ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยDustin Strickland ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การสร้างคำ ภาษาไทย ภาษาบาลีสันสกฤต การซ้อนคำ วิธีกฤต การซ้ำคำ
THL 3106 การสร้างคำ ภาษาไทย ภาษาบาลีสันสกฤต การซ้อนคำ วิธีกฤต การซ้ำคำ วิธีลงอุปสรรค การประสมคำ การสมาส วิธีตัทธิต
2
THL 3106 การสร้างคำไทย การซ้อนคำ คือ นำคำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายกันมาเข้าคู่กัน ทำให้เกิดความหมายแปลกไปกว่า คำเดี่ยวๆ เช่น บ้านเมือง แข็งแรง หรือนำคำที่มีเสียงที่เกิดแห่งเดียวกันหรือใกล้เคียงกันมาเข้าคู่กัน เพื่อให้ได้ทั้งความหมายและเสียง เช่น อุบอิบ เอิบอาบ
3
THH 3106 การสร้างคำไทย การซ้ำคำ คือ นำคำเดียวกันสองคำซ้อนกัน มีความหมายต่างจากคำเดี่ยว เช่น ใหญ่ๆ ส่งๆ การประสมคำ คือ นำคำใดคำหนึ่งมากำหนดเป็นคำสำคัญเรียกคำตัวตั้ง และหาคำอื่นมาเป็นคำขยาย ทำให้ความหมายแปลกไปกว่าเดิม เช่น หน้าม้า
4
การสร้างคำบาลีสันสกฤต
THH 3106 การสร้างคำบาลีสันสกฤต วิธีกฤต / กิตก์ – เป็นการสร้างคำขั้นแรก ธาตุ + ปัจจัย = ศัพท์ วิธีลงอุปสรรค อุปสรรค + ศัพท์ / ธาตุ = ศัพท์ใหม่ วิธีสมาส ศัพท์ + ศัพท์ = ศัพท์ใหม่ วิธีตัทธิต ศัพท์ + ปัจจัย = ศัพท์ใหม่
5
การสร้างศัพท์โดยวิธีกฤต / กิตก์
ปัจจัยนามกฤต ทำให้เกิดนามศัพท์ เรียกว่า คำนามกฤต (ใช้ได้ทั้งเป็นคำนาม และคำคุณศัพท์) มีความหมายใน เชิงนาม เช่น กฺวิ , -ณฺวุ, -ณ แปลว่า ผู้ ธาตุ + ปัจจัย = ศัพท์ ชนฺ + กฺวิ = ช (ผู้เกิด) คมฺ + กฺวิ = ค (ผู้ไป) คมฺ + รู = คู (ผู้ไปโดยปกติ)
6
การสร้างศัพท์โดยวิธีกฤต / กิตก์
2. ปัจจัยกริยากฤต ทำให้เกิดกริยาศัพท์ เรียกว่า คำกริยากฤต (ใช้เป็นคำขยายนาม แจกวิภัตติตามนาม) มีความหมายเป็นกริยา เช่น ต, -ตฺวา, -ตฺวาน, -ตูน แปลว่า แล้ว ธาตุ + ปัจจัย = ศัพท์ มา + ต= มิต (วัดแล้ว, นับแล้ว) ชิ + ต = ชิต (ชนะแล้ว) มฤ + ต = มต (ตายแล้ว)
7
-ตฺวา ถ้าลงกับธาตุที่มีอุปสรรคประกอบหน้า ตฺวา จะแปลงเป็น ย
