งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐ
โดย นายนพดล เพชรสว่าง ผู้อำนวยการสำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 4 สำนักงาน ป.ป.ท.

2 ประเด็นการนำเสนอ 1. สถานการณ์ ปัญหา และสาเหตุของการทุจริตในภาครัฐ
2. กลไกแก้ไขปัญหาการทุจริตในภาครัฐ 3. ลักษณะของพฤติการณ์หรือการกระทำอย่างไร? ที่เรียกว่า ”การทุจริตในภาครัฐ” 4. การตรวจสอบข้อเท็จจริงของสำนักงาน ป.ป.ท.ทำอย่างไร? และเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของท่านอย่างไรบ้าง? 5. การไต่สวนข้อเท็จจริงตามกฎหมาย ป.ป.ท. มีสาระสำคัญ และเกี่ยวข้องกับของท่านอย่างไรบ้าง? 6. ทิศทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

3 ปัญหาการทุจริตมีความรุนแรงกว่าปัญหายาเสพติด 4 – 5 เท่า
หน่วยงานที่ประชาชนไปติดต่องานและพบพฤติการณ์ว่ามีการทุจริตมาก มีจำนวน 11 หน่วยงาน สถานการณ์ การทุจริตในสังคมไทยปัจจุบัน ปัญหาการทุจริตมีความรุนแรงกว่าปัญหายาเสพติด 4 – 5 เท่า ความคิดเห็น/ทัศนคติของประชาชนต่อการทุจริต สส. / สว. ดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการทุจริตสูง

4 ตาราง แสดงค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่ระบุ ยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี ลำดับที่ ทัศนคติ ตุลาคม 2551 ตุลาคม 2552 1 ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี 63.2 77.5 2 ไม่คิดเช่นนั้น 36.8 22.5 รวมทั้งสิ้น 100.0

5 ตาราง แสดงค่าร้อยละของกลุ่มประชาชนตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ โดยเปรียบเทียบผลการสำรวจในช่วงเดือนเมษายน 2551 จนถึง ตุลาคม 2552 ลำดับ ทัศนคติ เมษายน 2551 พฤษภาคม 2552 มิถุนายน 2552 ตุลาคม 2552 1 ค่อนข้างเห็นด้วย – เห็นด้วยอย่างยิ่ง 67.4 74.7 84.5 82.7 2 ไม่ค่อยเห็นด้วย – ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 32.6 25.3 15.5 17.3 รวมทั้งสิ้น 100.0

6 ตาราง แสดงค่าร้อยละของกลุ่มประชาชนตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับได้ จำแนกตามช่วงอายุ ความเห็นของประชาชน ต่ำกว่า 20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี 50 ปีขึ้นไป ยอมรับได้ 61.7 62.5 55.6 51.0 56.8 ไม่ยอมรับ 38.3 37.5 44.4 49.0 43.2 รวมทั้งสิ้น 100.0

7 ความคิดเห็นต่อการคอรัปชั่นในสังคมไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
ตาราง แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างสมาชิกรัฐสภา ที่ระบุความคิดเห็นต่อการคอรัปชั่นในสังคมไทย ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการคอรัปชั่นในสังคมไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ยอมรับ ไม่ยอมรับ 1 การทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ 28.4 71.6 30.2 69.8 2 รัฐบาลทุกรัฐบาลมีทุจริตคอรัปชั่นทั้งนั้น ถ้าทุจริตคอรัปชั่น แล้วทำให้ ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี ก็พอยอมรับได้ 26.5 63.5 15.4 84.6

8 The World's Most Corrupt Countries
November 2010 The Transparency International CPI measures the perceived levels of public-sector corruption in a given country and is a composite index, drawing on different expert and business surveys. The 2010 CPI scores 178 countries on a scale from zero (highly corrupt) to ten (highly clean). Denmark New Zealand and Singapore the highest score at 9.3 (1), followed immediately by Finland and Sweden share at 9.2 (4). At the bottom is Somalia at 1.1(178), slightly trailing Myanmar and Afghanistan at 1.3 (176) and Iraq at 1.5 (175). China, Colombia, Greece, Lesotho, Peru, Serbia and Thailand share at 3.5 (78)

9 เปรียบเทียบในกลุ่มภูมิภาคเอเชียด้วยกัน
ลำดับที่ 1 Singapore 9.3 คะแนน ลำดับที่ 6 Brunei 5.5 คะแนน ลำดับที่ 2 Hong Kong 8.4 คะแนน ลำดับที่ 7 Korea (South) 5.4 คะแนน ลำดับที่ 3 Japan 7.8 คะแนน ลำดับที่ 8 Macau 5.0 คะแนน ลำดับที่ 4 Taiwan 5.8 คะแนน ลำดับที่ 9 Malaysia 4.4 คะแนน ลำดับที่ 5 Bhutan 5.7 คะแนน ลำดับที่ 10 China, Thailand 3.5 คะแนน

