งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สุมิตรชัย หัตถสาร ผู้บรรยาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สุมิตรชัย หัตถสาร ผู้บรรยาย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สุมิตรชัย หัตถสาร ผู้บรรยาย
การทำ คำฟ้องคดีแพ่ง สุมิตรชัย หัตถสาร ผู้บรรยาย

2 การทำคำฟ้อง ส่วนประกอบของคำฟ้อง หลักการบรรยายคำฟ้อง

3 ๑. ส่วนประกอบของคำฟ้อง ส่วนที่ ๑ หน้าคำฟ้อง ส่วนที่ ๒ เนื้อหาคำฟ้อง ส่วนที่ ๓ คำขอท้ายฟ้อง ส่วนที่ ๔ เอกสารท้ายคำฟ้อง

4 หลักสำคัญในการบรรยายคำฟ้อง
แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งคำขอบังคับ ( ทั้งสามหัวข้อนี้เป็นหัวใจของการบรรยายฟ้องตามกฎหมาย ส่วนอื่นๆเป็นส่วนประกอบเพื่อให้คำฟ้องเข้าใจง่ายไม่สับสนเท่านั้น )

5 การเรียบเรียงคำฟ้อง

6 วิธีการบรรยายฟ้อง มี ๗ หัวข้อ
บอกสถานะโจทก์ จำเลย นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลย (สภาพแห่งข้อหา) การโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ (ข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหา) ความเสียหายของโจทก์ การทวงถาม คำลงท้าย คำขอท้ายฟ้อง (คำขอบังคับ) หลักการจำ : “สน-ตส(ตด)-ทล(ทน)-ขี้” (ส-สถานะ , น-นิติสัมพันธ์ , ต-โต้แย้งสิทธิ , ส-เสียหาย , ท-ทวงถาม , ล-ลงท้าย , ขี้-ข-ขอท้ายฟ้อง)

7 แบบฟอร์มการบรรยาย ๑) สถานะโจทก์ จำเลย : ข้อ ๑. โจทก์/จำเลย เป็น....(นิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด..) ปรากฏตาม..... ๒) นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลย : ข้อ ๒. เมื่อวันที่...(กล่าวถึงการทำสัญญาหรือการกระทำของจำเลย) ปรากฏตาม..... ๓) การโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ : ข้อ ๓. ปรากฏว่าจำเลย....(การกระทำผิดสัญญา ละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย อย่างไร)

8 ๔) ความเสียหายของโจทก์ : ข้อ ๔
๔) ความเสียหายของโจทก์ : ข้อ ๔. การกระทำของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กล่าวคือ....(ระบุรายละเอียดของความเสียหายพร้อมดอกเบี้ยหรือค่าปรับ) ๕) การทวงถาม : โจทก์ได้ทวงถามจำเลยหลายครั้ง แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ ต่อมาโจทก์มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถาม จำเลยได้รับแล้วเพิกเฉย ปรากฏตามสำเนาหนังสือบอกกล่าวทวงถามและใบตอบรับไปรษณีย์ เอกสาร.. ๖) คำลงท้าย : โจทก์ไม่มีทางอื่นที่จะบังคับเอากับจำเลยได้ จึงต้องนำคดีมาฟ้องศาล เพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งบังคับจำเลยต่อไป ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

9 ๗) คำขอท้ายฟ้อง : ๑. ให้จำเลย
๗) คำขอท้ายฟ้อง : ๑. ให้จำเลย.....(ชำระเงิน จดทะเบียนโอนที่ดิน ส่งมอบทรัพย์ , สรุปความเสียหายจากข้อ ๔ สั้นๆ) ๒. ให้จำเลยชำระ.....(ดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายในอนาคต) ๓. ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ หมายเหตุ : ข้อความที่ขีดเส้นใต้ ต้องท่องจำไว้ให้แม่นยำ เพราะเขียนเหมือนกันทุกคดี หลักและแบบการบรรยาย ๗ ข้อ ในการบรรยายแบ่งเป็น ๔ ข้อเท่านั้น ส่วนข้อ ๕ และ ๖ เพียงย่อหน้าไม่ต้องเป็นหัวข้อ

10 ๑. การบรรยาย สถานะโจทก์ จำเลย

11 ๑. สถานะโจทก์จำเลย หลัก : ผู้ไม่มีสภาพบุคคลไม่สามารถเป็นโจทก์จำเลยได้
หลักการบรรยายสถานะโจทก์/จำเลย เรื่องที่ต้องบรรยายมี ๘ เรื่อง ๑.๑. การเป็นนิติบุคคลของโจทก์/จำเลย ๑.๒. การมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน ๑.๓. การดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ ๑.๔. การดำเนินคดีแทนผู้ตาย ๑.๕. การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิในทรัพย์สิน ๑.๖. การดำเนินคดีแทนสามี/ภรรยา ๑.๗. การดำเนินคดีแทนบิดามารดากับบุตร ๑.๘. การดำเนินคดีโจทก์จำเลยหลายคน หลัก : ผู้ไม่มีสภาพบุคคลไม่สามารถเป็นโจทก์จำเลยได้

12 ๒. การบรรยาย นิติสัมพันธ์ระหว่าง โจทก์กับจำเลย

13 นิติสัมพันธ์ แบ่งเป็น
นิติกรรมสัญญา นิติเหตุ

14 ๑. นิติกรรมสัญญา นิติกรรม : การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ (ป.พ.พ.มาตรา ๑๔๙) สัญญา : นิติกรรมสองฝ่ายขึ้นไปที่เกิดจากการแสดงเจตนาเสนอสนองตรงกันของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือระงับนิติสัมพันธ์ แบ่งเป็น เอกเทศสัญญา และสัญญาทั่วไป ( ในการบรรยายฟ้องต้องให้เข้าองค์ประกอบของสัญญาแต่ละประเภท มิเช่นนั้น อาจเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์หรือฟ้องเคลือบคลุม)

