ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โรงเรือนโคเนื้อ โคนม และกระบือ
2
โคเนื้อ โคนม และกระบือ จัดเป็นสัตว์ประเภทสัตว์ใหญ่ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักปล่อยให้โคลงไปแทะเล็มหญ้าในแปลงหญ้า หรือทุ่งหญ้าสาธารณะ ผู้เลี้ยงจะสร้างโรงเรือนไว้สำหรับให้สัตว์พักอาศัยในช่วงเวลากลางคืน ผู้เลี้ยงที่เป็นชาวบ้านมักสร้างโรงเรือนไว้ตามใต้ถุนบ้านเพื่อ ความสะดวกในการดูแลสัตว์ โรงเรือนสำหรับโคนมนั้นสำคัญมากเพราะต้องใช้เป็นที่สำหรับ ให้แม่โคยืนโรงรีดนม ส่วนใหญ่จะทำโรงเรือนโดยแบ่งเป็นช่อง ๆ สำหรับให้อาหารและรีดนม
3
3.1 โรงเรือนโคเนื้อและกระบือ ลักษณะของพื้นที่ต้องเป็นที่ดอน น้ำไม่ท่วม ถ้าเป็น พื้นคอนกรีต ต้องมีความลาดเทประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนของคอกพักโค – กระบือ จะประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่มีหลังคาและส่วนที่เป็นลานโล่ง ถ้าพื้นคอกเป็นพื้นคอนกรีตทั้งหมด พื้นที่ภายใต้หลังคาเท่ากับ ของพื้นที่คอกทั้งหมดแต่ถ้ากรณีที่พื้นคอกภายใต้หลังคาเป็นพื้นคอนกรีต และพื้นลานโล่งเป็นพื้นดิน พื้นที่ลานโล่งเท่ากับ 10 เท่าของพื้นที่ภายใต้หลังคา ส่วนรางอาหารจะอยู่ด้านหน้าสุดของคอกพักและยาวตลอด ความยาวของคอกพัก มีก้นรางโค้งและลาดเท 2 เปอร์เซ็นต์ ไปทางด้านใดด้านหนึ่งของคอก มีความกว้าง 85 ถึง 90 เซนติเมตร ส่วนก้นลึก 35 เซนติเมตร อ่างน้ำจะอยู่ทางด้านท้ายสุดของคอก และมีความสูงไม่เกิน 60 เซนติเมตร มีรั้วล้อมรอบคอกพักซึ่งติดตั้งเป็นแนวขวาง 4 แนวโดยให้แนวบนสุดสูงจากพื้นดินประมาณ 140 ถึง 150 เซนติเมตร อาจใช้ไม้เนื้อแข็งหรือท่อเหล็กก็ได้ (ภาพที่ 5.13) ในการเลี้ยงกระบือ อาจมีการสร้างปลักในพื้นที่คอกพักในส่วนที่เป็นลานโล่งท้ายคอกหรือบริเวณที่ต่ำสุดของคอกเพื่อสะดวกในการระบายทิ้ง (ธาตรี จีราพันธุ์, 2548)
6
3.2 โรงเรือนโครีดนมยืนซอง การเลี้ยงโคนมในประเทศไทยส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงแบบผูกยืนโรงรีดนม โดยผู้เลี้ยงจัดหาหญ้าสดและอาหารมาให้โคกิน ซึ่งธาตรี จีราพันธุ์ (2548) ได้บอกส่วนประกอบต่าง ๆ ของโรงเรือนโครีดนมยืนซองไว้ดังนี้
7
3.2.1 ซอง (stall) พื้นซองอาจเป็นพื้นคอนกรีตผิวหยาบปานกลางหรือรองด้วยวัสดุ เช่น แผ่นยาง แกลบ ฟาง หญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อป้องกันการลื่นล้ม พื้นมีความลาดเท 3 เปอร์เซ็นต์ มีความกว้างประมาณ 110 – 120 เซนติเมตร ความยาว 155 – 160 เซนติเมตร แต่ละซองจะถูกกั้นด้วยท่อเหล็กหรือไม้ ซึ่งยาว 105 เซนติเมตร สูง 100 เซนติเมตร (ภาพที่ 5.14)
8
3.2.2 รางอาหาร รางหญ้า (manger) อยู่ด้านหน้าซอง มีความยาวตลอดโรงเรือนและลาดเทไปทางด้านใดด้านหนึ่ง 2 เปอร์เซ็นต์ มีขนาดกว้าง 70 – 80 เซนติเมตร ลึก 30 เซนติเมตร ก้นรางโค้งเป็นกระทะ รางระบายมูล (gutter) อยู่ถัดจากซองมาด้านหลัง เพื่อรองรับน้ำปัสสาวะ น้ำล้างตัวแม่โคนมและน้ำล้างพื้นซอง โดยมีความกว้าง 40 – 50 เซนติเมตร ลึก 15 เซนติเมตร มีความลาดเท 2 เปอร์เซ็นต์ ไปทางเดียวกันกับรางอาหารมีลักษณะเป็นรางเปิด
