งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โดย นางเตือนใจ เอื้ออารีมิตร ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสิริรัตนาธร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โดย นางเตือนใจ เอื้ออารีมิตร ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสิริรัตนาธร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โดย นางเตือนใจ เอื้ออารีมิตร ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสิริรัตนาธร
ชนิดของคำ โดย นางเตือนใจ เอื้ออารีมิตร ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสิริรัตนาธร

2 คำ เป็นกลุ่มเสียงประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ที่ปรากฏได้โดยอิสระ และมีความหมาย
คำ จะต้องเป็นกลุ่มเสียงที่มีความหมายเสมอ ส่วนพยางค์เป็นกลุ่มเสียงเช่นกันประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ พยางค์ ๑ พยางค์ ถ้ามีความหมายก็เป็นคำ ๑ คำ ถ้าพยางค์ ๑ พยางค์ ไม่มีความหมายก็ไม่ถือว่าเป็นคำ พยางค์จึงเป็นส่วนหนึ่งของคำ เช่น ดี ๑ พยางค์ ๑ คำ กางเกง ๒ พยางค์ ๑ คำ ผลไม้ ๓ พยางค์ ๑ คำ ราชธานี ๔ พยางค์ ๑ คำ

3 ชนิดของคำ คำอุทาน คำสันธาน คำวิเศษณ์ คำนาม คำบุพบท แบบทดสอบ คำกริยา
Click ครั้งเดียวนะ แล้วเลือกหัวข้อที่ต้องการ คำกริยา คำสรรพนาม

4 คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ เช่น พ่อ แมว กวาง บ้าน จมูก ปาก ลม ไฟ จาน ดวงจันทร์ ชาม ความรัก การกิน นาม แบ่งออกได้ ๕ พวก คือ นามทั่วไป เรียกว่า สามานยนาม เช่น คน วัว ความดี การนอน นามที่ใช้เรียกชื่อเฉพาะ เรียกว่า วิสามานยนาม เช่น นายอภิสิทธิ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เกาะภูเก็ต สิงคโปร์ เป็นคำนามที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ ที่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า สมุหนาม เช่น คณะ นิกาย กอง สมาคม โขลง บริษัท ก๊ก สำรับ คลิกที่ฟักทองเพื่อไปที่หน้าที่ของคำนาม นามที่มาจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ มี การ และ ความ นำหน้า เรียกว่า อาการนาม เช่น การวิ่ง การอ่าน ความฉลาด นามบอกลักษณะ เรียกว่า ลักษณนาม เช่น คน ตัว ผล ฟอง เล่ม แท่ง อัน

5 การ จะนำหน้าคำกริยา เช่น การยืน การพูด การปราศรัย
ความ จะนำหน้าคำกริยาที่เป็นความนึกคิดทางจิตใจ เช่น ความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรัก ความ จะนำหน้าคำวิเศษณ์ที่เป็นนามธรรม เช่น ความดี ความชั่ว ความงาม ความสะอาด ความหรูหรา ความว่องไว ข้อสังเกต ! ถ้า การ และ ความ นำหน้าคำนามจะเป็น คำประสม เช่น การบ้าน การเมือง การสงคราม การไฟฟ้า ความแพ่ง ความอาญา ความศึก คลิก back เพื่อกลับไปสู่หน้าชนิดของคำนาม

6 ลักษณนามแบ่งออกได้ดังนี้
ลักษณนามบอกชนิด เช่น พระพุทธรูป ๓ องค์ พระภิกษุ ๙ รูป เลื่อย ๑ ปื้น บทความ ๒ เรื่อง ช้าง ๕ เชือก ลักษณนามบอกอาการ เช่น บุหรี่ ๖ มวน พลู ๓ จีบ ไต้ ๕ มัด ลักษณนามบอกรูปร่าง เช่น รถ ๓ คัน ดินสอ ๘ แท่ง ไม้ไผ่ ๔ ลำ แห ๔ ปาก ไม้ขีด ๑ กลัก ปืน ๕ กระบอก ฟาง ๓ ฟ่อน แสตมป์ ๗ ดวง ลักษณนามบอกหมวดหมู่ เช่น ฟืน ๒ กอง ทหาร ๓ หมวด พระ ๒ นิกาย ลักษณนามบอกจำนวนหรือมาตรา เช่น ตะเกียบ ๒ คู่ ผ้าลาย ๑ กุลี (ผ้า ๒๐ ผืน รวมกัน ๑ ห่อ เป็น ๑ กุลี) ผ้า ๙ เมตร ที่ดิน ๑๒ ไร่ ข้าว ๖ กระสอบ ลักษณนามซ้ำคำนามข้างหน้า ได้แก่ อำเภอ ๔ อำเภอ คะแนน ๑๐ คะแนน คน ๘ คน คลิก back เพื่อกลับสู่หน้าชนิดของคำนาม

7 หน้าที่ของคำนาม ๓. ทำหน้าที่เป็นคำขยาย เช่น           - เขาทรายเป็นนักมวย (ประกอบคำกริยา “เป็น” ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม)           - ใคร ๆ ก็ชอบเบิร์ดศิลปินผู้มีความสามารถ (ขยาย “เบิร์ด”)           - น้องไปโรงเรียน (ขยายกริยา “ไป”)           - โรงเรียนหยุดวันเสาร์และวันอาทิตย์ (ขยายกริยา “หยุด”)           - ดอกไม้เมืองเหนือดอกโตและสีสวย (ขยายคำนาม) ๑. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น        - ความรู้ทำให้ฉลาด         - การศึกษาช่วยให้คนฉลาด         - อรุณีสอนหนังสือมาแล้ว ๗ ปี ๒. ทำหน้าที่เป็นกรรมตรงกรรมรอง เช่น           - เขาทรายชกเขาค้อลงไปนอนกับพื้น           - ฉันคลุกข้าวให้แมวกินทุกวัน           - ครูให้นักเรียนทำความสะอาดห้องเรียน           - เขาให้เงินแก่ขอทาน คลิกปุ่มback เพื่อกลับสู่หน้าสารบัญ