หมายเหตุ ปัจจัย -ตฺวา, -ตฺวาน, -ตูน มีลักษณะพิเศษ คือ -ตฺวา ถ้าลงกับธาตุที่มีอุปสรรคประกอบหน้า ตฺวา จะแปลงเป็น ย อุปสรรค + ธาตุ + ปัจจัย = ศัพท์ อา + ทา + ตฺวา = อาทาย (ให้แล้ว) 2. ถ้าธาตุลงท้ายด้วยพยัญชนะในภาษาบาลีจะเกิดการกลมกลืนเสียง (สนธิ) ตามกฎการซ้อนพยัญชนะ อา + คมฺ+ ตฺวา = อาคนฺตฺวา, อาคมฺย (ส) อาคมฺม (ป) (มาแล้ว)
8
หมายเหตุ 3. ศัพท์ที่ลง -ตฺวา, -ตฺวาน, -ตูน ปัจจัย ถือเป็น อัพยยศัพท์ คือ ศัพท์ที่นำไปใช้โดยไม่ต้องประกอบวิภัตติ - ต , - ติ ปัจจัย เมื่อประกอบกับธาตุที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งปัจจัยและพยัญชนะท้ายธาตุ 1. ท้ายธาตุ ธาตุ + ปัจจัย = ศัพท์ ฉิทฺ (ตัด) + ต = ฉินฺน (อันเขาตัดแล้ว)
9
หมายเหตุ - ต , - ติ ปัจจัย เมื่อประกอบกับธาตุที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งปัจจัยและพยัญชนะท้ายธาตุ 1. ท้ายธาตุเป็น ทฺ เมื่อลง ต ปัจจัยเป็น ทฺต แปลงเป็น นฺน เช่น ธาตุ + ปัจจัย = ศัพท์ ฉิทฺ (ตัด) + ต = ฉินฺน (อันเขาตัดแล้ว)
10
หมายเหตุ 2. ท้ายธาตุเป็น รฺ เมื่อลง ต ปัจจัยเป็น รฺต แปลงเป็น รฺณ (ส) ณฺณ (ป) เช่น ธาตุ + ปัจจัย = ศัพท์ ปูรฺ (เต็ม) + ต = ปูรฺณ, ปุณฺณ (เต็มแล้ว) 3. ท้ายธาตุเป็น ศฺ, ษฺ, สฺ เมื่อลง ต ปัจจัยเป็น ศฺต, ษฺต, สฺต แปลงเป็น ษฺฏ (ส) ฏฺฐ (ป) เช่น ทุษฺ (ร้าย) + ต = ทุษฺฏ, ทุฏฺฐ (ร้ายแล้ว)
11
หมายเหตุ 4. ท้ายธาตุเป็น ภฺ, ธฺ เมื่อลง ต ปัจจัยเป็น ภฺต , ธฺต แปลงเป็น ทฺธ เช่น ธาตุ + ปัจจัย = ศัพท์ ลภฺ (ได้) + ต = ลพฺธ, ลทฺธ (ได้แล้ว) 5. ท้ายธาตุเป็น มฺ เมื่อลง ต ปัจจัยเป็น มฺตแปลงเป็น นฺต เช่น ศมฺ, สมฺ (สงบ) + ต = ศานฺต, สนฺต (สงบแล้ว) ติ = ศานฺติ, สนฺติ (ความสงบ)
12
หมายเหตุ 6. ท้ายธาตุเป็น หฺ เมื่อลง -ต ปัจจัยเป็น ภฺต , ธฺต แปลงเป็น ทฺธ เช่น ธาตุ + ปัจจัย = ศัพท์ ลภฺ (ได้) + ต = ลพฺธ, ลทฺธ (ได้แล้ว)
13
การสร้างศัพท์โดยวิธีลงอุปสรรค
อุปสรรค (prefixes) คือ ส่วนของคำที่ใช้ประกอบเข้าข้างหน้าธาตุหน้าศัพท์ หรือหน้าบท ทำให้มีความหมายเปลี่ยนไป อุปสรรคเป็นหน่วยคำไม่อิสระ (Bound Morpheme) ไม่สามารถใช้ตามลำพังได้ ต้องประกอบกับธาตุ ศัพท์ หรือ บท ดังนั้นการสร้างคำโดยวิธีลงอุปสรรค ก็คือ การใช้อุปสรรคประกอบหน้าธาตุ ศัพท์ หรือบท เพื่อให้เกิดศัพท์ หรือบทที่มีความหมายใหม่
14