9
3.2.4 ทางเดินหลัง (service passage) ใช้เป็นเส้นทางสำหรับลำเลียงมูลและการจัดการอื่น ๆ ออกจากโรงเรือน ความกว้างสะดวกต่อการใช้รถเข็นมูล รถเข็นอาหาร โดยทั่วไป ความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร ทางเดินหน้าหรือทางเดินให้อาหาร (feed passage) อยู่ด้านหน้ารางอาหาร มีความกว้าง 1.50 เมตร สามารถใช้รถเข็นตักอาหารใส่รางอาหารได้สะดวก นิยมยกระดับพื้นทางเดินให้เสมอกับขอบบนของรางอาหารเพื่อสะดวกในการกวาดอาหารลงราง
10
3.2.6 อุปกรณ์ให้น้ำ ใช้เป็นอ่างน้ำหรือถ้วยให้น้ำอัตโนมัติ ติดไว้กับรั้วกั้นหน้าซอง โดยให้โค 2 ตัวสามารถใช้ร่วมกันได้ (ภาพที่ 5.15)
11
แผนผังพื้นโรงเลี้ยงแบบยืนโรง จุโค 18 ตัว โคอยู่ 2 แถวหันหน้าเข้าหากัน มีทางเดินให้อาหารอยู่ระหว่างแถว ติดต่อห้องอาหารและนม
12
ภาพที่ 5.14 โรงเรือนโครีดนมยืนซอง แบบ 2 แถว หันเข้าหากัน
13
ภาพที่ 5.15 ถ้วยให้น้ำโครีดนมอัตโนมัติ
14
ภาพที่ 5.16 ลักษณะซองสำหรับให้โคนมยืนเพื่อรีดนม
15
3.3 โรงเรือนโคนมแบบปล่อยอิสระในคอก (free stall barn) การเลี้ยงโคนมแบบปล่อยให้อยู่ในคอกอย่างอิสระได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะสามารถ เลี้ยงโคนมได้จำนวนมาก โดยสิ้นเปลืองค่าโรงเรือน อุปกรณ์ และแรงงานน้อยกว่าแบบการเลี้ยงผูกยืนโรง ส่วนการรีดนมจะจัดที่รีดหรือโรงรีดนมไว้ต่างหาก โรงเรือนโคนมแบบปล่อยอิสระในคอก (ธาตรี จีราพันธุ์, 2548) ดังภาพที่ 5.17 ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
16
3.3.1 ซองพักนอนเฉพาะตัว ภายใต้โรงเรือนจะแบ่งกั้นเป็นช่อง ๆ หรือซอง ให้โคนมนอนพักเป็นตัว ๆ ไป ซึ่งจะจัดเป็นซองเรียงกันเป็นตับ แต่ละซองมีความกว้างประมาณ 110 เซนติเมตร พื้นซองอาจเป็นพื้นดินหรือพื้นทรายก็ได้ มีวัตถุรองนอน อาทิ ขี้กบหยาบ ฟางสับ หรือซังข้าวโพดบดหยาบ ปูทับอย่างหนาอีกชั้นหนึ่ง (ภาพที่ 5.16)
17
3.3.2 ทางเดินท้ายซอง เป็นพื้นที่ที่รองรับมูลที่โคถ่าย และเป็นพื้นที่ที่โคยืน กินอาหารด้วย มีความกว้างไม่น้อยกว่า 4 เมตร มีความลาดเท 2 เปอร์เซ็นต์ เพื่อสะดวกในการระบายและทำความสะอาด รางอาหาร เป็นรางยาวเพื่อสะดวกในการให้อาหาร โดยออกแบบเช่นเดียวกับรางอาหารของโคเนื้อ – กระบือ โดยมีความกว้างประมาณ 75 เซนติเมตร
18
3.3.4 พื้นที่ลาน ควรมีพื้นที่กว้างพอเหมาะกับจำนวนโคนม โคนมตัวหนึ่ง จะต้องการพื้นที่ในลานคอกประมาณ 9 ตารางเมตร ลานคอกใช้เป็นพื้นที่สำหรับโคเดินออกกำลัง ใช้เพื่อขนอาหารและตั้งที่ให้น้ำ ควรเป็นพื้นดินหรือทรายมีรั้วล้อมรอบ พื้นที่กักโคก่อนเข้ารีดนม (holding area) เป็นพื้นที่สำหรับกักโคก่อนเข้ารีดนมเพื่อทำความสะอาดเท้าโคและเต้านมก่อนโคเข้ารีดจะอยู่ติดกับโรงรีดนม มีขนาดไม่ใหญ่ จนเกินไป ประมาณพื้นที่ 2 ตารางเมตรต่อโคหนึ่งตัว
19