8 คำที่แสดงอาการของคำนามและสรรพนาม นั่นคือ กริยาจะแสดงการกระทำของประธานในประโยคแบ่งออกได้ ๔ พวก คือ
๔. กริยานุเคราะห์ หรือคำช่วยกริยา คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยให้กริยาสำคัญมี ความหมายชัดเจนขึ้น เพราะคำกริยาในภาษาไทยมีรูปคงที่ไม่เปลี่ยนรูปไปตามหน้าที่ในประโยค เหมือนกับ Verb ในภาษาอังกฤษ จึงต้องอาศัยคำช่วยกริยาดังกล่าว ได้แก่ กำลัง คง จะได้ ย่อม เคย ให้ แล้ว เสร็จ กริยานุเคราะห์จะวางอยู่หน้าหรือหลังคำกริยาสำคัญก็ได้ ตัวอย่างเช่น                เขากำลังมา            ลุงแก้วย่อมไปที่นั่น                เขามาแล้วและไปแล้ว ยายได้ไปทำบุญที่วัดแล้ว                เธอไปซิ เขาอาจไปตามนัด    แอนต้องไปกับเพื่อนพรุ่งนี้   ตูนถูกครูดุ            ๑. อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่มีความหมายครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวเอง โดยไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น                สุนัขหอน                คนวิ่ง                เพื่อนๆหัวเราะ                หน้าต่างปิด                น้ำไหล                ไฟดับ ๒. สกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับข้างท้ายจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ครบถ้วน  ลำพังเพียงกริยาตัวเดียวยังไม่ได้ใจความสมบูรณ์ เช่น                เขาเปิดหน้าต่าง                ดับไฟก่อนเข้านอน                น้องกินขนม                ฉันดูโทรทัศน์                คุณแม่หุงข้าว                คุณพ่ออ่านหนังสือพิมพ์                คนสวนดายหญ้า                ตำรวจจับขโมย ๓. วิกตรรถกริยา(กริยาอาศัยส่วนเติมเต็ม) คือ คำกริยาที่จะใช้กับประธานแต่ลำพังไม่ได้  เพราะยังไม่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเองต้องอาศัยคำอื่นมาประกอบจึงจะได้ใจความครบถ้วน จึงมีผู้เรียกวิกตรรถกริยาว่าเป็นกริยาอาศัยส่วนเติมเต็ม คำกริยาพวกนี้ได้แก่          เป็น อยู่ คือ เหมือน คล้าย เท่า ประดุจ ราวกับ แปลว่า ประหนึ่ง ตัวอย่างเช่น                เขาเป็นวิศวกร คุณแม่อยู่ในครัว                ความรู้คือดวงประทีป ลูกของเธอเหมือนพ่อมากกว่าเหมือนแม่                ลิงคล้ายค่าง ลูกหมาเท่าลูกแมว                วาจาประดุจอาวุธมีคม รูปร่างราวกับยักษ์วัดแจ้ง                มาตาแปลว่าแม่ ผิวนางสาวไทยประหนึ่งดังทองคำ

9 หน้าที่ของคำกริยา คำกริยาทำหน้าที่ ๓ ประการ คือ
๑. ทำหน้าที่เป็นภาคแสดงในประโยค เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาท ๒. ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น อาหารถวายพระเป็นอาหารมังสวิรัติ คลิกปุ่มbackเพื่อกลับสู่หน้าสารบัญ ๓. ทำหน้าที่เหมือนเป็นคำนาม (เรียกว่า กริยาสภาวมาลา) เช่น รักเรียนจงเพียรเถิด

10 ๑. บุรุษสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่พูดถึง
คำที่ใช้แทนนามเพื่อมิให้ต้องกล่าวคำนามซ้ำอีก คำสรรพนาม แบ่งออกเป็น ๗ ชนิดด้วยกัน ๑. บุรุษสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่พูดถึง แบ่งออกเป็น สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นสรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด ได้แก่ ฉัน ผม กระผม กู ข้าพเจ้า ดิฉัน อาตมา ข้าพระพุทธเจ้า สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นสรรพนามที่ใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ได้แก่ เธอ ท่าน คุณ ใต้เท้า พระคุณเจ้า ฝ่าพระบาท มึง สรรพนามบุรุษที่ ๓ เป็นสรรพนามที่ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง หรือผู้พูดกล่าวถึง ได้แก่ เขา พวกเขา มัน พระองค์ ๒. นิยมสรรพนาม คือ สรรพนามใช้แทนนามชี้เฉพาะเจาะจงหรือชี้ระยะ บอกความใกล้ไกลที่เป็นระยะทาง เช่น นี่ นี้ นั่น นั้น โน่น โน้น ตัวอย่างเช่น นั่นคือเพื่อนของฉัน นี่คือโทรศัพท์เครื่องใหม่ โน่นเป็นอาคารเรียนของพี่ นี่เป็นของเธอ นี้เป็นของฉัน คุณพ่อดูนี้ซิ

11 **อนิยมสรรพนามไม่ได้แสดงความหมายเป็นคำถาม
๓. อนิยมสรรพนาม คือ สรรพนามบอกความไม่เจาะจง เช่น ใคร อะไร ไหน ผู้ใด บางครั้งเป็นคำซ้ำ เช่น ใครๆ อะไรๆ ไหนๆ ตัวอย่างเช่น ใครจะไปกับเขาฉันก็ไม่สน เธอจะเอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม ข้อสอบชุดนี้ใครๆก็ทำได้ **อนิยมสรรพนามไม่ได้แสดงความหมายเป็นคำถาม ๔. ปฤจฉาสรรพนาม คือ สรรพนามใช้ถาม ใช้แทนนามที่มีเนื้อความเป็นคำถาม เช่น ใคร ผู้ใด อะไร ไหน ตัวอย่างเช่น อะไรอยู่ใต้ท้องรถ ?  ใครจะไปเที่ยวด้วยกันบ้าง ?       ไหนรถของเธอ ?         ปฤจฉาสรรพนามต่างกับอนิยมสรรพนาม คือ อนิยมสรรพนามใช้ในประโยคบอกเล่าความไม่แน่นอน หรือปฏิเสธ แต่ปฤจฉาสรรพนามใช้ในประโยคคำถาม

12 ๖. ประพันธสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าและทำหน้าที่เชื่อมประโยคด้วย ได้แก่คำว่า ผู้ ที่ ซึ่ง อัน ตำแหน่งของ คำประพันธ์สรรพนามนี้จะเรียงชิดติดขอบอยู่กับคำนามหรือสรรพนามเสมอ เช่น คนที่พูดจาไพเราะจะมีแต่คนชื่นชม เสื้อใหม่ที่เธอซื้อมาเหมาะกับเธอจริงๆ ฉันชอบบ้านที่อยู่บนเนิน การทำดีอันเกิดจากความจริงใจย่อมส่งผลดี บุคคลผู้ไม่ประสงค์ออกนาม บริจาคเงินสร้างโบสถ์ ๔,๐๐๐ บาท ไม้บรรทัดอันที่หล่นอยู่บนพื้นเป็นของปนัดดา ๕. วิภาคสรรพนาม คือ สรรพนามที่บอกความชี้ซ้ำ หรือแบ่งพวก หรือรวมพวก ได้แก่ คำว่า ต่าง บ้าง กัน คำสรรพนามเหล่านี้ จะใช้แทนนามข้างหน้า แต่ถ้าทำหน้าที่ประกอบคำอื่นถือว่าเป็นคำวิเศษณ์ ไม่ใช่วิภาคสรรพนาม  เช่น         นักกีฬาต่างก็ฝึกซ้อมอย่างขะมักเขม้น (วิภาคสรรพนาม)         ต่างคนก็ต่างจิตต่างใจ (วิเศษณ์ประกอบคำนาม)         นักกีฬาบ้างก็ฝึกซ้อมบ้างก็หยุดพัก (วิภาคสรรพนาม)         ใครบ้างจะเล่นเทนนิส (วิภาคสรรพนาม) บางคนก็ฝึกซ้อมบ้างหยุดพักบ้าง (วิเศษณ์ประกอบคำกริยา)         นักมวยชกกัน (วิภาคสรรพนาม)         เขาเดินกันคนละทาง (วิเศษณ์ประกอบคำกริยา)         เขาชกกันคนละสไตล์ (วิเศษณ์ประกอบคำกริยา)     ๗. สรรพนามใช้เน้นตามความรู้สึกของผู้พูด คำสรรพนาม ชนิดนี้จะเรียงไว้หลังคำนามเพื่อเน้นความรู้สึกต่างๆของผู้พูด เช่น          คุณยายท่านเป็นคนใจดีมีเมตตาต่อลูกหลานเสมอ          นี่! เจ้าเหมียวแกจะซนไปถึงไหนกัน          พุทโธ่! ใครจะไปโทษเด็กมันได้ลงคอ