15 ๑.๑. หลักการบรรยายคำฟ้องสัญญา
ระบุ วัน เดือน ปี เวลาทำสัญญาหรือเกิดเหตุ (กรณีสัญญาไม่ต้องระบุเวลา/ละเมิดต้องระบุ) ระบุสถานที่เกิดเหตุ (กรณีสัญญาไม่ต้องบรรยายสถานที่เกิดสัญญา/ละเมิดต้องบรรยาย) ระบุการทำสัญญาหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (บรรยายสรุปข้อเท็จจริงไปตามลำดับก่อนหลัง) อ้างเอกสารที่เกี่ยวข้อง (เมื่อบรรยายถึงสัญญาหรือการกระทำละเมิด ต้องบรรยายหลักฐานอ้างอิง)

16 ๑.๒. ตัวอย่างการบรรยายคำฟ้องสัญญาประเภทต่างๆ
ยืม ค้ำประกัน จำนอง ซื้อขาย เช่าทรัพย์ ตั๋วเงิน

17 ยืม หลักกฎหมาย ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๐ วรรคสอง บัญญัติว่า “สัญญานี้ (กู้ยืม) ย่อมบริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม” ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงินเกินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น......ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่”

18 ลักษณะของสัญญากู้ยืมเงิน
อัตราดอกเบี้ย ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละสิบห้าต่อปี หากเกินกว่านั้นให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี” (ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๔) พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.๒๔๗๕ “ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้า ส่วนที่เกินเป็นโมฆะ ห้ามคิดดอกเบี้ยทบต้น เว้นแต่ค้างชำระดอกเบี้ยเกินกว่าหนึ่งปี คู่สัญญาตกลงกันให้คิดทบต้นได้ บางกรณีสามารถคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ เช่น สัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือในการค้าอย่างอื่นทำนองเดียวกัน (ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕) สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารสามารถคิดดอกเบี้ยในอัตราตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งอาจเกินร้อยละสิบห้าต่อปี

19 ลักษณะของสัญญากู้ยืมเงิน
สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารสามารถคิดดอกเบี้ยในอัตราตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งอาจเกินร้อยละสิบห้าต่อปี หากผู้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเงินให้คิดเป็นหนี้เงินที่ต้องชำระเท่ากับราคาท้องตลาด ในเวลาและสถานที่ที่มอบ (ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๖ ว.หนึ่ง ว.สาม) ในกรณีที่ผู้ให้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเงินที่กู้ยืม หนี้นั้นเป็นอันระงับ โดยคิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบ (ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๖ ว.สอง ว.สาม)

20 ตัวอย่างการบรรยายฟ้องสัญญากู้ยืม
“เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี กำหนดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยภายในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ จำเลยได้รับเงินกู้ไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว ปรากฏตามสำเนาสัญญากู้เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑” เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท และได้รับเงินไปจากโจทก์เรียบร้อยแล้ว โดยตกลงชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี เป็นรายเดือนทุกสิ้นเดือน เริ่มตั้งแต่สิ้นเดือนมกราคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป กำหนดชำระเงินต้นภายใน ๑ ปี นับแต่วันทำสัญญา รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญากู้เงิน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑”

21 ค้ำประกัน หลักกฎหมาย ป.พ.พ.มาตรา ๖๘๐ บัญญัติว่า “ค้ำประกัน คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน สัญญาว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้”

22 ลักษณะของสัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันเป็นการประกันการชำระหนี้ด้วยบุคคล ต้องมี “หนี้ประธาน” และต้องเป็นหนี้ที่สมบูรณ์สามารถบังคับกันได้ ประกันหนี้ไม่จำกัดจำนวน หรือระบุว่ารับผิดไม่เกินจำนวนฯ สิทธิในการเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้เกิดเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ (หนี้ถึงกำหนดชำระหรือเจ้าหนี้เรียกให้ชำระ) ผู้ค้ำประกันมีสิทธิเกี่ยงให้เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนหรือพร้อมกับลูกหนี้ไม่ได้ (ลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนี้ถูกบัญญัติให้เป็นโมฆะ ป.พ.พ.๖๘๑/๑ ว.๑ บังคับใช้ ๑๑ ก.พ. ๒๕๕๘ กรณีนิติบุคคลบังคับใช้ ๑๕ ก.ค.๒๕๕๘)

23 ตัวอย่างการบรรยายฟ้องสัญญากู้ยืม/ค้ำประกัน
“เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ จำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี กำหนดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยภายในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ จำเลยที่ ๑ ได้รับเงินไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว ปรากฏตามสำเนาหนังสือสัญญากู้ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑ ในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่ ๒ ได้ทำสัญญาค้ำประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าวของจำเลยที่ ๑ ปรากฏตามสำเนาหนังสือสัญญาค้ำประกัน เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๒”

24 ตัวอย่างการบรรยายฟ้องรับสภาพหนี้/ค้ำประกัน
“ข้อ ๑......(บรรยายถึงเหตุก่อนมีการทำบันทึกพอสังเขป) ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๔๙ โจทก์และจำเลยที่ ๑ ตกลงเรื่องค่าเสียหายกันได้และได้ทำบันทึกข้อตกลงกันไว้มีใจความว่า จำเลยที่ ๑ ยอมรับว่าจำเลยที่ ๑ ประมาททำแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปตกลงมาทับรถของโจทก์เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ และตกลงชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท โดยจำเลยที่ ๑ จะชำระเงินให้โจทก์ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ ในการทำบันทึกข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ นั้น จำเลยที่ ๒ ตกลงเข้าเป็นผู้ค้ำประกันการชำระค่าเสียหายตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โจทก์กับจำเลยทั้งสองได้ลงชื่อไว้ในบันทึกข้อตกลงเป็นหลักฐานรายละเอียดปรากฏตามสำเนาบันทึกข้อตกลง เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๑”

