งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาองค์การ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาองค์การ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาองค์การ
บทที่ 1. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

2 ความหมายของการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ หมายถึง การฝึกอบรมในหลายๆ รูปแบบหรือการพยายามเข้าแทรกแซงองค์การในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมุ่งประสงค์ที่จะปรับปรุงองค์การหรือสมาชิกองค์การและในภาพรวม การพัฒนาองค์การ คือ การให้ความสําคัญที่การเจริญเติบโตและการพัฒนาขององค์การโดยทั้งมวล

3 ลักษณะสําคัญของการพัฒนาองค์การ
1.การเปลี่ยนแปลงที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า 2. การเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะครอบคลุม 3. จุดเน้นจะอยู่ที่กลุ่มงาน 4. การเปลี่ยนแปลงในระยะยาว 5. ตัวการการเปลี่ยนแปลง (Change agent) จะมีส่วนร่วมอยู่ด้วย 6. การเน้นย้ำจะอยู่ที่การเข้าแทรกแซงและการวิจัยเพื่อการแก้ปัญหา

4 การฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการ
ความสำคัญของการศึกษาและการฝึกอบรม การศึกษาและการฝึกอบรมเป็นวิธีที่ช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสามารถ (Competencies)มากขึ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างฏิบัติงาน ซึ่งจะช่วยให้งานประสบผลสำเร็จ

5 การฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการ
จุดเริ่มของการฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการเริ่มในปี 1945 โดย เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาการศึกษาลักษณะพลวัตหรือความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงกลุ่ม ต่อมาในปี 1946 เลวินและคณะ ประกอบด้วย เคนเนธ เบน (Kenneth Benne) ลีแลนด์ แบรทฟอร์ด (Leland Bradford) และโรนัลด์ ลิปปิทท์ (Ronald Lippitt) ขึ้นเป็นครั้งแรกที่วิทยาลัยครูแห่งรัฐคอนเนคติกัต เมืองนิวบริเทน สามารถสรุปผลกระทบต่อการกำเนิดการพัฒนาองค์การ 2 ประการ คือ

6 การฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการ
ผลกระทบต่อการกำเนิดการพัฒนาองค์การ 2 ประการคือ การให้และการรับฟังข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในกลุ่ม กระบวนการกลุ่ม ประโยชน์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ได้

7 ในปี 1958 เฮอร์เบิร์ต เชปเพิร์ด (Herbert Shepard) ทำงานเป็นนักวิจัยของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดอยล์ จำกัด ได้ทำการทดลองที่โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทเอสโซ่ 3 แห่งคือ เบยอน บาตองรูจ เบย์เวย์ โดยเฉพาะเบย์เวย์เกิดสิ่งสำคัญ 2 ประการคือ แนวคิดเรื่องกริดของการบริการของเบลคและมูตัน ได้ถูกนำมาใช้เป็นเทคนิคในการพัฒนาองค์การอย่างแพร่หลาย มีความสนใจในโปรแกรมการสร้างทีมงาน การให้คำปรึกษา การแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างกลุ่ม

8 การสำรวจข้อมูลและการป้อนข้อมูลย้อนกลับ
การสำรวจข้อมูลและการป้อนข้อมูลย้อนกลับ หมายถึง วิธีการที่ใช้สำรวจทัศนคติของสมาชิกในองค์การ แล้วเก็บวบรวมข้อมูลที่ได้จากการประชุมปฏิบัติการย้อนหลัง เคิร์ท เลวิน เป็นบุคคลแรกที่ริเริ่มใช้แบบสอบถามเพื่อการสำรวจทัศนคติของพนักงานในหน่วยงาน เรนซิส ลิคเคิร์ท และคณะ การใช้ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบหรคือการสำรวจพฤติกรรม ทัศนคติ ค่านิยมและความรู้สึกของสมาชิกให้เกิดประโยชน์สูงสุด

9 การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
การรับรู้ปัญหาและการสำรวจวินิจฉัยปัญหาเบื้องต้น การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มลูกค้า การให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังกลุ่มลูกค้า กลุ่มวางแผนปฏิบัติงานร่วมกัน กลุ่มลงมือปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลของการปฏิบัติงาน

10 ระบบเทคนิคและสังคม ระบบเทคนิคและสังคม (Socio-technical system) ปัญหาที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากบริษัทได้นำเทคนิคใหม่ๆมาใช้แล้ว บริษัทไม่สนใจความสัมพันธ์ทางสังคมของคนงานเน้นแต่เทคโนโลยี ทำให้มองข้ามความสำคัญด้านความสัมพันธ์ทางสังคม

11 คุณลักษณะของการพัฒนาองค์การ
เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม การเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ เน้นการกำหนดเป้าหมายและวางแผน การปฏิสัมพันธ์ที่ทำต่อเนื่อง ใช้ประสบการณ์ คุณลักษณะการพัฒนาองค์การ ใช้ผู้นำในการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงข้อมูลเป็นพื้นฐาน เน้นการเปลี่ยนแปลงค่านิยม วัฒนธรรม เน้นการใช้ความรู้ด้านพฤติกรรมศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพ

12 วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ
ด้านกระบวนการ ด้านการผลิต

13 วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ
ด้านกระบวนการ คือ เป้าหมายที่จะปรับปรุงกระบวนการต่างๆ เช่น การปรับปรุงในเรื่องการติดต่อสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิก ด้านการผลิต การปรับปรุงผลปฏิบัติงานของสมาชิกเป้าหมายจะเน้นว่าผลที่สำเร็จโดยสมาชิกและทีมงาน

14 สมมติฐานเบื้องต้นของการพัฒนองค์การ
สมมติฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับคนในฐานะที่เป็นบุคคล ประการที่ 1. สมาชิกส่วนใหญ่ขององค์การต่างปรารถณาความเจริญก้าวหน้าและพัฒนา ประการที่ 2. สมาชิกส่วนใหญ่ขององค์การต่างปรารถณาที่จะทำงานทำให้เป้าหมายขององค์การประสบผลสำเร็จ

15 องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาองค์การ
การตรวจวินิจฉัยปัญหาขององค์การ การใช้เทคนิคการสอดแทรก องค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาองค์การ การประเมินผล

16 การตรวจวินิจฉัยปัญหาขององค์การ หมายถึง ความพยายามแสวงหา รวบรวมข็อมูลเกี่ยวกับสถานภาพปัจจุบันขององค์การ เช่น การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การบันทึกผลการปฏิบัติงาน การใช้เทคนิคสอดแทรก เพื่อมุ่งปรับปรุงและแก้ไขปัญหาของกระบวนการต่างๆ เช่น การกำหนดเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง การเลือกเทคนิคการสอดแทรกที่เหมาะสม การวางแผน การประเมินผล เป็นการตรวจสอบและติดตามสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการเพิ่มสมรรถนะส่วนบุคคล องค์การ

17 กระบวนการพัฒนาองค์การ
ตระหนักรู้ถึงปัญหา ผู้บริหารระดับสูงซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจรับรู้ว่าองค์การประสบปัญหาต่างๆที่องค์การประสบ เช่น การสื่อสารไม่ดี มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม การวางแผน การกำหนดเป้าหมาย แรงจูงใจของพนักงานต่ำ ทีมไม่มีประสิทธิผล การเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจวินิจฉัยข้อมูลเบื้องต้น โดยการสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การังเกต การปฏิบัติงาน การจดบันทึก

18 กระบวนการพัฒนาองค์การ
การให้ข้อมูลป้อนกลับและการตรวจวินิจฉัยร่วมกันในการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ปรึกษาต้องระมัดระวังที่จะไม่เปิดเผยถึงแหล่งที่มาของข้อมูล การวางแผนร่วมกันและการปฏิบัติตามแผน ต้องตกลงร่วมกันในเรื่องการกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดแนวทางถึงกลยุทธ์ที่จะช่วยให้การปฏิบัติการบรรลุวัตถุประสงค์ การเก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจวินิจฉัยข้อมูลอีกครั้งหลังจากที่ได้ปฏิบัติตามแผน

19 กระบวนการพัฒนาองค์การโดยใช้แม่แบบการสร้างทีม
การวินิจฉัยเบื้องต้น การรวบรวมข้อมูล การประเมินผลและติดตามผล การตรวจสอบข้อมูล การสร้างความสัมพันธ์ การสร้างทีมงาน การวางแผนปฏิบัติงาน

20 เทคนิคการพัฒนาองค์การ
เทคนิคการพัฒนาองค์การ คือ กิจกรรมในลักษณะต่างๆที่ได้วางแผนไว้อย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มพูลศักยภาพขององค์การให้บรรลุวัตถุประสงค์ งานหรือกิจกรรมที่ทำเพียงชิ้นเดียว เช่น การประชุมเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งของทีมงาน งานหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งกลุ่มต้องดำเนินการตามลำดับเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ กลุ่มของกิจกรรมที่เป็นประเภทเดียวกัน เช่น การสร้างทีมงาน แผนการดำเนินงานที่รวมกิจกรรมต่างๆเพื่อใช้ในการปรับปรุงองค์การ

21 การพัฒนาองค์การกับการสร้างทีมงาน
ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาองค์การ กับการสร้างทีมงาน เป็นไปในทิศทางที่สนับสนุนและส่งเสริมกันการมุ่งพัฒนาองค์การให้เจริญก้าวหน้า อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ หรือเทคนิคในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ ซึ่งหนึ่งในเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสูงและนิยมใช้กันมาก คือ เทคนิคการสร้างทีมงาน ในฐานะที่เป็นเครื่องมือนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงานในยุคปัจจุบัน

22 เทคนิคการพัฒนาองค์การจำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย
เทคนิคการพัฒนาองค์การที่ใช้ การใช้เทคนิคเพื่อการปรับปรุงประสิทธิผล -การวางแผนชีวิตและอาชีพ ของแต่ละบุคคล -การวิเคราะห์บทบาท -การสอนและการให้คำปรึกษา -การฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการ -การให้การศึกษาและอบรมเพิ่มพูนทักษะ -การทำงานให้มีความหมาย -การวิเคราะห์พฤติกรรมติดต่อระหว่างบุคคล