3.3.6 โรงรีดนม (milking parlor) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดทั้งในการเลี้ยงแบบปล่อยลานหรือแบบปล่อยในทุ่งหญ้า จำเป็นต้องมีโรงรีดนมแยกต่างหาก ส่วนการเลี้ยงโคนมแบบรีดนมยืนซองการรีดนมจะกระทำในโรงเรือนได้เลย โรงรีดนมมีหลายแบบขึ้นอยู่กับจำนวนโครีดนมและแบบของเครื่องรีดนม ฟาร์มขนาดเล็กมีโครีดนมจำนวนน้อย นิยมใช้เครื่องรีดแบบรีดนมลงถังเป็นรายตัว (bucket type) ฟาร์มขนาดใหญ่มีโครีดนมจำนวนมาก นิยมใช้เครื่องรีดแบบรีดนมแล้วน้ำนมจะถูกส่งไปถามท่อเพื่อเก็บไว้ในถังพักนม (pipeline milking system) นอกจากนี้แบบของโรงรีดนมอาจออกแบบเพื่อให้สะดวกในการรีดและการจัดการ เช่น โรงรีดแบบไม่ยกพื้น (floor level system) และโรงรีดนมแบบยกพื้น (elevated stall system) (ภาพที่ 5.18 และ 5.19) แบบของโรงรีดนมที่รู้จักกันแพร่หลาย ได้แก่ โรงรีดนมแบบก้างปลา (herringbone parlor) และโรงรีดนมแบบพื้นหมุนรอบ (rotary parlor) ไม่ว่าจะเป็นโรงรีดนมแบบใด การรีดนมต้องให้สามารถรีดนมโคทั้งฝูงเสร็จภายใน 2 ชั่วโมง (ดำรง กิตติชัยศรี และคนอื่นๆ, 2546)
20
ภาพที่ 5.17 แผนผังโรงเรือนโคนมแบบปล่อยอิสระในคอก
22
ภาพที่ 5.18 แสดงแบบชุดรีดน้ำนมโคแบบต่าง ๆ
24
โรงเรือนระบบปิด (evaporative cooling system)
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนมีอุณหภูมิของอากาศค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงสัตว์มักสร้างโรงเรือนเป็นโรงเรือนเปิด ทั้งนี้เพื่อต้องการให้อากาศภายในโรงเรือนมีการ หมุนเวียนและระบายอากาศเป็นการลดความร้อนภายในโรงเรือนได้ดี โรงเรือนเปิดไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้อุณหภูมิของโรงเรือนจะผันแปรไปตามสภาพของอากาศภายนอกโรงเรือน ช่วงหน้าร้อนอากาศ จะร้อนมาก สัตว์เลี้ยงบางชนิด เช่น ไก่เนื้อ อาจทนอากาศร้อนไม่ไหว เพื่อหลีกเลี่ยงจากอากาศร้อนและต้องการควบคุมอุณหภูมิของโรงเรือนจึงได้มีการคิดค้นโรงเรือนระบบปิดขึ้นโดยใช้หลักการระบายความร้อนด้วยน้ำและใช้พัดลมเป็นตัวถ่ายเทอากาศ โดยมีแผ่นรังผึ้ง (cooling pad) ที่ปล่อยน้ำไหลผ่านจนเปียกชุ่ม เมื่อเดินพัดลมซึ่งอยู่ในแนวตรงกันข้ามกับแผ่นรังผึ้งอากาศภายนอกจะถูกดูดผ่านแผ่นรังผึ้งเข้าภายในโรงเรือน ภายในโรงเรือนจะเย็นสบายโดยใช้หลักการระเหยของน้ำ นอกจากนี้โรงเรือนระบบปิดยังสามารถป้องกันโรคได้อย่างดีโดยเฉพาะโรคไข้หวัดนก ซึ่งการติดตั้งและระบบการทำงานของโรงเรือนระบบปิด มีดังนี้
25
1. หลักการทำงานของโรงเรือนระบบปิดหรือระบบอีแวป
โรงเรือนระบบปิดหรือระบบอีแวปนี้มีหลักการทำงานซึ่งไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนมากนัก ถ้าหากเข้าใจระบบการทำงานแล้วผู้เลี้ยงสัตว์ก็สามารถที่จะติดตั้งระบบอีแวปได้ที่โรงเรือนของตนเอง (มานิตย์ เทวรักษ์พิทักษ์ 2536) ได้สรุปหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับระบบอีแวปไว้ดังนี้
26
1. หลักการทำงานของโรงเรือนระบบปิดหรือระบบอีแวป
