งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พยานเอกสาร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พยานเอกสาร."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พยานเอกสาร

2 “พยานเอกสาร” หมายถึง สิ่งที่มีการบันทึกด้วยตัวอักษร ตัวเลข รูปรอย หรือเครื่องหมายซึ่งสามารถแสดงข้อความหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งให้ศาลตรวจดูได้ “สำเนาเอกสาร” หมายถึง เอกสารที่คัดลอกหรือทำซ้ำมาจากต้นฉบับหรือคู่ฉบับ โดยเจตนาให้เป็นสำเนา ไม่ว่าจะทำโดยวิธีการถ่ายเอกสาร พิมพ์หรือวิธีอื่นใดให้ปรากฏความหมายตรงกับต้นฉบับหรือคู่ฉบับ (อ.ธานี สิงหนาท) (๑) ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติบังคับว่า สำเนาต้องถ่ายจากต้นฉบับ ดังนั้นสำเนาเอกสารที่ทนายโจทก์พิมพ์ข้อความลงในแบบพิมพ์สัญญากู้ซึ่งเป็นแบบพิมพ์อย่างเดียวกันกับต้นฉบับสัญญาก็และมีข้อความเช่นเดียวกันกับสัญญากู้ต้นฉบับ แล้วมีการรับรองสำเนาถูกต้อง ถือเป็นสำเนาเอกสารตามบทกฎหมายแล้ว ฎ.๒๑๕๘/๒๕๓๔ (๒) ปัจจุบันพรบ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔ ให้คำนิยามคำว่า “ ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง-รับ เก็บ รักษาหรือประมวลผลโยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น….หรือโทรสาร และบัญญัติให้ถือว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้นฉบับ ดังนี้ ข้อความที่ส่งทางโทรสารในปัจจุบัน ถือว่าเป็นเอกสารต้นฉบับ

3 วิธีการยื่นเละนำสืบพยานเอกสาร
(๑) ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน ตาม ปวิพ.มาตรา ๘๘ (๒) ต้องยื่นสำเนาพยานเอกสารดังกล่าวต่อศาล และต้องส่งสำเนาพยานเอกสารดังกล่าวให้คู่ความฝ่ายอื่น ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๐ (๓) ต้องนำต้นฉบับเอกสารมาสืบ ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๓ (๔) ต้องนำต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยาน ปวิพ.มาตรา ๑๒๒ (๕) ต้องเสียค่าอากรแสตป์ โดยปิดอากรแสตมป์ให้ครบจำนวนตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและขีดฆ่า ตาม ป.รัษฎากรมาตรา ๑๑๘ (๖) ถ้าต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง บุคคลภายนอก หรือทางราชการ ต้องดำเนินการตาม ปวิพ.มาตรา ๑๒๓ (๗) ถ้าคู่ความอีกฝ่ายเห็นว่าพยานเอกสารนั้นไม่ถูกต้องแท้จริง ต้องทำการคัดค้านตาม ปวิพ.มาตรา ๑๒๕ (๘) หากเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทย

4 ต้องยื่นบัญชีระบุพยานตาม ปวิพ.มาตรา ๘๘
ต้องยื่นบัญชีระบุพยานตาม ปวิพ.มาตรา ๘๘ โดยคู่ความที่ประสงค์จะอ้างอิงเอกสารเป็นพยาน ต้องยื่นบัญชีระบุพยานภายในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยในบัญชีพยานต้อง “แสดงเอกสารหรือสภาพของเอกสารที่จะอ้าง” ซึ่งหากระบุอ้างสำเนาเอกสารเป็นพยาน ในวันสืบพยานจะนำต้นฉบับของเอกสารดังกล่าวมาสืบมิได้ ฎ.๒๕๘๑/๒๕๑๕

5 ต้องส่งสำเนาเอกสารล่วงหน้า ตามปวิพ.มาตรา ๙๐
(๑) คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนต้องยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๐ วรรคหนึ่ง (๒) คู่ความฝ่ายใดยื่นคำแถลงหรือคำร้องขออนุญาตอ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานตามมาตรา ๘๘ วรรคสองหรือวรรคสาม ให้ยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสาร นั้นพร้อมกับการยื่นคำแถลงหรือคำร้องดังกล่าว เว้นแต่ศาลจะอนุญาตให้ย่นสำเนาภายหลังเมื่อมีเหตุอันสมควร ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๐ วรรคสอง

