งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา มาตรา ๒๐๙-๒๘๗/๒, ๓๖๗-๓๙๘

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา มาตรา ๒๐๙-๒๘๗/๒, ๓๖๗-๓๙๘"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา มาตรา ๒๐๙-๒๘๗/๒, ๓๖๗-๓๙๘
ครั้งที่ ๘-๙ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ดร.ศุภกิจ แย้มประชา

2 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร
มาตรา ๒๖๕ ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

3 ข้อพิจารณา มาตรานี้เป็นเหตุฉกรรจ์ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำต้องรู้ข้อเท็จจริงนั้นตามมาตรา ๖๒ วรรคท้าย จึงต้องทราบว่าอย่างไรเป็นเอกสิทธิอย่างไรเป็นเอกสารราชการ ส่วนองค์ประกอบความผิดคงต้องพิจารณาตามมาตรา ๒๖๔ ซึ่งเป็นแม่บทของความผิดเกี่ยวกับการปลอมเอกสารโดยทั่วไป ๑. เอกสารสิทธิ ๒. เอกสารราชการ

4 ๑. เอกสารสิทธิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๙) เอกสารสิทธิ หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งสิทธิต้องเป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นสิทธินั้นโดยตรงในตัวเอกสารนั้นเองว่าเป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๔๖/๒๕๒๗)

5 คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๔๖/๒๕๒๗ เอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท. ร. ๑๗ ของ ย
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๔๖/๒๕๒๗ เอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.๑๗ ของ ย. เป็นเอกสารซึ่ง ปลอมว่านายทะเบียนตำบลบ้านโฮ่งได้รับแจ้งย้ายออกของย. ว่าย้ายออกจากบ้านเลขที่ ๑๙๐/๗ หมู่ที่ ๘ ในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง ไปอยู่ที่บ้านเลขที่ ๔/๘ ถนนประชาราษฎร์แขวงบางซื่อเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นการก่อให้เกิดสิทธิอย่างใดแก่ ย. ในตัวเอกสารนั้น ใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนของ ย. ก็เป็นเพียงหลักฐานที่แสดงว่าเจ้าพนักงาน ได้รับคำขอของ ย. ไว้แล้วมิได้มีข้อความที่เป็นการก่อให้เกิดสิทธิอย่างใดแก่ ย.ในตัวเอกสารนั้นจึงถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารสิทธิ คงถือได้ว่าเป็นเอกสารราชการเท่านั้น

6 (ก) ที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อสิทธิ
โฉนดที่ดิน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๐๔/๒๕๔๐) หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓) (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๘๔/๒๕๓๑) สัญญากู้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๗/๒๕๑๗) สัญญาค้ำประกัน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๖๓/๒๕๑๓) สมุดคู่ฝากบัญชีออมทรัพย์มีข้อความแสดงว่าผู้ฝากได้ฝากเงินไว้กับธนาคารย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อสิทธิแก่ผู้ฝากที่จะเรียกถอนเงินฝากคืน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๗๔๘ และ๒๕๙๙/๒๕๓๔) ใบรับรองเงินฝากว่ามีเงินฝากตามจำนวนในเอกสารฝากไว้กับธนาคารและสามารถรับเงินคืน เปลี่ยนมือแบ่งแยกและซื้อขายได้ด้วยจึงเป็นเอกสารที่ก่อให้เกิดสิทธิดังกล่าวแก่ผู้ฝาก (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๒๒/๒๕๕๔)

7 แบบพิมพ์ใบคำขอถอนเงินของธนาคาร เป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ลงลายมือชื่อได้ขอถอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์ของตน ย่อมเป็นเอกสารอันก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินจากธนาคาร (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๗๐๕/๒๕๔๖) เช็ค (คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๗๑/๒๕๐๘) สลากกินแบ่งรัฐบาล (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๕๗/๒๕๐๓) สลากการกุศล (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๐๔/๒๕๑๐) สัญญาซื้อขายรถยนต์ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๙๕/๒๕๔๖) สัญญาซื้อขายที่ดิน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๐๒๖/๒๕๕๓) ใบบันทึกรายการขาย (แผ่นเซลสลิป)ของธนาคาร (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๑๘/๒๕๔๒ และ ๒๗๖๖/๒๕๔๖)

8 (ข.) หลักฐานแห่งการสงวนสิทธิ
แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน(ส.ค.๑) เป็นเอกสารที่เจ้าของสงวนสิทธิครอบครองที่ดินตามที่แจ้งไว้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๕๖/๒๕๐๖ และ ๒๘๕/๒๕๐๗)

9 (ค.) หลักฐานแห่งการระงับสิทธิ
ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าเป็นหลักฐานแห่งการระงับสิทธิของผู้ให้เช่าในการเรียกเก็บเงินค่าเช่าจากผู้เช่า (คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๑๕๔/๒๕๔๐ และ ๖๙๖๕ – ๖๙๖๖/๒๕๔๖)

10 กรณีที่ไม่ใช่เอกสารสิทธิ
ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐/๒๕๐๗) หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถยนต์เป็นเพียงเอกสารควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บภาษีตาม พ.ร.บ. รถยนต์ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๐๗/๒๕๔๑) หมายเลขเครื่องยนต์และหมายเลขตัวถึงรถยนต์ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๑๔/๒๕๓๑) แบบคำขอและรับโอนทะเบียนรถยนต์ของกรมการขนส่งทางบก (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๖๗/๒๕๕๒) เลขหมายประจำปืน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๓๕๓/๒๕๔๙) หนังสือมอบอำนาจ เป็นเพียงเอกสารซึ่งบุคคลหนึ่งเป็นผู้มอบอำนาจมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจ ให้มีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทน มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ จึงไม่เป็นเอกสารสิทธิ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๗๖๔/๒๕๐๖ และ ๓๔๔๘/๒๕๕๑)

11 ใบทะเบียนสมรส เป็นเอกสารแสดงฐานะของบุคคลมิได้ก่อให้เกิดสิทธิในตัวเอกสารนั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๒/๒๔๙๗) แบบคำขอใช้บริการบัตรเอทีเอ็ม เพื่อให้อนุมัติตามคำขอเท่านั้น ยังไม่แน่ว่าธนาคารจะอนุมัติตามคำขอใช้บริการดังกล่าวหรือไม่ คำขอใช้บริการดังกล่าวมิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อสิทธิในการฝาก-ถอนเงินกับธนาคารผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่ใช่เอกสารสิทธิ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๒๗/๒๕๔๗)

12 ๒. เอกสารราชการ ตามบทนิยามในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑(๘) เอกสารราชการหมายความว่า เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่และให้หมายความรวมถึงสำเนาเอกสารนั้นๆ ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย

13 ข้อสังเกต ๑. คำว่า เอกสารราชการ ตามมาตรา ๑(๘) หรือมาตรา ๒๖๕ หมายถึง เอกสารของทางราชการไทยเท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๖๖/๒๕๓๓ และ๒๓๒๘/๒๕๔๑) ๒. ต้องเป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่

14 เป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่
ก. เอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นในหน้าที่ หนังสือเดินทาง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๗๗/๒๕๓๗) ใบรับคำขอบัตร มีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๗๗๒/๒๕๔๔) บัตรประจำตัวประชาชน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๔๐๙/๒๕๓๔) บัตรประจำตัวข้าราชการ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๗๙/๒๕๒๒) ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐/๒๕๐๗) ป้ายทะเบียนรถยนต์ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๑๗/๒๕๒๑, ๒๒๔๑/๒๕๒๓ และ๔๔๙๒/๒๕๓๖) ป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๔๕๗/๒๕๒๔) แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๔๙๒/๒๕๓๖) หมายเลขเครื่องยนต์ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๙๐/๒๕๓๖) หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๗๐/๒๕๔๑)

