งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 2 ความหมายของการรับรู้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 2 ความหมายของการรับรู้"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 2 ความหมายของการรับรู้
การรับรู้ หมายถึง วิถีทางที่ ปัจเจกชน รวบรวม จัดกระบวนการ และแปลความข่าวสารต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อม เฮนรี่ แอสสาเอล (Henry Assacl) ให้ความหมายการรับรู้ของผู้บริโภค คือ การเลือก การจัดระบบ และการแปลความหมายของสิ่งกระตุ้น (stimuli) ทางสิ่งแวดล้อม และ สิ่งกระตุ้นทางการตลาด เพื่อให้ได้ภาพที่สอดคล้องกัน

2 สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (Stimulus) หมายถึง หน่วยใด หน่วยหนึ่ง ของปัจจัยนำเข้าไปสู่ความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ตราผลิตภัณฑ์ การโฆษณา และการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ เครื่องรับความรู้สึก (Sensory recepter) คือ อวัยวะของมนุษย์ ได้แก่ ตา หู จมูก ปาก และผิวหนัง ที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกเข้ามา หน้าที่รับความรู้สึกได้แก่ การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส และรูสึกสัมผัส หน้าที่เหล่านี้ อาจมีเพียงอย่างเดียงหรือหลาย ๆ อย่างรวมกัน

3 อาการรู้สึก หรือ ประสาทสัมผัส (Sensation) คือ การตอบสนองโดยทันที และโดยตรงของอวัยวะรับสัมผัส (Sensory Organ) ต่อสิ่งเร้า เช่น การโฆษณา การบรรจุภัณฑ์ ชื่อตราผลิตภัณฑ์ ภาวะไหวรู้สึกของมนุษย์ คือ ประสบการณ์ของอาการรู้สึก ซึ่งขึ้นอยู่กับเครื่องรับความรู้สึกของแต่ละคน เช่น สายตา การได้ยิน และปริมาณ หรือ ความเข้มข้นของสิ่งเร้า ซึ่งแต่ละคนแสดงออกมา เช่น คนตาบอด มีความมีความรู้สึกได้ยินดีกว่า คนสายตาดีโดยทั่วไป เป็นต้น ปกติ มนุษย์จะรับรู้ได้ ต้องผ่านมาทางประสาทสัมผัสก่อน กระบวนการสัมผัสจากประสาทต่าง ๆ เกิดก่อนกระบวนการเรียนรู้

4 กระบวนการรับรู้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยผ่านขั้นตอนสำคัญอย่างต่อเนื่อง 3 ประการดังนี้
การรับสิ่งเร้าจากภายนอก (sending) การเลือก (selecting) และการใส่ใจ (attending) สิ่งเร้าเฉพาะ และไม่ได้สนใจสิ่งอื่น การแปลความหมาย (Interpreting) สิ่งเร้า และให้ความหมาย (meaning)

5 ลักษณะของบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ (Characteristics of a person that influence perception) ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของคนในเวลาหนึ่ง ๆ มี 6 ประการ ดังนี้ ภาวะทางกายภาพ และ กายวิภาค (physiological and anatomical condition) เช่น ผู้หญิงตัวเล็กกว่าผู้ชาย ย่อมมีความสามารถในการขนย้ายสิ่งของได้น้อยกว่า พนักงานต้อนรับต้องปฏิบัติต่อผู้พิการเป็นพิเศษมากกว่าคนที่มีร่างการผิดปกติ อิทธิพลของครอบครัว (Family influences) เช่น บุคคลที่ถูกเลี้ยงดูมาแบบสั่งการ ก็จะเป็นคนที่ของสั่งการ เป็นต้น

