ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
อาเซียน
2
พม่า บรูไน ฟิลิปปินส์ กัมพูชา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ลาว ไทย มาเลเซีย
3
ธงชาติ ตราแผ่นดิน ชื่อทางการ : เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข) ที่ตั้ง : ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว (ละติจูดที่ 5 เหนือเส้นศูนย์สูตร) แบ่งเป็นสี่เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong พื้นที่ : 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan) ประชากร : 370,00 คน (2548) ประกอบด้วย มาเลย์ (66%) จีน (11%) และอื่น ๆ (23%) มีอัตราการเพิ่มของประชากรปีละ 2 % ภูมิอากาศ : อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ภาษา : ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม (67%) ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ (13%) ศาสนาคริสต์ (10%) และฮินดู สกุลเงิน : ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar : BND) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 22.9 บาท/ 1 ดอลลาร์บรูไน (ขาย) 23.5 บาท/ 1 ดอลลาร์บรูไน (มกราคม 2552) (ค่าเงินบรูไนมีความมั่นคงและใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดียวกับเงินสิงคโปร์ และสามารถใช้เงินสิงคโปร์ในบรูไนได้ทั่วไป) ระบอบการปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัลโบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (His Majesty Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510 รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนฯ เชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่
4
ธงชาติ ตราแผ่นดิน ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) ที่ตั้ง : กัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก) ทิศตะวันออกติด เวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย พื้นที่ : ขนาดกว้าง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ (Phnom Penh) ประชากร : 14.1 ล้านคน (ปี 2548) ประกอบด้วย ชาวเขมรร้อยละ 94 ชาวจีนร้อยละ 4 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2 มีอัตราการเพิ่มของประชากรเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย องศาเซลเซียส ภาษา : ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม จีน และไทย ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท (แยกเป็น 2 นิกายย่อย คือ ธรรมยุตินิกายและมหานิกาย) และศาสนาอื่นๆ อาทิ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ สกุลเงิน : เงินเรียล (Riel : KHR) อัตราแลกเปลี่ยน 4,000 เรียลเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 100 เรียล เท่ากับ 1 บาท ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี (His Majesty Preah Bat Samdech Preah Boromneath Norodom Sihamoni) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม 2547 นายกรัฐมนตรี คือ สมเด็จฮุน เซน (Samdech Hun Sen)
5
พื้นที่ : 1,890,754 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย กว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์ หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta) ประชากร : ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม ซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา ภูมิอากาศ : มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ ฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน) ภาษา : ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia ศาสนา : ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือ ศาสนาพุทธ 4 สกุลเงิน : รูเปียห์ (Rupiah : IDR) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 2.87 บาท / 1,000 รูเปียห์ (ขาย) 3.32 บาท / 1,000 รูเปียห์ (มกราคม 2552) ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตย ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
6
ลาว หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ...วิกิพีเดีย เมืองหลวง: เวียงจันทน์ รหัสโทรศัพท์: +856 สกุลเงิน: กีบ ประชากร: 6.77 ล้าน (พ.ศ. 2556) ธนาคารโลก ภาษาราชการ: ภาษาลาว ระบบการปกครอง: รัฐคอมมิวนิสต์, รัฐเดี่ยว, รัฐสังคมนิยม, ระบบพรรคเดียว
7
ชื่อภาษาไทย : มาเลเซีย
ชื่อภาษาอังกฤษ : Malaysia ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เมืองหลวง : กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur, KL) ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์ (Malaysian Malay) สกุลเงิน : ริงกิต (Ringgit, MYR) พื้นที่ : 127,355 ตารางไมล์ (329,847 ตารางกิโลเมตร) จำนวนประชากร : 30,000,000 คน การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ (สมเด็จพระราชาธิบดี) เป็นประมุข Time Zone : UTC+8 (เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง) GDP : 555,912 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รายได้ต่อหัวประชากร : 18,509 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +60
8
อทางการ : สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Republic of the Union of the Myanmar)
