ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
เรื่อง การวาดเส้น Drawing
ชื่อผู้จัดทำ นายอนุรักษ์ โคตรชมภู หอศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2
ก สาระสำคัญ วาดเส้น (Drawing) เป็นวิธีการสร้างภาพโดยวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว เพื่อสื่อความหมายทางการเห็นขั้นเริ่มแรกของมนุษย์ด้วยปัจจัยขั้นพื้นฐาน คือ ร่องรอยต่าง ๆ และเครื่องมือง่าย ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ถ่าน เศษไม้ หรือแม้แต่นิ้วมือของตนเอง ซึ่งมนุษย์ต้องการแสดงออกในบางอย่างที่เป็นส่วนตนออกมาให้ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อ ความนึกคิด อารมณ์ความรู้สึก หรือแม้แต่ร่องรอยง่าย ๆ ที่ทำขึ้นมาเอง
3
ข วาดเส้นเป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และออกแบบ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม ออกแบบตกแต่ง ศิลปะไทย ลายรดน้ำ เป็นต้น ก่อนที่เราจะสร้างสรรค์งานศิลปะแขนงต่าง ๆ ดังที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น จำเป็นจะต้องมีความชำนาญทางการวาดเส้นให้แม่นยำเสียก่อน เมื่อมีความชำนาญทางการวาดเส้นแล้วก็จะทำให้การทำงานศิลปะต่าง ๆ ง่ายขึ้น
4
ค สารบัญ สาระสำคัญ ก-ข วัสดุและอุปกรณ์ การฝึกวาดเส้นเบื้องต้น หลัการสังเกตลักษณะหุ่น ลำดับขั้นของการสร้างสรรค์ งานวาดเส้น ประเภทการวาดเส้น หนังสืออ้างอิง ประวัติผู้จัดทำ
5
วาดเส้น (Drawing) วัสดุและอุปกรณ์
1 วาดเส้น (Drawing) วัสดุและอุปกรณ์ กระดานรองเขียน ขนาด ๔๐ x ๖๐ เซนติเมตรโดยประมาณ ความหนา ประมาณ ๔ มิลลิเมตร กระดาษ กระดาษสำหรับวาดเส้นมีหลายชนิด สามารถเลือกใช้ได้ ตามเทคนิคของการวาดเส้น ซึ่งต้องดูคุณสมบัติและความเหมาะสม เช่น น้ำหนัก การซึมซับ และผิวสัมผัส
6
2 ๓. ยางลบ ๔. ตัวหนีบกระดาษ ๕. มีดเหลาดินสอ ๖. เครื่องเขียน แบ่งออกเป็น ๖.๑ ถ่าน มีคุณลักษณะต่างกันเนื่องจากความละเอียด ความแข็งของ เนื้อถ่าน
7
3 ถ่านไม้ เป็นถ่านมีความแข็ง เปราะ คุณสมบัติในการวาดให้น้ำหนักอ่อนแก่ที่นุ่มนวลได้ค่อนข้างมาก เหมาะสำหรับการเขียนแสงเงาที่นุ่มนวล และเงาที่เป็นพื้นที่กว้าง เช่น การเขียนภาพคนเหมือน ภาพเปลือย ทิวทัศน์ และภาพหุ่นนิ่งต่าง ๆ มีส่วนช่วยจับลักษณะแสงเงาส่วนรวมเหมาะกับการเขียนลงบนกระดาษปรู๊ฟ (Proof) หรือกระดาษหนังสือพิมพ์
8
4 ถ่านแท่ง หรือ เกรยอง (Crayon) เป็นถ่านแท่งสี่เหลี่ยมมีความแข็งปานกลาง สามารถสร้างเงาที่นุ่มนวล เกรดที่นิยมใช้ทั่วไปคือ B และ 2B มีหลายสีแต่ที่นิยมคือสีดำ เพราะเน้นน้ำหนักแสงเงาได้ชัดเจนกว่าสีอื่น เหมาะสมกับการเขียนลงบนกระดาษขาวทั่วไป
9