10 ตารางแสดง ดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันของประเทศไทยตั้งแต่
ปี พ.ศ – 2553 ที่มา: วิเคราะห์ข้อมูลจาก ปี พ.ศ. คะแนน จำนวนแหล่งข้อมูล อันดับ จำนวนประเทศ 2538 2.79 7 34 41 2539 3.33 10 37 54 2540 3.06 6 39 52 2541 3.00 11 61 85 2542 3.20 12 68 98 2543 60 90 2544 91 2545 64 102 2546 3.30 13 70 133 2547 3.60 14 146 2548 3.80 59 159 2549 9 63 163 2550 84 179 2551 3.50 80 180 2552 3.40 2553 78 178

11 สาเหตุของการทุจริตคอรัปชั่น
หน่วยงานภาครัฐขาดธรรมาภิบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐขาดความพอเพียง สังคมมีค่านิยมผิด งานการศึกษายังไม่สอดรับ 5. ยังมีวงจรอุบาทว์ทางการเมือง

12 กลไกแก้ไขปัญหาการทุจริตในภาครัฐ ในปัจจุบัน
1. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) 2. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (คณะกรรมการ ป.ป.ท.) 3. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.)

13 เปรียบเทียบกลไกแก้ไขปัญหาการทุจริตระหว่าง ป.ป.ช. กับ ป.ป.ท.
ประเด็นเปรียบเทียบ หน่วยงาน คณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะ กก. ป.ป.ท.+สนง. ป.ป.ท. 1.ที่มา รธน มาตรา 301 (3) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 พรบ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 2.สถานะ องค์กรอิสระ เครื่องมือ / กลไกฝ่ายบริหาร กรมในสังกัด ยธ. แต่ขึ้นตรงต่อ รมว. ยธ. 3.ขอบเขต จนท.ของรัฐตั้งแต่ ผู้บริหาร ระดับสูง หรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ผอ.กอง หรือเทียบเท่า ขึ้นไป จนท.ของรัฐซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ชำนาญการพิเศษ ลงมา หรือ ทหาร/ตำรวจ ยศตั้งแต่ พ.ท./พ.ต.ท. ลงมา

14 เปรียบเทียบกลไกแก้ไขปัญหาการทุจริตระหว่าง ป.ป.ช. กับ ป.ป.ท.
ประเด็นเปรียบเทียบ หน่วยงาน คณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะ กก. ป.ป.ท.+สนง. ป.ป.ท. 4. อำนาจหน้าที่ ไต่สวนและวินิจฉัยคดี จนท. ของรัฐ ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ราชการ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ใน การยุติธรรม (รธน มาตรา 250 (3) ) ตรวจสอบข้อเท็จจริงการ ร้องเรียนและการใช้อำนาจ ของ จนท. ของรัฐโดยมิชอบ ไต่สวนและวินิจฉัยคดี จนท. ของรัฐกระทำการทุจริตใน ภาครัฐ (พรบ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551)

15 เหตุผลในการประกาศใช้ พรบ
เหตุผลในการประกาศใช้ พรบ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ คือ โดยที่ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสำคัญและเร่งด่วนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่ยังไม่มีส่วนราชการในส่วนของฝ่ายบริหารที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยตรง ทำให้รัฐบาลไม่สามารถกำกับดูแลและผลักดันเพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์กรอิสระที่มีอำนาจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐมีภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบจำนวนมาก สมควรที่จะมีส่วนราชการในฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบในการดำเนินการด้านนโยบายดังกล่าว และเป็นศูนย์กลางประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในฝ่ายบริหารสามารถดำเนินการในลักษณะบูรณาการและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตรา พรบ. นี้

16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 250 (3) ได้กำหนดกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ใหม่ ให้ไต่สวนและวินิจฉัยเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปกรณีร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม รวมทั้งดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับ

17 ต่ำกว่าที่ร่วมกระทำความผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งงดังกล่าว หรือกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือที่กระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเห็นสมควรดำเนินการด้วย ทั้งนี้ ตามพระราชพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

18 ลักษณะของพฤติการณ์หรือการ
กระทำที่เรียกว่า “ทุจริตในภาครัฐ” พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ มาตรา 3 กำหนดไว้ว่า “ทุจริตในภาครัฐ” หมายความว่า ทุจริตต่อหน้าที่ หรือประพฤติมิชอบในภาครัฐ

19 “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า
มาตรา 3 “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทำการอันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น

20 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กำหนดไว้ว่า
ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

21 พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ. ศ. 2551
พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ มาตรา 84 การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (1) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต มาตรา 97 ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

22 มาตรา 3 “ประพฤติมิชอบ” หมายความว่า ใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่มุ่งหมายจะควบคุมดูแลการรับ การเก็บรักษา หรือการใช้เงินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน

23 ตัวอย่าง การกระทำ”ประพฤติมิชอบ”
1. กรณี เรื่องแผนการจัดซื้อ จัดจ้าง 2. กรณี เรื่องการทำรายงานเสนอก่อนดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งต้องประกอบด้วย เหตุผล ความจำเป็น รายละเอียดของพัสดุ ราคามาตรฐานหรือราคากลาง วงเงินที่จะจัดหา วิธีการจัดหา และเหตุผลที่ต้องจัดหาด้วยวิธีการนั้นๆ 3. กรณี เรื่องการเผยแพร่ข่าวการสอบราคา/ ประกวดราคา

24 4. กรณี เรื่องการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง เพื่อ
หลีกเลี่ยงวิธีการตามที่ระเบียบฯกำหนด 5. กรณี เรื่องคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา และผู้มีอำนาจอนุมัติไม่พิจารณาทำสัญญากับผู้เสนอราคาต่ำสุด 6. กรณี เรื่องตรวจรับพัสดุโดยยังไม่ส่งมอบของและตรวจรับโดยพัสดุนั้นผิดคุณลักษณะที่กำหนดตามสัญญา

25 7. กรณี เรื่องคิดค่าปรับกรณีส่งมอบของ
เกินกำหนดต่ำกว่าสัญญา / ไม่ได้คิดค่าปรับ 8. กรณี เรื่องจ่ายเงินประกันสัญญาคืนก่อนกำหนด 9. กรณี เรื่องซื้อครุภัณฑ์เกินราคามาตรฐาน/ ซื้อครุภัณฑ์โดยกำหนดคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงเพื่อต้องการให้ได้สินค้า ที่พึงประสงค์

26 10. กรณี เรื่องการก่อหนี้ผูกพันล่วงหน้าโดยที่ยังไม่ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดหรือปราศจากอำนาจ
11. กรณี เรื่องผู้ควบคุมงานไม่ทำหน้าที่หรือทำหน้าที่บกพร่อง 12. กรณี เรื่องการสมยอมกันในการเสนอราคา

27 พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ. ศ. 2551
พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ มาตรา 82 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ (2) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ มาตรา 84 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา 81 และมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย มาตรา 85 การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (7) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง

28 กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ
สำนักงาน ป.ป.ท.

29 ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของสำนักงาน ป. ป. ท
ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของสำนักงาน ป.ป.ท. กับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ 1. ผอ.กองหรือเทียบเท่าขึ้นไปส่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการ ไต่สวนและวินิจฉัย 2. C8 ว ลงมาเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการไต่สวนและวินิจฉัย 3.รายงานผลต่อ นรม. /ครม. /รมว.ยธ. ทราบ 4. ส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ต่อไป วิธีการ 1. ตรวจสอบและ รวบรวมข้อมูลสาธารณะที่ปรากฏ 2. ขอความร่วมมือหน่วยงานและบุคคลส่งข้อมูล/เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3. วิเคราะห์และสังเคราะห์สิ่งที่พบ ที่มา เมื่อมีประชาชน ร้องเรียนหรือกล่าวหาจนท.รัฐ ทำการทุจริต 2.เมื่อมีเหตุต้องสงสัย 3.เมื่อ ครม./นรม./ รมว.ยธ. สั่งการหรือ มอบหมาย 4.เมื่อมีหน่วยงาน/ องค์กรอื่นใดของรัฐ ขอความร่วมมือให้ ตรวจสอบ

30 ป.ป.ท. จะรับไว้ไต่สวนข้อเท็จจริง
เรื่องร้องเรียนกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริตในภาครัฐที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะรับไว้ไต่สวนข้อเท็จจริง ต้องมีลักษณะอย่างไร? 1. ผู้ถูกร้องฯต้องมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้วไม่เกินกว่า 5 ปี 2. เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับที่ตำกว่า ผอ.กองลงมา 3. มีการกระทำหรือพฤติการณ์อันเป็นการทุจริต ในภาครัฐ 4. คดียังไม่ขาดอายุความ

31 กระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริง
ตามกฎหมาย ป.ป.ท.

