งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวความคิดและทฤษฎีการกระจายอำนาจ อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวความคิดและทฤษฎีการกระจายอำนาจ อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวความคิดและทฤษฎีการกระจายอำนาจ อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่น
บทที่ 3 แนวความคิดและทฤษฎีการกระจายอำนาจ อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่น

2 แนวคิดการกระจายอำนาจ (Decentralization)
การป้องกันรักษาความมั่นคงของประเทศจากภัยคุกคาม ภายนอกและในแง่ของการบริหารจัดการงานรัฐเป็น อำนาจหน้าที่ขั้นพื้นฐานของรัฐสมัยใหม่ หลักการและความหมายของการกระจายอำนาจ ลักษณะสำคัญพื้นฐานของการกระจายอำนาจ ประเภทของการกระจายอำนาจ

3 การกระจายอำนาจโดยจำเป็นหรือโดยปริยาย (Decentralization be default) เกิดจากสภาวะการณ์ที่ หน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐในสังกัดของส่วนกลางเกิดล้มเหลวในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในระดับ พื้นที่ การแปรรูปกิจการของภาครัฐ(Privatization) เป็นอีกประเภทหนึ่งของการกระจายอำนาจผ่าน กระบวนการโยกโอนกิจการอย่างที่เคยจัดทำโดยหน่วยงานของรัฐไปให้เอกชนเป็นผู้จัดทำแทน การกระจายอำนาจภายใต้แนวความคิดเรื่องการแบ่งอำนาจทางการบริหาร (Deconcantraltion/Administrative decentralization) เป็นการแบ่งอำนาจของรัฐบาลกลางไปยัง องค์กรในระดับรองในสังกัด ซึ่งตั้งทำการในพื้นที่นอกศูนย์กลางหรือท้องถิ่น กากระจายอำนาจทางการคลัง(Fiscal decenlization)เป็นอีกหนึ่งลักษณะของการกระจายอำนาจโดย หน่วยงานในระดับบนหรือในส่วนกลางพยายามลดระดับการใช้อำนาจควบคุมจัดการงบประมาณและ การตัดสินใจทางการคลัง การกระจายอำนาจภายใต้หลักการมอบอำนาจ(Delegation)จะมีระดับของการกระจายอำนาจที่ให้ อิสระสูงกว่าการแบ่งอำนาจ การกระจายอำนาจภายใต้หลักการโอนอำนาจ(Devolution)ทั้งนี้เพราะเป็นการกระจายอำนาจใน ลักษณะที่รัฐส่วนกลางถ่ายโอนหรือยกอำนาจการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ

4 ผลดีของการกระจายอำนาจ ภายในรัฐสมัยใหม่การรวมศูนย์อำนาจย่อมมีขีดจำกัด ของในตัวเองเสมอเนื่องจากการบริหารปกครองประเทศที่ประกอบไปด้วย ประชากรจำนวนมากและพื้นที่ขนาดใหญ่โดยรัฐบาลที่ศูนย์กลางแต่เพียงสถาบัน ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก และความล่าช้าอันเนื่องมาจากข้อจำกัดในเชิง โครงสร้างขององค์กรแบบระบบราชการที่ใหญ่เทอะทะ หรือเกิดสภาพของความ ไม่ประหยัดในเชิงขนาด (Diseconomies of scale) ผลเสียของการกระจายอำนาจ กว่าหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาโดยเฉพาะในประเทศ ไทย การกระจายอำนาจมักจะถูกกล่าวถึงอยู่เสมอว่าเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งที่ดีที่ จะต้องมี และเร่งรัดให้เกิดขึ้นภายในระบบการเมืองการปกครองของประเทศ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากข้อถกเถียงในเชิงวิชาการ และจากประสบการณ์ที่เกิด จริง การกระจายอำนาจก็มีจุดอ่อนหรือข้อเสียเช่นเดียวกัน จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ ถึงด้านลบของการกระจายอำนาจด้วย

