งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก(CVA)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก(CVA)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก(CVA)

2 การส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ปกติ
การจัดท่า (Positioning) ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าทางที่ดีและเหมาะสม เพื่อยับยั้งการเกิดความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ และป้องกันการเกิดการผิดรูป

3 ท่านอนหงาย จัดศีรษะของผู้ป่วยให้อยู่ในแนวตรง แขนขาข้างอัมพาตกางออกและวางบนหมอนเพื่อยกสะบักขึ้น ศอกเหยียด และหงายมือขึ้น ข้อมือตรง นิ้วมือเหยียดและกางออก สะโพกกางออกและงอเล็กน้อย ข้อเท้าอาจใช้กระดานรองฝ่าเท้าเพื่อป้องกันปลายเท้าตก

4 ท่านอนตะแคงทับข้างปกติ
จัดศีรษะโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย ใช้หมอนรองแขนขาด้านอัมพาต ไหล่งุ้มไปข้างหน้าเล็กน้อย แขนวางยื่นไปข้างหน้า ศอกเหยียดตรง ข้อมือตรง มือคว่ำบนหมอน นิ้วเหยียด ขาข้างอัมพาตวางบนหมอนจัดให้สะโพกและเข่างอ ข้อเท้าปกติ

5 ท่านอนตะแคงทับด้านอัมพาต
จัดศีรษะให้หมุนขึ้นและโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย ลำตัวตรง ด้านอัมพาตจัดให้ไหล่งุ้มไปข้างหน้าเล็กน้อย แขนหมุนออก ศอกเหยียด ข้อมือตรง มือหงายขึ้น นิ้วมือเหยียด สะโพกและเข่างอ (สลับกับข้อ 1.2) ใช้หมอนรองขาข้างปกติ

6 ท่านอนกึ่งคว่ำ จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนตะแคงกึ่งคว่ำทับด้านดี โดยใช้หมอนช่วยรองใต้ลำตัวและขาข้างอัมพาต ไหล่ข้างอัมพาตงุ้มไปข้างหน้า ศอกเหยียด ข้อมือตรง คว่ำมือ นิ้วมือเหยียด ขาข้างอัมพาตวางบนหมอน สะโพกและเข่างอ ข้อเท้าอยู่ในท่าปกติ

7 ท่านั่ง จัดให้ผู้ป่วยนั่งในท่าศีรษะและตัวตั้งตรง น้ำหนักลงที่ก้นเท่ากันทั้งสองข้าง ไหล่งุ้มไปข้างหน้าเล็กน้อย แขนวางพักบนหมอน หรือโต๊ะ จัดให้สะโพกและเข่างอประมาณ 90 องศา เท้าวางราบกับพื้น

8 การฝึกควบคุมการเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวบนเตียง การพลิกตัว ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำได้เองเป็นอันดับแรก จะช่วยให้มีการหมุนของศีรษะ ลำตัวและสะโพกร่วมด้วย และยังสามารถช่วยป้องกันแผลกดทับ ทั้งยังเป็นท่าพื้นฐานเพื่อเตรียมที่จะ ลุกนั่งต่อไป การลุกนั่ง จะช่วยกระตุ้นการทรงตัว ท่านั่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเคลื่อนไหวและทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่นการรับประทานอาหาร ควรฝึกจากท่าตะแคงตัวขาห้อยข้างเตียง แล้วใช้แขนข้างปกติช่วยดันตัวขึ้นมานั่ง

9 การส่งเสริมการทำงานของแขนและมือข้างที่เป็นอัมพาต
ให้กิจกรรมที่มีช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบแยกส่วนทีละข้อต่อ ทั้งแนวขจัดแรงโน้มถ่วง และแนวต้านแรงโน้มถ่วงโลก ฝึกให้เคลื่อนไหวแบบสลับกัน เช่น ฝึกคว่ำและหงายมือสลับกัน โดยให้ผู้ป่วยพลิกแผ่นกระดาษ หรือไพ่

10 การส่งเสริมการทำงานของแขนและมือข้างที่เป็นอัมพาต
ฝึกใช้มือข้างอัมพาตเคลื่อนย้ายวัตถุ ( เอื้อม, กำ, นำ, ปล่อย ) ส่งเสริมให้ผู้ป่วยใช้แขนและมือข้างอัมพาตช่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน เริ่มแรกอาจใช้สองมือ(ข้างดีช่วย) ต่อมาฝึกใช้ข้างเดียว (ใช้ข้างอัมพาต )

