งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ฝ่ายการลูกจ้าง กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร

2 ประมวลข้อคำถามและข้อควรรู้เกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลของลูกจ้าง กทม. ...?
10 อันดับ ดังนี้

3 1 การอ้างข้อกฎหมายในการจัดทำคำสั่งจ้างและแต่งตั้งลูกจ้างที่ถูกต้อง ? - พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการ กทม.ฯ พ.ศ ข้อ 79 - ข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง ลูกจ้าง พ.ศ ข้อ 10, 11, 13 - คำสั่ง กทม. ที่ 3485/2535 ลว. 18 กันยายน 2535 - คำสั่ง กทม. ที่ 2233/2554 ลว. 23 มิถุนายน 2554 รายละเอียดตามตัวอย่าง..... 20%

4 ถือปฏิบัติตามหนังสือ ที่ กท 0404/5426 ลว. 24 พฤษภาคม 2555
การพิจารณาคืนกรอบอัตรากำลังลูกจ้างประจำกรุงเทพมหานครที่ว่าง ตำแหน่งไหนยุบ ตำแหน่งไหนคืน ? ถือปฏิบัติตามหนังสือ ที่ กท 0404/ ลว. 24 พฤษภาคม 2555 18%

5 กรอบอัตราลูกจ้างประจำที่ไม่คืนให้
1. ตำแหน่งที่มีชื่อหรือลักษณะงานซ้ำซ้อนกับข้าราชการ เช่น ตำแหน่งช่าง (ทุกประเภท) ตำแหน่งพนักงานธุรการ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ฯลฯ ยุบกรอบอัตราลูกจ้างประจำ ทั้งนี้ หากหน่วยงานยังคงมีความจำเป็นต้องมีบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ ให้รวบรวมสถิติปริมาณและลักษณะงาน ส่งสำนักงาน ก.ก. เพื่อพิจารณาความจำเป็นในการใช้ผู้ปฏิบัติ รวมทั้งความเหมาะสมว่าควรกำหนดตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานเป็นข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น

6 กรอบอัตราลูกจ้างประจำที่ไม่คืนให้
2. ตำแหน่งที่มีลักษณะงานที่สามารถใช้ผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่นหรืออาจปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน เพื่อให้มีผู้ปฏิบัติงานแทนลูกจ้างประจำได้ เช่น การจ้างเหมาบริการ หรือนำเทคโนโลยีมาใช้แทนการปฏิบัติงานของลูกจ้าง เช่น ตำแหน่งพนักงานทั่วไป (ทุกประเภท) ตำแหน่งคนสวน ตำแหน่งผู้ช่วยช่างทั่วไป ตำแหน่งพนักงานสถานที่ ตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัย ตำแหน่งประจำรถ ฯลฯ ยุบกรอบอัตราลูกจ้างประจำ ให้หน่วยงานพิจารณาดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการทำงานก่อนโดยอาจนำวิธีการจ้างเหมาบริการ การนำเทคโนโลยีมาใช้แทนการปฏิบัติงานของลูกจ้าง หรือวิธีอื่นมาใช้ หากยังไม่สามารถดำเนินการได้ อาจใช้วิธีการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เพื่อทดแทนการขาดแคลนอัตรากำลังได้ตามความจำเป็น โดยให้แจ้งเหตุผลความจำเป็นมายังกองการเจ้าหน้าที่ เพื่อพิจารณาดำเนินการขออนุมัติอัตราลูกจ้างชั่วคราวต่อไป

7 กรอบอัตราลูกจ้างประจำที่คืนให้
1. ตำแหน่งลูกจ้างประจำที่ต้องปฏิบัติงานโดยใช้วิชาชีพเฉพาะทางหรือประสบการณ์เฉพาะด้าน เช่น ตำแหน่งพี่เลี้ยง ตำแหน่งพนักงานเทศกิจ ตำแหน่งพนักงานประกอบอาหาร ตำแหน่งครูช่วยสอน ตำแหน่งนายท่า ฯลฯ คืนกรอบอัตรา ให้หน่วยงานสามารถดำเนินการตามกระบวนการบริหารงานบุคคลของลูกจ้าง