5 ดินสอถ่าน (Carbon pencil) เป็นถ่านที่บรรจุไว้ในไส้ดินสอมีน้ำหนักความเข้มเช่นเดียวกับถ่านไม้ สามารถใช้วาดภาพวัตถุที่มีรายละเอียดมาก
10
6 ๖.๒ ชอล์ก (Chalk) ลักษณะเป็นแท่งกลม มีหลายสีเหมาะสมกับการเขียนบนกระดาษสีเข้ม เช่น สีน้ำตาล สีเมา สีเขียว ฯลฯ
11
7 ๖.๓ ดินสอ (Pencil) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานของการวาดเส้นในปัจจุบัน ง่ายต่อการขนย้าย สามารถลบออกได้ มีทั้งไส้อ่อนและไส้แข็ง
12
8 ๖.๔ หมึก (Ink) สีที่นิยมใช้ในการวาดเส้นคือ สีดำ สีน้ำตาล ควรเลือกใช้กระดาษที่มีความหนา เช่น ๘๐ ปอนด์ หรือ ๑๐๐ ปอนด์ จะใช้ผิวเรียบ หรือหยาบก็ได้ โดยมีอุปกรณ์อื่นเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น แปรง พู่กัน ปากกา สันไม้ ไม้ทุบปลาย เป็นต้น
13
การฝึกวาดเส้นเบื้องต้น
9 การฝึกวาดเส้นเบื้องต้น สิ่งที่ควรฝึกตนเองก่อนเริ่มลงมือวาดรูป ขั้นแรกให้หัดเขียน เส้นนอน เส้นตั้ง เส้นเฉียง ซ้ำ ๆ กันให้คล่องมือ
14
10 หลังจากนั้นให้หัดแรเงาตามรูปทรง โดยใช้เส้นตรงวางให้ชิดเป็นแนวเดียวกัน ใช้วิธีเหวี่ยงข้อมืออย่างเร็วทั้งขึ้นและลง
15
11 ฝึกเขียนเลียนแบบจากที่สายตามองเห็น และลองขยายต้นแบบให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และย่อส่วนจากแบบ สามารถทำให้เกิดภาพลวงตา บอกระยะได้
16
12 การฝึกสมาธิให้ใจสัมพันธ์กับมือ โดยการลงซ้ำบนรอยเดิมค่อย ๆ ทำเวลาให้เร็วขึ้น
17
หลักการสังเกตุลักษณะหุ่น
13 หลักการสังเกตุลักษณะหุ่น ๑. รูปทรง ขนาด ระยะ สังเกตรูปทรงและขนาดของภาพให้ดี หากเราย่อหรือขยายสัดส่วนโดยสังเกตจากหุ่นที่ใกล้เคียง เปรียบเทียบ ขนาด ระยะ ความสูงต่ำ ๒. แสงและเงา ทิศทาง ที่แสงตกกระทบหุ่น แสงมีหลายลักษณะ คือ - แสงสว่างที่สุด (Highlight) อยู่ในส่วนที่รับแสงโดยตรง - แสงสว่าง (Light) อยู่ในส่วนรับอิทธิพลของแสง - เงา (Shadow) อยู่ในส่วนรับอิทธิพลของแสงน้อยมาก - เงามืด (Core of Shadow) อยู่ในส่วนที่ไม่ได้รับอิทธิพลของ แสงเลย
18
14 - เงาตกทอด (Cast Shadow) บริเวณที่เงาของวัตถุนั้น ๆ ตกทอดไปตามพื้นหรือตามวัตถุอื่นที่รองรับน้ำหนักแก่กว่าบริเวณแสงสะท้อน
19
15 ๓. ผิว สังเกตหุ่นว่ามีลักษณะผิวอย่างไร เช่น - ผิวด้าน เช่น กิ่งไม้แห้ง ใบไม้แห้ง เครื่องปั้นดินเผา หุ่นผิวลักษณะนี้แสงจะต้องนุ่มนวล จากแสงอ่อนไปจนถึงแก่จัด - ผิวมัน เช่น ผลไม้สด เซรามิค ภาชนะพลาสติก หุ่นผิวประเภทนี้จัดเป็นจุดและแสงจะต้องขาวไม่ว่าหุ่นจะเป็นอะไรก็ตาม
20
16 - ผิวใส เช่น แก้วน้ำ ขวดใส ถุงพลาสติกใส่อาหาร โหลแก้ว หุ่นประเภทนี้ต้องเขียนให้ใสมองทะลุถึงวัตถุที่อยู่ด้านหลังของหุ่นจะมีความแวววาวมาก
21
