งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 2 ทัศนคติ ความเชื่อ และการโน้มน้าวใจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 2 ทัศนคติ ความเชื่อ และการโน้มน้าวใจ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 2 ทัศนคติ ความเชื่อ และการโน้มน้าวใจ
บทที่ 2 ทัศนคติ ความเชื่อ และการโน้มน้าวใจ ทัศนคติ (Attitude) หมายถึง แนวโน้มของคน ๆ หนึ่งที่มีต่อสิ่งเร้าหรือเรื่องบางเรื่องรวมถึงความรู้สึก (feeling) อคติ (bias) ความกลัว (fear) ความคิด (thought) และความรู้สึกอื่น ๆ ที่มีต่อเรื่องต่าง ๆ ความเชื่อ ( Belief) เป็นความสัมพันธ์ที่เรามองระหว่างเหตุการณ์ สิ่งของ ผู้คน หรือลักษณะใด ๆ ที่มีต่อเรื่องต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์

2 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการโน้มน้าวใจ
การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกและจิตสำนึก เป็นขั้นพื้นฐานให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในภายหน้าเมื่อมีการรับสารโน้มน้าวใจต่อ ๆ ไป การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ความรู้สึก แสดงออกได้โดยการหัวเราะ ร้องไห้ ขนลุก ตัวสะท้าน เหงื่อออก ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สามารถสังเกตเห็นได้ การเปลี่ยนแปลงขั้นนี้เป็นไปได้ค่อนข้างยาก เช่น เราอาจจะโน้มน้าวใจให้คนเห็นด้วยว่าการสูบบุหรี่เป็นเรื่องไม่ดี แต่คนที่สูบบุหรี่ก็อาจจะรู้ถึงโทษ แต่ไม่เลิกสูบ อาจกล่าวได้ว่า สารเพื่อโน้มน้าวใจจะต้องปฏิกิริยากับทัศนคติ และความเชื่อเสียก่อน และ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการรู้และสำนึกอารมณ์ความรู้สึก และพฤติกรรม

3 กระบวนการพื้นฐานในการเกิดและพัฒนาความเชื่อ
ความเชื่อหลัก (central or primitive belief) เป็นความเชื่อที่รับรู้โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ความเชื่อนี้เปลี่ยนแปลงได้ยาก เป็นความเชื่อที่ทุกคนสร้างสมมาตั้งแต่เด็ก ความเชื่อในผู้ทรงคุณวุฒิ (beliefs about authority) เด็ก ๆ เรียนรู้ว่า เขาสามารถวางใจผู้ใหญ่บางคนได้ เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ เราทราบดีว่าพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นที่เชื่อถือ ในขณะที่คำพูดของนักการเมืองบางคนไม่น่าเชื่อถือ ความเชื่อนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา และความเชื่อนี้ช่วยควบคุมพฤติกรรมของเราว่าจะฟังใครและเรานับถือใคร ความเชื่อผิวเผิน (peripheral beliefs) เช่น ผู้ชายชอบผู้หญิงผมยาว สถานีโทรทัศน์ช่อง 14 เสนอข่าวได้น่าสนใจมากที่สุด ความเชื่อเช่นนี้เป็นเรื่องของรสนิยม และเปลี่ยนแปลงได้ค่อนข้างง่าย

4 รอย แบล็กวู้ด จำแนกความเชื่อออกเป็น 4 ลักษณะ
รอย แบล็กวู้ด จำแนกความเชื่อออกเป็น 4 ลักษณะ ความเชื่อดึกดำบรรพ์ (primitive belief) เช่นเดียวกับความเชื่อหลัก เช่น ดวงอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าทางทิศตะวันออก ความเชื่อที่เกิดจากการเรียนรู้ (learned belief) เป็นความเชื่อที่เกิดจากประสบการณ์โดยตรงและโดยอ้อม ความเชื่อประเภทนี้ไม่ยึดถือหนักแน่นเท่ากับประเภทแรก และสามารถเปลี่ยนได้ถ้าประสบการณ์ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ขึ้น ความเชื่อจากการสรุป (derived belief) เป็นความเชื่อที่ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้โดยตรง แต่สรุปเอาจากความเชื่ออื่นที่เคยมี ความเชื่อที่ไม่สำคัญ (inconsequential belief) ความเชื่อชนิดนี้เปลี่ยนแปลงได้ง่ายที่สุด

5 สรุปแล้วนักวิชาการเห็นว่า ทัศนคติเกิดจากการเรียนรู้ คือมิได้ติด
ตัวมาแต่กำเนิด แหล่งสำคัญที่ทำให้เกิดทัศนคติ คือ สิ่งที่เป็นแบบอย่าง (Models) ประสบการณ์เฉพาะอย่าง (Specific Experience) ความเกี่ยวข้องกับสถาบัน (Institutional Factors) การติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น (Communication from others)

6 รอย แบล็ควู้ด (Roy Blackwood) ได้อธิบายสรุปถึงแหล่งที่มาของทัศนคติว่าประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญ ๆ คือ
ประสบการณ์ ซึ่งถือว่าทำให้เราได้ข้อมูลด้วยตนเอง First Hand ซึ่งจะก่อตัวเป็นทัศนคติ การเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นแหล่งข้อมูลเช่นกัน แต่ยังไม่ใช่เป็นการประสบด้วยตนเอง Second Hand ความเชื่อ ค่านิยม คือ หลักการของความประพฤติที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคมหนึ่ง ๆ หลักการนี้มาจากวิชาชีพและจริยธรรมของสังคมนั้น ๆ ปทัสถาน คือ มาตรฐานซึ่งสังคมหนึ่ง ๆ ใช้เป็นแบบแผนในการปฏิบัติตน


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 2 ทัศนคติ ความเชื่อ และการโน้มน้าวใจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google