11 การส่งเสริมสหสัมพันธ์การทำงานของแขนและมือข้างอัมพาต
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง การเล่นเกมส์ต่างๆ การใช้งานฝีมือ โดยใช้กล้ามเนื้อทำงานร่วมกันหลายๆกลุ่ม ระยะแรกใช้มือข้างดีช่วย หลังจากนั้นก็เปลี่ยนเป็นใช้ข้างที่เป็นอัมพาตทำกิจกรรม หรือสลับกันทั้งสองข้าง ส่งเสริมให้ผู้ป่วยฝึกเคลื่อนย้ายวัตถุขนาดเล็ก ๆ โดยเริ่มจากรูปแบบการหยิบจับที่ทำได้ง่ายไปหายาก ขนาดใหญ่ไปเล็ก

12 การส่งเสริมสหสัมพันธ์การทำงานของแขนและมือข้างอัมพาต
การฝึกกระดกข้อมือ การฝึกกำแบบทรงกระบอก การฝึกหยิบจับแบบใช้ปลายนิ้ว การให้ทำกิจกรรมงานฝีมือ การเตรียมอาหาร การติดกระดุมเสื้อ การเขียนหนังสือ เป็นต้น ฝึกความคล่องแคล่วของมือ โดยเพิ่มความเร็ว จังหวะและขั้นตอนของการเคลื่อนไหว เพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อมือโดยการทำกิจกรรมที่ค่อยๆเพิ่มแรงต้าน เช่น การฝึกหยิบจับวัตถุที่มีความหนักมากขึ้น หรือต้องใช้แรงในการกำที่เพิ่มขึ้น

13

14 อุปกรณ์ดามและอุปกรณ์ดัดแปลง
Splint (อุปกรณ์ดาม) อุปกรณ์ดัดแปลง

15 การฝึกกิจวัตรประจำวัน
การฝึกให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งจำเป็น ที่ควรทำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ควรเลือกฝึกในสถานที่เงียบไม่มีสิ่งรบกวนก่อน ควรเริ่มจากกิจกรรมที่ง่าย ๆ ก่อนแล้วค่อย ๆ เพิ่มความซับซ้อนขึ้น ควรคำนึงถึงระดับความสามารถของผู้ป่วย และปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย

16 การแต่งกาย การสวมเสื้อแบบผ่าหน้า ให้ผู้ป่วยนั่งบนเตียงหรือเก้าอี้
วางเสื้อบนตักให้ด้านหน้าของเสื้ออยู่ด้านบน คอเสื้อวางเหนือเข่าชายเสื้อวางชิดลำตัว เริ่มสวมเสื้อด้านที่อ่อนแรงก่อน ใช้แขนด้านดีดึงแขนเสื้อมาจนสูงพ้นข้อศอก

17 การสวมเสื้อแบบผ่าหน้า
เหวี่ยงเสื้อไปด้านหลัง ใช้แขนดีอ้อมลำตัวไปด้านหลังเพื่อใส่แขนข้างดี สวมแขนข้างปกติ แล้วจัดเสื้อและติดกระดุมด้วยมือข้างที่ปกติ

18 การสวมเสื้อยืดคอกลม ให้ผู้ป่วยนั่งบนเตียงหรือเก้าอี้
วางเสื้อบนตักให้ด้านหน้าของเสื้ออยู่ด้านบน คอเสื้อวางเหนือเข่า ชายเสื้อวางชิดลำตัว เริ่มสวมเสื้อด้านที่อ่อนแรง สวมแขนด้านปกติ ใช้แขนด้านดีดึงแขนเสื้อมาจนสูงพ้นข้อศอก

19 การสวมเสื้อยืดคอกลม ใช้แขนด้านดีจัดคอเสื้อแล้วยกขึ้นสวมศีรษะ
จัดตัวเสื้อให้เรียบร้อย

20 การสวมกางเกง ให้ผู้ป่วยนั่งบนเตียงหรือเก้าอี้
ยกขาด้านที่อ่อนแรงวางทับด้านปกติ จับรูดขากางเกงให้สั้นก่อน นำมาสวมขาด้านที่อ่อนแรงแล้วตามด้วยด้านดี

21 การสวมกางเกง ผู้ป่วยที่สามารถยืนได้ดี ให้ดึงกางเกงขึ้นในท่ายืน
นั่งลงเพื่อรูดซิปและดูความเรียบร้อย

22 การสวมกางเกง ผู้ป่วยที่ยังทรงตัวไม่ดี ให้ดึงกางเกงในท่านอนโดยพลิกตัวดึงขึ้นทีละข้าง

