งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หุ้น หุ้นคืออะไร ในมุมมองของผู้ถือหุ้น: หุ้นแสดงถึงส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ในบริษัท ซึ่งอาจได้แก่ สิทธิต่าง ๆ ของผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ในบริษัท เช่น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หุ้น หุ้นคืออะไร ในมุมมองของผู้ถือหุ้น: หุ้นแสดงถึงส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ในบริษัท ซึ่งอาจได้แก่ สิทธิต่าง ๆ ของผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ในบริษัท เช่น."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หุ้น หุ้นคืออะไร ในมุมมองของผู้ถือหุ้น: หุ้นแสดงถึงส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ในบริษัท ซึ่งอาจได้แก่ สิทธิต่าง ๆ ของผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ในบริษัท เช่น สิทธิที่จะได้รับเงินปันผล การเข้าประชุมและออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ การควบคุมการดำเนินงานของบริษัท หน้าที่และความรับผิดในการชำระค่าหุ้น เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง

2 ลักษณะของหุ้น หุ้นต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าห้าบาท (มาตรา ๑๑๑๗)
หุ้นแบ่งแยกไม่ได้ (มาตรา ๑๑๑๘วรรค ๑) แต่บุคคลหลายคนอาจถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกันได้ ซึ่งในกรณีนี้ต้องตั้งให้ใดคนหนึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานเป็นผู้ถือหุ้น แต่เวลาชำระค่าหุ้น ทุกคนต้องร่วมกันรับผิดส่งใช้มูลค่าของหุ้น (มาตรา ๑๑๑๘ วรรคสองและวรรคสาม) คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๗๖/๒๕๓๓ หุ้นมรดกมีจำนวน ๕๐๐ หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ ๑ และโจทก์ที่ ๒ แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ ๑ จะขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นมรดกทั้งหมดโดยอ้างมาตรา ๑๑๑๘ หาได้ไม่ [มาตรา ๑๑๑๘ จึงหมายถึงหุ้น ๆ เดียวเท่านั้นที่แบ่งแยกไม่ได้]

3 การชำระค่าหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทไม่ได้
3. หุ้นที่ต้องชำระด้วยเงิน ต้องชำระจนเต็มค่าจะหักหนี้บริษัทไม่ได้ มาตรา ๑๑๑๙ หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องให้ใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้นซึ่งออกตามบทบัญญัติมาตรา ๑๑๐๘ อนุมาตรา (๕) หรือมาตรา ๑๒๒๑ ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่

4 หุ้นที่ออกตามมาตรา ๑๑๐๘(๕) และมาตรา ๑๒๒๑ เป็นหุ้นที่ออกเป็นการตอบแทนแรงงานหรือทรัพย์สิน ไม่ใช่หุ้นที่ต้องชำระด้วยเงิน ถ้าเป็นหุ้นที่ออกแต่แรกก็ต้องให้ที่ประชุมตั้งบริษัทเห็นชอบในการตีราคาแรงงานหรือทรัพย์สินดังกล่าว กรณีนี้เป็นเรื่องของมาตรา ๑๑๐๘(๕) แต่ถ้าเป็นการออกหุ้นใหม่ ก็ต้องได้รับมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น (มาตรา ๑๒๒๑) สำหรับแรงงานที่จะนำมาตีราคาเป็นค่าหุ้นของบริษัทนั้น จะต้องเป็นแรงงานที่ได้กระทำไปแล้ว จะนำแรงงานในอนาคตมาตีราคาเป็นค่าหุ้นไม่ได้ (ระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๔๖ วรรคสอง) จึงต่างกับกรณีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนซึ่งสามรถนำแรงงานที่ทำไปแล้วหรือที่จะทำภายหลังการจดทะเบียนมาตีราคาเป็นทุนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนก็ได้ [แต่หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะลงหุ้นด้วยแรงงานไม่ได้]