6 กล่าวคือ ถ้าพยานเอกสารฉบับใดได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยานครั้งแรกตามปวิพ
กล่าวคือ ถ้าพยานเอกสารฉบับใดได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยานครั้งแรกตามปวิพ.มาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง ก็ต้องส่งสำเนาเอกสารตามปวิพ.มาตรา ๙๐ วรรคหนึ่ง ล่วงหน้าก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า ๗ วัน ถ้าพยานเอกสารฉบับใดระบุไว้ในบัญชีพยานที่ยื่นเพิ่มเติมตามปวิพ.มาตรา ๘๘ วรรคสอง หรือที่ขออนุญาตยื่นตามปวิพ.มาตรา ๘๘ วรรคสามก็ต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้คู่ความอีกฝ่ายพร้อมกับเวลาที่ยื่นคำแถลงหรือคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยาน ข้อสำคัญ การยื่นบัญชีระบุพยาน คู่ความมีหน้าที่เพียงยื่นบัญชีระบุพยานและสำเนาบัญชีระบุพยานให้ครบถ้วนตามจำนวนคู่ความไว้ที่ศาลเท่านั้น แล้วให้คู่ความมารับไป

7 ผลของการไม่ส่งสำเนาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๐ วรรคหนึ่งและวรรคสอง คือ ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานเอกสารนั้น ตาม ปวิพ.มาตรา ๘๖ วรรคหนึ่ง และ ๘๗ (๒) เว้นแต่ศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ฎ.๑๑๗๗๙/๒๕๕๔,ฎ.๒๒๙๕/๒๕๔๓,ฎ.๒๓๔๗/๒๕๓๒,ฎ.๓๕๑๑/๒๕๓๖,ฎ.๖๘๐๒/๒๕๕๕ ข้อสำคัญ หากคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งมิได้ส่งสำเนาเอกสาร ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ปวิพ.มาตรา ๙๐ ศาลฎีกามิได้นำ ปวิพ.มาตรา ๘๖ และ ๘๗ (๒) มาใช้บังคับอย่างเคร่งครัด โดยศาลฎีกาจะถือว่า พยานเอกสารใดที่มิได้ส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งแต่ศาลล่างรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ปวิพ.มาตรา ๒๗ คู่ความฝ่ายที่เสียหายจะต้องคัดค้านภายในกำหนดระยะเวลา หากไม่คัดค้านก็ไม่สิทธิจะหยิบยกข้อที่ผิดระเบียบนั้นขึ้นกล่าวอ้างภายหลัง ฎ.๓๐๕๕/๒๕๒๖,ฎ.๖๑๐๘/๒๕๓๑,ฎ.๔๔๗๗/๒๕๓๓,ฎ.๔๑/๒๕๔๐ แต่หากคัดค้านภายในกำหนดระยะเวลาแล้ว ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ฎ.๒๗๘๓/๒๕๕๔

8 ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องส่งสำเนาเอกสาร
(๑) เอกสารเป็นชุด ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๐ วรรคสาม (๑) (๒) เอกสารที่คู่ความฝ่ายอื่นทราบดีอยู่แล้ว หรือสามารถตรวจตราได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และความแท้จริง ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๐ วรรคสาม (๑) (๓) เอกสารที่อยู่ในความครอบครองของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรืออยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๐ วรรคสาม (๒) ข้อสำคัญ กรณีที่พยานเอกสารอยู่ในความครอบครองของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรืออยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก แม้คู่ความไม่จำต้องส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก็ตาม แต่คู่ความฝ่าที่อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ต้องดำเนินการร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเรียกพยานเอกสารมาจากผู้ครอบครอง ตาม ปวิพ.มาตรา ๑๒๓

9 (๔) การคัดสำเนาจะทำให้กระบวนพิจารณาล่าช้าเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความฝ่ายซึ่งอ้างเอกสารนั้น หรือมีเหตุแสดงว่าไม่อาจคัดสำเนาเอกสารให้เสร็จในกำหนดเวลาที่ให้ยื่นเอกสารนั้น ปวิพ.มาตรา ๙๐ วรรคสาม (๓) (๕) การสืบพยานในชั้นไต่สวนคำร้องคำขอปลีกย่อย เพราะมิใช่พยานหลักฐานที่สนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน (๖) คำแปลเอกสารต่างประเทศ เพราะมิใช่พยานหลักฐาน (๗) คู่ความแนบสำเนาเอกสารไปท้ายคำฟ้อง คำให้การ คำร้องสอด หรือคำคู่ความอื่น ๆแล้ว

