งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน เป็นการเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน เป็นการเก็บข้อมูลที่มาการตั้งถิ่นฐาน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นวิถีการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น 2. เพื่อให้ทราบศักยภาพของท้องถิ่น 3. เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่น

2 วัสดุ/อุปกรณ์ วิธีการ
1.สมุดจดบันทึก 2.อุปกรณ์การเขียน เช่น ดินสอ ปากกา ยางลบ 3.ยานพาหนะในการเดินทางสอบถาม 4.โทรศัพท์มือถือในการถ่ายภาพ วิธีการ 1. สอบถามข้อมูลจากที่ทำการผู้ใหญ่/ที่ทำการกำนัน/องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น(อบต./เทศบาล) 2. สัมภาษณ์หรือสอบถามข้อมูลจากบุคคล เช่น ผู้อาวุโส ผู้รู้ในท้องถิ่น 3. เข้าร่วมกิจกรรมในหมู่บ้าน

3 สิ่งที่ได้รับจากการทำใบงาน
1.ได้ความรู้เกี่ยวกับชุมชน 2.ได้รู้ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน 3.ได้ความภาคภูมิใจ 4.ได้ความรู้เรื่องของคนในชุมชน 5.ได้รู้เกี่ยวกับผู้คนในหมู่บ้าน

4 ใบงานที่ 1..8 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
ในปี พ.ศ.2446 ตำบลบ้านโพธิ์ในปัจจุบันมีชื่อว่า ตำบลสนามจันทร์ ดังรายงานการตรวจราชการมณฑลปราจีนของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์  กราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เรื่องการยุบอำเภอหัวไทรไปรวมกับอำเภอบางคล้า และจัดตั้งอำเภอบ้านโพธิ์ ความว่า "ถ้าดูตามลำน้ำที่ว่าการอำเภอหัวไทรกับอำเภอบางคล้าห่างกันทางราว 1 ชั่วโมง เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าควรจะยกเลิกอำเภอหัวไทรเสีย คงย้ายไปตั้งตำบลสนามจันทร์ ที่จะเรียกนามอำเภอสนามจันทร์ ใต้เมืองฉะเชิงเทรา" และอีกข้อความหนึ่งในความว่า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรามีหมู่บ้านมาก ควรแบ่งท้องที่ตั้งเป็นอำเภอขึ้นอีกหนึ่งอำเภอ ที่ว่าการอำเภอถ้าไปตั้งในคลองประเวศบุรีรมย์ก็ไม่อยู่กึ่งกลางท้องที่ จึงเลือกที่ใต้วัดสนามจันทร์เป็นที่ตั้งอำเภอ ความกราบบังคมทูลดังนี้ "ราษฎรที่อยู่ทางลำน้ำไปมาลำบากเห็นด้วยเกล้าฯ ว่าควรตั้งที่ลำน้ำเมืองฉะเชิงเทรา เหนือปากคลองสนามจันทร์ เพราะเป็นท้องที่มีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่โดยรอบ แลเป็นทำเลโจรผู้ร้ายปล้นสะดมชุกชุม ส่วนนามอำเภอเรียกว่าอำเภอสนามจันทร์ เกล้าฯ ได้เลือกที่ใต้วัดสนามจันทร์ เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ แลจะยกโรงตำรวจภูธรที่อำเภอหัวไทรมาตั้งอยู่ที่อำเภอสนามจันทร์ด้วย"

5 สรุปได้ว่าพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาล มณฑลปราจีน เป็นผู้จัดตั้งอำเภอบ้านโพธิ์ โดยแยกออกมาจากอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 1เมษายน พ.ศ.2447 ใช้ชื่อว่า อำเภอสนามจันทร์ ตามชื่อหมู่บ้านและตำบลที่ตั้งอำเภอ ที่ว่าการอำเภอสนามจันทร์หลังแรกเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว หลังคามุงด้วยจาก นายอำเภอคนแรกคือขุนประจำจันทเขตต์ เหตุที่ชื่อบ้านสนามจันทร์ มีประวัติเล่ากันว่า สมัยที่ท้องที่ยังเป็นป่าอยู่ มีเสือชุกชุม มีพระยา 3 ท่าน ออกมาตั้งจั่นดักเสือที่หนองน้ำ ราษฎรเรียกว่า "หนองสามพระยา" และเรียกหมู่บ้านว่า "สนามจั่น" เรียกขานกันนานเข้าจึงเพี้ยนเป็นบ้านสนามจันทร์ ส่วนหนองสามพระยาได้ตื้นเขินเป็นพื้นนา ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ อำเภอบ้านโพธิ์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17ตำบล 73หมู่บ้าน 1.บ้านโพธิ์ 2.เกาะไร่ 3.คลองขุด 4.คลองบ้านโพธิ์ 5.คลองประเวศ 6.ดอนทราย 7.เทพราช 8.ท่าพลับ 9.หนองตีนนก 10.หนองบัว 11.บางซ่อน 12.บางกรูด 13.แหลมประดู่ 14.ลาดขวาง 15.สนามจันทร์ 16.แสนภูดาษ 17.สิบเอ็ดศอก

6 วิถีชีวิต ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอบ้านโพธิ์มักประกอบอาชีพ เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา และทำนา วิถีชีวิตของชาวบ้านโพธิ์ วัฒนธรรม การดำรงชีวิตประจำวันอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งจะเห็นได้จากสิ่งก่อสร้าง เช่น วัดสนามจันทร์ วัดบ้านโพธิ์ จะตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน และที่แห่งนี้จะเป็นแหล่งนัดพบของคนที่จะมาทำบุญ นั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติสำหรับผู้ที่สนใจจะชมบรรยากาศของวัด

7 ใบงานที่ 1.9 แบบบันทึกข้อมูลวิถีชีวิต
คำชี้แจง ให้แต่ละกลุ่มสอบถาม/สัมภาษณ์ วิถีชีวิต รอบวัน/รอบสัปดาห์/รอบเดือน/รอบปี ชื่อกลุ่ม ประวัติอำเภอบ้านโพธิ์ วัน/เดือน/ปี 29 มิถุนายน พ.ศ.2561 สถานที่บันทึก หมู่บ้านบ้านโพธิ์ รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม ๑.นางสาว ศศิกานต์ ถนอมนาค ๒.นาย ถิรวัฒน์ แย้มละม่อม ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 1 ชื่อ-สกุล นางสาว อารีวรรณ เทียนทองศิริ อาชีพ ค้าขาย อายุ 35 ที่อยู่ 74 หมู่6 ต.สนามจันทร์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา

8 วิถีชีวิตรอบวัน (กิจวัตรประจำวัน การประกอบอาชีพ)
การทำงานหารายได้เข้าครอบครัวเพื่อเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัว และดูแลสมาชิกในบ้าน หุงข้าว ทำกับข้าว ทำงานบ้าน วิถีชีวิตรอบสัปดาห์ (การทำบุญวันพระ) ทำบุญทุกๆวันพระ วิถีชีวิตรอบเดือน (ประชุมรายเดือน การพัฒนาหมู่บ้าน) สนับสนุนการพัฒนาชุมชน และเข้าประชุม วิถีชีวิตรอบปี (ประเพณี วัฒนธรรม) เข้าร่วมประเพณีของหมู่บ้าน เช่น ประเพณีลอยกระทง ประเพณีวันเข้าพรรษา ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีบวชนาค

9 วัดสนามจันทร์


ดาวน์โหลด ppt การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google