งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชา สังคมไทยในบริบทโลก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชา สังคมไทยในบริบทโลก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชา สังคมไทยในบริบทโลก
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (3-0-6) ผู้สอน : อาจารย์ จิรญา โพธิเวชเทวัญ และ อาจารย์ กนกวรรณ แก้วประเสริฐ

2 บทที่ 3 การร่วมเป็นสมาชิกในสังคมโลก

3 สภาพสังคมโลกยุคจักรวรรดินิยม
การขยายบทบาทของชาติตะวันตกไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละชาติทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง มีการสำรวจทางทะเลของชาวโปรตุเกสจากทวีปแอฟริกาถึงอินเดีย เป็นการวางรากฐานสำคัญต่อการเสริมสร้างการมีอาณานิคมในโพ้นทะเล เช่นเดียวกับการสำรวจทางทะเลของชาวสเปน ในยุคนั้นสเปนได้ออกสำรวจทางทะเลจนค้นพบ แร่เงินจากเม็กซิโก และแร่ทองแดงจากเปรู และการค้าโพ้นทะเล ความมั่งคั่งดังกล่าวทำให้สเปนมีอิทธิพลโดดเด่นในยุโปรช่วงพุทธศตวรรตที่ 22 ต่อมา เมื่ออิทธิพลทางการทหารและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเริ่มลดลงในพุทธศตวรรตที่ 23 ดุลยภาพแห่งอำนาจของชาติตะวันตกจึงขยับขึ้นไปเป็นทางตอนเหนือได้แก่ ฮอลันดา อังกฤษ ฝรั่งเศส

4 หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส พ. ศ
หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส พ.ศ.2332 ยุโรปต้องเผชิญสภาวะไร้ระเบียบ เนื่องจากสงครามโปเลียน พ.ศ.2358 ภายหลังการประชุมคองเกรส ได้มีความพยายามนานาประเทศที่จะนำความสงบสันติกลับคืนมาสู่ยุโรป ประกอบกับยุคนั้นเป็นยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดการหลอมรวมเข้ากับรัฐชาติสมัยใหม่ผสมผสานกับลัทธิเศรษฐกิจต่างๆ ที่ขยายทั่วยุโรปเป็นแรงผลักดันสำคัญต่อการขยายบทบาทของชาติตะวันตก โดยมีพื้นฐานความคิดในฐานะผู้นำแห่งความก้าวหน้าทั้งทางโลกและจิตวิญญาณ อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและมีอำนาจทางทะเลที่เข้มแข็ง มีความก้าวหน้าทางด้านโรงงานและการเดินเรือ ด้วยเหตุนี้อังกฤษจึงสามารถก้าวขึ้นเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ และเป็นประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่ง

5 สาเหตุการปรับตัวของประเทศไทยสู่สังคมสมัยใหม่
1. ลัทธิจักรวรรดินิยม เป้าหมายสำคัญ คือ การแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การขยายอิทธิพลทางการเมือง และการเผยแพร่วัฒนธรรมตะวันตก ผู้นำไทยตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องเร่งรีบปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยทัดเทียมชาติตะวันตก 2. การขาดประสิทธิภาพการบริหารราชการภายใน โดยเฉพาะการปกครองที่มีลักษณะซ้ำซ้อน การปรับปรุงระเบียบแบบแผนและเป็นเอกภาพภายใต้ลักษณะรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลางย่อมส่งผลดีต่อเสถียรภาพแห่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และจำกัดการขยายอิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยม

6 3. โลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทย ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวตะวันตกเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น ภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญและถูกถ่ายทอดสู่ชนชั้นผู้นำหรือผู้มีฐานะและสามัญชนไปตามลำดับ มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโดยหมอบรัดเลย์ เริ่มต้นจากการเผยแพร่ศาสตนาคริสต์ มีข่าวนานาชาติ วิทยาการแผนใหม่ เช่น ดาราศาสตร์ การแพทย์ ฯลฯ เป็นที่สนใจในหมู่ชนชั้นผู้นำไทย การเผยแพร่ดังกล่าวจัดพิมพ์เป็นภาษาไทย นอกจากนี้ผู้นำไทยยังได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านมิชชันนารี โดยแลกกับการเผยแผ่และแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับศาสนาคริสต์