25 จำนอง หลักกฎหมาย ป.พ.พ.มาตรา ๗๐๒ บัญญัติว่า อันว่าจำนองนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนอง เอาทรัพย์สิน(ทรัพย์ของตนหรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ไปจดทะเบียนไว้) ตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนอง ทรัพย์สินที่อาจจำนองได้แบ่งเป็น ๒ ประเภท อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ที่จำนองได้ (เรือระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป , แพ , สัตว์พาหนะ , สังหาริมทรัพย์อื่นที่กฎหมายอนุญาต เช่น เครื่องจักรขนาดใหญ่)

26 จำนอง ลักษณะของสัญญาจำนอง ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
สัญญาจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนง.เจ้าหน้าที่ ผู้จำนองไม่ต้องรับผิดในหนี้เกินราคาทรัพย์ที่จำนองในเวลาที่บังคับจำนองหรือเอาทรัพย์จำนองหลุด ข้อตกลงใดอันมีผลให้ผู้จำนองรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์ฯ หรือให้ผู้จำนองรับผิดอย่างผู้ค้ำประกัน ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ เว้นแต่นิติบุคคลเป็นลูกหนี้และบุคคลผู้มีอำนาจของนิติบุคคลจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้นั้นและผู้จำนองได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ตามสัญญาต่างหาก) (ป.พ.พ.มาตรา ๗๒๗/๑ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘)

27 ตัวอย่างการบรรยายฟ้องสัญญากู้ยืม+จำนอง
“เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ จำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี กำหนดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยภายในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ จำเลยที่ ๑ ได้รับเงินไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว ปรากฏตามสำเนาหนังสือสัญญากู้ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑ ในการกู้ยืมเงินของจำเลยที่ ๑ มีจำเลยที่ ๒ จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๓๔ เลขที่ ๑๒ ตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ ๑ ไร่ พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเป็นอาคารพาณิชย์ เลขที่ ๕ ของจำเลยที่ ๒ ไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ ๑ โดยมีข้อตกลงว่าหากจำเลยที่ ๑ ผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองที่ดิน และบังคับให้จำเลยที่ ๑ ชำระหนี้ในส่วนที่ขาดจากการบังคับจำนองได้จนกว่าจะครบถ้วน ปรากฏตามสำเนาสัญญาจำนอง เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๒”

28 ตัวอย่างการบรรยายฟ้องสัญญาซื้อขาย+จำนอง+ค้ำประกัน
“เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๗ จำเลยที่ ๑ ได้ตกลงทำสัญญาซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบ็นซ์ เอส ๕๐๐ รุ่นปี ๒๕๔๗ ไปจากโจทก์จำนวน ๑ คัน ในราคา ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยชำระราคาให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาเป็นเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือจำนวน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๑ ตกลงชำระให้แก่โจทก์ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗ หากผิดนัดตกลงชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ ๑ ได้รับรถยนต์คันดังกล่าวไปจากโจทก์ตามสัญญาเรียบร้อยแล้วรายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาซื้อขาย เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑ ในวันเดียวกัน เพื่อเป็นการประกันการชำระเงินของจำเลยที่ ๑ ต่อโจทก์ตามสัญญาซื้อขายรถยนต์ดังกล่าวข้างต้น จำเลยที่ ๒ ได้นำที่ดินโฉนดเลขที่ ๑ เลขที่ดิน ๒ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ ๑ ไร่ มาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน โดยมีข้อตกลงในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่า หากบังคับจำนองแล้วยังได้เงินไม่พอชำระหนี้ ตกลงจะชำระหนี้ส่วนที่ขาดให้แก่โจทก์จนครบถ้วน รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาจำนอง และสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๒”

29 ตัวอย่างการบรรยายฟ้องสัญญาซื้อขาย+จำนอง+ค้ำประกัน
นอกจากนี้ในวันเดียวกัน จำเลยที่ ๓ ได้ตกลงทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ ๑ ตามสัญญาซื้อขาย เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๒ ต่อโจทก์ โดยตกลงยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ ๑ อย่างลูกหนี้ร่วม รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาค้ำประกัน เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๔”

30 ลักษณะสำคัญของสัญญาซื้อขาย
หลักกฎหมาย ป.พ.พ.มาตรา ๔๕๓ บัญญัติว่า “อันว่าซื้อขายนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย” ลักษณะสำคัญของสัญญาซื้อขาย คือการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ทำด้วยวาจาได้ แต่ในการซื้อขายทรัพย์บางประเภทต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น อสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน บ้านพร้อมที่ดิน) , สังหาริมทรัพย์บางประเภท (เรือระวาง แพ)

31 ตัวอย่างการบรรยายฟ้องสัญญาซื้อขาย
กรณีไม่ชำระค่าสินค้า “เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๖ จำเลยได้สั่งซื้อตู้เย็น ๑ เครื่อง ราคา ๑๐,๐๐๐ บาท ไปจากโจทก์ กำหนดชำระเงินภายใน ๑ เดือน จำเลยได้รับตู้เย็นไปจากโจทก์แล้ว ปรากฏตามสำเนาใบส่งสินค้า และใบแจ้งหนี้ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข...”

