งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องมือพื้นฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องมือพื้นฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องมือพื้นฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 ห้องประชุมวีนัส โรงแรมพาราไดซ์จังหวัดอุดรธานี โดย ทนพญ. จินตนา ว่องวิไลรัตน์ นักเทคนิคการแพทย์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่8อุดรธานี 08/05/62 จัดทำโดย ทนพญ.จินตนา ว่องวิไลรัตน์ 17/02/56

2 การสอบเทียบ (Calibration)คืออะไร
การปฏิบัติการเปรียบเทียบผลการวัดของเครื่องมือวัดที่ไม่รู้ค่าความถูกต้องกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์มาตรฐานที่รู้ค่าความถูกต้อง เพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างกัน และ รายงานผล รวมทั้งปรับแต่งเครื่องมือวัด ในกรณีที่ผลการตรวจวัดผิดไปจากเกณฑ์ที่กำหนด มีการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดแต่ละรายการ กระทำโดยเจ้าหน้าที่ภายในหรือภายนอกของห้องปฏิบัติการ ที่มีความรู้ ประสบการณ์ และผ่านการอบรมที่เกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดแต่ละรายการ 08/05/62

3 กระบวนการสอบเทียบ ศึกษาข้อมูลเครื่องมือที่จะทำการสอบเทียบ (เครื่องมือวัด/..มาตรฐาน) จัดทำแผนการสอบเทียบเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว กรณีที่มีเครื่องมือมาก เตรียมเครื่องมือที่เหมาะสมเข้าทำการสอบเทียบ บันทึกผลข้อมูลจากการวัด คำนวณหาค่าความไม่แน่นอน รานงานผลการสอบเทียบ (มีข้อมูลชัดเจน วิธีการชัดเจน เป็นวิธีมาตรฐาน) 08/05/62

4 ช่วงเวลาการสอบเทียบ การเลือกใช้ช่วงเวลา primary Std ..2 ปี /Second Std.ปีต่อปีให้บริการภายใน/ภายนอก ทุก..6-12เดือน การกำหนดช่วงระยะเวลา ตค.-ธค./มค.-มีค. การปรับช่วงระยะเวลากรณีเครื่องมือเสีย การขยายช่วงเวลาเนื่องด้วยความจำเป็น 08/05/62

5 แผนการตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องมือ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
แผนการตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องมือ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ รายการเครื่อง มือ ยี่ห้อ รุ่น หมาย เลขครุภัณฑ์ รหัส ครุภัณฑ์ ความ สา มารถ สถานที่ตั้งใช้ การใช้งาน/ตรวจ ความ ถี่ ค่าที่ยอม รับ ว/ด/ป ตรวจ หน่วย งานตรวจ ราคา ผลการตรวจ %error ผล Autopi pette erba biohit 11 RUM 119 10 ul ห้อง Lab 2 ครั้ง/ปี 2/12/2554 และ 1/6/2555 ศูนย์วิทย์ 200*2 =400 transfer pette 11x8408 11RUM 123 5-50 ul 20 ,22, ,40 ul 800*2 =1,600 Thermometer precision  10 RUT 229 -10-50 °C dry bath 37 °C 1 ครั้ง/ปี 12/2/2554 400 10-RUT 228  -10-50°C ตู้เก็บตัวอย่าง ห้องLab 2-8 °C water bath 4-A -007/35 11 RUE 122 0-120°C  6/3/2555 ตรวจเอง Urine centrifuge urine centrifugeplc series 11 RUC 089 RPM  RPM 200*2 =400 08/05/62

6 DIN 12650 (German Institute for Standardization)
Fixed –Volume pipettes and varipettes Nominal volume Maximum error Relative error 1 ±0.15µl ±15.0 % 100 ±1.50µl ±1.5 % 2 ±0.20µl ±10.0 % 200 ±2.00µl ±1.0 % 5 ±0.30µl ±6.0 % 500 ±5.00µl 10 ±3.0 % 1000 ±10.0µl 20 ±0.40µl ±2.0 % 2000 ±20.0µl 50 ±0.80µl ±1.6 % 5000 ±50.0µl 08/05/62

