ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ประเทศไทย
2
สารบัญ 1.ความเป็นมา 2.ภูมิประเทศ 3.ภูมิอากาศ 4.การเมืองการปกครอง
ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน และมลายู ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดิน อยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด[8] แม้จะมีการสถาปนาระบอบราประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมี บทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และประเทศไทยปกครองแบบเผด็จการทหาร ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตรและมีประชากรมาก เป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคนกับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ โดยมีรายได้ หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามประมาณการในปี 2560 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก สารบัญ 1.ความเป็นมา 2.ภูมิประเทศ 3.ภูมิอากาศ 4.การเมืองการปกครอง 5.เศรษฐกิจ 6.ประชากร 7.ศาสนา 8.ภาษา 9.การท่องเที่ยว 10.อาหาร 11.กีฬา 12.วัฒนธรรมไทย
3
มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก
ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตรและ มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคนกับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่โดยมีรายได้หลักจาก ภาคอุตสาหกรรมและการบริการ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามประมาณการในปี 2560 เศรษฐกิจ ของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปีนักประวัติศาสตร์มักถือว่า อาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า และมีการติดต่อกับชาติตะวันตก อาณาจักรอยุธยามีอายุยืนยาว 417 ปีก็เสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่ ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในช่วงต้นกรุงประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในปี 2475 ประเทศไทยได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นราชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ จนมาถึงช่วงสงครามเย็นไทยดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนรัฐบาลทหารในยุคนั้นเป็นอย่างมาก และแม้ช่วงทศวรรษที่ 2530 ประเทศไทยจะเริ่มเปลี่ยนมาสู่ยุครัฐบาลของพลเรือน แต่เสถียรภาพของระบบการเมืองการปกครองไทยยังคงขาดความต่อเนื่อง อันมีที่มาจากการแทรกแซงโดยกองทัพจวบจนปัจจุบัน
4
ประเทศไทยตั้งอยู่กลางคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภูมิประเทศ สำคัญแห่งหนึ่งของโลกภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไทย-มลายู ขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน มีจุดที่แคบลง ณ คอคอดกระ แล้วขยายใหญ่เป็นคาบสมุทรมลายู ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุด ของประเทศไทย ส่วนภาคตะวันตกเป็นหุบเขาและแนวเทือกเขาซึ่งพาดตัวมาจากทางตะวันตกของภาคเหนือ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงถือเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศไทย การผลิตของภาคอุตสาหกรรม การเกษตรต้องอาศัยผลผลิตที่เก็บเกี่ยว ได้จากแม่น้ำทั้งสองและสาขา อ่าวไทยมีพื้นที่ประมาณ 320,000 ตารางกิโลเมตร รองรับน้ำซึ่งไหลมาจาก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำตาปี ถือเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว เนื่องจากน้ำตื้นใสตามแนวชายฝั่งของภาคใต้และคอคอดกระ นอกจากนี้ อ่าวไทยยังเป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมของประเทศ เพราะมีท่าเรือหลักที่สัตหีบ ถือได้ว่าเป็นประตูที่จะนำไปสู่ท่าเรืออื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร ภาคใต้มีสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวมาก ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดตรัง และหมู่เกาะตามแนวชายฝั่งของทะเลอันดามัน ประเทศไทยตั้งอยู่กลางคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังอยู่บนคาบสมุทรมลายูด้วย อยู่ระหว่างละติจูด 5° ถึง 21° เหนือ และลองติจูด 97° ถึง 106° ตะวันออก ประเทศไทยมีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร เป็นอันดับที่ 51 ของโลกและอันดับที่ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซียและพม่า ประเทศไทยมีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ กว่า 320,000 ตารางกิโลเมตร มีความยาวชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามันรวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,101 กิโลเมตประเทศไทย มีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย ภาคเหนือเป็นพื้นที่ภูเขาสูงสลับซับซ้อน จุดสูงที่สุดในประเทศไทย คือ ดอยอินทนนท์ ณ 2,565 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล รวมทั้งยังปกคลุมด้วยป่าไม้อันเป็นต้นน้ำที่สำคัญของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ของที่ราบสูงโคราช สภาพของดินค่อนข้างแห้งแล้งและไม่ค่อยเอื้อต่อการเพาะปลูก ภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง มีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำใหญ่ที่สุดในประเทศซึ่งเกิดจากแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านที่ไหลมาบรรจบกันที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้ภาคกลางเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด และถือได้ว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ร
5
ภูมิอากาศ เนื่องจากที่ตั้งในแผ่นดินและละติจูด ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลางและตะวันออกของประเทศ ไทยประสบอากาศร้อน เป็นเวลานาน เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดของปี ปกติอุณหภูมิมักสูงถึง 40 °C โดยยกเว้นพื้นที่ชายฝั่งที่ลมทะเลทำให้อุณหภูมิตอนกลางวันไม่ร้อนเกินไป ในทางตรงข้าม การพัดของลมเย็นจากประเทศจีนทำให้อุณหภูมิต่ำลง ซึ่งบางกรณีอาจเข้าใกล้หรือต่ำกว่า 0 °C ได้ภาคใต้มีอากาศไม่รุนแรงตลอดปี มีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกลางคืนและ ระหว่างฤดูกาลน้อยเนื่องจากอิทธิพลของทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกเฉลี่ยทั้งปี 1,200 ถึง 1,600 มิลลิเมตร แต่ในบางพื้นที่ที่เป็นฝั่งรับลม ของภูเขา เช่น จังหวัดระนองและจังหวัดตราดมีปริมาณฝนกว่า 4,500 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนบริเวณแห้งแล้ง คือฝั่งัรบลม ของหุบเขาภาคกลางและส่วนเหนือสุดของภาคใต้ซึ่งมีปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปีน้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีอากาศแห้งระหว่างมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและฝนตกในมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในภาคใต้ ฝนตกหนักเกิดทั้งในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีมากสุดในเดือนกันยายน ในฝั่งตะวันตก และตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคมในฝั่งตะวันออก ภูมิอากาศของไทยส่วนใหญ่เป็นแบบ "ภูมิอากาศร้อนชื้นเขตร้อนหรือสะวันนา " ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนส่วนปลายใต้สุดและตะวันออกสุดของประเทศมี ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 18–34 °C]ภูมิอากาศของประเทศไทย ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตามฤดูกาล ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคมมีลักษณะเป็นการเคลื่อนของอากาศอุ่นชื้นจากมหาสมุทรอินเดีย ทำให้เกิดฝนตกหนัก เป็นบริเวณส่วนใหญ่ของประเทศ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ นำพาอากาศเย็นแห้งจากประเทศจีนปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ส่วนในภาคใต้ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนำอากาศ แบบไม่รุนแรงและฝนตกหนักในชายฝั่งตะวันออก สามารถแบ่งได้เป็น 3 ฤดูกาล ฤดูแรกเป็นฤดูฝนหรือฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม) ฝนตกหนักที่สุดในเดือนสิงหาคมและกันยายน ซึ่งทำให้เกิดอุทกภัยบางครั้ง นอกจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ร่องความกดอากาศต่ำ (Intertropical Convergence Zone) และพายุหมุนเขตร้อนก็มีส่วนทำให้เกิดฝนตกหนักในฤดูฝนด้วย กระนั้น ปกติมีช่วงปลอดฝนสั้น ๆ 1 ถึง 2 สัปดาห์ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม เนื่องจากร่องความกด อากาศต่ำเคลื่อนขึ้นเหนือไปภาคใต้ของประเทศจีน ฤดูหนาวหรือฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มตั้งแต่กลาง เดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีอากาศแห้งและอุณหภูมิไม่ร้อนมาก ยกเว้นภาคใต้ที่มีฝนตกหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ส่วนฤดูร้อนหรือฤดูก่อนมรสุมกิน เวลาตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคมซึ่งมีอากาศร้อน
6
การเมืองการปกครอง อำนาจนิติบัญญัติ มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกินสองร้อยยี่สิบคน ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา ไม่มีระบุวาระ เดิมสภานิติบัญญัติของไทยได้แก่รัฐสภา ซึ่งใช้ ระบบสภาคู่ ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา อำนาจบริหาร มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรัฐมนตรีอื่นไม่เกินสามสิบห้าคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารอำนาจ ไม่มีระบุวาระ นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขแห่งอำนาจและเป็น หัวหน้ารัฐบาล อำนาจตุลาการ มีระบบศาล ซึ่งประกอบด้วยศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง เป็นองค์กรบริหารอำนาจ มีประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประมุขในส่วนของตน สำหรับราชการส่วนท้องถิ่น มีการแบ่งเป็นผู้บริหารท้องถิ่นและสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งข้าราชการฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนแทบทุกระดับ ระบบพรรคการเมืองของไทยเป็นแบบหลายพรรค นายกรัฐมนตรีมาจากพรรคการเมืองต่าง ๆ แต่ก็มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากรัฐประหารหลายคน หลัง พ.ศ มีพรรคการเมืองครอบงำสองพรรค คือ พรรคเพื่อไทย ซึ่งเปลี่ยนมาจากพรรคพลังประชาชนและพรรคไทยรักไทยตามลำดับ และพรรคประชาธิปัตย์ พรรคการเมืองซึ่งเป็นพันธมิตรทางการเมืองของ ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งทั่วไปทุกครั้งตั้งแต่ปีนั้น พรรคการเมืองอื่น เช่น พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นต้น การแบ่งเขตการปกครอง ดูบทความหลักที่: การแบ่งเขตการปกครองของประเทศไทย และ จังหวัดในประเทศไทย ประเทศไทยแบ่งเขตการบริหารออกเป็น (1) ราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง, ทบวง และกรม (2) ราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย 76 จังหวัด 878 อำเภอ 7,255 ตำบล[8] จังหวัดล่าสุดของประเทศไทย คือ จังหวัดบึงกาฬซึ่งแยกจากจังหวัดหนองคายในปี 2554 และ (3) ราชการส่วนท้องถิ่นได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด, เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล, กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา เดิมประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยาเป็นต้นมา มีการปกครองแบบรวมศูนย์เด็ดขาดตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรปฏิวัติในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ในปี 