13 หน้าที่ของคำสรรพนาม คำสรรพนามใช้แทนคำนามจึงทำหน้าที่เหมือนกับคำนาม เช่น ทำหน้าที่เป็นประธานเป็นกรรม เป็นส่วนเติมเต็ม และเป็นเครื่องเชื่อมประโยคได้ ดังตัวอย่างประโยคต่อไปนี้           ๑. เป็นประธานของประโยค เช่น เธอรู้สึกไม่สบายมากวันนี้ ไหนเป็นกล่องที่ฉันฝากไว้ วันนี้เด็กๆต่างอยู่บ้าน นี่เป็นจักรยานของฉันเอง        ๒. เป็นกรรมของประโยค เช่น อย่าไปโทษเธอเลย คุณตาเอาอะไรมา วันนี้ฉันไม่เห็นใครอยู่ที่สนามเลยสักคน เจ้าหน้าที่ช่วยทำงานกันทุกคน ๓. เป็นส่วนเติมเต็ม เช่น คนที่ไม่สบายก็คือเธอ น้องคล้ายฉันมาก ๔. เป็นเครื่องเชื่อมประโยค เช่น ใครๆ พากันสงสารคนที่บาดเจ็บ เขาพาฉันไปเที่ยวทะเลที่ฉันไม่เคยไป นายตั้มมีความคิดซึ่งไม่เหมือนใคร คลิกปุ่มback เพื่อกลับสู่สารบัญ

14 คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่น เป็นการเพิ่มความหมายของคำ
อาจจะแสดงความหมาย บอกลักษณะบอกเวลา สถานที่ ปริมาณ หรือ จำนวน ฯลฯ โดยอาจจะขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกัน โดยวางไว้ข้างหน้า หรือหลังคำที่ขยาย แบ่งเป็น ๑๐ ชนิด คือ...

15 ลักษณวิเศษณ์ (คำวิเศษณ์บอกลักษณะ ) คือคำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบ คำนาม
หรือคำสรรพนาม เพื่อบอกชนิด ขนาด สัณฐาน สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส อาการ ความรู้สึก     ตัวอย่างคำวิเศษณ์บอกลักษณะ                           บอกชนิด เช่น ดี เลว อ่อน แก่ หนุ่ม สาว ธรรมดา พิเศษ ฯลฯ บอกขนาด เช่น ใหญ่ เล็ก กว้าง ยาว ย่อม เขื่อง จิ๋ว ฯลฯ            บอกสัณฐาน เช่น กลม รี แป้น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม แบน ฯลฯ            บอกสี เช่น ดำ แดง เขียว เหลือง ม่วง แสด ชมพู ฟ้า ฯลฯ            บอกเสียง เช่น ดัง ค่อย ไพเราะ เบา แปร่ง แหลม แผ่ว แหบ ทุ้ม ห้าว     บอกรส เช่น เปรี้ยว เค็ม หวาน เผ็ด จืด มัน ขื่น ปร่า ขม ฯลฯ            บอกสัมผัส เช่น ร้อน เย็น แข็ง อ่อน นุ่ม สาก ฯลฯ            บอกอาการ เช่น เร็ว ช้า ว่องไว เฉื่อย ฉลาด ปราดเปรียว ฯลฯ             ตัวอย่างเช่น วัยรุ่นขับรถเร็ว            สีประจำโรงเรียนคือสีน้ำเงิน-ชมพู            โต๊ะกลมตัวนั้นเป็นของคุณครู            คุณแม่ทำกับข้าวกลิ่นหอมจัง น้ำชาร้อนอยู่ในกระติกสีฟ้า รถจักรยานคันใหญ่ราคาแพงกว่าคันเล็ก น้องชายไม่ชอบกินขนมหวาน น้ำหอมขวดนี้กลิ่นหอมฉุน โทรศัพท์รุ่นใหม่นี้บางมาก ระฆังใบนี้เสียงดังกังวาน

16       ๒. กาลวิเศษณ์ ( วิเศษณ์บอกเวลา ) คือคำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำอื่น เพื่อบอกเวลา เช่น เช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น ค่ำ อดีต อนาคต โบราณ เดี๋ยวนี้ สมัยใหม่ ฯลฯ            ตัวอย่างเช่น          พิมพ์สิตาชอบวิ่งออกกำลังกายตอนเช้า                  พรพรหมชอบสะสมของเล่นโบราณ                          อดีตคงไม่หวนกลับคืนมา                           เดี๋ยวนี้รถติดเหลือเกิน ฉันไปก่อน น้องไปหลัง คนสมัยใหม่มักเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยี

17 ๓. สถานวิเศษณ์ (วิเศษณ์บอกสถานที่) คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำอื่น
เพื่อบอกสถานที่หรือ ระยะทาง เช่น เหนือ ใต้ บน ล่าง ห่าง ไกล ใกล้ ฯลฯ ซึ่งจะประกอบคำนามหรือคำกริยา ดังนี้         ประกอบคำนาม เช่น บ้านไกล เมืองเหนือ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ฯลฯ         ประกอบคำกริยา เช่น ไปใต้ อยู่ใกล้ ไปทางบก นั่งหน้า ฯลฯ เช่น บ้านของธนพรอยู่ใกล้โรงเรียนแต่อยู่ไกลสถานีตำรวจ เธอนั่งอยู่ทางขวาของห้องเรียน เขาพักอยู่ชั้นบน น้องพักอยู่ชั้นล่าง นาฬิกาปลุกวางอยู่บนหัวเตียง ๔. ประมาณวิเศษณ์ (วิเศษณ์บอกปริมาณหรือจำนวน) คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้ ประกอบคำอื่นเพื่อบอกปริมาณ จำนวนนับ จำนวนไม่จำกัด หรือ จำนวนแบ่งแยก เช่น ทั้งหมด ทั้งหลาย เกือบ หนึ่ง ที่หนึ่ง บ้าง มาก น้อย ฯลฯ      ตัวอย่าง ทุกคนต้องการความยุติธรรม ( บอกจำนวนจำกัด )                   เด็กคนนี้ซื้อของหลายอย่าง ( บอกจำนวนไม่จำกัด )                   นักเรียนบางคนมาโรงเรียนสาย ( บอกจำนวนแบ่งแยก )                   ฉันสอบได้ที่หนึ่งทุกปี ( บอกจำนวนนับ ) ตาลมีสุนัขหนึ่งตัว ( บอกปริมาณ ) บรรดานักเรียนที่มาล้วนแต่เรียนเก่งทั้งสิ้น ( บอกจำนวน ) คุณตามีที่นาแยะ ( บอกจำนวนไม่จำกัด )

