งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
บทที่ 10. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง

2 ความหมายของความเชื่อมั่น
ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self Confidence) หมายถึง การกล้าตัดสินใจในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความมั่นใจ กล้าแสดงออกสามารถทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง พึ่งพาตนเอง และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้กับเด็ก สามารถทำได้โดยผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดี สนับสนุนพฤติกรรมที่ดีของเด็กเปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองทำสิ่งต่างๆอย่างอิสระตามความต้องการและความสนใจของเด็ก ภายใต้การสนับสนุนช่วยเหลือจากผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม

3 ความสำคัญของความเชื่อมั่นในตนเอง
มีเป้าหมายความสำเร็จของชีวิต มีความมุ่งมั่นในเป้าหมายที่สูงขึ้น มีทักษะต่อตนเองและต่อสิ่งแวดล้อมในแง่ดีมองเห็นช่องทางที่ตนเองจะทำ “ วิกฤตเปลี่ยนเป็นโอกาส” เรียนรู้จากความล้มเหลว มีลักษณะจิตใจมั่นคงในพันธะ หน้าที่ มีความเด็ดขาด ในการตัดสินใจ จะไม่มีความลังเล ไม่ขาดกลัว มีความกล้าเสี่ยง

4 ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
โครงสร้างของความเป็นตัวตน การรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง การกำหนดชีวิตตนเอง การควบคุมตนเองให้นำพฤติกรรมไปสู่ผล การจัดชีวิตตนเองให้ทำงานเชิงระบบ การเห็นคุณค่าของตนเอง ความภูมิใจในคุณค่าของตนเอง

5 แนวทางพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง
โลว์สตูเทอร์และโรเบิร์ทสัน ( Lowstuter and Robertson 1992) เสนอสูตรสำเร็จของการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง 7 ประการคือ สร้างสถานะของการมีกำลังอำนาจ รูปแบบของความสำเร็จ ความสามารถที่แตกต่างไปจากผู้อื่น โดยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ จัดการกับอารมณ์ ความรู้สึก ความรู้สึกว่ามีจุดดีในตัว เชื่อมั่น เปิดเผย ปรับเปลี่ยนเก่ง กล้าหาญ คิดสร้างสรรค์ได้ดี

6 เปลี่ยนความคิดที่มีต่อสิ่งต่างๆ มองในแง่มุมใหม่ เช่น บางคนมีความคิดว่าการไม่ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นการเสียหน้า ควรหางานใหม่ เรียนรู้ต้นแบบของความสำเร็จ ศึกษาความคิด ความเชื่อ ค่านิยม กำหนดผลที่ต้องการและนำมายึดถือ ทุกคนต้องการได้อาชีพและสังคมที่ดี สภาพแวดล้อมที่ดี มีความมุ่งมั่นไปสู่ความสำเร็จ เพิ่มความแข็งแกร่งในความคิด ทบทวนวิธีการดำเนินการให้ยึดหยุ่นไปสู่เป้าหมาย

7 การเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
สมใจ ลักษณะ (2534 :76) เสนอ การสร้างเชื่อมั่นในตนเองด้วยการปรับความเชื่อและพฤติกรรม เชื่อว่าตนเองมีความรู้มีความสามารถในเรื่องราวที่ตนเกี่ยวข้อง เชื่อว่าตนเองจะแสดงพฤติกรรมในสถานการณ์นั้นๆได้ถูกต้อง เชื่อว่าตนเองจะแสดงพฤติกรรมในสถานการณ์นั้นๆได้ตรงกับความคาดหวัง กล้าแสดงออกในสถานกรณ์นั้นๆ รักษาระดับความเด็ดเดี่ยวมั่นคงในความคิดของตน

