งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่จดทะเบียน)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่จดทะเบียน)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่จดทะเบียน)
ปพพ. มาตรา 1013 อันห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น ท่านกำหนดเป็นสามประเภท คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ (จดและไม่จด) ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด

2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่จดทะเบียน)
มาตรา 1012 อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะ แบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น มาตรา 1025 อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็น หุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด

3 ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน
ความหมาย สัญญาซึ่งบุคคลตั้ง 2 คน ขึ้นไป ตกลงนำหุ้นมาลงทุนในการกระทำกิจการ ร่วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งปันกำไรจากกิจการที่ทำนั้น และผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ร่วมกันรับผิดเพื่อหนี้ทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวน

4 ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน
สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การตกลงนำหุ้นมาลงทุนร่วมกัน มีความประสงค์เพื่อทำกิจการร่วมกัน มีความประสงค์จะแบ่งกำไรอันพึงได้จากกิจการนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนมีความรับผิดร่วมกัน

5 ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ต่อ)
บุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป เป็นบุคคลธรรมดา/นิติบุคคล? จำกัดจำนวนหรือไม่? หุ้น คืออะไร เงิน แรงงาน ทรัพย์? (1026, 1083,1108,1119,1221) กรณีเป็นทรัพย์จะเรียกคืนได้หรือไม่ อย่างไร ชื่อเรียกห้างหุ้นส่วนมีความสำคัญหรือไม่ การตกลงจำกัดความรับผิด – ระหว่างหุ้นส่วน (1053)/ระหว่างบุคคลภายนอก (1050)? การเกิดสัญญาห้างหุ้นส่วน – มีแบบ/ไม่มีแบบ ผลของการเกิดห้างหุ้นส่วน – ระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเอง/ระหว่างบุคคลภายนอก

6 การลงหุ้นและการตีราคา
มาตรา 1026 ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้นด้วยในห้าง หุ้นส่วน สิ่งที่นํามาลงด้วยนั้น จะเป็นเงินหรือทรัพย์สินสิ่งอื่นหรือลง แรงงานก็ได้ มาตรา 1027 ในเมื่อมีกรณีเป็นข้อสงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งซึ่ง นํามาลงหุ้นด้วยกันนั้นมีค่าเท่ากัน มาตรา 1044 อันส่วนกําไรก็ดีส่วนขาดทุนก็ดีของผู้เป็นหุ้นส่วนทุก ๆ คนนั้น ย่อมเป็นไปตามส่วนที่ลงหุ้น

7 ผลของการเกิดห้างหุ้นส่วน
ต่อผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วม และไม่อาจแบ่งแยกความรับผิด ในหนี้สินของห้างแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ (1025) ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่ยอมมอบส่วนลงหุ้นถูกเรียกให้นำส่วนลงหุ้นมามอบให้ หุ้นส่วนอื่นได้ (1031) หากไม่ส่งมอบอาจเกิดกรณีตาม 1057, 1058 ผู้เป็นหุ้นส่วนห้ามเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิมหรือประเภทแห่งกิจการ เว้นแต่ ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (1032) แต่ตกลงเป็นอย่างอื่นได้เพราะไม่เป็นขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดี (151)

8 การไม่มอบส่วนลงหุ้น 1031 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดละเลยไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตนเสียเลย ท่านว่าต้องส่งคำบอกกล่าว เป็นจดหมายจดทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้น ให้ส่งมอบส่วน ลงหุ้นของตนมาภายใน เวลาอันสมควร มิฉะนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะลงเนื้อเห็นพร้อมกัน หรือโดยเสียงข้างมากด้วยกัน สุดแต่ข้อสัญญา ให้เอาผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นออกเสียได้ 1057 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดร้องขอเมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังจะกล่าวต่อไปนี้ ศาลอาจสั่งให้ ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันเสียก็ได้ คือ (1) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้ร้องฟ้องนั้น ล่วงละเมิดบทบังคับใด ๆ อันเป็นข้อ สาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตน โดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรง (2) เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นจะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีหวังจะ กลับฟื้นตัวได้อีก (3) เมื่อมีเหตุอื่นใด ๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้

