดที่มุ่งเน้นการพัฒนาแต่ละด้านแตกต่างกัน
16
กลุ่มภารกิจตามยุทธศาสตร์รองของจังหวัด
ในสภาพความเป็นจริงแล้ว แผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่แต่ละจังหวัดได้จัดทำขึ้นนั้น มิได้มีเพียงด้านเดียว ดังนั้น นอกจากแต่ละจังหวัดจะมีกลุ่มภารกิจตามยุทธศาสตร์หลักด้านใดด้านหนึ่งแล้ว ยังอาจมีกลุ่มภารกิจด้านอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาจังหวัดในอันดับรองลงมา ดังนั้นภารกิจเหล่านี้จึงจัดว่าภารกิจตามยุทธศาสตร์รองของจังหวัด
17
สถานภาพและบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัด แบบบูรณาการเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์
1. ที่มาและการคัดสรร 2. วาระการดำรงตำแหน่ง 3. ขอบเขตอำนาจและบทบาท 4. ทีมยุทธศาสตร์
18
ที่มาและการคัดสรร 1. มี “คณะกรรมการคัดสรรผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์” เพื่อทำหน้าที่ในการคัดสรรผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2. มีคุณสมบัติ ได้แก่ อายุ ปี เป็นข้าราชการระดับ 9 ขึ้นไป หรือเป็นผู้บริหารธุรกิจขนาดใหญ่ หากเป็นนักวิชาการ ภาคประชาชน หรือสื่อมวลชน จะต้องมีผลงานโดดเด่นชัดเจน เป็นต้น 3. จัดให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ และจัดให้มีวัดผลทางความรู้ความสามารถด้วยวิธีการต่างๆ 4. ให้ผู้ที่ได้รับการคัดสรรในเบื้องต้นเข้าฝึกอบรมการเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกับ “สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” อย่างน้อยเป็นเวลา 2 ปี และต้องมีการประเมินผลด้วย เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ที่จะได้รับการพิจารณาให้ดำรงต่ำแหน่งต่อไป 5. อำนาจในการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นของนายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
19
วาระการดำรงตำแหน่ง ไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่ควรเกิน 5 ปี (หรือ ประมาณ 4 ปี)
20
ขอบเขตอำนาจและบทบาท 1. เป็นผู้ประสานงานมากเสียกว่าผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ 2. ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องให้ความสำคัญกับงานเชิงภาพรวมและนโยบายตลอดจนงานทางยุทธศาสตร์มากเสียกว่างานพื้นที่ 3. ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินรองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้ากลุ่มภารกิจต่าง ๆ และหัวหน้าส่วนราชการ มากเสียกว่าการรอให้กรมหรือส่วนกลาง 4. ราชการจังหวัดจะต้องรับรู้และเปิดกว้างต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา 5. ผู้ว่าราชการจังหวัดควรทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมยุทธศาสตร์ของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะถูกจัดตั้งขึ้นใหม่ เพื่อให้งานของจังหวัดตอบสนองความต้องการของประชาชนมากกว่าการตอบสนองความต้องการของหน่วยงาน
21
ทีมยุทธศาสตร์ของผู้ว่าราชการจังหวัด
ประกอบไปด้วยบุคคลต่าง ๆ อย่างน้อย 3-5 คน ดังต่อไปนี้ 1. เป็นบุคคลภายนอก (ไม่ใช่กรรมการในคณะกรรมการบูรณาการ และคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน) 2. อาจเป็นข้าราชการจากส่วนกลาง หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิในระดับจังหวัด หรือระดับชาติก็ได้ เช่น อธิบดีกรมต่าง ๆ นักวิชาการด้านต่าง ๆ เป็นต้น 3. อาจเป็นผู้มีความรู้ความสามารถจากภาคเอกชน ภาคประชาชนหรือภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัด หรือ การบริหารจัดการก็ได้ 4. อำนาจในการแต่งตั้งทีมยุทธศาสตร์เป็นของผู้ว่าราชการจังหวัด และหมดวาระลงเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดออกจากตำแหน่ง
22
ทีมยุทธศาสตร์ของผู้ว่าราชการจังหวัด
อำนาจหน้าที่ของทีมยุทธศาสตร์ของผู้ว่าราชการจังหวัด ควรมีอย่างกว้าง ๆ ดังนี้ 1. เป็นที่ปรึกษาด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นการเฉพาะ 2. ให้คำแนะนำทั่วไปในการบริหารราชการของผู้ว่าราชการจังหวัด 3. เป็นผู้ประสานแผนยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ ของจังหวัดให้มีความเป็นเอกภาพก่อนที่จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบูรณาการจังหวัด ทั้งนี้อยู่ภายใต้ขอบเขตที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนด 4. แสวงหาและพัฒนายุทธศาสตร์ด้านใหม่ ๆ ของจังหวัด แล้วนำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรรมการบูรณาการจังหวัด และคณะที่ปรึกษาภาคประชาชน 5. ปรับแผนกลยุทธ์ในการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดให้สามารถนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติได้เป็นรูปธรรมเร็วขึ้น ทั้งนี้อยู่ภายใต้ขอบเขตที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนด
23
โครงสร้างคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
