ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ความระงับแห่งหนี้ มาตรา 314 - 353
หนี้ระงับได้ด้วย 5 วิธีดังจะได้ศึกษาต่อไปนี้ การชำระหนี้ (ม ) การปลดหนี้ (ม. 340) การหักกลบลบหนี้ (ม ) การแปลงหนี้ใหม่ (ม ) หนี้เกลื่อนกลืนกัน (ม. 353) การวางทรัพย์ (ม ) กรณีอื่นนอกจากนี้ “ไม่ทำให้หนี้ระงับ” แต่ความตายของเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้อาจเป็นเหตุให้ “ความผูกพันใดๆต่อกันสิ้นสุดลงเท่านั้น” เช่น สัญญาเช่าระงับ สัญญาความเป็นหุ้นส่วนสามัญระงับด้วยความตาย (สัญญาที่เน้น “ตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญ”) อย่างไรก็ตาม “หนี้ที่ค้างชำระต่อกัน” ย่อมไม่ระงับไปด้วย เช่น หนี้ค่าเช่าค้างชำระ ค่าเสียหายจากการละเมิดของบุคคลก่อนเสียชีวิต
2
การชำระหนี้ (Paid) (ม.314 – 330)
การขอปฎิบัติการชำระหนี้ (การแสดงเจตนาต่อเจ้าหนี้ว่าตนพร้อมจะชำระหนี้ตามกฎหมายแล้วเท่านั้น) ไม่มีผลให้หนี้ระงับ เช่น การบอกกล่าวขอปฏิบัติการชำระหนี้ของลูกหนี้ (ม. 208 ว.2) หรือการวางทรัพย์ในกรณีที่เจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้ หรือไม่อยู่ในสภาพที่จะรับชำระหนี้ (ม.331) ผลเพียงหลุดพ้นความรับผิดใดๆอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ตามกำหนด (ม.330)เท่านั้น การชำระหนี้ที่กลายเป็นพ้นวิสัยก็ไม่ได้ทำให้ “หนี้ระงับ” หากแต่การชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์ แห่งมูลหนี้ไม่อาจดำเนินการได้อีกต่อไป โดยผลทางกฎหมายขึ้นอยู่กับ “เหตุและช่วงเวลาแห่งการพ้นวิสัย” นั้น ใครต้องรับผิดชอบหรือไม่ (เจ้าหนี้ ลูกหนี้เป็นเหตุ /ก่อนหรือหลังผิดนัด) หรือเป็นเหตุที่ไม่อาจเลี่ยงได้ (Act of God) “การชำระหนี้” เท่านั้นที่จะทำให้หนี้ระงับ ผลคือ หน้าที่ที่ลูกหนี้ต้องชำระหนี้เป็นอันไม่มีอีกต่อไป และเมื่อหนี้ประธานระงับย่อมส่งผลให้ประกันแห่งหนี้ (หนี้อุปกรณ์)ระงับสิ้นไปด้วย เช่น หนี้ค้ำประกัน (ม. 698) จำนำ (ม.744 (1)) จำนอง (ม. 749 (1)) ยกเว้น สัญญาบางประเภท แม้การชำระหนี้จะเสร็จสิ้นและระงับไปแล้ว แต่อาจยังเหลือ “หนี้หลังสัญญา” เช่น ความรับผิดในสินค้าชำรุดบกพร่อง รอนสิทธิในสัญญาซื้อขาย
3
บุคคลภายนอกจะเป็นผู้ชำระก็ได้ ถ้าไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียด้วยจะชำระหนี้โดยขืนใจ(ไม่ยินยอม)ลูกหนิ้ไม่ได้ ม.207 เจ้าหนี้ยกเหตุบอกปัดไม่รับชำระหนี้ได้ หาก บคภน.ชำระหนี้โดยขัดเจตนาคู่สัญญา เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้บุคคลภายนอกชำระ(จ้างแรงงาน จ้างทำของ) หรือจะขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้ บคภน ** หากหนี้มุ่งชำระด้วยทรัพย์สิน (เงิน ของ) สภาพแห่งหนี้ย่อมเปิดช่องให้ บคภน.