2560 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ นับเป็นประเทศที่มีรัฐธรรมนูญมากที่สุดในทวีปเอเชีย ประเทศไทยขาดเสถียรภาพทางการเมืองสูงและมีรัฐประหารหลายครั้ง หลังเปลี่ยนรัฐบาลสำเร็จ รัฐบาลทหารมักยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเก่า และร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีการเปลี่ยนสมดุลอำนาจฝ่ายการปกครองเรื่อยมา นอกจากนี้ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ยังเปลี่ยนไปตามรัฐธรรมนูญด้วย ประเทศไทยมีรัฐประหารมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2559 "ประเทศไทยมีทหารหรืออดีตทหาร เป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศไทย เป็นเวลา 57 จาก 85 ปีนับแต่ล้มสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปี 2475"] ในทางพฤตินัย ปัจจุบันประเทศไทยปกครองในระบอบเผด็จการทหาร ในปี 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมา มีประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ต่อมาในปี 2560 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ในรัฐธรรมนูญดังกล่าว ระบุว่า ประเทศไทยมีรูปแบบ รัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือใช้ว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยกำหนดรูปแบบ องค์กรบริหารอำนาจทั้งสามส่วนดังนี้
7
"ผู้ประสบความสำเร็จสูง“ ในเอเชียตะวันออก
เศรษฐกิจ ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับที่ 24 ของโลก และมีมูลค่าการนำเข้าเป็นอันดับที่ 23 ของโลก ประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออสเตรเลีย ฮ่องกงและเกาหลีใต้ เครื่องจักรเป็นทั้งสินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญที่สุดของไทย[88] ในปี 2556 ประเทศไทยมีการส่งออกสุทธิ 390,957 ล้านบาท ธนาคารโลกเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดของไทย ในปี 2556 จีดีพีมาจากการใช้จ่ายของครัวเรือน 54.4% การใช้จ่ายของรัฐบาล 13.8% การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 26.7%[77] การส่งออกเป็นสัดส่วน 74% ของจีดีพี[90] ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนต่อจีดีพีมากที่สุดคือ 38.1% ภาคการค้าส่ง ค้าปลีกมีสัดส่วนต่อจีดีพี 13.4% ภาคการขนส่งและการสื่อสารมีสัดส่วนต่อจีดีพี 10.2% ภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนต่อจีดีพี 8.3%[91] ในปี 2552–2553 ประเทศไทยส่งชิ้นส่วนและส่วนประกอบออก ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ มูลค่า 48,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 25% ของมูลค่าการส่งสินค้าออก[81] ประเทศไทยมีกำลังแรงงาน ล้านคน อยู่ในภาคเกษตรกรรมมากที่สุด ล้านคน หรือ 39.1% ของกำลังแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ค่าแรงขั้นต่ำทางการทุกจังหวัดเป็น 300 บาท อัตราการว่างงานของประเทศอยู่ที่ 1.0%[78] ซึ่งน้อยเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่แนวโน้มแรงงานกว่าครึ่งประกอบอาชีพที่ไม่มั่นคงหรืออาชีพที่ไม่เป็นทางการ[92] กับทั้ง 40% มีปัญหาการทำงานต่ำระดับ[93] ประเทศไทยมีเศรษฐกิจแบบผสม โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติจัดให้ประเทศไทยเป็น "ผู้ประสบความสำเร็จสูง“ ในเอเชียตะวันออก ซึ่งประชาชนพ้นจากความยากจนและเข้าสู่ชนชั้นกลางที่เติบโตเร็ว เนื่องจากสาธารณสุขและระบบการศึกษาที่ดีขึ้น แต่ประเทศไทยเผชิญกับความท้าทาย เช่น ประชากรสูงอายุ ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม แรงกดดันทางการเมืองและความเหลื่อมล้ำ ในปี 2556 ประเทศไทยมีดัชนีการรับรู้การทุจริตค่อนข้างต่ำ โดยอยู่อันดับที่ 102 จาก 177 ประเทศ[82] เมื่อเดือนกันยายน 2557 การสำรวจองค์การต่อต้านทุจริต 12 