6 อิทธิพลทางวัฒนธรรม (Cultural Influences) เช่น บุคคลที่มีค่านิยมในการทำงานหนัก รับผิดชอบสูง ก็จะพิถีพิถันในการทำงาน และชอบคนในลักษณะเดียวกัน นักท่องเที่ยวบางประเภทจะชอบโบราณสถาน หรือ บางประเทศจะชอบการจับจ่ายในการดื่ม การกิน เป็นต้น เหตุจูงใจ ความจำเป็น และเป้าหมาย (motive, needs, and goals) ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ บุคคลจะมีสิ่งจูงใจ และประสบการณ์จากสิ่งต่าง ๆ เช่น คนสูงอายุมักชอบที่พักที่ไม่พลุกพล่าน นักธุรกิจต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร หรือ นักท่องเที่ยวบางกลุ่มต้องการธรรมชาติที่บ้านตนไม่มีเป็นต้น

7 ประสบการณ์จากอดีต (past experience) บุคคลรับรู้สิ่งต่าง ๆ ในปัจจุบัน เกิดจากอิทธิพลของอดีตเป็นอย่างมาก สิ่งที่สำคัญ และมีความหมายต่อบุคคลในอดีต จะทำให้ง่ายต่อการรับรู้ในปัจจุบัน ลักษณะทางบุคลิกภาพ (personality characteristics) เช่น บุคคลที่มีบุคลิกภาพที่มั่นใจ จะสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่า

8 การเกิดขึ้นของปัญหาการรับรู้ (Why perceptual problem exist) การรับรู้เป็นการติดต่อสื่อสาร ผู้ส่งต้องการให้ผู้รับได้รับข่าวสารตามที่ตนคาดหวัง แต่ยังมีการรับรู้ที่ไม่เป็นไปตามนั้น เนื่องจากสิ่งต่อไปนี้ ลักษณะของสิ่งเร้า (characteristics of the stimulus) สิ่งเร้า หรือสิ่งชักนำที่มีความหมาย หรือ ความรู้สึกมีผลต่อการเรียนรู้ เช่น โรงแรมประกาศว่าจะมีงานเลี้ยงที่ลานข้างสระน้ำ จะทำให้ผู้เข้าพักแต่ละคนแปลความหมายไปได้ หลาย ๆ ทางเช่น เป็นความกรุณาของทางโรงแรม ตนหาความเงียบไม่ได้ในช่วงงานเลี้ยง ไม่ทราบว่าจะวางตัวอย่างไรในงานเลี้ยง

9 กระบวนการทางจิตของประชาชน (mental processes of people) เป็นสาเหตุสำคัญในการก่อให้เกิดปัญหาการรับรู้ ซึ่งมักเป็นปฏิกิริยาของบุคคล ที่เขานั้นจะหลีกเลี่ยงการรับรู้ถึงสถานการณ์อันไม่เป็นที่น่าพอใจ และอันอาจจะเกิดความกระวนกระวายใจขึ้นได้ การปฏิเสธ (denial) ถ้าข่าวสารการรู้สึกทำให้ผู้รับไม่พอใจ คน ๆ นั้น ก็จะปฏิเสธข่าวสารนั้น เช่น คนที่ทำความผิด มักจะบอกว่า ตนไม่ทราบว่ามีกฎเกณฑ์เช่นนั้น หรือ คนที่ติดบุหรี่มักไม่สนใจอื่นคำเตือนของแพทย์บนซองบุหรี่ การยึดติดรูปแบบ (stereotyping) คนมักประเมินสิ่งต่าง ๆ หรือบุคคลต่าง ๆ บนพื้นฐานของการรับรู้ของตน บางคนชอบสิ่งใด ก็จะชอบอยู่แต่สิ่งนั้น เป็นต้น