10 คำพิพากษาศาลฎีกา (๑) จดหมายที่โจทก์กับจำเลยต่างตอบโต้กันไปมาซึ่งต่างฝ่ายต่างทราบดีอยู่แล้วถึงความมีอยู่และความแท้จริงแห่งเอกสารนั้น ฎ.๓๐๓๙/๒๕๕๒ (๒) รายงานการใช้จ่ายบัตรเครดิตและบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคารได้แจ้งให้จำเลยทราบทุกเดือนและจำเลยได้รับแล้ว เป็นเอกสารที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วถึงความมีอยู่และความแท้จริงแห่งเอกสารนั้น ฎ.๔๑/๒๕๔๐ (๓) เอกสารที่อยู่ภายในครอบครองของบุคคลในครอบครัวเดียวกับคู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารยังถือว่าเป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก ฎ.๖๓๗/๒๕๒๑

11 คำถาม โจทก์อ้างต้นฉบับโฉนดที่ดินที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์และที่สำนักงานที่ดินเป็นพยาน โจทก์ระบุไว้ในบัญชีพยาน แต่มิได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง คำตอบ ถือว่าต้นฉบับโฉนดที่ดินเป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๐ วรรคสาม (๒) ไม่จำต้องส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่าย ฎ.๑๐๕๖-๑๐๕๗/๒๕๐๒

12 ต้องนำสืบโดยต้นฉบับเอกสารตาม ปวิพ.มาตรา ๙๓
(๑) การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐาน ให้ยอมรับฟังได้เฉพาะต้นฉบับเอกสารเท่านั้น ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๓ (๒) กรณีที่ไม่ต้องนำต้นฉบับมาสืบ (๒.๑) เมื่อคู่ความทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๓ (๑) (๒.๒) ต้นฉบับเอกสารนั้นนำมาไม่ได้ เพราะถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือสูญหาย หรือ ไม่สามารถนำมาได้โดยประการอื่น อันมิใช่พฤติการณ์ที่ผู้อ้างต้องรับผิดชอบ ศาลจะอนุญาตให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้ ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๓ (๒) (๒.๓) ต้นฉบับเอกสารนั้นนำมาไม่ได้ เมื่อศาลเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะต้องสืบสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนต้นฉบับเอกสารที่นำมาไม่ได้นั้น ศาลจะอนุญาตให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้ ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๓ (๓)

13 (๒.๔) ต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการนั้นจะนำมาแสดงได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการที่เกี่ยวข้องเสียก่อน อนึ่ง สำเนาเอกสารซึ่งผู้มีอำนาจหน้าที่ได้รับรองสำเนาว่าถูกต้องแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพียงพอในการที่จะนำมาแสดง เว้นแต่ศาลจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น (๒.๕) เมื่อคู่ความฝ่ายที่ถูกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนมิได้คัดค้านการนำเอาเอกสารนั้นมาสืบพยานตามมาตรา ๑๒๕ ให้ศาลรับฟังสำเนาเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดอำนาจศาลตามมาตรา ๑๒๕ วรรคสาม (๒.๖) คู่ความอ้างส่งสำเนาเอกสารเป็นพยาน แต่ได้ส่งต้นฉบับให้ศาลตรวจดูแล้ว และศาลอนุญาตให้ส่งสำเนาแทนได้ ฎ.๖๓๗/๒๕๒๔

14 เมื่อคู่ความทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ตาม ปวิพ
เมื่อคู่ความทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๓ (๑) (๑) เป็นบทบัญญัติที่สอดคล้องกับ ปวิพ.มาตรา ๑๐๓/๒ (๒) คู่ความอาจตกลงกันโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้ (๒.๑) การที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนำสืบสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐาน แล้วคู่ความอีกฝ่ายมิได้คัดค้าน ถือว่าคู่ความทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ฎ.๒๒๑๑๖/๒๕๕๓,ฎ.๔๕๘๖/๒๕๕๒,ฎ.๕๓๓/๒๕๕๑,ฎ.๕๓๙๗/๒๕๕๐,ฎ.๔๘๖๑/๒๕๔๓ (๒.๒) การที่โจทก์แนบสำเนาเอกสารไปท้ายคำฟ้อง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธสำเนาเอกสารท้ายคำฟ้องว่าไม่ถูกต้อง แท้จริงอย่างไร ถือว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวถูกต้องตรงกับต้นฉบับแล้ว ฎ.๑๐๓๓/๒๕๓๙,ฎ.๒๖๒๐/๒๕๓๔,คร.๓๔๒๔/๒๕๓๔