32 ตัวอย่างการบรรยายฟ้องสัญญาซื้อขาย
กรณีค่าเสียหายมอบสินค้าล่าช้า “เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๖ โจทก์ทำสัญญาซื้อกุ้งจากจำเลยจำนวน ๔,๐๐๐ กิโลกรัม ราคา ๓๐๐,๐๐๐ บาท กำหนดส่งมอบภายใน ๑ เดือน นับแต่วันทำสัญญา โดยโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบแล้วว่าโจทก์จะนำกุ้งไปผลิตเป็นกุ้งแห้งส่งมอบให้ลูกค้า โจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยแล้ว ปรากฏตามสำเนาสัญญาซื้อขาย เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข...” เมื่อถึงกำหนดส่งมอบกุ้ง จำเลยส่งมอบกุ้งให้แก่โจทก์ล่าช้า ๑ เดือน เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าปรับให้แก่ลูกค้าเป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท ปรากฏตามสำเนาใบเสร็จรับเงินค่าปรับ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข....”

33 เช่าทรัพย์ หลักกฎหมาย ป.พ.พ.มาตรา ๕๓๗ บัญญัติว่า “อันว่าเช่าทรัพย์นั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้เช่าตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดและผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น” มาตรา ๕๖๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ถ้าผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้” มาตรา ๕๖๙ บัญญัติว่า “อันสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ย่อมไม่ระงับไป เพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ซึ่งให้เช่า ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอน ซึ่งมีต่อผู้เช่านั้นด้วย”

34 ลักษณะสำคัญของสัญญาเช่า
เช่าทรัพย์ ลักษณะสำคัญของสัญญาเช่า ถ้าสัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดหรือยังไม่บอกเลิกสัญญาเช่า ถ้าผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า ถือเป็นค่าเช่าที่ค้างชำระ ถ้าสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วหรือบอกเลิกสัญญาเช่ากันก่อนสัญญาเช่าครบกำหนดระยะเวลา ถ้าผู้เช่ายังอยู่ ถือเป็นการอยู่โดยละเมิด ต้องเรียกร้องค่าเสียหายฐานละเมิด ไม่ใช่เรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ ค่าเสียหายฐานละเมิดอาจเรียกเท่าค่าเช่าหรือสูงกว่า

35 เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดสัญญาเช่าระงับและผู้ให้เช่าไม่ประสงค์จะให้เช่าต่อ ไม่จำต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบ เพราะไม่ใช่เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย (มิพักต้องบอกกล่าว) (ป.พ.พ. ๕๖๔) แต่ถ้ากำหนดเวลาเช่าไม่ปรากฏคู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเช่าในขณะเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดชำระค่าเช่าได้ทุกระยะ แต่ต้องบอกกล่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ตัวก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อย แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสองเดือน (ป.พ.พ.๕๖๖)

36 ตัวอย่างการบรรยายฟ้องขับไล่ผู้เช่า
“เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ จำเลยได้ทำสัญญาเช่าบ้านเลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีกำหนดเวลาเช่า ๑ ปี นับแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ อัตราค่าเช่าเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ปรากฏตามสำเนาสัญญาเช่า เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข... ต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งบอกกล่าวให้จำเลยทราบว่าเมื่อกำหนดเวลาเช่า โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไป ปรากฏตามสำเนาหนังสือบอกกล่าวและใบตอบรับของบริษัทไปรษณีย์ไทย เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข...”

37 ตั๋วเงิน หลักกฎหมาย ป.พ.พ.มาตรา ๙๐๐ บัญญัติว่า “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงิน” มาตรา ๙๐๔ บัญญัติว่า “อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง โดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ผู้ถือก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน” มาตรา ๙๕๙ บัญญัติว่า “ผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บรรดาผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่ายและบุคคลอื่นๆ ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นก็ได้ คือ ก) ไล่เบี้ยได้เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดในกรณีไม่ใช้เงิน ข) ไล่เบี้ยได้แม้ทั้งตั๋วเงินยังไม่ถึงกำหนดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ.

38 ลักษณะสำคัญของตั๋วเงิน
ผู้ที่จะต้องรับผิดตามตั๋วเงิน (ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน เช็ค) คือ ผู้ที่ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินเท่านั้น บุคคลอื่นที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดตามตั๋วเงิน ผู้มีสิทธิเรียกร้องเงินตามตั๋วเงิน คือ ผู้ทรงตั๋วเงินเท่านั้น ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ทรงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามตั๋วเงิน

39 ตัวอย่างการบรรยายคำฟ้องตั๋วเงิน
“เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ จำเลยที่ ๒ ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยที่ ๑ ลงในเช็คธนาคารกรุงทอง จำกัด (มหาชน) สาขาเชียงใหม่ เช็คเลขที่ ๐๑๒๓๔๕๖ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๗ จำนวนเงิน ๒๐,๐๐๐ บาทและมีจำเลยที่ ๓ ลงลายมือชื่อสลักหลัง เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยเมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนด โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ธนาคารบัวหลวง จำกัด (มหาชน) สาขาช้างคลาน เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๗ โดยให้เหตุผลว่า “บัญชีปิดแล้ว” รายละเอียดปรากฏตามสำเนาเช็ค และใบคืนเช็ค เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข...” ข้อสังเกต : ในคดีแพ่งไม่ต้องบรรยายว่า “จำเลยออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริง และบังคับได้ตามกฎหมาย” เหมือนฟ้องคดีอาญา

40 ๒. หลักการบรรยายฟ้องนิติเหตุ
ละเมิด มรดก

41 ละเมิด หลักกฎหมาย ป.พ.พ.มาตรา ๔๒๐ บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”

42 ลักษณะสำคัญของละเมิด
ต้องบรรยายให้เข้าตามองค์ประกอบของกฎหมาย จงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างไร กระทำโดยผิดกฎหมายอย่างไร เสียหายอย่างไร กรณีประมาทเลินเล่อบรรยายเพียงว่า จำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังอย่างไรก็ได้ หรือบรรยายตาม ป.อ.มาตรา ๕๙ “การกระทำประมาท ได้แก่ กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นว่านั้นจักต้องมีตามวิสัย และพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่”