15 หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น. ส. ๓ก
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ก.) (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๘๔/๒๕๓๑)โฉนดที่ดิน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๓/๒๔๗๑) บันทึกการจับกุม (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๑๔ - ๒๐๑๕/๒๕๓๙) รายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหาย (คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๘๑๕/๒๕๕๔)

16 ข้อสังเกต แต่ถ้าไม่ใช่เอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นก็ไม่เป็นเอกสารราชการ เช่น บันทึกที่จำเลยเขียนขึ้นไว้ทั้งฉบับและทำขึ้นไว้เป็นส่วนตัวโดย จำเลยมิได้มีหนาที่ราชการนั้น มิใช่เอกสารราชการ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๑๒/๒๕๐๗) แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มิใช่เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้น หรือรับรองในหน้าที่มิใช่เอกสารราชการ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒/๒๕๔๒) หรือใบรับรองการตรวจสภาพรถเป็นเอกสารที่กรมการขนส่งทางบกมอบให้บริษัทซึ่งได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเพื่อตรวจสภาพรถยนต์และออกใบรับรองเพื่อเป็นหลักฐานว่ารถยนต์ได้ผ่านการตรวจสภาพแล้ว พนักงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่ออกใบรับรองไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย ใบรับรองที่ออกโดยพนักงานของบริษัท จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารราชการตามมาตรา ๑ (๘) (คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๘๘/๒๕๔๕) เลขหมายประจำปืน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๓๕๓/๒๕๔๙)

17 นอกจากนี้เอกสารที่เอกชนทำขึ้นและยื่นต่อทางราชการก็ไม่ใช่เอกสารราชการ เช่น ใบมอบฉันทะให้จดทะเบียนที่ดิน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๒/๒๔๗๘)

18 ข. เอกสารที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่
หมายถึง รับรองว่าได้มีการทำเอกสารขึ้นจริงแต่มิได้รับรองถึงข้อความในเอกสารนั้นด้วย หนังสือรับรองราคาที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินออกให้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๘๖๙/๒๕๓๐)

19 ค. สำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรอง
ในข้อนี้ท่านศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า หมายความถึงสำเนาของเอกสารที่เจ้าพนักงานทำหรือที่เจ้าพนักงานรับรองและเจ้าพนักงานรับรองสำเนานั้นอีกชั้นหนึ่ง เช่น สำเนาเอกสารมหาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๒๗ สำเนาเอกสาร สำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๔ สำเนาทะเบียนสำมะโนครัว

20 ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๗๕/๒๕๒๒ จำเลยถ่ายภาพจากเอกสารที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ ภาพถ่ายเอกสารที่จำเลยถ่ายมานั้น เจ้าพนักงานไม่ได้รับรองด้วยจึงไม่ใช่เอกสารราชการ แต่เป็นเพียงเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๗) การที่จำเลยกรอกข้อความรายการต้องหาคดีต่าง ๆ เพิ่มเติมลงไปในภาพถ่ายเอกสารดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าพนักงานผู้รับรองความถูกต้องของเอกสารนั้น แล้วนำเอกสารดังกล่าวไปแจกจ่ายแก่บุคคลอื่น แม้ข้อความที่กรอกเพิ่มเติมในเอกสารจะเป็นความจริง ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๔ วรรคสอง และ ๒๖๘ แต่ไม่เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมตาม มาตรา ๒๖๕,๒๖๘

21 ข้อสังเกต คดีนี้กรมตำรวจส่งสำเนารายการประวัติอาชญากรของนายศรีวรรณ ตามหมายเรียกของศาลในคดีอื่น โดยมีพลตำรวจตรีไสวรินทร์ หัวหน้ากองทะเบียนประวัติอาชญากรรับรองว่าเป็นสำเนาถูกต้อง (จึงเป็นเอกสารราชการ) ซึ่งมีรายการที่นายศรีวรรณต้องหาในคดีต่างๆ รวม ๗ รายการ จำเลยขออนุญาตศาลถ่ายภาพเอกสารฉบับนี้ แล้วกรอกรายการที่ ๘ เพิ่มเติมลงไปในเอกสารที่ถ่ายมา มีปัญหาว่าสำเนารายการประวัติอาชญากรของนายศรีวรรณที่จำเลยกรอกข้อความเพิ่มเติมนั้นเป็นเอกสารราชการหรือไม่

22 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑ (๘) "เอกสารราชการ" หมายความว่า เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ และให้หมายความรวมถึงสำเนาเอกสารนั้นๆ ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย แต่เอกสารฉบับนี้เป็นแต่เพียงภาพถ่ายของสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่เท่านั้น เจ้าพนักงานไม่ได้รับรองภาพถ่ายเอกสารที่จำเลยถ่ายมาด้วย เอกสารที่จำเลยที่จำเลยถ่ายภาพมาจึงไม่ใช่เอกสารราชการ จำเลยกรอกข้อความเพิ่มเติมลงในเอกสาร โดยไม่ได้รับความยินยอมจากพลตำรวจตรีไสวรินทร์ผู้รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสาร แล้วนำเอกสารดังกล่าวไปแจกแก่บุคคลอื่น แม้ข้อความที่กรอกเพิ่มเติมในเอกสารจะเป็นความจริง ก็เป็นความผิดตามมาตรา ๒๖๔ วรรคสอง และ ๒๖๘ แต่ไม่เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม

23 คำพิพากษาฎีกานี้วางหลักว่า สำเนารายการประวัติอาชญากรที่เจ้าหน้าที่รับรองเป็นเอกสารราชการ แต่ภาพถ่ายของสำเนาดังกล่าว ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่ได้รับรองอีกชั้นหนึ่งภาพถ่ายนี้จึงเป็นเอกสารธรรมดา ตามมาตรา ๑(๗) ไม่ใช่เอกสารราชการตามมาตรา ๑(๘)

24 แต่ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาที่ ๙๕๐/๒๕๓๗, ๔๓๔๐/๒๕๔๓ และ ๔๐๗๓/๒๕๔๕ ได้เปลี่ยนแนววินิจฉัยใหม่ว่า การถ่ายภาพ (ถ่ายสำเนาเอกสาร) จากต้นฉบับแล้วแก้ไขในเอกสารที่ถ่ายสำเนาเอกสารมานั้น (แม้จะไม่มีเจ้าหน้าที่รับรองอีกชั้นหนึ่ง) ก็ถือว่าเป็นการปลอมเอกสารราชการได้ เช่น

25 ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๕๐/๒๕๓๗ จำเลยนำสำเนาน.ส.๓ ก มาแก้ไขโดยการเพิ่มเติม ตัดทอนข้อความและแก้รูปแผนที่ที่ดินให้ผิดไปจากความจริง แล้วจำเลยได้ถ่ายภาพสำเนา น.ส.๓ ก. ที่มีการแก้ไขแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยทำขึ้นนั้น เป็นภาพถ่ายสำเนาน.ส.๓ ก. ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ ได้ความจากคำเบิกความของ ก. และ ณ. พยานโจทก์ว่าจำเลยนำเอกสารที่จำเลยทำปลอมขึ้นไปแสดงต่อบุคคลทั้งสองเพื่อให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม

26 คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๓๔๐/๒๕๔๓ สำเนาหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินที่จำเลยนำไปใช้ เป็นภาพถ่ายจากต้นฉบับเอกสารราชการเพียงแต่แตกต่างกันในตัวเลขเกี่ยวกับราคาประเมินเท่านั้น กล่าวคือ เอกสารที่แท้จริงซึ่งเป็นต้นฉบับระบุราคาประเมินที่ดินจำนวน ๒๘,๐๐๐ บาท แต่ตามภาพถ่ายสำเนาหนังสือรับรองราคาประเมินระบุราคาประเมินที่ดินจำนวน ๘๒๘,๐๐๐ บาทดังนั้น สำเนาหนังสือรับรองราคาประเมินจึงเป็นการแก้ไขตัวเลขอันเป็นการทำปลอมขึ้นจากหนังสือรับรองราคาประเมินซึ่งเป็นเอกสารราชการที่แท้จริงแม้จะเป็นการทำปลอมในสำเนาเอกสารราชการก็ต้องถือว่าเป็นการปลอมเอกสารราชการ เมื่อจำเลยได้นำสำเนาหนังสือรับรองราคาประเมินไปใช้แสดงต่อโจทก์ร่วมเพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นภาพถ่ายจากเอกสารที่แท้จริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม

27 คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๗๓/๒๕๔๕ จำเลยที่ ๑ ถ่ายสำเนารายการจดทะเบียนรถจากฉบับที่แท้จริงซึ่งเป็นเอกสารราชการ แล้วแก้ไขรายการในช่องผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าสำเนาดังกล่าวมีข้อความตรงกับต้นฉบับ และน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ แม้จำเลยที่ ๑ จะไม่ได้แก้ไขรายการจดทะเบียนรถในเอกสารที่แท้จริง แต่การกระทำของจำเลยที่ ๑ ก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๕ แล้ว

28 คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๗๒/๒๕๔๙ จำเลยถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจากฉบับที่แท้จริงซึ่งเป็นเอกสารราชการแล้วแก้ไขในช่องชื่อ ชื่อสกุล วันออกบัตร วันหมดอายุ และนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวไปถ่ายสำเนาเอกสารอีก เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวมีข้อความตรงกับต้นฉบับและน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นการทำปลอมเอกสารขึ้นทั้งฉบับ แม้จำเลยจะมิได้แก้ไขในเอกสารที่แท้จริง การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานปลอมบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการและฐานใช้บัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา ๒๖๕, ๒๖๘ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา ๒๖๕ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง (๒) (๓)

29 ข้อสังเกต จากแนวคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวพอสรุปหลักได้ว่า การปลอมเอกสารราชการอาจทำโดยปลอมจากเอกสารราชการฉบับที่แท้จริง หรือเอาเอกสารราชการที่แท้จริงไปถ่ายสำเนาก่อน แล้วทำปลอมในสำเนาเอกสารนั้นก็ได้ ซึ่งการวินิจฉัยเช่นนี้น่าจะชอบด้วยหลักกฎหมายเพราะการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับไม่จำเป็นต้องกระทำต่อเอกสารที่แท้จริงดังได้กล่าวมาแล้ว การที่จำเลยถ่ายเอกสารราชการ แล้วแก้ไขข้อคามในสำเนาที่ถ่ายเอกสารมา แล้วถ่ายสำเนาอีกครั้งหนึ่งเป็นฉบับที่ทำขึ้นเพื่อให้ ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าสำเนาที่ทำขึ้นดังกล่าวมีข้อความตรงกับต้นฉบับเอกสารราชการที่แท้จริง และน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ

30 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร
มาตรา ๒๖๖ ผู้ใดปลอมเอกสารดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ  (๒) พินัยกรรม  (๓) ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบสำคัญของใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้  (๔) ตั๋วเงิน หรือ  (๕) บัตรเงินฝาก  ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท 

31 ข้อพิจารณา มาตรานี้ทำนองเดียวกับมาตรา ๒๖๕ คือต้องผ่านหลักในมาตรา ๒๖๔ เรื่องปลอมเอกสารมาก่อน ถ้าเอกสารที่ปลอมเป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการก็เป็นความผิดตามมาตรา ๒๖๖ (๑) เป็นต้น ๑. เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ ต้องเป็นเอกสารที่อยู่ในฉบับเดียวกันด้วย ๒. พินัยกรรม ๓. ใบหุ้น ใบหุ้นกู้หรือใบสำคัญของใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ ๔. ตั๋วเงิน ๕. บัตรเงินฝาก

32 ๑. เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ ต้องเป็นเอกสารที่อยู่ในฉบับเดียวกันด้วย
เช่น โฉนดที่ดินเป็นทั้งเอกสารสิทธิและเอกสารราชการ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๐๔/๒๕๔๐) หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ก.) (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๕๘/๒๕๔๒) สำเนาใบรับเงินค่าปรับในการเปรียบเทียบปรับคดีอาญา เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ แสดงว่าได้เสียค่าปรับแล้ว (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕/๒๕๒๑)

33 ๒. พินัยกรรม คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๘๙๔/๒๕๒๕ แม้ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมในพินัยกรรมมีลักษณะลายเส้นนูนเลอะเลือน จนผู้ชำนาญการพิเศษตรวจพิสูจน์ลงความเห็นไม่ได้ และมีพยานลงชื่อรับรองสองคนถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙ เอกสารดังกล่าวก็มีสภาพเป็นพินัยกรรมที่จำเลยกับพวกร่วมกันทำปลอมขึ้นเมื่อจำเลยกับพวกนำพินัยกรรมปลอมดังกล่าวส่งอ้างเป็นพยานต่อศาลสำเร็จแล้ว จำเลยต้องมีความผิดฐานใช้พินัยกรรมปลอมอีกกระทงหนึ่งมิใช่การพยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๑

34 ท่านศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ให้ข้อสังเกตว่า ถ้าปลอมพินัยกรรม แต่พินัยกรรม ผิดแบบอยู่ในตัว เช่นไม่มีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือครบถ้วนตามกฎหมาย ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๒๖๖ แต่อาจเป็นปลอมเอกสารธรรมดา ตามมาตรา ๒๖๔

35 ๓. ใบหุ้น ใบหุ้นกู้หรือใบสำคัญของใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้
เช่น จำเลยทำปลอมแบบพิมพ์ใบหุ้นแสดงว่าจำเลยมีเจตนาจะนำใบหุ้นนั้นไปดำเนินการกรอกข้อความรายละเอียดอื่นๆ ที่เป็นสาระสำคัญลงในใบหุ้นนั้นเพื่อใช้อย่างใบหุ้นที่แท้จริง ซึ่งต่อมาก็ได้มีการกรอกข้อความลายละเอียดต่างๆลงในใบหุ้นแล้วนำไปฝากขาย ตามพฤติการณ์แสดงว่า จำเลยมีส่วนรู้เห็นในการกรอกข้อความรายละเอียดอื่นๆที่เป็นสาระสำคัญลงในใบหุ้นด้วย จึงเป็นตัวการด้วยกัน เมื่อการกระทำของจำเลยทำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานปลอมใบหุ้น (คำพิพากษาฎีกา ๒๙๑๗/๒๕๓๘)

36 ๔.ตั๋วเงิน เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๖๗/๒๕๐๗ เมื่อการที่จำเลยลงลายมือชื่อปลอมลงในตั๋วแลกเงินธนาคารออมสินนั้น เป็นการกระทำส่วนหนึ่งที่ต้องทำลงในเอกสารดังกล่าว เพื่อให้เอกสารนั้นสมบูรณ์ครบถ้วน เพื่อที่เจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินจะจ่ายเงินให้ และก็ทำให้เจ้าหน้าที่หลงเชื่อว่าเป็นผู้ทรงที่แท้จริงจึงได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไป ดังนี้ ย่อมเป็นไปโดยประการที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้มีสิทธิรับเงินที่แท้จริงและแก่ธนาคารออมสิน การกระทำของจำเลยเป็นผิดตามมาตรา ๒๖๖(๔)

