มารยาท การวางตัวและจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มารยาท การวางตัวและจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มารยาท การวางตัวและจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์

2 มรรยาทและการวางตัวของมัคคุเทศก์
มรรยาท หมายถึง กิริยา วาจา ที่ถือว่าเรียบร้อย การวางตัว หมายถึง พฤติกรรม การปฏิบัติ การทำตัวที่แสดงออกให้เห็น ฉะนั้นมรรยาทและการวางตัวของมัคคุเทศก์ก็คือ กิริยา วาจา ท่าทาง การแสดงออก ข้อควรประพฤติและไม่ควรประพฤติของมัคคุเทศก์ เพื่อดำรงไว้ซึ่งเกียรติภูมิของสถานภาพแห่งวิชาชีพมัคคุเทศก์ ทั้งนี้การวางตัวของมัคคุเทศก์อาจหมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ กาลเทศะ ซึ่งเป็นหลักอันควรประพฤติและเป็นคุณสมบัติอันดีงามที่มัคคุเทศก์พึงปฏิบัติ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีประเด็นที่สำคัญๆ ดังนี้ (บุปผา คุมมานนท์, 2541, หน้า )

3 หลักอันควรประพฤติและเป็นคุณสมบัติอันดีงามที่มัคคุเทศก์พึงปฏิบัติ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีประเด็นที่สำคัญๆ ดังนี้ (บุปผา คุมมานนท์, 2541, หน้า ) 1. มัคคุเทศก์ต้องผสมผสานระหว่างมรรยาทไทย กับมรรยาทแบบต่างประเทศให้ได้ในลักษณะที่สอดคล้องกลมกลืนไม่ขัดกัน และควรเน้นการแสดงออกถึงเอกลักษณ์ไทยให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจ 2. พูดจาสุภาพ ไม่เกรี้ยวกราดกับนักท่องเที่ยว พยายามเก็บอารมณ์โกรธไม่ทำให้งานเสีย 3. ไม่พูดคุยเรื่องทุกข์ร้อนหรือเรื่องส่วนตัวให้นักท่องเที่ยวฟัง เพื่อขอความเห็นอกเห็นใจ 4. ให้ปฏิบัติในการพูดกับนักท่องเที่ยวทั้งกลุ่มอย่างเท่าเทียมไม่เลือกอธิบายกับนักท่องเที่ยวบางคนที่ตนชอบเท่านั้น 5. ปฏิบัติตนให้นักท่องเที่ยวเกิดความไว้วางใจ และรู้สึกอบอุ่นใจในการเดินทางท่องเที่ยว 6. ไม่แสดงความสนิทสนมกับนักท่องเที่ยวจนเกินสมควรโดยเฉพาะในด้านชู้สาว

4 สิ่งที่มัคคุเทศก์พึงปฏิบัติ (คู่มือมัคคุเทศก์, 2541)
1.ต้องรู้จักขอโทษเมื่อเกิดความไม่สะดวกสบาย หรือเกิดเหตุขัดข้องบางประการในการท่องเที่ยว และควรรู้จักให้อภัยนักท่องเที่ยวเมื่อเขาทำผิดไปบ้าง เช่น มาไม่ตรงต่อเวลา 2. หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส รักษาความสะอาดและสุขนิสัยส่วนตัวไม่ให้น่ารังเกียจ 3. ก่อนพูดทุกครั้งต้องดูว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่พร้อมที่จะรับฟังสิ่งที่เราจะพูดหรือยัง 4. ต้องให้เวลาเป็นส่วนตัวกับนักท่องเที่ยวเพื่อให้เขาถ่ายรูป ซื้อของที่ระลึก หาของว่างรับประทาน โดยมัคคุเทศก์ต้องนัดเวลา จุดที่ขึ้นรถให้ชัดเจน 5.ต้องรักษากิริยามารยาทที่ดีงามแบบไทย เช่น ไม่หยิบ โยน ตะโกนข้ามศีรษะนักท่องเที่ยว 6.ต้องเป็นคนถ่อมตนเสมอไม่ควรอวดรู้ทุกเรื่อง เพราะนักท่องเที่ยวบางคนอาจมีความรอบรู้มากกว่ามัคคุเทศก์ก็ได้ 7.ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวทุกครั้งเมื่อมีโอกาสโดยไม่ต้องให้เขาเอ่ยปากขอ อย่าละเลยเด็กเล็ก และคนชรา ผู้พิการ โดยเฉพาะการเดินขึ้นลงบันได ข้ามถนน ฯลฯ 8.เมื่อมีคนถามคำถามง่ายๆ โดยที่เขาอาจลองภูมิหรืออาจไม่รู้จริงๆ มัคคุเทศก์ควรตอบตามความรู้ที่มี ไม่ควรตอบอย่างเยาะเย้ย หรือตอบแบบขอไปที 9.ในขณะที่อยู่บนรถถ้านักท่องเที่ยวยังตื่นตัว มัคคุเทศก์ไม่ควรปล่อยให้บรรยากาศเงียบเหงาโดยเปล่าประโยชน์ ควรเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยว หรือหากิจกรรมเพื่อสร้างบรรยากาศของการท่องเที่ยว รู้จักวิธีการสร้างบรรยากาศให้อบอุ่นเป็นกันเอง ให้นักท่องเที่ยวรู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนานเป็นกันเอง 10. พยายามจำชื่อและเรียกชื่อนักท่องเที่ยวให้ได้จะทำให้เขารู้สึกภูมิใจ และเป็นการช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว 11. สอดแทรกความรู้ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ให้คำแนะนำนักท่องเที่ยวตลอดระยะเวลาการเดินทาง จะทำให้เขามีความรู้สึกคุ้มค่าในการเดินทางท่องเที่ยว

