ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 1 หลักเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์
นรชิต จิรสัทธรรม 7/3/2019
2
หัวข้อศึกษา 1.1 ความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ 1.2 เส้นเป็นไปได้ในการผลิตและค่าเสียโอกาส 1.3 ความหมายของปัจจัยการผลิตและสินค้าและบริการ 1.4 ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ 1.5 ความหมายของระบบเศรษฐกิจและรูปแบบระบบ เศรษฐกิจแบบต่างๆ 1.6 หน่วยเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจ 1.7 เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค 7/3/2019
3
วัตถุประสงค์ สามารถอธิบายความหมาย ความสำคัญ และลักษณะวิธีคิดของวิชาเศรษฐศาสตร์ได้ สามารถอธิบายความหมายของเส้นเป็นไปได้ในการผลิต และต้นทุนค่าเสียโอกาสได้ สามารถอธิบายความหมายของระบบเศรษฐกิจ หน่วยเศรษฐกิจความสัมพันธ์ของหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ และรูปแบบของระบบเศรษฐกิจต่างๆได้ อธิบายปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ได้ 7/3/2019
4
Topics to be Discussed มีคำกล่าวที่ว่า “คุณไม่สามารถได้ทุกสิ่งที่ต้องการ” จากคำกล่าวนี้ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? เศรษฐศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไร เรียนแล้วเอาไปใช้ทำอะไร 7/3/2019
5
1.1 ความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาด้านสังคมศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมมนุษย์ในการตัดสินใจ “เลือก (choice)” ใช้ทรัพยากร (resource) ที่มีอยู่อย่างจำกัด (scarcity) มาใช้ไปในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ที่มีอย่างไม่จำกัด 7/3/2019
6
ตัวอย่าง “เลือก” ผลตอบแทนสูงสุด
เกษตรกรมีที่ดินอยู่แปลงหนึ่ง ซึ่งเกษตรกรจะใช้ที่ดินทำอะไร ข้าว ได้ 50,000 ฿ อ้อย ได้ 80,000 ฿ เลี้ยงปลา ได้ 100,000 ฿ “เลือก” ผลตอบแทนสูงสุด 7/3/2019
7
1. 2 เส้นเป็นไปได้ในการผลิตและค่าเสียโอกาส
1.2 เส้นเป็นไปได้ในการผลิตและค่าเสียโอกาส (production possibility curve, PPC) คือ เส้นที่แสดงถึงการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ในการผลิตสินค้าหลายชนิด ในที่นี้สมมติให้มีสองชนิด 2 10 4 5 b 16 20 d c a อาหาร (ตัน) เสื้อผ้า (ตัว) e PPC1 PPC2 7/3/2019
8
ต้นทุนค่าเสียโอกาส (opportunity cost)
หมายถึงผลประโยชน์สูงสุดที่ต้องสละไปอันเกิดจากการตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง โดยทางเลือกอื่นๆไม่ได้ถูกเลือก 7/3/2019
9
ตัวอย่าง มีพื้นที่เปล่าอยู่ 1 ไร่ สามารถทำประโยชน์ได้หลายทางดังนี้
สวนดอกไม้ ได้ 5,000 ฿ เลือกสวนดอกไม้ ค่าเสียโอกาส = 20,000 ฿ ร้านอาหาร ได้ 10,000 ฿ เลือกร้านอาหาร ค่าเสียโอกาส = 20,000 ฿ หอพักให้เช่า ได้ 20,000 ฿ เลือกหอพัก ค่าเสียโอกาส = 10,000 ฿ 7/3/2019
10
1.3 ความหมายของปัจจัยการผลิตและสินค้าและบริการ
ปัจจัยการผลิต (factors of production) หมายถึง ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ ทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น น้ำ ที่ดิน หิน แร่ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ ในทางเศรษฐศาสตร์แบ่งปัจจัยการผลิตออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ 1. ที่ดิน (land) 2. แรงงาน (labor) 3. ทุน (capital) 4. ผู้ประกอบการ (entrepreneur) 7/3/2019
11
สินค้าและบริการ (goods & services) หมายถึงสิ่งที่ได้จากการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆร่วมกัน
1.สินค้าเศรษฐกิจ คือเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นแล้ว มีการซื้อขายกันในสังคม เพื่อใช้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ 2. สินค้าได้เปล่า เช่น น้ำในแม่น้ำ อากาศหายใจ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 7/3/2019