แห่งในทวีปเอเชียมองว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติเป็นองค์การต่อต้านทุจริตเป็นองค์การที่ถูกใช้ทางการเมืองมากที่สุด ประเทศไทยมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซีย ในปี 2556 กองทุนการเงินระหว่างประเทศรายงานว่า ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมใน ประเทศในรูปตัวเงินเป็นอันดับที่ 29 ของโลก อยู่ที่ 387,156 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ เป็นอันดับที่ 24 ของโลก อยู่ที่ 673,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[85] ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ และเพิ่งเป็นประเทศมีรายได้ปานกลาง-สูงในปี 2554 สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์สจัดอันดับความ น่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ BBB+ มูดีส์จัดที่ Baa1 และฟิทช์จัดที่ BBB+
8
ประชากร ประเทศไทยมีการย้ายถิ่นเข้ามากกว่าย้ายถิ่นออกมาก เนื่องจากระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ ของไทยเป็นแรงจูงใจให้แรงงานไร้ฝีมือ จากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาหางานในประเทศไทย ประเทศไทยมีการเคลื่อนสู่พื้นที่เมือง ถาวรพอสมควร การย้ายถิ่นเข้าประเทศช่วยเร่งการทำให้เป็นเมือง ในปี 2553 ประเทศไทยมีการมีลักษณะแบบเมือง 34% ซึ่งต่ำกว่าเมื่อเทียบกับประเทศ ที่มีเครื่องชี้ภาวะการพัฒนาพอ ๆ กัน (เช่น ประเทศโคลัมเบียและเปรู กว่า 75%) กรุงเทพมหานครเป็นตัวอย่างสุดโต่งของ ความเป็นเอกนคร (urban primacy) โดยในปี 2536 กรุงเทพมหานครมีประชากรมากกว่านครใหญ่ที่สุดสามอันดับถัดมารวมกัน ระหว่าง 7.5 ถึง 11 เท่า ผู้อพยพออกชาวไทยส่วนมากเป็นชายและส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างสัญญาในอาชีพทักษะต่ำ คาดว่าจำนวนผู้ย้ายถิ่นออกระยะสั้นไปประเทศมาเลเซียมีสูง เมื่อปลายปี 2550 ประเมินว่าชาวต่างชาติที่อาศัยและทำงานอยู่ในประเทศไทยมี 2.8 ล้านคน เป็นผู้ใช้แรงงานจากประเทศพม่า กัมพูชาและลาว 70,000 คน เมื่อปลายปี 2552 มีผู้ย้ายถิ่นไม่มีบันทึกประมาณ 1,314,382 คน มาจากพม่ามากที่สุด (82%) มีผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีทักษะการจัดการ เทคโนโลยี วิศวกรรมหรืออุตสาหกรรมจากประเทศพัฒนาแล้วอย่าง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เมื่อปลายปี 2552 ชาวต่างชาติ 210,745 คนมีใบอนุญาตทำงานไทย นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเพราะการสมรสและผู้ที่ตั้งถิ่นฐานหลังการเกษียณอายุ นักท่องเที่ยวบางส่วนยังอยู่เกินวีซ่าและกลายเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร เมื่อปี 2553 ในประชากรอายุมากกว่า 13 ปี มีผู้สมรส 38,001,676 คน หม้าย 3,833,699 คน หย่า 670,030 คน และไม่เคยสมรส 16,957,651 คน กระทรวงมหาดไทยประมาณว่า ประเทศไทยมีประชากร 65,931,550 คน ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่อัตราเจริญพันธุ์ลดลงเร็วที่สุดในโลก ระหว่างปี 2513 ถึง 2533 อัตราเจริญพันธุ์ระหว่างประเทศลดลงจาก 5.5 เหลือ 2.2 สาเหตุจากการคุมกำเนิด ขนาดครอบครัวที่ปรารถนาลดลง สัดส่วนผู้สมรสลดลง และการสมรสช้า ในปี 2552 อัตราเจริญพันธุ์รวมของไทยอยู่ที่ 1.5 ในปี 2553 อัตราการเกิดอย่างหยาบอยู่ที่ 13 ต่อ 1,000 ประชากรมากกว่า 65 ปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าจำนวนผู้สูงอายุ ในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าใน ช่วงปี 2553–2573 จำนวนประชากรในวัยทำงานทั้งหมดจะเริ่มลดลงหลังปี 2563 จำนวนการเกิดของวัยรุ่นสูงขึ้น โดยสถิติหญิงอายุ 15–19 ปีที่เคยสมรสในปี 2553 มีประมาณ 330,000 คน และในปี 2552 มีจำนวนการเกิดจากแม่อายุไม่เกิน 19 ปีจำนวน 765,000 คน การทำแท้งไม่ชอบด้วยกฎหมายในประเทศไทย ยกเว้นผู้ประกอบกิจแพทย์ภายใต้บางเงื่อนไขเท่านั้น ในปี 2549–2552 มีการทำแท้งชักนำเกิน 60,000 คนต่อปี ประเทศไทยถือว่ามีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ราว 75–95% ของประชากรเป็นชาติพันธุ์ไท ซึ่งรวมสี่ภูมิภาคหลัก คือ ไทยกลาง 30% อีสานหรือลาว 22% ล้านนา 9% และใต้ 7% และมีไทยเชื้อสายจีน 14% ของประชากร ที่เหลือเป็นไทยเชื้อสายมลายูชาวมอญ ชาวเขมร และชาวเขาหลายเผ่า ขณะที่ไทยที่มีบรรพบุรุษจีนบางส่วนมีถึง 40% ของประชากร ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่รัฐบาลรับรอง 62 กลุ่ม