15 ต้นฉบับเอกสารนั้นนำมาไม่ได้ เพราะถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือสูญหาย หรือ ไม่สามารถนำมาได้โดยประการอื่น อันมิใช่พฤติการณ์ที่ผู้อ้างต้องรับผิดชอบ ศาลจะอนุญาตให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้ ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๓ (๒) (๑) เอกสารอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกซึ่งหลบหนีคดีอาญา ถือว่าไม่สามารถนำเอกสารมาได้โดยประการอื่น ฎ.๓๙๔๗/๒๕๓๖ (๒) เอกสารอยู่ในความครอบครองของศาลครอบครัวแห่งรัฐนิวยอร์ก ถือว่าไม่สามารถนำเอกสารมาได้โดยประการอื่น ฎ.๑๕๐๖๖/๒๕๕๕ (๓) โจทก์อ้างว่าเอกสารอยู่ที่จำเลย จำเลยโต้แย้งว่าไม่ทราบว่ามีอยู่ที่จำเลยหรือไม่ ถือว่าไม่สามารถนำเอกสารมาได้โดยประการอื่น ฎ.๕๔๖๖-๕๔๖๗/๒๕๔๕ (๔) โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้าและรับสินค้าไปแล้ว จำเลยให้การว่ามิได้รับสินค้าไปจากโจทก์ โจทก์แนบสำเนาใบส่งสินค้าไปท้ายคำฟ้อง จำเลยให้การปฏิเสธว่าสำเนาใบส่งสินค้าปลอม แสดงว่าจำเลยไม่รับว่าสำเนาใบส่งสินค้าอยู่ที่จำเลยถือว่าไม่สามารถนำเอกสารมาได้โดยประการอื่น ฎ.๒๖๒๖/๒๕๔๘

16 (๖) เอกสารถูกปลวกกินทำลายเป็นเหตุสุดวิสัย ฎ.๓๗๓๘/๒๕๔๒
(๗) ต้นฉบับเอกสารสูญหายเพราะถูกจำเลยลักไป ฎ.๓๑๘๘/๒๕๓๖ ข้อสำคัญ ในกรณีที่ต้นฉบับเอกสารมีหลายฉบับ (คู่ฉบับ) การที่ฉบับใดฉบับหนึ่งสูญหาย ไม่ถือว่าต้นฉบับสูญหาย จะขอนำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบแทนมิได้ ฎ.๑๐๓๑/๒๕๒๐

17 ต้นฉบับเอกสารนั้นนำมาไม่ได้ เมื่อศาลเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะต้องสืบสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนต้นฉบับเอกสารที่นำมาไม่ได้นั้น ศาลจะอนุญาตให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้ ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๓ (๓) การอนุญาตของศาลนั้นอาจเกิดจากการมีคำสั่งอนุญาตโดยชัดแจ้งหรืออนุญาตโดยปริยายก็ได้ ซึ่งการที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำสำเนาเอกสารมาสืบแทนต้นฉบับเอกสารแล้ว ศาลรับฟังสำเนาเอกสารแล้ว ย่อมถือว่าศาลอนุญาตโดยปริยาย ฎ.๔๘๒-๔๘๓/๒๕๕๓,ฎ.๓๔๑๖/๒๕๕๑,ฎ.๕๘๔๑/๒๕๔๕

18 ต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการนั้นจะนำมาแสดงได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการที่เกี่ยวข้องเสียก่อน (๑) กรณีที่เอกสารอยู่ความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการ หากคู่ความต้องการนำต้นฉบับมาสืบก็อาจใช้วิธีการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียก ตาม ปวิพ.มาตรา ๑๒๓ วรรคสอง หรืออาจใช้วิธีอ้างส่งสำเนาเอกสารที่เจ้าหน้าที่ได้รับรองถูกต้องแล้วนำสืบโดยไม่ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกก็ได้ (๒) ต้นฉบับเอกสารอยู่ในความครอบครองของรัฐวิสาหกิจ ไม่ถือว่าอยู่ในความครอบครองของทางราชการ ฎ.๗๕๐/๒๕๔๑,ฎ.๓๑๘๘/๒๕๓๖,ฎ.๓๖๒๘/๒๕๓๖ ข้อสำคัญ คู่ความจะรับรองสำเนาเอกสารเองมิได้ ต้องให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องรับรองสำเนาเท่านั้นจึงจะรับฟังได้ ฎ.๘๐๙/๒๕๒๒