7 กระบวนการปรับตัวของไทยส่สังคมสมัยใหม่
การเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศไทย พระองค์รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก จึงได้ใช้ความรู้ภาษาอังกฤษที่มีให้เป็นประโยชน์ดำเนินวิเทโศบายด้วยท่าทีโอนอ่อนผ่อนตาม พร้อมเร่งปรับตัวทางสังคม ไทยได้ทำสัญญาเบาวริ่งกับอังกฤษ ใน พ.ศ.2398 โดยมีสาระโดยสังเขป ดังนี้ 1. รัฐบาลไทยยินยอมให้อังกฤษตั้งสถานกงสุลได้ และให้คนในสังกัดอังกฤษได้รับสิทธิทำการค้าโดยเสรีในเมืองท่าทุกแห่ง และอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ได้เป็นการถาวร 2. คนที่อยู่ในสังกัดอังกฤษจะอยู่ภายใต้อำนาจของกงสุลอังกฤษ ซึ่งหมายความว่า ไทยยินยอมให้คนต่างด้าวมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ไม่ต้องขึ้นศาลไทยเมื่อกระทำความผิด

8 3. ยกเลิกการเก็บภาษีขาเข้าตามความกว้างของปากเรือ โดยกำหนดพิกัดอัตราขาเข้า และขาออกไว้ตายตัว คือ ภาษีสินค้าขาเข้าในอัตราร้อยละ 3 สำหรับสินค้าขาออกให้เก็บภาษีได้เพียงครั้งเดียวตามพิกัดอัตราที่กำหนดไว้ในภารผนวก พ่อค้าอังกฤษมีสิทธิ์จะซื้อขายกับราษฎรโดยตรง 4. รัฐบาลไทยขอสงวนสิทธิ์ที่จะห้ามส่งออกข้าว เกลือ และปลา ในกรณีที่เกิดการขาดแคลนขึ้นภายในประเทศ 5. ไทยถืออังกฤษเป็นชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง 6. ไม่มีการกำหนดอายุของสนธิสัญญา กล่าวคือ บอกเลิกไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความใดๆ จะกระทำได้เมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 10 ปี และต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่ายและแจ้งล่วงหน้า 1 ปี

9 ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาวริ่งกับอังกฤษ ประเทศไทยได้ใช้สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นแบบแผนในการทำสนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์กับประเทศอื่นๆ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก โปรตุเกส ฮอลันดา รัสเซีย สวีเดน และนอร์เวย์ ฯลฯ สนธิสัญญาดังกล่าว ไทยเสียเปรียบกับชาติต่างๆ เหล่านี้ แต่เพื่อต้องการให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจ โดยมีความประสงค์ไม่ต้องการให้อังกฤษผูกขาดการแสวงหาประโยชน์จากไทย และในอีกด้านหนึ่งของการเปิดประเทศด้วยสนธิสัญญาเบาวริ่ง เป็นการนำไทยเข้าสู่สังคมโลกด้วยการเชื่อมโยงและเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก

10 ผลกระทบจากการปรับตัวของไทยสู่สมัยใหม่
1. ด้านเศรษฐกิจ ส่งผลอย่างสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทย กล่าวคือ เป็นการเปลี่ยนแปลงจากระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมโลก 2. ด้านสังคม การเปิดประเทศติดต่อกับชาติตะวันตกมีผลให้วิถีการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด สำหรับในชนชั้นนำ เช่น การสวมเสื้อผ้าและการยืนเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ การถวายความเคารพด้วยการคำนับ ต่อมาก็ขยายสู่สามัญชนผ่านการศึกษาแบบใหม่ การปฏิรูปบ้านเมือง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ในระยะแรกของการถ่ายทอดอารยธรรมเนื่องจากเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่คุ้นเคย จึงมีความระมัดระวังและเลือกสรรวัฒนธรรมที่เหมาะสมจากตะวันตกและนำมาดัดแปลงปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมไทยที่มีอยู่ ต่อมาความคุ้นเคยวัฒนธรรมตะวันตกมีมากขึ้น การกลั่นกรองและดัดแปลงก็ลดน้อยลง