5 คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๓๑/๒๕๑๘ บริษัทเอาเงินที่ผู้ถือหุ้นให้ยืมมาหักกับราคาหุ้นที่ผู้ถือหุ้นค้างชำระเป็นการขัดต่อมาตรา ๑๑๑๙ ถือว่ายังไม่ได้ชำระค่าหุ้นในส่วนนี้

6 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๔๙๖/๒๕๒๓
ลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้เงินเจากจ้าหนี้ และได้รับเงินดังกล่าวไปครบถ้วนแล้ว ลูกหนี้ได้ออกเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เพื่อเป็นการชำระหนี้ เจ้าหนี้รับเงินตามเช็คไม่ได้ ต่อมาเจ้าหนี้ตกลงกับลูกหนี้และบริษัทน้ำตาล ย. จำกัด บุคคลภายนอกกับเจ้าหนี้รายอื่น ๆ แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับลูกหนี้ โดยให้เจ้าหนี้มีสิทธิเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทน้ำตาล ย. จำกัด จำนวน ๓,๐๐๐ หุ้น มูลค่าเป็นเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อแลกเปลี่ยนกับการโอนสิทธิเรียกร้องและระงับหนี้ตามเช็คซึ่งลูกหนี้สั่งจ่ายไว้ตามสัญญากู้ หลังจากที่บริษัทน้ำตาล ย. จำกัด ได้ขอจดทะเบียนเพิ่มทุนของบริษัท และจัดสรรให้แก่เจ้าหนี้ของลูกหนี้รายนี้ ๓,๐๐๐ หุ้น

7 แต่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางไม่รับจดทะเบียนให้เพราะเอาหนี้ (สิทธิเรียกร้อง) มาลงทุนแทนเงินไม่ได้ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหนี้จึงมาขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าแม้จะได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยให้เจ้าหนี้มีสิทธิเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทน้ำตาล ย . จำกัด เพื่อแลกเปลี่ยนกับการโอนสิทธิเรียกร้องและระงับหนี้ซึ่งลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คไว้ตามสัญญากู้ก็ตาม แต่ปรากฏว่าไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา ๑๑๑๙ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางไม่จดทะเบียนให้ จึงไม่มีผลบังคับ หนี้เดิมของเจ้าหนี้จึงยังไม่ระงับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามเช็คของลูกหนี้ย่อมไม่โอนไปยังบริษัทลูกหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้รายนี้ได้

8 คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๗๒/๒๕๒๘ พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๑๐๒ บัญญัติยกเว้นเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๔๑, ๓๔๒ เท่านั้นว่า หนี้ซึ่งหักกลบลบกันไม่ได้ตาม มาตรา ๓๔๑, ๓๔๒ นั้นย่อม หักกลบลบกันได้ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ไม่รวมถึง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๑๙ ซึ่งบัญญัติห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ถือหุ้นหักหนี้กับบริษัท ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) จึงจะขอหักหนี้ค่าพิมพ์หนังสือที่บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) เป็นหนี้อยู่กับหนี้ค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๑๐๒ หาได้ไม่

9 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๓๑๘/๒๕๔๕
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๓๑๘/๒๕๔๕ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๐/๔๒ วรรคท้าย มิให้นำมาตรา ๑๑๑๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับแก่การทำแผนฟื้นฟูกิจการตามมาตรานี้โดยมาตรา ๑๑๑๙ วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่" ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวห้ามหักหนี้กับค่าหุ้นของบริษัทจึงไม่สามารถแปลงหนี้เป็นทุนได้ ดังนั้น เมื่อในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการมีบทบัญญัติยกเว้นบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนนี้ ผู้ทำแผนจึงสามารถทำแผนเพิ่มทุนโดยการแปลงหนี้มาเป็นทุน ซึ่งทำให้ทุนจดทะเบียนของลูกหนี้เพิ่มมากขึ้นโดยเจ้าหนี้ที่แปลงหนี้เป็นทุนจะเป็นผู้ถือหุ้นที่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนหนี้ของตน สถานะของเจ้าหนี้ย่อมเปลี่ยนจากเจ้าหนี้มาเป็นผู้ร่วมลงทุนกับผู้ถือหุ้นเดิม การที่ผู้ทำแผนจัดทำแผนกำหนดวิธีการชำระหนี้โดยการแปลงหนี้เป็นทุน จึงเป็นวิธีการที่สามารถกระทำได้