18 เธอรู้ไหม ว่ารถเที่ยวนี้ออกเวลาใด น้ำหวานขวดนี้ราคาเท่าไร
๕. ปฤจฉาวิเศษณ์ ( วิเศษณ์แสดงคำถาม ) คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความสงสัยหรือใช้ในคำถาม ได้แก่ คำว่า ใคร อะไร ไหน ฉันใด หรือ เท่าไหร่ อย่างไร เป็นต้น           ตัวอย่าง คนไหนคือนักว่ายน้ำทีมชาติ                           วันนี้เธอไม่ไปทำงานหรือ                           ถ้าจะทำขนมให้อร่อยมีวิธีการอย่างไร    สิ่งใดอยู่บนตู้ เธอรู้ไหม ว่ารถเที่ยวนี้ออกเวลาใด น้ำหวานขวดนี้ราคาเท่าไร ข้อสังเกต วิเศษณ์แสดงคำถามจะต่างกับสรรพนามแสดงคำถาม ( ปฤจฉาสรรพนาม ) ตรงที่ปฤจฉาสรรพนามจะต้องตอบด้วยคำนาม เช่น อะไรอยู่ในตู้ (ตอบเป็นคำนามคือสิ่งของที่อยู่ในตู้) ตัวอย่าง วิเศษณ์แสดงคำถาม ( ปฤจฉาวิเศษณ์ )            คนอะไรไร้ความปรานี (ตอบด้วยวิเศษณ์ เช่น คนเลวไร้ความปรานี)

19 ถ้าเป็นนิยมสรรพนามจะทำหน้าที่แทนนาม
๖. นิยมวิเศษณ์ ( วิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ ) คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อบอกความแน่นอนชัดเจน ได้แก่คำว่า นี่ โน่น โน้น นี้ ทั้งนี้ ทั้งนั้น ดังนั้น เอง เฉพาะ แน่นอน จริง อย่างนั้น ทีเดียว เป็นต้น ตัวอย่างเช่น เด็กนั่นเป็นหลานฉัน                           บ้านป้าของฉันอยู่หลังโน้น                           เธอเองที่เป็นคนส่งของขวัญให้ฉัน เขาต้องโทรศัพท์มาหาฉันแน่นอน คนอย่างนี้ก็มีด้วย  ข้อสังเกต นิยมวิเศษณ์ต่างกับนิยมสรรพนาม ดังนี้ ถ้าเป็นนิยมวิเศษณ์จะทำหน้าที่ขยายคำอื่น ถ้าเป็นนิยมสรรพนามจะทำหน้าที่แทนนาม

20 ๗.อนิยมวิเศษณ์ ( วิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง ) คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำอื่น โดยไม่ชี้เฉพาะ หรือไม่กำหนดแน่นอนลงไป ได้แก่คำว่า ไหน อะไร ใด ฉันใด ใคร เช่นไร ฯลฯ แต่ไม่เป็นคำถาม    ตัวอย่างเช่น บ้านไหนก็สู้บ้านเราไม่ได้                    คนใดมีความพยายามคนนั้นย่อมได้รับความสำเร็จ                    คนอะไรไม่ทำงานสักอย่าง                    เธอจะหยิบขนมชิ้นไหนก็ได้บนโต๊ะนี้ เพื่อนๆจะไปกี่คน คุณพ่อก็ไม่ว่า ข้อสังเกต อนิยมวิเศษณ์จะทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า แต่ถ้าเป็นอนิยมสรรพนาม จะทำหน้าที่แทนนาม ดังตัวอย่าง อะไรก็ไม่มีให้ทำ > อนิยมสรรพนาม (เป็นสรรพนามทำหน้าที่เป็น ประธานของประโยค)                    งานอะไรก็ไม่มีให้ทำ --> อนิยมวิเศษณ์ (คำว่าอะไรขยายคำว่างาน)

21 ๘. ประติชญาวิเศษณ์ ( วิเศษณ์แสดงคำขานรับ ) คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำพูด
ได้แก่ จ๋า จ๊ะ ขา คะ ค่ะ ครับ ฮะ ขอรับ โว้ย ฯลฯ ตัวอย่างเช่น เธอจ๋ามาหาพี่หน่อย                          คุณครับไปโรงเรียนได้แล้วครับ                          งานนี้ผมทำเองครับ                          ใต้เท้าขอรับ รถมาถึงแล้วขอรับ ไอ้แดงโว้ย เพื่อนมาคอยอยู่หน้าบ้านแล้ว ๙. ปฏิเสธวิเศษณ์ ( วิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ ) คือ คำวิเศษณ์ ที่บอกการห้ามหรือ ไม่รับรอง ได้แก่คำว่า ไม่ อย่า มิ มิใช่ ไม่ใช่ หาไม่ หามิได้ มิได้ เป็นต้น         ตัวอย่าง เวลาและวารีไม่คอยใคร                    เขามิได้เป็นคนอย่างนั้น                    เธออย่าทำงานชิ้นนี้                    สมุดเล่มนั้นไม่ใช่ของเธอ ร่างกายนี้หาใช่สัตว์ ใช่บุคคล ใช่ตัวคนเรา

22 ที่ ซึ่ง อัน ที่เป็นประพันธสรรพนามจะใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า
ข้อสังเกต! ที่ ซึ่ง อัน ที่เป็นประพันธสรรพนามจะใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า และวางติดกับนามหรือสรรพนามที่แทนและจะเป็น ประธานของคำกริยาที่ตามมาข้างหลัง เช่น คนที่ยืนอยู่นั้นเป็นเพื่อนสนิทของฉัน หญ้าซึ่งขึ้นในสวนควรตัดทิ้ง ประพันธวิเศษณ์จะใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ จะเรียงหลังคำอื่นที่ไม่ใช่เป็นคำนามหรือสรรพนาม ๑๐.ประพันธวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ เพื่อเชื่อมประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ที่ ซึ่ง อัน อย่างที่ ชนิดที่ เพื่อว่า ให้ ตัวอย่าง เด็กคนนี้มีปฏิภาณไหวพริบดี อย่างที่ไม่เคยพบ เขาพูดให้ฉันได้อาย ปู่ยังทำงานหนักเพื่อว่าท่านจะได้รักษากิจการไว้ เครื่องเบญจรงค์ชุดนี้มีคุณมากอันประมาณไม่ได้

23 หน้าที่ของคำวิเศษณ์ คำวิเศษณ์ จะทำหน้าที่เป็นส่วนขยายในประโยค และขยายคำได้ หลายชนิด ดังนี้ ๑. ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น         วัวแก่ชอบกินหญ้าอ่อน         บ้านสีขาวตั้งอยู่บนเนินเขา   ๓. ทำหน้าที่ขยายคำกริยา เช่น       เดินเร็วๆหน่อยเดี๋ยวฝนจะตก        เด็กๆเล่นเสียงดัง ๒.ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม เช่น        เขาเองที่เป็นคนแกล้งเธอ        ใครหนอรักเราเท่าชีวี ๔. ทำหน้าที่ขยายคำวิเศษณ์ เช่น      ศรรามขับรถเร็วมาก        ขนมหวานนี้ปะแล่มๆ คลิกปุ่มbackเพื่อกลับสู่หน้าสารบัญ