37 คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๓๕๕/๒๕๓๓ จำเลยร่วมปลอมลายมือชื่อของ ป
คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๓๕๕/๒๕๓๓ จำเลยร่วมปลอมลายมือชื่อของ ป. เป็นผู้รับอาวัลเช็คเพื่อให้เช็คทั้งสิบฉบับเป็นที่น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เช็คทั้งสิบฉบับเป็นเช็คที่สมบูรณ์ครบถ้วนตามกฎหมาย เช็คดังกล่าวจึงเป็นตั๋วเงิน จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารที่เป็นตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๖(๔) ไม่ใช่เป็นความผิดตามมาตรา ๒๖๔ เท่านั้น

38 คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๖๒๗/๒๕๔๔ การที่จำเลยที่ ๑ แก้ไขวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทจากวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ เป็นวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๙ แล้วนำเช็คพิพาทที่แก้ไขวันที่สั่งจ่ายดังกล่าวไปอ้างเป็นพยานในคดีแพ่งที่จำเลยฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้จากโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการแก้ไขข้อความในตั๋วเงินที่แท้จริงเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารแท้จริงที่โจทก์ทำขึ้นโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจำเลยที่ ๑ จะได้นำเช็คพิพาทไปฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาแล้วหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ ๑ จึงมีความผิดฐานปลอมเช็คตาม ป.อ. มาตรา ๒๖๖(๔) และโจทก์เป็นผู้เสียหายแล้ว

39 ๕. บัตรเงินฝาก มีคำอธิบายในตำรากฎหมายอาญาของทานศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ว่าบัตรเงินฝากคือ เอกสารประเภทหนึ่ง ซึ่งธนาคารออกให้แก่ผู้ฝากเงินกับธนาคารประเภทฝากประจำเป็นระยะเวลาตามที่ระบุไว้ ลงลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ของธนาคารเป็นหลักฐานที่ธนาคารแสดงสิทธิของผู้ฝากเงินกับธนาคารซึ่งไม่ใช่สมุดแสดงการฝากและถอนเงินกับธนาคารมีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ ฉบับที่ ๓ พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๔ บัตรเงินฝาก หมายความว่า ตราสารซึ่งเปลี่ยนมือได้ที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้แก่ผู้ฝากเงินเพื่อเป็นหลักฐานรับฝากเงิน และเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝากคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ โดยจะมีการกำหนดอกเบี้ยไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ และยังไม่เคยมีแนวคำพิพากษาฎีกาในเรื่องนี้

40 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร
มาตรา ๒๖๗ ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

41 องค์ประกอบภายนอกคือ (๑) ผู้ใด (๒) แจ้งให้พนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน หรือเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน (๓) โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน องค์ประกอบภายใน เจตนา

42 ข้อพิจารณา ๑) ต้องเป็นการแจ้งแก่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่
๒) เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จะจดข้อความเองหรือใช้คนอื่นจดข้อความแทนก็ได้ ๓) เอกสารที่แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงนั้นต้องเป็นเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน ๔) ต้องกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ๕) ต้องกระทำโดยมีเจตนา

43 ๑)ต้องเป็นการแจ้งแก่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่
คำว่า เจ้าพนักงาน หมายความถึง บุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย รวมทั้งกรณีมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นเจ้าหนักงาน เช่น พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ กำหนดให้เจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงาน ดังนั้น หากเจ้าอาวาสเรียกเอกเงินสินบนในการให้เช่าที่ดินของวัด เจ้าอาวาสก็มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานรับสินบนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๔๙ ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่๒๐๐๓-๒๐๐๕/๒๕๐๐) แต่เจ้าพนักงานตามมาตรานี้ต้องมีหน้าที่ในการรับแจ้งข้อความด้วย ผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่จดบัญชีสัตว์พาหนะ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๕๐/๒๕๐๕) เจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๔๘/๒๕๔๗)

44 พนักงานสอบสวน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๕๐/๒๕๓๗)
เจ้าพนักงานที่ดิน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๑๑๕/๒๕๔๗) ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่สอบสวนคุณสมบัติในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๗๕๒/๒๕๑๙) นายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอหรือผู้รักษาการแทน เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนและปลัดอำเภอซึ่งทำการแทนนายอำเภอดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาถือได้ว่ามีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ด้วย (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๑๐/๒๕๓๐)

45 นายทะเบียนสำนักทะเบียนเขตพระนครเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่จดทะเบียนสมรส (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๐๕๒/๒๕๓๐) นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรปราการ มีหน้าที่รับจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๓๐/๒๕๓๗)

46 ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๕๑/๒๕๐๕ จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่จดบัญชีสัตว์พาหนะ ทำบัญชีลูกคอกสัตว์พาหนะเท็จตามคำขอร้องของลูกบ้าน แม้จะไม่ได้รับสินจ้างรางวัล แต่ทำให้ลูกบ้านได้รับประโยชน์นำไปใช้อ้างต่อตำรวจที่ยึดโคนั้น นับว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับผู้อื่นแล้วจึงถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ทุจริต มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๕๗,๑๖๒(๑) ลูกบ้านต้องการหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงขอให้ผู้ใหญ่บ้านจดข้อความอันเป็นเท็จลงไปในบัญชีสัตว์พาหนะนั้น ย่อมมีความผิดฐานแจ้งเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๗ แต่ไม่ผิดฐานสนับสนุนในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ เพราะการทุจริตต่อหน้าที่เป็นผิดเฉพาะของเจ้าพนักงาน การแจ้งเท็จหาได้เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการทุจริตต่อหน้าที่ขึ้นอีกชั้นหนึ่งไม่

47 ข้อสังเกต ๑. จำเลยผู้ใหญ่บ้านผู้จัดข้อความเท็จตามคำขอร้องของราษฎรลูกบ้านผู้แจ้งโดยรู้ว่าเป็นเท็จมีความผิดตามมาตรา ๑๕๗,๑๖๒(๑) ๒. ราษฎรลูกบ้านผู้แจ้งให้ผู้ใหญ่บ้านจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัญชีสัตว์พาหนะผิดตามมาตรา ๒๖๗ แต่ไม่ผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ (มาตรา ๑๖๒ (๑), ๖๘) โดยศาลฎีกาให้เหตุผลว่า เพราะการทุจริตต่อหน้าที่เป็นความผิดเฉพาะของเจ้าพนักงาน การแจ้งเท็จหาได้เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการทุจริตต่อหน้าที่ขึ้นอีกชั้นหนึ่งไม่

48 ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๕๐/๒๕๓๗ การที่จำเลยไปแจ้งความต่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานว่าน.ส.๓ ก. ของจำเลยและเก็บไว้ที่บ้านสูญหายไป ขอให้ ส.ลงบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเพื่อขอคัดสำเนารายงานดังกล่าวไปขอออก น.ส.๓ ก. ส. หลงเชื่อจึงสั่งการให้ ม. เขียนสมุดรายงานประจำวันบันทึกข้อความตามที่จำเลยแจ้ง ทั้ง ๆ ที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าข้อความที่แจ้งเป็นเท็จ เป็นความผิดฐานแจ้งให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน จำเลยนำสำเนาน.ส.๓ ก มาแก้ไขโดยการเพิ่มเติม ตัดทอนข้อความและแก้รูปแผนที่ที่ดินให้ผิดไปจากความจริง แล้วจำเลยได้ถ่ายภาพสำเนา น.ส.๓ ก. ที่มีการแก้ไขแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยทำขึ้นนั้น เป็นภาพถ่ายสำเนาน.ส.๓ ก. ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ ได้ความจากคำเบิกความของ ก. และ ณ. พยานโจทก์ว่าจำเลยนำเอกสารที่จำเลยทำปลอมขึ้นไปแสดงต่อบุคคลทั้งสองเพื่อให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม

49 ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๐๒/๒๕๕๐ จำเลยเพียงแต่ลงชื่อรับรองตัวบุคคลโดยที่มิได้ร่วมกับพวกแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด

50 ข้อสังเกต คดีนี้นายบุญเส็งกับชายคนหนึ่งร่วมกันแจ้งแต่นางคมคามเจ้าหน้าที่ปกครอง๔ สำนักงานทะเบียนอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธรว่า ชายดังกล่าวซื่อนายนิคมเป็นบุตรของนายบุญเส็งขอทำบัตรประชาชนใหม่เนื่องจากบัตรเดิมสูญหาย นางคมคายจึงพากบุคคลทั้งสองไปพบนายธนาคมปลัดอำเภอเลิงนกทา เพื่อทำการสอบสวน นายธนาคม สอบสวนแล้วแจ้งให้นายบุญเส็งไปหาบุคคลมารับรองตัวชายดังกล่าว นายบุญเส็งจึงไปตามจำเลยมาลงชื่อรับรองในบันทึกคำให้การรับรองบุคคลด้านหลังคำขอมีบัตรใหม่ต่อมาความปรากฏว่านายนิคมถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนเกิดเหตุ มีปัญหาว่าจำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิดตามมาตรา ๑๗๗,๒๖๗ หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยเพียงแต่ลงชื่อรับรองตัวบุคคลโดยที่มิได้ร่วมกับพวกแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิด เพราะเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๗๗,๒๖๗ ประกอบมาตรา ๘๖ แต่ถ้าไม่ใช่เรื่องแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้

51 ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๑/๒๕๐๘ การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญา ไม่ใช่เรื่องแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความแต่เป็นเรื่องเบิกความซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจจดข้อความตอนใดหรือไม่จดก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความการจดจึงเป็นเรื่องของศาล ไม่ใช่เรื่องของพยานที่จะแจ้งให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๗

52 ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๔/๒๕๐๖ จำเลยเบิกความเท็จ และนำสืบแสดงหลักฐานเท็จต่อศาลในคดีแพ่ง ว่าก่อนตายผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ โดยจำเลยรู้ดีอยู่แล้วว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์และจำเลย ศาลหลงเชื่อจึงสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แล้วจำเลยได้นำสำเนาคำสั่งศาลนั้นไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินก็บันทึกข้อความคำสั่งศาลไว้ว่าเป็นมรดกไม่มีพินัยกรรมและโอนโฉนดใส่ชื่อจำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกดังนี้จะถือว่าจำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๖๗ ไม่ได้

53 ๒) เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จะจดข้อความเองหรือใช้คนอื่นจดข้อความแทนก็ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๑๘/๒๕๓๕ ห.เป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับแจ้งการย้ายและได้ลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งข้อความตามที่ปรากฏในเอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร. ๑๗ ซึ่งเป็นข้อความเท็จตามที่จำเลยมาแจ้งแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด การที่ ห. จะใช้ให้บุคคลใดเป็นผู้เขียนหรือจดข้อความลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร. ๑๗ แทน ห. หาใช่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา ๒๖๗ แต่อย่างใดไม่

54 ข้อสังเกต ๑. คดีนี้จำเลยไปแจ้งความต่อนายเหรียญกำนันตำบลสระเยาว์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ให้จดข้อความลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร. ๑๗ ว่า นางอุ่น เจ้าบ้านมอบให้จำเลยแจ้งย้าย ด.ช.บุญลอด และ ด.ช.ผางออกจากบ้านเลขที่๐๘๔ ไปอยู่บ้านเลขที่๖๗๖/๑๐๘ ความจริงแล้ว นางอุ่นเจ้าบ้านมิได้มอบหมายให้จำเลยกระทำการดังกล่าว นายเหรียญรับแจ้งไว้ โดยใช้ให้จำเลยจดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงไปในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร. ๑๗ โดยนายเหรียญลงชื่อในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งการย้าย ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อนายเหรียญเป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับแจ้งการย้ายและได้ลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งข้อความตามที่ปรากฏในเอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร. ๑๗ ซึ่งเป็นข้อความเท็จตามที่จำเลยมาแจ้งแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด ส่วนการที่นายเหรียญจะให้บุคคลใดเป็นผู้เขียนหรือจดข้อความในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร. ๑๗ แทนนายเหรียญหาใช่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้การกระทำของจำเลย ขาดองค์ประกอบไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๒๖๗ แต่อย่างใดไม่ ๒. การกระทำของจำเลยยังเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๓๗ ด้วย

55 ๓.เอกสารที่แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงนั้นต้องเป็นเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ
๑. เอกสารมหาชนไม่มีบทนิยามในประมวลกฎหมายอาญา แต่ศาลฎีกาเคยวางหลักไว้ว่า ต้องเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ให้ประชาชนตรวจดูและอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๙/๒๕๓๘) บันทึกข้อตกลงต่อท้ายทะเบียนหย่าซึ่งระบุว่าจำเลยที่ ๑ ในฐานะภริยายกที่พิพาทให้แก่ ม. ซึ่งเป็นสามีเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๓๒ และเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ให้ประชาชนได้ตรวจดูและอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้ จึงเป็นเอกสารมหาชน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๙/๒๕๓๘) ใบสำคัญการสมรส (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๕/๒๕๓๘)

56 สูติบัตร (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๘/๒๕๓๐)
สำเนาทะเบียนบ้านและทะเบียนนักเรียน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๕๖๗/๒๕๔๐) สำเนาโฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองความถูกต้อง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๖๖๖-๓๖๗๐/๒๕๓๓) โฉนดที่ดิน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๒๘๑/๒๕๓๖) หนังสือรับรองซึ่งออกโดยนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๘๐๙/๒๕๓๖)

57 ๒. เอกสารราชการ ดูประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๘) และที่ได้อธิบายไว้ในมาตรา ๒๖๕
๓. เอกสารดังกล่าวนี้ต้องมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน เช่น โฉนดที่ดิน ทะเบียนบ้าน ถ้าไม่เป็นเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานตามความหมายของมาตรานี้ก็ไม่เป็นความผิด

58 ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๗๔/๒๕๑๓ การที่โจทก์หรือจำเลยในคดีแพ่งแถลงให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสำนวนคดีแพ่งโดยมิได้มีวัตถุประสงค์จะใช้ข้อความนั้นเป็นพยานหลักฐาน ก็หาเป็นความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๗ ไม่ คดีนี้เป็นเรื่องที่จำเลยแถลงต่อศาลในการดำเนินคดีเพื่อให้ศาลจับกุมโจทก์ซึ่งเป็นบริวารจำเลยที่ ๔ มาปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้น ที่ศาลจดถ้อยคำแถลงไว้ในรายงานพิจารณานั้น หาใช่เป็นเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานตามความหมายแห่งมาตรานี้ไม่เป็นแต่เพียงคำกล่าวอ้างซึ่งโจทก็มีสิทธิที่จะคัดค้านได้ การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๒๖๗