10 การออกหุ้น ห้ามออกหุ้นโดยราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ตั้งไว้ (มาตรา ๑๑๐๕ วรรคแรก) การออกหุ้นเพื่อทดแทนแรงงานหรือทรัพย์สิน ถ้ากำหนดค่าของแรงงานหรือทรัพย์สินให้สูงกว่าความเป็นจริง ก็มีผลเหมือนกับการออกหุ้นต่ำกว่ามูลค่า เช่นกัน มีความผิดตาม พ.ร.บ. กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๔๘

11 2. การออกหุ้นมูลค่าที่สูงกว่าที่จดทะเบียน
มาตรา ๑๑๐๕ วรรคสอง “ การออกหุ้นโดยราคาสูงกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้นั้น หากว่าหนังสือบริคณห์สนธิให้อำนาจไว้ ก็ให้ออกได้ และในกรณีเช่นนั้นต้องส่งใช้จำนวนที่ล้ำมูลค่าพร้อมกันไปกับการใช้เงินคราวแรก”

12 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๐๗/๒๔๙๑
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๐๗/๒๔๙๑ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๐๕ นั้นใช้บังคับตลอดถึงการออกหุ้นโดยเพิ่มทุนของบริษัทด้วย ไม่ใช่ใช้สำหรับในการตั้งบริษัทใหม่เท่านั้น ฉะนั้นการที่บริษัทจะออกหุ้นในการเพิ่มทุนให้มีราคาสูง กว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้จะต้องอาศัยหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทได้ให้อำนาจไว้ จึงจะเป็นการถูกต้องตามข้อบัญญัติของมาตรา ๑๑๐๕ วรรคสอง ที่ประชุมใหญ่ของบริษัทลงมติพิเศษให้ออกหุ้นที่เพิ่มขึ้นโดยเรียกเงินให้เปล่าหรือพรีเมียมอีกส่วนหนึ่งหุ้นละ ๕๐ บาทรวมกับมูลค่าของหุ้น ๑๐๐ บาท เป็น ๑๕๐บาทนั้นเรียกว่าเป็นการออกหุ้นราคาสูงกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้ เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา ๑๑๐๕ วรรค ๒ และเป็นมติอันผิดระเบียบซึ่งจะถูกศาลเพิกถอนได้ตามมาตรา ๑๑๙๕           

13 มติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทอันจะถือได้ว่าเป็นการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทได้นั้น จะต้องปฏิบัติตามวิธีที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑๙๔ ให้ครบถ้วน            ที่ประชุมใหญ่ของบริษัทลงมติให้เพิ่มทุนและอนุญาตให้ออกหุ้นราคาสูงกว่ามูลค่าได้อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๑๐๕ วรรค ๒ ผู้ถือหุ้นได้คัดค้านว่าไม่ควรขายหุ้นราคาสูงกว่ามูลค่าในใบหุ้น แต่ต่อมาผู้ถือหุ้นคนนั้น ได้ตอบรับซื้อหุ้นที่ออกใหม่ตามมติของที่ประชุมในคราวนั้น ไม่เป็นเหตุตัดสิทธิผู้ถือหุ้นในการที่จะนำคดีมาฟ้องศาลขอให้เพิกถอนมติอันผิดระเบียบนั้นตามมาตรา ๑๑๙๕ ข้อที่จำเลยกล่าวว่ามติพิเศษในที่ประชุมใหญ่เป็นการแก้ไขหนังสือบริคนห์สนธิของบริษัทไปในตัวนั้น ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะการเรียกประชุมใหญ่คราวนั้นเป็นเรื่องประชุมเพื่อลงมติในเรื่องเพิ่มทุน ไม่ใช่เรื่องแก้ไขหนังสือบริคนห์สนธิ

