ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การใช้เครื่องมือในงานช่างยนต์
2
คุณสมบัติของช่างที่ดี
1. ตรงต่อเวลา และรับผิดชอบต่อหน้าที่ 2. รู้และปฎิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงาน 3. มีความระมัดระวัง รอบคอบและคำนึงถึงความปลอดภัย ในการทำงานเสมอ 4. รักความสะอาดความเป็นระเบียบและรักษาสภาพแวดล้อม 5. มีความรักและศรัทธาในอาชีพและรู้จักใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ 6. ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธีและเหมาะสมกับงาน
3
คุณสมบัติของช่างที่ดี
7. มีน้ำใจโอบอ้อมอารีและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน 8. รู้จักคิด สังเกตุ มีเหตุผล และรู้จักแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น 9. มีคุณธรรม จริยธรรม และเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ 10. มีความขยันอดทนประหยัดและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ทั้งต่อหน้าและลับหลัง 11. มีความรู้ ความสามารถ และปฏิบัติงานได้คุณภาพมาตรฐาน 12. เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4
ความปลอดภัย Safety
5
ความปลอดภัย ( Safety ) ช่างที่ดีคือ ผู้ที่ทำงานสำเร็จได้ค้วยความปลอดภัย เป็นคติที่ถ่ายทอด กันมาสำหรับผู้ที่ทำงานช่างทั่วๆไป การป้องกันอุบัติเหตุเป็นวิธีทางเดียว เท่านั้นที่จะช่วยให้ผู้ที่จะทำงานช่าง ทำงานสำเร็จได้ด้วยความปลอดภัย การป้องกันอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ต้องฝึกให้เป็นนิสัยประจำตัว เช่นไม่สูบบุหรี่ เมื่อก้าวเข้าสู่โรงซ่อม ถ้าหากปฎิบัติจนเป็นนิสัยดังกล่าวแล้ว อุบัติเหตุย่อม ไม่เกิดขึ้น และแน่นอนความปลอดภัยย่อมเกิดขึ้นในงานที่ปฎิบัติอยู่เสมอ
6
การป้องกันอุบัติเหตุ
ที่ใดที่มีการทำงานด้วยเครื่องยนต์หรือเครื่องจักร จะพบว่าอุบัติเหตุ มักเกิดขึ้นอยู่เสมอทั้งนี้เพราะสภาพการทำงานของเครื่องยนต์และเครื่องจักร ที่มีส่วนประกอบทั้งที่เคลื่อนไหวและน้ำมันเชื้อเพลิง ย่อมเป็นอันตราย อย่างมากต่อผู้ที่ทำงานด้วยความประมาท อย่างไรก็ดีหากมีการป้องกันที่ดี ก็จะช่วยลดอุบัติเหตุลงได้มากทีเดียว โดยปกติแล้วในโรงซ่อมทุกแห่งมักจะมีมาตราการ,กฎและระเบียบ ป้องกันเอาไว้เสมอ หากต้องการให้การป้องกันอุบัติเหตุให้ได้ผลนั้น จะต้องปฎิบัติตามมาตรการและกฎระเบียบอย่างเคร่งคลัด
7
สาเหตุของอุบัติเหตุ สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุพอที่จะแบ่งได้ดังนี้
1.สาเหตุเนื่องมาจากผู้ปฎิบัติงาน 2.สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดถภัย - เครื่องจักรและอุปกรณ์ - เครื่องมือ - สถานที่
8
สาเหตุเนื่องมาจากผู้ปฎิบัติงาน
สาเหตุเบื้องต้นของการเกิดอุบัติเหตุย่อมเกิดจากผู้ปฎิบัติงานก่อนเสมอคือ 1.ความโง่เขลา 2.ความประมาท 3.ความเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป 4.ทำงานอย่างรวดเร็ว 5.ขาดความสนใจในขณะทำงาน 6.ขาดวินัยในการทำงาน 7.ร่างกายขาดความพร้อมในการทำงาน
9
สาเหตุที่มาจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย
1.ความบกพร่องในการจัดการ - การจัดเก็บของไม่เป็นระเบียบ - ไม่มีการตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ก่อนใช้งาน - การจัดเก็บวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงหรือวัสดุที่ไวไฟไม่เหมาะสม - ไม่ปฎิบัติตามกฎระเบียบของโรงซ่อม - สถานที่ทำงานไม่สะอาด,เสียงดัง,แสงสว่างไม่เพียงพอ