43 ตัวอย่างการบรรยายคำฟ้องละเมิด
“เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลาประมาณ ๑๖ นาฬิกา จำเลยขับรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า วีออส หมาเลขทะเบียน กข ๕๗๖๘ กรุงเทพมหานคร ไปตามถนนกาญจนวนิช จากอำเภอสงขลามุ่งหน้าไปอำเภอหาดใหญ่ โดยมีนายหลับ ไม่ตื่นนั่งไปในรถยนต์คันดังกล่าวด้วย เมื่อจำเลยขับรถไปถึงบริเวณทางโค้งหลักกิโลเมตรที่ ๑๕ จำเลยขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจัดต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ กล่าวคือจำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงถึง ๑๔๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นการขับรถด้วยความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับมีฝนตกถนนลื่น เป็นเหตุให้รถยนต์คันที่จำเลยขับเสียหลักหลุดโค้งไปชนต้นไม้ริมถนนจนรถพลิกคว่ำ ทำให้นายหลับ ไม่ตื่นซึ่งนั่งมาในรถด้านหน้าข้างคนขับ ศีรษะกระแทกกับของแข็งจนกะโหลกแตก ซี่โครงหัก ถึงแก่ความตายทันที...”

44 มรดก หลักกฎหมาย แบ่งตามพินัยกรรม : ถ้าเจ้ามรดกมีพินัยกรรมไว้ให้แบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเสียก่อน (ป.พ.พ.มาตรา ๑๖๒๐) แบ่งให้คู่สมรส : ถ้าคู่สมรสยังมีชีวิตอยู่และทรัพย์สินของเจ้ามรดกเป็นสินสมรสให้แบ่งสินสมรสให้แก่คู่สมรสกึ่งหนึ่งก่อน (ป.พ.พ.มาตรา ๑๖๒๕ และมาตรา ๑๕๓๓) ส่วนที่เหลืออีกกึ่งหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกนำมาแบ่งกันระหว่างทายาท (ป.พ.พ.มาตรา ๑๖๓๒ ถึง ๑๖๓๘)

45 มรดก ๓) แบ่งระหว่างทายาท : ๓.๑) ทายาทโดยธรรมมี ๖ ลำดับ ๑.ผู้สืบสันดาน ๒.บิดามารดา ๓.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๔.พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ๕.ปู่ย่า ตายาย ๖.ลุงป้า น้าอา (ป.พ.พ.๑๖๒๙) ๓.๒) การตัดทายาท : ทายาทลำดับก่อนตัดทายาทลำดับหลัง เว้นแต่ลำดับที่ ๑ ผู้สืบสันดานไม่ตัดลำดับ ๒ บิดามารดา (ป.พ.พ.๑๖๓๐)

46 มรดก ๓.๓. ลำดับที่ ๑ ผู้สืบสันดาน หมายถึงบุตรของเจ้ามรดก ได้แก่ บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย , บุตรที่บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันภายหลัง , บุตรที่เกิดก่อนศาลพิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะ , บุตรที่บิดาจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร , บุตรบุญธรรม , บุตรที่บิดารับรองแล้ว (ไปแจ้งเกิดอุปการะเลี้ยงดูให้ใช้นามสกุล) ๓.๔. ลำดับที่ ๒ บิดามารดา ได้แก่ มารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย , บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย คือจดทะเบียนสมรสกับมารดา , บิดาที่จดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร , บิดาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเจ้ามรดกเป็นบุตร , *ไม่หมายรวมถึงบิดาที่รับรองเจ้ามรดกเป็นบุตร

47 มรดก ๓.๕. ลำดับที่ ๓ , ๔ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน , พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ถือตามความเป็นจริง ไม่จำต้องชอบด้วยกฎหมาย (ฎ.๔๘๒๘/๒๕๒๙ , ๒๗๔๒/๒๕๔๙) ๓.๔. ลำดับที่ ๕ ปู่ย่า ตายาย ต้องสืบสายโลหิตโดยตรงจากเจ้ามรดกและต้องชอบด้วยกฎหมาย ๓.๕. ลำดับที่ ๖ ลุงป้า น้าอา หมายถึง พี่ชาย พี่สาว น้องชาย น้องสาวของบิดาหรือมารดาของเจ้ามรดก (ต้องชอบด้วยกฎหมาย)

48 มรดก ๔. สิทธิในการรับมรดกของคู่สมรส (ม.๑๖๓๕) ก) ถ้ามีบุตร (ลำดับที่ ๑) คู่สมรสได้รับส่วนแบ่งมรดกเสมือนทายาทชั้นบุตร ข) ถ้าไม่มีบุตรแต่มีบิดามารดา (ลำดับที่ ๒) คู่สมรสได้รับส่วนแบ่งมรดกกึ่งหนึ่ง ค) ถ้ามีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (ลำดับที่ ๓) คู่สมรสได้รับส่วนแบ่งมรดกกึ่งหนึ่ง ง) ถ้ามีพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน (ลำดับที่ ๔) หรือปู่ย่าตายาย (ลำดับที่ ๕) หรือลุงป้าน้าอา (ลำดับที่ ๖) คู่สมรสได้รับส่วนแบ่งสองในสามส่วน จ) ถ้าเจ้ามรดกไม่มีทายาทอื่น คู่สมรสได้รับมรดกทั้งหมด

49 ตัวอย่างการบรรยายคำฟ้องมรดกบุตรกับบิดามารดา
“ข้อ ๒. ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือเงินฝากในบัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาลาดพร้าว ชื่อบัญชีนายหนึ่ง มกรา บัญชีเลขที่ ๑๒๓๔๕๖๗๘ จำนวนเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข... ผู้ตายมีทายาทเพียง ๓ คนคือโจทก์ทั้งสอง ซึ่งเป็นบิดามารดาและจำเลยซึ่งเป็นบุตร ส่วนนางสอง มกราภริยาของผู้ตายถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบมรณบัตร เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข.... โจทก์ทั้งสองเป็นบิดามารดาของผู้ตายจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่าทายาทชั้นบุตร ดังนั้น โจทก์ทั้งสองกับจำเลยจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายคนละ ๑ ใน ๓ ส่วน จากทรัพย์มรดก ๓ ล้านบาท โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกคนละ ๑ ล้านบาท ”