14 การเรียกเงินค่าหุ้น มาตรา ๑๑๐๖ การที่เข้าชื่อซื้อหุ้นนั้นย่อมผูกพันผู้เข้าชื่อโดยเงื่อนไขว่า ถ้าบริษัทตั้งขึ้นแล้วจะใช้จำนวนเงินค่าหุ้นนั้น ๆ ให้แก่บริษัทตามหนังสือชี้ชวนและข้อบังคับของบริษัท

15 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๙๗/๒๕๑๑ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๐๖ การที่ผู้ร้องเข้าชื่อซื้อหุ้นบริษัทผู้ล้มละลาย ย่อมต้องถูกผูกพันอยู่ในอันที่จะต้องชำระเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทโดยมีเงื่อนไขว่าถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้น ฉะนั้นระหว่างที่เงื่อนไขอันนี้ซึ่งเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนยังไม่สำเร็จผู้ร้องซึ่งได้เข้าชื่อซื้อหุ้นไว้แล้วจะต้องถูกผูกพันอยู่ตลอดไป ผู้ร้องจะถอนการเข้าชื่อซื้อหุ้นหาได้ไม่

16 และการที่ผู้ร้องถอนหุ้นภายหลังที่บริษัทจำเลยจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว แม้ก่อนประกาศการจดทะเบียนในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงไปอย่างใด ฉะนั้น เมื่อบริษัทจำเลยตั้งขึ้นแล้ว ผู้ร้องย่อมมีความผูกพันที่จะใช้เงินค่าหุ้นที่ได้เข้าชื่อซื้อไว้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นได้

17 2. หากผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นไม่ชำระค่าหุ้นจนบริษัทริบหุ้นออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอชำระค่าหุ้น ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นยังต้องรับผิดในส่วนที่ขาดอยู่

18 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๘๓๗/๒๕๓๗
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๒๕ เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการขายทอดตลาดหุ้นที่ริบแล้วได้เงินมากกว่ามูลค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นต้องรับผิด ก็ให้เอาหักใช้ค่าหุ้นที่เรียกกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ถ้ายังมีเงินเหลือเท่าใด ต้องส่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น ส่วนกรณีที่ขายได้เงินน้อยกว่ามูลค่าหุ้นที่ผู้จองซื้อเป็นหนี้ค่าหุ้นบริษัทเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

19 มาตรา ๑๑๐๖ ที่บัญญัติว่า การเข้าชื่อซื้อหุ้นนั้นย่อมผูกพันผู้เข้าชื่อโดยถ้าบริษัทตั้งขึ้นแล้วจะใช้จำนวนเงินค่าหุ้นนั้น ๆ ให้แก่บริษัท

20 ดังนี้ เมื่อจำเลยจองซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์และต้องชำระเงินเต็มมูลค่าหุ้นแก่บริษัทโจทก์ แต่ไม่ชำระย่อมเป็นหนี้บริษัทโจทก์ซึ่งมีผลให้บริษัทโจทก์เรียกให้จำเลยชำระได้ดังหนี้ทั่วไป การที่บริษัทโจทก์ขายทอดตลาดหุ้นที่จำเลยจองซื้อได้เงินเท่าใดก็นำมาหักชำระหนี้ที่จำเลยค้างชำระเงินมูลค่าหุ้นได้ เมื่อยังขาดอยู่เท่าใดจำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ส่วนที่ขาดอยู่แก่โจทก์

21 3. ผู้ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในสมุดทะเบียนรายนามผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้น มีหน้าที่ต้องชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระจนครบถ้วน แม้จะปรากฏว่าบริษัทได้ยึดใบหุ้นนั้นไว้เป็นประกันเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระและได้บอกขายแก่ผู้อื่นแล้วแต่ขายไม่ได้ก็ดี (ฎ. ๓๕๑/๒๔๗๔)

