งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง
Place of Articulation

2 ปอด กล่องเสียง กระดูกไทรอยด์ ไครคอยด์ อะรีทีนอยด์

3 ฐาน กรณ์

4 ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค
1. ฐานริมฝีปาก เสียงจากฐานริมฝีปาก (bilabial) เกิดจากการใช้ริมฝีปากทั้งสองซึ่งอาจจัดตัวในลักษณะต่างๆ ตามประเภทของเสียง ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค

5 ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค
2. ฐานริมฝีปากกับฟัน เสียงจากฐานริมฝีปากกับฟัน (labio – dental) เกิดจากการใช้ริมฝีปากล่างกับฟันบน ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค

6 3. ฐานฟัน เสียงจากฐานฟัน (dental)
เกิดจากการใช้ปลายลิ้นกับฟันบน ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค

7 ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค
4. ฐานปุ่มเหงือก เสียงจากฐานปุ่มเหงือก (alveolar) เกิดจากการใช้ปลายลิ้นกับปุ่มเหงือก ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค

8 5. เสียงลิ้นม้วน (rotroflex)
เสียงนี้เกิดจากการม้วนปลายลิ้นไปบริเวณเพดานแข็งตอนหน้าหรือบริเวณเพดานแข็ง ซึ่งเสียงลิ้นม้วนนี้มีการพับลิ้นมากกว่าเสียงฐานบริเวณหลังปุ่มเหงือกที่ได้กล่าวข้างต้น

9 6. ฐานปุ่มเหงือกเพดานแข็ง
6. ฐานปุ่มเหงือกเพดานแข็ง เสียงจากฐานปุ่มเหงือกเพดานแข็ง (palato - alveolar) เกิดจากการยกปลายลิ้นไปบริเวณปุ่มเหงือกหรือหลังปุ่มเหงือกเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันลิ้นส่วนหน้ายกขึ้นสู่เพดานแข็ง

10 7. ฐานเพดานแข็งปุ่มเหงือก
7. ฐานเพดานแข็งปุ่มเหงือก เสียงจากฐานเพดานแข็งปุ่มเหงือก (alveolo - palatal) เกิดจากการให้ปลายลิ้นอยู่ในระดับปกติหรือลดต่ำลงใกล้กับฟันล่าง ในขณะเดียวกันลิ้นส่วนหน้ายกขึ้นสู่เพดานแข็ง ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค

11 8. ฐานเพดานแข็ง เสียงจากฐานเพดานแข็ง (palatal) เกิดจากการยกลิ้นส่วนหน้าขึ้นสู่บริเวณเพดานแข็ง

12 ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค
9. ฐานเพดานอ่อน เสียงจากฐานเพดานอ่อน (velar) เกิดจากการยกลิ้นส่วนหลังขึ้นสู่บริเวณเพดานอ่อน ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค

13 ที่มา : http://www.austincc.edu/hguillor/frphonetics/x_uvular.html
10. ฐานลิ้นไก่ เสียงจากฐานลิ้นไก่ (uvular) เกิดจากการยกลิ้นส่วนหลังขึ้นสู่บริเวณลิ้นไก่ ที่มา :

14 11. ฐานผนังคอ เสียงจากฐานผนังคอ (pharyngal) เกิดจากการลดโคนลิ้นลงสู่บริเวณช่องคอ

15 ที่มา : http://www.absoluteactorstudio.com/angeles/author/admin/
12. ฐานเส้นเสียง เสียงจากฐานเส้นเสียง (glottal) เกิดจากการที่เส้นเสียงเข้ามาชิดติดกันหรือเส้นเสียงเข้ามาใกล้กัน มีลมแทรกออกได้ ที่มา :

16 การทำงานของเส้นเสียง
เส้นเสียงปิดสนิท (Closed Glottis) เส้นเสียงเปิดกว้าง (Open Glottis) เส้นเสียงสั่น (Glottis in Vibration)

17 เส้นเสียงปิดสนิท (Closed Glottis)
เส้นเสียงทั้งสองดึงตัวเข้ามาชิดติดกันสนิทแน่น โดยมีกระแสลมจากปอดอัดอั้นอยู่ข้างใต้ เมื่อเส้นเสียงเปิดออกครั้งหนึ่ง แรงดันของกระแสลมจากปอดทำให้เกิดเสียงได้ เช่น เสียงหยุดที่เส้นเสียง (glottal stop)

18 เสียงเปิดกว้างและปิดสนิท

19 เส้นเสียงเปิดกว้าง (Open Glottis)
ส่วนหลังของเส้นเสียงจะแยกออกจากกัน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเส้นเสียงทั้งสอง เมื่อลมผ่านออกมาได้ยินเป็นเสียงลมหายใจ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า เสียงเสียดแทรกที่เส้นเสียง ใช้สัทอักษร [h] เส้นเสียงในลักษณะนี้ก็คือสภาพปกติที่คนเราไม่พูด และเป็นสภาพของเส้นเสียงสำหรับเสียงอโฆษะหรือเสียงไม่ก้อง