32 สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องในการไต่สวนข้อเท็จจริง
ลักษณะของการไต่สวนข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่และ ที่ไม่อยู่ในอำนาจของ ป.ป.ท. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการ ไต่สวนข้อเท็จจริง คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทำงานแบบบูรณาการ รวมทั้งมีมาตรการคุ้มครอง ความปลอดภัยและมาตรการ สร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้แจ้ง เบาแส/ข้อมูล การทุจริต การทุจริตในภาครัฐ กรณีใดบ้างที่ต้องมีการ ไต่สวนข้อเท็จจริง อำนาจที่ใช้ในการไต่สวน ข้อเท็จจริง เรื่องที่ ป.ป.ท. ต้องส่ง ป.ป.ช. ดำเนินการ หรือเรื่องที่ไม่มีอำนาจ รับหรือพิจารณา ผู้ทำหน้าที่ไต่สวน ข้อเท็จจริง

33 - องค์ประกอบมีจำนวน 7 คน (ม.5)
คณะกรรมการ ป.ป.ท. - องค์ประกอบมีจำนวน 7 คน (ม.5) - คุณสมบัติของคณะกรรมการ ป.ป.ท.(ม.6) - ข้อห้ามของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ท.(ม.7) - วาระคราวละ 4 ปี รวมกันไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน (ม.8) - การพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ท.(ม.9) - กรรมการ ป.ป.ท. ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินตาม กฎหมาย ป.ป.ช. (ม.11)

34 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ท. (ม.17)
1. เสนอนโยบาย มาตรการ และแผนพัฒนา การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ต่อคณะรัฐมนตรี 2. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 3. เสนอแนะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.

35 4. ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลเกี่ยวกับการกระทำการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
5. ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งความเห็นส่งพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีอาญา ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ 6. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีเสนอต่อ คณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบด้วย

36 7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามที่
คณะกรรมการ ป.ป.ท. มอบหมาย 8.ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หรือการอื่นใด เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตใน ภาครัฐตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย

37 การไต่สวนข้อเท็จจริง
หมายความว่า แสวงหา รวบรวม และดำเนินการอื่นใดเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการที่จะทราบรายละเอียดและพิสูจน์เกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

38 มาตรา 3 “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่ไม่รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐดังต่อไปนี้ (1) ผู้บริหารระดับสูง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

39 (2) ผู้พิพากษาและตุลาการ
(3) พนักงานอัยการ (4) ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วย ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกท้องถิ่นขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (5) เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของศาล รัฐสภา องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระจากการ ควบคุมหรือกำกับของฝ่ายบริหารที่จัดตั้งขึ้นตาม รัฐธรรมนูญ

40 (6) เจ้าหน้าที่ของรัฐในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(7) เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระทำความผิดในลักษณะที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดำเนินการตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด (8) เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งร่วมกระทำความผิดกับบุคคลตาม(1) (2) (3) (4) (5) (6) และ (7)

41 กรณีใดบ้างจึงจะดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง
มาตรา 23 ภายใต้บังคับมาตรา 25 และมาตรา 26 เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการไต่สวนโดยเร็ว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการป.ป.ท. กำหนด (1) เมื่อได้รับการกล่าวหาตามมาตรา 24 (2) เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำการทุจริตในภาครัฐ

42 (3) เมื่อได้รับเรื่องจากพนักงานสอบสวนตามมาตรา 30
(4) เมื่อได้รับเรื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง บทบัญญัติตามวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลอื่นเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วย

43 มาตรา 24 การกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า
กระทำการหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตในภาครัฐ จะทำด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้ ในกรณีที่กล่าวหาด้วยวาจา ให้พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. บันทึกคำกล่าวหาและจัดให้ลงลายมือชื่อผู้กล่าวหาในบันทึกการกล่าวหานั้นไว้ และในกรณีที่ผู้กล่าวหาไม่ประสงค์จะเปิดเผยตน ห้ามมิให้พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.เปิดเผยชื่อหรือที่อยู่ รวมทั้งหลักฐานอื่นใดที่เป็นการสำแดงตัวของผู้กล่าวหา

44 ในกรณีที่กล่าวหาเป็นหนังสือ ผู้กล่าวหาจะต้องลงชื่อและที่อยู่ของตน แต่หากผู้กล่าวหาจะไม่ลงชื่อและที่อยู่ของตนต้องระบุพฤติการณ์แห่งการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งถูกกล่าวหาและพยานหลักฐานเบื้องต้นไว้ให้เพียงพอที่จะดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้

45 มาตรา 25 ให้คณะกรรมการ ป. ป. ท
มาตรา 25 ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ส่งเรื่องกล่าวหาที่รับไว้ดังต่อไปนี้ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไป (1) เรื่องกล่าวหาบุคคลซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (2) เรื่องกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่ากระทำความผิดร่วมกับบุคคลซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (3) เรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งให้ส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณา

46 ในกรณีเรื่องกล่าวหาตาม (3) ถ้าคณะกรรมการ ป. ป. ท
ในกรณีเรื่องกล่าวหาตาม (3) ถ้าคณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงไว้แล้ว ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท.ส่งสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะถือสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือจะดำเนินการ ไต่สวนข้อเท็จจริงใหม่ก็ได้