5 การกระจายอำนาจกับการปกครองท้องถิ่น
การกระจายอำนาจเป็นทิศทางหนึ่งของการปรับรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับหน่วยงานบริหารนะดับย่อยของรัฐ (Subnational units of government) จากเดิมที่มุ่งเน้นการจัดโครงสร้างสถาบันการปกครองและการบริหารบนฐานของการรวมศูนย์อำนาจที่กลไกรัฐส่วนกลาง (Centralization) มาเป็นการกระจายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบและทรัพยากรทางการบริหารสู่หน่วยงานที่เป็นกลไกการบริหารนอกศูนย์กลาง ทั้งในระดับภูมิภาคและท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เป็นการกระจายสิ่งต่อไปนี้จากส่วนกลางให้กับท้องถิ่น -หน้าที่ เป็นการกระจายหน้าที่ ที่เป็นประโยนช์โดยตรงกับท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นรับผิดชอบดำเนินการเอง -อำนาจการตัดสินใจ เป็นการกระจายอำนาจการตัดสินใจดำเนินการตามหน้าที่ที่ส่วนกลางกระจายไปให้ท้องถิ่นดำเนินการ -ทรัพยากรการบริหาร เป็นการกระจายบุคลากร งบประมาณ เทคโนโลยี ที่เหมาะสมให้กับท้องถิ่น -ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นการกระจายความรับผิดชอบต่อภารกิจ หน้าที่ ที่รัฐกับผู้บริหารท้องถิ่น และประชาชนร่วมกันรับผิดชอบ -ความพร้อม เป็นการกระจายความพร้อมที่มีอยู่ในส่วนกลางให้กับท้องถิ่น เพื่อสร้างขีดความสามารถให้แก่ท้องถิ่น เป็นการทำให้ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ -เพื่อให้บริการต่างๆ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีการถ่ายโอนภารกิจ เป็นเครื่องมือหนึ่งในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวรูปแบบการกระจายอำนาจ การจัดบริการสาธารณะจึงไม่ควรจำกัดอยู่ที่การโอนภารกิจแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรให้ความสำคัญกับรูปแบบที่สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ทั้งสองประการเป็นหลัก

6 บทสรุป การรวมศูนย์อำนาจ (Centralization) เป็นสภาวะที่จะต้องมีอยู่เสมอภายในระบบการเมือง ของสังควหนึ่งๆ เนื่องจากอำนาจในทางการเมืองการปกครองจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการรวม ศูนย์อำนาจไว้ที่องค์กรหรือกลุ่มองค์กร เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุดภายในระบบการเมือง นั้นๆ ทั้งนี้ก็เพื่อดำรงไว้ซึ่งความมีเอกภาพภายในหรือสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทาง การเมือง การกระจายอำนาจในความหมายกว้างๆ คือ การจัดสรร/แบ่งปันอำนาจการตัดสินใจ อัน เกี่ยวข้องกับกิจกรรมสาธารณะ (public affairs) ของรัฐส่วนกลางไปยังหน่วยงานหรือองค์กร อื่นๆ ดังนั้นการกระจายอำนาจจึงไม่ควรจำกัดเพียงการโอนอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น หากแต่ยังสามารถปรากฎในรูปแบบอื่นๆได้ เช่น การแปรรูปกิจการของรัฐไปสู่ ภาคเอกชน การมอบอำนาจในการจัดทำภารกิจของรัฐแก่หน่วยงายในรูปแบบองค์การมหาชน หรือการจัดแบ่งอำนาจไปสู่ระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นต้น