20 เส้นเสียงสั่น (Glottis in Vibration)
เส้นเสียงทั้งสองข้างดึงตัวเข้ามาติดกันและเปิดออกหลายครั้งต่อเนื่องกัน เสียงที่เปล่งออกมาโดยมีสภาพเส้นเสียงเช่นนี้เรียกว่า เสียงโฆษะ หรือ เสียงก้อง

21

22 กลไกกระแสลม

23 กลไกกระแสลม กลไกกระแสลมจากปอด ภาษาส่วนใหญ่ในโลกใช้กลไกประเภทนี้
กลไกกระแสลมจากกล่องเสียง เกิดขึ้นเมื่อเส้นเสียงปิดสนิท กลไกกระแสลมจากเพดานอ่อน ได้เสียงเดาะหรือ click

24 กลไกกระแสลมจากเพดานอ่อน

25 การบังคับกระแสลม หมายถึง การจัดอวัยวะที่ใช้ในการพูดให้อยู่ในสภาพต่างๆ ซึ่งมีผลทำให้กระแสลมที่ออกมาจากปอด หรือกล่องเสียง หรือเพดานอ่อน มีทางเดินที่แตกต่างกันไป

26 การบังคับกระแสลมแบบปิด
เสียงระเบิด (plosive) หมายถึง เสียงที่มีฐานกรณ์จรดกันอย่างสนิทแน่น ทำให้มีการกักลมที่มาจากปอดไว้ที่หลังจุดนั้นระยะหนึ่ง ขณะเดียวกันเพดานอ่อนยกขึ้นจรดผนังคอป้องกันไม่ให้ลมออกทางจมูก เมื่อคลายการปิดกั้นของฐานกรณ์ในปากออก ลมจะพุ่งออกมาทางช่องปากอย่างแรง

27 กระบวนการเกิดเสียงระเบิด (plosive)

28 การบังคับกระแสลมแบบปิด
ข. เสียงนาสิก (Nasal) ลักษณะการจรดกันของฐานกรณ์สำหรับเสียงนาสิกเหมือนกับเสียงระเบิดคือจรดกันสนิทแน่น แต่เพดานอ่อนลดต่ำลง ตามธรรมชาติเสียงนี้เป็นเสียงก้องเสมอ

29 กระบวนการเกิดเสียงนาสิก

30 การบังคับกระแสลมแบบปิด
ค. เสียงกักเสียดแทรก (Affricate) การออกเสียงกักเสียดแทรกเริ่มด้วยการจรดฐานกรณ์ ณ ที่ใดที่หนึ่งในช่องปากอย่างสนิทแน่นไว้ระยะหนึ่ง เพดานอ่อนยกสูงจรดผนังคอ แต่เมื่อคลายการปิดกั้นออกจะค่อยๆ คลายอย่างช้าๆ ทำให้เกิดเสียงเสียดแทรกตามมา

31 การบังคับกระแสลมแบบปิด
เสียงข้างลิ้น (Lateral) บังคับกระแสลมแบบปิดเพียงบางส่วน คือส่วนปลายลิ้นจรดกับปุ่มเหงือกอย่างสนิทแน่น แต่ลดข้างลิ้นลง ทำให้ลมออกข้างลิ้นเท่านั้น แบ่งเป็น เสียงข้างลิ้นแบบเปิด (lateral approximant) เสียงเสียดแทรกข้างลิ้น (lateral fricative)

32 เสียงข้างลิ้น (Lateral)

33 การบังคับกระแสลมแบบปิด
เสียงลิ้นรัว ลิ้นกระทบ และลิ้นสะบัด ทั้งสามเสียงมีการบังคับกระแสลมแบบปิดๆ เปิดๆ เป็นระยะ

34 เสียงลิ้นรัว อวัยวะจรดกันแล้วเปิดออกหลายครั้งติดต่อกัน
เสียงลิ้นกระทบ อวัยวะจรดกันแล้วเปิดออกเพียงครั้งเดียว เสียงลิ้นสะบัด อวัยวะจรดกันแล้วเปิดออกเพียงครั้งเดียว แต่มีการสะบัดปลายลิ้นด้วย

35 การบังคับกระแสลมแบบเปิดแคบ
ฐานและกรณ์เข้ามาใกล้กันมาก ทำให้ลมต้องแทรกออกมาจากบริเวณอวัยวะนั้นๆ เกิดเป็นเสียงเสียดแทรก (fricative) เป็นเสียงก้องหรือไม่ก้องก็ได้

36 เสียงเสียดแทรก

37 การบังคับกระแสลมแบบเปิดกว้าง
อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงทั้งฐานและกรณ์อยู่ห่างกันพอประมาณ ทำให้ลมผ่านออกมาได้อย่างสะดวกและไม่มีเสียงแทรกเกิดขึ้น เสียงประเภทนี้เรียกว่า เสียงเปิด (approximant) เสียงประเภทนี้จะเป็นเสียงก้องเสมอ เสียงสระมีธรรมชาติในการออกเสียงเหมือนกันกับเสียงเปิด

38 เสียงเปิด

39 เสียงพยัญชนะภาษาอังกฤษ
ที่มา: จันทิมา หวังสมโชค

40 ที่มา พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2533). สัทศาสตร์และสัทศาสตร์ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.


ดาวน์โหลด ppt อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google