1.1 ขนาดของโรงเรือน โรงเรือนมีขนาดมาตรฐานคือ กว้าง 12 เมตร และยาว 120 เมตร 1.2 หลังคา หลังคาเป็นแบบจั่วชั้นเดียว หลังคาจั่วสูงจากพื้น 4 เมตร โครงสร้าง ทั้งหมดทำด้วยเหล็กฉาก ยกเว้นแปซึ่งใช้ไม้เนื้อแข็งขนาด 2”x 4” วัสดุที่นำมาใช้คลุมหลังคา โรงเรือน ทำด้วยแผ่นสังกะสีฉาบด้วยกาลวาไนส์ (Galvanized) ภายใต้หลังคามุงด้วยฉนวนใยแก้ว (micro – fiber) กันความร้อน ใต้ฉนวนกันความร้อนบุด้วยแผ่นพลาสติกไวนิล (Vinyl) เพื่อป้องกันการแผ่รังสีความร้อนจากหลังคาไม่ให้ลงมาในโรงเรือนได้ ถัดลงมาจากแผ่นกันความร้อนยังมีแผ่นไม้อัดที่ติดตั้งใต้เพดานขวางตามความยาวของโรงเรียน เรียกว่า แผ่นชิงลม (Spoiler) คิดเป็นระยะทุก 12 เมตร เพื่อดักลมด้านบนให้พัดผ่านด้านล่างอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง
27
1. หลักการทำงานของโรงเรือนระบบปิดหรือระบบอีแวป
1.3 ผนังโรงเรือน ผนังด้านหน้าและท้ายโรงเรือนปิดทึบ ส่วนผนังด้านข้างทั้ง 2 ข้าง ก่ออิฐสูงประมาณ 60 ซม. เปิดช่องลมและปิดด้วยผ้าม่านพลาสติกขนาด 1.20 เมตร และมีตาข่าย อย่างดีล้อมรอบผนังด้านข้าง เปิดประตูหน้า – หลัง และด้านกลางของโรงเรือนด้วย 1.4 แผ่นรังผึ้ง แผ่นรังผึ้งเป็นส่วนสำคัญที่ปรับให้อุณหภูมิในโรงเรือนลดลง ซึ่งทำด้วยกระดาษสังเคราะห์พิเศษมีความทนทาน มีความหนา 2 ขนาด คือ ขนาดหนา 10 เซนติเมตร และ 15 เซนติเมตร ความสูงของแผ่นรังผึ้ง 180 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 15 เมตร และ 21.6 เมตร ต่อโรงเรือน การติดแผ่นรังผึ้งจะติดด้านเดียวหรือ 2 ด้านก็ได้ แต่การติด 2 ด้านนั้น การไหลเวียนของอากาศจะทั่วถึงและสม่ำเสมอดีกว่าติดด้านเดียวและไม่ต้องติดพัดลมเสริมภายในอีก
28
1. หลักการทำงานของโรงเรือนระบบปิดหรือระบบอีแวป
1.5 พัดลม พัดลมที่ใช้จะติดตั้งอยู่ในโรงเรือนด้านหลัง (ด้านท้าย) ตรงข้ามแผ่นรังผึ้ง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 48 นิ้ว 1.6 ระบบควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือน การควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนนั้นใช้ พัดลมและแผ่นรังผึ้ง โดยมีตัวควบคุมอุณหภูมิ (thermostats) อยู่ ถ้าโรงเรือนมีพัดลม 10 เครื่อง จะมีตัวควบคุมอุณหภูมิอยู่ 11 ตัว เพราะอีก 1 ตัวนั้นสำหรับควบคุมอุณหภูมิ การปิดเปิด น้ำของเครื่องปั๊มน้ำในการปล่อยให้น้ำไหลผ่านแผ่นรังผึ้ง โดยในสภาพที่อุณหภูมิทั่วไปพัดลมจะเปิดทำงาน 1 เครื่อง อยู่ตลอดเวลาและพัดลมที่เหลืออีกจะทำงานเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าที่เครื่องควบคุมอุณหภูมิ ดังต่อไปนี้
29
1. หลักการทำงานของโรงเรือนระบบปิดหรือระบบอีแวป
สูงกว่า 60o F พัดลมเครื่องที่ 2 จะทำงาน สูงกว่า 72o F พัดลมเครื่องที่ 3 จะทำงาน สูงกว่า 74o F พัดลมเครื่องที่ 4 จะทำงาน สูงกว่า 76o F พัดลมเครื่องที่ 5 จะทำงาน สูงกว่า 78o F พัดลมเครื่องที่ 6 จะทำงาน สูงกว่า 80o F พัดลมเครื่องที่ 7 จะทำงาน สูงกว่า 82o F พัดลมเครื่องที่ 8 จะทำงาน
30