เมืองหลวง : เนปิดอว์ (Nay Pyi Taw) (เมืองหลวงเดิม คือ ย่างกุ้ง) ศาสนาประจำชาติ : ศาสนาพุทธ ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกประดู่ (Padauk) วันชาติ : 4 มกราคม วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน : 23 กรกฎาคม พ.ศ.2540 ภาษาประจำชาติ : ภาษาเมียนมาร์ ภาษาราชการ : ภาษาเมียนมาร์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ พม่ามีพื้นที่ประมาณ 657,740 ตารางกิโลเมตร “ภูมิประเทศ” ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจีนและทิเบต ทิศใต้และตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับลาวและไทย ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับอินเดียและบังกลาเทศ ทิศใต้ ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล “ภูมิอากาศ” แบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู คือ ร้อน ฝน และหนาว ซึ่งสภาพอากาศจะแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ โดยพื้นที่สูงจะหนาวเย็น พื้นที่ภาคกลางจะแห้งแล้งกว่าแถบชายฝั่งทะเลตอนใต้ประชากรมีจำนวนประชากรประมาณ 55 ล้านคน มีหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่มีเชื้อชาติเมียนมาร์ รองลงมา คือ ไทยใหญ่ มอญ ยะไข่ กะเหรี่ยง คะฉิ่น ไทยและชินการเมืองการปกครอง มีรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย สภาประชาชน สภาชาติพันธุ์ และสภาท้องถิ่น สมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้ง โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ ตามกลุ่มเชื้อชาติที่เป็นชนกลุ่มใหญ่ในแต่ละรัฐและแบ่งเป็น 7 ภาค ในเขตพื้นที่ราบลุ่มที่ประชากรเชื้อสายเมียนมาร์อาศัยเป็นส่วนใหญ่
9
ธงชาติ ตราแผ่นดิน ชื่อทางการ : สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) ที่ตั้ง : เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประกอบด้วยเกาะจำนวนทั้งสิ้น 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทาง ตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม. และมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้ ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,800 กิโลเมตรภาพนิ่ง 2ภาพนิ่ง 2 พื้นที่ : 298,170 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 3 ใน 5 ของประเทศไทย) เมืองหลวง : กรุงมะนิลา (Manila) ประชากร : 88.7 ล้านคน (พ.ศ.2550) ภูมิอากาศ : มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู ได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น และดีเปรสชั่น บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือ เมืองบาเกียว เป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาษา : มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก แต่ในปี พ.ศ รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปิโน (Filipino) และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้กันมากในประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก ศาสนา : ร้อยละ 92 ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ มุสลิมร้อยละ 5 พุทธและอื่น ๆ ร้อยละ 3 สกุลเงิน : เปโซ (Peso : PHP) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 0.72 บาท/ 1 เปโซ (ขาย) 0.75 บาท/ 1 เปโซ (มกราคม 2552) ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ 6 ปี) ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย (Gloria Macapagal Arroyo) ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547
10
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
ศาสนาประจำชาติ : ไม่มีศาสนาประจำชาติ (ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมา คือ อิสลาม คริสต์ ฮินดู และลัทธิเต๋า) ดอกไม้ประจำชาติ : กล้วยไม้แวนด้า มิส โจควิม (Vanda Miss Joaquim) วันชาติ : 9 สิงหาคม วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน : 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 (สมาชิกก่อตั้ง) ภาษาประจำชาติ : ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู ภาษาราชการ : อังกฤษ จีน มาเลย์ และภาษาทมิฬ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ สิงคโปร์เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 697 ตารางกิโลเมตร (มีขนาดเท่ากับเกาะภูเก็ตของไทย) โดยจะเป็นเกาะใหญ่หนึ่งเกาะ (เกาะสิงคโปร์) และเกาะเล็กๆ อีกมากกว่า 60 เกาะ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู ทางทิศเหนือติดกับช่องแคบยะโฮร์ ทิศใต้ติดกับช่องแคบสิงคโปร์ ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้ และทิศตะวันตกติดกับช่องแคบมะละกา“ภูมิประเทศ” ในภาคตะวันตกและภาคกลางของประเทศจะเป็นเนินเขา โดยภาคกลางจะมีเนินเขาที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญของสิงคโปร์ พื้นที่บริเวณชายฝั่งของสิงคโปร์จะมีลักษณะเว้าแหว่งเหมาะที่จะเป็นท่าเรือ“ภูมิอากาศ” สิงคโปร์อยู่ในเขตอากาศร้อนชื้นและมีฝนตกชุก ประเทศนี้มีอุณหภมิคงที่ ไม่มีการแบ่งแยกฤดูกาลที่ชัดเจน ในช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม จัดเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด และในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคมจะเป็นช่วงมรสุมประชากร มีจำนวนประชากรประมาณ 5.08 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก และประชากรก็มีความหลากหลายของเชื้อชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีน รองลงมาจะเป็นชาวมาเลย์ และชาวอินเดีย การเมืองการปกครอง สิงคโปร์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี) มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และแบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ สภาบริหาร รัฐสภา และสภาตุลาการ
11