7 การติดป้าย มีชื่อของหน่วยงานสอบเทียบ มีชื่อผู้สอบเทียบ
มีวันที่สอบเทียบ มีวันครบกำหนดของการสอบเทียบ Regional Medical Sciences Center 2 Equipment Hematocrit Centrifuge (ICU.) Test No. 12 RUC Marking /44 Test by Jintana W. Test date.22/01/2012 Due date.21/07/2012 08/05/62

8 ผลที่ได้รับจากการสอบเทียบเครื่องมือวัด
ทำให้เกิดการยอมรับระหว่างกัน ทำให้เกิดมาตรฐานเดียวกัน ความเป็นธรรมในการค้า เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ ทำให้สามารถกำหนดค่าความไม่แน่นอนในการวัดได้ 08/05/62

9 เครื่องหมุนเหวี่ยง เครื่องมือที่ใช้สำหรับเร่งการตกตะกอนของอนุภาคที่ไม่ละลายออกจากของเหลว หรือใช้แยกของเหลวหลาย ๆ ชนิดที่มีความถ่วงจำเพาะต่างกันออกจากกัน โดยอาศัยแรงหนีศูนย์กลาง (centrifuge force) ที่เกิดจากการหมุนรอบจุดหมุน (center of rotation) มีแกนหมุนเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไฟฟ้าเข้ามอเตอร์จะเหนี่ยวนำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และทำให้แกนมอเตอร์หมุน ความเร็วรอบในการหมุน ( rpm = round per minutes) ควบคุมด้วยวงจรไฟฟ้า 08/05/62

10 ชนิดของเครื่องหมุนเหวี่ยง ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์
ชนิดของเครื่องหมุนเหวี่ยง ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ แบ่งตามความเร็วรอบ 1) Low Speed Centrifuge ความเร็วรอบไม่เกิน 10,000 รอบ/นาที ส่วนใหญ่ 6,000 รอบ/นาที ใช้ในงานแยกตะกอนหรืออนุภาพ หรือแยกเซลล์ จากตัวอย่างตรวจ แยกซีรั่มออกจาก clotted blood ใช้ความเร็วรอบ 2,500 – 3,000รอบ/นาที แยกตะกอนปัสสาวะ ใช้ความเร็วรอบ 1,500 – 2,000 รอบ/นาที แยกเซลล์ CSF ใช้ความเร็วรอบ 1,000 รอบ/นาที การเข้ากันได้ของเลือด cross matching 3,400 รอบ/นาที นาน 45 วินาที 08/05/62

11 ชนิดของเครื่องหมุนเหวี่ยง ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์
ชนิดของเครื่องหมุนเหวี่ยง ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ แบ่งตามความเร็วรอบ 2) High Speed Centrifuge ความเร็วรอบระหว่าง 10,000 – 20,000 รอบ/นาที (hematocrit centrifuge ) ใช้แยกเม็ดเลือดแดงออกมาจากน้ำเลือด (serum) มีช่องสำหรับใส่ตัวอย่างลักษณะเป็นหลอด capillaries 3) Super-speed centrifuge มีความเร็วรอบอยู่ระหว่าง 21, ,000 รอบ/นาทีใช้ในงานวิจัย 4) Ultra speed centrifuge ความเร็วรอบได้มากกว่า 50, ,000 รอบ/นาที เหมาะกับงานวิจัยในระดับโมเลกุล 08/05/62