1. หลักการทำงานของโรงเรือนระบบปิดหรือระบบอีแวป
ในกรณีที่โรงเรือนมีพัดลม 10 เครื่อง จะตั้งตัวควบคุมพัดลมที่อุณหภูมิช่วงระหว่าง 60o F – 72o F อีก 2 เครื่อง เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงไป ระบบอัตโนมัติที่ติดตั้งไว้จะทำงานเพื่อปรับสภาพอากาศและอุณหภูมิในโรงเรือนให้คงที่ตลอดเวลา และพัดลมจะเป็นตัวดูอากาศผ่านรังผึ้งซึ่งมีความเย็นเข้าไปแทนที่อากาศร้อนภายในซึ่งจะถูกดูดออกไปอีกทางหนึ่ง เมื่ออากาศเย็นเข้าไปแทนที่จะทำให้อุณหภูมิภายในลดลงได้จากปกติถึง 7o C หรือมากกว่านั้น แต่ถ้าช่วงไหนอากาศเย็นสบายอยู่แล้ว พัดลมดูดอากาศบางตัวจะหยุดทำงานไปโดยอัตโนมัติ และม่านอะลูมิเนียมที่หลังพัดลม ก็จะเปิดเพื่อป้องกันอากาศเข้าออกโรงเรือน และเมื่ออุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นม่านอะลูมิเนียมก็จะเปิดพัดลม ก็จะทำงานอีกครั้ง ในสภาวะที่อากาศภายนอกโรงเรือนเย็นอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้น้ำช่วยปรับอากาศเลยก็ได้ เพียงแค่ใช้พัดลมระบายอากาศอย่างเดียวก็พอ เนื่องจากอากาศภายในเย็นพอเพียง (ภาพที่ 5.20 และ 5.21)
31
1. หลักการทำงานของโรงเรือนระบบปิดหรือระบบอีแวป
1.7 ระบบการไหลเวียนของน้ำในแผ่นรังผึ้ง การไหลเวียนของน้ำในแผ่นรังผึ้งนี้มีความสำคัญต่ออายุการใช้งานของแผ่นรังผึ้ง น้ำต้องสะอาดและไม่ทำลายแผ่นรังผึ้ง บริเวณที่น้ำไหลไปไม่ทั่วถึงจะเริ่มอุดตัน แนะนำให้ความเร็วของน้ำไหล 6 ลิตร/นาที/พื้นที่แผ่นรังผึ้ง 1 ตารางเมตร (ความหนา 10 เซนติเมตร) และ 9 ลิตร/นาที/พื้นที่แผ่นรังผึ้ง 1 ตารางเมตร (ความหนา 15 เซนติเมตร) การทำงานของน้ำจะมาจากเครื่องปั๊มน้ำขนาด 0.75 แรงม้า 1 เครื่อง ปั๊มจากบ่อเก็บน้ำด้านล่างข้าง ๆ แผ่นรังผึ้งมักทำเป็นบ่อซีเมนต์ขนาดกว้างประมาณ 3 เมตร ยาว 6 เมตร สูง 1.5 เมตร เมื่อสูบน้ำขึ้นมาปล่อยใส่แผ่นรังผึ้งให้น้ำไหลผ่านลงมา น้ำที่ไหลผ่านจะไหลไปรวมกันที่รางรวมน้ำข้างล่างและไหลลงบ่เก็บน้ำเดิมอีกเป็นวงจรหมุนเวียนไป แผ่นรังผึ้งมีหน้าที่ทำให้เกิดพื้นที่ผิวของการระเหยของน้ำหรือเพิ่มการระเหยและเมื่ออากาศพัดผ่านก็จะหอบเอาความเย็น ความชื้น เข้าไปในโรงเรือนด้วยโดยอากาศที่ร้อนเมื่อพัดผ่านจะกลายเป็นอากาศเย็นทันที
32
1. หลักการทำงานของโรงเรือนระบบปิดหรือระบบอีแวป
1.8 ปัญหาการอุดตันของแผ่นรังผึ้ง อายุการใช้งานของแผ่นรังผึ้งขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำที่ใช้ ปกติน้ำจะมีปริมาณของแร่ธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันตามแหล่งที่มาและมีแต่น้ำสะอาดและบริสุทธิ์เท่านั้นที่สามารถผ่านแผ่นรังผึ้งและระเหยเข้าไปในโรงเรือนได้ ส่วนแร่ธาตุต่าง ๆ จะต้องตกค้างอยู่ที่แผ่นรังผึ้ง ทำให้แผ่นรังผึ้งอุดตันเมื่อใช้ไปนาน ๆ โดยเฉพาะแร่ธาตุพวกแคลเซี่ยม (Calcium) ในส่วนของแผ่นรังผึ้งหรือที่เรียกว่า คูลลิ่งแพด สามารถทำความสะอาดได้อย่างง่ายด้วยการผสมน้ำยาฆ่าเชื้อเข้าไปในน้ำ ที่ปล่อยลงมาจากท่อพีวีซีเพื่อให้สัมผัสกับแผ่นแพดและพ่นฆ่าเชื้อโรคให้ทั่วอีกครั้งก็ใช้ได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องถูด้วยแปรงหรือทำความสะอาดละเอียดนัก เนื่องจากแผ่นรังผึ้งนี้ทำด้วยกระดาษสังเคราะห์ที่ค่อนข้างจะบอบบาง อาจจะฉีกขาดได้และถ้าหากน้ำที่ใช้ในฟาร์มไม่สะอาดพอจะมีหินปูนมาเกาะตามแผ่นรังผึ้งมาก จึงต้องทำความสะอาดด้วยกรดไฮโดรคลอริก
