ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
หมวด 3 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน
หมวด 3 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน ลูกหนี้อาจมีเจ้าหนี้หลายคนต่างมูลหนี้กัน มาตรา มูลแห่งหนี้ วัตถุแห่งหนี้ และกำหนดเวลาชำระหนี้อันหนึ่งอันใด ลูกหนี้ร่วมกันหลายคน เจ้าหนี้ร่วมกันหลายคน
2
ประเด็นเบื้องต้นที่น่าสนใจคือ
นักศึกษาคิดว่า “การมีลูกหนี้ร่วม หรือเจ้าหนี้ร่วม” มีประโยชน์หรืออาจก่อให้เกิดปัญหากับอีกฝ่ายหนึ่งหรือภายในระหว่างกันหรือไม่ อย่างไร? ประเด็นเบื้องต้นที่น่าสนใจคือ ความเป็นลูกหนี้ร่วมหรือเจ้าหนี้ร่วมอาจเกิดได้จากโดยผลของ “สัญญา” และ “กฎหมายบัญญัติ” หนี้ที่แบ่งแยกได้ กับ หนี้ที่แบ่งแยกไม่ได้ต่างมีผลต่อสิทธิหน้าที่ความรับผิดระหว่างลูกหนี้ร่วมกับเจ้าหนี้ร่วม แม้กรณีมีบุคคลหลายคนเป็น “ลูกหนี้” หรือ “เจ้าหนี้” อาจไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบ ลูกหนี้ร่วม หรือ เจ้าหนี้ร่วม
3
กรณีที่ไม่ใช่ลูกหนี้ร่วม
นักศึกษาห้าคนร่วมกันสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในคราวเดียวกันโดยแจ้งกับผู้ขายว่าให้ใส่กล่องแยกชิ้นและเขียนแจ้งด้วยว่าของใครชิ้นไหนแต่ให้รวมไว้ในกล่องเดียวกันตอนที่ส่งมา เมื่อสินค้ามาถึงนักศึกษาทั้งห้าคนโดยเรียบร้อย แต่นักศึกษากลับไม่โอนเงินชำระหนี้ตามสัญญา (ดูเจตนาและความผูกพันแล้วแจ้งชัดว่าประสงค์จะแยกกันรับผิด กรณีนี้ปรากฎแจ้งชัดว่ารับผิดในราคาสินค้าตามชิ้นที่แต่ละคนสั่งซื้อมาโดยพิจารณาจากการแยกบรรจุภัณฑ์ จึงไม่ต้องบังคับใช้มาตรา 290 แต่ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยก็ให้สันนิษฐานว่ารับผิดคนละส่วนเท่าๆกัน) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2523 ส. ในนามของบริษัทลูกหนี้กับในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. และในฐานะส่วนตัวได้ทำสัญญาจ้างผู้ขอรับชำระหนี้เป็นทนายแก้ต่างในคดีแพ่ง 2 คดี เป็นเงินค่าจ้างจำนวนหนึ่งคดีแรกเป็นคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และส. ถูกฟ้องเป็นจำเลย คดีหลังเป็นคดีที่บริษัทลูกหนี้และ ส. ถูกฟ้องเป็นจำเลย ผู้ขอรับชำระหนี้ได้เข้าเป็นทนายความให้บริษัทลูกหนี้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และส. ทั้ง 2 คดีจนเสร็จสิ้นแล้ว หนี้ค่าจ้างว่าความจำนวนตามสัญญาดังกล่าวเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระได้ และมีบุคคลหลายคนเป็นลูกหนี้ คือบริษัทลูกหนี้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และส.เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการกำหนดไว้ว่าลูกหนี้ทั้งสามจะต้องรับผิดร่วมกันในจำนวนหนี้ทั้งหมด แต่ได้มีการระบุในสัญญาว่าค่าจ้างว่าความนั้นคิดห้าเปอร์เซ็นต์จากจำนวนทุนทรัพย์ของทั้ง 2 คดี เจตนาของคู่กรณีจึงอาจต้องการคิดค่าจ้างว่าความโดยคำนวณจากทุนทรัพย์ของแต่ละคดีแยกจากกันก็ได้ ถึงแม้จะทำสัญญาจ้างว่าความเป็นฉบับเดียวกันก็ตาม กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา290 คือลูกหนี้แต่ละคนต้องรับผิดเพียงเป็นส่วนละเท่าๆ กัน มาตรา 290 ถ้าการชำระหนี้เป็นการอันจะแบ่งกันชำระได้และมีบุคคลหลายคนเป็นลูกหนี้ก็ดี มีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ก็ดี เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านว่าลูกหนี้แต่ละคนจะต้องรับผิดเพียงเป็นส่วนเท่าๆ กันและเจ้าหนี้แต่ละคนก็ชอบที่จะได้รับแต่เพียงเป็นส่วนเท่าๆ กัน ม.290 นี้เป็นการสันนิษฐานในเรื่อง “หนี้ทั่วไป” ที่ไม่มีลักษณะความสัมพันธ์ในอันจะชดใช้หนี้ร่วมกัน ดังนั้นเมื่อสงสัยจึงให้รับผิด หรือได้สิทธิ(ในฐานะเจ้าหนี้)คนละส่วนเท่าๆกัน
4
องค์ประกอบความเป็น “ลูกหนี้ร่วม”