ชำระแทนได้ เว้นแต่“ชำระด้วยทรัพย์สินเฉพาะสิ่ง” ** มาตรา 314 อันการชำระหนี้นั้น ท่านว่า บุคคลภายนอกจะเป็นผู้ชำระก็ได้ เว้นแต่สภาพ แห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้บุคคลภายนอกชำระ หรือ จะขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้ บุคคลผู้ไม่มีส่วนได้เสียด้วยในการชำระหนี้นั้น จะ เข้าชำระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้หาได้ไม่ มาตรา 315 อันการชำระหนี้นั้น ต้องทำให้แก่ ตัวเจ้าหนี้หรือแก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้ แทนเจ้าหนี้ การชำระหนี้ให้แก่บุคคลผู้ไม่มีอำนาจ รับชำระหนี้นั้น ถ้าเจ้าหนี้ให้สัตยาบันก็นับว่า สมบูรณ์ มาตรา 316 ถ้าการชำระหนี้นั้นได้ทำให้แก่ผู้ ครองตามปรากฏแห่งสิทธิในมูลหนี้ ท่านว่า การชำระหนี้นั้นจะสมบูรณ์ก็แต่เมื่อบุคคลผู้ ชำระหนี้ได้กระทำการโดยสุจริต มาตรา 317 นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ในมาตรา ก่อน การชำระหนี้แก่บุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะได้รับ นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์เพียงเท่าที่ตัวเจ้าหนี้ ได้ลาภงอกขึ้นแต่การนั้น เจ้าหนี้(ทั่วไป)มุ่งผลการชำระหนี้เป็นสำคัญโดยไม่คำนึงถึงบุคคล ดังนั้นการชำระหนี้แม้โดย บคภน.ก็สมประโยชน์แก่เจ้าหนี้ได้ ผู้(มีสิทธิ)รับชำระหนี้ ทำเป็นหนังสือ? 2 เจ้าหนี้ผู้ทรงสิทธิตัวจริง/ปัจจุบัน (หรือผู้รับมอบอำนาจ/ให้สัตยาบัน) ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบ (อาจกลายเป็นเจ้าหนี้คนใหม่) 3 ผู้ครองตามปรากฏแห่งสิทธิในมูลหนี้ = การชำระหนี้สมบูรณ์เท่าที่ลูกหนี้สุจริต (ผู้ครอง(เอกสาร)นั้นไม่ใช่เจ้าหนี้ที่แท้จริง) สลากกินแบ่ง /เช็คผู้ถือ/สลากกาชาดถูกขโมยมาขึ้นเงิน รางวัล ผู้(มีสิทธิ)ชำระหนี้ ลูกหนี้ หรือ ตัวแทนหรือ บุคคลที่ลูกหนี้มอบหมาย 1 4 บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ มิใช่ผู้รับมอบอำนาจของเจ้าหนี้ หรือผู้ครองแห่งสิทธิใดๆ เช่น ชำระหนี้ให้แม่บ้าน เพื่อนร่วมงาน พนักงานรักษาความปลอดภัย วัตถุแห่งหนี้ กำหนดเวลาชำระหนี้ ทรัพย์เฉพาะสิ่ง การชำระหนี้ไม่เป็นพ้นวิสัย ลูกหนี้ต้องพร้อมชำระหนี้/ถูกต้อง เว้นแต่เจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้อย่างอื่น เงื่อนไขอื่นๆตามสัญญา
4
ผู้(มีสิทธิ)ชำระหนี้
6
บคภน+ไม่มีส่วนได้เสีย = ชำระหนี้ต้องไม่ขืนใจลูกหนี้
เจ้าหนี้ ลูกหนี้ บคภน+ถ้ามีส่วนได้เสีย (ลูกหนี้ร่วม/ผู้จำนอง/จำนำ) = ชำระหนี้ได้โดยขืนใจลูกหนี้ บคภน+ไม่มีส่วนได้เสีย = ชำระหนี้ต้องไม่ขืนใจลูกหนี้
7
เจ้าหนี้(บุคคลที่ศาลสั่งห้ามชำระหนี้)
ลูกหนี้ขืนคำสั่งศาล ไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ที่ศาลห้ามขำระหนี้ เจ้าหนี้(บุคคลที่ศาลสั่งห้ามชำระหนี้) ผลคือ=เจ้าหนี้ผู้ร้องเรียกให้ชำระหนี้อีกให้คุ้มความเสียหาย
9
โดยปกตินั้นการชำระหนี้ให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้นั้นย่อมไม่ทำให้หนี้ระงับ