9 การไม่มอบส่วนลงหุ้น 1058 เมื่อเหตุอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวด้วยผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่ง ซึ่งตามความ ในมาตรา 1057 หรือมาตรา 1067 เป็นเหตุให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนอกนั้นมี สิทธิจะเรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ไซร้ ในเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนเหล่านั้นยื่นคำร้อง ท่านว่าศาลจะสั่งให้กำจัดหุ้นส่วนผู้ต้นเหตุคนนั้นออกเสียจากห้างหุ้นส่วนแทน สั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนก็ได้ ในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างห้างหุ้นส่วนกับผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถูกกำจัดนั้น ท่านให้ตีราคาทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนตามราคาที่เป็นอยู่ในเวลาแรกยื่นคำร้อง ขอให้กำจัด

10 ผลของการเกิดห้างหุ้นส่วน
ต่อบุคคลภายนอก ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วม และไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดใน หนี้สินของห้างแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ (1025) ลูกหนี้ร่วม (291) เป็นความรับผิดอย่างร่วมกันและแทนกัน ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องร่วมรับผิดในหนี้ทุกชนิดของห้าง มูลละเมิดหรือสัญญา หากเกิดจาก การที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง “ได้จัดทำไปในทางธรรมดาค้าขายของห้าง” (1050)

11 การจัดการงานของห้างหุ้นส่วน
1.1 ถ้าไม่ได้ตกลงกันจัดการห้างได้ทุกคน เว้นแต่การเข้าทำสัญญาที่ผู้เป็น หุ้นส่วนอีกคนทักท้วง (1033) กรณีไม่ได้กำหนด ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทุก คน 1.2 กรณีมีข้อตกลงจัดการห้าง 1.2.1 กำหนดสัดส่วนเสียงของหุ้นในการลงมติ หากไม่กำหนดเสียง หุ้นส่วน 1 คน มีคะแนน 1 เสียง โดยไม่คคำนึงถึงจำนวนหุ้น (1034) 1.2.2 การตกลงตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่หุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งจะทำการอัน หุ้นส่วนผู้จัดการอีกคนทักท้วงไม่ได้ (1035)

12 1.2.2 การตกลงตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ (ต่อ)
การถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการเมื่อหุ้นส่วนทุกคนยินยอม เว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น 1036 กรณีหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวทำงานลำพังได้ หากมีหลายคนจะทำการที่หุ้นส่วนผู้จัดการคนอื่น ทักท้วงไม่ได้ ระหว่างหุ้นส่วนกันเองมีผลแบบจัดการงานนอกสั่ง (1043, 396) ระหว่างบุคคลภายนอก หากทำการภายในทางธรรมดาค้าขาย (1050) ความสัมพันธ์ระหว่างหุ้นส่วนผู้จัดการกับหุ้นส่วนอื่นเป็นไปตามลักษณะตัวแทน (1042) หุ้นส่วนที่ไม่ใช่ผู้จัดการเอื้อมเข้ามาจัดการงาน หรือหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำล่วงขอบอำนาจของตน ระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองมีผลแบบจัดการงานนนอกสั่ง

13 การจัดการงานของห้างหุ้นส่วน
1.3 ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิไต่ถามการจัดการงานของห้าง และมีสิทธิที่จะ ตรวจ คัดสำเนาบัญชี เอกสารใดๆของห้างได้ (1037) 1.4 ห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทำการค้าแข่งกับห้าง โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก หุ้นส่วนคนอื่นใน กิจการซึ่งมีสภาพดุจเดียวกัน และแข่งขันกับห้าง ไม่ว่าจะเป็น การทำเพื่อประโยชน์ตนเอง หรือผู้อื่น (1038) กิจการซึ่งมีสภาพดุจเดียวกัน พิจารณาจากสภาพ เวลา และสถานที่ หุ้นส่วนคนอื่น? คือทุกคนหรือส่วนมาก หากฝ่าฝืน?