24       คำบุพบท คือ คำที่ใช้นำหน้าคำหรือกลุ่มคำ เพื่อบอกหน้าที่ และความสัมพันธ์ของคำที่อยู่หลังบุพบทกับข้อความข้างหน้า อาจบอกสถานที่ เวลา เหตุผล ลักษณะ แสดงอาการ หรือความเป็นเจ้าของ ได้แก่คำว่า กับ แก่ แต่ ต่อ โดย ด้วย อัน ตาม สำหรับ แด่ ใกล้ ไกล บน ล่าง ริม เหนือ ใต้ เฉพาะ ที่ เพื่อ ตั้งแต่ กระทั่ง จน

25 ลักษณะของคำบุพบท  ๒. บุพบทบอกสถานที่ ได้แก่คำว่า ที่ ใน นอก ริม ใกล้ ไกล จาก บน ยัง ถึง ใต้ กลาง ระหว่าง แต่ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น ลูกเสือตั้งค่ายพักแรมที่ห้วยขมิ้น                           นกเกาะบนกิ่งไม้                          ต้นไม้อยู่ริมถนน                           ศรรักปักกลางใจ บุพบทนำหน้าคำบอกลักษณะเป็นเครื่องใช้หรืออาการร่วมกัน ได้แก่ กับ ด้วย โดย เพราะ แต่ ต่อ แด่ สำหรับ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น ฉันเห็นกับตา น้องไปกับพี่ ปืนสำหรับทหาร พ่อทำงานหนักเพื่อครอบครัว  ๓. บุพบทบอกเวลา ได้แก่คำว่า แต่ ตั้งแต่ จน เที่ยง ก่อน กระทั่ง เฉพาะ ภายใน ใน ณ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น ลูกไปโรงเรียนตั้งแต่เช้า                           แดดร้อนจัดมากเมื่อวันเสาร์                           พ่อทำงานจนค่ำ                           ชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมรับสมัครสมาชิกเฉพาะวันศุกร์ ๔. บุพบทบอกความเป็นเจ้าของ ได้แก่คำว่า ของ แห่ง ฯลฯ ตัวอย่างเช่น พรุ่งนี้ฉันจะยืมหนังสือของเธอ                     หอสมุดแห่งชาติเป็นของรัฐบาล

26 Note คำบุพบทที่แสดงความเป็นผู้รับ แต่ละคำมีการใช้แตกต่างกัน
กับ ใช้เมื่อทั้งสองฝ่ายทำกิริยาร่วมกัน เช่น โชดกไปจตุจักรกับสุรนาถ แก่ ใช้กับผู้รับโดยทั่วไป เช่น คุณยายให้เงินแก่หลาน แด่ ใช้กับผู้รับที่มีฐานะสูงกว่า หรือเป็นที่เคารพของผู้ให้ เช่น คุณตาถวายปัจจัยแด่หลวงพ่อ ต่อ ใช้เมื่อผู้ให้ และผู้รับต้องติดต่อกันหรือเกี่ยวข้องกัน เช่น พนักงานยื่นเอกสารต่อฝ่ายธุรการ

27 คำบุพบททำหน้าที่นำหน้าคำหรือกลุ่มคำต่อไปนี้ ๑
คำบุพบททำหน้าที่นำหน้าคำหรือกลุ่มคำต่อไปนี้      ๑. นำหน้าคำหรือกลุ่มคำนาม เช่น แม่ถนอมได้รับจดหมายจากนายเสริมพี่ชาย      ๒. นำหน้าคำหรือกลุ่มคำสรรพนาม เช่น เขาแต่งกลอนบทนี้ เพื่อเธอคนเดียว      ๓. นำหน้าคำหรือกลุ่มคำวิเศษณ์ เช่น การสื่อสารสมัยนี้ทำได้โดยสะดวก      ๔. นำหน้าคำหรือกลุ่มคำกิริยา เช่น ถ้วยชามนี้มีไว้สำหรับใช้ นักเรียนวิ่งเพื่อออกกำลังกาย

28 การพิจารณาคำบุพบท การพิจารณาคำบุพบทต้องดูหน้าที่ของคำหลัก
เพราะคำต่างชนิดกันจะทำหน้าที่ต่างกันและมีความหมายต่างกัน ตัวอย่างเช่น     เขาให้เงินแก่ขอทาน (บุพบท)                     เขาเป็นคนแก่ (วิเศษณ์)                     คุณปู่แก่มากแล้ว (กริยา) ๒. คำ “ที่” จะเป็นบุพบทเมื่อนำหน้าคำนามหรือสรรพนาม แต่ถ้าทำหน้าที่แทนนามข้างหน้าจะเป็นสรรพนามเชื่อมประโยค ซึ่งจะทำหน้าที่เหมือนคำสันธาน เช่น แม่ไปซื้อของที่ตลาด (บุพบท)                 แมวที่โรงเรียนชื่อเจ้าน้ำหวาน (บุพบท)                 คนที่หนีโรงเรียนต้องถูกลงโทษ (ประพันธสรรพนาม)                 ฉันให้เสื้อผ้าแก่นักเรียนที่บ้านถูกไฟไหม้ (ประพันธสรรพนาม) คลิกปุ่มbackเพื่อกลับสู่หน้าสารบัญ

29 คำสันธานทำหน้าที่เป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้ ๑
คำสันธานทำหน้าที่เป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้ ๑. ใช้เชื่อมคำกับคำ เช่น ดอกมะลิกับดอกกุหลาบ พี่และน้อง ๒. ใช้เชื่อมกลุ่มคำกับกลุ่มคำ ทำให้ข้อความสละสลวยขึ้น เช่น ความงามของศิลปะล้านนาไทยและวัฒนธรรมไทยโบราณ ๓. ใช้เชื่อมประโยคกับประโยค ฉันรอเธอจนกระทั่งห้างเดอะมอลล์ปิด คำสันธาน หมายถึง คำที่ใช้เชื่อมคำกับคำ เชื่อมกลุ่มคำกับกลุ่มคำ หรือเชื่อมประโยคกับประโยค ให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน **ประโยคที่ใช้สันธานเชื่อม จะแยกออกได้ เป็นสองประโยคที่มีความสมบูรณ์มากกว่าหนึ่งประโยคได้