ยกเว้น ผู้รับชำระหนี้ได้รับชำระหนี้ไปแล้วแต่นำไปให้แก่เจ้าหนี้ ทำให้เจ้าหนี้ที่แท้จริงได้รับประโยชน์จำนวนเท่าใดก็ถือว่า “เป็นลาภงอก” เท่าจำนวนนั้น ตัวอย่าง นำเงินค่าเช่าจำนวน 5,000 บาทไปชำระให้แก่ ข. แต่ไม่พบเจ้าหนี้ ดังนั้น ก. จึงฝากค่าเช่าไว้กับ ค. พนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นลูกจ้างของ ข. ดั้งนั้นหาก ค. นำเงินค่าเช่าไปคืนให้แก่ ข. แต่เหลือเพียง 4,000 บาท เนื่องจากระหว่างนั้นตนต้องนำเงิน 1,000 บาทไปจ่ายค่ายาลูกที่กำลังป่วย ผลทางกฎหมายคือ หนี้ระหว่าง ก. กับ ข. ก็ย่อมระงับเพียงเท่าที่ ก. ได้ลาภงอกจาก ข. คือ 4,000 บาทซึ่งไม่ใช่การชำระหนี้ที่ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ทั้งหมด หลักสุจริต ลาภงอก? รปภ. ลูกหนี้ เจ้าหนี้(ตัวจริง)
10
ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้?
11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2527 (วางหลัก)การชำระหนี้จะต้องกระทำให้แก่ตัวเจ้าหนี้หรือบุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ ท. เป็นเพียงพนักงานฝ่ายขายของโจทก์มีหน้าที่เพียงนำรถยนต์ที่จำเลยสั่งซื้อทะเบียนและเอกสารต่างๆ ไปส่งมอบให้แก่จำเลยเท่านั้นไม่มีหน้าที่เก็บเงินหรือรับชำระหนี้แทนโจทก์ท. จึงมิใช่ผู้ที่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนโจทก์ (ประเด็นหัวใจคือ การชำระหนี้จะต้องชำระหนี้กับเจ้าหนี้ที่ชอบ ดังนั้นในเรื่องนี้จึงต้องนำข้อเท็จจริงมาอธิบายให้สิ้นความว่าไม่มีอำนาจรับชำระหนี้ทั้งโดยตรง โดยหน้าที่ โดยรับมอบอำนาจ) (วินิจฉัยหรือให้ผลทางกฎหมาย)การที่จำเลยชำระหนี้ค่ารถยนต์ให้แก่ ท. จึงไม่ถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบภาพถ่ายจากต้นฉบับใบเสร็จรับเงินซึ่งเก็บรักษาไว้ที่กองทะเบียนซึ่งท. นำไปขอเก็บเงินจากจำเลยก็มิใช่ใบเสร็จตามนัยของมาตรา 318จึงถือได้ว่าจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้ค่ารถยนต์แก่โจทก์
12
กระทำการ งดเว้นกระทำการ ส่งมอบทรัพย์
15
การชำระหนี้จะสมบูรณ์เมื่อโรงเรียนได้รับเงินตามเช็คเรียบร้อยแล้ว
Payment by cheque not valid till the cheque is honor
16
การชำระหนี้:สภาพแห่งทรัพย์ที่นำมาชำระหนี้
หน้าที่ในการดูแลรักษาทรัพย์ในระหว่างยังไม่ส่งมอบ
17
ตามที่ตกลงกัน /ณ ทรัพย์ตั้งอยู่/ ภูมิลำเนาเจ้าหนี้
18
กรณีเป็นไปตามข้อตกลง / มิเช่นนั้นลูกหนี้รับผิดชอบ/ ไม่รวมส่วนเพิ่มเพราะเหตุเจ้าหนี้
19
หลักฐานแห่งการชำระหนี้
มาตรา 326 บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้น และถ้าหนี้นั้นได้ชำระสิ้นเชิงแล้ว ผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือให้ขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย ถ้าและเอกสารนั้นสูญหาย บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะให้จดแจ้งความข้อระงับหนี้ลงไว้ในใบเสร็จหรือในเอกสารอีกฉบับหนึ่งต่างหากก็ได้ ถ้าหนี้นั้นได้ชำระแต่บางส่วนก็ดี หรือถ้าเอกสารนั้นยังให้สิทธิอย่างอื่นใดแก่เจ้าหนี้อยู่ก็ดี ท่านว่าลูกหนี้ชอบแต่ที่จะได้รับใบเสร็จไว้เป็นคู่มือ และให้จดแจ้งการชำระหนี้นั้นลงไว้ในเอกสาร
20