14 1.4 ห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทำการค้าแข่งกับห้าง (ต่อ)
กรณีมีหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งผ่าฝืนข้อกำหนดห้ามการค้าแข่งตามมาตรา 1038 นี้ ผุ้ เป็นหุ้นส่วนคนอื่น มีสิทธิดังต่อไปนี้ 1.4.1 เรียกเอาผลกำไรซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนที่ผ่าฝืนหาได้ทั้งหมด หรือ 1.4.2 เรียกเอาค่าสินไหมทดแทน เพื่อการที่ห้างหุ้นส่วนได้รับความเสียหายเพราะเหตุนั้น ห้ามมิให้ฟ้องเรียก กำไร/ค่าเสียหาย เมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันทำการฝ่าฝืน สรุปคือ เมื่อเรียก กำไร/ค่าเสียหาย มาได้ หุ้นส่วนคนที่ฝ่าฝืนไม่ได้รับส่วนแบ่งจาก กำไรหรือค่าเสียหายนั้นๆเฉพาะเพียงแต่หุ้นส่วนคนอื่นที่จะได้ *การค้าแข่งกับห้างเป็นบทบังคับอันเป็นสาระสำคัญของการเป็นห้างหุ้นส่วน ดังนั้น อาจเป็นเหตุให้หุ้นส่วนอื่นขอสั่งให้ศาลพิจารณาสั่งเลิกห้างได้ (1057 (1))

15 การจัดการงานของห้างหุ้นส่วน
ผลของการจัดการงานของห้างหุ้นส่วน มาตรา ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะเรียกเอาส่วนของตนจากหุ้นส่วนอื่น ๆ แม้ในกิจการค้าขายอันใดซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนก็ได้ (ทั้งนี้เพราะมีกรณีที่มีหุ้นส่วนผู้จัดการ และกรณีที่หุ้นทุกคน(คนใดๆก็ตามมีอำนาจ จัดการแทนห้าง) ดังนั้น แม้ไม่ปรากฏชื่อก็ย่อมสามารถเรียกส่วนของตนได้ ทั้งนี้ใช้กับ กรณีที่เป็นผลหระโยชน์ที่ห้างได้รับมาแล้ว หากไม่สามารถนำไปรับผลประโยชน์จาก บุคคลภายนอกในการงานที่ไม่ปรากฏชื่อตนได้) มาตรา 1049 ผุ้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใดๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายที่ ไม่ปรากฏชื่อตนนั้นหาได้ไม่ (แต่ห้างหุ้นส่วนสามารถฟ้องบุคคลภายนอกให้ชะระหนี้ได้ตามหลักคู่สัญญา แต่ต้อง ทำในนามห้างมิใช้ในนามหุ้นส่วนผู้ที่ไม่ปรากฏชื่อนั้น)

16 การออกจากการเป็นหุ้นส่วน
หุ้นส่วนผู้ที่ออกจากการเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนยังต้องมี ความรับผิดในหนี้เก่าซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนออก (1051) ทั้งในหนี้ที่เกิดจากมูลสัญญาและละเมิด หากเป็นการที่ได้ทำไปในทางปกติ ค้าขายของห้าง (1025, 1050) หนี้ที่ห้างก่อให้เกิดก่อนหุ้นส่วนนั้นจะออกจากการเป็นหุ้นส่วน ≠ หนี้ที่ถึงกำหนดชำระก่อนจะออกจากการเป็นหุ้นส่วน ทั้งนี้การออกจากการเป็นหุ้นส่วน เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิม ซึ่งเป็น สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนที่ตกลงในเรื่องผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนทุกคนต้องให้ความ ยินยอม (1032) เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