5 12. จำหลักปฏิบัติไว้เสมอว่า “มัคคุเทศก์ ควรต้องตื่นก่อนนอนทีหลัง และกินทีหลังแต่ต้องอิ่มก่อน” นักท่องเที่ยวทุกครั้ง 13. มีไมตรีจิตสุภาพ อ่อนโยน อ่อนน้อมถ่อมตน 14. มีวินัยในตนเอง เก็บอารมณ์ ความรู้สึก ไม่หวั่นไหวง่ายเมื่อเจอปัญหา 15. เป็นคนช่างสังเกตรู้จักแยกแยะการทำงานให้ได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว มีไหวพริบ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี 16. มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพมัคคุเทศก์ และต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว 17. มีความเป็นตัวของตัวเอง เชื่อมั่นในตัวเอง สามารถตัดสินใจในปัญหาโดยไม่ลังเลใจ กล้าในสิ่งที่ควรกล้า ไม่หลีกหนีปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะอยู่ในหน้าที่ 18. มีความซื่อสัตย์ไม่เรียกร้องผลประโยชน์จากนักท่องเที่ยว 19. รักและเต็มใจที่จะให้บริการ ทนต่อสภาพกดดันต่างๆ ได้ 20. ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยว 21. ตรงต่อเวลา และต้องควบคุมให้นักท่องเที่ยวตรงต่อเวลาด้วย

6 22. แต่งกายเหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดี
23. มีความประพฤติ และกิริยามารยาทที่ดี การแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง ควรอยู่ในลักษณะของความเป็นผู้นำที่น่าเชื่อถือ ต้องมีความสำรวมไม่โลดโผนจนเกินงาม ฯลฯ 24. เป็นแบบอย่างที่ดีต่อรุ่นน้อง ทำงานให้ฉับไว จ่ายงานให้ผู้ช่วยทีมงานอย่างทั่วถึง ไม่ลำเอียง 25. นำนักท่องเที่ยวไปตามรายการต่างๆ ที่ระบุไว้ในโปรแกรมอย่างเคร่งครัด ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงต้องอธิบายเหตุผลให้นักท่องเที่ยวเข้าใจ หรืออาจขอคำปรึกษาบริษัทก่อนการตัดสินใจ 26. ต้องให้เกียรติมัคคุเทศก์คนอื่น ด้วยการทำงานแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่ทำงานแบบนินทาว่าร้ายหรือบริการแขกของตนให้เด่นกว่าเหนือกว่าเพื่อข่มมัคคุเทศก์บริษัทอื่น(ข้อนี้ทัวร์ไทยทำกันมาก ไม่ดีเลยครับ) 27. หมั่นศึกษาหาความรู้จากสิ่งต่างๆ รอบตัว เพื่อจะได้เป็นมัคคุเทศก์ที่ทันสมัยตลอดเวลา ไม่ว่าจะจากเพื่อนร่วมอาชีพ ป้ายหรือแผ่นพับ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่มีข้อมูลทันสมัย เว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้อง แม้กระทั่งเรื่องข้อมูลการเดินทาง เส้นทางถนนหนทางจากพนักงานรถ 28. การพูดคุยกับนักท่องเที่ยวต้องวางตัวเหมาะสม ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าเด็ก คนแก่ ลูกจ้าง คนทำงาน นายจ้าง ต้องไม่เลือกปฏิบัติ 29. หลังกลับจากนำเที่ยว ต้องรีบจัดการเคลียร์บัญชีค่าใช้จ่ายและคืนอุปกรณ์ที่ยืมมาให้เรียบร้อย ไม่ดองงานหรือนำค่าใช้จ่ายที่เหลือไปหมุนใช้ส่วนตัว