อุปสรรค + ธาตุ สํ (ร่วม) + คมฺ สงฺคม (ไปร่วม) + อ สงฺคม (การไปร่วม) อุปสรรค + ศัพท์ อา (กลับความ) + คม (ไป) อาคม (มา) อุปสรรค + บท วิ (กลับความ) + กฺรีณาติ (เขาย่อมซื้อ) วิกฺรีณาติ (เขาย่อมขาย)
15
ลักษณะของอุปสรรค อุปสรรคมีทั้งที่มีพยางค์เดียวและสองพยางค์ ทั้งพยัญชนะเดี่ยวและพยัญชนะคู่ (ส.) ทั้งที่มีตัวสะกด (ส.) และไม่มีตัวสะกด มีความหมายต่างกันเป็น 3 ลักษณะ คือ
16
ลักษณะของอุปสรรค ความหมายวิเศษยิ่ง วิ (วิเศษ แจ้ง ต่าง)
วิ (วิเศษ แจ้ง ต่าง) อติ (ยิ่ง เกิน ล่วง) อธิ (ยิ่ง ใหญ่ ทับ) อภิ (ยิ่งใหญ่ จำเพาะ ข้างหน้า) สุ (ดี งาม ง่าย) สํ (ร่วม ดี กับ)
17
ลักษณะของอุปสรรค ความหมายตรงกันข้าม อา ปรา วิ (กลับความ)
อา ปรา วิ (กลับความ) ปฺรติ ปฏิ (ตอบ กลับ) อว โอ (ลง) นิสฺ นิ (ไม่มี ออก) อ (ไม่) อุตฺ อุ (ขึ้น) นิ (เข้า ลง เสมอ)
18
ลักษณะของอุปสรรค ความหมายต่าง ๆ ออกไป อนุ (น้อย ภายหลัง ตาม)
อนุ (น้อย ภายหลัง ตาม) อปิ ปิ (ใกล้ บน) ปริ (รอบ) ปฺร ป (ทั่ว ก่อน ข้างหน้า ออก) ทุสฺ ทุ (ชั่ว ยาก) อป (ปราศ หลีก) อุป (ใกล้ มั่น เข้าไป)
19
การประกอบอุปสรรค อุปสรรค + ธาตุ / บท โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนใหญ่เป็นอุปสรรคที่ลงท้ายด้วยสระ อป + มงฺคล = อปมงฺคล (ปราศจากมงคล) อุปสรรค + ธาตุ /ศัพท์ / บท มีการเปลี่ยนแปลงตามกฎการสนธิสระและสนธิพยัญชนะ ได้แก่ อุปสรรคที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ และอุปสรรคที่ลงท้ายด้วยสระบางตัว ทุสฺ , ทุ + พล = ทุรฺพล, ทุพฺพล (อ่อนแอ, มีกำลังน้อย)
20
การประกอบอุปสรรค อุปสรรค + อุปสรรค + ธาตุ / ศัพท์ / บท
ปฺรติ,ปฏิ + อุป + ปตฺ + ต = ปจฺจุปฺนฺน / ปฺรตฺยุตฺปนฺน (ปัจจุบัน)
21
การสร้างศัพท์โดยวิธีสมาส
1. เป็นการสร้างคำโดยการนำศัพท์ กับ ศัพท์ มาประกอบกัน ที่มีความหมายใหม่ขึ้น ศัพท์ + ศัพท์ = ศัพท์ใหม่ ราชนฺ + โอรส = ราชโอรส (โอรสแห่งพระราชา)
22
การสร้างศัพท์โดยวิธีสมาส
2. คำสมาสที่มีลักษณะคล้ายคำประสม และคำซ้อนของไทย คือ มีทั้งที่มีความหมายเด่นอยู่ที่ศัพท์ใดศัพท์หนึ่ง และศัพท์ที่เหลือเป็นคำขยาย ต่างกันแต่คำบาลี – สันสกฤต เรียงคำขยายไว้ข้างหน้า จึงต้องแปลจากข้างหลังไปข้างหน้า และที่มีความหมายเสมอกัน โดยแปลมีคำว่า “และ” เช่น ศัพท์ + ศัพท์ = ศัพท์ใหม่ มาตา+ ปิตา = มาตาปิตา (มารดาและบิดา)
23
การสร้างศัพท์โดยวิธีสมาส
3. คำสมาสประกอบขึ้นด้วย คำนาม กับ คำนาม หรือ คำขยาย กับ คำนาม เช่น ศัพท์ + ศัพท์ = ศัพท์ใหม่ เทว + ราชนฺ = เทวราช (ราชาผู้เสมือนเทพ) สหส + นยน = สหสนยน (พันตา)
24
การสร้างศัพท์โดยวิธีสมาส
4. ศัพท์หน้าของคำสมาส มีทั้งลบวิภัตติ เรียกว่า สมาสลบวิภัตติ (ลุตฺตสมาส) และศัพท์หน้า ไม่ลบวิภัตติ เรียกว่า สมาสไม่ลบวิภัตติ (อลุตฺตสมาส) เช่น ศัพท์ + ศัพท์ = ศัพท์ใหม่ ปุพฺเพ + สนฺนิวาสน = ปุพฺเพสนฺนิวาสน (การอยู่ร่วมกันในกาลก่อน)
25
การสร้างศัพท์โดยวิธีตัทธิต
1. เป็นการสร้างคำโดยใช้ปัจจัยประกอบท้ายศัพท์ เป็นวิธีย่อคำสมาส ให้สั้นเข้า โดยใช้ปัจจัยแทนศัพท์หลัง เช่น วิธีสร้าง ศัพท์ ศัพท์ / ปัจจัย ความหมาย สมาส มยุร สมุห (หมู่, ฝูง) มยุรสมุห ฝูงนกยูง ตัทธิต ณ (หมู่, ฝูง) มายุร สยาม ชาต (เกิดแล้ว) สยามชาต เกิดแล้วในสยาม ณิก (เกิด) สยามิก เกิดในสยาม
26
การสร้างศัพท์โดยวิธีตัทธิต
2. ปัจจัยตัทธิต มีความหมายกำหนดไว้ต่าง ๆ กัน และมีชื่อเรียก ต่าง ๆ กัน เช่น ปัจจัยโคตรตัทธิต มีความหมายว่า เหล่ากอ, ลูกหลาน ได้แก่ -ณาน, -ณายน, -เณยฺย, -ณิ, -ณิก, -ณว , -เณร เช่น ศัพท์ ปัจจัย ความหมาย สมณ เณร สามเณร เหล่ากอแห่งพระสมณะ วรุณ ณิ วารุณิ เหล่ากอแห่งพระวรุณ
27
การสร้างศัพท์โดยวิธีตัทธิต
ปัจจัยชาตาทิตัทธิต มีความหมายว่า เกิดแล้ว, มีแล้ว, ประกอบแล้ว ได้แก่ -อิม, -อิย, -กิย เช่น ศัพท์ ปัจจัย ความหมาย ปุร อิม ปุริม เกิดแล้วก่อน ปุตฺต ปุตฺติม มีบุตร
28
การสร้างศัพท์โดยวิธีตัทธิต
ปัจจัยสมุหตัทธิต มีความหมายว่า หมู่, ฝูง, พวก ได้แก่ กณ, -ณ, -ตา เช่น ศัพท์ ปัจจัย ความหมาย ชน ตา ชนตา หมู่ชน มนุสฺส กณ มานุสก หมู่แห่งมนุษย์
29
การสร้างศัพท์โดยวิธีตัทธิต
ปัจจัยฐานตัทธิต มีความหมายว่า ที่ตั้ง, ควร ได้แก่ อีย, -เอยฺย เช่น ศัพท์ ปัจจัย ความหมาย มทน อีย มทนีย ที่ตั้งแห่งความเมา ปูชน ปูชนีย ควรบูชา
30
การสร้างศัพท์โดยวิธีตัทธิต
ปัจจัยเสฏฐตัทธิต มีความหมายแสดงขั้นของคุณศัพท์ได้แก่ -ตร, -อิยิสฺสก, -อิย (กว่า), -ตม, -อิฏฺฐ (ที่สุด) เช่น ศัพท์ ปัจจัย ความหมาย ปาป ตร ปาปตร บาปกว่า ตม ปาปตม บาปที่สุด กน อิย กนิย น้อยกว่า อิฏฺฐ กนิฏฺฐ น้อยที่สุด