มาตรา 327 ในกรณีชำระดอกเบี้ย หรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จให้เพื่อการชำระต้นเงิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้ได้รับดอกเบี้ยแล้ว ถ้าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ได้เวนคืนแล้วไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปแล้ว
21
หนี้ 1 ชำระอย่าง1 หนี้ ชำระอย่าง 3 หนี้ 2 เจ้าหนี้ ชำระอย่าง2 ลูกหนี้ หนี้ 3
22
หนี้สินรายใดถึงกำหนดก่อนก็ให้รายนั้นเป็นอันได้ปลดเปลื้อไปก่อน
1 หนี้สินรายใดถึงกำหนดก่อนก็ให้รายนั้นเป็นอันได้ปลดเปลื้อไปก่อน 2 ในระหว่างหนี้สินหลายรายที่ถึงกำหนด รายใดมีประกันน้อยที่สุดก็ให้รายนั้นเปลื้องไปก่อน 3 ในระหว่างหนี้สินหลายรายที่มีประกันเท่าๆกัน ก็ให้รายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้ได้เปลื้องไปก่อน (ตกหนัก = ตกเป็นภาระหนักของลูกหนี้ อาทิ ภาระดอกเบี้ยสูงสุด หรือภาระการดูแลรักษาทรัพย์นั้น แต่มิได้หมายถึง “จำนวนหนี้” 4 ในระหว่างหนี้สินหลายรายที่ตกหนักแก่ลูกหนี้เท่าๆกัน ก็ให้หนี้สินรายเก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน (หนี้สินเก่าที่สุด= ถือเอาหนี้ที่ถึงกำหนดชำระหนี้ก่อนที่สุด มิใช่วันที่มูลหนี้เกิด เพราะหนี้รายที่ถึงกำหนดชำระก่อนก็จะเริ่มนับอายุความก่อน 5 ถ้ามีหนี้สินหลายเก่าเท่าๆกันก็ให้หนี้ทุกรายเป็นอันได้เปลื้องไปตามส่วนมากน้อย (เฉลี่ยไปตามจำนวนหนี้แต่ละรายตามหลักสัดส่วน)
23
กรณีมีหนี้รายเดียว แต่มีสิ่งที่ต้องชำระหนี้หลายอย่าง กรณีปัญหาคือ เงินที่นำมาชำระหนี้ไม่พอกับหนี้ทั้งหมด ประเด็นคือ เงินดังกล่าวชำระหนี้ใดก่อนหลังตามกฎหมายบ้าง? มาตรา 329 ถ้านอกจากการชำระ หนี้อันเป็นประธาน ลูกหนี้ยังจะต้อง ชำระดอกเบี้ยและเสียค่าฤชาธรรม เนียมอีกด้วยไซร้ หากการชำระหนี้ใน ครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ได้ราคาเพียงพอจะ เปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด ท่านให้เอา จัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมเสียก่อน แล้วจึงใช้ดอกเบี้ยและ ในที่สุดจึงให้ใช้ ในการชำระหนี้อันเป็นประธาน ถ้าลูกหนี้ระบุให้จัดใช้เป็นประการอื่น ท่านว่าเจ้าหนี้จะบอกปัดไม่ยอมรับ ชำระหนี้ก็ได้ ค่าฤชาธรรมเนียม ดอกเบี้ย หนี้ประธาน (เงินต้น) เจ้าหนี้มีสิทธิบอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้ก็ได้ หากกว่าลูกหนี้ ประสงค์ให้จัดการชำระหนี้เป็นประการอื่นใด ข้อสังเกต ลูกหนี้ไม่มีสิทธิเลือกลำดับก่อนหลังชำระหนี้โดย ความคิดของตนเองซี่งต่างจากมาตรา 328 ที่ลูกหนี้มีสิทธิเลือก และเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคัดค้านด้วย
24
ผลของการขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบ
การขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบนั้นไม่ได้ทำให้หนี้ระงับ แต่ทำให้บรรดาความรับผิดที่อาจถูกเรียกร้องเพราะเหตุไม่ขอ ปฏิบัติการชำระหนี้โดยไม่ชอบนั้นหมดสิ้นไป เช่น มาตรา 215 ชำระหนี้ไม่ต้องตามความประสงค์แท้จริงแห่งมูลหนี้ มาตรา 217 ลูกหนี้รับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดแต่ความประมาทเลินเล่อใน ระหว่างเวลาที่ตนผิดนัด มาตรา 218 การชำระหนี้เป็นพ้นวิสัย พฤติการณ์ใดที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ มาตรา 224 หนี้เงินนั้นให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี มาตรา 225 ลูกหนี้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน+ดอกเบี้ยจากราคาวัตถุเสื่อมฯลฯได้นับ แต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคานั้น มาตรา 330 เมื่อขอ ปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบ แล้วบรรดาความ รับผิดชอบอันเกิดแต่การไม่ ชำระหนี้ก็เป็นอันปลด เปลื้องไปนับแต่เวลาที่ขอ ปฏิบัติการชำระหนี้นั้น
25
การแปลงหนี้ใหม่ (มาตรา 349-352)
26
การเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้
เปลี่ยนตัวลูกหนี้ เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ เปลี่ยนสาระสำคัญแห่งหนี้ ก. เป็นหนี้ ข. ๑ แสนบาท เงินจำนวนนี้ต้องใช้คืนใน วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐ ถ้าในวันนั้น ก. กับ ข. ตก ลงกันว่า ค. ลูกหนี้ของ ก. จะรับเข้าเป็นหนี้ ข. เป็น เงิน ๑ แสนบาท เช่นนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วย เปลี่ยนตัวลูกหนี้ ก. เป็นหนี้ ข. ๑ แสน บาท ต่อมา ข. บอกให้ ก. ชำระหนี้ให้แก่ ค. แทน เช่นนี้เป็นการ แปลงหนี้ด้วย เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ก. เป็นหนี้ ข. โดย ก. จะ ชำระเงินให้ ข. เป็นราย ปีๆละ ๑ แสนบาท ทั้ง สองตกลงกันว่า ก. จะใช้ เงินให้ให้ ข. คราวเดียว เป็นจำนวน ๕ แสนบาท เช่นนี้ เป็นการแปลงหนี้ ใหม่ด้วยการเปลี่ยนวัตถุ แห่งหนี้
27
การเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ (ต่อ)
เปลี่ยนเงื่อนไขก็ดี หนี้มีเงื่อนไขให้กลายเป็นหนี้ ปราศจากเงื่อนไขก็ดี เพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อัน ปราศจากเงื่อนไขก็ดี ก. เป็นหนี้ ข. ๑ แสนบาท ซึ่งต้องใช้คืนเมื่อ ก. สำเร็จการศึกษา ถ้า ภายหลังตกลงกันว่า ก. จะใช้เงินให้แก่ ข. ในวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ ก. เป็นหนี้ ข. ๑ แสน บาท ซึ่ง ก. ต้องใช้คืน ในวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ ถ้าภายหลังตก ลงกันว่า ก. จะใช้เงิน ให้แก่ ข. เมื่อ ก. ขาย ที่ดินได้ ก. เป็นหนี้ ข. ๑ แสนบาท ซึ่งต้องใช้คืนเมื่อ ก. สำเร็จการศึกษา ถ้า ภายหลังตกลงกันว่า ก. จะใช้เงินให้แก่ ข. เมื่อ ก. ออกเรือน เป็นการแปลง หนี้โดยเปลี่ยนเงื่อนไข
28
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้