9
ศาสนา ศาสนาที่มีจำนวนผู้นับถือรองลงมา ได้แก่ ศาสนาอิสลาม มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 4.2] เป็นนิกายซุนนี ร้อยละ 99มุสลิมอาศัยอยู่ในจังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลาและสตูล มากที่สุดแต่มุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คิดเ ป็นเพียงร้อยละ 18 ของมุสลิมในประเทศไทย ทั่วประเทศมีมัสยิด 3,406 แห่ง มุสลิมในประเทศไทยส่วนใหญ่มีเชื้อสายมลายู ซึ่งสะท้อนมรดกทาง วัฒนธรรมร่วมกับประเทศมาเลเซียเชื่อว่ามี การเผยแผ่ศาสนาอิสลามสู่คาบสมุทรมลายูโดยพ่อค้าอาหรับในคริสต์ศตวรรษที่ 13 มีชาวไทยนับถือศาสนาคริสต์ประมาณร้อยละ 1.1 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 54.56) นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ ศาสนาคริสต์เข้ามาในประเทศไท ยครั้งแรกเมื่อประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อมิชชันนารีชาวโปรตุเกสจากมะละกาเข้ามาเผยแผ่ ศาสนานอกจากนี้ ยังมีผู้นับถือศาสนาอื่นอีก เช่น ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ ศาสนายูดาห์ ศาสนาบาไฮ รวมประมาณ ร้อยละ 0.1] ชาวไทยเชื้อสายจีนจำนวนพอสมควรยังคงถือศาสนาของชาติพันธุ์จีน รวมทั้งเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพื้น บ้านจีน (เช่น อนุตตรธรรมและเต๋อเจี่ยฮุ่ย) ศาสนาเหล่านี้ไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ และในการศึกษา ทางสถิตินับ สาวกเป็นพุทธเถรวาท สำหรับประชาคมชาวยิวนั้น มีประวัติยาวนานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 การสำรวจของเครือข่ายอิสระทั่วโลก/สมาคมแกลลัประหว่างประเทศ (WIN/GIA) ในปี 2560 พบว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่นับถือศาสนามากที่สุดในโลก โดยมีผู้ระบุตนว่าเป็นศาสนิกชนร้อยละ 98 ไม่เป็นศาสนิกชน ร้อยละ 1 และผู้เชื่ออเทวนิยมอีกร้อยละ 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไม่ระบุศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ รัฐธรรมนูญรับรองเสรีภาพในการ นับถือศาสนาของพลเมืองไทยทุกคน แต่กำหนดให้พระมหากษัตริย์ต้องนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท กฎหมายห้ามกล่าวหมิ่นประมาท ศาสนาพุทธรวมถึงพระสงฆ์ และคุ้มครองศาสนสถานและศาสนพิธีของศาสนาอื่น ๆ ตามลำดับใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติว่า "รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท และต้องมีมาตรการและกลไกใน การป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด" ในช่วงปีหลังมี การเรียกร้องให้บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ ประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 94.6 ส่วนใหญ่นับถือนิกายเถรวาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทยโดยพฤตินัยทั้งนี้ ประเทศไทย ถือได้ว่ามีผู้นับถือศาสนาพุทธมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ในปี 2559 ประเทศไทยมีวัดทั้งสิ้น 40,580 วัด มีพระสงฆ์ 33,749 รูป และสามเณร 6,708 รูปทั่วประเทศนักวิชาการบางส่วน เชื่อว่าศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศไทยจากอินเดียในรัชกาล พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์โมริยะในช่วงคริสต์สหัสวรษที่ 1