19 เมื่อคู่ความฝ่ายที่ถูกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนมิได้คัดค้านการนำเอาเอกสารนั้นมาสืบพยานตามมาตรา ๑๒๕ ให้ศาลรับฟังสำเนาเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดอำนาจศาลตามมาตรา ๑๒๕ วรรคสาม (ศึกษาโดยละเอียดใน ปวิพ.มาตรา ๑๒๕)

20 คู่ความฝ่ายที่ได้รับสำเนาเอกสารมีหน้าที่ต้องตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงแห่งเอกสารนั้น ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องแท้จริงก็มีหน้าที่ต้องทำคำคัดค้านตาม ปวิพ.มาตรา ๑๒๕ (๑) ถ้าหากคู่ความฝ่ายที่ได้รับสำเนาเอกสารทำคำคัดค้านตาม ปวิพ.มาตรา ๑๒๕ ถ้าต้นฉบับเอกสารอยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสาร ให้คู่ความฝ่ายนั้นนำต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยาน ข้อสังเกต “วันสืบพยาน” หมายถึง วันสืบพยานเอกสารนั้น ๆ ไม่ถือเคร่งครัดว่าจะต้องเป็นวันสืบพยานนัดแรก (๒) ถ้าหากคู่ความฝ่ายที่ได้รับสำเนาเอกสาร มิได้ทำคำคัดค้านตาม ปวิพ.มาตรา ๑๒๕ (๒.๑) คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารไม่จำต้องนำต้นฉบับเอกสารมาสืบ นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๓ (๔) ฎ.๒๘๖๙/๒๕๕๐ (๒.๓) คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารไม่จำต้องนำต้นฉบับมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยานเอกสารนั้นตามปวิพ.มาตรา ๑๒๒ นำมาอ้างส่งภายหลังได้ ฎ.๓๕๔๓/๒๕๔๗ (๒.๔) คู่ความฝ่ายที่ได้รับสำเนาจะนำพยานหลักฐานมาสืบว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอมหรือสำเนาเอกสารไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับไม่ได้ ตามมาตรา ๑๒๕ วรรคท้าย ฎ.๒๒๓๖/๒๕๕๓

21 ข้อสำคัญ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ไม่ตัดอำนาจศาลที่จะไต่สวนและชี้ขาดในเรื่องการมีอยู่ ความแท้จริงหรือความถูกต้องเช่นว่านั้น ฎ.๒๔๙๑/๒๕๒๓ และไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะอ้างว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีกฝ่ายตีคามหมายผิด ตาม ปวิพ.มาตรา ๑๒๕ วรรคสามตอนท้าย ฎ.๒๖๖๓/๒๕๒๔,ฎ.๒๗๕๒/๒๕๓๗

22 วิธีการคัดค้านค้าน ตาม ปวิพ.มาตรา ๑๒๕
(๑) กำหนดระยะเวลาคัดค้าน (๑.๑) ก่อนสืบพยานเอกสานั้นเสร็จ ฎ.๒๒๓๖/๒๕๕๓,ฎ.๖๙๘๗/๒๕๕๖ โดยอาจคัดค้านไว้ในคำให้การ หรือยื่นคำร้องคัดค้านภายหลังก็ได้ (๑.๒) ถ้าสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จแล้ว จะคัดค้านต้องยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านต่อศาล โดยแสดงเหตุอันสมควรว่าไม่อาจทราบได้ก่อนสืบพยานนั้นเสร็จว่า ต้นฉบับเอกสารนั้นไม่มีหรือเอกสารนั้นปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้อง ตามปวิพ.มาตรา ๑๒๕ วรรคสอง

23 (๒) เหตุแห่งการคัดค้าน
(๒) เหตุแห่งการคัดค้าน (๒.๑) ต้นฉบับนั้นไม่มีหรือ (๒.๒) เอกสารนั้นปลอมหรือ (๒.๓) สำเนาไม่ถูกต้อง