23 การดัดแปลงเสื้อผ้า ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก มักมีปัญหาในการสวมเสื้อผ้า การรูดซิป และการติดกระดุม เสื้อผ้าที่ใช้ ควรเป็นชนิดที่ใส่ง่าย ขนาดพอดีตัว กระดุมควรมีขนาดใหญ่ รังดุมกว้าง นอกจากนี้ อาจดัด แปลงโดยใช้แผ่นตีนตุ๊กแก(Velcro)ติดที่ตัวเสื้อ แทนการใช้กระดุมทั่วไป และอาจติดห่วงหรือคลิปที่ซิปเพื่อให้ดึงได้สะดวก

24 การถอดเสื้อ-กางเกง ทำย้อนขั้นตอนดังกล่าว แต่เริ่มถอดทางด้านดีก่อน

25 การสวมถุงเท้าและรองเท้า
ใช้ขั้นตอนเดียวกับการสวมกางเกง คือ ให้ผู้ป่วยนั่งที่เตียงหรือเก้าอี้ ยกขาด้านที่อ่อนแรงวางทับด้านปกติ เริ่มสวมด้านที่อ่อนแรงก่อน (ถ้าสวมถุงเท้า จับรูดถุงเท้าให้สั้นก่อนสวม) หลังจากนั้นจึงยกขาข้างปกติวางทับด้านที่อ่อนแรงเพื่อสวมข้างปกติ

26 การฝึกรับประทานอาหารในผู้ป่วย
ภาวะบกพร่องด้านการกลืน (Dysphagia) หมายถึงการกลืนลำบาก (อาหารหรือเครื่องดื่ม) ผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวล หรืออาการไม่สบายเกิดขึ้นในขณะที่จะกลืนสิ่งใดสิ่งหนึ่งทุกครั้งไป พบได้ในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบประสาทต่างๆ ที่พบบ่อยคือโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดปัญหาสำลักได้ง่าย ทำให้เกิดปัญหาปอดอักเสบตามมา ตกอยู่ในภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอตามที่ต้องการ ผู้ป่วยอาจยังต้องรับอาหารโดยผ่านทางสายยาง

27 สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนฝึกกลืน
ผู้ป่วยต้องมีระดับความรู้สึกตัวปกติ สามารถพูดคุยสื่อสารได้เข้าใจ มีความจำปกติ สามารถทำตามคำสั่งได้ถูกต้อง ในกรณีที่มีเสมหะมาก ควรดูดเสมหะออกก่อนการฝึกกลืน

28 ภาวะความผิดปกติทางการบริโภคอาหารที่พบได้บ่อย
ภาวะอ้าปากตลอดเวลา ภาวะบกพร่องด้านการควบคุมลิ้น ภาวะบกพร่องด้านการควบคุมขากรรไกร ภาวะการรับความรู้สึกบริเวณใบหน้าและช่องปากช้ากว่าปกติ ภาวะการรับความรู้สึกบริเวณใบหน้าและช่องปากไวกว่าปกติ) ภาวะที่ไม่สามารถกลืนเมื่อมีน้ำลายหรืออาหาร

29 การกระตุ้นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนและการพูด
ใช้นิ้วมือกดบริเวณรอบปาก แล้วเขี่ยในทิศทางออกจากปาก ประมาณ 5-6 นาที ควรให้ผู้ป่วยเม้มปากด้วยขณะกระตุ้น เพื่อฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบปาก ใช้ไม้กดลิ้นหรือนิ้วชี้แตะบริเวณปลายลิ้นเข้าไปหาโคนลิ้น ประมาณ 2ใน 3 ของลิ้น ใช้ไม้กดลิ้นหรือนิ้วชี้ แตะด้านข้างของลิ้นเป็นพักๆ แล้วกระตุ้นให้ผู้ป่วยเอียงลิ้นมาดันไม้หรือนิ้วชี้

30 การกระตุ้นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนและการพูด
ลูบขึ้นเบา ๆ จากระดับกล่องเสียงไปยังใต้คางโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง พร้อมออกแรงกดพอสมควร ลูบริมฝีปากล่างเบาๆ โดยใช้ช้อน ไม้กดลิ้น หรือนิ้วมือ แล้วบอกให้ผู้ป่วยอ้าปากกว้างๆ ทำซ้ำ ให้แรงกดบริเวณใต้คางในทิศทางขึ้นแล้วปล่อยทันที พร้อมกันนั้นบอกให้ผู้ป่วยอ้าปาก