17 การออกจากการเป็นหุ้นส่วน
กรณีหุ้นส่วนคนที่ออกไปมีการใช้ชื่อตนระคนกับชื่อห้าง หุ้นส่วนผู้ที่ออก จากขอออกจากห้างหุ้นส่วนมีสิทธิขอให้งดใช้ชื่อตนระคนกับชื่อห้าง ตามหลักทั่วไปเรื่องสิทธิในชื่อตน (18) หลักกฏหมายในเรื่องหุ้นส่วนบริษัท (1047)

18 การออกจากการเป็นหุ้นส่วน
หากไม่นำชื่อออก ผู้เป็นหุ้นส่วนเก่า (ที่ขอออกไปแล้ว) อาจมีความรับผิดต่อ บุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของห้างเสมือนเป็นหุ้นส่วน (1054) หาก หุ้นส่วนคนเก่ารู้แล้วไม่คัดค้านปล่อยให้เขาแสดงว่าตนเป็นหุ้นส่วน กรณีเป็นชื่อพ้องเสียง เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญวิสุทธิ์และตรีคูณ เปลี่ยนเป็นห้าง หุ้นส่วนสามัญวิศุตร์และตรีคูณ จะมีผลอย่างไร? กรณี 1054 ใช้กับคนที่แสดงตนเป็นหุ้นส่วน (ทั้งที่ไม่ได้เป็น) ด้วยวาจาหรือลายลักษณ์ อักษร หรือกิริยา ด้วยยินยอมให้ห้างใช้ชื่อตนเป็นชื่อห้าง ให้เป็นผู้มีความรับผิดต่อ บุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนเสมือนเป็นหุ้นส่วน แต่หากเป็นกรณีที่เจ้าของชื่อที่ออกใช้ตายไปแล้วและห้างยังคงค้าอยู่เช่นเดิมภายใต้ ชื่อเดิม เหตุที่ยังใช้ชื่อเดิม หรือใช้ชื่อที่มีชื่อผู้ตายควบอยู่ไม่ทำให้ความรับผิดในหนี้ของ ห้างที่เกิดภายหลังการตายนั้นตกแก่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย (1054 วรรค 2)

19 การเข้าเป็นหุ้นส่วนใหม่
การเข้าเป็นหุ้นส่วนใหม่ หุ้นส่วนใหม่ผู้นั้นต้องรับผิดในหนี้เดิมของห้างก่อนที่ตน จะได้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน (1052) แต่ผู้กำลังจะมาเป็นหุ้นส่วนคนใหม่ย่อมขอดูรายการหนี้สินก่อนเข้าร่วม เป็นหุ้นส่วนได้ ทั้งนี้ ห้ามมิให้มีการชักนำเอาบุคคลอื่นเป็นหุ้นส่วนโดยมิได้รับความยินยอมของ หุ้นส่วนทุกคน เว้นแต่จะตกลงไว้เป็นอย่างอื่น (1040) แม้จะมีการโอนส่วนกำไรให้บุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็น หุ้นส่วนทั้งหลาย บุคคลภายนอกนั้นไม่สามารถเข้าเป็นหุ้นส่วนได้ (1041)

20 การเลิกและชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
หากไม่มีการเลิกห้าง ผู้เป็นหุ้นส่วนต่างยังคงมีสิทธิและความรับผิดในฐานะผู้ เป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน อ้างว่าไม่ผูกผันเพราะไม่ยุ่งเกี่ยวในการงานไม่ได้ การตก ลงเลิกห้างหุ้นส่วนกันสามารถทำได้โดยการตกลงกันตามหลักสัญญา และหลัก กฏหมายที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะเรื่องห้างหุ้นส่วน เหตุแห่งการเลิกห้างหุ้นส่วน 1) ตกลงเลิกสัญญา 2) การเลิกโดยผลของกฏหมาย (1055) 3) การเลิกโดยคำสั่งศาล (1057)