24 ข้อสังเกตเกี่ยวกับเหตุแห่งการคัดค้าน
(๑) จำเลยให้การว่า จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์แล้วางส่วน โจทก์นำบิลที่ชำระแล้วมาฟ้องร้องให้ชำระหนี้อีกเอกสารบางฉบับมีร่องรอยขูดลบโดยไม่มีลายมือชื่อกำกับ ไม่ถือว่าเป็นการโต้แย้งตามปวิพ.มาตรา ๑๒๕ ฎ.๘๑๗๒/๒๕๔๔ (๒) จำเลยโต้แย้งคัดค้านเพียงว่า เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นเพียงสำเนามิใช่ต้นฉบับ ต้องห้ามมิให้รับฟัง ไม่ถือว่าเป็นการคัดค้านตามปวิพ.มาตรา ๑๒๕ฎ.๒๘๖๙/๒๕๕๐,ฎ.๘๓๓๑/๒๕๔๙ หรือ (๓) จำเลยโต้แย้งไว้ในคำให้การว่า เอกสารที่โจทก์อ้างนั้น โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียวจำเลยไม่ขอรับรอง ไม่ถือว่าเป็นการคัดค้านตามปวิพ.มาตรา ๑๒๕ ฎ.๒๔๕๙/๒๕๓๙ (๔) จำเลยให้การว่า ผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจไมมีอำนาจทำแทนบริษัท เท่ากับยอมรับว่ามีการมอบอำนาจเป็นหนังสือจริงแต่เพียงว่าผู้ลงนามไม่มีอำนาจลงนาม ไม่เป็นการคัดค้านตามปวิพ.มาตรา ๑๒๕ ฎ.๑๒๑๗-๑๒๗๒/๒๕๐๘ (ป)

25 (๕) จำเลยเพียงแต่ยื่นคำร้องโต้แย้งว่า จำเลยไม่รับรองว่าเอกสารนั้นถูกต้องหรือมีอยู่จริงหรือไม่ ไม่ถือว่าเป็นการคัดค้านตาม ปวิพ.มาตรา ๑๒๕ ฎ.๒๕๖๕/๒๕๓๓ (๖) จำเลยยื่นคำโต้แย้งเพียงว่า ศาลควรรับฟังเฉพาะต้นฉบับเอกสาร เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นเพียงสำเนารับฟังไม่ได้นั้น ไม่ถือว่าเป็นการคัดค้านตาม ปวิพ.มาตรา ๑๒๕ ฎ.๑๑๖๕/๒๕๔๑ (๗) โจทก์คัดค้านแต่เพียงว่า เอกสารที่จำเลยนำมาสืบนั้น จำเลยมิได้ส่งสำเนาให้โจทก์ ไม่ถือว่าเป็นการคัดค้านตาม ปวิพ.มาตรา ๑๒๕ (๘) จำเลยยื่นคำให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญา ถือว่าเป็นการคัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารแล้ว ฎ.๖๒๑/๒๕๔๖

26 คำถาม ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ หรือขาดนัดพิจารณา จะถือได้หรือไม่ว่า จำเลยคัดค้านว่าเอกสารนั้น ไม่มีต้นฉบับ หรือต้นฉบับปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ คำตอบ ไม่ถือว่าจำเลยคัดค้านว่าเอกสารนั้นไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมหรือสำนาไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ฎ.๒๒๗๑/๒๕๕๓

27 พยานเอกสาร (ต่อ)

28 พยานเอกสารอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกตาม ปวิพ.มาตรา ๑๒๓
(๑) คู่ความฝ่ายใดต้องการอ้างอิงเอกสารใดเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงของตน แต่ต้นฉบับเอกสารดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของคู่ความอีกฝ่าย(ปวิพ. มาตรา ๑๒๓ วรรคแรก) หรืออยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก หรือในครอบครองของทางราชการหรือเจ้าหน้าที่(ปวิพ.มาตรา ๑๒๓ วรรคสอง) (๒) คู่ความฝ่ายที่ต้องการอ้างอิงเอกสารดังกล่าว ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลให้สั่งให้ผู้ที่มีเอกสารในความครอบครองส่งต้นฉบับต่อศาล

29 ข้อสังเกต (๑) ในกรณีที่พยานเอกสารอยู่ในความครอบครองของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง คู่ความฝ่ายที่ประสงค์จะอ้างอิงพยานเอกสารนั้นจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลให้สั่งให้ผู้ที่มีเอกสารในความครอบครองส่งต้นฉบับต่อศาล (๑.๑) หากปรากฏว่าคู่ความอีกฝ่ายไม่มีเอกสารอยู่ในความครอบครอง ถือเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้ด้วยเหตุประการอื่น ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๓ (๒) คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารนำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบแทนได้ (๑.๒) ถ้าคู่ความอีกฝ่ายอีกฝ่ายมีต้นฉบับเอกสารอยู่ในความครอบครองแต่ไม่ส่งต้นฉฐับเอกสารนั้นต่อศาลภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง ถือว่าคู่ความฝ่ายที่ได้รับคำสั่งศาลดังกล่าวได้ยอมรับข้อเท็จจริงที่ฝ่ายที่อ้างเอกสารอ้างจะต้องพิสูจน์ด้วยเอกสารนั้นแล้ว (คำรับตาม ปวิพ.มาตรา ๘๔ (๓) ฎ.๒๐๑๖/๒๕๑๗,ฎ.๘๔๕/๒๕๒๔,ฎ.๒๖๖๒/๒๕๒๔,ฎ.๓๓๑๙/๒๕๕๒