10 ผลจากการมีคุณลักษณะที่ดี (halo effect) หากคนชอบหรือไม่ชอบสิ่งใด เค้าก็จะจดจำลักษณะนั้น ๆ ไว้ เช่น คนแต่งตัวดี จะถูกมองว่าเป็นคนดี หรือ ผู้บังคับบัญชาอาจไม่ชอบลูกน้อง เนื่องจากไม่ชอบนิสัยของลูกน้อง เพียงสิ่งสองสิ่งที่ผู้บังคับบัญชาไม่ชอบ เป็นต้น การโทษผู้อื่น (projection) เป็นกลไกที่มักเกิดขึ้นในวัยเด็ก ชอบโยนความผิดให้ผู้อื่น หรือสิ่งอื่นโดยอัตโนมัติ โดยไม่ยั้งคิด คนโดยทั่ว ๆ ไป มักไม่ได้ประเมินจากสิ่งที่ตนทำ แต่มักมองแบบเข้าข้างตนเอง การเลือกรับรู้ (selective perception) การเลือกรับรู้จะมีผลเสียต่อตัวเอง เมือคนพยายามหลอกตัวเอง หรือ ไม่ยอมรับว่าตนเองทำผิด หรือ ไม่ฟังคำตักเตือนจากผู้หวังดี

11 การปกป้องการรับรู้ (perceptual defense) คนมักจะสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ ตามที่ตนเชื่อ เช่น มีประสบการณ์ที่ผิดหวังกับโรงแรมนี้ ก็จะเชื่อว่า บริการไม่ดีอยู่เช่นนี้ตลอดไป การจะเปลี่ยนความเชื่อเป็นเรื่องต้องใช้เวลานาน การลงรอยกันของการรับรู้ (perceptual congruence) เช่น หลาย ๆ ครั้ง ในเหตุการณ์หนึ่ง ๆ คนมีความเห็นสอดคล้องกันเป็นจำนวนหลาย ๆ คน ระดับของการรับรู้ในสิ่งต่าง ๆ เป็นไปในทางเดียวกันสูง การลงรอยกันสูง หมายถึง การรับรู้ตรงกันหมด แต่คนอาจเห็นพ้องต้องกันในเรื่องผิด ๆ ได้ เป็นต้น

12 การรับรู้ทางประสาทสัมผัส
อวัยวะสัมผัสของร่างกายมนุษย์ เป็นเครื่องมือที่รับสิ่งเร้ารอบตัว ที่เรียกว่า อวัยวะสัมผัส ในทางจิตวิทยาแยกออกเป็น 7 ประเภท คือ ตา เรียกว่า จักษุสัมผัส หู เรียกว่า โสตสัมผัส จมูก เรียกว่า ฆานสัมผัส สิ้น เรียกว่า ชิวหาสัมผัส ผิวหนัง เรียกว่า ให้ความรู้สึก เจ็บ ร้อน หนาว เรียกว่า กายสัมผัส เครื่องรับความรู้สึกจากสิ่งแวดล้อมภายในได้แก่ สัมผัสคีเนสเธซีส (kinesthesis) มนุษย์ทราบถึงความเคลื่อนไหวต่าง ๆ โดยอาศัยประสาทในกล้ามเนือ ข้อต่อ เอ็น เป็นต้น เรียกง่าย ๆ ว่า กล้ามเนื้อสัมผัส สัมผัสการทรงตัว (vestibular sense) ทำให้มนุษย์ทราบลักษณะการทรงตัว มนุษย์รับสัมผัสนี้จาก อวัยวะสัมผัส ในช่องหูด้านใน

13 จักษุสัมผัส การที่เราจะมองเห็นหรือไม่ เนื่องมาจาก วัตถุ เป็นสำคัญ การจำแนกสี จะจำแนกเป็น แม่สี 3 สี คือ แดง น้ำ เงิน เหลือง สีร้อน ได้แก่ แดง ส้ม เหลือง จะให้ความรู้สึก กระปี้กระเป่า รื่นเริง ตื่นเต้น สีเย็น ได้แก่ เขียว คราม น้ำเงิน และม่วงเข้ม ให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย เยือกเย็น