22 4. ผู้ที่เข้าชื่อซื้อหุ้นที่บริษัทออกในตอนหลัง หรือผู้ที่รับโอนหุ้นที่ยังชำระราคาไม่ครบ ก็มีความผูกพันที่ต้องชำระค่าหุ้นจนเต็มค่าเช่นกัน (มาตรา ๑๑๑๙) 5. การชำระค่าหุ้นจะต้องชำระด้วยเงิน จะชำระด้วยสิ่งอื่นไม่ได้ เว้นแต่เป็นการชำระค่าหุ้นตอนจัดตั้งบริษัท ซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทได้กำหนดขึ้นตามมาตรา ๑๑๐๘(๕) หรือกรณีออกหุ้นใหม่ ซึ่งที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้ทำได้ตามมาตรา ๑๒๒๑

23 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๕๙/๒๕๔๔
การส่งใช้เงินค่าหุ้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๑๑๙ และ ๑๒๒๑ กำหนดให้ต้องส่งใช้เป็นเงินเท่านั้น โดยกรรมการของบริษัทจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าหุ้นตามวิธีการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยได้มีจดหมายส่งลงทะเบียนบอกกล่าวเรียกเก็บเงินค่าหุ้นไปยังผู้ร้อง หรือผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆ แต่อย่างใด ที่ผู้ร้องอ้างว่า เมื่อจำเลยเรียกเก็บเงินค่าหุ้นจึงได้มีการตกลงกันภายในระหว่างสองบริษัทว่า

24 "หนี้ค่าหุ้นที่ทวงถามไปนั้น บริษัทจำเลยขอให้บริษัทผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่เหลือเป็นวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างแทนการชำระเป็นเงิน" ข้อตกลงดังกล่าวหากมีจริงก็ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมตั้งบริษัทข้อตกลงที่ผู้ร้องอ้างจึงไม่มีผลผูกพันจำเลย

25 นอกจากนี้ในส่วนงบดุลและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของจำเลยกฎหมายก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้นั้นทุกประการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๐๒๔ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว หาใช่ว่าผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าผู้ร้องค้างชำระค่าหุ้นดังที่ผู้ร้องฎีกาไม่ พยานหลักฐานของผู้ร้องจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระให้แก่จำเลยแล้ว

26 6. ก่อนจดทะเบียนเป็นบริษัท กรรมการต้องเรียกค่าหุ้นคราวแรกอย่างน้อย ๒๕% (มาตรา ๑๑๐๕ วรรคสาม มาตรา ๑๑๑๐ วรรคสอง และมาตรา ๑๑๑๑) ถ้าหุ้นนั้นออกขายสูงกว่ามูลค่าหุ้น จำนวนเงินที่ล้ำมูลค่าก็ต้องส่งพร้อมกับการใช้เงินคราวแรกด้วย (มาตรา ๑๑๐๕ วรรคสอง) เงินค่าหุ้นที่เหลือกรรมการจะเรียกเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น (มาตรา ๑๑๒๐)

27 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๔๕๐/๒๕๓๘
การจะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๑๒๐, ๑๑๒๑ นั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใดเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่หาต้องเรียกภายใน ๑๐ ปีนับแต่วันจดทะเบียนบริษัทไม่

28 7. การดำเนินงานของกรรมการอยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่ ดังนั้นที่ประชุมจึงอาจให้งดการเรียกเงินค่าหุ้นเพิ่มเติมของกรรมการก็ได้ (มาตรา ๑๑๔๔ และ ๑๑๒๐) 8. การเรียกให้ชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มเติมนั้น กรรมการต้องบอกล่าวไปยังผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่ต่ำกว่ายี่สิบเอ็ดวันด้วยจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ (มาตรา ๑๑๒๑) หรือส่งหนังสือบอกกล่าวแก่ตัวผู้ถือหุ้นเอง (มาตรา ๑๒๔๔) โดยระบุจำนวนเงิน ตัวบุคคล สถานที่ และกำหนดเวลาที่ผู้ถือหุ้นทุกคนจะต้องชำระเงินค่าหุ้นให้เสร็จและต้องเรียกเก็บจากผู้ถือหุ้นทุกคนในอัตราที่เท่าเทียมกัน จะเรียกให้ชำระเพียงบางหุ้นหรือบางคนไม่ได้