10
ภาษา ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาทางการ เป็นภาษาหลักที่ใช้ติดต่อสื่อสาร การศึกษาและเป็นภาษาพูด ที่ใช้กันทั่วประเทศ โดยใช้อักษรไทยเป็นรูปแบบมาตรฐานในการเขียน นอกเหนือจากภาษาไทยกลางแล้ว ภาษาไทยสำเนียงอื่นยังมีการใช้งานในแต่ละภูมิภาคเช่น ภาษาไทยถิ่นเหนือ ถิ่นใต้ และถิ่นอีสาน รัฐบาลรับรอง 5 ตระกูลภาษา 62 ภาษาในประเทศไทย นอกเหนือจากภาษาไทยแล้ว ในประเทศไทยยังมีการใช้ภาษาของชนกลุ่มน้อยเช่น ภาษาจีน โดยเฉพาะสำเนียงแต้จิ๋ว ภาษาลาว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งบางครั้งนิยามว่าภาษาลาวสำเนียงไทย ภาษามลายูปัตตานีทางภาคใต้ นอกจากนี้ก็มีภาษาอื่นเช่น ภาษากวย ภาษากะยาตะวันออก ภาษาพวน ภาษาไทลื้อ ภาษาไทใหญ่ รวมไปถึงภาษาที่ใช้กันในชนเผ่าภูเขา ประกอบด้วยตระกูลภาษามอญ-เขมร เช่น ภาษามอญ ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม และภาษามลาบรี; ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน เช่น ภาษาจาม; ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต เช่น ภาษาม้ง ภาษากะเหรี่ยง และภาษาไตอื่น ๆ เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาแสก เป็นต้น
11
การท่องเที่ยว ในปี 2560 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ล้านคนจำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่มีชาวต่างชาติ 336,000 ราย และทหารที่เข้ามาพัก 54,000 นายในปี 2510ประเทศที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศมากที่สุด ได้แก่ จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและลาว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศตั้งขึ้นในปี 2522 นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีการจัดตั้งตำรวจท่องเที่ยวเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ] ประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก 5 แหล่ง ได้แก่ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง และป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลกในด้านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2559 รายงานความ สามารถแข่งขันการเดินทางและการท่องเที่ยวปี 2558 จัดอันดับประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 35 จาก 141 ประเทศ โดยประเทศไทยมีคะแนนสูงในด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ และโครงสร้างพื้นฐานบริการนักท่องเที่ยว แต่มีคะแนนต่ำในด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยและความมั่นคง การค้าประเวณีและการท่องเที่ยวทางเพศถือเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ ประมาณการในปี 2546 ระบุมูลค่าไว้ 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 3 ของเศรษฐกิจเชื่อว่าเงินนักท่องเที่ยวอย่างน้อยร้อยละ 10 ใช้ค้าประเวณี]
12
อาหาร อาหารไทยเป็นการผสมผสานรสชาติความหวาน ความเผ็ด ความเปรี้ยว ความขมและความเค็ม ส่วนประกอบซึ่งมักจะใช้ในการปรุงอาหารไทย รวมไปถึง กระเทียม พริก น้ำมะนาว และน้ำปลา และวัตถุดิบสำคัญของอาหารในประเทศไทย คือ ข้าว โดยมีข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือเป็นพื้น มีคุณลักษณะพิเศษ คือ ให้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และให้สรรพคุณทางยาและสมุนไพร] ตามสถิติพบว่า ชาวไทยรับประทานข้าวขาวมากกว่า 100 กิโลกรัมต่อคนต่อปี อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็น ชุดส่วนอาหารที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกนั้นคือ ต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2554 เว็บไซต์ CNNGO ได้จัดอันดับ 50 เมนูอาหารที่อร่อยที่สุดในโลกโดยการลงคะแนนเสียงทาง เฟซบุ๊ก ปรากฏว่า แกงมัสมั่นได้รับเลือกให้เป็นอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก วัฒนธรรมสมัยนิยมได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินของคนไทย โดยหันมาบริโภคอาหารจานด่วนมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคจากภาวะโภชนาการเกิน แต่กลับไม่สามารถขจัดโรคขาดสารอาหารได้