31
การสร้างศัพท์โดยวิธีตัทธิต
ปัจจัยอัตถิตัทธิต มีความหมายว่า มี ได้แก่ -วี, -ส, -สี, อิก , - อี, -ร, -มนฺตุ, -วนฺตุ, -ณ เช่น ศัพท์ ปัจจัย ความหมาย เมธา วี เมธาวี มีปัญญา สุข อี สุขี มีสุข มธุ ร มธุร มีความหวาน คุณ วนฺตุ คุณวนฺตุ คุณวา มีคุณ
32
การสร้างศัพท์โดยวิธีตัทธิต
ปัจจัยภาวตัทธิต มีความหมายว่า ความมี , ความเป็น ได้แก่ -ตฺต, -ณฺย, -ตฺตน, -ตา, -ณ, -กณ เช่น ศัพท์ ปัจจัย ความหมาย จนฺท ตฺต จนฺทตฺต ความเป็นพระจันทร์ สหาย ตา สหายตา ความเป็นแห่งสหาย
33
การสร้างศัพท์โดยวิธีตัทธิต
ปัจจัยตัทธิตที่มีความหมายต่าง ๆ กัน เช่น ศัพท์ ปัจจัย ความหมาย นาว ณิก นาวิก ผู้ข้ามด้วยเรือ มคธ ณ มาคธ ผู้เกิดในแคว้นมคธ
34
การสร้างศัพท์โดยวิธีตัทธิต
3. ปัจจัยตัทธิตบางตัวมีหลายความหมาย เมื่อประกอบศัพท์แล้วทำให้ได้ศัพท์ที่มีความหมายมากขึ้น เช่น -ณ, -ณิก, -ตา แต่ การแปลความหมายค่อนข้างยากต้องอาศัยข้อความอื่นประกอบ เช่น ศัพท์ ปัจจัย ความหมาย มยุร ณ (ฝูง) มายุร ฝูงนกยูง วิสม ณ (ความมี, ความเป็น) เวสม ความเป็นแห่งของไม่เสมอ
35
สรุป ภาษาบาลีสันสกฤต สร้างศัพท์ด้วยวิธีกฤต (กิตก์) สมาส ตัทธิต และลงอุปสรรค โดยมีธาตุ (Roots) เป็นรากศัพท์ ดังนั้นศัพท์บาลีสันสกฤตจึงอาจเกิดจากธาตุตัวเดียวกัน แต่สร้างศัพท์ด้วยวิธีต่างกัน ทำให้ได้รูปศัพท์ต่างกัน และนำไปใช้ในหน้าที่ต่างกัน รวมทั้งมีความหมายต่างกันด้วย เช่น
36
ธาตุ (roots) คมฺ (ไป) กฤต (กิตก์)
คมฺ + รู > คู (ผู้ไปโดยปกติ) นามกฤต คมฺ + อ > คม (การไป) นามกฤต คมฺ + ยุ > คมน (การไป) นามกฤต คมฺ + กฺวิ > ค (ผู้ไป) นามกฤต คมฺ + ต > คต (ไปแล้ว) กริยากฤต คมฺ + ตฺวา > คนฺตฺวา (ไปแล้ว) กริยากฤต คมฺ + ตูน > คนฺตูน (ไปแล้ว) กริยากฤต
37
ธาตุ (roots) คมฺ (ไป) สมาส ปาร + คู > ปารคู (ผู้ไปถึงฝั่ง)
ปาร + คู > ปารคู (ผู้ไปถึงฝั่ง) มกร + อาคม > มกราคม (การมาถึงแห่งราศีมกร) อุร + ค > อุรค (ผู้ไปด้วยอก) ตถา + คต > ตถาคต (ผู้ไปแล้วเช่นนั้น) คมน + อาคม > คมนาคม (การไปมา ,การติดต่อสื่อสาร)
38
ธาตุ (roots) คมฺ (ไป) ลงอุปสรรค อา + คมฺ + อ > อาคม (การมา)