8 กรอบอัตราลูกจ้างประจำที่คืนให้
2. ตำแหน่งลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานควบคู่กับครุภัณฑ์ เช่น ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ ตำแหน่งพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา ตำแหน่งพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดกลาง ตำแหน่งนายท้ายเรือ ฯลฯ คืนกรอบอัตรา ให้หน่วยงานสามารถดำเนินการตามกระบวนการบริหารงานบุคคลของลูกจ้าง ยกเว้น กรอบอัตราที่ไม่มีครุภัณฑ์ที่ใช้ปฏิบัติงานแล้ว ให้แจ้งกองการเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการยุบเลิกตำแหน่ง

9 กรอบอัตราลูกจ้างประจำที่คืนให้
3. ตำแหน่งลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้ช่วยหรือหัวหน้าคนงาน คืนกรอบอัตรา สำหรับการพิจารณาคัดเลือกลูกจ้างประจำเพื่อพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าอยู่ระหว่างดำเนินการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการประเมินบุคคลเพื่อปรับระดับชั้นงานของลูกจ้างประจำกรุงเทพมหานคร

10 3 การพิจารณาหรืออนุญาตการลาและการจ่ายค่าจ้างระหว่างลาของลูกจ้างกรุงเทพมหานครปฏิบัติอย่างไร? มติ ก.ก. ครั้งที่ 10/2557 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2557 มติ ก.ก. ครั้งที่ 8/2558 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2558 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ลูกจ้าง พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 15%

11 การพิจารณาหรืออนุญาตการลา
มติ ก.ก. ครั้งที่ 10/2557 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2557 เห็นชอบให้นำระเบียบสำนักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ มาใช้บังคับกับลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ยกเว้น ข้อ 17 (8) (9) (10) และข้อ โดยกำหนดให้  ลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครผู้ใดมีความประสงค์จะลาไปฝึกอบรมหรือดูงานภายในประเทศเกี่ยวกับหน้าที่ราชการที่ลูกจ้างประจำผู้นั้นปฏิบัติอยู่ และหน่วยงานพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็น ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับเพื่อพิจารณา  การลานอกเหนือจากที่กำหนด ให้อยู่ในดุลพินิจของปลัดกรุงเทพมหานคร  ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาและการใช้อำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาของลูกจ้างกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามตารางการลาของลูกจ้างกรุงเทพมหานคร (รายละเอียดตามเอกสารแนบ)

12 การจ่ายค่าจ้างระหว่างลา
มติ ก.ก. ครั้งที่ 8/2558 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2558 การจ่ายค่าจ้างระหว่างลาของลูกจ้างกรุงเทพมหานครจะต้องออกเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 68 วรรคสาม เมื่อยังไม่มีการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร การจ่ายค่าจ้างระหว่างลาจึงต้องเป็นไปตามมาตรา 79 โดยให้นำข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ลูกจ้าง พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ มาใช้บังคับไปพลางก่อน เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับมติ ก.ก. ที่กำหนดประเภทของการลาต่างๆ

13 ข้อ 13 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
4 การขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศปฏิบัติตามระเบียบใดและเป็นอำนาจของใคร? ข้อ 13 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 12%

14 ขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศ
ลูกจ้างกรุงเทพมหานครซึ่งประสงค์จะไปต่างประเทศในระหว่างการลาตามระเบียบ หรือในระหว่างวันหยุดราชการ ให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงหรือหัวหน้าส่วนราชการ

15 5 10% ลูกจ้างมีสิทธิขอรับเงินบำนาญได้หรือไม่?
เรียกว่า “บำเหน็จรายเดือน” อายุราชการ ครบ 25 ปีบริบูรณ์ 10%

16 การคำนวณบำเหน็จรายเดือน
ค่าจ้างเดือนสุดท้าย x (จำนวนเดือนที่ทำงาน /12) 50 ***เศษของเดือนเกิน 15 วัน ให้นับเป็น 1 เดือน***

17 6 การจัดทำทะเบียนลูกจ้างประจำและ แฟ้มประวัติลูกจ้างประจำต้องจัดทำกี่ฉบับและทำให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน? 2 ฉบับ (เก็บไว้ต้นสังกัด 1 ฉบับ ส่ง กกจ. 1 ฉบับ) - ส่ง กกจ. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คำสั่งจ้างและแต่งตั้งลูกจ้างประจำมีผลบังคับใช้ 8 %