33
ภาพที่ 5.20 แสดงลักษณะของอากาศที่เข้าไปในโรงเรือนโดยผ่านแผ่นรังผึ้ง ที่มา (มานิตย์ เทวรักษ์พิทักษ์, 2536, หน้า 332)
34
ภาพที่ 5.21 แสดงการหมุนเวียนของอากาศในโรงเรือนที่มา (มานิตย์ เทวรักษ์พิทักษ์, 2536, หน้า 332)
35
1. หลักการทำงานของโรงเรือนระบบปิดหรือระบบอีแวป
1.9 น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญต่อระบบนี้ นอกจากตัวพัดลมสำหรับระบายอากาศแล้ว น้ำจะขาดเสียไม่ได้ หากไม่มีน้ำระบบนี้ก็ไม่เกิดขึ้น และน้ำที่นำมาใช้จำเป็นน้ำที่ไม่มีตระกรันต่าง ๆ หรือมีพวกธาตุเหล็กมากเกินไป ถ้าน้ำมีตะกรันหรือธาตุเหล็กมาก ๆ จะต้องนำมากรองก่อนที่จะนำมาผ่านรังผึ้ง เพราะถ้าตะกรันไปจับแผ่นรังผึ้ง จะทำให้แผ่นรังผึ้งตัน อุณหภูมิ ภายในโรงเรือนจะขึ้นอยู่กับความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือน ตามปกติอุณหภูมิที่วัดได้ภายในโรงเรือนอีแว็ป โปเรตีฟ คูลลิ่ง ซิสเตม จะต่ำกว่าอุณหภูมิภายนอก 3 – 5 องศาเซลเซียส
36
2. ข้อดีและข้อเสียของโรงเรือนระบบปิด
ทั้งโรงเรือนเปิดและโรงเรือนระบบปิดก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป ผู้เลี้ยงสัตว์จะต้องตัดสินใจว่าควรจะเลือกใช้โรงเรือนระบบใด แต่ในภาพรวม ๆ แล้วโรงเรือนระบบปิดจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องอากาศร้อน และป้องกันโรคได้ดีกว่าโรงเรือนเปิด ข้อดีและข้อเสียของโรงเรือนระบบปิดมีดังนี้
37
2. ข้อดีและข้อเสียของโรงเรือนระบบปิด
2.1 ข้อดีของระบบทำความเย็นด้วยแผ่นรังผึ้งในโรงเรือนระบบปิดมีดังนี้ ลดความเครียดที่เกิดจากความร้อนและทำให้ไก่สุขภาพดีขึ้น ในพ่อ – แม่พันธุ์ไก่กระทงจะให้ผลผลิตสูงขึ้น ลดอัตราการตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอากาศร้อนจัด ใช้พัดลมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับโรงเรียนแบบเปิด และเป็นการประหยัด ค่ากระแสไฟฟ้า สามารถใช้ร่วมกับระบบทึบแสง (dark – out) เพื่อเลี้ยงไก่พ่อ – แม่พันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าโรงเรือนแบบเปิด
38
2. ข้อดีและข้อเสียของโรงเรือนระบบปิด
2.1.6 การหมุนเวียนอากาศภายในโรงเรือนสม่ำเสมอมาก อากาศบริสุทธิ์จากภายนอกจะผ่านแผ่นรังผึ้งเข้ามาภายในโรงเรือนและระบายเอาอากาศเสียออกไปภายนอกโรงเรือนโดยพัดลมใช้เวลาสั้น ๆ เท่านั้น เป็นการลดปัญหาระดับแอมโมเนียในโรงเรือนได้ อัตราการเจริญเติบโตดีกว่าและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อดีในไก่กระทง ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ สามารถเลี้ยงไก่ได้มากขึ้นกว่าโรงเรือนแบบเปิด เมื่อเทียบกับพื้นที่เท่ากัน สามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศและแสงสว่างในโรงเรือนได้
