งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ลักษณะ ๒ หมวด ๒ แดนแห่งกรรมสิทธิ์ และการใช้กรรมสิทธิ์ แห่ง ป.พ.พ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ลักษณะ ๒ หมวด ๒ แดนแห่งกรรมสิทธิ์ และการใช้กรรมสิทธิ์ แห่ง ป.พ.พ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ลักษณะ ๒ หมวด ๒ แดนแห่งกรรมสิทธิ์ และการใช้กรรมสิทธิ์ แห่ง ป.พ.พ.
ความรู้เกี่ยวกับสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพย์สินตาม บรรพ ๔ ลักษณะ ๒ หมวด ๒ แดนแห่งกรรมสิทธิ์ และการใช้กรรมสิทธิ์ แห่ง ป.พ.พ. โดย งานนิติการ องค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาส

2 สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คืออะไร
พิจารณาจากความในมาตรา ๑๓๐๔ – ๑๓๐๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดิน     ซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น (๑) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับ  มาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ตามกฎหมายที่ดิน (๒) ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่งทางน้ำ   ทางหลวง ทะเลสาบ (๓) ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ   เป็นต้นว่า   ป้อม และโรงทหาร       สำนักราชการบ้านเมือง เรือรบ อาวุธยุทธภัณฑ์ ข้อสังเกต ๑.ที่ราชพัสดุ   ไม่ใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นเพียงทรัพย์สินของแผ่นดิน  ผู้บุกรุกมีความผิดได้

3 ข้อสังเกต ๒.ที่ดินรกร้างว่างเปล่า  ตามมาตรา  ๑๓๐๔(๑)  หมายถึง  ที่ดินที่เอกชนไม่เคยมีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายมาก่อน  แต่เมื่อปรากฏว่าเดิมทางราชการเคยออกหนังสือรับรองมาก่อน  จึงไม่ใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ๓.การอุทิศให้เป็นที่สาธารณะ   ย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติทันทีโดยไม่ต้องมีการจดทะเบียนและ ไม่ต้องมีการแสดงเจตนารับ   แม้หนังสืออุทิศระบุว่าจะไปจดทะเบียนก็ตาม ๔.ศาลบังคับให้ผู้อุทิศไปจดทะเบียนโอนไม่ได้เช่นกัน ๕.แม้ส่วนราชการยังไม่ใช้ประโยชน์หรือมิได้ทำตามเงื่อนไขของผู้อุทิศก็ยังคงมีสภาพเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน

4 ๖.การอุทิศอาจทำได้โดยปริยาย  เช่น  จัดสรรที่ดินขายแก่คนทั่วไปแต่กันพื้นที่ส่วนหนึ่งให้เป็นซอยสาธารณะก็ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ๗.การที่ประชาชนใช้ที่ดินโดยวิสาสะ  ไม่เป็นการอุทิศให้เป็นทางสาธารณะ ๘.ยกที่ดินให้เทศบาลโดยเฉพาะไม่ใช่การยกให้เพื่อสาธารณประโยชน์  ต้องจดทะเบียนด้วย   เช่น ยกให้ทำตลาดสดและผลไม้ มิใช่ยกให้เพื่อสาธารณะ

5 ถือว่าเป็นการครอบครองแทนผู้ให้เช่า
๙.ที่ดินของราษฎร ถูกน้ำกัดเซาะกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่ง  แต่เจ้าของไม่ได้ทอดทิ้ง ให้เป็นที่ประชาชนใช้ร่วมกัน  เจ้าของยังคงใช้ประโยชน์อยู่   ยังไม่เป็นสาธารณ สมบัติของแผ่นดิน  เช่น ยังให้เช่าที่ชายตลิ่ง ก็เป็นการหวงกันครอบครองแล้วและ ถือว่าเป็นการครอบครองแทนผู้ให้เช่า ๑๐.ที่งอกริมตลิ่ง ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๔ ประการ (๑)เป็นที่งอกซึ่งเกิดโดยธรรมชาติ ไม่ใช่ที่ดินที่งอกโดยมนุษย์ใช้ดินถมให้เกิดขึ้น (๒)ต้องงอกจากริ่มตลิ่งออกไป ไม่ใช่งอกจากที่อื่นเข้ามาหาริมตลิ่งหรือหนองน้ำสาธารณะตื้นเขิน (๓)งอกออกไปจากที่ดินเดิมโดยไม่มีอะไรคั่น หากมีทางหลวงหรือมีถนนมาคั่น เจ้าของที่ดินย่อมไม่ใช่ เจ้าของที่งอกนั้น (๔)เจ้าของที่ดินซึ่งเกิดที่งอก ย่อมได้มาซึ่งที่งอกริ่มตลิ่งตามมาตรา ๑๓๐๘ ตามหลักส่วนควบ 