วิธีการแปลงหนี้ใหม่ กฎหมายมิได้กำหนดว่าการแปลงหนี้ ใหม่ต้องทำอย่างไร คงแต่กำหนดเพียง ว่า “ต้องทำเป็นสัญญา” ซึ่งมิได้ หมายถึง “หนังสือสัญญา” ดังนั้นจึง อาจทำด้วยวาจาก็ได้ ไม่จำต้องทำ เป็นหนังสือ แต่เนื่องจากการแปลงหนี้ใหม่มีผลทำ ให้หนี้เดิมระงับและผูกพันกันตามหนี้ ใหม่ ดังนั้น ถ้าหนี้ใหม่นั้นกฎหมาย กำหนดให้ทำตามแบบ คู่กรณีที่ เกี่ยวข้องก็ต้องทำตามแบบ ไม่เช่นนั้น หนี้ที่แปลงจะเป็นโมฆะ หรือถ้าหนี้ใหม่ นั้นกฎหมาบัญญัติว่าต้องมีหลักฐาน เป็นหนังสือ คู่กรณีที่เกี่ยวข้องก็ต้อง ทำเป็นหนังสือ การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ การแปลงหนี้ใหม่เป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ระหว่างเจ้าหนี้เดิมกับเจ้าหนี้ใหม่ต้องทำเป็นหนังสือ และต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้ให้ความยินยอม มาตรา 350 แปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้น จะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่ ถ้าการแปลงหนี้ใหม่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามปกติต้องทำเป็นสัญญาระหว่างคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง คือ เจ้าหนี้ ลูกหนี้เดิม และลูกหนี้คนใหม่ แต่ตาม ม. ๓๕๐ ลูกหนี้เดิมจะไม่เข้าเป็นคู่สัญญาในการแปลงหนี้ใหม่ก็ได้ แม้ไม่เข้ามาเป็นคู่สัญญาการแปลงหนี้ใหม่ก็มีผลสมบูรณ์ แต่ลูกหนี้เดิมต้องยอมให้เปลี่ยนตัวลูกหนี้ ถ้าลูกหนี้เดิมไม่ยอม หนี้เดิมไม่ระงับและหนี้ใหม่ไม่เกิดขึ้น
29
ผลของการแปลงหนี้ใหม่
หนี้เดิมระงับ ดังที่มาตรา ๓๔๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “เมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็น สาระสำคัญแห่งหนี้ไซร้ ท่านว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไป ด้วยแปลงหนี้ใหม่” ในกรณีที่หนี้เดิมนั้นมีหนี้อุปกรณ์ เมื่อหนี้ประธานระงับไป ต้องบังคับกันตามหนี้ใหม่ที่เกิดขึ้น หนี้อุปกรณ์ก็ระงับไป ด้วย ยกเว้นแต่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ที่ ไม่ทำให้หนี้อุปกรณ์ระงับไปด้วย เพราะหนี้ประกันโอนไป ยังเจ้าหนี้ด้วยตามมาตรา ๓๐๕ เช่น ก. เป็นหนี้ ข. ๑ แสน บาท ก. ได้มอบรถจักรยายนต์ของ ก. ไว้กับ ข. โดยมี ข้อตกลงกันว่า ก. จะใช้เงินที่ค้างให้ ค. ดังนี้ สิทธิจำนำนั้นตก ไปอยู่แก่ ค. ด้วย มาตรา 305 เมื่อโอนสิทธิเรียกร้องไป สิทธิจำนองหรือจำนำที่มี อยู่เกี่ยวพันกับสิทธิเรียกร้องนั้นก็ดี สิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้ำประกันที่ให้ไว้เพื่อสิทธิเรียกร้องนั้นก็ดี ย่อมตกไปได้แก่ผู้รับโอนด้วย อนึ่ง ผู้รับโอนจะใช้บุริมสิทธิใด ๆ ที่ตนมีอยู่เกี่ยวด้วยสิทธิเรียกร้อง ในกรณีบังคับยึดทรัพย์หรือล้มละลายนั้นก็ได้
30
ผลเกี่ยวกับประกันแห่งหนี้ (อาจไม่ระงับ อาจโอนไปยังหนี้ใหม่)
ในส่วนที่เกี่ยวกับประกันแห่งหนี้นั้น แม้ว่าผลของการแปลงหนี้ ใหม่จะทำให้หนี้อุปกรณ์ระงับไปตามหนี้ประธาน แต่คู่กรณีใน การแปลงหนี้ใหม่อาจโอนประกันหนี้เดิมไปเป็นประกันหนี้ราย ใหม่ได้ การโอนสิทธิจำนำ หรือจำนองซึ่งเป็นประกันหนี้เดิมไปเป็นประกันหนี้ ใหม่ คู่กรณีต้องทำความตกลงกัน ประกันแห่งหนี้ของหนี้เดิมไม่ได้ โอนไปเป็นประกันแห่งหนี้ของหนี้ใหม่โดยผลของกฎหมาย ถ้าไม่มีการตกลงสิทธิตามสัญญาจำนำหรือจำนอง ย่อมสิ้นสุดลง เพราะหนี้เดิมระงับไปแล้ว มาตรา 352 