21 เหตุแห่งการเลิกห้างหุ้นส่วนตามหลักสัญญา
ต้องเป็นการตกลงเลิกห้างกันโดยผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกันทุกคน หากมีการ คัดค้านจากบางคนไม่สามารถเป็นการตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนโดยสัญยาได้ ต้องมีวิธีการบอกกล่าวการเลิกตาม (1056) หากตกลงเลิกกันได้ ไม่จำต้องมีแบบหรือหลักฐานเป็นหนังสือเพียงแต่ตก ลงด้วยวาจาได้ (ดู 1012 การเกิดสัญญาห้างหุ้นส่วนก็ไม่ได้มีแบบ) การตกลงเลิกห้างนั้นจะสามารถทำได้ทุกเมื่อแม้ต่อให้มีกำหนดระยะเวลา การก่อตั้งห้างเมื่อแรกเริ่ม ทั้งนี้ย่อมจะต้องได้รับความตกลงยินยอมจาก หุ้นส่วนทุกคน

22 เหตุแห่งการเลิกห้างหุ้นส่วนโดยผลของกฏหมาย
หากมีเหตุแห่งการเลิกห้างหุ้นส่วนตามที่กำหนดไว้ในกฏหมาย ห้างย่อมเลิกกันได้ทันที (1055) (1) เกิดเหตุการณ์ตามที่กำหนด (1055(1)) (2) ครบระยะเวลาตามที่กำหนด (1055 (2)) หากยังทำต่อแม้ครบระยะเวลาถือว่าห้างยังคงอยู่และจะเป็น ลักษณะของการดำเนินกิจการห้างหุ้นส่วนอย่างไม่มีกำหนด (1059) หากต้องการเลิกต้อง ตกลงเป็นสัญญาเลิก หรือบอกกล่าวการเลิกตามวิธีการ (1056) (3) เมื่อเสร็จกิจการตามที่กำหนด (1055 (3)) (4) เมื่อหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งบอกกล่าวแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ ตามวิธีการที่ กำหนดในกฏหมาย (1056) (5) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนตาย หรือล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ

23 วิธีการบอกกล่าวการเลิกห้างหุ้นส่วนโดยหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง
หุ้นส่วนคนที่ประสงค์จะเลิกต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน มีผลเป็นการเลิกห้างเมื่อสิ้นรอบปีบัญชีนั้น ตัวอย่าง ห้างหุ้นส่วนค้าผ้าประกิบด้วยผู้เป็นหุ้นส่วน ก., ข. และ ค. เมื่อ นาย ก.ต้องการบอกเลิกห้างต้องบอกกล่าวก่อนเดือน มิ.ย. 62 เพื่อที่จะให้ห้าง มีผลเลิกในสิ้นรอบปีบัญชีคือ ธ.ค. 62 นาย ก. บอกกล่าว ห้างเลิกเมื่อสิ้นรอบปีบัญชี มิ.ย ธ.ค. 62

24 เหตุแห่งการเลิกห้างหุ้นส่วนโดยคำสั่งศาล
จะมีผลเมื่อมีการร้องขอต่อศาลโดยหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งจากเหตุต่อไปนี้ (1057) 1. หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งมีการล่วงละเมิดบทบังคับอันเป็นสาระสำคัญ (1057 (1)) 2. เมื่อกิจการมีแต่ขาดทุน (1057 (2)) 3. มีเหตุอื่นๆ (1057 (3))

25 เหตุแห่งการเลิกห้างหุ้นส่วนโดยคำสั่งศาล
การล่วงละเมิดบทบังคับอันเป็นสาระสำคัญ (1057 (1)) อาจเกิดขึ้นในในกรณี 1. บทบังคับอันเป็นสาระสำคัญตามข้อสัญญา 2. บทบังคับอันเป็นสาระสำคัญตามข้อกฏหมาย 2.1 มีการไม่มอบส่วนลงหุ้น (1031) 2.2 มีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิม หรือประเภทกิจการ โดยไม่ได้รับความ ยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (1032)