12 ชนิดของเครื่องหมุนเหวี่ยง ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์
ชนิดของเครื่องหมุนเหวี่ยง ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ แบ่งตามขนาดของเครื่อง Microfuge ขนาดเล็ก ใช้กับงานทางด้านเทคโนโลยีของดีเอ็นเอ หมุนเหวี่ยงตัวอย่างปริมาตรสูงสุด 1.5 มิลลิลิตร ใช้หลอดใส่ตัวอย่างขนาดเล็ก เรียกว่าหลอดไมโครฟิวจ์ (microfuge tube หรือ microtube) Bench-top Centrifuge หรือ table-top centrifuge ขนาดกลาง ใช้งานทั่วๆไปหมุนเหวี่ยงตัวอย่างปริมาตร มล. อาจมีระบบทำความเย็นหรือไม่มีก็ได้ ปรับสมดุลของหลอดตัวอย่างก่อนการหมุนเหวี่ยง โรเตอร์ต้องหยุดหมุนอย่างสมบูรณ์ จึงเปิดฝา chamber Floorstanding Centrifuge ขนาดใหญ่ที่สุด ใช้ในห้องวิจัย เภสัชกรรม หมุนเหวี่ยงตัวอย่างที่มีปริมาตรมาก (2 ลิตร) ความเร็วสูงมาก ต้องปรับสมดุลตัวอย่างให้เที่ยงตรงด้วยเครื่องชั่งก่อนหมุนเหวี่ยง มีระบบทำความเย็น (refrigerated centrifuge) เพื่อป้องกันความร้อน จากการหมุนเหวี่ยงด้วยความเร็วสูง 08/05/62

13 ความเร็วรอบและแรงหนีศูนย์กลาง
การแยกสารด้วยเครื่องหมุนเหวี่ยงต้องมีการกำหนดเวลา และความเร็วรอบของการหมุนโรเตอร์ หรือแรงหนีศูนย์กลางสำหรับงานที่ต้องการความถูกต้อง แรงหนีศูนย์กลางสัมพัทธ์ (relative contrifugal force) มีความสัมพันธ์โดยตรงกับรัศมีการหมุนไม่เท่ากัน การกำหนดวิธีการแยกสารด้วยค่าความเร็วรอบไม่ใช่วิธีการที่เป็นมาตรฐาน ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตจึงมักจะเตรียมตารางเทียบค่าทั้งสองที่ใช้กับโรเตอร์แต่ละชนิดของผู้ผลิตไว้แล้ว หรือผู้ใช้สามารถทำการคำนวณได้เอง 08/05/62

14 การใช้สูตรคำนวณ RCF = 1.12 r (RPM/1000)2 หรือ RPM = RCF r RCF = แรงหนีศูนย์กลางสัมพัทธ์ (relative centrifugal force) หน่วยเป็น x g RPM = การหมุนรอบตัวเองของแกนหมุนในเวลา 1นาที(Round per minute) หน่วยเป็น รอบ/นาที r = รัศมีแกนหมุนวัดจากจุดศูนย์กลางของแกนหมุนถึงแนวก้นหลอด ในลักษณะที่เครื่องกำลังทำงาน หน่วยเป็น มิลลิเมตร 08/05/62

15 โครงสร้างของเครื่องหมุนเหวี่ยง
1. มอเตอร์และแกน อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ผลักให้เกิดการหมุนรอบแกน 1.1 ชนิดที่ใช้แปรงถ่าน (brush drive) 1.2 ชนิดที่ไม่ใช้แปรงถ่าน (brushless inductive drive) 2. Rotor สำหรับบรรจุภาชนะใส่ตัวอย่าง 2.1. swigging bucket rotors 2.2. fixed angle rotors 3. Chamber มี rotor ติดตั้งอยู่ภายใน มีฝาปิดมิดชิด 4. Control Panel (แผงควบคุมคุณการทำงานของเครื่อง) มีปุ่มกำหนดความเร็วรอบ / ปุ่มกำหนดเวลา 08/05/62