30 ชนิดของคำสันธาน ๔. เชื่อมใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่คำว่า เพราะ เพราะว่า ด้วย เหตุว่า ดังนี้ เพราะฉะนั้น ฉะนั้น…จึง เพราะ…..จึง เหตุฉะนี้ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น โบสอบได้ที่หนึ่งเพราะทบทวนตำราทุกวัน                     เพราะเธอชอบว่ายน้ำจึงมีรูปร่างดี                     พวกเขาทะเลาะกันเพราะว่าขาดความสามัคคี ๑. เชื่อมใจความคล้อยตามกัน ได้แก่ คำว่า กับ และ ทั้ง…และ ทั้ง…ก็ ครั้น… จึง พอ…ก็ เช่น ครั้นได้เวลาเธอจึงออกไปแสดงบนเวที              ลิฟและออยเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถ              พอพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าฝูงนกก็บินกลับรัง ๒. เชื่อมใจความขัดแย้งกัน ได้แก่คำว่า แต่ แต่ว่า ส่วน ถึง..ก็ กว่า..ก็ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ ลูกตาลเป็นหมอส่วนฝนเป็นวิศวกร ถึงเขาจะประหยัดเขาก็ยากจน โอมเป็นคนดีแต่อ๋อมไม่รัก ๓. เชื่อมใจความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่คำว่า หรือ มิฉะนั้น ไม่ เช่นนั้น ไม่…ก็ หรือไม่ก็ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น หนูจะรับประทานข้าวหรือขนมปัง                      ไม่เธอก็ฉันต้องเป็นคนจ่ายเงิน                      เราต้องเลิกทะเลาะกันมิฉะนั้นงานจะไม่สำเร็จ

31 ข้อสังเกตคำสันธาน ๑. คำสันธานบางคำใช้เข้าคู่กัน เช่น เพราะฉะนั้น…จึง กว่า….ก็ ฯลฯ ๒. คำสันธานอาจอยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ ในประโยคได้ เช่น อยู่ระหว่างคำอยู่หน้าประโยค อยู่ระหว่างประโยค หรืออยู่คร่อมประโยค ๓. ประโยคที่มีคำสันธานนั้นจะแยกออกเป็นประโยคย่อยได้ตั้งแต่ ๒ ประโยค ๔. คำว่า “ให้” “ว่า” เมื่อนำมาเชื่อมระหว่างประโยคก็จัดเป็นคำสันธานด้วย เช่น                เขาทำท่าตลกให้เด็กหยุดร้องไห้                หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีการกวาดล้างมิจฉาชีพครั้งใหญ่

32 คำอุทานและหน้าที่ของคำอุทาน
          คำอุทาน คือ คำที่เปล่งเสียงออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้พูด อาจเปล่งเสียงออกมาในเวลาดีใจ เสียใจ ตกใจ  หรือประหลาดใจ โดยมากคำอุทานจะไม่มีความหมายตรงตามถ้อยคำ แต่จะมีความหมายทางเน้นความรู้สึก   และอารมณ์ของผู้พูดเป็นสำคัญ           ลักษณะคำอุทาน จะแบ่งตามลักษณะของเสียงที่เปล่งออกมาแบ่งได้เป็น ๓ ลักษณะดังนี้           ๑. คำอุทานที่เปล่งเสียงออกมาเป็นคำ เช่น แหม! ว้าย! โอ๊ย!ฯลฯ           ๒. คำอุทานที่เปล่งเสียงออกมาเป็นวลี เช่น ตายละวา! หนอยแน่ะ! คุณพระช่วย!           ๓. คำอุทานที่เปล่งเสียงออกมาเป็นประโยค เช่น ไฟไหม้เจ้าข้า! อุ๊ยใจหายหมด!

33 คำอุทาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิดคือ
คือคำอุทานที่ใช้เป็นคำสร้อย หรือคำเสริมบทต่าง ๆ เพื่อให้มีคำครบถ้วนตามความต้องการ  ให้มีความกระชับหรือสละสลวยขึ้นคำอุทานชนิดนี้ไม่ต้องมีเครื่องหมายกำกับ คำอุทานเสริมบท คำอุทานบอกอาการ เวลาเขียนนิยมใส่เครื่องหมาย อัศเจรีย์ (!) กำกับไว้ข้างหลัง โดยจะเป็นคำอุทานที่เปล่งเสียงตามความรู้สึก คลิกที่ปุ่ม คำอุทานเสริมบท หรือ คำอุทานบอกอาการ เพื่อไปสู่หน้าเนื้อหา

34 คำอุทานเสริมบท หรือสร้อยบท
เป็นคำอุทานที่ผู้พูดกล่าวเพิ่มเติมถ้อยคำเสริมขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจให้มีความหมายแต่อย่างใด คำอุทานเสริมบทนิยมนำมาเติมข้างหน้า ต่อท้าย หรือแทรกลงกลางคำที่พูดเพื่อเน้นความหมายของคำที่จะพูดให้ชัดเจนขึ้น มีลักษณะ ๓ ประการ คือ เสริมบทที่เป็นคำสร้อย เสริมบทที่เป็นคำแทรก และเสริมบทเพื่อเลียนเสียงคำเดิม ตัวอย่างเช่น       ฉันไม่เคยให้สัญญิงสัญญากับใคร            ใกล้จะสอบแล้วหนังสือหนังหายังไม่ได้อ่านเลย ข้อสังเกต ๑. ถ้าคำที่นำมาเข้าคู่มีเนื้อความที่มีความหมายไปในทางเดียวกันไม่นับว่าเป็นคำอุทานเสริมบท แต่จะเป็นคำซ้อน เช่น ไม่ดูไม่แล ร้องรำทำเพลง ดีดสีตีเป่า ๒. คำสร้อยในบทร้อยกรองก็ถือเป็นคำอุทานเสริมบทชนิดหนึ่ง

35 ๑.เสริมบทที่เป็นคำสร้อย จะใช้ในบทประพันธ์ของโคลงและร่าย
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่ สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ ฯ (ลิลิตพระลอ) สารสยามภาคพร้อง กลกานท นี้ฤา คือคู่มาลาสวรรค ช่อช้อย เบญญาพิศาลแสดง เดอมกรยดิ พระฤๅ คือคู่ไหมแส้งร้อย กึ่งกลาง ฯ (ลิลิตยวนพ่าย)

36 เธอเห็นฉันเป็นหัวหลักหัวตอหรืออย่างไร
๒.เสริมบทที่เป็นคำแทรก คำอุทานจะแทรกระหว่างคำหรือข้อความ หรือประกอบท้ายคำ มักใช้ในคำประพันธ์ ได้แก่ นุ ชิ สิ นิ เช่น สนุกนิเราสิ้นเศร้า เวียนมาสิเวียนไป อีกชนิดหนึ่งใช้ประกอบท้ายคำให้ข้อความสละสลวย เช่น เอย เอ่ย เอ๋ย เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว เจ้าน้องรักของพี่เอ๋ย ๓.เสริมบทเพื่อเลียนเสียงคำเดิม คำอุทานประเภทนี้บางคำเสริมคำที่ไม่มีความหมาย เพื่อยืดเสียงให้ยาวออกไป บางคำก็เพื่อเน้นคำให้กระชับหนักแน่น เช่น เธอเห็นฉันเป็นหัวหลักหัวตอหรืออย่างไร หมิวมัวแต่ดูละคงละครอยู่ได้ทั้งวัน คลิกปุ่มลูกศรเพื่อกลับสู่หน้าชนิดของคำอุทาน