50 ตัวอย่างการบรรยายคำฟ้องมรดกภริยากับบุตรที่บิดารับรองแล้ว
“ข้อ ๒. ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือที่ดิน ๑ แปลง เป็นที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๓ เลขที่ ๔ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ ๓ ไร่ ราคา ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท ที่ดินแปลงนี้ผู้ตายได้รับมรดกมาจากบิดาของผู้ตายเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ จึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดิน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข... ผู้ตายมีทายาทเพียง ๓ คนคือโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายและจำเลยซึ่งเป็นภริยาของผู้ตาย โดยผู้ตายไม่มีทายาทอื่น โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรที่บิดารับรองแล้วของผู้ตาย ดังนั้นโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทชั้นบุตร โจทก์ทั้งสองกับจำเลยจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินทรัพย์มรดกดังกล่าวคนละ ๑ ใน ๓ ส่วน คิดเป็นเนื้อที่คนละ ๑ ไร่ คิดเป็นเงินคนละ ๑ ล้านบาท”

51 ตัวอย่างการบรรยายคำฟ้องมรดกบิดามารดากับภริยา
“ข้อ ๒. ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือเงินฝากในธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาจตุจักร ชื่อบัญชี นายหนึ่ง มกรา บัญชีเลขที่ ๑๒๓๔๕๖๗๘ จำนวนเงิน ๔ ล้านบาท รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข... ผู้ตายมีทายาทเพียง ๓ คนคือโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาและจำเลยซึ่งเป็นภริยาของผู้ตาย โดยผู้ตายไม่มีทายาทอื่นอีก โจทก์ทั้งสองเป็นทายาทชั้นบิดามารดาของผู้ตาย จึงมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่งของทรัพย์มรดกทั้งหมด เมื่อทรัพย์มรดกเป็นเงินฝาก ๔ ล้านบาท จำเลยได้รับส่วนแบ่งอีกกึ่งหนึ่ง เป็นเงิน ๒ ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีกกึ่งหนึ่ง ๒ ล้านบาทตกได้แก่โจทก์ทั้งสองคนละ ๑ ล้านบาท”

52 ๓. การบรรยาย การโต้แย้งสิทธิ

53 แยกได้ ๒ กรณี การโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามนิติกรรมสัญญา
การโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามนิติเหตุ

54 ๑. การโต้แย้งสิทธิตามนิติกรรมสัญญา
หลักการบรรยาย เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ จำเลยผิดนัด ผิดสัญญาไม่ชำระ / ชำระเพียงบางส่วน

55 ตัวอย่างการบรรยาย สัญญากู้ยืม (ผิดสัญญากู้ยืม)
“ข้อ ๓. ปรากฏว่าเมื่อจำเลยที่ ๑ กู้เงินไปแล้วชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เพียง ๓ เดือนและเมื่อถึงกำหนดชำระเงินต้นในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ จำเลยที่ ๑ ก็ยังไม่ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างให้แก่โจทก์อีก โจทก์ได้ติดตามทวงถามแต่จำเลยที่ ๑ ก็บ่ายเบี่ยงเรื่อยมา...” เช็ค “ข้อ ๓. ปรากฏว่าเมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์นำเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคาร...เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คตามวิธีการของธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยให้เหตุผลว่า “ปิดบัญชีแล้ว” รายละเอียดปรากฏตาม.....”

56 ตัวอย่างการบรรยาย สัญญาซื้อขาย “ข้อ ๓. ปรากฏว่า จำเลยที่ ๑ ผิดสัญญา ส่งมอบไม้สักทองให้แก่โจทก์ล่าช้า เลยกำหนดเวลาในสัญญาไปถึง ๑ เดือนครึ่ง โดยส่งมอบให้แก่โจทก์เมื่อ......” เช่าทรัพย์ “ข้อ ๓. ปรากฏว่า จากนั้นจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ตามสัญญาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมาจนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๕๓....”

57 ๒. การโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามนิติเหตุ
หลักการบรรยาย กรณีละเมิดการโต้แย้งสิทธิหน้าที่เกิดขึ้นทันที จึงบรรยายเพียงการกระทำที่เกิดขึ้นเท่านั้น การแบ่งมรดก การโต้แย้งสิทธิและหน้าที่เกิดขึ้นเมื่อมีการปฏิเสธไม่แบ่งมรดกให้ผู้มีสิทธิ

58 ตัวอย่างการบรรยาย ละเมิด
“ข้อ ๓. ในการขับขี่รถยนต์ของจำเลย จำเลยขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจัดต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ กล่าวคือจำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงถึง ๑๔๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นการขับรถด้วยความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับมีฝนตกถนนลื่น เป็นเหตุให้รถยนต์คันที่จำเลยขับเสียหลักหลุดโค้งไปชนต้นไม้ริมถนนจนรถพลิกคว่ำ ทำให้นายหลับ ไม่ตื่นซึ่งนั่งมาในรถด้านหน้าข้างคนขับ ศีรษะกระแทกกับของแข็งจนกะโหลกแตก ซี่โครงหัก ถึงแก่ความตายทันที...”

59 ตัวอย่างการบรรยาย มรดก “ข้อ ๓.โจทก์ได้ติดตามให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านอันเป็นทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งตามสิทธิของโจทก์ แต่จำเลยปฏิเสธโดยอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินและบ้านดังกล่าว...”