16 การบำรุงรักษาเครื่องหมุนเหวี่ยง
1. ตรวจสภาพความสมบูรณ์ยางรองฝาปิดห้องหมุนเหวี่ยง หากพบรอยฉีกขาดควรเปลี่ยนใหม่ 2. ตรวจยางรองก้นหลอดในเบ้าบรรจุหลอดทดลอง ดูความครบถ้วน ไม่มีรอยฉีกขาด และเป็นชนิดเดียวกัน 3. ตรวจ Rotor อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง มีสกรูยึดแน่น ไม่มีรอยร้าว สึกกร่อน 4. เครื่องหมุนเหวี่ยงที่สามารถถอดหัว Rotor ได้ ก่อนนำมาติดตั้ง ใช้งานให้ ตรวจรอยร้าว ไม่ให้มีเศษเหล็ก หรือสิ่งสกปรกติดอยู่ 5. การติดตั้งหัว Rotor ควรใช้ประแจประจำเครื่อง หรือประแจชนิดที่เหมาะสม เพื่อยึดน๊อตพอให้ตึงมือเท่านั้น 6. เครื่องที่เป็น Swing rotor ควรทาสารหล่อลื่นที่บริเวณข้อต่อด้วย 7. การใส่หลอดตัวอย่างเพื่อปั่นตกตะกอน ควรใส่ให้สมดุลกัน (Balance) 08/05/62

17 การบำรุงรักษาเครื่องหมุนเหวี่ยง
8. สวมถุงมือยางเพื่อทำความสะอาดใน Chamber, Holder tube และที่หัว Rotor โดยเช็ดด้วย Alcohol 70% ให้ทั่วแล้วปล่อยให้แห้งเอง 9. เมื่อพบว่ามีเศษแก้ว หรือสิ่งสกปรกติดเชื้ออยู่ในเบ้ารองหลอด ให้นำไปแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดที่ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะ เช่น Activated Glutaraldehyde 2% หรือ Ethyl Alcohol 70% เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที แล้วใช้สารชะล้างชนิดอ่อน (Mild detergent) ทำความสะอาดก่อนล้างด้วยน้ำสะอาด และทำให้แห้งสนิทก่อนนำไปใช้งาน 10. ควรมีการบันทึกเหตุการณ์ผิดปกติ เช่น กระแสไฟตก หรือดับขณะใช้งานทุกครั้ง เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับช่างเทคนิค เมื่อมีปัญหาต้องแก้ไข 11. ตรวจสภาพแปรงถ่าน (Carbon brushes) ทุก 6 เดือน สำหรับมอเตอร์ของเครื่องหมุนเหวี่ยงชนิดที่ใช้แปรงถ่าน โดยตรวจดูหน้าสัมผัสกับแกนหมุน (Commutator) ถ้าสกปรกให้ทำความสะอาด เมื่อพบว่าแปรงถ่านสั้นลงน้อยกว่า 5 มม. หรือสั้นกว่าข้อกำหนดตามคู่มือของเครื่องให้เปลี่ยนแปรงถ่านใหม่ ซึ่งอาจต้องใช้ช่างเทคนิค 08/05/62

18 การสอบเทียบเครื่องหมุนเหวี่ยง
1. การสอบเทียบความเร็วรอบ 2. การสอบเทียบเวลาการทำงานของเครื่อง การสอบเทียบความเร็วรอบเครื่องหมุนเหวี่ยง ผู้ดำเนินการ : ผู้รับผิดชอบหรือช่างเทคนิค ความถี่ : ทำทุก 6 เดือน หรือเมื่อเครื่องมีปัญหา และ ภายหลังการตรวจซ่อม อุปกรณ์ : Tachometer ที่ได้รับการสอบเทียบมาตรฐานแล้ว 08/05/62

19 วิธีการสอบเทียบเครื่องหมุนเหวี่ยง
ติดแถบสะท้อนแสงขนาดกว้าง และยาว ประมาณ 1 เซนติเมตร บนพื้นผิว Rotor ถ้า Rotor เป็นสแตนเลส หรือโลหะที่สะท้อนแสงให้ปิดส่วนสะท้อนแสง ด้วยกระดาษกาวทึบแสงก่อนติดแถบสะท้อนแสง เปิดสวิทช์ และตั้งความเร็วรอบของเครื่องหมุนเหวี่ยงที่ต้องการจะวัด 3. หมุนสวิทช์เครื่อง Tachometerให้ปลายลูกศรไปที่ RPM ส่องแสงไฟให้ตั้งฉากไปยังตำแหน่งแถบสะท้อนแสง ระยะห่างในช่วง 5 – 20 เซนติเมตร ประมาณ60 วินาที เพื่อวัดความเร็วรอบของ Rotor ในจุดที่ใช้งานประจำ ทำซ้ำจุดละ 3 ครั้ง 4. บันทึกผล และคำนวณค่าเฉลี่ยของความเร็วรอบที่วัดได้ เปรียบเทียบกับความเร็วรอบของเครื่อง 5. สำหรับเครื่องหมุนเหวี่ยงที่มีฝาปิดทึบไม่สามารถวัดความเร็วรอบได้ด้วย Tachometer แบบใช้แสง ควรให้ช่างเทคนิคของ บริษัท ซึ่งมีความชำนาญทำการสอบเทียบให้ 08/05/62

