งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิชา วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

2 ความหมายสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
หมายถึง วัสดุอุปกรณ์และวิธีการในการจัดประสบการณ์หรือสิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และที่สำคัญทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรม ช่วยให้เด็กจดจำได้ดีเรียนรู้ง่ายได้รวดเร็ว และสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทุกรูปแบบ

3 ความสำคัญของสื่อ ความสำคัญของสื่อในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจะช่วยให้การสอนของครูมีประสิทธิภาพ เกิดความสำเร็จตรงตามจุดประสงค์ของเนื้อหา เด็กเกิดความรู้และความเข้าใจ มีความสนใจ เร้าใจให้เด็กตั้งใจเรียนอยากรู้อยากเห็นเรียนอย่างกระตือรือร้น โดยให้ประสาทสัมผัสต่างๆช่วยให้เกิดความเข้าใจเร็วขึ้น เด็กได้มองเห็นรูปร่างลักษณะของสิ่งต่างๆ ตรงกับความเป็นจริงหรือใกล้เคียงความจริง เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น ทำการทดลอง การศึกษานอกสถานที่ เป็นการฝึกทักษะด้านต่างๆที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดได้เร็วขึ้น

4 ประเภทของสื่ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การแบ่งประเภทของสื่ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ มีความจำเป็นและสำคัญต่อการเรียนการสอนที่ให้ความสะดวกในการพิจารณาเพื่อเลือกใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจกรรม

5 ประเภทของสื่ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สื่อที่ให้ประสบการณ์ตรง เป็นสื่อที่ให้เด็กมีโอกาสได้รับรู้ กระทำ ทดลอง และสังเกตจากสถานการณ์จริงเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เช่น การไปศึกษานอกสถานที่ การพบวิทยากรผู้มีความชำนาญเฉพาะด้าน การให้แหล่งสื่อในชุมชน การทำการทดลอง การสาธิต เป็นต้น สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง วัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เช่น หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นภาพโฆษณา เป็นต้น

6 ประเภทของสื่ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โสตทัศนูปกรณ์ เป็นสื่อที่เด็กมีการรับรู้สิ่งต่างๆ จากการใช้ตาดูและหูฟังเป็นส่วนใหญ เป็นสื่อทั้งประเภทที่ก่อให้เกิดการกระทำ เกิดภาพ และสัญลักษณ์ หรือเป็นสื่อ ทั้งประเภทวัสดุและอุปกรณ์ ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะของสื่อดังนี้ 3.1 ของจริง เป็นสื่อการสอนที่ช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง ครูและเด็กควรช่วยกันเก็บรวบรวมวัสดุของจริง แยกประเภทเป็นหมวดหมู่ เพื่อนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน เช่น ก้อนหิน แร่ธาตุ เปลือกหอยชนิดต่างๆ ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง เป็นต้น 3.2 สื่อประเภทไม่ต้องฉาย ประกอบด้วย สิ่งพิมพ์ แผ่นป้ายต่างๆ วัสดุ กราฟิก เช่น แผนภูมิแบบตาราง แผนภูมิอธิบาย แผนภูมิต้นไม้ กราฟรูปภาพ แผนภาพ เป็นต้น

7 ประเภทของสื่ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กแต่ละครั้ง ครูควรเลือกประเภทของสื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่เด็กจะได้รับทั้งในส่วนที่เป็นสาระที่เด็กควรรู้ และประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม โดยเฉพาะทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

8 ลักษณะของสื่อที่ดี มีความปลอดภัย ทางด้านวัสดุที่ไม่มีพิษภัยต่อเด็ก ไม่ทำด้วยแก้ว ไม่เป็นวัตถุไวไฟ ไม่มีโลหะปลายแหลมเป็นส่วนประกอบ ผิวของวัตถุปราศจากคม เหลี่ยมหรือเสี้ยน ขนาดต้องไม่ใหญ่หรือมีน้ำหนักมาก และไม่เล็กเกินไป จนเด็กอาจกลืนหรือใส่รูจมูก รูหูได้ มีความทนทาน มีประโยชน์ ต้องใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายต่อครูและเด็ก และใช้ได้หลายกิจกรรมคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้เรียนรู้ เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก กระตุ้นพัฒนาการการรับรู้ การสังเกต การวัด การจำแนก การเปรียบเทียบ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เร้าความสนใจ พัฒนาประสาทตาและมือให้สัมพันธ์กัน พัฒนาความคิดและจินตนาการ

9 ลักษณะของสื่อที่ดี ประหยัด สื่ออาจทำขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ หรือวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น มีประสิทธิภาพ สามารถใช้ได้หลายอย่าง ดัดแปลงได้ในหลายกิจกรรมเด็กได้ประสบการณ์ตรงเรียนรู้จากสื่อได้ด้วยตนเองแนวทางการเลือกใช้สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