23 เทคนิคการพัฒนาองค์การจำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย
เทคนิคการพัฒนาองค์การที่ใช้ การใช้เทคนิคเพื่อปรับรุงประสิทธิผลของ -การให้คำปรึกษาในกระบวนการทำงาน กลุ่มย่อยที่ประกอบด้วย 2-3 คน -การยุติข้อพิพาทโดยใช้องค์การที่สาม -การพัฒนาด้วยกริดที่ 1 และ 2 การใช้เทคนิคเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลของ -การสร้างทีมงาน ,มุ่งงาน ,มุ่งกระบวนการ ทีมงานและกลุ่ม -การจัดฝึกอบรมแบบ T-group -การสร้างทีมงานใหม่

24 เทคนิคการพัฒนาองค์การจำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย
เทคนิคการพัฒนาองค์การที่ใช้ การใช้เทคนิคเพื่อปรับปรุงประสิทธิผล --การสร้างทีมงาน ,มุ่งงาน ,มุ่งกระบวนการ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม -การสำรวจองค์การโดยใช้หน่วยงานอื่น -การสอดแทรกเพื่อปรับปรุงโครงสร้าง -การให้คำปรึกษาในกระบวนการทำงาน -การยุติข้อพิพาทระดับกลุ่มโดยใช้องค์การ ที่สาม -การสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ

25 เทคนิคการพัฒนาองค์การจำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย
เทคนิคการพัฒนาองค์การที่ใช้ การสอดแทรกเพื่อปรับปรุงประสิทธิผล -กิจกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงงานและ ของทั้งองค์การ โครงสร้างและระบบเทคนิคสังคม -การประชุมแบบเผชิญหน้า -การวางแผนยุทธ์ศาสตร์ -การสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ -ระบบบริหารระบบที่ 4

26 วิธีการหรือกิจกรรมต่างๆในการสร้างทีมงาน
กลุ่มครอบครัว กลุ่มพิเศษ การประชุมตรวจวินิจฉัยเพื่อการสร้างทีมงาน ของกลุ่มครอบครัวมุ่งเน้น 1 ความสำเร็จของการทำงาน เช่นการแก้ปัญหาการตัดสินใจ 1.ความสำเร็จของการทำงาน เช่น การแก้ปัญหาพิเศษ กำหนดเป้าหมาย 2.การสร้างและธำรงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล 2.การสร้างสัมพันธภาพโดยเฉพาะระหว่างบุคคลและหน่วยงาน 3. ความเข้าใจและการบริหารกระบวนการกลุ่มและวัฒนธรรมของกลุ่ม 3.การปรับปรุงกระบวนการต่างๆภายในองค์การ เช่น การสื่อสาร การตัดสินใจ

27 วิธีการหรือกิจกรรมต่างๆในการสร้างทีมงาน
กลุ่มครอบครัว กลุ่มพิเศษ การประชุมตรวจวินิจฉัยเพื่อการสร้างทีมงาน ของกลุ่มครอบครัวมุ่งเน้น 4.การวิเคราะห์บทบาทของสมาชิกเพื่อสร้างความชัดเจนและกำหนดขอบเขตของบทบาท 4. การวิเคราะห์บทบาทของสมาชิกเพื่อสร้างความชัดเจนและกำหนดขอบเขตของบทบาท 5. การเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้บทบาทที่เหมาะสม

28 กระบวนการสร้างทีมงานที่ใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
การจัดประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเป็นทีมเพื่อสร้างความเข้าใจในกลุ่ม การจัดกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ เป้าหมายหลัก การยอมรับการเปลี่ยนแปลง การรวบรวมข้อมูล เป็นการใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลด้านบรรยากาศ พฤติกรรมของหัวหน้างาน ความพึงพอใจในงาน การตรวจสอบข้อมูล เป็นการนำเสนอข้อมูลที่รวบรวมได้โดยที่ปรึกษา การกำหนดลำดับความจำเป็นเร่งด่วนและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

29 กระบวนการสร้างทีมงานที่ใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
การวางแผนปฏิบัติงานเป็นการจัดทำรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทีมงานนำไปปฏิบัติ การสร้างทีมงานเป็นการระบุปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติงาน กำหนดวิธีการแก้ปัญหา การสร้างทีมงานระหว่างกลุ่ม เป็นการจัดประชุม โดยมีทีมงานต่างๆมาพบปะพูดคุย เพื่อแสวงหาความร่วมมือและแก้ปัญหาร่วมกัน

30 สรุป ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาองค์การกับการสร้างทีมงานเป็นไปในทิศทางที่ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน มุ่งพัฒนาองค์การให้เจริญก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิผล จำเป็นต้องกลยุทธ์หรือเทคนิคในการปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงระบบและที่นิยมใช้มากที่สุด คือ เทคนิคการสร้างทีมงาน


ดาวน์โหลด ppt แนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาองค์การ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google