30 (๒) ในกรณีที่พยานเอกสารอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก หรือในครอบครองของทางราชการหรือของเจ้าหน้าที่
(๒.๑) ในกรณีที่เอกสารอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก หากปรากฏว่าบุคคลภายนอกไม่มีเอกสารอยู่ในความครอบครอง ถือเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้ด้วยเหตุประการอื่น ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๓ (๒) คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารนำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบแทนได้ (๒.๒) ในกรณีที่เอกสารอยู่ในความครอบครองของทางราชการหรือเจ้าหน้าที่ คู่ความฝ่ายที่ประสงค์จะอ้างอิงเอกสารนั้น อาจใช้วิธีการขอสำเนาจากทางราชการรับรองถูกต้องมาสืบแทนต้นฉบับมาสืบได้ ตาม ปวิพ.มาตรา ๙๓ (๓) โดยไม่จำต้องดำเนินการตาม ปวิพ.มาตรา ๑๒๓ วรรคสองก็ได้

31 ปิดอากรแสตมป์ ป.รัษฎากรมาตรา ๑๑๘ “ตราสารใดไม่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว….” “ตราสาร” คือ เอกสารแห่งนิติกรรม สัญญาหรือเอกสารที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นหลักเป็นฐานเป็นพิธีการ (อ.จิตติ ติงศภัทิย์) เช่น สัญญาเช่า เช่าซื้อ กู้ยืม เบิกเงินเกินบัญชี ค้ำประกัน จ้างทำของ กรมธรรม์ประกันภัย ใบมอบอำนาจ หรือตั๋วเงิน เป็นต้น

32 ข้อสังเกต (๑) บันทึกหรือจดหมายตอบโต้ที่ทำขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ แม้ถือเป็นหลักฐานเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย ก็ไม่ถือว่าเป็นตราสารที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ (๑.๑) หนังสือสัญญากู้เงินที่ลงลายมือชื่อของผู้กู้เพียงฝ่ายเดียวเป็นเพียงหลักฐานการกู้ยืมเงินตามปพพ.๖๕๓ เท่านั้น มิใช่ตราสาร ฎ.๗๐๖๔/๒๕๕๓ (๑.๒) จดหมายที่ผู้กู้กับผู้ให้กู้เขียนตอบโต้กันมีข้อความครบถ้วนเพียงพอที่จะถือเป็นหลักฐานฐานการกู้ยืมเงิน ตาม ปพพ.มาตรา ๖๕๓ มิใช่ตราสาร ฎ.๑๑๒/๒๕๒๑,ฎ.๑๗๓๙/๒๕๓๕ (๑.๓)บันทึกตอนท้ายของเอกสารที่ระบุว่า จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันและมอบอำนาจให้นำหลักฐานมาค้ำประกัน และจำเลยลงลายมือชื่อเป็นเพียงหลักฐานการค้ำประกัน ตาม ปพพ.มาตรา ๖๘๐ เท่านั้น มิใช่ตราสาร ฎ.๗๑๙/๒๕๒๔

33 (๑.๔) บันทึกข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่ จำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อไว้ในฐานะพยานและในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นเพียงหลักฐานการค้ำประกัน ตาม ปพพ.มาตรา ๖๘๐ เท่านั้น มิใช่ตราสาร ฎ.๑๒๗๗/๒๕๓๙ (๑.๕) บันทึกที่จำเลยที่ ๒ ตกลงค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ลงลายมือชื่อไว้ เป็นเพียงหลักฐานค้ำประกัน ตามปพพ.มาตรา ๖๘๐ เท่านั้นมิใช่ตราสาร ฎ.๕๐๒๘/๒๕๔๑ (๑.๖) หนังสือขอเปิดบัญชีกระแสรายวันเป็นเพียงคำเสนอฝ่ายเดียวของจำเลยในการขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ มิใช่ตราสาร ฎ.๑๔๘-๑๔๙/๑๕๓๔

