งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สงคราม 9 ทัพ จัดทำโดย นายพัชรพล ทนุผล เลขที่ 4 ข

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สงคราม 9 ทัพ จัดทำโดย นายพัชรพล ทนุผล เลขที่ 4 ข"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สงคราม 9 ทัพ จัดทำโดย นายพัชรพล ทนุผล เลขที่ 4 ข
นายพัชรพล ทนุผล เลขที่ 4 ข นายนรากร เชิงสะอาด เลขที่ 25 ก นายศุภกรณ์ จุรีมาศ เลขที่ 25 ข ครูที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูจิราพร พิมพ์วิชัย

2 บทที่ 1 สงคราม 9 ทัพ เป็นสงครามระหว่างพม่ากับไทยหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์อังวะแล้ว ต้องการประกาศแสนยานุภาพ เผยแผ่อิทธิพล โดยได้ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามาตีไทย โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามเพื่อทำลายกรุงรัตนโกสินทร์ให้พินาศย่อยยับเหมือนเช่นกรุงศรีอยุธยา 

3 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ผ่านไป ๔๐ ปี พม่าต้องรบกับอังกฤษ ในปี พ.ศ.๒๓๖๘ และพม่าก็ได้แพ้อังกฤษ และตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษตราบแสนนาน ถ้าได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติไทยในอดีตแล้ว จะเห็นว่าเราเป็นชาติที่รักความสงบไม่ชอบรุกรานใคร ตรงข้ามกับพม่าซึ่งได้รุกรานไทยมานานตลอดระยะ เวลา ๔๕๐ ปี หยดเลือด หยาดน้ำตาของคนไทยต้องหลั่งลงแผ่นดินมากเพียงใด วีรชนของไทยที่ได้เสียสระชีวิตเลือดเนื้อ เพื่อรักษาแผ่นดินผืนนี้เอาไว้ให้ลูกหลาน ได้อยู่เย็นเป็นสุขตราบเท่าทุกวันนี้ ฉนั้นเราทุกคนจึงเป็นหนี้บุญคุณอันใหญ่หลวงนี้ ขอจงทดแทนคุณของแผ่นดินตั้งแต่บัดนี้ วันจันทร์เดือนยี่ แรม ๒ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ.๒๑๓๕ เป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวร ทรงทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา รัฐบาลไทยจึงกำหนดให้วันที่ ๒๕ มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันทหารผ่านศึก ถ้าเราไม่มีทหารผู้เสียสระเหล่านี้ ก็คงไม่ได้อยู่เป็นสุขเช่นทุกวันนี้ อย่าลืมวีรชน วีรบุรุษและวีรสตรีเหล่านี้

4 บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1.คอมพิวเตอร์ 2.กระดาษ 3.งบประมาณ วิธีการศึกษาค้นคว้า ขั้นตอนของการจัดทำโครงงาน 1.เลือกเรื่องที่น่าสนใจ 2.จัดหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 3.รวบรวมข้อมูล 4.วิเคราะห์ข้อมูล 5.นำข้อมูลที่ได้มาคัดเลือก เพื่อสรุปเป็นรายงานโครงงาน

5 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ สรุปสาระสำคัญของสงคราม 9 ทัพ มีดังนี้
สงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง 9 ทัพ รวมกำลังพลมากถึง 144,000 นาย โดยแบ่งการเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์ออกเป็น 5 ทิศทาง ทัพที่ 1 ได้ยกมาตีหัวเมืองประเทศราชทางปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองระนองจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช ทัพที่ 2 ยกเข้ามาทางเมืองราชบุรีเพื่อที่จะรวบรวมกำลังพลกับกองทัพที่ตีหัวเมืองปักษ์ใต้แล้วค่อยเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์ ทัพที่ 3 และ 4 เข้ามาทางด่านแม่ละเมาแม่สอด ทัพที่ 5-7 เข้ามาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือตั้งแต่เชียงแสน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตีตั้งแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาสมทบกับทัพที่ 3 4 ที่ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เพื่อตีเมืองตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก นครสวรรค์ ทัพที่ 8-9 เป็นทัพหลวงพระเจ้าปดุงเป็นผู้คุมทัพ โดยมีกำลังพลมากที่สุดถึง 50,000 นาย ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์เพื่อรอสมทบกับทัพเหนือ และใต้โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้ารบกับกรุงเทพฯ

6 เวลานั้นทางฝ่ายไทยก็ได้ตั้งกองทัพขึ้นโดยแบ่งเป็น 4 ทัพโดยให้รับศึกทางที่สำคัญก่อน แล้วค่อยผลัดตีทัพที่เหลือ ทัพที่ ๑ ให้ยกไปรับทัพพม่าทางเหนือที่เมืองนครสรรค์ ทัพที่ ๒ ยกไปรับพม่าทางด้านพระเจดีย์สามองค์ ทัพนี้เป็นทัพใหญ่ มีสมเด็จพระบวรราชเจ้ามาหาสุรสิงหนาทเป็นแม่ทัพ คอยไปรับทัพหลวงของพระเจ้าปดุงที่เข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ทัพที่ ๓ ยกไปรับทัพพม่าที่จะมาจากทางใต้ที่เมืองราชบุรี ทัพที่ ๔ เป็นทัพหลวงโดยมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นผู้คุมทัพคอยเป็นกำลังหนุน เมื่อทัพไหนเพลี้ยงพล้ำก็จะคอยเป็นกำลังหนุน

7 บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา จากการทำโครงงานการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ เรื่อง สงคราม 9 ทัพจากหลักฐานชั้นรองคือ เว็บไซด์ พบว่าสงคราม 9 ทัพทำให้เกิดประเทศไทยไม่ตกอยู่ในอำนาจของพม่าและทำให้พม่าไม่กล้าเข้ามาตีไทยจนถึงปีพ.ศ อังกฤษได้เข้ามารบกับพม่าและพม่าก็ได้แพ้ไปและได้เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษตราบจนทุกวันนี้ ผลการอภิปราย จาการศึกษาเรื่อง สงคราม 9 ทัพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการเพราะอาศัยหลักฐานชั้นรองคือ หนังสือและเว็บไซด์เกี่ยวกับสงคราม 9 ทัพทำให้ได้ประสบการณ์ในการทำโครงงานประวัตติศาสตร์สามารถสร้างความรู้เรื่องสงคราม 9 ทัพได้อย่างถูกต้องและนำมาประยุกต์ใช้ในวิชาประวัตติศาสตร์ ประโยชน์ 1.ได้มีความรู้เรื่องสงคราม 9 ทัพมากขึ้น 2.ได้มีความรู้และหลักการจัดทำโครงงาน 3.เป็นแบบอย่างในการจัดทำโครงงานให้กับบุคคลที่ให้ความสนใจ

8 เอกสารอ้างอิง http://webboard.sanook.com http://th.wikipedia.org


ดาวน์โหลด ppt สงคราม 9 ทัพ จัดทำโดย นายพัชรพล ทนุผล เลขที่ 4 ข

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google