37 คำอุทานบอกอาการ ตัวอย่างเช่น   ๑. ร้องเรียก หรือบอกให้รู้ตัว ใช้คำว่า เฮ้ย! แน่ะ! นี่แน่ะ! โว้ย! เฮ้! ฯลฯ   ๒. โกรธเคือง ใช้คำว่า ชะ! แหม! ชิชะ! ดูดู๋! ฯลฯ   ๓. ตกใจ ประหลาดใจ ใช้คำว่า วุ้ย! ว้าย! ตายแล้ว! ตายจริง! ฯลฯ   ๔. สงสารหรือปลอบโยน ใช้คำว่า โถ! โธ่! พุทโธ่! อนิจจา! โอ๋! ฯลฯ   ๕. เข้าใจหรือรับรู้ ใช้คำว่า อ้อ! หื้อ! หา! ฮะ! ฯลฯ   ๖. เจ็บปวด ใช้คำว่า อุ๊ย! โอย! โอ๊ย! ฯลฯ   ๗. สงสัย หรือไต่ถาม ใช้คำว่า เอ๊ะ! หือ! หา! ฮะ! ฯลฯ   ๘. โล่งใจ ใช้คำว่า เฮ้อ! เฮอ! ฯลฯ   ๙. ขุ่นเคือง ใช้คำว่า ฮึ่ม! ดีละ! บ๊ะ! วะ! ฯลฯ   ๑๐.ทักท้วง ใช้คำว่า ไฮ้! ฮ้า! ฯลฯ เป็นคำที่เปล่งเสียงออกมาเพื่อแสดงความรู้สึกของผู้พูด เช่น อาการร้องเรียก อาการโกรธแค้น ประหลาดใจ ตกใจ สงสาร ปลอบโยน เข้าใจ รับรู้ สงสัย ถาม ห้าม ทักท้วง และโล่งใจ คลิกปุ่มbackเพื่อกลับสู่หน้าสารบัญ / คลิกปุ่มลูกศรเพื่อกลับสู่หน้าชนิดของคำอุทาน

38 แบบทดสอบ

39 ๑.ข้อใดมีคำวิสามานยนาม
ก. มะม่วงน้ำดอกไม้ ข. นางสาวศศิธร คลิกเลือกคำตอบที่ต้องการ ค. โคพันธุ์เนื้อ ง. การไฟฟ้า ข้อต่อไป

40 ๒.ข้อใดเป็นนามบอกลักษณะ
ก.โขลงช้างกำลังเล่นน้ำ ข.ฝูงลิงอยู่บนต้นไม้ ค.คณะลิเกกำลังแสดงอยู่บนเวที ง.วันนี้มีรุ้งกินน้ำ ๑ ตัว ข้อต่อไป

41 ๓.คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดเป็นอกรรมกริยา
ก.พ่อเปิดประตูรถ ข. แมวกินปลาย่าง ค.ตั้มเล่นเทนนิสตอนเย็น ง. ฝนตกหนักตอนเย็น ข้อต่อไป

42 ๔. “บอสกับบอยเป็นเพื่อนของฉัน พวกเขาไปกินข้าวกับคุณยาย”
๔. “บอสกับบอยเป็นเพื่อนของฉัน พวกเขาไปกินข้าวกับคุณยาย” คำที่ขีดเส้นใต้เป็นคำชนิดใดตามลำดับ ก. สันธาน สันธาน ข. บุพบท บุพบท ค. สันธาน บุพบท ง. บุพบท สันธาน ข้อต่อไป

43 “คุณพระช่วย ! รถราในกรุงเทพฯ
ทำไมถึงติดอย่างนี้” ๕. ประโยคข้างต้นมีคำอุทานกี่คำ ก. ๑ คำ ข. ๒ คำ ค. ๓ คำ ง. ๔ คำ ข้อต่อไป

44 “.....เธอจะทำกับข้าวเสร็จ ฉัน......คงจะเป็นลมแล้ว”
๖. จงเติมคำสันธานที่เหมาะสม ก. กว่า.....ก็ ข. ถึง.....ก็ ค. แม้.....ก็ ง. เพราะ.....จึง ข้อต่อไป

45 ๗. “ว่านขี่จักรยานผ่านสุนัข ๓ ตัว” ประโยคดังกล่าวไม่มีคำนามชนิดใด
ก. สามานยนาม ข. วิสามานยนาม ค. ลักษณนาม ง. สมุหนาม ข้อต่อไป

46 ๘.คำว่า “เป็น” ในข้อใด ไม่ใช่กริยาอาศัยส่วนเติมเต็ม
ก. ปูตัวนั้นยังเป็นๆอยู่เลย ข. ตูนวงบอดี้สแลมเป็นนักร้องชื่อดัง ค. ป้อเป็นเพื่อนของป่าน ง. นายอู๋เป็นช่างไม้มีฝีมือ ข้อต่อไป

47 จงเติมลักษณนามที่ถูกต้องลงในช่องว่าง
๙. “แม่ให้แพรไปซื้อไม้ขีด ๓ ,เทียนไข ๒ ,ด้าย ๔ และหนังสือพิมพ์ ๑ ” จงเติมลักษณนามที่ถูกต้องลงในช่องว่าง ก. กลัก ,เล่ม ,ไจ ,ฉบับ ข. กล่อง ,เล่ม ,ม้วน ,แผ่น ค. กลัก ,ด้าม ,ไจ ,เล่ม ง. กล่อง ,ต้น ,ม้วน ,ฉบับ ข้อต่อไป

48 ๑๐. คำที่ขีดเส้นใต้เป็นคำชนิดใด “ ใครจะไปห้องสมุดกับฉันบ้าง ”
ก. ปฤจฉาสรรพนาม ข. อนิยมสรรพนาม ค. อนิยมวิเศษณ์ ง. ปฤจฉาวิเศษณ์ ข้อต่อไป

49 ๑๑.“แบงค์จะไปเที่ยวดอยตุงที่ภาคเหนือพรุ่งนี้เหรอ”
คำว่า เหนือ เป็นคำชนิดใด ก. บุพบท ข. วิเศษณ์ ค. สันธาน ง. คำนาม ข้อต่อไป

50 ๑๒. ข้อใดใช้คำสันธานแล้ว ทำให้ใจความขัดแย้งกัน
ก. ถ้าเขาตั้งใจอ่านหนังสือก็ต้องสอบได้ ข.กินไอศกรีมให้หมดมิฉะนั้นก็เอาไปให้น้อง ค. ถึงเขาจะว่า ฉันก็ไม่สนใจ ข้อต่อไป ง. พอเธอมาถึง เขาก็ลุกออกไป

51 ๑๓.คำที่ขีดเส้นใต้ข้อใดไม่เป็นคำบุพบท
ก. คนไข้ที่ผ่าตัดอาการดีขึ้นแล้ว ข. หนังสือของเธออยู่บนโต๊ะ ค. รถสีแดงจอดในโรงรถ ง.วันปีใหม่เมย์ไปเที่ยวกับครอบครัว ข้อต่อไป

52 ๑๔.“มิ้นใส่เสื้อยืดสีขาว ไปกินก๋วยเตี๋ยวร้อนๆ” คำใดไม่ใช่คำวิเศษณ์
ก. ขาว ข. ยืด ค. ร้อน ง. ก๋วยเตี๋ยว ข้อต่อไป

