งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสร้างแรงจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสร้างแรงจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสร้างแรงจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
บทที่ 4. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

2 ความหมายและความสําคัญของแรงจูงใจ
แรงจูงใจ(Motive) หมายถึง สภาวะที่เป็นแรงกระตุ้นหรือเป็นกระบวนการที่สร้างและกระตุ้น/ผลักดันให้บุคคลเกิดพฤติกรรมหรือแสดงพฤติกรรมออกมา ทั้งที่เป็นพฤติกรรมโดยสัญชาตญาณและพฤติกรรมจากการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแรงจูงใจนั้นต้องการ ความต้องการ(Needs) เป็นปัจจัยพื้นฐานของแรงจูงใจ เพราะพฤติกรรมของมนุษย์ที่มักจะแสดงออก เช่น เจ็บปวด ขาดแคลน บกพร่อง วิตกกังวล

3 แสดงวงจรทำพฤติกรรมจากความต้องการ
1 มีความต้องการ 6 2 ตรวจสอบตนเองว่ามีความต้องการอีกหรือไม่ แสวงหาแนวทางเพื่อสนองความต้องการ 5 3 ได้รับผลสนองความต้องการ,พอใจ กำหนดเป้าหมายของการทำพฤติกรรม 4 ปฏิบัติพฤติกรรมไปสู่เป้าหมาย

4 มาสโลว์ (Maslow)

5 ทฤษฎีของแอลเดอร์เฟอร์
แอลเดอเฟอร์ (Clayton Alderfer) ได้เสนอทฤษฎีการจูงใจที่เกี่ยวกับความต้องการเรียกว่า ทฤษฎีอีอาร์จี (ERG)ซึ่งคล้ายกับทฤษฎีของมาสโลว์ แต่จัดระดับความต้องการใหม่ให้เหลือเพียง 3 ระดับ ซึ่งความต้องการของคนเรางานนั้นต้องเป็นลำดับขั้นไปและแทนด้วยอักษรย่อดังนี้

6 ทฤษฎีของแอลเดอร์เฟอร์
1. ความต้องการเพื่อดำรงชีพ (Existence needs :E) เป็นความต้องการที่จำเป็นในการอยู่รอดของชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ค่าตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ ความต้องการเพื่อดำรงชีพนี้เทียบได้กับความต้องการทางด้านร่างกายและความต้องการทางด้านความปลอดภัยของมาสโลว์นั่นเอง

7 ทฤษฎีของแอลเดอร์เฟอร์
2. ความต้องด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (Relatedness needs :R) เป็นความต้องการที่จะมีความสัมพันธ์กับสังคมรอบด้าน เช่น เพื่อนรวมงาน ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา การได้รับการยอมรับยกย่องจากผู้อื่น ต้องการเป็นผู้นำ เป็นหัวหน้า เป็นผู้ตาม ความต้องด้านความสัมพันธ์ทางสังคมนี้ถ้าเทียบกับความต้องการที่มาสโลว์กำหนดไว้ ก็คือ ความต้องการสังคมและความรัก

8 ทฤษฎีของแอลเดอร์เฟอร์
3. ความต้องการความเจริญก้าวหน้า (Growth needs : G) เป็นความต้องที่จะพัฒนาตนเองให้มีความเจริญก้าวหน้าต้องการเป็นผู้มีความคิดริเริม บุกเบิก และใช้ศักยภาพของตนเองที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นความต้องการขั้นสูงสุด ความต้องการประเภทนี้เหมือนกับความต้องการความสำเร็จสมหวังในชีวิตของมาสโลว์

9 แม็คเคลลแลนด์ (McClelland)

10 แมคคลีแลนด์ (McClelland’s Achievement Motivation Theory)
1. ความต้องการความสำเร็จ (Need for achievement) บุคคลที่มีความต้องการความสำเร็จสูง จะมีความปรารถนาอย่างรุนแรงที่จะประสบความสำเร็จและกลัวความล้มเหลว ต้องการการแข่งขันและกำหนดเป้าหมายที่ยากกับตัวเอง ชอบเสี่ยงแต่ไม่ชอบพนัน ชอบการวิเคราะห์และประเมินปัญหา มีความรับผิดชอบ 2. ความต้องการความผูกพัน (Need for affiliation) บุคคลที่มีความต้องการในข้อนี้สูงจะพอใจกับการเป็นที่รัก และมีแนวโน้มจะเลี่ยงการต่อต้านโดยกลุ่มสมาชิกของสังคม เขาจะรักษาความสัมพันธ์อันดีในสังคม พอใจในการให้ความร่วมมือ มากกว่าการแย่งชิง พยายามสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น สร้างความเข้าใจอันดีจากสังคมที่เขาเป็นสมาชิก

11 แมคคลีแลนด์ (McClelland’s Achievement Motivation Theory)
3. ความต้องการอำนาจ (Need for power: NPOW) บุคคลต้องการอำนาจเพื่อมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น (อำนาจของบุคคล เป็นอำนาจทางลบ : ใช้อำนาจรุกรานผู้อื่นเพื่อให้ตนเองบรรลุเป้าหมาย) ต้องการเป็นผู้นำในการตัดสินใจ มีความพอใจที่จะอยู่ในสภาพการณ์แข่งขันหรือสถานการณ์ซึ่งมุ่งสู่การมีสถานภาพที่ดีและมีความต้องการความภาคภูมิใจรวมทั้งการมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่นด้วยการทำงานที่มีประสิทธิผล

12 ปัจจัยการจูงใจ ปัจจัยสุขอนามัย
ทฤษฎีลำดับขั้นความ ต้องการของมาสโลว์ ทฤษฎี ERGของ แอลเดอร์เฟอร์ ทฤษฎี 2 ปัจจัย ของเฮอร์ซเบิร์ก ทฤษฎีความต้องการที่ เกิดขึ้นภายหลังของ แมคเคลแลนด์ ความต้องการ ความสำเร็จในชีวิต ความต้องการ เจริญก้าวหน้า ปัจจัยการจูงใจ - การประสบความสำเร็จในงาน - การได้รับการยอมรับ - ความชอบในลักษณะงาน - ความรับผิดชอบ - ความก้าวหน้า - การมีโอกาสเจริญเติบโต ความต้องการ ประสบผลสำเร็จ ความต้องการ การยกย่อง ความต้องการ ในอำนาจ ความต้องการ ด้านความสัมพันธ์ ความต้องการ ทางสังคม ปัจจัยสุขอนามัย - นโยบายและการบริหารงาน - การบังคับบัญชา - สภาพการทำงาน - ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล - เงินเดือน - สถานภาพ - ความมั่นคงในการทำงาน ความต้องการ มีส่วนร่วม ความต้องการ ความปลอดภัย ความต้องการ เพื่อดำรงชีพ ความต้องการ ด้านร่างกาย

13 สรุป แรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับความต้องการอย่างแยกไม่ออก และต่างก็เป็นตัวเร่งที่ สำคัญให้คนทำงานอย่างมีทิศทางและมีเป้าหมาย มีทฤษฎีแรงจูงใจและความต้องการ เป็นจำนวนมากที่พยายามอธิบายเพื่อค้นหาคำตอบว่าแรงจูงใจมีกำเนิดมาอย่างไร อะไร เป็นตัวผลักดันให้เกิดแรงจูงใจในมนุษย์หรือผลักดันให้มนุษย์ทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพเพียงใด แรงจูงใจจึงนับว่ามีความสาคัญต่อการบริหารงานและผู้บริหาร เป็นอย่างยิ่ง


ดาวน์โหลด ppt การสร้างแรงจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google