ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 14 ระบบสารสนเทศ กับการเปลี่ยนแปลงองค์การ
บทที่ 14 ระบบสารสนเทศ กับการเปลี่ยนแปลงองค์การ
2
เทคโนโลยีสารสนเทศกับ การเปลี่ยนแปลงองค์การ
เทคโนโลยีสารสนเทศนำมาช่วยงานขององค์การให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และการเปลี่ยนแปลงองค์การใน 4 ระดับ คือ 1. การปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมให้เป็นระบบงาน อัตโนมัติ (Automation) 2. การเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนการปฏิบัติงาน (Rationalization of Procedures) 3. การออกแบบระบบงานใหม่ (Business Process Reengineering : BPR) 4. การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shifts)
3
เทคโนโลยีสารสนเทศกับ การเปลี่ยนแปลงองค์การ
1. การปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานอัตโนมัติ (Automation) โดยองค์การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดความผิดพลาดของข้อมูล หรือความผิดพลาดจากการคำนวณ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
4
เทคโนโลยีสารสนเทศกับ การเปลี่ยนแปลงองค์การ
2. การเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนการปฏิบัติงาน (Rationalization of Procedures) ระบบช่วยให้มองเห็นกระบวนการปฏิบัติงานที่ไม่คล่องตัวทำให้องค์การจำเป็นต้องปรับปรุงระเบียบปฏิบัติ (Standard Operating Procedures)
5
เทคโนโลยีสารสนเทศกับ การเปลี่ยนแปลงองค์การ
3. การออกแบบระบบงานใหม่ (Business Process Reengineering : BPR) เป็นการคิดใหม่(Rethinking) และออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่ทั้งหมด (Radical Redesign) เป็นการปรับปรุงคุณภาพและการบริการให้ดีขึ้น มีความรวดเร็วในการดำเนินงาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายและสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัว ปรับลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออก
6
เทคโนโลยีสารสนเทศกับ การเปลี่ยนแปลงองค์การ
4. การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shifts) การเปลี่ยนแปลงที่มีต่อทั้งองค์การไม่จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะบางส่วนขององค์การ การเปลี่ยนแนวคิดในการดำเนินธุรกิจ เกี่ยวกับลูกค้า สินค้า บริการ หรือรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยไม่ยึดกับกรอบแนวคิดเดิมๆ เช่น บริษัทผลิตและจำหน่ายยา นำเอาระบบเกี่ยวกับคลังสินค้าที่เรียกว่า "Stockless Inventory" มาให้บริการลูกค้าที่เป็นสมาชิก เช่น โรงพยาบาล ระบบนี้ช่วยให้สมาชิกไม่จำเป็นต้องสั่งยาและเครื่องเวชภัณฑ์มาเก็บสำรองไว้จำนวนมาก สามารถสั่งซื้อผ่านเทอร์มินอลที่บริษัทฯ นำมาติดตั้งไว้ให้และสามารถรับยาที่สั่งซื้อได้ทุกวันทำการ
7
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์
ไมเคิล อี.พอร์เตอร์ ได้วิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน (Competitive Analysis Model) โดยองค์การจะประสบแรงผลักดันในการแข่งขัน (Competitive Forces) ดังนี้ 1. อุปสรรคจากผู้แข่งขันรายใหม่ที่ก้าวเข้ามาในอุตสาหกรรม (Threat of Entry of New Competitors) 2. อำนาจในการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต (Bargaining Power of Suppliers) 3. การแข่งขันในวงการอุตสาหกรรม (Rivalry Among Excising Competitors) 4. อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อหรือลูกค้า (Bargaining Power of Buyers/Customers) 5. สินค้าหรือบริการทดแทน (Threat of Substitute Products/Services)
8
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์
1. อุปสรรคจากผู้แข่งขันรายใหม่ที่ก้าวเข้ามาในอุตสาหกรรม (Threat of Entry of New Competitors) การเข้าสู่อุตสาหกรรมของผู้แข่งขันรายใหม่จะส่งผลกระทบต่อส่วนแบ่งตลาด และเพิ่มความรุนแรงในการแข่งขัน บริษัทเดิมในอุตสาหกรรมนั้น พยายามสร้างสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคในการเข้าสู่อุตสาหกรรมเพื่อต่อต้านผู้แข่งขันรายใหม่ทำให้เข้าสู่อุตสาหกรรมได้ยาก เนื่องจากผู้แข่งขันรายใหม่ต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมาก
9
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์
2. อำนาจในการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต (Bargaining Power of Suppliers) ผู้ขายปัจจัยการผลิตจะมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรขององค์การ ทำให้ราคาของปัจจัยในการผลิต และราคาสินค้าสูงขึ้น ผู้ขายปัจจัยการผลิตที่มีอำนาจการต่อรอง ซึ่งการกำหนดราคาขายขึ้นอยู่กับผู้ผลิตสินค้า
10
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์
3. การแข่งขันในวงการอุตสาหกรรม (Rivalry Among Excising Competitors) ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับ และความซับซ้อนของการแข่งขันในอุตสาหกรรม ได้แก่ จำนวนคู่แข่งขัน อัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม ต้องหาแนวทางการรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้จึงต้องลงทุนสูงในการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าของตนเอง