34 คำถาม จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกัน และให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืม ต่อมาโจทก์อ้างหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและบันทึกข้อตกลงเรื่องขึ้นเงินจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน ถือเป็นตราสารหรือไม่ คำตอบ ไม่ถือเป็นตราสาร เนื่องจากโจทก์อ้างเอกสารดังกล่าวในฐานะหลักฐานการกู้ยืมเงินตาม ปพพ.มาตรา ๖๕๓ เท่านั้น ฎ.๔๑/๒๕๔๑

35 (๒) ตราสารที่ทำขึ้นในต่างประเทศ ไม่อยู่ในบังคับต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ฎ.๓๘๒๑/๒๕๓๘ (หนังสือมอบอำนาจ) (๓) ตราสารจะต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ที่ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกเท่านั้น ไม่รวมถึงสำเนาเอกสาร กรณีที่ศาลรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ ไม่อยู่ในบังคับต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ฎ.๒๒๑๖/๒๕๕๓,ฎ.๕๓/๒๕๕๒,ฎ.๗๕๐/๒๕๔๑,ฎ.๕๓๘๖/๒๕๕๘,ฎ.๓๑๘๘/๒๕๓๖,ฎ.๓๖๒๘/๒๕๓๖,ฎ.๒๔๒๓/๒๕๕๐,ฎ.๓๔๑๖/๒๕๕๑ (๔) ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับว่าได้ทำตราสารนั้นจริง ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงยุติตามคำรับของคู่ความ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานอีกแม้ตราสารนั้นจะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับแล้วเสียไป ฎ.๑๐๔๙/๒๕๑๕,ฎ.๒๓๒๕/๒๕๒๑,ฎ.๓๖๙๘/๒๕๓๑,๒๘๓๐/๒๕๒๒,ฎ.๓๐๘๐/๒๕๒๓,ฎ.๒๓๖/๒๕๓๔,ฎ.๓๖๐๕/๒๕๓๔,ฎ.๑๕๐๐/๒๕๓๕,ฎ.๑๓๙๒/๒๕๔๕,ฎ.๘๖๖๐/๒๕๔๗,ฎ.๖๙๒/๒๕๔๖

36 ข้อสำคัญ แต่คำเบิกความของคู่ความในฐานะพยานยอมรับว่าทำตราสารนั้นจริงหรือลายมือชื่อในตราสารเป็นของตนจริง เช่นนี้ยังไม่ถือเป็นคำรับ ตามปวิพ.มาตรา ๘๔ (๓) ศาลยังไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติตามนั้น เป็นแต่เพียงพยานหลักฐานชิ้นหนึ่งที่ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีเท่านั้น คดีจึงยังคงมีความจำเป็นต้องใช้ตราสารเป็นพยานหลักบาน หากตราสารนั้นมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ฎ.๖๐๙/๒๕๓๗,ฎ.๔๔๒๘/๒๕๓๒ (๕) ตราสารที่ปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานเฉพาะในการฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับตามสิทธิหน้าที่ตามตราสารโดยตรงเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการอ้างตราสารเพื่อวัตถุประสงค์อื่น มิใช่เพื่อบังคับหรือไม่บังคับ ตามตราสารโดยตรง แม้ตราสารจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ฎ.๑๖๒๘/๒๕๓๑,ฎ.๔๐๙๘/๒๕๓๒

37 (๕.๑) โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันฟ้องเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยจำเลยในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น เนื่องจากโจทก์ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนจำเลยแล้ว การที่โจทก์นำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาสืบประกอบพยานหักฐานอื่นว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิไล่เบี้ยจำเลยตามสัญญาค้ำประกัน เช่นนี้มิใช่เป็นการนำสืบให้บังคับตามสัญญาค้ำประกันโดยตรง แม้สัญญาค้ำประกันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ฎ.๑๖๒๘/๒๕๓๑ (๕.๒) โจทก์ผู้เช่าฟ้องเรียกเงินค่าประกันความเสียหายคืนจากจำเลย ตามข้อตกลงในสัญญาเช่าที่จำเลยตกลงจะคืนให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยในเรื่องผิดสัญญาเช่าซึ่งจะต้องใช้หนังสือสัญญาเช่าเป็นหลักฐานในการฟ้องคดี แม้สัญญาเช่าจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ฎ.๔๐๙๘/๒๕๓๒

38 (๖) การปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่านั้น ไม่จำต้องก่อนหรือในทันทีที่ทำตราสาร แต่อย่างช้าที่สุดต้องกระทำก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี ฎ.๓๕๒๘/๒๕๔๑,ฎ.๓๗๗๕/๒๕๔๖,ฎ.๕๗๑๕/๒๕๕๒


ดาวน์โหลด ppt พยานเอกสาร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google