ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
การรวบรวมองค์ความรู้การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น การทอเสื่อ ในเขตพื้นที่อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
2
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การรวบรวมองค์ความรู้การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกก ในเขตอำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่นในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาการทอเสื่อกก ในเขตพื้นที่อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาขั้นตอนกระบวนการทอเสื่อกกของชาวบ้านทางขวาง ในเขตพื้นที่อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาองค์ความรู้และเผยแพร่ภูมิปัญญาการทอเสื่อกกในเขตพื้นที่อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ การจดบันทึก และกล้องถ่ายรูป เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกจากภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงพรรณนาแล้วเสนอรายงานการวิจัย
3
บทนำ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกิดจากการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่มีการสั่งสมความรู้มวลประสบการณ์ต่าง ๆ ที่มีการสืบทอดจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายโดยมีความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับชาวบ้าน สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ระหว่างการสืบทอด มีการปรับปรุง ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง จนอาจเกิดเป็นความรู้ใหม่ ตามสภาพสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรมซึ่งสอคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านในแต่ละท้องที่
4
ผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญ ของภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกกจึงได้ดำเนินการเก็บรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกก ในการใช้พืชประจำถิ่น คือต้นกกในหมู่บ้านทางขวางอำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น ทางผู้วิจัยจึงศึกษาและทำการเผยแพร่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกก ให้ประชาชนทราบถึงประโยชน์ของต้นกก และส่งเสริมการผลิตเสื่อกกจากต้นกกที่มีในท้องถิ่นอย่างแพร่หลายต่อไป
5
คุณแม่พรสวรรค์ สีสุวอ หัวหน้ากลุ่มทอเสื่อกก หมู่บ้านทางขวาง
คุณแม่พรสวรรค์ สีสุวอ หัวหน้ากลุ่มทอเสื่อกก หมู่บ้านทางขวาง
6
แปลงปลูกต้นกก
7
การจักกก
8
การตากเส้นกก
9
เส้นกกที่ผ่านการย้อมสี
10
การทอเสื่อกก
11
การเย็บขอบเสื่อกก
12
เสื่อกกลายมัดหมี่
13
เสื่อที่ทอเรียบร้อย
14
สรุปผลการศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกกของกลุ่มชาวบ้านทางขวางในเขตพื้นที่อำเภอแวงน้อย มีกลุ่มชาวบ้านที่ยังคงทำการทอเสื่อกกในปัจจุบัน จำนวน 10 ท่าน เป็นชาย 1 รายหญิง 9 ราย อายุมากที่สุด 68 ปี อายุน้อยที่สุด 33 ปี อายุเฉลี่ย 48 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 ราย ชั้นมัธยมศึกษา 4 ราย อาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้าน การแสวงหาความรู้ในกระบวนการทอเสื่อกกของชาวบ้านมีมานานกว่า 60 ปีซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุตที่ได้สั่งสมความรู้และประสบการณ์ทอเสื่อกก จากการสังเกต การจดจำมาจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายายและการลองปฏิบัติ สำหรับการทอเสื่อกกมี 4 ขั้นตอนคือ การปลุกกก การเตรียมเส้นกก การย้อมสี และการทอเสื่อกก และมีการสืบทอดกระบวนการทอเสื่อกกของชาวบ้านทางขวางโดยมีวิธีการต่าง ๆ คือการบอกปากต่อปากจากการเรียนรู้ การสังเกต การจดจำ และฝึกปฏิบัติและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.