39
2. ข้อดีและข้อเสียของโรงเรือนระบบปิด
2.2 ข้อเสียของระบบทำความเย็นด้วยแผ่นรังผึ้งในโรงเรือนระบบปิดมีดังนี้ การลงทุนในระยะเริ่มต้นสูงและมีค่าใช้จ่ายที่ต้องตามมาอีก ได้แก่ ค่าไฟ ค่าน้ำ และค่าสึกหรอของอุปกรณ์ (ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการดูแลของแต่ละฟาร์ม) เนื่องจากระบบควบคุมอุณหภูมิของโรงเรือนขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ หลายชนิด เช่น ชนิดและขนาดของแผ่นให้ความเย็น ระดับความชื้นภายนอกและภายในโรงเรือน พื้นที่และความหนาแน่นของการเลี้ยง จำนวนพัดลมและการวางผังตำแหน่งของพัดลม เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนอากาศในระดับความเร็วลมที่เหมาะสมและทั่วถึงทั้งโรงเรือน การไม่เข้าใจในระบบและการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องจะนำไปสู่ความเสียหายที่มากกว่าการเลี้ยงในโรงเรือนระบบเปิด
40
2. ข้อดีและข้อเสียของโรงเรือนระบบปิด
2.2.3 การเลี้ยงสัตว์ที่หนาแน่นเกินขอบเขตความสามารถในการจัดการเลี้ยงดู สภาพของโรงเรือนและจำนวนอุปกรณ์ ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพและการให้ผลผลิตที่ต่ำกว่า มาตรฐานได้ การพิจารณาถึงขนาดของโรงเรือนในระบบปิดของฟาร์มนั้นต้องคำนึงถึงความสามารถในการจัดการแบบเข้าหมดออกหมด (all-in all-out) ของฟาร์มได้ โรงเรือนที่มีขนาดใหญ่เกินไปไม่สามารถที่จะย้ายสัตว์ออกได้หมดภายในระยะเวลาหนึ่ง และทำให้ต้องมีการนำสัตว์ รุ่นต่อมาทยอยเข้าไปในโรงเรือน ในขณะที่สัตว์ชุดก่อนยังมีการเลี้ยงอยู่ในโรงเรือนที่จะส่งผลต่อสุขภาพของสัตว์ในรุ่นใหม่อย่างแน่นอน โรงเรือนในระบบปิดถูกออกแบบให้ช่วยในการเพิ่มผลผลิตของสัตว์ ส่วนการป้องกันโรคหรือการติดเชื้อของสัตว์ควรเน้นที่การป้องกันฟาร์มในระบบปิดมากกว่า (ภาพที่ 5.22)
41
2. ข้อดีและข้อเสียของโรงเรือนระบบปิด
2.3 ข้อควรระมัดระวังในการใช้โรงเรือนระบบอีแวปโปเรตีฟ คูลลิ่ง ต้องมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ไว้สำรองทุกฟาร์มและระบบสัญญาณเตือนต่าง ๆ ในกรณีไฟฟ้าดับ ถ้าไม่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองไก่อาจตายอย่างรวดเร็วถ้าไฟฟ้าดับเป็นเวลานาน ต้องตรวจสอบเป็นประจำและทำความสะอาดพัดลม สายพาน ระบบอากาศเข้า การระบายอากาศเสียและทำงานเต็มประสิทธิภาพ ในพื้นที่ที่น้ำมีแคลเซี่ยมมากจะต้องล้างและทำความสะอาดแผ่นรังผึ้งและแท็งค์เก็บน้ำ ต้องป้องกันการเกาะตัวของแคลเซี่ยมบนแผ่นรังผึ้ง
42
2. ข้อดีและข้อเสียของโรงเรือนระบบปิด