20 บันทึกผลข้อมูลจากการวัด F42 04 0022
Customer /Hospital………………………………………….. Equipment………………… Manufacturer……………… Model………………………. Serial No. …………………. Marking .…………………… Setting Range .……. rpm Test Date .………………… Test by………Status……… Function : rpm measurement Reference Standard : Digital Tachometer , Manufacturer Chauvin Arnoux , Model C.A 1725 , Serial No JHV Required (rpm) Tachometer Error Tolerance Pass 08/05/62

21 Required Reading (rpm) Tachometer Reading (rpm)
การประเมินผล : ผลการสอบเทียบความเร็วรอบที่ได้ ยอมให้ผิดพลาดได้ไม่เกิน ± 5% ของค่าที่ต้องการสอบเทียบ หรือตามมาตรฐานที่เครื่องกำหนด การบันทึกผลการตรวจสอบ: Setting Control No…..(3,2-3,etc) Required Reading (rpm) Tachometer Reading (rpm) Error (rpm) Tolerance /- 5% (rpm) Pass 2,000 1,947 - 53 1,900 – 2,100 1,948 -52 1,943 -57 08/05/62

22 การสอบเทียบเวลาการทำงานของเครื่องหมุนเหวี่ยง
ผู้ดำเนินการ : ผู้รับผิดชอบหรือช่างเทคนิค ความถี่ : ทุก 6 เดือน หรือเครื่องมีปัญหาและภายหลังการซ่อม อุปกรณ์ : นาฬิกาจับเวลาที่สอบเทียบกับเวลามาตรฐาน วิธีการ เปิดสวิทช์ตั้งเวลาตามวิธีการที่เครื่องกำหนด และ เริ่มสอบเทียบเวลาเมื่อตัวเลขปรากฏแสดงการทำงานของเครื่อง 2. ทำการสอบเทียบเวลาที่ใช้งานประจำจุด ละ 3 ครั้ง 3. บันทึกเวลาแต่ละจุด คำนวณค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบกับ เวลาของเครื่อง การประเมินผล : ผลการสอบเทียบยอมให้ผิดพลาดได้ ไม่เกิน ± 10% ของเวลาที่ต้องการสอบเทียบ หรือตามความเหมาะสมของการใช้งานหรือตามข้อกำหนดของเครื่อง 08/05/62

23 การสอบเทียบ ตู้ควบคุมอุณหภูมิ
ความแม่นของอุณหภูมิที่อ่านได้ (Accuracy) การกระจายความร้อน-เย็น (Uniformity) ความถี่ : ปีละ 1 ครั้ง ผู้ดำเนินการ : ผู้ใช้หรือช่างเทคนิค อุปกรณ์และสารเคมี : ชุดเทอร์โมคัปเปิลที่มีใบรับรอง - Digital Thermometer - Thermocouple wire (TC) Type T จำนวน 9 เส้น - Sector Switch 08/05/62