7 สิ่งที่มัคคุเทศก์พึงละเว้น (คู่มือมัคคุเทศก์, 2541)
1. ไม่ตะโกน ปรบมือดังๆ เพื่อเรียกให้นักท่องเที่ยวเข้ามาหาตน 2.ไม่พูดดุด่าว่ากล่าวหรือแสดงความไม่พอใจออกทางสีหน้าต่อนักท่องเที่ยวเมื่อเขาทำผิดพลาด เช่น มาผิดเวลา หรือไม่ให้ความร่วมมือ แต่ควรพูดโดยขอความร่วมมืออย่างสุภาพ 3. ไม่สูบบุหรี่ หรือเสพของมึนเมาและมั่วสุมอบายมุขโดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวขณะปฏิบัติหน้าที่ 4.ไม่ทำตัวเป็นผู้รู้เพียงผู้เดียว อย่าตั้งหน้าตั้งตาพูด ในลักษณะเป็นการสอนมากเกินไป ควรมีบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบ้าง 5.ไม่ไล่ต้อนจี้เร่งนักท่องเที่ยวให้รีบท่องเที่ยวและให้ขึ้นรถโดยไว โดยไม่มีเวลาหยุดพักและส่วนใหญ่ยังไม่ได้สัมผัสบรรยากาศจากสถานที่ท่องเที่ยวได้อย่างเต็มที่ 6. ไม่ควรตีตนเสมอนักท่องเที่ยว เช่น ไม่ควรนั่งโต๊ะอาหารโต๊ะเดียวกับนักท่องเที่ยว นอกจากถูกร้องขอ และให้จำไว้เสมอว่าเรามาเป็นให้ผู้บริการไม่ควรทำตัวสนิทสนมกับนักท่องเที่ยวเกินขอบเขตโดยเฉพาะเรื่องชู้สาว 7. ไม่ควรตอบว่าไม่รู้เมื่อนักท่องเที่ยวถาม เพราะจะทำให้นักท่องเที่ยวขาดความเชื่อถือ แต่ควรตอบแบบสงวนท่าทีในทำนองว่าไม่แน่ใจในคำตอบ แต่จะไปหาคำตอบให้ในภายหลัง 8.ไม่ควรปล่อยให้นักท่องเที่ยวท่องเที่ยวเองโดยไร้จุดหมายปลายทาง ปราศจากคำแนะนำที่ดีจากมัคคุเทศก์ 9.ไม่ควัก ล้วง จิ้ม แกะ เกา ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งหรือไอ จามต่อหน้านักท่องเที่ยว หากกลั้นไม่ได้ก็ควรหันเหความสนใจไปที่อื่นเสียก่อน หรือไม่ก็ทำให้แนบเนียน 10. ไม่หลอกลวงนำพานักท่องเที่ยวไปซื้อของที่มีคุณภาพต่ำราคาแพง ต้องมีความซื่อสัตย์ พานักท่องเที่ยวไปเลือกซื้อสินค้าในร้านที่มีคุณภาพ ไม่คะยั้นคะยอให้นักท่องเที่ยวซื้อของจนออกนอกหน้า ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของนักท่องเที่ยวเป็นหลักมากกว่าประโยชน์ที่ตนจะได้รับ เวลารับค่านายหน้าควรปฏิบัติอย่างแนบเนียนอย่าให้นักท่องเที่ยวเห็น 11. ไม่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงทำลายศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ทำลายธรรมชาติ แต่ต้องส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 12. ไม่ควรพูดหรือเล่าเรื่องตลกลามก หรือเรื่องที่เกี่ยวกับชาติ ศาสนา การเมือง ความเชื่อ ในทางลบ มัคคุเทศก์ควรหลีกเลี่ยงคำพูด การกระทำในเรื่องที่อาจขัดต่อความคิดความรู้สึกของนักท่องเที่ยว 13. ไม่กล่าวตำหนิ โยนหรือโทษความผิดพลาดให้ผู้อื่น ไม่ว่าเป็นความผิดของใครมัคคุเทศก์ต้องเข้าไปมีส่วนแก้ไขปัญหาเสมอ 14. ไม่โต้เถียง ประชดประชัน หรือทะเลาะกับนักท่องเที่ยว 15. ไม่เลือกปฏิบัติให้กับนักท่องเที่ยวเฉพาะราย