14 ประสบการณ์ที่ใช้สีกับอาคาร สถานที่ มีประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้
มนุษย์ส่วนใหญ่พอใจอาคารที่มีสีน้อย มากกว่า อาคารที่มีหลายสี ตัวอาคารภายนอก หรือ ภายใน ที่ใช้สีมากกว่า 2 สี ขึ้นไป และเป็นสีสดใส จะช่วยให้มองเห็นตัวอาคารได้ง่าย สีและแสง มีความสัมพันธ์กัน ในห้องที่มีความสว่างตามธรรมชาติอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการใช้สีขาว เพราะจะทำให้เกิดการสะท้อนแสงมากเกินไป ในประเทศแถบร้อน สีที่เข้มจัด จะจางลงได้ถ้าถูกแสงแดดแผดเผาอยู่เป็นประจำ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้สีที่เข้มมากในบริเวณที่โดนแดดจัด เพราะจะสะท้อนแสงสว่างเข้าไปในอาคารมากเกินไป ทำให้ระคายเคืองประสาทตาได้

15 สีมีผลทางจิตวิทยาต่อผู้ใช้อาคาร เช่น
สีใช้เป็นสัญลักษณ์ของอาคารได้ แต่ทั้งนี้แล้วแต่วัฒนธรรมของแต่ละประเทศด้วย เช่น ในไทย สีสดต่าง ๆ มักใช้กับอาคารทางศาสนา เช่น หลังคาโบสถ์ใช้กระเบื้องสีแสด เขียวสด หรือ นำเงินสด เป็นต้น สีมีผลทางจิตวิทยาต่อผู้ใช้อาคาร เช่น สีร้อนที่เข้มไม่มาก เช่น ส้มอ่อน เหลืองเข้ม ให้ความอบอุ่นฉันมิตร การสมาคม การอยู่ร่วมกัน มักใช้กับห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก สีร้อนทีเข้มมาก เช่น แดง แสด ให้ความรู้สึกตื่นเต้น กระฉับกระเฉง มักใช้เพื่อเตือนให้ระวังตัว สีเย็น เช่น เขียว น้ำเงิน คราม ชวนให้นึกถึงทะเล มักใช้กับห้องนอน ห้องทำงาน ห้องคนเจ็บ

16 สีบางสีกระตุ้นการอยากอาหารได้ เช่น สีส้ม แดงสด เหลืองสด เขียวสด เป็นต้น
สีชมพู เหลืองอ่อน และเขียวอ่อน ให้ความรู้สึกไปทางรสหวาน และกลิ่นดีอีกด้วย สีช่วยเสริมให้เกิดความรู้สึกทางสัมผัสและอุณหภูมิได้ด้วย เช่น สีแดง ให้ความรู้สึกร้อน สีส้ม เหลือง น้ำตาลให้ความรู้สึกอบอุ่นและแห้ง ส่วนเขียว รู้สึกเย็น และใหม่สด ส่วนสีน้ำเงินให้ความรู้สึกเย็นจัดและเปียก สีช่วยส่งเสริมอารมณ์และบรรยากาศได้ เช่น คนไข้ซึ่งใกล้หายป่วย ถ้าใช้สีชมพูปนส้ม สีงาช้าง สีขาว จะช่วยให้สดชื่นแจ่มใสขึ้น มีความหวัง ทำให้หายเร็วขึ้น สีที่เป็นกลาง เช่น ขาว เนื้อ เทาอ่อน มักใช้เป็นพื้นผิว เช่น ในงานแสดงนิทรรศการ เพื่อช่วยให้วัตถุหรือสิ่งที่นำมาแสดงดูเด่นขึ้นได้

17 ใช้เป็นแนวทางเดินใน office ได้ เช่น สีขาว บนพื้น เป็นต้น
สีช่วยให้เกิดความรู้สึกแต่งต่างในระยะทางและขนาดได้ เช่น สีนำเงิน ทำให้รู้สึกไกลและเล็กกว่าความเป็นจริง ห้องขนาดเล็ก ถ้าใช้ผนังสีขาว หรือ สีอ่อน จะทำให้ห้องดูกว้างขึ้น ห้องที่มีเพดานต่ำ ถ้าใช้ผนังสีเข้ม ส่วนพื้นกับเพดานสีอ่อน จะทำให้เพดานดูไม่ต่ำมาก