26 เหตุแห่งการเลิกห้างหุ้นส่วนโดยคำสั่งศาล (ต่อ)
การล่วงละเมิดบทบังคับอันเป็นสาระสำคัญ ตามข้อกฏหมาย (ต่อ) (1057(1)) 2.3 มีการค้าแข่งกับห้าง (1038) 2.4 การจัดการงานอาจขาดความระมัดระวัง เนื่องจากหุ้นส่วนต้องจัดการงาน ของห้างอย่างระมัดระวังเสมือนหนึ่งเป็นงานของตน (1039) 2.5 มีการชักนำบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เป็น หุ้นส่วนทุกคน (1040)

27 เหตุแห่งการเลิกห้างหุ้นส่วนโดยคำสั่งศาล (ต่อ)
หากกิจการดำเนินไปก็มีแต่จะขาดทุน (1057 (2)) ยอดขายสินค้า หรือยอดให้บริการห้องเช่าไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินกิจการมาเป็นเวลามากกว่า 6 เดือนแล้ว เมื่อมีเหตุอื่นใด ๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ มีไฟไหม้ในบริเวณอาคารข้างเคียงร้านค้าหรือสถานประกอบการ และมี ความเสียหายอันเกินกว่าจะเยียวยาให้กลับมาดังเดิมในเวลาอันใกล้ ผู้เป็นหุ้นส่วนจาก 2 ใน 3 คน เกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตจากเหตุที่ได้กระทำไป ในทางธรรมดาค้าขายของห้าง เป็นเหตุให้เหลือหุ้นส่วนเพียงคนเดียว ซึ่งไม่ครบองค์ประกอบของการเข้าเป็นหุ้นส่วน (1012)

28 การเลิกห้างหุ้นส่วนโดยคำสั่งศาล (ต่อ)
ผู้ร้องต้องเป็นหุ้นส่วนที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุแห่งการเลิกเป็นห้างหุ้นส่วน การที่ผู้เป็นหุ้นส่วนไปร้องขอต่อศาสเนื่องจากมีเหตุให้เลิกความเป็นห้างหุ้นส่วน ศาล จะใช้ดุลพินิจให้ห้างหุ้นส่วนนั้น เลิกกันหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นที่ไม่ได้ก่อให้เกิดเหตุแห่งการเลิกห้างหุ้นส่วนตาม 1057 อาจ พิจารณาขอให้ศาลกำจัดผู้ก่อเหตุออกได้ ศาลอาจสั่งให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนที่ก่อให้เกิด เหตุแห่งการเลิกห้างหุ้นส่วนออกจากการเป็นหุ้นส่วน นอกเหนือจากการเลิกห้างได้ (1058 วรรค 1) หากมีกรณีตามข้างต้น ต้องมีการตีราคาทรัพย์สินของหุ้นส่วนซึ่งถูกกำจัดตามราคาที่ เป็นอยู่ในเวลาแรกยื่นคำร้อง (1058 วรรค 2)

29 การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจะมีได้ต่อเมื่อมีการ “เลิก” ห้างหุ้นส่วนแล้ว (1055, 1057) การชำระบัญชีมีขึ้นเพื่อจัดการทรัพย์สิน และหนี้สิน (หากมี) ทั้งนี้เพื่อทำการ แบ่งปันสัดส่วนแห่งกำไร หรือเฉลี่ยส่วนขาดทุนและคืนทุนให้กับผู้เป็นหุ้นส่วน “การชำระบัญชี คือ กระบวนการที่ผู้ชำระบัญชีเข้ารวบรวมทรัพย์สินของห้าง หุ้นส่วน และนำทรัพย์สินไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วน และนำ ทรัพย์สินหรือเงินที่เหลือมาแบ่งหรือคืนให้แก่หุ้นส่วน” (สหธน รัตนไพจิตร, กฏหมายลักษณะห้างหุ้นส่วนบริษัท, วิญญูชน 2561)