8 16. ไม่เล่าเรื่องส่วนตัวหรือบ่นความทุกข์ยากเศร้าโศกเสียใจให้นักท่องเที่ยวฟัง เพื่อเรียกร้องบางสิ่งบางอย่าง 17. ไม่โก่งหรือบอกราคาขายแก่ทางร้านค้าหรือแหล่งเข้าชมต่างๆ เพื่อให้ทางร้านหรือแหล่งเข้าชมนั้นเรียกเก็บจากนักท่องเที่ยวแพงกว่าปกติ เพื่อประโยชน์ของตน เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง 18. ไม่ชักจูงให้นักท่องเที่ยวทำสิ่งผิดกฎหมาย เช่น เล่นการพนัน, การเสพสิ่งเสพติดต้องห้าม 19. ไม่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอต่อลมฟ้าอากาศ ความยากลำบากในการเป็นผู้นำเที่ยว ฯลฯ 20. ไม่ทะเลาะกับนักท่องเที่ยว ต้องรับฟังปัญหาก่อนแล้วค่อยชี้แจงเหตุผล หลังจากนักท่องเที่ยวอารมณ์เย็นแล้ว 21. ไม่ขอยืมเงินจากนักท่องเที่ยวไม่ว่ากรณีใด 22. ไม่ใช้คำพูดเชิงสั่งการหรือกระทำการเชิงบังคับให้นักท่องเที่ยวอยู่ภายใต้การควบคุมของตน แต่ควรใช้คำพูดในเชิงขอความร่วมมือ 23. ไม่บรรยายข้อมูลมากเกินไปจนเกินกว่านักท่องเที่ยวจะรับได้ ควรดูอาการของนักท่องเที่ยวเป็นหลัก และควรให้นักท่องเที่ยวได้ทำความเข้าใจในสถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งด้วยตนเองบ้าง 24. ไม่ควรฉวยโอกาสเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว โดยการทำตัวเป็นตัวแทนในการรับแลกเปลี่ยนเงินให้กับนักท่องเที่ยวโดยคิดราคาแลกเปลี่ยนเพื่อให้ตนได้ประโยชน์อย่างน่าเกลียด

9 สิ่งที่มัคคุเทศก์พึงปฏิบัติอย่างระมัดระวัง
1. การพูดถึงบุคคลที่สาม หรือเรื่องที่ละเอียดอ่อนต่อความรู้สึก เช่น ศาสนา การเมือง ฯลฯ 2. การบริการบนโต๊ะอาหาร การใช้ช้อนกลาง การบริการจัดแบ่งอาหารเป็นถ้วยเล็ก ข้อจำกัดของแขกในการทานอาหาร ความเชื่อในการทานอาหารของแขกแต่ละคนเช่น การพลิกตัวปลา ฯลฯ และทั้งนี้มัคคุเทศก์ควรให้คำแนะนำวัฒนธรรม วิธีการรับประทานอาหารในแต่ละท้องถิ่นที่ไปด้วย 3. การให้เวลาแขกในสถานที่ต่างๆ อย่างเหมาะสม ลงตัว โดยไม่ให้เวลาแขกอันน้อยนิดในสถานที่ท่องเที่ยวที่เขาชื่นชอบ และไม่ให้เวลาอย่างมากมายในที่ๆ เขาเห็นว่าไร้ประโยชน์ไม่คุ้มค่าเสียเวลาที่จะอยู่ 4. การวางตัวต่อแขกที่เข้ามาหา มาพูดคุย ซึ่งแขกแต่ละคนก็มีเจตนาที่ต่างกัน 5. การพูด การจา การแต่งกาย การปฏิบัติตนที่เป็นแบบอย่าง เสมอต้นเสมอปลายตลอดระยะเวลานำเที่ยว 6. คำถามยอดฮิตที่มัคคุเทศก์เจอเสมอและต้องตอบให้ได้ เช่น ห้องน้ำอยู่ทางไหน อีกนานไหมกว่าจะถึง ตอนนี้เราอยู่ที่ไหน 7. การสำรวมกิริยาท่าทางที่ไม่เหมาะสมต่อหน้าและลับหลัง