60 ๔. การบรรยาย ความเสียหาย

61 แยกอธิบายเป็น ๓ หัวข้อ ลักษณะความเสียหาย ต้นเงิน ดอกเบี้ย

62 ๑) ลักษณะความเสียหาย ๑.๑. เป็นตัวเงิน ( หนี้เงิน / ค่าเสียหาย ) ๑.๒. ไม่เป็นตัวเงิน ( ตัวทรัพย์ / สิทธิในทรัพย์)

63 ๒) ต้นเงิน ๑.๑. ค่าเสียหายที่เห็นได้ชัด / ตัวเงินตามสัญญา ๑.๒. ค่าเสียหายที่เห็นไม่ชัด / ค่าเสียหายฐานละเมิด

64 ๑.๒. ค่าเสียหายฐานละเมิด กรณีตาย (ป.พ.พ.มาตรา ๔๔๓) ค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ ก) ค่าปลงศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ ข) ค่ารักษาพยาบาล ค) ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ ง) ค่าขาดไร้อุปการะ จ) ค่าขาดแรงงานของบุคคลภายนอก (ป.พ.พ.มาตรา ๔๔๕)

65 กรณีเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย (ป.พ.พ.มาตรา ๔๔๔)
ค่าเสียหาย ได้แก่ ก) ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป เช่น ค่ารักษาพยาบาล ข) ค่าเสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือบางส่วนทั้งในปัจจุบันและอนาคต ค) ค่าขาดแรงงานของบุคคลภายนอก ( ป.พ.พ.มาตรา ๔๔๕) ง) ค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน (ป.พ.พ.มาตรา ๔๔๖)

66 ตัวอย่างการบรรยาย ละเมิด/ตาย
ข้อ ๓. การกระทำของจำเลยเป็นกระทำโดยประมาท....จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ดังต่อไปนี้ ๓.๑. ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งโจทก์ได้จ่ายไประหว่างการรักษาตัวของนายแสน สาหัส ผู้ตายก่อนเสียชีวิต เป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข... ๓.๒. ค่าใช้จ่ายในพิธีปลงศพของนายแสน สาหัส ตามประเพณีทางศาสนาที่โจทก์ได้จ่ายไปเป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบเสร็จรับเงินและรายการค่าใช้จ่าย เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข...

67 ตัวอย่างการบรรยาย ละเมิด/ตาย
๓.๓. ค่าขาดไร้อุปการะ ขณะมีชีวิตอยู่นายแสน สาหัส เป็นคนมีสุขภาพดีมีอายุเพียง ๔๐ ปี ยังสามารถให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ไปได้อีกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี ซึ่งปกตินายแสน สาหัส ให้เงินโจทก์ใช้จ่ายเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท โจทก์จึงขอคิดค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้เดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท เป็นเวลา ๒๐ ปี เป็นเงิน ๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นค่าสินไหมทดแทนทั้งสิ้น ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท และจำเลยต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันกระทำละเมิด(วันที่....)จนถึงวันฟ้อง คิดเป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๓,๐๕๐,๐๐๐ บาท และชดใช้ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ของต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์เสร็จ

68 ๓) ดอกเบี้ย ๑) กรณีค่าเสียหายเป็นตัวเงินนอกจากจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าเสียหายที่เป็นตัวเงินแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในต้นเงินนับตั้งแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้อง และนับตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จได้ด้วย ๒) อัตราดอกเบี้ย ๒.๑. อัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงกัน /ตามสัญญา (ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี /ยกเว้นสถาบันการเงิน) นับแต่วันทำสัญญาหรือวันที่ตกลงกัน ๒.๒. อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย (ร้อยละ ๗.๕ ต่อปี) นับแต่วันผิดนัด

69 ๓) ประเภทของดอกเบี้ย ๓.๑. ดอกเบี้ยก่อนฟ้อง : คิดตั้งแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้อง (กรณีละเมิด ถือว่าผิดนัดทันทีนับตั้งแต่วันทำละเมิด) ๓.๒. ดอกเบี้ยในอนาคต (หลังฟ้อง) : คิดตั้งแต่วันฟ้องหรือถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจากว่าจะชำระเสร็จ ( ต้นเงินที่ใช้ในการคำนวณดอกเบี้ยในอนาคต ต้องไม่รวมดอกเบี้ยก่อนฟ้อง) สูตร : ดอกเบี้ยก่อนฟ้อง = ต้นเงิน x อัตราดอกเบี้ย x ปี ๑๐๐

70 ตัวอย่างการบรรยาย (สัญญากู้เงิน) “ข้อ ๔. การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระต้นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปีในต้นเงินดังกล่าวนับตั้งแต่วันกู้ยืมคือวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ จนถึงวันฟ้องคือวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ คิดดอกเบี้ยได้ ๑,๕๐๐ บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ยนับถึงวันฟ้องเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๑,๕๐๐ บาท และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปีในต้นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ”

71 ตัวอย่างการบรรยาย (สัญญากู้เงิน) “ข้อ ๔. การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระต้นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปีในต้นเงินดังกล่าวนับตั้งแต่วันกู้ยืมคือวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ จนถึงวันฟ้องคือวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ คิดดอกเบี้ยได้ ๑,๕๐๐ บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ยนับถึงวันฟ้องเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๑,๕๐๐ บาท และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปีในต้นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ”

72 ๕. การบรรยาย การทวงถาม

73 หลักการบรรยาย บรรยายเหมือนกันทุกคดี
ต้องระวังสำเนาหนังสือบอกล่าวทวงถามและใบตอบรับ เอกสารท้ายคำฟ้อง จำเลยหลายคน จำเลย ๑ คนต่อ ๒ ฉบับ ตัวอย่าง : “โจทก์ทวงถามจำเลย....หลายครั้งแล้วจำเลย...ไม่ชำระ โจทก์จึงมอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถาม จำเลย...ได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามแล้ว เพิกเฉย ปรากฏตามสำเนาหนังสือบอกกล่าวทวงถามและใบตอบรับของบริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข....”