11
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์
4. อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อหรือลูกค้า (Bargaining Power of Buyers/Customers) ลูกค้าเป็นผู้มีอิทธิพลโดยตรงต่อการดำรงอยู่ และการเติบโตขององค์การ ลูกค้าหรือผู้ซื้อจะมีอำนาจในการต่อรองหากเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่มีการซื้อปริมาณมากเมื่อเทียบกับลูกค้ารายอื่น
12
โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์
5. สินค้าหรือบริการทดแทน (Threat of Substitute Products/Services) หมายถึง สินค้าหรือบริการใดๆ แตกต่างจากสินค้าหรือบริการที่ต้องการ สามารถนำมาใช้แทนเพื่อสนองต่อความต้องการได้ เช่น การใช้โปรตีนแทนจากพืชแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์
13
กลยุทธ์ของพอร์เตอร์ พอร์เตอร์ ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนี้ 1. กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (Cost Leadership Strategy) 2. กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy) 3. กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)
14
กลยุทธ์ของพอร์เตอร์ 1. กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (Cost Leadership Strategy) องค์การต้องค้นหาได้ได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ดีในความรู้สึกของลูกค้ามีลักษณะพื้นฐานอย่างไร และต้องหากระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการให้มีต้นทุนต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจค้าปลีก วอล์มาร์ท (ห้างสรรพสินค้าที่ลดราคาสินค้า) สร้างพันธมิตรทางธุรกิจคู่ค้าโดยนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ในการบริหารคลังสินค้าและระบบจัดซื้อมาใช้ ทำให้สามารถเสนอขายสินค้าในราคาที่ต่ำได้
15
กลยุทธ์ของพอร์เตอร์ 2. กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy) การสร้างหรือบริการให้มีลักษณะที่โดดเด่น แตกต่างจากของคู่แข่งขัน โดยสินค้าหรือบริการ มีลักษณะเฉาะตัวที่คู่แข่งขันไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย อาจทำให้ลูกค้ายึดติดในสินค้าและบริการนั้น (Brand Loyalty) ลูกค้าสามารถเลือกข้อกำหนด (Specification) สามารถสั่งซื้อคอมพิวเตอร์ได้จากแคตาล็อกหรืออาจเลือกซื้อผ่านทางอินเตอร์เน็ต พอร์เตอร์ ได้เสนอกลยุทธ์
16
กลยุทธ์ของพอร์เตอร์ 3. กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy) การเลือกตลาดเป้าหมายสำหรับสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะแคบลง หรือมีตลาดเฉพาะด้าน มีคู่แข่งขันน้อยลงแต่มีช่องว่างทางการตลาด (Niche Market) กลยุทธ์นี้จะใช้ความพิเศษเหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งในด้านสินค้าและบริการ เช่น กระเป๋ายี่ห้อดัง นาฬิกาสวิส
17
โมเดลห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Model)
พอร์เตอร์ เน้นกิจกรรมหลัก (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) ที่เพิ่มมูลค่าหรือบริการ โดยคุณค่า (Value) 1. กิจกรรมหลัก (Primary Activities) - การลำเลียงเข้า (Inbound Logistics) การลำเลียงวัตถุดิบหรือทรัพยากรทางธุรกิจเข้าสู่องค์การ เช่น การรับ การเก็บรักษาวัตถุดิบ และการจัดการปัจจัยนำเข้า - การดำเนินงาน หรือการผลิต (Operations) กิจกรรมในการแปลงวัตถุดิบ หรือทรัพยากรทางธุรกิจให้เป็นสินค้าหรือบริการ - การลำเลียงออก (Outbound Logistics) การลำเลียงส่งสินค้าที่ผลิตแล้วออกสู่ตลาด เกี่ยวข้องกับงานคลังสินค้า การจัดการวัสดุ การกำหนดตารางการจัดส่ง - การตลาดและการขาย (Marketing and Sales) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการขาย ช่องทางการจำหน่าย การกำหนดราคา - การบริการ (Services) กิจกรรมการให้บริการลูกค้า เช่นการติดตั้ง การฝึกอบรม การบำรุงรักษา
18
โมเดลห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Model)
พอร์เตอร์ เน้นกิจกรรมหลัก (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) ที่เพิ่มมูลค่าหรือบริการ โดยคุณค่า (Value) 1. กิจกรรมหลัก (Primary Activities) - การลำเลียงเข้า (Inbound Logistics) การลำเลียงวัตถุดิบหรือทรัพยากรทางธุรกิจเข้าสู่องค์การ เช่น การรับ การเก็บรักษาวัตถุดิบ และการจัดการปัจจัยนำเข้า - การดำเนินงาน หรือการผลิต (Operations) กิจกรรมในการแปลงวัตถุดิบ หรือทรัพยากรทางธุรกิจให้เป็นสินค้าหรือบริการ - การลำเลียงออก (Outbound Logistics) การลำเลียงส่งสินค้าที่ผลิตแล้วออกสู่ตลาด เกี่ยวข้องกับงานคลังสินค้า การจัดการวัสดุ การกำหนดตารางการจัดส่ง - การตลาดและการขาย (Marketing and Sales) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการขาย ช่องทางการจำหน่าย การกำหนดราคา - การบริการ (Services) กิจกรรมการให้บริการลูกค้า เช่นการติดตั้ง การฝึกอบรม การบำรุงรักษา