17 ๔. น้ำหนัก ๕. องค์ประกอบของภาพ คือ การจัดวางภาพและหน้ากระดาษให้เหมาะสมกัน โดยไม่ให้ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป
22
ลำดับขั้นการสร้างสรรค์งานวาดเส้น
18 ลำดับขั้นการสร้างสรรค์งานวาดเส้น ๑. ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมในการวาดภาพ การเตรียมใจ หมายถึง มีใจพร้อมที่จะวาดภาพ และการเลือกมุมมอง ดูทิศทางที่แสงเข้าและเงาตกทอดที่ชัดเจน
23
19 ๒. ขั้นร่างภาพ การร่างภาพเป็นส่วนสำคัญของการวาดเส้น เพราะถือว่าเป็นการเริ่มต้นของโครงร่างของภาพทั้งหมด ถ้าร่างได้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ การลงน้ำหนักหรือแรเงาจะง่ายขึ้น เริ่มแรกคือการหาส่วนรวมของภาพ จะทำให้เรากำหนดตำแหน่งของส่วนละเอียดให้ถูกต้องขึ้น
24
20 ๓. ขั้นลงน้ำหนัก เพื่อให้การลงน้ำหนักเหมือนของจริง ต้องสังเกต น้ำหนัก แสงและเงาในตัววัตถุที่เราเตรียมลงน้ำหนัก ดูจากข้อแสงและเงา การลงน้ำหนักมี ๒ ลักษณะ คือ - การลงน้ำหนักตามหลักการของแสงอาทิตย์ ลงน้ำหนักให้แสงเงาเหมือนจริง - การลงน้ำหนักตามความรู้สึก แสดงถึงความสามารถในการคิดสร้างสรรค์รูปร่างและรูปทรงขึ้นใหม่ จากความคิดและความรู้สึกอันทำให้ได้ความงามที่แปลกออกไป
25
21 วาดเส้น มีเรื่องของแสงและเงาเป็นหลักสำคัญ เป็นพื้นฐานแรกของการเข้าสู่การทำงานทางด้านทัศนศิลป์และออกแบบ เป็นการแสดงออกโดยการสร้างภาพให้มองเห็นความคิดและความรู้สึก ของผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
26
22 ประเภทการวาดเส้น ๑. วาดเส้นหุ่นนิ่ง (Still Life Drawing)
27
๒. วาดเส้นธรรมชาติ (Landscape Drawing)
23 ๒. วาดเส้นธรรมชาติ (Landscape Drawing)
28
๓. วาดเส้นคนครึ่งตัว (Portrait Drawing)
24 ๓. วาดเส้นคนครึ่งตัว (Portrait Drawing)
29
๔. วาดคนเต็มตัว (Figure Drawing)
25 ๔. วาดคนเต็มตัว (Figure Drawing)
30
26 เมื่อท่านได้สังเกตและฝึกฝนการวาดเส้นจนชำนาญ ท่านจะสามารถมองเห็นภาพแสงเงาที่เกิดขึ้นในธรรมชาติได้ง่ายและชัดเจนขึ้น ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ ถ่ายทอดความรู้สึกที่ท่านมีต่อสิ่งที่พบเห็นเบื้องหน้าของท่านออกมาเป็นงานศิลปะ เรียกได้ว่า ท่านมีสายตาศิลปะและเป็นศิลปินได้
31
27 เอกสารอ้างอิง เอกสารประกอบโครงการฝึกอบรมศิลปะสำหรับบุคคลภายนอก งานบริการศิลปวัฒนธรรม ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยช่างศิลป์สุพรรณบุรี
32
ผู้จัดทำ ชื่อ-สกุล : นายอนุรักษ์ โคตรชมภู
28 ผู้จัดทำ ชื่อ-สกุล : นายอนุรักษ์ โคตรชมภู ตำแหน่ง : นักวิชาการคอมพิวเตอร์ หน่วยงาน : คณะศิลปกรรมศาสตร์ โทรศัพท์ :
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.