18 สีใช้เป็นสัญลักษณ์ของความปลอดภัยได้ เช่น
ใช้ธงสีต่าง ๆ แสดงดินฟ้าอากาศ เช่น สีน้ำเงินแสดงว่าจะมีฝน หรือ หิมะ เป็นต้น ใช้เป็นสัญลักษณ์การจราจร สีเหลือง มองเห็นได้ง่าย ใช้ทาในส่วนที่เกิดอันตรายได้ เช่น ปากบ่อ ขอบถนน สะพาน เป็นต้น สีเขียว ใช้บอกความปลอดภัย เช่น ตู้ยา หรือ เก็บหน้ากากป้องกันไอพิษ สีแดง มักทาในที่ที่เห็นง่าย เช่น ถังดับเพลิง เครื่องปั่นไฟ อื่น ๆ สีขาว ทาไว้ตามช่องทางเดิน ให้ความปลอดภัย เช่น ทางหนีไฟ ทางข้ามถนน เป็นต้น สีน้ำเงิน มักใช้ทากันแผงสวิทซ์ไฟ เครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ

19 โสตสัมผัส (auditory sense)
คุณสมบัติของการได้ยินของเสียง สามารถรับรู้ได้เป็น 3 ทาง ดังนี้ ความดังของเสียง การที่ผู้ฟังจะได้ยินเสียง และรู้สึกว่าดังมากน้อย ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล และปัจจัยต่อไปนี้ ความไวของหู หรือ เครื่องรับเสียง ความเข้มของเสียง ความถี่ของเสียง ระดับเสียง หูของทุกคนจะได้ยินเสียงอยู่ในขอบเขตจำกัด คือ ระหว่าง 20 – ครั้ง ต่อ วินาที คุณภาพของเสียง เช่น เสียงร้องเพลง เสียงสัตว์ เสียงพูด

20 มนุษย์มีความสามารถรับความเข้มของเสียงที่มีพิสัยกว้างมาก หน่วยวัดความดังเรียกว่า “เดซิเบล” (decibel = dB) โดยแบ่งตามระดังความดังค่อย ตาม มาตรวัด เช่น dB เริ่มการได้ยิน dB เสียงคุยปกติ dB เสียงคุยปกติ dB เป็นอันตรายต่อประสาทหู

21 ฆานสัมผัส (sense of smell or olfactory sense)
นักจิตวิทยาแบ่งกลิ่นออกเป็น 6 ชนิด คือ กลิ่นเครื่องเทศ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นยาง กลิ่นเหม็น กลิ่นไหม้ ความไวของการรับรู้กลิ่น ขึ้นอยู่กับ ชนิดของกลิ่น การปรับตัว การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

22 ชิวหาสัมผัส (sense of taste or gustatory sense)
มนุษย์รับรู้รสพื้นฐาน 4 รส คือ ขม อยู่บริเวณ โคนลิ้น หวาน อยู่บริเวณ ปลายลิ้น เปรี้ยว อยู่บริเวณ ข้าง ๆ ของลิ้น 2 ข้าง เค็ม กระจายอยู่ทั่วไปของลิ้น

23 ปัจจัยที่ทำให้เกิดความไวของความรู้สึก
ชนิดของสารเคมี เช่น รสควินิน (รสขม) พื้นที่ของลิ้นที่รับสิ่งเร้า อุณหภูมิ เช่น รสหวาน จะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น แต่จะกลับลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอีก หรือ รสเค็มจะเค็มน้อยลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เป็นต้น การปรับตัว เช่น เมื่อกินครั้งแรก จะรู้สึกหวานมากกว่าครั้งต่อไป