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam) เมืองหลวง : ฮานอย (Hanoi) ศาสนาประจำชาติ : ไม่มีศาสนาประจำชาติ (ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นคริสต์ และอิสลาม) ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกบัว (Lotus) หรือเรียกว่า “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” วันชาติ : 2 กันยายน วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน : 28 กรกฎาคม พ.ศ.2538 ภาษาประจำชาติ : ภาษาเวียดนาม ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม ลักษณะทางภูมิศาสตร์เวียดนาม มีลักษณะพื้นที่เป็นแนวยาวคล้ายตัว S มีพื้นที่ประมาณ 331,690 ตารางกิโลเมตร (3 ใน 5 ของไทย หรือ ประมาณ 65%) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของคาบสมุทรอินโดจีน ทางทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศใต้ติดกับทะเลจีนและอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดกับอ่าวตัวเกี๋ยและทะเลจีน และทิศตะวันตกติดกับประเทศกัมพูชาและประเทศลาว“ภูมิประเทศ” พื้นที่ของเวียดนามส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสูง (โดยเฉพาะทางภาคเหนือ) คั่นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงนอกจากนี้ยังมีชายฝั่งทะเลแคบๆ ที่ยาวจากเหนือจรดใต้“ภูมิอากาศ” วียดนามอยู่ในพื้นที่มรสุมเขตร้อน ทางภาคเหนือของประเทศจะมี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม – เมษายน) ฤดูร้อน (พฤษภาคม – สิงหาคม) ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน – พฤศจิกายน) และฤดูหนาว (ธันวาคม – กุมภาพันธ์) ส่วนทางภาคกลางและภาคใต้จะมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝน (พฤษภาคม – ตุลาคม) และฤดูแล้ง (ตุลาคม – เมษายน)ประชากรมีจำนวนประชากรประมาณ 86 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวเวียด รองลงมาจะเป็นชนกลุ่มน้อย ชาวเขา และชาวเขมร การเมืองการปกครองเวียดนามปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (Communist Party of Vietnam: CPV) เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวในประเทศ โครงสร้างการปกครองของเวียดนามแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ*สภาแห่งชาติ (The National Assembly หรือ Quoc-Hoi) เป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ มีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการออกกฎหมายต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีอำนาจให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งและถอดถอนประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี *องค์กรฝ่ายบริหาร ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหารประเทศ *รัฐบาลท้องถิ่น (People’s Committee of Province) เวียดนามมีสภาประชาชนและคณะกรรมการประชาชนประจำท้องถิ่นเป็นองค์กรบริหารสูงสุดประจำท้องถิ่น โดยรัฐบาลท้องถิ่นจะบริหารงานตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎระเบียบที่รัฐบาลกลางบัญญัติไว้
12
ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรไทย (The Kingdom of Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok) รู้หรือไม่ ? ชื่อเต็มของกรุงเทพมหานคร คือ “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ ศาสนาประจำชาติ : ศาสนาพุทธ รองลงมาคือ อิสลาม คริสต์ และฮินดู ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) วันชาติ : 5 ธันวาคม วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน : 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 (สมาชิกก่อตั้ง) ภาษาประจำชาติ : ภาษาไทย ภาษาราชการ : ภาษาไทย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ในอินโด – แปซิฟิก มีพื้นที่ประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากอินโดนีเซีย และเมียนมาร์“ภูมิประเทศ” ทิศเหนือ ติดกับเมียนมาร์และลาว ทิศตะวันตก ติดกับทะเลอันดามันและเมียนมาร์ ทิศตะวันออก ติดกับลาวและกัมพูชา ทิศใต้ ติดกับอ่าวไทยและมาเลเซีย ประเทศไทยแบ่งออกเป็น 6 ภาค ซึ่งแต่ละภาคมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันดังนี้ ภาคเหนือ มีภูเขาสูง โดยจุดสูงสุดคือ ดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงแห้งแล้ง ไม่เอื้อต่อการเพาะปลูก ภาคกลาง เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด ภาคใต้ ติดทะเลสองฝั่ง มีจุดแคบสุดที่คอคอดกระ ภาคตะวันออก มีชายฝั่งทะเลเรียบขาวและโค้งเว้า ภาคตะวันตก เป็นหุบเขาและแนวเทือกเขา “ภูมิอากาศ”แบบเขตร้อน แบ่งเป็น 3 ฤดู คือฤดูร้อน (ช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม) ฤดูฝน (ช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม) และฤดูหนาว (ช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) ซึ่งภาคใต้ของประเทศจะแบ่งเป็น 2 ฤดูคือ ฤดูฝนและฤดูร้อน
13
ประชากร มีจำนวนประชากรประมาณ 66 ล้านคน ซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ โดยเชื้อชาติหลักคือ ชาวไทย และชาวไทยเชื้อสายต่างๆ รองลงมาคือ ชาวจีนและอื่นๆ รวมถึงชนกลุ่มน้อยต่างๆ ด้วย การเมืองการปกครอง ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยมีรัฐสภาทำหน้าที่นิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิกผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารที่สังกัดพรรคการเมืองและมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ประเทศไทยแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 76 จังหวัด ไม่นับรวมกรุงเทพฯ (จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดล่าสุดที่ได้ประกาศเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2554
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.