74 ๖. การบรรยาย คำลงท้าย

75 หลักการบรรยาย บรรยายเหมือนกันทุกคดี
เนื่องจากศาลพิจารณาพิพากษาคดีในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ คำลงท้ายจึงใช้คำว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด” คำฟ้องไม่ใช่หนังสือราชการ จึงไม่ใช้คำลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถือ” ตัวอย่าง : “โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับเอากับจำเลย...ได้ จึงต้องนำคดีมาฟ้องศาล เพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งบังคับจำเลย...ต่อไป”

76 ๗. การบรรยาย คำขอท้ายคำฟ้อง

77 หลักการบรรยาย คำขอท้ายฟ้องเป็นการบรรยายฟ้องข้อสำคัญ เพราะศาลจะมีคำพิพากษาหรือทำคำสั่งให้เกินหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ คำขอท้ายฟ้องมีเนื้อหาเหมือนกับความเสียหายทุกประการ เพียงแต่สรุปรายละเอียดจากความเสียหายให้สั้นและกระชับขึ้นเท่านั้น วิธีบรรยาย : ให้ชำระหนี้อะไร / ให้ปฏิบัติบางอย่างอย่างไร ให้ชำระดอกเบี้ยอย่างไร ถ้าไม่ชำระหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑ และ ๒ ให้ทำอย่างไร ให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ

78 ตัวอย่าง ค่าเสียหาย : “จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ดังต่อไปนี้ ๑. ค่ารักษาพยาบาล ๑๐๐,๐๐๐ บาท ๒. ค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ๓. ค่าขาดไร้อุปการะ ๑๐๐,๐๐๐ บาท รวมค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๐๐,๐๐๐ บาท และจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ”

79 คำขอท้ายฟ้อง (สรุปจากความเสียหาย) บรรยายว่า
“๑. ให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงินดังกล่าว นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ๒. ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าแทนความแทนโจทก์

80 ตัวอย่างการบรรยายคำขอท้ายฟ้อง
(สัญญากู้) ความเสียหาย ต้นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ดอกเบี้ยก่อนฟ้องเป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท คำขอท้ายฟ้อง : ๑. ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน ๑๓,๐๐๐ บาท ๒. ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ในต้นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ๓. ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

81 ตัวอย่างการบรรยายคำขอท้ายฟ้อง
(สัญญากู้/ค้ำประกัน ก่อนแก้ป.พ.พ.) ความเสียหาย ต้นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ดอกเบี้ยก่อนฟ้องเป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท คำขอท้ายฟ้อง : ๑. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินแก่โจทก์จำนวน ๑๓,๐๐๐ บาท ๒. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ในต้นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ๓. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

82 ตัวอย่างการบรรยายคำขอท้ายฟ้อง
(สัญญากู้/ค้ำประกัน หลังแก้ป.พ.พ.) ความเสียหาย ต้นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ดอกเบี้ยก่อนฟ้องเป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท คำขอท้ายฟ้อง : ๑. ให้จำเลยที่ ๑ ชำระเงินแก่โจทก์จำนวน ๑๓,๐๐๐ บาท ๒. ให้จำเลยที่ ๑ ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ในต้นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ๓. หากจำเลยที่ ๑ ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามข้อ ๑ และข้อ ๒ ให้จำเลยที่ ๒ ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยดังกล่าวแทน ๓. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

83 ตัวอย่างการบรรยายคำขอท้ายฟ้อง
(สัญญากู้/จำนอง) คำขอท้ายฟ้อง : ๑. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินแก่โจทก์จำนวน ๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท ๒. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ในต้นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ๓. หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ตามข้อ ๑ และข้อ ๒ ให้บังคับจำนองยึดที่ดินของจำเลยที่ ๒ แปลงโฉนดเลขที่ ๑๒๓ เลขที่ดิน ๑๔ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หากไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบถ้วน ๓. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

84 ตัวอย่างการบรรยายคำขอท้ายฟ้อง
(ขับไล่) คำขอท้ายฟ้อง : ๑. ให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกจากบ้านเลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์ ๒. ให้จำเลยชำระเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์แล้วเสร็จ ๓. ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในอัตราเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาทนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปและส่งมอบการครอบครองบ้านตามข้อ ๑ ให้แก่โจทก์แล้วเสร็จ ๓. ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

85 ตัวอย่างการบรรยายคำขอท้ายฟ้อง
(จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์) คำขอท้ายฟ้อง : ๑. ให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ ๑ เลขที่ดิน ๒ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ ๑๐๐ ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ ๓ บนที่ดิน จากชื่อนายหนึ่ง พึ่งได้ ผู้ตายให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ๒. หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำขอข้อ ๑ ให้ใช้คำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ๓. หากจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่อง ขอให้จำเลยชดใช้ราคาครึ่งหนึ่งของที่ดินและบ้าน เป็นเงิน ๑ ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงินดังกล่าว นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วน ๓. ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

86 ตัวอย่างการบรรยายคำขอท้ายฟ้อง
(เช่าทรัพย์ /ให้ส่งมอบเครื่องจักร) คำขอท้ายฟ้อง : ๑. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระแก่โจทก์จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ ๒. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันส่งมอบเครื่องจักร หมายเลขรุ่น ๑๒๓๔ แก่โจทก์ ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี ๓. หากไม่สามารถส่งมอบเครื่องจักรคืนแก่โจทก์ได้ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงินเดือนละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะส่งมอบเครื่องจักรให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย ๓. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

87 จบคำบรรยาย การทำคำฟ้อง


ดาวน์โหลด ppt สุมิตรชัย หัตถสาร ผู้บรรยาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google