24 08/05/62

25 08/05/62

26 วิธีการการสอบเทียบ (Calibration) ตู้ควบคุมอุณหภูมิ
1. ติดตั้งชุดเทอร์โมมิเตอร์สำหรับอ่านความถูกต้องอุณหภูมิประจำวันตรงจุดกึ่งกลางภายในตู้ ทิ้งไว้จนอุณหภูมิคงที่ 2. ติดตั้ง Thermocouple wire (TC)Type T จำนวน 9 เส้น (ตามรูปA) แต่ละจุดห่างจากผนังตู้ ประมาณ 5 เซนติเมตร (จุดที่ 1-8) สำหรับจุดที่ 9 จะอยู่ ณ. ตำแหน่งกึ่งกลางปริมาตรของตู้ การติดตั้งต้องใช้ชั้นวางที่มากับตู้นั้นๆ จำนวน 2 ชั้นเพื่อช่วยในการวางความยาวของสาย TC ในตำแหน่งที่ต้องการ 3. ความยาวของสาย TC อยู่ในตู้อย่างน้อย 30 เซนติเมตร, ปิดตู้ 4. ต่อคู่สายของ TC ทั้ง 9 เส้นเข้ากับ Input ของ Sector Switch และต่อ สัญญาณO/Pของ Sector Switch เข้ากับDigital Thermometer 08/05/62

27 รูป A1 จุดที่ 6 จุดที่ 7 จุดที่ 8 จุดที่ 5 จุดที่ 9 จุดที่ 2 จุดที่ 3
จุดที่ 1 จุดที่ 4 รูป A1 08/05/62

28 วิธีการการสอบเทียบ ตู้ควบคุมอุณหภูมิ
5. หลังปิดตู้หรือตั้งอุณหภูมิตามต้องการ ประมาณ นาที เมื่อ “อุณหภูมิคงที่” เปิดเครื่อง Digital Thermometer โดยกดปุ่มสีฟ้า(ESC- ) 6. กดปุ่ม MAIN (TypeT1/T2 ) เมื่อหน้าจอด้านบน-ขวาปรากฏ T1จึงกดปุ่ม Sector Switch 1-5 ทีละจุด เพื่ออ่านอุณหภูมิแต่ละจุดที่1-5 จากนั้นให้กดปุ่ม MAIN (TypeT1/T2 ) พบหน้าจอด้านบน-ขวาปรากฏ T2 ก่อนกดปุ่ม Sector Switch 6-9 อ่านอุณหภูมิแต่ละจุดที่ 6-9 จนครบจึงถือเป็น 1 รอบโดยทำซ้ำจนครบ 5 รอบโดยแต่ละรอบให้เว้นช่วงการอ่านห่างกัน 15 นาที 7. บันทึกค่าอุณหภูมิที่อ่านได้จากเครื่องหรือ เทอร์โมมิเตอร์อ่านอุณหภูมิ ภายในตู้ และ Digital Thermometer 8. ถ้าข้อมูลแต่ละรอบการวัด มีความแตกต่างกันมากจนผิดสังเกต แสดงว่าตู้นั้นยังมีอุณหภูมิไม่คงที่ ต้องรอให้อุณหภูมิคงที่ จึงจะทำการวัดซ้ำ 08/05/62

29 วิธีการการสอบเทียบ Water Bath
1. ติดตั้งเทอร์โมมิเตอร์ตรงจุดกึ่งกลางภายในอ่างทิ้งไว้จนอุณหภูมิคงที่ 2. จุ่มสาย Thermocouple จำนวน 9 เส้นให้ลึกเป็นครึ่งหนึ่งของความลึกของน้ำที่ใส่ลงไปใน Water Bath 3. ให้สาย Thermocouple อยู่ห่างจากผนังด้านใกล้ ประมาณ 5 เซนติเมตร (ตามรูปA2) 4. ต่อคู่สายของ TC ทั้ง 9 เส้นเข้ากับ Input ของ Sector Switch และต่อ สัญญาณO/Pของ Sector Switch เข้ากับDigital Thermometer 08/05/62