11 การปรับตัวสู่ความสมัยใหม่ ในรัชกาลที่ 5
1. ด้านการเมืองการปกครอง 2. ด้านสังคม 3. ด้านการศึกษา 4. ด้านการเมืองระหว่างประเทศ

12 ท่าทีของไทยต่อสังคมโลก
สังคมโลกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 1. ประเทศมหาอำนาจในยุโรปแบ่งออกเป็น 2 ค่าย อังกฤษ และ เยอรมันนี 2. ลัทธิชาตินิยม 3. ลัทธินิยมทหาร

13 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลของสงครามโลกครั้งที่ 1
1. ข้อบังคับของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ 2. การสิ้นสุดราชวงศ์ในเยอรมันนี ออสเตรีย-ฮังการี รัสเซีย และตุรกี 3. การก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติเพื่อรักษาสันติภาพของโลก

14 ที่มาของสงครามโลกครั้งที่ 2
1. สนธิสัญญาที่ประเทศสัมพันธมิตรกระทำกับประเทศผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีข้อบกพร่องในแง่การลงโทษอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้เกิดอาการโกรธแค้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮิตเลอร์ขึ้นมามีอำนาจชักจูงให้ชาวเยอรมันต่อต้านประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร จนเกิดการต่อสู้ขึ้น 1. การรักษาสันติภาพขององค์การสันนิบาตชาติไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากขาดประเทศที่สำคัญอย่างสหรัฐอเมริการร่วมเป็นสมาชิกด้วย เมื่อเกิดการระเมิดกฎข้อบังคับขององค์การฯ ก็ไม่สามารถลงโทษได้ 1. ประเทศมหาอำนาจแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ที่มีความแตกต่างกันด้านการปกครอง และต่างก็เป็นประเทศอุตสาหกรรม จึงทำการค้าแข่งขันกันด้วยการแย่งชิงตลาดการค้าในทวีปต่างๆ

15 บทบาทของประเทศไทยในสงครามโลก
สงครามโลกคร้งที่ 1 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 ในช่วงต้นไทยประกาศตัวเป็นกลาง จนกระทั่งปลายสงคราม คือ พ.ศ.2460 ไทยจึงเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง ไทยในฐานะประเทศหนึ่งที่ชนะสงคราม ก็มีโอกาสเข้าเป็นสมาชิกองค์การสันนิบาตชาติและได้แก้ไขสนธิสัญญากับชาติตะวันตก ดังเช่น สิทธิสภาพนอกอาณาเขตและการจัดเก็บภาษี

16 สงครามโลกคร้งที่ 2 เป็นช่วงที่ไทยปกครองด้วยระบบประชาธิปไตย แม้จะยังคงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุด ช่วงนั้นรัชกาลที่ 8 ยังทรงศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศ อำนาจการตัดสินใจจึงอยู่ที่รัฐบาล ซึ่งมีหลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลชุดนี้มีแนวคิดแบบชาตินิยม รวมทั้งกำหนดนโยบายรัฐนิยมซึ่งเน้นความเป็นชาติไทยอย่างเต็มที่ ไทยประกาศตนเป็นกลาง (ขณะนั้นญี่ปุ่นชนะสงคราม) ช่วงนั้นไทยมีปัญหากับฝรั่งเศสอยู่ ฝรั่งเศสยินยอมยกดินแดนบางส่วนให้กับไทย ได้แก่ เมืองศรีโสภณ มงคลบุรี และพระตระบอง

17 พ.ศ.2484 ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่อ่าวไทยเดินทัพผ่านไปยังพม่าและมาเลเซียซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ไทยจำต้องเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นประกาศสงครามต่อฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อสงครามสิ้นสุด ญี่ปุ่นแพ้สงครามให้แก่ฝ่ายอักษะ ไทยจึงต้องแพ้สงครามไปด้วย แต่ไทยมีวิธีการฑูตอ้างว่าคำประกาศสงครามไม่สมบูรณ์เนื่องจากผู้สำเร็จราชการลงนามไม่ครบทั้ง 3 คน รวมทั้งไทยมีขบวนการเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น ในที่สุดฝ่ายสัมพันธมิตรก็ยอมรับว่าไทยไม่ใช่ประเทศผู้แพ้สงคราม

18 จบ


ดาวน์โหลด ppt วิชา สังคมไทยในบริบทโลก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google