ผู้แทนจากส่วนอื่นที่ไม่ใช่ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประมาณ 7-8 คน ผู้แทนจากราชการบริหารส่วนภูมิภาค รวมแล้วไม่เกิน 12 คน คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จำนวน คน ผู้ว่าราชการจังหวัด (ประธาน) รองผู้ว่าราชการจังหวัด 1-2 คน (ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นรองประธาน) ตัวแทนจากองค์กรปกครองท้องถิ่น 2 คน ตัวแทนจากภาคธุรกิจเอกชน 2 คน ตัวแทนจากเครือข่ายภาคประชาชน 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ ผู้แทนหน่วยราชการส่วนกลาง 1-2 คน (ที่ได้รับการเชิญเข้าร่วมโดยผู้ว่าราชการจังหวัด) ตัวแทนจากแต่ละกลุ่มภารกิจ A,B1,B2,B3,C,D1,D2,D… (ซึ่งอาจเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ไม่ได้เป็นรองประธาน กบจ. ซึ่งเลือกทำหน้าที่เป็นตัวแทนจากกลุ่มภารกิจนั้น หรือตัวแทนกลุ่มภารกิจที่ได้มาจากการคัดเลือกกันเองของหัวหน้าส่วนราชการในกลุ่มภารกิจนั้น ทั้งนี้ตามวิธีการที่ได้อธิบายไว้แล้วในรายงานวิจัย) ตัวแทนที่ได้มาจากการคัดสรรกันเองของคณะกรรมการเครือข่าย องค์กรปกครองท้องถิ่น 6 คน ภาคธุรกิจเอกชนในจังหวัด 6 คน ผู้ว่าราชการจังหวัดคัดเลือกผู้แทนจากแต่ละภาคส่วนเข้าร่วมในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 ตัวแทนที่ได้มาจากการคัดสรรกันเองของคณะกรรมการเครือข่ายภาค ประชาชนในจังหวัด 6 คน โครงสร้างคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
24
โครงสร้างคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน
ผู้ว่าราชการจังหวัดคัดเลือกผู้แทนจากแต่ละภาคส่วนเข้าร่วมในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 คณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน คน ตัวแทนสื่อมวลชน นักวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชน 3-4 คน ตัวแทนภาคธุรกิจเอกชนภายในจังหวัด 3-4 คน ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน/ตัวแทนกลุ่มอาชีพภายในจังหวัด 3-4 คน ตัวแทน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนที่ได้มาจากการคัดสรรกันเองของสื่อมวลชน นักวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชน 9 คน ตัวแทนที่ได้มาจากการคัดสรรกันเองของคณะกรรมการเครือข่าย ภาคธุรกิจเอกชนในจังหวัด 9 คน ตัวแทนที่ได้มาจากการคัดสรรกันเองของคณะกรรมการเครือข่ายภาค ประชาชนในจังหวัด 9 คน องค์กรปกครองท้องถิ่น 9 คน
25
งบประมาณของจังหวัดแบบบูรณการเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์
1. การให้จังหวัดเป็นหน่วยตั้งงบประมาณ 2. การให้จังหวัดเป็นหน่วยเบิกจ่ายงบประมาณ
26
การให้จังหวัดเป็นหน่วยในการจัดตั้งงบประมาณได้บางส่วน ประมาณ 20 – 25 %
กรม จังหวัด ยุทธศาสตร์ของจังหวัด ความต้องการของประชาชน กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด ผลผลิตจากการใช้งบประมาณภายในจังหวัด
27
การเบิกจ่ายงบประมาณของจังหวัดในปัจจุบัน
ราชการส่วนกลางในภูมิภาค จังหวัด กรม ราชการส่วนภูมิภาค
28
การเบิกจ่ายงบประมาณของจังหวัดแบบบูรณาการ เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์
ราชการส่วนกลางในภูมิภาค จังหวัด กรม ราชการส่วนภูมิภาค
29
บุคลากรของจังหวัด 1. การคงให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในจังหวัดเป็นบุคลากรสังกัดกรมเช่นเดิม แต่ให้จังหวัดมีบทบาทมากขึ้นในการบริหารงานบุคคล 2. ให้เพิ่มบทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือนจังหวัด เพื่อให้เป็นกลไกหลักรับผิดชอบการบริหารงานบุคคลของจังหวัด 3. การกำหนดระบบการคัดเลือกผู้บริหารระดับสูงของจังหวัดให้เป็นระบบเปิด 4. การกำหนดให้มีระบบหรือช่องทางพิเศษสำหรับข้าราชการหรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถพิเศษไปปฏิบัติงานในจังหวัดเพื่อผลักดันให้พันธกิจของจังหวัดบรรลุผลสัมฤทธิ์
30
การมอบอำนาจ 1. การมอบอำนาจที่เกี่ยวข้องกับนิติกรรมทางการบริหารการปกครอง 2. การมอบอำนาจด้านการสั่งการ อนุมัติ อนุญาตที่เกี่ยวข้องกับภารกิจเฉพาะของจังหวัด 3. การมอบอำนาจที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของส่วนราชการส่วนกลางในพื้นที่ภูมิภาค 4. การมอบอำนาจที่เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
31
ผลที่คาดว่าจะได้หลังการปรับปรุง โครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
1. การบริหารราชการจังหวัดเป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนภูมิภาคแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน 2. การบริหารของราชการส่วนภูมิภาคมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ภายใต้งบประมาณและระยะเวลาที่จำกัด 3. การบริหารงานของส่วนภูมิภาคมุ่งตอบสนองความต้องการของประชาชนและยุทธศาสตร์การพัฒนามากกว่าการตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงาน 4. การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเปิดโอกาสให้หลายภาคส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหารงานแบบเครือข่าย
32
ผลที่คาดว่าจะได้หลังการปรับปรุง โครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
5. โครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาคมีความหลากหลายเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ 6. การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารงานที่มุ่งตามหลัก Demand Side มากกว่า Supply Side อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 7. การบริหารราชการส่วนภูมิภาคจะมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการกำหนดและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของประเทศต่อไปในอนาคต
33
จบการนำเสนอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.