47 มาตรา 26 ห้ามมิให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. รับหรือพิจารณาเรื่องดังต่อไป
(1) เรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับไว้พิจารณาหรือได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้ว (2) เรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้ว และไม่มีพยานหลักฐานใหม่ซึ่งเป็นสาระสำคัญของคดี (3) เรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในประเด็นเดียวกันและศาลประทับฟ้องหรือพิพากษาหรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้วโดยไม่มีการถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง หรือเป็นกรณีที่ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดี (4) เรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนถูกกล่าวหาเกินกว่าห้าปี

48 มาตรา 30 ในกรณีที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ อันเนื่องมาจากการกระทำการทุจริตในภาครัฐ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษเพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไป ในการนี้คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเสียก่อนและส่งสำนวนการสอบสวนให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยคณะกรรมการ ป.ป.ท. จะถือว่าสำนวนการสอบสวนดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ก็ได้

49 มาตรา 32 คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะแต่งตั้งคณะ อนุกรรมการเพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงแทน หรือมอบหมายให้ พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ดำเนินการแสวงหาข้อมูลและรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือมูลความผิดก็ได้ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและระดับและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหาด้วย คณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่นั้น การปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

50 อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 60 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ อนุกรรมการ พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ในการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ อนุกรรมการ พนักงาน ป.ป.ท. เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ โดยให้มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนด้วย เว้นแต่อำนาจในการจับและคุมขัง ให้แจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ดำเนินการ

51 อำนาจพิเศษตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551
1. หนังสือสอบถาม หรือเรียกให้สถาบันการเงิน ส่วนราชการ องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ส่งเจ้าหน้าที่มาชี้แจง หรือส่งเอกสาร รวมทั้งเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจง หรือเอกสารเพื่อประกอบการไต่สวนหรือพิจารณาได้ (ม.18(1) (2))

52 ในการไต่สวนและการพิจารณา(ม.19)
2. มีอำนาจขอให้ศาลออกหมายค้น (ม.18 (3)) 3. ขอให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนหรือเข้าร่วมปฏิบัติงาน (ม.18(4)) แจ้งให้หน่วยงานใดจัดให้กรรมการหรืออนุฯเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับผู้กล่าวหาหรือบุคคลอื่น ที่มีเหตุเกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหาได้ เพื่อประโยชน์ ในการไต่สวนและการพิจารณา(ม.19)

53 มีการสนธิกำลังบุคลากร/หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมทำงานด้วยกัน
มาตรา 18 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 17(4) และ (5)ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (1) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกให้สถาบันการเงินส่วนราชการ องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ส่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งบัญชีเอกสารหรือหลักฐานใดๆ มาเพื่อไต่สวนหรือเพื่อประกอบการพิจารณา

54 (2) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งบัญชีเอกสารหรือหลักฐานใดๆ มาเพื่อไต่สวนหรือเพื่อประกอบการพิจารณา (3) ดำเนินการขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจออกหมายเพื่อเข้าไปในเคหะสถาน สถานที่ทำการหรือสถานที่อื่นใด รวมทั้งยานพาหนะของบุคคลใดๆ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาที่มีการประกอบกิจการเพื่อตรวจสอบ ค้น ยึด หรืออายัด เอกสาร ทรัพย์สิน หรือพยานหลักฐานอื่นใดซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไต่สวนข้อเท็จจริง และหากยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จในเวลาดังกล่าวให้สามารถดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะแล้วเสร็จ

55 (4) ขอให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐให้ความช่วยเหลือสนับสนุนหรือเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม โดยให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐปฏิบัติการตามที่ขอได้ตามสมควรแก่กรณี คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจมอบหมายให้อนุกรรมการ พนักงาน ป.ป.ท. ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ท.กำหนด

56 มีการนำผู้แทนภาคประชาชนเข้ามาร่วมเป็นคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง
มาตรา 33 เพื่อประสิทธิภาพในการไต่สวนข้อเท็จจริง คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจแต่งตั้งผู้แทนภาคประชาชนเข้าร่วมในคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงก็ได้ การได้มาซึ่งผู้แทนภาคประชาชนที่จะแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนดขึ้น โดยให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้แทนภาคประชาชนที่ได้รับการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค่าเดินทาง ที่พัก และสิทธิประโยชน์อื่น ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง

57 มีการนำผู้มีประสบการณ์มาช่วยเหลือในการไต่สวนข้อเท็จจริง
มาตรา 34 คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจแต่งตั้งบุคคลเป็นที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือคณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงหรือ ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มอบหมายแล้วแต่กรณี การแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ป.ป.ท.กำหนด โดยให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค่าเดินทาง ที่พัก และสิทธิประโยชน์อื่น ตามระเบียบ กระทรวงยุติธรรม โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง

58 มีมาตรการคุ้มครองความปลอดภัย/มาตรการในการสร้างขวัญและกำลังใจ แก่ ผู้แจ้งเบาะแส/ข้อมูลการทุจริตภาครัฐ
การคุ้มครองพยาน การให้รางวัลหรือประโยชน์อื่นใด การเลื่อนขั้นเงินเดือนและระดับตำแหน่ง เป็นกรณีพิเศษ การจัดย้ายหน่วยงานให้กับข้าราชการ ที่เป็นพยาน การกันผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิดไว้เป็น พยาน

59 มีมาตรการคุ้มครองพยานผู้ให้ข้อมูลหรือแจ้งเบาะแส
มาตรา 53 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ สำนักงานอาจจัดให้มีมาตรการคุ้มครองเบื้องต้นสำหรับผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ทำคำร้อง ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ให้ถ้อยคำหรือ ผู้ที่แจ้งเบาะแส หรือข้อมูลใดเกี่ยวกับการทุจริต ในภาครัฐ หรือข้อมูลอื่นอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด

60 มาตรา 54 ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นว่า
คดีใดสมควรให้จัดให้มีมาตรการคุ้มครองช่วยเหลือแก่บุคคลตามมาตรา 53 ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้มีมาตรการในการคุ้มครองบุคคลดังกล่าว โดยให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นพยานที่มีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญา ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. เสนอความเห็นด้วยว่าสมควรใช้มาตรการทั่วไป หรือมาตรการพิเศษตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญาสำหรับบุคคลดังกล่าวด้วย

61 ในกรณีเกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย ชื่อเสียง ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือสามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลดังกล่าว เพราะมีการกระทำผิดอาญาโดยเจตนา เนื่องจากการดำเนินการหรือการให้ถ้อยคำ หรือแจ้งเบาะแส หรือข้อมูลต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้บุคคลนั้นมีสิทธิยื่นคำร้องต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อขอรับค่าตอบแทนเท่าที่จำเป็นและสมควรตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญาด้วย

62 มีมาตรการจัดรางวัลตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใด สำหรับผู้ให้ข้อมูลหรือแจ้งเบาะแส
มาตรา 55 คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจจัดให้มีรางวัลตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดแก่บุคคลตามมาตรา 53 ตามระเบียบที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด

63 มีมาตรการยกย่องเป็นแบบอย่าง และเลื่อนขั้นเงินเดือน/ตำแหน่งเป็นกรณีพิเศษ
มาตรา 56 ในกรณีบุคคลตามมาตรา 53 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นว่าการดำเนินการหรือให้ถ้อยคำ หรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลของบุคคลดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างยิ่ง และสมควรได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนโดยทั่วไป คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน และระดับตำแหน่งให้แก่บุคคลนั้นเป็นกรณีพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

64 มีมาตรการจัดย้ายหน่วยงานให้กับพยานที่เป็นข้าราชการ
มาตรา 57 ในกรณีบุคคลตามมาตรา 53เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเมื่อบุคคลนั้นร้องขอต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. ว่า หากยังคงปฏิบัติหน้าที่ในสังกัดเดิมต่อไป อาจถูกกลั่นแกล้งหรือได้รับการปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม อันเนื่องจากการกล่าวหาหรือการให้ถ้อยคำ หรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลนั้นและคณะกรรมการ ป.ป.ท. พิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าน่าจะมีเหตุดังกล่าว ให้เสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการให้ได้รับความคุ้มครองหรือมีมาตรการอื่นใดตามที่เห็นสมควรต่อไป

65 มีมาตรการกันผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิดไว้เป็นพยาน
มาตรา 58 บุคคลหรือผู้ถูกกล่าวหารายใดซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็น ผู้ถูกกล่าวหารายอื่น หากได้ให้ถ้อยคำหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญในการที่จะใช้เป็นพยานในการวินิจฉัยชี้มูลการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐรายอื่นนั้น หากคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นสมควรจะกันผู้นั้นไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดีก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด

66 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการไต่สวนข้อเท็จจริง
1. การดำเนินการทางวินัย 2. การดำเนินคดีอาญา 3. การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน 4. การเพิกถอนคำสั่งทางการปกครอง

67 การดำเนินการทางวินัย
มาตรา40 เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำการทุจริตในภาครัฐ และเป็นกรณีมีมูลทางวินัย ให้ประธานกรรมการส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาผู้นั้น เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ในการพิจารณาโทษทางวินัยแก่ผู้ถูกกล่าวหา ให้ถือว่ารายงาน

68 เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป. ป. ท
เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นสำนวนการสอบสวนวินัย ตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ แล้วแต่กรณี สำหรับผู้ถูกกล่าวหาซึ่งไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับวินัย เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท.มีมติว่า ผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าวได้กระทำผิดในเรื่องที่กล่าวหา ให้ประธานกรรมการ ส่งรายงานและเอกสาร ที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