30 ภาพด้านข้าง 2 3 1 ภาพด้านบน 4 5 6 8 9 7 รูป A2 08/05/62

31 วิธีการการสอบเทียบ Water Bath
5. เปิดเครื่อง ตั้งอุณหภูมิตามต้องการ เมื่อ “อุณหภูมิคงที่”ประมาณ นาที เปิดเครื่อง Digital Thermometer โดยกดปุ่มสีฟ้า(ESC- ) 6. กดปุ่ม MAIN (TypeT1/T2 ) เมื่อหน้าจอด้านบน-ขวาปรากฏ T1จึงกดปุ่ม Sector Switch 1-5 ทีละจุด เพื่ออ่านอุณหภูมิ (Ref.Temperature) แต่ละจุดที่1-5 จากนั้นให้กดปุ่ม MAIN (TypeT1/T2 ) พบหน้าจอด้านบน-ขวาปรากฏ T2 ก่อนกดปุ่ม Sector Switch 6-9 อ่านอุณหภูมิ (Ref.Temperature) แต่ละจุดที่6-9 จนครบจึงถือเป็น 1 รอบโดยทำซ้ำจนครบ 5 รอบโดยแต่ละรอบให้เว้นช่วงการอ่านห่างกัน 15 นาที 7. บันทึกค่าอุณหภูมิที่อ่านได้จากเทอร์โมมิเตอร์ภายในอ่างความร้อน และ Digital Thermometer (Reading Temp (C) ) 8. ถ้าข้อมูลแต่ละรอบการวัด มีความแตกต่างกันมากจนผิดสังเกต แสดงว่าอ่างความร้อน นั้นยังมีอุณหภูมิไม่คงที่ ต้องรอให้อุณหภูมิคงที่ จึงจะทำการวัดซ้ำ 08/05/62

32 การคำนวณ : การหาค่าอุณหภูมิต่างๆ
อุณหภูมิที่อ่านได้จากค่ามาตรฐาน (Ref.Temperature) = (max of mid + min of mid) / 2 อุณหภูมิที่อ่านได้จากเครื่องวัดของตู้/อ่าง (Indicated Temp) = (max + min)/2 ค่าแก้ (Correction) = Reference Temp. – Indicated Temp. ค่า Uniformity ของตู้ = (max of max – min of min)/2 การประเมินผล : Accuracy and uniformity เป็นไปตามข้อกำหนดของเครื่องหรือต้องแตกต่างกันไม่เกิน  1.0 หรือ ตามความเหมาะสมของการใช้งาน 08/05/62

33 บันทึกผลข้อมูลจากการวัด F42 04 0023
Customer /Hospital………………………… Equipment Model……………………. Serial No………………….Manufacturer…………… Marking………………….. Setting Range…………C Test Date ……………….Starting time ………….. Test by…………………... Status……………………. Reference standard: Digital Thermometer With Probe ; Manufacturer Tecpel ; Model 506B ; Serial No 08/05/62

34 Ref. Temp (C) / Time (min)
Starting time : ………… AM ตำแหน่ง Ref. Temp (C) / Time (min) Max Min Mid 00 15 30 45 60 จุดที่ 1 6.0 7.0 7.1 6.2 6.55 จุดที่ 2 3.2 6.1 4.6 3.3 4.8 4.65 จุดที่ 3 3.7 5.9 4.1 3.6 4.75 จุดที่ 4 5.0 5.1 5.8 6.05 จุดที่ 5 2.0 2.2 2.4 2.60 จุดที่ 6 3.5 2.7 2.75 จุดที่ 7 2.9 3.9 3.60 จุดที่ 8 4.9 7.4 5.5 6. 15 จุดที่ 9 5.3 3.8 4.3 4. 25 Reading Temp (C) 5.2 2.5 08/05/62

35 การคำนวณ : ความแม่นของอุณหภูมิที่อ่านได้(Accuracy) : การกระจายความเย็น (Uniformity)
Reference Temperature = / 2 = C Indicated Temperature = / = 3.8 C Correction = – = C Accuracy ( ) Accept ( ) Non Accept Uniformity = – 2.0 / =  2.7 C ( ) Accept (  ) Non Accept 08/05/62

36 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่2 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่2 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 1. งานพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการในเครือข่าย โทรศัพท์เคลื่อนที่ 2. นายสุพัฒชัย ปราบศัตรู นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ 3. ทนพญ.จินตนา ว่องวิไลรัตน์ นักเทคนิคการแพทย์ชำนาญการพิเศษ โทรศัพท์เคลื่อนที่ สวัสดี 08/05/62


ดาวน์โหลด ppt การตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องมือพื้นฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google