13
กีฬา มวยไทยถือได้ว่าเป็นกีฬาประจำชาติของไทยโดยพฤตินัย เป็นศิลปะการต่อสู้ที่เผยแพร่ออกไปทั่วโลก มวยไทยมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับศิลปะการต่อสู้ของประเทศ เพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ นอกจากนี้ กีฬาอื่นที่รู้จักกันว่าเป็นของไทย เช่น ตะกร้อ ส่วนกีฬาที่กำลังเติบโตในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว ได้แก่ รักบี้และกอล์ฟ โดยผลงานของนักกีฬารักบี้ ทีมชาติไทย ทำผลงานได้ถึงอันดับที่ 61 ของโลกประเทศไทยยัง เป็นประเทศแรกที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรักบี้ทัวร์นาเมนต์รุ่นเวลเทอร์เวท 80 กิโลกรัมในปี พ.ศ. 2548ส่วนกีฬากอล์ฟนั้น ไทยได้รับสมญานามว่าเป็น "เมืองหลวงของกอล์ฟในทวีปเอเชียในประเทศไทย มีสนามกอล์ฟคุณภาพระดับโลกกว่า 200 แห่ง ซึ่งดึงดูดนักกอล์ฟจำนวนมากจากเกาหลี สิงคโปร์ ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้และประเทศตะวันตกทุกปี ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมที่สุดในประเทศไทย โดยฟุตบอลทีมชาติไทยได้เป็นตัวแทนของประเทศไทย ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศและเป็นทีมที่ ประสบความสำเร็จในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับผลงานทางด้านกีฬา ประเทศไทยได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับโลกหลายอย่าง เช่น โอลิมปิกฤดูร้อน โอลิมปิกฤดูหนาว เอเชียนเกมส์ และซีเกมส์ ซึ่งประเทศไทยเองได้รับสิทธิจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 4 ครั้ง และซีเกมส์ 6 ครั้ง นอกจากนี้ยังเคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชียนคัพ และฟุตบอลโลกหญิงเยาวชนอีกด้วย สมรักษ์ คำสิงห์เป็นนักกีฬาชาวไทยคนแรกผู้คว้าเหรียญทองใน การแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 1996
14
วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลหลักจากวัฒนธรรมอินเดีย จีน ขอม ตลอดจนวิญญาณนิยม ศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ ซึ่งวัฒนธรรมไทยที่ยึดถือกันในปัจจุบันไม่มีอยู่เมื่อกว่า ร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพิบูลสงครามสนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลางเป็นวัฒนธรรมแห่งชาตินิยามและยับยั้งมิให้ชน กลุ่มน้อยแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตน วัฒนธรรมพลเมืองรุ่นปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ยึดรุ่นอุดมคติ ของวัฒนธรรมไทย กลางเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งรวมลักษณะชาตินิยมสมัยรัชกาลที่ 5 ราชย์กัมพูชา และลัทธิอิงสามัญชนที่นิยมบุคคลลักษณะ หรือสรุปคือ วัฒนธรรมพลเมืองของไทยปัจจุบันนิยามว่าประเทศไทยเป็นดินแดนของคนไทยกลาง มีศาสนาเดียวคือ พุทธนิกายเถรวาท และปกครองโดยราชวงศ์จักรี ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเน้นว่า คนส่วนใหญ่ไม่สามารถตรัสรู้และไปถึงนิพพาน และดีที่สุดที่ทำได้คือ การสะสมบุญผ่านการปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรมอย่างสูง เช่น การถวายอาหารพระสงฆ์และการบริจาคเงินเข้าวัด คำสอนทางศาสนาถูกเลือกให้สนับสนุนมุมมองทางโลกแบบศาสนาขงจื๊อใหม่ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สามเสาหลัก ศาสนาพุทธของไทยยังรวมการบูชาวิญญาณของกัมพูชาและความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ นอกจากนี้ยังเน้นรูปแบบมากกว่าแก่นสาร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.