29 การผิดนัดไม่ชำระค่าหุ้นตามที่กรรมการบอกกล่าว
ต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่กำหนดให้ส่งเงินจนถึงวันที่ส่งเสร็จ (มาตรา ๑๑๒๒) อาจถูกริบหุ้นได้ตามมาตรา ๑๑๒๓, ๑๑๒๔ บริษัทอาจไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นตามมาตรา ๑๑๓๐

30 คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๗๓/๒๕๓๒ การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด ก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ หาใช่ว่าจะต้องเรียกภายในกำหนด ๑๐ ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้งกรรมการบริษัทไม่ แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๖๕ ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีก จึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น

31 และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒๒ และ ๑๑๙ เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้

32 คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๐๓/๒๕๔๑ กรรมการบริษัทจำเลยไม่เคยส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น บริษัทจำเลยจึงยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระ อายุความย่อมไม่เริ่มนับสิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านในอันที่จะเรียกให้ผู้ร้องชำระจึงไม่ขาดอายุความ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดผู้คัดค้านจึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๑๑๙ เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้

33 ข้อสังเกต มาตรา ๑๑๒๕ กล่าวถึงกรณีเฉพาะกรณีที่ขายได้เงินเกินจำนวนค่าหุ้นและดอกเบี้ยค้างชำระ ซึ่งบริษัทต้องคืนส่วนที่เหลือให้เจ้าของหุ้นเดิม ไม่ได้กล่าวถึงกรณีที่ขายหุ้นได้ราคาไม่พอชำระค่าหุ้นและดอกเบี้ย ปัญหาจึงมีว่า กรณีเช่นนี้บริษัทจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นคนเดิมชำระเงินส่วนที่ขาดอยู่ได้หรือไม่ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๑/๒๔๗๔ บริษัทโจทก์ริบหุ้นที่จำเลยเป็นผู้ถือยู่แล้วขายไม่ได้ จำเลยยังเป็นเจ้าของและเป็นผู้รับผิดในเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระอยู่ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกเงินค่าหุ้นค้างชำระได้)

34 การริบหุ้นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๑๒๐ ถึง ๑๑๒๕ ให้บริบูรณ์เสียก่อน (ฎ. ๒๓/๒๕๐๘) แต่กฎหมายไม่ชัดเจนว่าเมื่อริบหุ้นแล้วหุ้นจะเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร

35 แม้การริบหุ้นขายหุ้นจะทำผิดระเบียบ ก็ไม่ทำให้สิทธิของผู้ซื้อหุ้นซึ่งริบนั้นเสื่อมเสียไป (มาตรา ๑๑๒๖)
การผิดระเบียบตามที่กล่าวไว้ในมาตรา ๑๑๒๖ ต้องเกี่ยวกับเรื่องการริบหุ้นและการขายหุ้นเท่านั้น เช่น การริบหุ้นมิได้มีการบอกกล่าวโดยชอบตามมาตรา ๑๑๒๑ ถึง ๑๑๒๔ หรือการขายทอดตลาดนั้นทำไม่ถูกต้องตามมาตรา ๕๐๙ ถึง ๕๑๗ เป็นต้น ไม่ได้หมายความถึงการเอาหุ้นของคนอื่นซึ่งไม่ได้ถูกริบมาขาย กรณีดังกล่าวผู้ซื้อจะได้สิทธิในหุ้นหรือไม่ ต้องบังคับตามมาตรา ๑๓๓๐, ๑๓๓๒


ดาวน์โหลด ppt หุ้น หุ้นคืออะไร ในมุมมองของผู้ถือหุ้น: หุ้นแสดงถึงส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ในบริษัท ซึ่งอาจได้แก่ สิทธิต่าง ๆ ของผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ในบริษัท เช่น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google