6 ๑๑.ที่ดินหนองน้ำ จะห้ามผู้อื่นใช้น้ำหรือเข้าจับปลาไม่ได้
๑๒.ผู้ซื้อที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้สุจริตก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง ๑๓. ผู้ใช้ทางในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาเป็นเวลากว่า  ๑๐  ปีก็ไม่ได้ ภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่อาจอ้างการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ได้ (เพราะมาตรา ๑๓๐๖ ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นสู้แผ่นดิน)

7 ๑๔.ผู้ซื้อที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาโดยสุจริต ก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
๑๕.ทรัพย์ใดเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็จะเป็นตลอดไป  แม้ต่อมาพลเมืองจะเลิกใช้ ประโยชน์ร่วมกันแล้วก็ตาม ๑๖.สาธารณสมบัติโอนไม่ได้  ตามมาตรา  ๑๓๐๕  ถ้าการแสดงเจตนายกให้เป็นโมฆะ  ศาลย่อมเพิกถอนนิติกรรมการให้แล้วให้โอนกลับคืนมาเป็นของผู้ให้ได้

8 มาตรา ๑๓๓๙ เจ้าของที่ดินจำต้องรับน้ำซึ่งไหลตามธรรมดาจากที่ดินสูงมาในที่ดิน
ของตน น้ำไหลตามธรรมดามายังที่ดินต่ำ และจำเป็นแก่ที่ดินนั้นไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดิน ซึ่งอยู่สูงกว่าจะกันเอาไว้ได้เพียงที่จำเป็นแก่ที่ดินของตน มาตรา ๑๓๔๑ ท่านมิให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ทำหลังคาหรือการปลูกสร้าง อย่างอื่น ซึ่งทำให้น้ำฝนตกลงยังทรัพย์สินซึ่งอยู่ติดต่อกัน

9 มาตรา ๑๓๔๒ บ่อ สระ หลุมรับน้ำโสโครก หรือหลุมรับปุ๋ย หรือขยะมูลฝอยนั้น
ท่านว่าจะขุดในระยะสองเมตรจากแนวเขตที่ดินไม่ได้ คูหรือการขุดร่องเพื่อวางท่อน้ำใต้ดินหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันนั้น ท่านว่าจะทำใกล้แนวเขตที่ดินกว่าครึ่งหนึ่งแห่งส่วนลึกของคูหรือร่องนั้นไม่ได้ แต่ถ้าทำห่างแนวเขตหนึ่งเมตร หรือกว่านั้น ท่านว่าทำได้ ถ้ากระทำการดั่งกล่าวไว้ในสองวรรคก่อนใกล้แนวเขตไซร้ ท่านว่าต้องใช้ความ ระมัดระวังตามควรเพื่อป้องกันมิให้ดินหรือทรายพังลง หรือมิให้น้ำหรือสิ่งโสโครกซึมเข้าไป

10 มาตรา ๑๓๔๘ ดอกผลแห่งต้นไม้ที่หล่นตามธรรมดาลงในที่ดินติดต่อแปลงใด
มาตรา ๑๓๔๗ เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อและเอาไว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ยื่นล้ำเข้ามา เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อให้ตัดภายในเวลาอันสมควรแล้ว แต่ผู้นั้นไม่ตัด ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้ มาตรา ๑๓๔๘ ดอกผลแห่งต้นไม้ที่หล่นตามธรรมดาลงในที่ดินติดต่อแปลงใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น

11 มาตรา ๑๓๕๓ บุคคลอาจพาปศุสัตว์ของตนผ่านหรือเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น
ซึ่งมิได้กั้นเพื่อไปเลี้ยง และอาจเข้าไปเอาน้ำในบ่อหรือสระในที่เช่นว่านั้นมาใช้ได้ เว้นแต่ที่ดิน เป็นที่เพาะปลูก หรือเตรียมเพื่อเพาะปลูก หว่านหรือมีธัญชาติขึ้นอยู่แล้ว แต่ท่านว่าเจ้าของที่ดิน ย่อมห้ามได้เสมอ

12


ดาวน์โหลด ppt ลักษณะ ๒ หมวด ๒ แดนแห่งกรรมสิทธิ์ และการใช้กรรมสิทธิ์ แห่ง ป.พ.พ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google