10
2.ความบกพร่องของเครื่องจักรและอุปกรณ์
- ไม่มีเครื่องป้องกันอุบัติเหตุ เช่นน้ำยาดับเพลิง - เครื่องจักรชำรุดแล้วยังใช้งานอยู่ - ขาดการบำรุงรักษา - ใช้เครื่องจักไม่เหมาะสมกับงาน
11
ข้อควรปฎิบัติในการทำงาน
1. ศึกษาและปฎิบัติตามกฎระเบียบของโรงงาน 2. ศึกษาวิธีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักรจากหนังสือคู่มือและ ปฎิบัติตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด 3. แต่งกายรัดกุมเหมาะสมกับลักษณะงาน 4. ตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ พร้อมใช้งานก่อนปฎิบัติงานทุกครั้ง 5. ทำความสะอาดเครื่องมือ,อุปกรณ์และสถานที่ทำงานให้สะอาดอยู่เสมอ
12
ข้อควรปฎิบัติในการทำงาน ( ต่อ )
6. ไม่หยอกล้อเล่นกันในขณะทำงาน 7. จัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบและหมวดหมู่ 8. เลือกใช้เครื่องมือให้ถูกกับงาน 9. ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคลในจุดที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ 10. สร้างสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและเกิดความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
13
เครื่องมือ & อุปกรณ์
14
เครื่องมือและอุปกรณ์
เครื่องมือหลักในงานช่าง 1. ประแจ ( WRENCH ) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการซ่อมเครื่องยนต์,เครื่องจักร ใช้สำหรับขัน หรือคลายนัตและโบลต์ โดยเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน เพื่อความ สะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยในการทำงาน ประแจสามารถแบ่งตามรูปร่างและลักษณะการใช้งานได้ดังนี้
15
ประแจปากตาย ( Open Wrench )
เหมาะสำหรับงานในพื้นที่แคบๆ ใช้แรงขันไม่มาก เพราะปากประแจจะสัมผัสกับนอตหรือโบลท์เพียงสองด้าน
16
ประแจแหวน ( Box Wrench )
ใช้สำหรับขันทั่วไป 1 ตัวจะมี 2 ขนาด ภายในหัวประแจจะมี 12 เหลี่ยม จึงสามารถยึดนัตหรือโบลท์ได้แน่นใช้แรงขันได้มากกว่าประแจปากตาย
17
ประแจปอนด์ ( Torque Wrench )
ใช้สำหรับขันนัตหรือโบลท์ที่ต้องการแรงบิดเท่าๆกันเช่น ฝาสูบ,แบริ่ง,ล้อช่วยแรง,ฝาเกียร์ ฯลฯ
18
ประแจรวม( Combination Wrench )
มีปากให้เลือกใช้ได้ทั้งแหวนและปากตายในตัวเดียวกัน ประแจ 1 ตัว มี 1 ขนาด โดยมีขนาดและระบบเหมือนกับประแจแหวนหรือปากตาย
19
คีม ( Pliers ) เป็นเครื่องมือสำหรับ จับ ตัด ปอก ถอน และประกอบงานทั่วๆไป ประกอบด้วยคีมลักษณะต่างๆดังนี้ คีมเลื่อน ใช้กับงานจับทั่วไป สามารถขยับปรับความกว้าง ของปากได้
20
2. คืมปลายแหลม ใช้จับงานในช่องแคบๆตัดลวดหรืองานชิ้นเล็กๆ
21
3. คีมล็อก ใช้จับงานให้แน่นและใช้แทนประแจสามารถปรับความกว้างของปากได้โดยหมุนเกลียวที่ปลายด้ามคีม
22
คีมถอดแหวนล็อก ใช้ถ่างหรือหุบเพื่อใหสามารถถอดออกจากงานหรือประกอบเข้ากับงานได้ มี 2 แบบคือ - แบบถ่างปากแหวน ให้กว้างออกเพื่อถอด หรือประกอบล็อกกับเพลา - แบบหุบปากแหวน ให้แคบเพื่อให้ถอดหรือประกอบกับเสื้อเพลาได้ แบบหุบปากแหวน แบบถ่างปากแหวน
23
ค้อน ค้อนเหล็ก ค้อนพลาสติก
สำหรับใช้ตอกชิ้นงานเข้า-ออกเวลาถอดหรือประกอบชิ้นส่วน ค้อนเหล็ก ใช้กับงานตอกทั่วไป เช่น ตอกนำศูนย์ ย้ำหมุด ตอกสกัดฯลฯ ค้อนพลาสติก สำหรับใช้เคาะเวลาประกอบชิ้นส่วนและเวลาถอด ฯลฯ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.