12
1.4 ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
1. ผลิตอะไร (what) จำนวนเท่าไร เนื่องจากทรัพยากรที่มีจำกัด ต้องตัดสินใจเลือกว่าจะใช้ทรัพยากรผลิตอะไรบ้าง 2. ผลิตอย่างไร (how) ใช้วิธีการใดในการผลิต 3. ผลิตเพื่อใคร (for whom) จะจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าและบริการนี้ให้ใครบ้าง และด้วยวิธีอะไร 7/3/2019
13
1.5 ความหมายของระบบเศรษฐกิจและรูปแบบ ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ
1.5 ความหมายของระบบเศรษฐกิจและรูปแบบ ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ ระบบเศรษฐกิจ (economic system) หมายถึงการรวมกลุ่มของหน่วยเศรษฐกิจเพื่อทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การผลิต การบริโภค เป็นต้น เราสามารถแบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็น 3 รูปแบบคือ 1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม 2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม 3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม 7/3/2019
14
1.6 หน่วยเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจ
ในระบบเศรษฐกิจอย่างง่ายจะประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจ 2 หน่วย 1. หน่วยครัวเรือน (household) ทำหน้าที่เป็นผู้บริโภค และเป็น เจ้าของปัจจัยการผลิต 2. หน่วยธุรกิจ (firm) ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต ซึ่งจะนำปัจจัยการผลิต ต่างๆจากหน่วยครัวเรือนมาผลิตสินค้าและบริการ 7/3/2019
15
ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเศรษฐกิจ
ค่าตอบแทนการใช้ปัจจัยการผลิต ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ Firm Household สินค้าและบริการ ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ 7/3/2019
16
1.7 เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค
เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาเกี่ยวกับ: พฤติกรรมของแต่ละหน่วยเศรษฐกิจ เมื่อจะบริโภค (ผู้บริโภค) เราควรจะเลือกซื้ออะไร ? เมื่อจะผลิต (ผู้ผลิต) เราจะเลือกผลิตอะไร ? 7/3/2019 4
17
สรุป เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์และการเลือก ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวข้องกับหน่วยเศรษฐกิจย่อยๆ กลุ่มผู้บริโภค กลุ่มผู้ผลิต เป็นต้น เศรษฐศาสตร์จุลภาคสนใจที่จะตอบคำถามต่อไปนี้ ตลาดและกลไกราคาทำงานอย่างไร ผู้ผลิตควรผลิตสินค้าและบริการออกมาจำนวนเท่าไร ผู้ผลิตควรตั้งราคาหรือเปลี่ยนแปลงราคาเท่าไร นโยบายของรัฐบาลมีผลกระทบต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและหน่วยธุรกิจอย่างไร 7/3/2019
18
เศรษฐศาสตร์มหภาคศึกษาเกี่ยวกับ:
การวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจรวม: การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ ภาวะเงินเฟ้อของประเทศ ภาวะว่างงานของประชาชน 7/3/2019 6
19
สรุป เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) ศึกษาถึงระบบเศรษฐกิจโดยรวม ของทุกๆหน่วยเศรษฐกิจรวมกัน เช่น การบริโภคโดยรวม การผลิตโดยรวม เศรษฐศาสตร์มหภาคสนใจตอบคำถามต่อไปนี้ ระบบเศรษฐกิจทำงานอย่างไร ทำไมอัตราการว่างงานบางครั้งสูง บางครั้งต่ำ อะไรคือสาเหตุของภาวะเงินเฟ้อ ทำไมเศรษฐกิจของบางประเทศจึงเติบโตเร็วกว่าเศรษฐกิจประเทศอื่นๆ อะไรคือสาเหตุที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ 7/3/2019
20
ทำไมต้องเรียนเศรษฐศาสตร์จุลภาค?
ทุกคนสามารถนำ แนวคิดของเศรษฐศาสตร์จุลภาค ไปใช้ตัดสินใจเลือก บริโภค และ ผลิต 7/3/2019 13
21
ตัวอย่าง จะผลิตเทียนหอม
คำถาม ผู้บริโภคจะซื้อไหม? ความต้องการเทียนหอมเป็นอย่างไร มากน้อยแค่ไหน? ต้นทุนการผลิตเท่าไร? จะตั้งราคาอย่างไร? การแข่งขันในตลาดเป็นอย่างไร 7/3/2019
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.