59 ๔. ต้องกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
ข้อนี้เป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำ เพียงแต่น่าจะเกิดความเสียหายก็เป็นความผิดสำเร็จ แต่ถ้าไม่น่าจะเกิดความเสียหายก็ไม่เป็นความผิดเลย เพราะขาดองค์ประกอบความผิด แม้ขั้นพยายามก็ไม่ผิด

60 กรณีถือว่าน่าจะเกิดความเสียหาย
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๕๖/๒๕๑๔ การที่จำเลยระบุชื่อคนอื่นๆ ว่าเป็นทายาทต่อเจ้าพนักงานที่ดิน แต่ไม่ได้ระบุชื่อโจทก์ว่าเป็นทายาท ทั้งๆ ที่จำเลยทราบว่าโจทก์เป็นทายาทและจำเลยได้รับรองบัญชีเครือญาติซึ่งจำเลยได้แจ้งไว้ (โดยที่ไม่มีชื่อโจทก์เป็นทายาท) ทั้งแจ้งว่าเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ซึ่งความจริงมีพินัยกรรมเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินประกาศโฆษณาไปตามที่จำเลยแจ้งนั้น แล้วลงชื่อบุคคลที่จำเลยแจ้งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินมรดก แม้ที่ดินดังกล่าวนั้นตามพินัยกรรมจะมิได้ตกแก่ทายาทอื่นๆ นอกจากผู้ที่จำเลยระบุชื่อก็ตาม แต่ก็ไม่ตรงกับความเป็นจริง ถือได้ว่าอยู่ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๗

61 คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๐๗/๒๕๓๑ บริษัทจำเลยที่๑ โดยจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเป็นกรรมการมอบอำนาจให้ ส, ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ขออายัดที่ดินหลายโฉนดของโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลย ทั้งๆ ที่ศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าโจทก์มิได้เป็นลูกหนี้จำเลย จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน แม้ต่อมากรมที่ดินจะเห็นว่าจำเลยมิได้มีส่วนได้เสียจึงไม่รับอายัดก็เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์และประชาชนแล้ว จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๗, ๒๖๗, ๘๓

62 กรณีไม่น่าจะเกิดความเสียหาย
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๙๖/๒๕๒๑ มารดาคลอดบุตรโดยมิได้สมรสกับบิดามารดาแจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นว่าเกิดเด็กหญิงรัตติยา ลิขิตสุวรรณกุล บิดาไปแจ้งต่อนายทะเบียนอีกเขตหนึ่งว่าเกิดเกิดเด็กหญิงรัตติยา แซ่อึ้ง ดังนี้ กลับเป็นคุณแก่มารดาและเด็ก ไม่ทำให้มารดาเสียหาย ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๗

63 คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๓๗/๒๕๔๔ ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๓๗/๒๕๔๔ ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. ในวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๑ จำเลยไม่มีคู่สมรสเพราะจำเลยจดทะเบียนหย่ากับ ค. แล้ว ตั้งแต่วันที่๔ กรกฎาคม ๒๕๑๕ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๕๒ การที่จำเลยไม่มีคู่สมรสอยู่ในขณะที่จดทะเบียนสมรส แม้จำเลยจะแจ้งว่าจำเลยเคยสมรสแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็มีผลอย่างเดียวกันว่า จำเลยไม่มีคู่สมรสในขณะทีจำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. นั้นเอง การที่นายทะเบียนจดทะเบียนสมรให้จำเลยกับ ส. โดยเชื่อว่าจำเลยไม่เคยสมรสมาก่อนจึงไม่อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายและไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๗ และมาตรา๒๖๗

64 ๕) ต้องกระทำโดยมีเจตนา
คือต้องรู้ว่าข้อความที่แจ้งให้จดนั้นเป็นเท็จ ถ้าไม่รู้ก็ขาดเจตนาไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้

65 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร
มาตรา ๒๖๘ ผู้ใดใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม มาตรา ๒๖๔ มาตรา ๒๖๕ มาตรา ๒๖๖ หรือมาตรา ๒๖๗ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ  ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น หรือเป็นผู้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความนั้นเองให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว 

66 วรรคแรก องค์ประกอบภายนอก คือ (๑) ผู้ใด (๒) ใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิด ตามมาตรา ๒๖๔ มาตรา ๒๖๕ มาตรา ๒๖๖ หรือมาตรา ๒๖๗ (๓) ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน องค์ประกอบภายใน เจตนา

67 ข้อพิจารณา ๒. การอ้างเอกสารปลอม
๑. การใช้ในมาตรานี้ หมายถึงการใช้อย่างเอกสาร ๒. การอ้างเอกสารปลอม ๓. ต้องเป็นการใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๖๔ มาตรา ๒๖๕ มาตรา ๒๖๖ หรือมาตรา ๒๖๗ ๔. การใช้หรืออ้างเอกสารดังกล่าวต้องกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ๕. องค์ประกอบสุดท้ายคือเจตนา

68 ๑. การใช้อย่างเอกสาร การใช้ในมาตรานี้ หมายถึงการใช้อย่างเอกสาร โดยอ้างหรือแสดงข้อความในเอกสารนั้น ไม่ใช่เอาเอกสารไปใช้อย่างอื่น เช่น ห่อผลไม้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการอ้างหรือแสดงข้อความในเอกสารนั้น เช่นนำพินัยกรรมปลอมไปแสดงต่อพนักงานที่ดินอำเภอเพื่อขอรับมรดก (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๐๗/๒๕๑๐)

69 ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๑๘/๒๕๔๒ ผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคาร ก.ไม่เคยนำบัตรเครดิตของธนาคาร ก. ไปสั่งซื้ออาหารหรือใช้บริการของจำเลย และไม่เคยลงลายมือชื่อในใบบันทึกรายการขายสินค้าที่ร้านของจำเลย การที่จำเลยนำใบบันทึกรายกรขายสินค้าดังกล่าวที่เป็นเอกสิทธิปลอมไปใช้เบิกเงินจากธนาคาร ก. จนได้รับเงินจากธนาคาร ก. แล้ว จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกงธนาคาร ก. การที่จำเลยนำใบบันทึกรายการขายปลอมไปใช้เบิกเงินจากธนาคาร ก.จนได้รับเงินจากธนาคาร ก. แล้ว ธนาคาร ก. จึงเป็นผู้เสียหาย หาใช่ผู้ถือบัตรเครดิตที่ถูกปลอมลายมือชื่อเป็นผู้เสียหายไม่

70 ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๒๒/๒๕๕๔ จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ร่วมทราบดีว่าใบรับรองเงินฝากเป็นเอกสารสิทธิปลอม ได้จัดส่งเอกสารสิทธิปลอมดังกล่าวไปต่างประเทศโดยผ่านแผนกไปรษณียภัณฑ์ในธุรกิจของโจทก์ร่วมด้วยการปิดผนึกซองเขียนชุดใบนำส่งเอกสารของธนาคารโจทก์ร่วมและใบนำส่งไปรษณีย์มอบให้กับพนักงานโจทก์ผู้มีหน้าที่จัดส่งเอกสารตามวิธีการจัดส่งเอกสารในธุรกิจโจทก์ร่วมครบถ้วนแล้วอันเป็นการลงมือใช้หรืออ้างเอกสารที่เกิดจากการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิแม้เอกสารสิทธิปลอมจะปิดผนึกอยู่ในซองและพนักงานผู้จัดส่งเอกสารของโจทก์ร่วมตรวจเห็นพิรุธจนพบว่าเอกสารที่จัดส่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมก่อนที่เอกสารจะส่งถึงผู้รับในต่างประเทศ ก็เป็นการใช้หรืออ้างเอกสารสิทธิปลอมเป็นความผิดสำเร็จโดยไม่ต้องรอผลของการใช้หรืออ้างว่าผู้รับหรือผู้ถูกอ้างจะได้รับเอกสารสิทธิปลอมที่จัดส่งไป เพราะเมื่อจำเลยที่ ๑ ได้ใช้หรืออ้างเอกสาร การกระทำของจำเลยที่ ๑ ก็ถือได้ว่ากระทำไปในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม ผู้อื่นหรือประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๘ วรรคแรก ประกอบมาตรา ๒๖๕ แล้ว จำเลยที่ ๑ จึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอม

71 ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔๖/๒๕๕๕ จำเลยที่ ๑ ได้นำแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมปิดทับแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่แท้จริงที่ด้านหน้าและด้านท้ายของรถเพื่อใช้รถยนต์เดินทางไปที่เมืองพัทยา ป้องกันมิให้ผู้ที่พบเห็นทราบหมายหมายเลขทะเบียนรถยนต์ที่แท้จริงหากเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการเดินทาง จึงเป็นการใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมอย่างเป็นเอกสารราชการที่แท้จริงเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นรถยนต์ตามแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่มีการทำปลอมขึ้น และที่เกิดเหตุซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจพบการกระทำความผิดของจำเลยที่ ๑ เป็นสถานที่เปิดเผยในทางเดินรถสาธารณะแม้จำเลยที่ ๑ ยังมิได้ใช้รถยนต์เดินทางเคลื่อนที่จากจุดเกิดเหตุที่มีการลงมือกระทำความผิดก็เป็นความผิดสำเร็จฐานใช้เอกสารราชการปลอม จำเลยที่ ๑ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๘ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๖๕

72 ๒. การอ้างเอกสารปลอม ข้อนี้ ท่านศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธบายว่า การอ้างตามมาตรานี้หมายถึงการอาศัยเอกสารนั้นแสดงข้อเท็จจริงบางประการ ไม่จำเป็นต้องอ้างเป็นพยานต่อศาล การอ้างต่างกับการใช้ในข้อที่ไม่จำต้องนำเอกสารนั้นออกแสดง การอ้างเอกสารต่อผู้ใดอาจทำโดยให้ผู้นั้นเรียกหรือตรวจดูเอกสารนั้นออกแสดง เช่นขอให้ศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเอกสารปลอมมาจากที่หนึ่งที่ใด

73 ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๒๕/๒๕๐๖ จำเลยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหน้าเพียง๑๐,๐๐๐ บาท แล้วจำเลยแก้ไขจำนวนเงินในใบรับเงินที่เจ้าหนี้เซ็นชื่อเป็นผู้รับเงิน โดยแก้ ๑๐,๐๐๐ บาท เป็น ๗๐,๐๐๐ บาทต่อมาจำเลยคัดสำเนาใบรับเงินที่ปลอมนั้นมาแสดงต่อศาลทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย เพราะถ้าศาลหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงแล้วเจ้าหนี้จะต้องขาดเงินที่ควรได้รับชำระหนี้ไป ๖๐,๐๐๐ บาท การปลอมของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา ๒๖๔ แล้ว และเอกสารนี้เป็นใบรับเงินชำระหนี้แสดงว่าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในจำนวนเงินนี้ระงับไปแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามมาตรา๒๖๕ และการที่จำเลยคัดสำเนาเอกสารที่ปลอมแสดงต่อศาลเป็นการอ้างถึงเอกสารที่ปลอม จึงเป็นความผิดตามมาตรา ๒๖๘ ด้วย ต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา ๒๖๘ ตามอัตราโทษในมาตรา ๒๖๕

74 ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๐๐๙/๒๕๕๓ จำเลยรับราชการอยู่ที่แผนกทะเบียนยานพาหนะมีหน้าที่รับค่าภาษีและต่ออายุทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ประจำปีไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรับทำใบอนุญาตขับรถ จำเลยเป็นผู้ปลอมใบอนุญาตขับรถอันเป็นเอกสารราชการ การที่จำเลยนำใบอนุญาตขับรถปลอมไปใส่ไว้ในตะกร้าวางไว้บนเคาน์เตอร์หน้าที่ทำการแผนกทะเบียนยานพาหนะ โดยเจ้าของใบอนุญาตขับรถจะไปตรวจดูที่ตะกร้าดังกล่าวหากเห็นใบอนุญาตขับรถของตนก็สามารถหยิบเอาไปได้หรือผู้ใดจะไปรับแทนก็ได้ไม่มีการทำหลักฐานการรับไว้ จำเลยยังมิได้อ้างและใช้เอกสารดังกล่าแก่ผู้ใด จำเลยไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม

75 ๓. ต้องเป็นการใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๖๔ มาตรา ๒๖๕ มาตรา ๒๖๖ หรือมาตรา ๒๖๗ ต้องเป็นการใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๖๔ มาตรา ๒๖๕ มาตรา ๒๖๖ หรือมาตรา ๒๖๗ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๒๔๖/๒๕๔๘) ไม่ว่าจำเลยจะเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้นหรือไม่ก็ตาม

76 ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๒๔๖/๒๕๔๘ การกระทำอันเป็นความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา ๒๖๘ วรรคแรก นั้น ต้องเป็นการใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๒๖๔ ,๒๖๕, ๒๖๖ หรือ ๒๖๗ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีซื้ออันเป็นเอกสารปลอมไปใช้ในการเครดิตภาษี ซึ่งหมายความว่า ใบกำกับภาษีที่โจทก์อ้างว่าเป็นเอกสารปลอมนั้นเป็นใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออก อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๙๑/๔ (๗) เท่านั้น คำฟ้องโจทก์ไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือมีการกระทำอื่นใดต่อเอกสารให้ผิดไปจากเดิมอันเป็นองค์ประกอบของความผิดเกี่ยวกับเอกสารตาม ป.อ. มาตรา ๒๖๔, ๒๖๕, ๒๖๖, หรือ ๒๖๗ แต่อย่างใด คำฟ้องโจทก์จึงไม่สมบูรณ์เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา ๒๖๘ วรรคแรก แม้โจทก์จะมีคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ.มาตรา ๒๖๘ วรรคแรก, ๘๓ และจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอมตามบทบัญญัติดังกล่าว

77 ข้อสังเกต ถ้าเอกสารไม่ได้เกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๖๔ มาตรา ๒๖๕ มาตรา ๒๖๖ หรือมาตรา ๒๖๗ แม้จะใช้หรืออ้างก็ไม่ผิดมาตรานี้ เช่น เมื่อเช็คพิพาทไม่ใช่เอกสารปลอม การที่จำเลยนำไปเบิกเงินจากธนาคารจึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๘๗๐/๒๕๒๖) จำเลยเอาป้ายทะเบียนรถยนต์คันหนึ่งมาติดใช้กับรถยนต์อีกคันหนึ่ง เมื่อป้ายทะเบียนรถยนต์ดังกล่าวเป็นเอกสารแท้จริงที่ราชการทำขึ้น ไม่ใช่เอกสารปลอม จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ และการที่จำเลยนำป้ายทะเบียนนั้นมาใช้ก็ไม่ผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๔๑/๒๕๒๓)

78 ๔. น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
การใช้หรืออ้างเอกสารดังกล่าวต้องกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ข้อนี้เป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำทำนองเดียวกับในมาตรา ๒๖๔