69 มาตรา 41 เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา 40
ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนพิจารณาลงโทษภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ รับเรื่องและให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนส่งสำเนาคำสั่งลงโทษดังกล่าวไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทราบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ออกคำสั่ง

70 มาตรา 42 ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ใดละเลยไม่ดำเนินการตามมาตรา 41 ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้นั้นกระทำความผิดวินัยหรือกฎหมายตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ

71 มาตรา 43 ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูก กล่าวหาไม่ดำเนินการทางวินัยตามมาตร 41 หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยของผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 41ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. เสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควรหรือในกรณีที่จำเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ท. จะส่งเรื่องให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วย

72 ระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือคณะกรรมการอื่นซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการ บริหางานบุคคลสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือคณะกรรมการที่ทำหน้าที่บริหารรัฐวิสาหกิจ หรือผู้สั่งแต่งตั้งกรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณี พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้มีการดำเนินการ ที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไปก็ได้

73 มาตรา 44 ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษตามมาตรา 41 จะใช้สิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดโทษของผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ ก็ได้ ทั้งนี้ ต้องใช้สิทธิดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งดังกล่าว

74 การดำเนินคดีอาญา มาตรา 45 ในกรณีที่การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 40 เป็นความผิดทางอาญาด้วย ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ส่งเรื่องพร้อมทั้งสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง รายงาน เอกสารและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้พนักงานอัยการดำเนินคดีต่อไป โดยให้ถือว่าการดำเนินการและสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นการสอบสวนและสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

75 ในกรณีที่พนักงานอัยการมีความเห็นว่าข้อเท็จจริง รายงาน เอกสาร หรือความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ที่ได้รับยังไม่ สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีได้ ให้พนักงานอัยการแจ้งให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทราบเพื่อไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม โดยให้ระบุข้อที่ไม่สมบรูณ์นั้นให้ครบถ้วนในคราวเดียวกัน ในกรณีจำเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ท จะร่วมกับอัยการสูงสุดตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมก็ได้

76 ในกรณีที่พนักงานอัยการเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง
แต่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติยืนยันให้ฟ้อง ให้ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดวินิจฉัย คำวินิจฉัยของอัยการสูงสุดให้เป็นที่สุด บทบัญญัติในมาตรานี้ให้นำมาใช้บังคับในกรณีที่พนักงานอัยการยื่นอุทธรณ์ ฎีกา หรือถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์ ถอนฎีกา โดยอนุโลม

77 มาตรา 46 ในกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องและจำเป็นต้องนำผู้ถูกกล่าวหาไปศาลให้แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหามาพบพนักงานอัยการตามเวลาที่กำหนด และในกรณีมีความจำเป็นต้องจับตัวผู้ถูกกล่าวหา ให้พนักงานอัยการแจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่ผู้ถูกกล่าวหามีภูมิลำเนาหรือที่อยู่เป็นผู้ดำเนินการ

78 และเพื่อการนี้ให้ผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนเจ้าหน้าที่รัฐผู้ถูกกล่าวหา พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดังกล่าว มีอำนาจร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่นั้นให้ออกหมายจับได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติเรื่องการจับ การขังและการปล่อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับ ในกรณีที่มีการจับกุม ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจส่งตัวผู้ถูกจับพร้อมทั้งบันทึกการจับไปยังศาลแล้วแจ้งให้พนักงานอัยการทราบภายใน 48 ชั่วโมง

79 มาตรา 47 กรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นข้าราชการทหาร ในการดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 45 ให้พนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องคดี โดยถือเป็นอัยการทหารตามกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลทหารหรือจะมอบหมายให้อัยการทหารเป็นผู้ฟ้องคดีแทนก็ได้

80 การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน
มาตรา 48 ในการไต่สวนข้อเท็จจริง ถ้าคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นควรตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่รัฐผู้ถูกกล่าวหา และเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ขอความร่วมมือจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ส่งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นไว้มาให้ตรวจสอบได้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหามิได้เป็นผู้ที่

81 ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้ต่อคณะกรรมการ ป. ป. ช
ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท มีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตามรายการและภายในเวลาที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนดได้ ในการไต่สวนตามวรรคหนึ่งหรือในกรณีอื่นใดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท.มีเหตุอันควรสงสัยว่าเจ้าหน้าที่

82 ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้ส่งเรื่องทั้งหมดพร้อมทั้งสำนวน การไต่สวนและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ในกรณีเช่นนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะถือเอาสำนวนการ ไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยจะไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมด้วยหรือไม่ ก็ได้