7 พัฒนาการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ช่วง พ. ศ
พัฒนาการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ช่วง พ.ศ การเปลี่ยนแปลงการ ปกครองเมื่อปี พ.ศ.2476 มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร์นั้นในปี พ.ศ.2476 ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ กำหนดให้จังหวัดเป็นจังหวัดเป็นหน่วยงานบริหารส่วนภูมิภาค โดยอำนาจการ บริหารงานในจังหวัดอยู่ภายใต้การดำเนินงานของกรมการจังหวัด ซึ่งมีข้าหลวงประจำ จังหวัดเป็นประธาน ในส่วนของการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น คณะราษฎรได้ มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476”เพื่อจะให้มีการจัดการ ปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาลขึ้นทั่วประเทศ พัฒนาการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ช่วง พ.ศ ความพยายามในการ จัดการปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัดเริ่มขึ้นในปี พ.ศ สมัยจอมพล ป. พิบูล สงคราม โดยมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498กำหนดให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลและแยกจากจังหวัดซึ่งเป็นการบริหาร ราชการส่วนภูมิภาค

8 องค์การบริหารส่วนจังหวัดในยุคปัจจุบัน มีสาเหตุมาจากการยกระดับฐานะของสภาตำบลให้เป็น องค์การบริหารส่วนตำบล ตามที่ถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ.2537 องค์การบริหารส่วนจังหวัด(ฝ่ายนิติบัญญัติ) ในจังหวัดหนึ่งให้มีสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอัน ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งประชาชนเลือกตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด สำหรับจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ถือเกณฑ์ตามจำนวนประชาชนแต่ละจังหวัด ตามหลักฐานทะเบียนประชาชนที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(ฝ่ายบริหาร) มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมของประชาชนในเขต องค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ในปัจจุบันได้มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัดใน ปีพ.ศ.2546โดยกำหนดให้นายกอบจ.มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระในการดำรง ตำแหน่งคราวละ 4 ปี กฎหมายได้กำหนด การบริหารงานบุคคล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทซึ่งรวมอบจ.ได้มีการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ มาตรา 288 ที่บัญญัติว่า “การแต่งตั้งและการให้ พนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งต้องเป็นไปตามความต้องการ ความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น”

9 การปกครองส่วนท้องถิ่น
การปกครองท้องถิ่นของประเทศไทยในปัจจุบัน ดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งได้กำหนดการจัดระเบียบบริหารราชการส่วน ท้องถิ่น ในท้องถิ่นที่เห็นสมควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง อันเป็นการ ดำเนินการจัดระเบียบบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ และได้กำหนดให้จัด ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ดังนี้ -องค์การบริหารส่วนจังหวัด -เทศบาล -สุขาภิบาล -ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่กฎหมายกำหนด ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จะมีรูปแบบการ

10 องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ
องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) เป็นองค์กรปกครอง่วนท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยมีจังหวัดละ 1 แหล่ง ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีเขตพื้นที่ ครอบคุมทั้งจังหวัดจัดต้ังขึ้นเพื่อบริการสาธารณะประโยชน์ในจังหวัดตลอดทั้งช่วยเหลือพัฒนางานของเทศบาล อบต. รวมทั้งการบริหารแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อไม่ให้งานซับซ้อน องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดมีจำนวน ราษฎรไม่น้อยกว่า2,000คน โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อดูแลทุกข์สุขให้บริการประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเขต อบต.แทนรัฐบาลกลาง มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทางด้าน เศรฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและหน้าที่อื่นๆตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งมีงบประมาณและพนังงานเจ้าหน้าที่ของ เขต อบต. เทศบาล เป็นราชการบริหารส่วนกลาง กระจายอำนาจไปให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอิสระที่จะดำเนินการปกครอง ตนเองภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด เป็นการปูพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตรระบบรัฐสภาและ เป็นการจำลองรูปแบบการปกครองประเทศมาใช้มาในท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ หรือ เขตปกครองพิเศษ คือ การปกครองรูปแบบหนึ่งในประเทศไทย ที่ปกครองแบบพิเศษจะประกอบด้วย สภา ผู้ว่าราชการ หรือนายก ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยจะมีอยู่สองเขตการ ปกครองที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา


ดาวน์โหลด ppt แนวความคิดและทฤษฎีการกระจายอำนาจ อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google