2.3.4 ใช้ยาฆ่าแมลง เพื่อควบคุมแมลงในแผ่นฉนวนใต้หลังคา ต้องควบคุมพวกตะไคร่น้ำ เพื่อรักษาประสิทธิภาพการทำงานของแผ่นรังผึ้ง มีต้นทุนการสร้างที่สูงกว่าระบบเปิด มีต้นทุนค่าไฟฟ้าที่สูงกว่า ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้ในพื้นที่ที่มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศค่อนข้างสูง เนื่องจากแผ่นรังผึ้งจะระบายน้ำได้น้อย และไม่สามารถลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนได้
43
ภาพที่ 5.22 โรงเรือนระบบปิดของไก่เนื้อและสุกร ที่มา (บริษัทบางกอกฟาร์ม คอมแพค จำกัด, 2546, หน้า 3)
44
บทสรุป โรงเรือนเลี้ยงสัตว์จัดเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อวงจรการเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด ทั้งนี้เพราะโรงเรือนเปรียบเสมือนที่อยู่ ที่หลับที่นอนของสัตว์ หากผู้เลี้ยงสัตว์สามารถจัดหาโรงเรือนที่เหมาะสม มีสุขลักษณะที่ดีให้กับสัตว์แล้ว สัตว์ก็จะให้ผลตอบแทนอย่างสูงสุด การสร้างโรงเรือน ก็ต้องสร้างให้เหมาะสมกับชนิด พันธุ์ เพศ และอายุของสัตว์ เนื่องจากสัตว์ในแต่ละระยะต้องการ โรงเรือนที่ต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่สัตว์ทุกชนิดต้องการเหมือนกันคือโรงเรือนที่เย็นสบาย อากาศถ่ายเทได้สะดวก แห้งและไม่เปียกชื้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านโรงเรือนและอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ก้าวหน้าไปมาก มีโรงเรือนรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้น โรงเรือนที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ โรงเรือนระบบปิดหรือโรงเรือนแบบอีแวป ซึ่งได้นำเทคโนโลยีด้านการลดอุณหภูมิด้วยน้ำมาใช้ในสัตว์เลี้ยง ซึ่งนิยมใช้กับการเลี้ยงสุกรและไก่ เนื่องจากสามารถลดอุณหภูมิในโรงเรือนให้ต่ำกว่าภายนอกได้ประมาณ 4 – 5 องศา นอกจากนี้โรงเรือนระบบอีแวปยังสามารถป้องกันการระบาดของโรคที่สำคัญอย่างโรคไข้หวัดนกได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามการพิจารณาสร้างโรงเรือนแบบใดนั้นจะต้องดูว่าสร้างไปแล้วคุ้มหรือไม่ กับผลตอบแทนจากสัตว์ที่ผู้เลี้ยงจะได้รับหลังจากลงทุนไปแล้ว
45
คำถามทบทวน 1. หลักการพิจารณาในการสร้างโรงเรือนมีอะไรบ้าง อธิบาย 2. ให้นักศึกษาเปรียบเทียบความต้องการพื้นที่ของสัตว์เลี้ยงต่อไปนี้คือ ไก่ สุกร โคนมและโคเนื้อ 3. ให้นักศึกษาบอกลักษณะของโรงเรือนที่ดีมาเป็นข้อ ๆ 4. โรงเรือนเลี้ยงสัตว์มีกี่แบบ แต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร 5. นักศึกษาคิดว่าพื้นโรงเรือนที่เป็นพื้นซีเมนต์และพื้นสแลท มีข้อดีและข้อเสียต่างกันอย่างไร 6. มีอุปกรณ์ใดบ้างที่จำเป็นสำหรับการเลี้ยงไก่เนื้อ อธิบาย 7. การเลี้ยงไก่ไข่แบบกรงตับและแบบปล่อยพื้นนั้นแตกต่างกันอย่างไร 8. ให้บอกถึงชนิดของโรงเรือนสุกรว่ามีกี่ชนิด อะไรบ้าง อธิบาย 9. ให้นักศึกษาเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างโรงเรือนโคนมยืนซองและโคนมแบบปล่อยอิสระ 10. ปัจจัยสำคัญของโรงเรือนระบบอีแวปมีอะไรบ้าง 11. ข้อดีและข้อเสียของโรงเรือนระบบอีแวปมีอะไรบ้าง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.