30 การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันให้จัดการชำระบัญชี (1061) เว้นแต่ 1. ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันได้ตกลงกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (1061 วรรค 1 ส่วนต้น) 2. ศาลพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลาย (1061 วรรค 1 ส่วนท้าย) *แต่ปัจจุบัน กฏหมายล้มลายไม่สามารถฟ้ององค์กรธุรกิจที่ไม่ใช่นิติ บุคคลให้ล้มละลายได้ ส่วนนี้จึงจะไม่ใช้กับห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน*

31 การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
3. การชำระบัญชีจะไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน กิจการเป็นเพียงการลงเงินเพื่อซื้อที่ดินเก็งกำไร ไม่ปราฏว่ามีทรัพย์สินของห้าง หุ้นส่วน หรือค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติม นอกจากเงินลงหุ้นค่าซื้อที่ดิน เมื่อได้ขายที่ดินได้ กำไร มาแล้ว การที่จะต้องไปฟ้องร้องให้เลิกห้างและชำระบัญชี ก่อนที่จะคืนเงินทุน กำไร หรือขาดทุนระหว่างกันย่อมไม่เป็นประโยชน์ต่อหุ้นส่วน 4. การเลิกห้างโดยเจ้าหนี้ของหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง บังคับชำระหนี้เอาจากืรัพย์สินห้าง หุ้นส่วน หรือผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งล้มละลาย การยกเว้นไม่ชำระบัญชี และแบ่งทรัพย์สิน กำไรหรือขาดทุน จะทำโดยไม่ได้รับความ ยินยอมจากเจ้าหนี้ หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ (1061 วรรค 2)

32 การชำระบัญชี เมื่อจะมีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน หากไม่ได้มีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนร่วมกันชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน (1061 วรรค 3) ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดอาจแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีก็ได้ (1061 วรรค 3) การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีกำหนดโดยคะแนนเสียงข้างมาก (1061 วรรค 4) เว้นแต่จะได้ตกลง กันเป็นอย่างอื่น (1061 วรรค 1)

33 การชำระบัญชี (ต่อ) การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีสามารถกำหนดได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกำหนดผู้ชำระบัญชีเมื่อแรกทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน 2. หากไม่มีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การชำระบัญชีต้องร่วมกันจัดทำ จะทำเพียง คนเดียวไม่ได้ (1061 วรรค 3) 3. การแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชี ด้วยเสียงข้างมาก (1061 วรรค 4) บุคคลอื่น อาจหมายถึงบุคคลภายนอกหรือหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งก็ได้ 4. หากไม่สามารถมีการตกลงแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีได้โดยผู้เป็นหุ้นส่วน สามารถร้อง ขอต่อศาลให้เป็นผู้แต่งตั้งผู้ชำระบัญชีได้

34 การชำระบัญชี (ต่อ) 5. กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนตาย ทายาทไม่ต้องเป็นหุ้นส่วนแทนผู้ที่ตาย แต่ในการชำระ บัญชีทายาทของหุ้นส่วนที่ตายต้องร่วมชำระบัญชีด้วย หลักการเรื่องการเข้าเป็นหุ้นส่วนกับการชำระบัญชีแตกต่างกัน จึงไม่สามารถใช้ กับเรื่องการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 191/2501) 6. กรณีผู้ชำระบัญชี (ที่ได้รับแต่งตั้งไม่ว่ากรณีใด) ตาย หรือลาออก หากยังไม่ได้มี การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีคนใหม่ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีหน้าที่ในการร่วมชำระบัญชี (1061 วรรค 1) 7. การถอดถอนผู้ชำระบัญชี สามารถทำได้โดยการลงมติด้วยเสียงข้างมาก หรือ เป็นไปตามที่กำหนดในข้อสัญญา หรือร้องต่อศาลให้ถอดถอนผู้ชำระบัญชีได้