8 การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
โกลแมน (Goleman : 1995) ให้ความหมายไว้ว่า ความรู้สึกที่ประกอบด้วยความคิดเฉพาะบุคคลเป็นสภาพจิตใจและทางชีววิทยา ระดับของอารมณ์ มีตั้งแต่ระดับฉับพลันเกิดง่ายหายเร็ว “ ความรู้สึก” เช่น ดีใจ เสียใจ ไม่พอใจ สนุก เบื่อ หรือที่เรียกว่า “ กระแสอารมณ์” เช่น โกรธ ขัดเคือง สบายใจ

9 ความหมายของความฉลาดทางอารมณ์
โกลแมน (Goleman ) เชื่อว่าการวัดไอคิวแบบดั้งเดิมนั้นมิได้เป็นการวัดภาพรวมของ “ พลังปัญญาของมนุษย์ ” ความรู้จักตนเองในทุกๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอารมณ์ ความสามารถควบคุมความหุหันพลันแล่น ความขยันหมั่นเพียร มุ่งมั่นในเป้าประสงค์โดยไม่ท้อถ้อย ความกระตือรือร้น มีใจจดจ่อ มีแรงจูงใจในตนเอง ความสามารถที่จะมองจากมุมมองของบุคคลอื่น ทำให้เข้าใจในอารมณ์

10 ความฉลาดในอารมณ์ ความมั่นใจในตนเอง การเอาใจเขามาใส่ใจเรา
การมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ การปรับปรุงตนอยู่เสมอ การโน้มน้าวผู้อื่นได้ การสร้างทีมงาน

11 แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในองค์การ
อีเลียส และคณะ (Elias :1997) เสนอแนวทางที่สำคัญของการส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ขึ้นในองค์การ คือ การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์โดยการพัฒนาแบบองค์รวม ใน 3 องค์ประกอบ คือ (1) พัฒนาความรู้ความคิด (2) พัฒนาคุณลักษณะทางจิตใจ (3) พัฒนาพฤติกรรมการแสดงออก

12 พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ โดยการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์การที่เอื้ออำนวย คือ วัฒนธรรมที่สร้างบรรยากาศของการมีจิตสำนึกในการรักษาและควบคุมอารมณ์ พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ โดยการเสริมสร้างความตระหนักและการมีวินัย บุคคลที่มีความตระหนักในตน เห็นความจำเป็น การมีวินัยสร้างกฎกติกาแห่งตน พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์โดยการทบทวนพฤติกรรมและการตั้งเป้าหมาย คือ การจัดบรรยากาศของความเป็นมิตร

13 พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์โดยการใช้ต้นแบบ เช่น บุคคลที่เป็นหัวหน้า
การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์โดยการจัดระบบที่ให้ข้อมูลเพื่อการพัฒนาและได้รับการสนับสนุนจากการบริหาร คือ ระบบการพัฒนาบุคลากรในองค์การ

14 การควบคุมทางอารมณ์ อย่างเก็บกด อย่าปฏิเสธ ในการมีอารมณ์เกิดขึ้น เช่น ฉันรู้สึกโกรธแล้วนะ ฉันรู้สึกว่าไม่มีใครชอบฉันเลยนะ แสดงออกทางกิริยาท่าทาง เช่น หมุนตัวบนเก้าอี้ให้หมุนไปรอบๆ มีความเชื่อมั่น กล้าหาญ มีความสำเร็จ รับรู้การเกิดอารมณ์ และลงมือปฏิบัติ มุ่งเอาชนะให้ประสบความสำเร็จ

15 การฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ
ต้องรู้ว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ต้องรู้จักนับถือตนเอง เชื่อในความสามารถของตนและไม่ดูถูกเหยียดหยามคนอื่น ต้องฝึกให้มีความคิดเป็นของตนเอง อย่าคิดว่า “ ทำไม่ได้ ” จงคิดเสมอว่า “ เราทำได้ ” พยายามเสริมสร้างความคิด ความรู้สึก ลักษณะนิสัยประจำตัวที่เป็นทางบวก