10 8. การเข้ารับบริการในสถานประกอบการต่างๆ มัคคุเทศก์ต้องบริการแขกให้ลุล่วงก่อน และระมัดระวังการรับบริการจากสถานประกอบการที่มอบให้มัคคุเทศก์ต้องไม่เกินหน้าเกินตาแขก เช่น ให้อาหารที่ดีกว่า ให้ห้องพักที่ดีกว่า เป็นต้น 9. มีมนุษยสัมพันธ์และให้บริการอย่างทั่วถึง ไม่เลือกปฏิบัติ 10. การบริการด้วยอัธยาศัยไมตรีแห่งความเป็นไทย เพราะท่านคือคนไทย ต้องนำเอกลักษณ์วัฒนธรรมความเป็นไทยเสนอต่อสายตานักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชาวต่างประเทศที่มาเที่ยวเขาคาดหวังเห็นรอยยิ้มและการบริการด้วยความเป็นไทย ปฏิบัติงานด้วยรอยยิ้ม ไหว้ทักทายแขกให้เป็นกิจวัตร 11. ให้ความสำคัญในการทำหน้าที่นำเที่ยว การบริการแขก ให้แขกได้ประทับใจ เหนือสิ่งอื่นใด โดยเฉพาะผลประโยชน์ส่วนตัวควรละเว้น 12. การปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานด้วยความเป็นมิตรถ้อยทีถ้อยอาศัย และเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นกับพนักงานรถ พนักงานโรงแรม พนักงานร้านอาหาร สต๊าฟช่วยงาน ไม่ควรคิด-ทำงานแบบแบ่งแยกว่าตัวเองเป็นผู้นำ คนอื่นต้องเป็นผู้ตาม ต้องเชื่อฟังตน เพราะคนอื่นจะทำงานด้วยลำบาก และไม่มีความสุข ฯลฯ 13. ดูแลใส่ใจในสวัสดิภาพความปลอดภัย ทั้งร่างกายและทรัพย์สิน ตลอดจนรักษาผลประโยชน์ของนักท่องเที่ยวให้เป็นนิสัย 14. หาวิธีการสร้างความสมัครสมาน สามัคคี เพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวแก่หมู่คณะเดินทาง เพื่อมัคคุเทศก์จะได้ทำงานด้วยความราบรื่น ได้รับความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี

11 15. การรวบรวมสมาชิก การนับจำนวนแขกแต่ละครั้งให้ทำด้วยความรวดเร็ว แม่นยำและควรใช้คำพูด จิตวิทยาเชิงขอความร่วมมือต่อแขกหากแขกสายไม่รักษาเวลา 16. ย้ำเตือนเรื่องการซื้อสิ่งของที่อาจเป็นสิ่งผิดกฏหมาย และห้ามนำออก หรือต้องเสียภาษี สัมภาระที่มีน้ำหนักเกิน ของที่ไม่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ และของที่ควรนำติดตัวขึ้นเครื่องบิน การรับฝากของ เรื่องเหล่านี้มัคคุเทศก์มีหน้าที่ต้องแนะนำแขกเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดระหว่างการเดินทางเข้าออกประเทศ 17. การคอยช่วยเหลือดูแลการเข้าออกนอกราชอาณาจักร ทั้งในและต่างประเทศ เพราะแขกอาจถูกกักตัว สอบถาม สอบประวัติ มัคคุเทศก์จึงควรต้องอยู่อำนวยความสะดวกแขกจนคนสุดท้ายเสมอ ไม่ควรเดินนำหน้าปล่อยลูกค้าให้แก้ไขปัญหาเอาเอง 18. การปรับเปลี่ยนรายการทัวร์ ควรทำด้วยเหตุผลจำเป็น โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ 19. การแก้ไขปัญหาใดๆ ควรคำนึงถึงความรู้สึก ความพึงพอใจของลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องรอบด้าน การน้อมรับการแก้ไขปัญหาด้วยรอยยิ้มและความตั้งใจจริงจึงเป็นหนทางออกได้อย่างดีเสมอ 20. นักท่องเที่ยวคาดหวังความประทับใจระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวเสมอ มัคคุเทศก์จึงไม่ควรปล่อยให้บรรยากาศเงียบเหงาเปล่าประโยชน์ หลังบรรยายข้อมูลควรเล่าเรื่องที่นักท่องเที่ยวสนใจ หรือหากิจกรรมเสริมมาเปลี่ยนบรรยากาศให้เหมาะกับกลุ่มคณะลูกค้า

12 จรรยาบรรณของมัคคุเทศก์
พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535 กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ที่ถูกต้องตามกฎหมายปฏิบัติโดยเคร่งครัด เพื่อเป็นการป้องกันการประกอบการและการนำเที่ยวที่ไม่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งมีอยู่ชัดเจนว่า 1.ห้ามจัดนำเที่ยวโดยไม่มีใบอนุญาต หรือประกอบการนำเที่ยวในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต 2.ห้ามทำหน้าที่มัคคุเทศก์ โดยไม่มีใบอนุญาต หรือปฏิบัติงานระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาต 3.จะต้องไม่ปฏิบัติผิดกฎเกณฑ์อื่นๆ ที่วางไว้ เช่น จ้างมัคคุเทศก์ไม่ตรงประเภทของใบอนุญาต หรือยินยอมให้ผู้ที่ไม่ใช่มัคคุเทศก์นำเที่ยว หรือเป็นมัคคุเทศก์แต่ไม่ติดบัตรขณะปฏิบัติหน้าที่หรือแต่งกายไม่สุภาพ และประพฤติผิดจรรยาบรรณอื่นๆ ใบอนุญาตของผู้ประกอบการนำเที่ยวและผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ต้องแสดงไว้ในที่เปิดเผยให้บุคคลทั่วไปเห็นได้ชัด

13 จากกฎระเบียบข้อบังคับดังกล่าวข้างต้น เป็นสิ่งที่มัคคุเทศก์พึงต้องปฏิบัติ หากเพิกเฉยไม่ใส่ใจ อาจถูกลงโทษตามกฎหมาย ซึ่งต่างจากจรรยาบรรณหรือหลักที่พึงปฏิบัติของผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ที่มีไว้เพื่อให้เกิดประสิทธิผลของงาน และให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักท่องเที่ยว ซึ่งจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ที่สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ (สมอ.) กำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน มีดังนี้ 1.เทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ 2.เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย 3.ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น 4.มีความรับผิดชอบและตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความเสียสละ และอุทิศตนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้ 5.รักษาชื่อเสียงของตน โดยการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต และไม่แสวงหาผล ประโยชน์โดยมิชอบหรือปฏิบัติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรี และเกียรติคุณของวิชาชีพมัคคุเทศก์ 6.พึงมีทัศนคติที่ดี พัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ คุณวุฒิ คุณธรรม และทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพมัคคุเทศก์ 7.พึงเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยวให้ยั่งยืน ทั้งทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรม 8.ถือปฏิบัติตามคำสั่งกฎระเบียบแบบแผน ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ของสถานที่ท่องเที่ยวทุกแห่ง ตลอดจนการปฏิบัติตนตามกฎหมาย และระเบียบของทางราชการ 9.ประพฤติตนด้วยความสุภาพ รู้รักสามัคคีต่อผู้ร่วมวิชาชีพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไปโดยปราศจากอคติใดๆ ทั้งสิ้น


ดาวน์โหลด ppt มารยาท การวางตัวและจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google