19
โมเดลห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Model)
2. กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) - โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท (Firm Infrastructure) กิจกรรมเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การจัดการทั่วไป - การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) กิจกรรมด้านการจัดหา การคัดเลือก การฝึกอบรมและพัฒนา - การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Management) เกี่ยวกับงานด้านการวิจัยและพัฒนา(R&D) การสร้างนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์และบริการ - การจัดหา (Procurement) เกี่ยวข้องกับการซื้อปัจจัยการผลิต เช่น วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร
20
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ต่อการแข่งขัน
1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม รูปแบบของการดำเนินงาน 2. การใช้ไอทีช่วยให้มีการดำเนินงานที่ดีเหนือคู่แข่งขัน ช่วยลดต้นทุนทำให้การดำเนินงานในองค์การมีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดความแตกต่างให้สินค้าและบริการ การสร้างนวัตกรรมใหม่ 3. การใช้ไอทีในการสร้างธุรกิจใหม่ เช่น การทำธุรกิจโดยใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อและดาวน์โหลด ผ่านอินเตอร์เน็ตได้
21
ความสัมพันธ์ระหว่างแผนกลยุทธ์ธุรกิจ และแผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างแผนกลยุทธ์ธุรกิจ และแผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ แผนกลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) เป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางของแผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ ในขณะที่แผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ (IS) เป็นเครื่องชี้ทิศทางแผนการพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ
22
ข้อแนะนำในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
พิจารณากระบวนการทำงานก่อนนำระบบสารสนเทศมาติดตั้ง พัฒนาผลงานชิ้นต่อไปก่อนที่จะนำผลงานในปัจจุบันออกสู่ตลาด การใช้ระบบสารสนเทศจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และบริการของหน่วยงาน ให้เจ้าหน้าที่สารสนเทศมีโอกาสแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่แผนกอื่น ๆ รวมทั้งลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพนักงานขาย
23
ความสัมพันธ์ระหว่างแผนกลยุทธ์ธุรกิจ และแผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ
แผนกลยุทธ์ธุรกิจ จะเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางของแผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ ในขณะที่แผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องชี้ทิศทางแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ ทั้งนี้แผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศจะเน้นถึงความต้องการสารสนเทศขององค์การและถูกกำหนดให้มีทิศทางที่สอดคล้องแลสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์การ ตลอดจนตอบสนองต่อความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจที่กำหนดไว้
24
ระบบบริหารคลังสินค้าอัตโนมัติ และระบบการวางแผนการผลิต
ระบบบริหารคลังสินค้าอัตโนมัติ และระบบการวางแผนการผลิต ระบบบริหารคลังสินค้าอัตโนมัติช่วยให้การจัดเก็บวัตถุดิบในคลังมีจำนวนที่เหมาะสม ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารวัสดุคงคลัง สำหรับระบบวางแผนการผลิตถูกนำมาช่วยในกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและใช้เวลาในการผลิตน้อยลง
25
ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างพันธมิตร
ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างพันธมิตร เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงธุรกิจขององค์การกับบริษัทพันธมิตรเข้าด้วยกัน
26
ระบบฐานข้อมูลลูกค้า การพัฒนาข้อมูลลูกค้าจะช่วยให้วามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้ โดยข้อมูลลูกค้าอาจได้มาจากหลายแห่ง
27
ระบบบริการหลังการขาย
ระบบบริการหลังการขาย เป็นระบบสำหรับติดตามปัญหาของลูกค้าในการใช้สินค้าหรือการบริการขององค์การ ข้อมูลต่างๆจากลูกค้าไม่ว่าจะเป็นคำร้องเรียน ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือข้อคิดเห็นนั้นจะช่วยให้ฝ่ายการตลาดนำไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือการบริการให้ขึ้นกว่าเดิม หรืออาจเป็นแนวคิดสำหรับผลิตภัณฑ์หรือการบริการใหม่ๆได้ การวางแผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศจำเป็นต้องอาศัยการประสานความร่วมมือ ระดมความคิดและรวบรวมข้อมูล สารสนเทศจากผู้บริหารของส่วนงานต่างๆ ในองค์การ เพื่อนำมาจัดทำแผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในแผนกลยุทธ์ธุรกิจ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.