ตัทธิต คมน + อีย > คมนีย (ควรไป) ลงอุปสรรค อา + คมฺ + อ > อาคม (การมา) สํ + คมฺ + อ > สํคม (การไปร่วม)
39
สนธิ การสร้างคำของภาษาบาลีสันสกฤตทั้ง 4 วิธี จะมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางเสียงที่อยู่ประชิดกัน เรียกว่า “สนธิ” ซึ่งเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเสียง วิธีการสนธิเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น
40
การกลมกลืนเสียง สนธิสระ ซึ่งเกิดที่เดียวกัน คือ อะ อา, อิ อี, อุ อู จะกลมกลืนเสียงเป็นสระเดียวกัน กมล + อาสน กมลาสน ภกฺษ + อาหาร ภกฺษาหาร
41
การกลายเสียง สนธิพยัญชนะ - เมื่อเสียงท้ายของคำต้นกับเสียงต้นของคำที่ตามมาเป็นเสียงพยัญชนะด้วยกัน หรือเมื่อเสียงท้ายของคำต้น กับเสียงต้นของคำที่ตามมามีคุณสมบัติและที่เกิดต่างกัน อาจจะกลายเสียงตามเสียงหน้าหรือเสียงหลังก็ได้ มรฺ + ยุ (อน) มรณ กรฺ + ยุ (อน) กรณ
42
การกลายเสียง ราชนฺ + โอรส ราชโอรส พฺรหฺมนฺ + อาสน พฺรหฺมาสน
หากไม่กลายเสียงให้เป็นเสียงที่สามารถกลมกลืนกันได้ อาจตัดเสียงพยัญชนะหรือสระท้ายคำหน้าออก แล้วสนธิกันแบบสระสนธิ เช่น ราชนฺ + โอรส ราชโอรส พฺรหฺมนฺ + อาสน พฺรหฺมาสน
43
การกลายเสียง สนธินิคหิต - ถ้าเสียงท้ายคำต้น เป็น นิคหิต มีลักษณะสนธิ ดังนี้ ถ้าคำที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ นิคหิตจะกลายเสียงเป็น “ม” ศุภํ + อสฺตุ ศุภมสฺตุ (ขอความดีงามจงมี) คำที่ตามมาขึ้นต้นพยัญชนะ นิคหิตจะกลายเสียงเป็นพยัญชนะท้ายวรรค สํ + จร สญฺจร (การท่องเที่ยว)
44
การแปลงเสียง สนธิสระ – เมื่อท้ายคำหน้าและต้นคำหลังเป็นสระที่มีที่เกิดต่างกัน ถ้าท้ายคำหน้าเป็น อิ อี จะเปลี่ยนเป็น ย ถ้าท้ายคำหน้าเป็น อุ อู จะเปลี่ยนเป็น ว แล้วจึงสนธิ ดังนี้ สุ + ณฺว (อก) สาวก นี + ยุ (อน) นยน
45
การเพิ่มเสียง จรฺ + ต จริต เพื่อให้ฟังไพเราะ วุทฺธิ + เอว วุทฺธิเยว
สนธิพยัญชนะ ถ้าท้ายคำต้นกับต้นคำหลังเป็นเสียงที่มีคุณสมบัติและที่เกิดต่างกัน อาจมีการเพิ่มสระหรือพยัญชนะ เพื่อให้ออกเสียงสะดวก จรฺ + ต จริต เพื่อให้ฟังไพเราะ วุทฺธิ + เอว วุทฺธิเยว
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.