18 7 การถ่ายรูปติดทะเบียนประวัติและแฟ้มประวัติ ลูกจ้างประจำใส่ชุดขาวได้หรือไม่ แล้วต้องใส่บ่ากี่ช่อ? - ชุดกากี ชุดพิธีการขาว หรือชุดปฏิบัติงานก็ได้ - อินธนูและบ่าให้ดูจากอัตราค่าจ้าง 6 %

19 อัตราค่าจ้างระหว่าง 5,810 – 7,140 บาท

20 อัตราค่าจ้างระหว่าง 7,140 – 13,160 บาท

21 อัตราค่าจ้างระหว่าง 13,160 -19,860 บาท

22 อัตราค่าจ้างตั้งแต่ 19,860 บาท ขึ้นไป

23 8 การนับวันลาในการเลื่อนขั้นค่าจ้าง กี่ครั้ง/กี่วัน สายกี่ครั้ง นับเหมือนของข้าราชการหรือไม่ ? ไม่เหมือน หนึ่งขั้น ไม่เกิน 5 ครั้ง 8 วัน (รวมการลาทุกประเภทยกเว้นลาพักผ่อน) สายไม่เกิน 5 ครั้ง ครึ่งขั้น ไม่เกิน 8 ครั้ง 23 วัน (ยกเว้นการลาบางประเภท) สายไม่เกิน 23 ครั้ง 5%

24 ที่มีชื่อและลักษณะซ้ำซ้อนกับข้าราชการ
ลูกจ้างประจำตำแหน่งใดบ้างที่สามารถ ขอเครื่องราชฯได้ และต้องปฏิบัติงาน มาแล้วกี่ปีจึงจะมีสิทธิขอพระราชทาน เครื่องราชได้? 9 ลูกจ้างประจำที่มีชื่อและลักษณะงานเป็นลูกจ้างโดยตรงหมวดฝีมือหรือลูกจ้างประจำ ที่มีชื่อและลักษณะซ้ำซ้อนกับข้าราชการ 4 % 8 ปีบริบูรณ์ นับแต่วันเริ่มจ้าง จนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน

25 10 ลูกจ้างประจำมีสิทธิเสนอขอพระราชทานเครื่องราชได้กี่ชั้นตรา? 4 ชั้นตรา 2% บ.ม. – บ.ช. – จ.ม. – จ.ช.

26 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำของข้าราชการระดับปฏิบัติการ (8,340 บาท) แต่ไม่ถึงขั้นต่ำของระดับ ชำนาญการ (15,050 บาท) เริ่มขอพระราชทาน ชั้น บ.ม. ได้ บ.ม. มาแล้ว 5 ปี ขอ บ.ช. ได้ บ.ช. มาแล้ว 5 ปี ขอ จ.ม. ได้ จ.ม. มาแล้ว 5 ปี ขอ จ.ช.

27 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตั้งแต่ขั้นต่ำของข้าราชการ ระดับ ชำนาญการ (15,050 บาท) ขึ้นไป เริ่มขอพระราช ชั้น บ.ช. ได้ บ.ช. มาแล้ว 5 ปี ขอ จ.ม. ได้ จ.ม. มาแล้ว 5 ปี ขอ จ.ช.

28 บัญชีคุมลูกจ้างประจำผู้มีสิทธิขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง บรรจุเมื่อ เริ่มขอ บม. ขอ บ.ช. ขอ จ.ม. ขอ จ.ช. นาย ก พนักงานขับรถยนต์ ส 1 1 ม.ค. 40 2548 2553 2558 2563 นาย ข 21 ก.พ. 50 2568 2573 นาย ค พขบ.(เก็บขนมูลฝอย) ส 1 1 มี.ค. 51 2559 2564 2569 2574 นาย ง พขบ.(รถบรรทุกน้ำ) ส 1 21 ก.พ. 52 2560 2565 2571 2576 นาย จ นายท้ายเรือ ส 2 2 ม.ค. 54 2562 2567 2572 2577

29 ขอขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google