10 ควรเลือกใช้สื่อให้ตรงตาม วัตถุประสงค์ และแนวคิด เนื้อหา และกิจกรรม
การเลือกใช้สื่อที่ตรงตามวัตถุประสงค์แนวคิด เนื้อหา และกิจกรรม ผู้นำสื่อมาใช้กับเด็กจะต้องเลือกสื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์โดยสอดคล้องกับแนวคิดเนื้อหาและกิจกรรมแต่ละขั้นตอน ทั้งขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง ขั้นสรุป ขั้นประเมินผล ครูจะต้องใช้สื่อทุกชนิดให้เป็นก่อนที่จะให้เด็กใช้ เพื่อเข้าใจวิธีใช้และปัญหาที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งสามารถแนะนำเด็กให้ใช้ได้ถูกต้อง การใช้สื่อให้ตรงกับความสามารถและวัยของเด็ก ครูใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบการสอนในเนื้อหาสาระนั้นๆ ควรให้เด็กได้ประสบการณ์ตรงด้วยการหยิบจับด้วยตนเอง และให้ตรงกับความสามารถและวัยของเด็ก

11 ควรเลือกใช้สื่อให้ตรงตาม วัตถุประสงค์ และแนวคิด เนื้อหา และกิจกรรม
เตรียมสื่อให้พร้อมและให้พอเพียงกับจำนวนเด็ก แนะนำวิธีใช้และข้อควรระวังในการใช้สื่อ ครูควรแนะนำวิธีใช้และข้อควรระวังให้เด็กเข้าใจเสียก่อน โดยเฉพาะสื่อชนิดใหม่ที่เด็กยังไม่เคยเล่น และสื่อบางชนิดที่อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ถ้าเด็กไม่รู้สำหรับการสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยควรเลือกสื่อเพื่อเสนอข้อเท็จจริงควรเลือกสื่อที่ให้ประสบการณ์ตรงจะดีที่สุด

12 ข้อคิดในการผลิตสื่อการสอน
ก่อนผลิตสื่อการสอนทุกครั้ง ต้องศึกษาเนื้อหา และจุดประสงค์ของบทเรียน ควรใช้เศษวัสดุที่มีในท้องถิ่น ควรให้เด็กเป็นผู้ใช้สื่อการสอนให้มากที่สุด ทดลองประสิทธิภาพของสื่อก่อนใช้จริงว่ามีข้อบกพร่องหรือควรเพิ่มเติมสิ่งใดอีกและปรับปรุงจนใช้ได้ผลดี เก็บรักษาให้ดีและให้เป็นระเบียบ

13 เทคนิคการผลิต สื่อการสอนที่ใช้ในเนื้อหาวิทยาศาสตร์
1.) ศึกษาเนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้ ว่าต้องการให้เด็กรู้อะไร 2.) ออกแบบสื่อการสอนควรเลือกวัสดุและเตรียมเครื่องมือให้พร้อม เทคนิคการผลิต สื่อการสอนที่ใช้ในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 4.) ปรับปรุงและตกแต่งให้ดูสวยงาม 3.) ลงมือผลิตสื่อทดลองใช้สื่อก่อนว่าได้ผลตรงตามเนื้อหาหรือไม่

14 การผลิตสื่ออย่างง่ายสำหรับกิจกรรมวิทยาศาสตร์
การเลือกใช้สื่อหรือการผลิตสื่อการสอน ควรคำนึงถึงความสอดคล้องสัมพันธ์กับบทเรียนประโยชน์ที่ได้รับ มีความคงทน ปลอดภัย ประหยัด และมีประสิทธิภาพในการใช้

15 …ตัวอย่าง..กังหันต้องลม…

16 จุดประสงค์ ทักษะ สาระการเรียนรู้ สื่ออุปกรณ์ ขั้นตอนการผลิต วิธีใช้
1. เพื่อให้เด็กรู้ว่าแรงลมทำให้กังหันหมุน 2. เพื่อให้เด็กรู้ว่าความเร็วของลมทำให้กังหันหมุนเร็วหรือช้า ทักษะ - การสังเกต - การตั้งสมมุติฐาน - การทดลอง - การติดตามและลงข้อสรุป สาระการเรียนรู้ ลมเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศ สื่ออุปกรณ์ กระดาษบาง , หลอดขนาดใหญ่ , ไม้ทำด้ามมือ , หัวหมุดหรือตะปู ขั้นตอนการผลิต 1, ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำเครื่องหมายวงกลมเล็กห้าวงที่มุมทั้งสี่และตรงกลางทำเส้นโค้งสี่เส้น 2. เจาะวงกลมเล็กให้เป็นรูและตัดตามเส้นโค้งที่เขียนไว้ 3. จับมุมทั้งสี่เข้าหากันทากาวให้ติดกัน โดยให้รูทั้งสี่รูตรงกัน 4. ตัดหลอดใหญ่ยาวประมาณหนึ่งนิ้วแล้วสอดไปในรูทั้งหมด 5. นำหัวหมุดหรือตะปูสอดเข้าไปในหลอด และตอกลงในไม้ที่ใช้เป็นด้ามมือ พับปลายหัวหมุดหรือตะปูไว้ด้านหลังด้ามมือ 6. นำกระดาษกาวมาเปะพับไว้ วิธีใช้ 1. นำกางหันไปปักไว้ที่กางแจ้งให้เด็กสังเกตตอนที่มีลมพัดมา 2. ให้เด็กถือกังหั่นชูขึ้นวิ่งไปข้างหน้าแล้วสังเกตเวลาวิ่งช้าและวิ่งเร็วกังหันจะหมุนต่างกันอย่างไร


ดาวน์โหลด ppt สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google