35 อำนาจของผู้ชำระบัญชี
ผู้ชำระบัญชีต้องรวบรวมทรัพย์สิน สะสางบัญชี ทำงบดุล โดยการรวบรวม ทรัพย์สิน รวมถึงการขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนเพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ เจ้าหนี้ของห้าง ในกรณีที่ผู้ชำระบัญชีจะเรียกร้อง หรือฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ลูกหนี้ของห้าง หุ้นส่วนชำระหนี้แก่ห้างหุ้นส่วน ผุ้ชำระบัญชีต้องได้รับมอบอำนาจจากผู้เป็น หุ้นส่วนทุกคน เนื่องจาก ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนไม่มีนิติฐานะแยกออก จากตัวหุ้นส่วน การรับมอบอำนาจคือการรับมอบอำนาจจากผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน เพื่อเรียกร้องให้ชำระหนี้ต่อห้างหุ้นส่วน

36 ลำดับแห่งการชำระบัญชี
เมื่อได้มีการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนต้องนำมาจัดการดังนี้ (1062) 1) ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้บุคคลภายนอก 2) ใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ใช้จ่ายออกไปในการงานของห้าง 3) ให้คืนทุนทรัพย์แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ลงหุ้นด้วยแรงงานไม่อาจได้รับการคืนทุนทรัพย์ เนื่องด้วยไม่ถือว่าแรงงานเป็นทุน ทรัพย์ เพียงเป็นทุนสมมุติเพื่อให้รู้สัดส่วนในการคิดส่วนกำไรหรือขาดทุน หากต้องมีการคืนเป็นทรัพย์จากการลงหุ้นให้ใช้ทรัพย์สิน การคืนทรัพยในส่วนทุนให้ เป็นไปตามสภาพ

37 ลำดับแห่งการชำระบัญชี
หากได้มีการชำระบัญชีตามที่กำหนดใน 1062 แล้วสินทรัพย์เหลืออยู่ อัน เป็นกำไร คำนวณเฉลี่ยส่วนกำไร ทั้งนี้อาจเป็นการคำนวณตามสัดส่วนการลงหุ้น หากได้มีการชำระบัญชีตามที่กำหนดใน 1062 แล้วไม่มีสินทรัพย์เหลืออยู่ หรือขาดทุน (1063) คำนวณเฉลี่ยส่วนขาดทุน (1063) ทั้งนี้อาจเป้นการคำนวณตามสัดส่วน การลงหุ้น ในกรณีนี้ ผู้ที่ลงแรงงานเป็นหุ้นต้องมีการคำนวณาส่วนที่ขาดทุน ด้วย อย่างไรก็ตามการคำนวณตามสัดส่วนการขาดทุนนี้ไม่สามารถยกกล่าว อ้างต่อบุคคลภายนอกได้ (1050)

38 ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วน
สัญญาไม่มีแบบ/ไม่ต้องการหลักฐานเป็นลายลักณ์อักษร 1012 ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่อาจได้บำเหน็จจากการจัดการงานของห้าง เว้นแต่ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น (1046) คุณสมบัติของหุ้นส่วนเป็นสาระสำคัญ ทั้งพิจารณาจากหลายมาตราประกอบกัน (1040 , 1041, 1055 (5), 1060) 1040 การห้ามบุคคลภายนอกเป็นหุ้นส่วนก่อนได้รับความยินยอม 1041 การโอนกำไรให้บุคคลภายนอกไม่ทำให้คนนั้นเป็นหุ้นส่วนเว้นแต่ได้รับความยิมยอม 1055 (5) มีผลเป็นการเลิกห้างได้ทันทีหากหุ้นส่วนตาย ล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีความรับผิดในหนี้ของห้างอย่างลูกหนี้ร่วม (1050) แต่ข้อกำจัดความรับ ผิดในระหว่างหุ้นส่วนกันเองไม่สามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ต่อบุคคลภายนอก (1053) แต่ยังคง สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยกันเองได้


ดาวน์โหลด ppt ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่จดทะเบียน)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google