53 ๑๕. จากบทสนทนา คำที่ขีดเส้นใต้ เป็นคำชนิดใด
๑๕. จากบทสนทนา คำที่ขีดเส้นใต้ เป็นคำชนิดใด โบว์ ท่านอยู่ในห้องไหม ผมขอเข้าไปพบหน่อย ก. คำนาม ข. สรรพนามบุรุษที่ ๒ ท่านไปประชุมข้างนอกครับ ค. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ง. คำวิเศษณ์ ต่อไป

54 ข้อที่คุณเลือกเป็นคำตอบที่ผิด
ลองใหม่อีกครั้งค่ะ คลิกbackเพื่อลองตอบใหม่อีครั้ง

55 ข้อ ๑. ตอบ ข. เก่งมากค่ะ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ข้อ ๑. ตอบ ข. คลิกbackเพื่อกลับสู่คำถามเดิม วิสามานยนาม คือ คำนามที่เฉพาะเจาะจง นางสาวศศิธร เป็นชื่อเฉพาะ ส่วนข้ออื่นๆเป็นคำนามทั่วไปหรือสามานยนาม

56 ข้อ ๒. ตอบ ง. เก่งมากค่ะ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ข้อ ๒. ตอบ ง. รุ้งกินน้ำ ๑ ตัว คำว่า ตัว เป็นลักษณนามของรุ้งกินน้ำ ส่วนโขลงช้าง ฝูงลิง และคณะลิเก เป็นสมุหนาม

57 ก็ยังให้ความหมายชัดเจน
เก่งมากค่ะ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ข้อ ๓. ตอบ ง. คำว่า ตก ในประโยค เป็นกริยาที่ไม่ต้องการกรรมมารับ สังเกตได้จาก เมื่อตัดส่วนขยายของประโยคออก ก็ยังให้ความหมายชัดเจน

58 กับ คำหลัง เป็นบุพบท เพราะทำหน้าที่เชื่อมคำ
เก่งมากค่ะ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ข้อ ๔. ตอบ ค. กับ คำแรก เป็นสันธานเพราะเชื่อมประโยค ๒ประโยค คือ บอสเป็นเพื่อนของฉัน และ บอยเป็นเพื่อนของฉัน กับ คำหลัง เป็นบุพบท เพราะทำหน้าที่เชื่อมคำ

59 ข้อ ๕. ตอบ ข. เก่งมากค่ะ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ข้อ ๕. ตอบ ข. มี ๒ คำ คือ คุณพระช่วย เป็นคำอุทานบอกอาการ รถรา เป็นคำอุทานเสริมบท

60 ข้อ ๖. ตอบ ก. เก่งมากค่ะ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ข้อ ๖. ตอบ ก. กว่าเธอจะทำกับข้าวเสร็จ ฉันก็คงจะเป็นลมแล้ว เป็นประโยคความรวมประเภทคล้อยตามกัน

61 ข้อ ๗. ตอบ ง. เก่งมากค่ะ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ข้อ ๗. ตอบ ง. คำว่า ว่าน (ชื่อคน) เป็น วิสามานยนาม จักรยาน ,สุนัข เป็น สามานยนาม ตัว เป็น ลักษณนาม

62 ข้อ ๘. ตอบ ก. เก่งมากค่ะ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ข้อ ๘. ตอบ ก. ปูตัวนั้นยังเป็นๆอยู่เลย คำว่า เป็น เป็นกริยาของประโยคหมายถึง มีชีวิตอยู่ ส่วนข้ออื่นๆเป็นกริยาอาศัยส่วนเต็ม มีความหมายไม่สมบูรณ์ในตัวเอง

63 ข้อ ๙. ตอบ ก. เก่งมากค่ะ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ข้อ ๙. ตอบ ก. ลักษณนามที่ถูกต้องของ ไม้ขีด คือ กลัก เทียน คือ เล่ม ด้าย คือ ไจ หนังสือพิมพ์ คือ ฉบับ

64 เป็นปฤจฉาสรรพนาม เพราะใช้แทนนามที่มีเนื้อความเป็นคำถาม
เก่งมากค่ะ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ข้อ ๑๐. ตอบ ก. เป็นปฤจฉาสรรพนาม เพราะใช้แทนนามที่มีเนื้อความเป็นคำถาม

65 เก่งมากค่ะ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ข้อ ๑๑. ตอบ ข. เป็นคำวิเศษณ์

66 “ถึงเขาจะว่า ฉันก็ไม่สนใจ” มีเนื้อความขัดแย้งกัน
เก่งมากค่ะ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ข้อ ๑๒. ตอบ ค. “ถึงเขาจะว่า ฉันก็ไม่สนใจ” มีเนื้อความขัดแย้งกัน

67 ข้อ ๑๓. ตอบ ก. เก่งมากค่ะ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ข้อ ๑๓. ตอบ ก. คำว่า ที่ เป็นประพันธสรรพนาม ทำหน้าที่แทนนามข้างหน้า (คนไข้) ส่วนข้ออื่นเป็นบุพบทที่เชื่อมคำ

68 คำว่า ยืด ร้อนและสีขาว เป็นวิเศษณ์ขยายคำนาม
เก่งมากค่ะ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ข้อ ๑๔. ตอบ ง. ก๋วยเตี๋ยว เป็นคำนาม คำว่า ยืด ร้อนและสีขาว เป็นวิเศษณ์ขยายคำนาม

69 ข้อ ๑๕. ตอบ ค. เก่งมากค่ะ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ข้อ ๑๕. ตอบ ค. ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เพราะไม่ได้อยู่ในวงสนทนา เป็นบุคคลที่ถูกกล่าวถึง

70 จงบอกชนิดของคำที่ขีดเส้นใต้ในประโยคต่อไปนี้
ใครจะไปกับฉันบ้าง เด็กดีย่อมได้รับการชมเชย วิเศษณ์ (ขยายกริยา) วิเศษณ์ แม่ยก บ้างเต้น บ้างรำอยู่หน้าเวที น้องกำลังล้างจานตามคำสั่งของแม่ บุพบท สรรพนาม ตำรวจตามผู้ร้ายมา อะไรก็ไม่สู้สันโดษ กริยา อนิยมสรรพนาม คลิก 1 ครั้ง เพื่อแสดงคำถามและคำตอบในแต่ละข้อ คุณตาบ่นถึงหลานทุกวัน หมู่ผึ้งบินหาน้ำหวาน บุพบท สมุหนาม น้องสาวหน้าตาเหมือนคุณพ่อมาก เขาดื่มน้ำจนหยดสุดท้าย วิกตรรถกริยา บุพบท

71 เอกสารอ้างอิง GSC.ภาษาไทยฉบับที่ ๑ (วิทย์-ศิลป์).
บรรเทา กิตติศักดิ์. (๒๕๓๓). หนังสือเรียนภาษาไทย ท๐๗๑ หลักภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยพัฒนาพานิช. คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย. การใช้ภาษาไทย ๑. คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

72 ขอให้โชคดีในการสอบนะคะ
หวังว่าบทเรียนนี้จะช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ศึกษา ขอให้โชคดีในการสอบนะคะ ด้วยความปรารถนาดี


ดาวน์โหลด ppt โดย นางเตือนใจ เอื้ออารีมิตร ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสิริรัตนาธร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google