คู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่อาจโอนสิทธิจำนำหรือ จำนองที่ได้ให้ไว้เป็นประกันหนี้เดิมนั้นไปเป็นประกันหนี้รายใหม่ได้ เพียงเท่าที่เป็นประกันวัตถุแห่งหนี้เดิม แต่หลักประกันเช่นว่านี้ ถ้าบุคคลภายนอกเป็นผู้ให้ไว้ไซร้ ท่านว่าจำต้องได้รับความยินยอมของบุคคลภายนอกนั้นด้วยจึงโอนได้ ข้อสังเกต คือ การโอนสิทธิจำนำหรือจำนองที่ได้ให้ไว้เป็นประกันหนี้เดิมไปเป็นประกันหนี้ใหม่นี้ มาตรา ๓๕๒ ได้บัญญัติว่าโอนไปได้เพียงเท่าที่ประกันหนี้เดิม เช่น การจำนำ หรือจำนอง นั้นเดิมเป็นการประกันหนี้จำนวน ๕ แสนบาท แม้คู่กรณีจะแปลงหนี้ใหม่และมีผลทำให้จำนวนหนี้สูงขึ้นเป็น ๖ แสนบาท เจ้าหนี้คงมีสิทธิเหนือทรัพย์ที่จำนำหรือจำนองนั้นเพียง ๕ แสนบาท เท่าเดิม
31
เหตุที่ทำให้การแปลงหนี้ใหม่ไม่เกิดขึ้น
มาตรา ๓๕๑ ได้บัญญัติถึงเหตุที่ทำให้หนี้ใหม่ไม่มีผลผูกพันคู่กรณีไว้ ๓ ประการ คือ หนี้ใหม่ไม่เกิดขึ้น ก. เป็นหนี้ ข. ๑ แสนบาท แทนที่จะใช้เงิน ข. ก. ตกลงกับ ข. ว่า จะโอนที่ดิน ให้ ข. ๑ แปลง แต่การโอนมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้ หนี้เดิมยังหาระงับสิ้นไปไม่ เพราะหนี้ใหม่มิได้ เกิดขึ้น หนี้ใหม่ยกเลิกเสียเพราะมูลแห่งหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก. เป็นหนี้ ข. ๑ แสนบาท แทนที่จะใช้เงิน ข. ก. ตกลงกับ ข. ว่า จะให้ ข. ได้รับส่วนกำไรจากการขายฝิ่นเถื่อน การตกลงกันใหม่นี้ไม่สมบูรณ์ เพราะ เกิดแต่มูลอันมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ หนี้เดิมในเงิน ๑ แสนบาท หาระงับ สิ้นไปไม่ หนี้ใหม่ไม่มีผลเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันมิรู้ถึงคู่กรณี เช่น หนี้ใหม่ไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือซึ่งคู่กรณีไม่รู้ว่าต้องทำฯ มาตรา 351 ถ้าหนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะแปลงหนี้ใหม่นั้นมิได้เกิด มีขึ้นก็ดี ได้ยกเลิกเสียเพราะมูลแห่งหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันมิรู้ถึงคู่กรณีก็ดี ท่านว่าหนี้เดิมนั้น ก็ยังหาระงับสิ้นไปไม่
32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2552 (แปลงหนี้ใหม่) สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เป็นการเพิ่มจำนวนหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมรับผิด และเปลี่ยนประเภทหนี้ เป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่ง ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ และตกลงที่จะผูกพันตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง มีผลให้หนี้เดิม คือ หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง 16 ฉบับ ที่จำเลยที่ 3 ค้ำประกันเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นความรับผิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339/2551 (แปลงหนี้ใหม่) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ที่กฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นสัญญานั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องทำเป็นหนังสือ การแสดงเจตนาโดยมีคำเสนอและคำสนองตรงกันก็ ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนาทำ สัญญาต่อกันได้แล้ว ตามคำเสนอข้อตกลงการชำระหนี้ของ บริษัท ธ. โดยบริษัทดังกล่าวเสนอโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตีมูลค่าราคา ที่ดินเป็นเงิน 448,000 บาท ส่วนหนี้ที่เหลืออีกจำนวน 193, บาท ผู้รับสัญญา คือ บริษัท ธ. ตกลงจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่ วันที่ได้ทำบันทึกข้อตกลง ซึ่งต่อมาโจทก์ก็ได้สนองรับคำเสนอโดยโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดัง กล่าวจาก บริษัท ธ. โดยใส่ชื่อ ส. กรรมการผู้จัดการโจทก์ ไว้แทนคำเสนอของบริษัท ธ. จึงตรงกับคำสนองของโจทก์ เพราะโจทก์ได้รับโอนที่ดินไว้แล้วโดยใส่ชื่อ ส. การโอนหนี้ดังกล่าวไม่ปรากฏว่ามีการขืนใจลูกหนี้แต่อย่าง ใด จึงเป็นการแปลงหนี้โดยชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 350 หนี้จึงเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2550 (ไม่แปลงหนี้ใหม่) จำเลย ที่ 1 ว่าจ้างโจทก์ติดตั้งวัสดุเชื่อมรอยต่อ โจทก์ติดตั้งและส่งมอบงานทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าจ้างส่วนที่เหลือและคืนเงินประกันแก่ โจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์ยังทำงานไม่เสร็จเนื่องจากมีการรั่วซึมของน้ำตลอดเวลา การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะจ่ายค่าจ้างส่วนที่เหลือ และเงินค้ำประกันผลงานให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายจากการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นการเปลี่ยนหลักเกณฑ์กำหนดการจ่ายค่าจ้างส่วน ที่เหลือและเงินค้ำประกัน ที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์เท่านั้น มิใช่เปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ที่จะเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะมี ผลทำให้หนี้ตามสัญญา จ้างเหมาติดตั้งระงับสิ้นไป แต่ข้อตกลงตามบันทึกดังกล่าวยังมีผลที่จะบังคับกันได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้รับเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายจากการกีฬาแห่งประเทศไทย หนี้ ตามที่โจทก์ฟ้องจึงยังไม่ถึงกำหนดเวลาชำระ โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิจึงไม่มีอำนาจฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2550 (ไม่แปลงหนี้ใหม่) หนังสือสัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ทำให้ไว้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เป็นเพียงการยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์และจะชำระหนี้ มิได้เป็นการยกเลิก หลักประกันหรือการค้ำประกัน หรือเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะมีผลให้หนี้เดิมระงับไป เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.