79 ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๕๔/๒๕๐๓ (ประชุมใหญ่) จำเลยนำประกาศนียบัตรปลอมของกลางออกแสดงต่อสายตาของตำรวจดูเป็นตัวอย่างเพื่อให้ผู้ติดต่อขอซื้อเชื่อถือจะได้ตกลงซื้อ เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการนำเอกสารปลอมมาใช้ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชนแล้ว จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๖๘ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๐๗/๒๕๑๐ นำพินัยกรรมปลอมไปแสดงต่อพนักงานที่ดินอำเภอเพื่อขอรับมรดกและอำเภอได้ประกาศการขอรับมรดกแล้ว แม้ต่อมาจะได้ขอถอนคำขอรับมรดกนั้นเสีย การนำพินัยกรรมปลอมไปแสดงเช่นนั้นก็เป็นการกระทำอันเป็นเหตุที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นแล้ว จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๘

80 ๕.เจตนา องค์ประกอบสุดท้ายคือเจตนา ต้องรู้ว่าเป็นเอกสารปลอมตามมาตรา ๒๖๔, ๒๖๕, ๒๖๖ หรือเอกสารเท็จตามมาตรา ๒๖๗ ด้วยจึงจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๔๖๔/๒๕๔๑ ผู้กระทำจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมต่อเมื่อได้รู้ข้อเท็จจริงว่าเอกสารนั้นปลอม เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้รู้ว่าเอกสารดังกล่าวปลอม การที่จำเลยใช้เอกสารนั้นย่อมขาดเจตนาในการกระทำผิด จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๖๐/๒๕๔๐ มีคนร้ายลักเอารถยนต์คันของกลางของผู้เสียหายไป ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ดังกล่าวได้จากจำเลย รถที่ยึดได้มีการติดแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี และแผ่นป้ายทะเบียนรถซึ่งเป็นของปลอม รถยนต์ที่จำเลยขับได้ติดเอกสารปลอมทั้งหมดไว้ที่รถในลักษณะเปิดเผยเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือผู้อื่นที่พบเห็นเข้าใจว่าเอกสารปลอมเหล่านั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและเข้าใจว่ารถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถที่ถูกคนร้ายลักมาและจำเลยจะนำรถยนต์ของกลางไปขาย ถือได้ว่าเป็นการใช้เอกสารปลอมโดยเจตนา จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม

81 มาตรา ๒๖๘ วรรคสอง ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น หรือเป็นผู้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความนั้นเอง ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว

82 ข้อพิจารณา ๑. บทบัญญัติมาตรา ๒๖๘ วรรคสอง ที่ว่า ถ้าผู้กระทำความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอม เป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น ให้ลงโทษตามมาตรนี้แต่กระทงเดียวนั้นหมายความว่า ความผิดฐานปลอมเอกสารแต่ละกระทง ถ้าผู้ใช้เอกสารปลอมเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น ก็ให้ลงโทษฐานเป็นผู้ใช้เพียงกระทงเดียวเฉพาะแต่ละกระทงที่ปลอม คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๒๘/๒๕๒๙) คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๔๒/๒๕๔๑ จำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภายจากรถเอง และใช้เอกสารปลอมนี้ติดบริเวณหน้ารถยนต์ของจำเลย เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา ๒๖๔ วรรคแรก และฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา ๒๖๘ วรรคแรก ประกอบมาตรา ๒๖๔ วรรคแรก การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดรวม ๒ กระทง แต่มาตรา ๒๖๘ วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้นเองให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียวตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

83 ข้อพิจารณา ๒. การปรับบทกฎหมายกรณีตามมาตรา ๒๖๘ วรรคสอง
เช่น จำเลยกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๕,๒๖๘ วรรคแรก ให้ลงโทษตามมาตรา ๒๖๘ วรรคแรก ประกอบมาตรา ๒๖๕ ตามมาตรา ๒๖๘ วรรคสอง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๖๒/๒๕๓๗) ส่วนความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา ๒๖๘ วรรคแรก นั้น ตามแนวคำพิพากษาฎีกาจะต้องระบุถึงมาตราที่เกี่ยวข้องด้วยว่าเอกสารที่ใช้หรืออ้างนั้นเป็นเอกสารปลอมประเภทใด เช่น เอกสารที่จำเลยนำมาใช้เป็นเอกสารสิทธิปลอม ศาลจะพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๘ วรรคแรกประกอบมาตรา ๒๖๕

84 ข้อพิจารณา ๓. การใช้และอ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามประมวลรัษฎากรไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๒๖๘ คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๖๙๗/๒๕๔๔ แม้ ป.อ. มาตรา ๒๖๘ บัญญัติว่า ผู้ใดใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๖๕ และเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้นให้ลงโทษตามมาตรา๒๖๘ แต่เพียงกระทงเดียวก็ตาม แต่จำเลยใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๘๖/๑๓, ๙๐/๔(๓) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจาก ป.อ. จึงไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียวตาม ป.อ.มาตรา ๒๖๘ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

85 เอกสารเท็จ มาตรา ๒๖๙ ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชีหรือวิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดโดยทุจริตใช้หรืออ้างคำรับรองอันเกิดจากการกระทำความผิดตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

86 ข้อพิจารณา ๑. เอกสารเท็จมีบทบัญญัติกำหนดความผิดไว้บางมาตราเท่านั้น เช่นมาตรา ๑๖๒, ๒๖๗ และมาตรา ๒๖๙ ๒. ในวรรคแรกกฎหมายเอาผิดเฉพาะแก่ผู้ประกอบวิชาชีพที่ต้องใช้ความรู้พิเศษ เช่น แพทย์ กฎหมาย บัญชี หรือวิชาชีพอื่นใด ที่ทำคำรับรองเอกสารอันเป็นเท็จ เช่น แพทย์ออกหนังสือตรวจโรคเป็นเท็จ คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๖๓๕/๒๕๔๖ ผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา๒๖๙ จะต้องเป็นผู้ประกอบการงานวิชาชีพดังที่ระบุไว้เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของที่ดินและเป็นผู้กู้เงินจากธนาคาร ไม่ได้ประกอบวิชาชีพการประเมินราคาทรัพย์และไม่ได้ทำคำรับรองในแบบสรุปผลการประเมินราคาหลักประกันที่ดินอาคาร ส่วนจำเลยที่ ๓ เป็นเพียงผู้ทำรายงานการตรวจสอบที่ดินเสนอต่อ ผ.โดย ผ. เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองในฐานะผู้ประเมิน จำเลยที่ ๓ ไม่ได้เป็นผู้ทำคำรับรองในเอกสารดังกล่าวอันเป็นเท็จ จำเลยที่ ๑ และที่ ๓ จึงไม่มีความผิดตามมาตรา ๒๖๙

87 ข้อพิจารณา ๓.ผู้กระทำไม่จำต้องรู้ว่าการทำคำรับรองอันเป็นเท็จนั้นน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนหรือไม่ เพียงแต่มีเจตนาคือรู้ว่าข้อความที่ตนทำคำรับรองนั้นเป็นเท็จ ผู้กระทำก็มีความผิดแล้ว ๔. ส่วนวรรคสอง กฎหมายเอาผิดแก่ผู้ที่ใช้หรืออ้างคำรับรองอันเกิดจากการกระทำความผิดตามวรรคแรก


ดาวน์โหลด ppt ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา มาตรา ๒๐๙-๒๘๗/๒, ๓๖๗-๓๙๘

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google