16 การเขียนด้วยความเชื่อมั่น
การถ่ายทอดข่าวสารจากผู้เขียนไปสู่ผู้อ่านไม่ได้ผลสมบูรณ์ ลดความรู้ความเข้าใจที่แม่นตรง ชัดเจน ครบถ้วน ทำให้ไม่สามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการส่งข่าวสาร การเขียนโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือจูงใจลูกค้า การเขียนที่ด้อยคุณภาพ

17 ข้อบกพร่องของการเขียน
ขาดทักษะในการใช้ภาษา ในการเลือกใช้คำ ประโยค สำนวน ขาดความรู้ ขาดข้อมูล ขาดหลักฐานอ้างอิงที่จะนำมาใช้เขียน ขาดความสามารถในการเขียนอย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วย มีจุดมุ่งหมายของการสื่อชัดเจน มีข้อมูลความรู้ความคิดหลักฐานอ้างอิงประกอบ จัดลำดับประเด็นสำคัญที่ต้องการจะเสนอความคิด สาระความรู้ เนื้อเรื่อง เลือกสรรภาษาในการใช้คำ ประโยค ขาดความรู้ ข้อมูล หลักฐานอ้างอิงที่จะเขียนให้สมบูรณ์

18 วิธีการพัฒนาความสามารถในการเขียนด้วยความเชื่อมั่น
มีความรู้เรื่องที่จะเขียนอย่างแท้จริง เช่น หนังสืออ้างอิง ตำรา บทความ ผลการวิจัย ศึกษารูปแบบตัวอย่างการเขียนที่ประสบความสำเร็จ โดยนักเขียนมืออาชีพ เทคนิคการใช้คำ การสร้างประโยค ลีลาสำนวนการเขียน ทำต้นร่างของข้อเขียน ทบทวนเพื่อการปรับปรุง เมื่อเผยแพร่ข้อเขียนไปแล้วควรสดับรับฟังความเห็นของผู้อ่านว่าเกิดความเข้าใจตรงกัน มีความพอใจในข้อเขียนหรือไม่ ความชำนาญในการเขียนจะเกิดขึ้นจากการเขียนเป็นประจำ

19 สรุป ความเชื่อมั่นในตนเอง จะมีความฉลาดในการค้นหา จุดเด่นของตนเอง ภูมิใจในคุณค่าของงาน มีเป้าหมาย มีความมุ่งมั่น ความเชื่อมั่นในตนเอง องค์ประกอบด้านความรู้ ความสามารถที่สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด องค์ประกอบด้านความคิด มีความเป็นระบบ กระบวนการความคิดอย่างมีเหตุผล

20 สรุป องค์ประกอบด้านความรู้สึก เจตคติ ทักษะที่มีต่อโลก ฝึกให้ยอมรับนับถือ ความมีค่าของตนเอง มัทัศนะทางบวก องค์ประกอบทางด่นลักษณะนิสัย มีความเข้มแข็ง เด็ดขาด มุ่งมั่นเพียรพยายาม กล้าเสี่ยง กล้าคิด กล้าทำ ไม่ขลาดกลัว องค์ประกอบทางพฤติกรรมการแสดงออกในสถานการณ์ต่างๆ

21 คำถามทบทวน เพราะเหตุใด สังคมจึงนิยมยกย่องผู้มีความเชื่อมั่นในตนเอง
จงกล่าวถึงแนวการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองในลักษณะการปรับเปลี่ยนความคิด ความเชื่อของตน จงกล่าวถึงแนวพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองในลักษณะการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของตน ในองค์การผู้บริหารควรมีบทบาทส่งเสริมการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของพนักงานอย่างไร ยกกรณีตัวอย่างของผู้มีประสิทธิภาพในการทำงานและพบความสำเร็จในการดำรงชีวิต แล้วกล่าวถึงสิ่งที่เป็นความเชื่อมั่นในตนเอง


ดาวน์โหลด ppt การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google