24 กายสัมผัส (skin senses)
ผิวกาย หรือ ผิวหนัง ของคน มีความไวต่อการสัมผัส กับสิ่งเร้ามาก เช่น ความร้อน ความหนาว การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การสั่นสะเทือน เป็นต้น ที่ใต้พื้นผิวหนัง มีเซลล์ประสาทเป็นจำนวนมาก ร่างกายของคนแต่ละส่วนมีความไวต่อการสัมผัสต่างกัน เช่น ปลายลิ้น มีความไวต่อการสัมผัสสูงมาก รองลงมาคือ ปลายนิ้วมือ ด้านหลังของนิ้วมือ จนถึงฝ่าเท้า ซึ่งมาความไวต่อการสัมผัสน้อยที่สุด อุณหภูมิของผิวหนังเปลี่ยนแปลงได้ เช่น เมื่อเอามือจุ่มน้ำร้อนตอนแรกจะรู้สึกร้อน แต่เมื่อแช่ไปซักพักจะรู้สึกไม่ร้อน เนื่องจากผิวหนังเกิดการปรับตัวนั่นเอง

25 สัมผัสคีเนสเธซีส (kinesthesis)
คือการรู้สึกสัมผัสของการเคลื่อนไหวของร่างกายในกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อของร่างกาย สัมผัส คีเนสเธซีส ช่วยให้คนเราสามารถเข้าใจ ในวัตถุ สิ่งของ ทราบขนาด และสัณฐาน โดยการเอามือคลำ ลูบดูด และรู้สึกถึงน้ำหนักของวัตถุ ความต้านทานของวัตถุ การสัมผัสนี้มีความสำคัญมาก การสัมผัสต่าง ๆ ที่อาศัยแขน ขา ย่อมใช้การสัมผัสจากกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเอ็น มากที่สุด จะใช้ประสาทอื่นแทนไม่ได้

26 สัมผัสการทรงตัว (vesibular senses of equilibratory senses or sense of balance)
ความรู้สึกสัมผัสเกี่ยวกับการทรงตัว มีเครื่องรับสัมผัสอยู่ในหูส่วนใน เป็นอวัยวะลักษณะคล้ายท่อโค้ง รูปครึ่งวงกลม และวางตัวอยู่ในระดับที่ต่างกัน เป็นแนวเกือบตั้งฉากซึ่งกันและกัน ภายในท่อมีของเหลวบรรจุอยู่ ผนังของท่อบุด้วยเซลล์ที่มีขนตรงปลาย เวลาศีรษะเคลื่อนไหว หรือ เปลี่ยนตำแหน่งไป ในแนวไหนก็ตาม อวัยวะท่อโค้งก็จะเคลื่อนไปด้วย แต่ของเหลวภายในจะอยู่กับที่ ผลที่เกิดขึ้น จะทำให้ เกิดการกระตุ้นต่อขน ของเซลล์ที่บุผนัง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรู้สึกทรงตัวอยู่เสมอ เมื่อใดก็ตาม เมื่อไม่มีการเร่งความเร็ว หรือ ลดความเร็ว ณ ที่ใดที่นั้น ก็จะไม่มีความรู้สึกสัมผัสของการเคลื่อนไหวเลย การขาดความสมดุลของการทรงตัวจะไม่เกิดขึ้น ถ้าอวัยวะทรงตัวได้รับบาดเจ็บ หรือถูกทำลาย คนจะครองการเคลื่อนไหวไม่ได้เลย และถ้ากำลังยืนอยู่ก็จะล้มลงทันที เมื่อคนถูกต่อย หรือ ถูกกระแทกที่นัยน์ตา จะทำให้เกิดการวิงเวียน และไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ นอกจากนี้ การหมุนตัวเร็ว ๆ โคลงศีรษะมาก ๆ ก็อาจทำให้ กระแสประสาทส่งไปยังสมองอย่างไม่มีระบบ และจะทำให้เกิดการวิงเวียนเป็นอันมาก


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 2 ความหมายของการรับรู้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google