83 ในกรณีที่คณะกรรมการ ป. ป. ช
ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนแล้ว เห็นว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นมิได้ร่ำรวยผิดปกติหรืออมิได้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ แต่มีกรณีต้องดำเนินการเกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะส่งเรื่องคืนให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ หรือจะไต่สวนและชี้มูลตามอำนาจหน้าที่ของตนต่อไปก็ได้

84 การเพิกถอนคำสั่งทางการปกครอง
มาตรา 49 ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติว่าข้อกล่าวหาใดมีมูลนอกจากดำเนินการตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 แล้ว หากปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาได้อนุมัติ อนุญาตออกเอกสารสิทธิ ให้สิทธิประโยชน์หรือการสั่งการใดๆ แก่บุคคลใดโดยมิชอบ หรืออาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. แจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการอนุมัติ อนุญาต ออกเอกสารสิทธิ ให้สิทธิประโยชน์ หรือการสั่งการใดๆ นั้น ต่อไปด้วย

85 นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง
กับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รัฐบาลชุดปัจจุบันที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายก รัฐมนตรีได้แถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๙ ธ.ค. ๒๕๕๑ มีนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริต คือ - ให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่ ล้าสมัยและเปิดช่องให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบหรือทำ ให้เกิดประโยชน์ทับซ้อน - ออกกฎหมายใหม่ๆเพื่อป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ ขยายและยกเลิกอายุความในคดีอาญา บางประเภทและคดีทุจริต - ปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในทุกระดับ อย่างจริงจัง

86 - สนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสตรวจสอบ
นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับ การป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ต่อ) - สนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐมากขึ้น - ส่งเสริมคุณธรรมคู่ความรู้ทั้งในและนอก สถานศึกษาเพื่อปลูกฝังค่านิยม“คนไทยต้องไม่โกง”

87 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๕ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ เสริมสร้างจิตสำนึก ค่านิยม ให้หน่วยงาน ภาครัฐบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์ที่ ๒ บูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วนในการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ เสริมสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐในการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ

88 มาตรการแนวทางในการดำเนินงานเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ตามมติคณะกรรมการขับเคลื่อนวันที่ ๒๖ ก.พ. ๒๕๕๓ 1. มาตรการปลูกจิตสำนึก สร้างค่านิยมใหม่ สังคมไทย ต้านภัยการทุจริต ๒. มาตรการสร้างเครือข่ายเพื่อเฝ้าระวังให้ครอบคลุม ทุกพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชัน 3. มาตรการสร้างกลไกรองรับเรื่องร้องเรียน และมาตรการ ตรวจสอบติดตามการปฏิบัติต่อข้อร้องเรียนเพื่อบรรเทความเดือดร้อนของประชาชน

89 มาตรการแนวทางในการดำเนินงานเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ตามมติคณะกรรมการขับเคลื่อนวันที่ ๒๖ ก.พ. ๒๕๕๓ 4. มาตรการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการกระทำความผิด ทุจริตคอร์รัปชันเพื่อนำสู่การปฏิรูปกระบวนการของหน่วยงานภาครัฐ 5. มาตรการยกระดับมาตรฐานหน่วยงานเพื่อก้าวไปสู่ องค์กรความโปร่งใส (ISO) ๖. มาตรการสร้างกลไกคุ้มครองนักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติจากการทุจริตคอร์รัปชัน

90 พระราชทานแก่คณะผู้ว่าซีอีโอ ๗๕ จังหวัด ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน
พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะผู้ว่าซีอีโอ ๗๕ จังหวัด ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ “…ต้องเป็นคนที่สุจริต ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียว ก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไป พูดอย่างนี้หยาบคาย แต่ว่าขอให้มีอันเป็นไป และถ้าทำแต่สิ่งที่สุจริตด้วยความตั้งใจ มุ่งมั่นสร้างความเจริญ ก็ขอให้ต่ออายุได้ถึง ๑๐๐ ปี ส่วนคนไหนมีอายุมากแล้ว ขอให้แข็งแรง ความสุจริตจะทำให้ประเทศไทยรอดพ้นอันตราย…”

91 ...ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวกับทุกท่านว่า การทะนุบำรุงประเทศชาตินั้น มิใช่เป็นหน้าที่ของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ หากเป็นภาระความรับผิดชอบของคนไทยทุกคน ที่จะต้องขวนขวายกระทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อธำรงรักษาไว้ และพัฒนาชาติบ้านเมือง ให้เจริญมั่นคงและผาสุกร่มเย็น ข้าพเจ้า...ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง จึงมีภาระหน้าที่เช่นเดียวกับคนไทยทั้งมวล...

92 จบการนำเสนอ ขอขอบคุณ

93 พบเห็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการทุจริต หรือ ประพฤติมิชอบ
สำนักงาน ป.ป.ท. อาคารกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี โทร โทรสาร โปรดส่งข้อมูลมายัง


ดาวน์โหลด ppt การป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google