31 การกระตุ้นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนและการพูด
การนวดกระพุ้งแก้มโดยใช้ไม้พันสำลีหรือนิ้วมือในทิศทางขึ้น-ลง อย่างน้อยข้างละ 4 ครั้ง การนวดบริเวณเพดานปากใน ทิศทางจากด้านหน้าไปด้านหลัง

32 การบริหารกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนและการพูด
กล้ามเนื้อปาก อ้าปากกว้างๆ แล้วปิดปากให้สนิท หรือออกเสียง “อา” ดังๆ10 ครั้ง ห่อปากหรือออกเสียง “อู” 10 ครั้ง เหยียดปากแบบยิ้ม หรือออกเสียง “อี” 10 ครั้ง

33 การบริหารกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนและการพูด
กล้ามเนื้อลิ้น แลบลิ้นออกมายาวๆแล้วหดกลับ แล้วปิดปากให้สนิท 10 ครั้ง เอาลิ้นแตะมุมปาก ซ้าย-ขวา 10 ครั้ง เอาลิ้นแตะเพดานปาก ขึ้น-ลง 10 ครั้ง กล้ามเนื้อแก้ม เก็บลมในกระพุ้งแก้ม พยายามอย่าให้ลมเล็ดลอดออก ย้ายลมไปซ้าย-ขวา หรือการเลียนแบบการบ้วนปาก

34 ลักษณะอาหารที่เหมาะสมสำหรับการกระตุ้นกลืน
มีกากน้อย เป็นอาหารปั่นละเอียดข้น ไม่ใช่ลักษณะเหลวเป็นน้ำ คุณสมบัติลดเมือก เสมหะ ที่เกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหาร เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ปลอดภัย ไม่กระตุ้นให้เกิดการไอ และสำลัก เช่นของทอด ในระยะแรก พึงหลีกเลี่ยงการฝึกกลืนโดยใช้อาหารเหลวใส เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยสำลัก อาหารที่ควรงด ใช้การฝึกคือ อาหารน้ำ อาหารแห้ง ทอด มัน ** นมเป็นอาหารที่ทำให้น้ำลายเหนียว ส่งผลให้การกลืนลำบาก

35 การจัดท่าทางในการรับประทานอาหารที่เหมาะสม
ท่าทางที่ถูกต้อง ศีรษะอยู่ในแนวตั้งตรง ไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง ไหล่มีการงอไปด้านหน้าเล็กน้อย มีการรองรับลำตัวด้านบนที่มั่นคง วางข้อศอกบนโต๊ะด้านหน้า กางแขนและ งอข้อศอกเล็กน้อย สะโพกอยู่ในแนวตั้งตรง งอสะโพก 90 องศา โน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย เท้าวางราบกับพื้น

36 การจัดท่าทางในการรับประทานอาหารที่เหมาะสม
ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ศีรษะมีการเอียง หรือหมุนไปด้านใดด้านหนึ่ง หรือมีการเงยหน้าไปด้านหลังมากเกินไป ลำตัวอยู่ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน หรือไม่มีอะไรรองรับ ปล่อยแขนห้อยอยู่ข้างลำตัว จัดเท้าไม่เหมาะสม หรือไม่มีส่วนรองรับฝ่าเท้า

37 แนวการช่วยเหลือในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ที่มีความผิดปกติด้านการสื่อสาร
ความผิดปกติของการสื่อความหมาย 1.Aphasia/Dysphasia อาจมีความผิดปกติในด้านการรับข้อมูล หรือการแสดงออกเพื่อส่งข้อมูล หรือสองด้านรวมกัน 2.Dyspraxia ผู้ป่วยไม่สามารถเปล่งเสียงออกมาเป็นคำพูดตามที่ตั้งใจไว้ ทั้งที่กล้ามเนื้อที่ใช้เปล่งเสียงปกติ 3.Dysarthria ผู้ป่วยมีอาการพูดไม่ชัด เกิดจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเปล่งเสียง

38 กระตุ้นให้ผู้ป่วยรู้สึกอยากพูด และเลือกเรื่องที่ผู้ป่วยสนใจ
อาจใช้การสาธิตให้ดู หรือการใช้ภาษากาย ควรพูดช้าๆ ชัดๆ เป็นคำหรือประโยคสั้นๆ ในการพูดคุยกับผู้ป่วย หรือเป็นการตอบคำถามแบบสั้นๆ เช่น ใช่/ไม่ ควรให้เวลาผู้ป่วยในการตอบสนอง ไม่ควรเร่งรัดผู้ป่วยเพราะจะทำให้เกิดการสับสน ไม่เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสาร อาจใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น บอร์ดสื่อสาร(Communiation board)

39 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt การฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก(CVA)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google