มาตรา 291 องค์ประกอบความเป็น “ลูกหนี้ร่วม” ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิงไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียวก็ดี เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกแต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิง บุคคลหลายคนเป็น “ลูกหนี้” (ไม่ว่าเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ต้องเป็น “หนี้รายเดียวกัน” (มูลหนี้เดียวกัน หรือมูลหนี้คนละส่วนแต่อาศัยกันอยู่ เช่น ผู้เอาประกันภัยกับผู้รับประกันค้ำจุน หรือลูกหนี้ชั้นต้น กับ ผู้ค้ำประกัน ( แต่ ม.681/1 แก้ไขปี 57 ให้ข้อตกลงที่กำหนดให้ผู้ค้ำรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเป็นโมฆะ) ลูกหนี้แต่ละคนมีหน้าที่ต้องชำระหนี้โดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว หรือแต่บางส่วนตามแต่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเลือกให้ใครชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน
5
ลักษณะความรับผิดลูกหนี้ร่วม
เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งจากบรรดาลูกหนี้ร่วมชำระหนี้ทั้งหมดแต่เพียงคนเดียวก็ได้ หรือเลือกให้แต่ละคนชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนก็ได้ แต่ตราบใดที่หนี้ยังไม่ถูกชำระหนี้ทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ลูกหนี้ร่วมทั้งหมดยังคงต้องร่วมกันรับผิดต่อเจ้าหนี้ ลูกหนี้ร่วมทุกคนไม่อาจอ้างว่าตนได้ชำระหนี้ไปแล้วตามที่เจ้าหนี้เรียกร้องไปแล้วจึงไม่ควรต้องชำระหนี้ส่วนที่เหลืออีก และควรไปเรียกร้องจากลูกหนี้ร่วมคนอื่นเพื่อความเป็นธรรมหรือด้วยเหตุใดๆก็ตาม บทบัญญัตินี้เป็นเพียงบัญญัติถึง “ความสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้ทั้งหลาย(ฝ่ายหนึ่ง)กับเจ้าหนี้(ฝ่ายหนึ่ง)” ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้ด้วยกันเองนั้นอาจแตกต่างออกไปได้ ลักษณะความรับผิดลูกหนี้ร่วม มาตรา 291 ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิงไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว (กล่าวคือลูกหนี้ร่วมกัน) ก็ดี เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิง หรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิง
6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2534 (หนี้รายเดียวกัน. ) การที่ ด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2534 (หนี้รายเดียวกัน?) การที่ ด.บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเป็นเพราะจำเลยกับส.ต่างประมาท มิใช่เป็นการร่วมกระทำละเมิด เมื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายอันเดียวกัน จึงเป็นกรณีบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งแยกจากกันชำระมิได้ ผู้กระทำละเมิดทุกคนต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 301 ประกอบมาตรา 291 ศาลจะวินิจฉัยว่าจำเลยประมาทน้อยกว่า ส.จึงให้จำเลยรับผิดเพียง3 ใน 10 ส่วน ตามความร้ายแรงแห่งละเมิดหาได้ไม่ เพราะด.มิได้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ผู้กระทำละเมิดแต่ละคนจะรับผิดมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องระหว่างผู้กระทำละเมิดด้วยกันเอง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5284/2540 (หนี้รายเดียวกัน?) จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างทำของ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ละเมิด แม้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำนวนเดียวกันแต่ก็เป็นความรับผิดที่ต่างต้องรับผิดในความเสียหายเดียวกันเท่านั้น จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ได้ (จำเลย1ผู้รับเหมาะสร้างฝายน้ำล้น จำเลย 3-5 กรรมการควบคุมงานก่อสร้าง จำเลยที่ 6 วิศวะกรควบคุมงานบกพร่องหน้าที่ทำให้ฝายน้ำล้นพักเสียหายภายในระยะประกันงาน 1 ปี)
7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5559/2555 (หนี้รายเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5559/2555 (หนี้รายเดียวกัน?)ผู้เอาประกันภัยกับจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงกันว่าอุณหภูมิภายในตู้สินค้าห้องเย็นต้องอยู่ในระดับ ลบ 24 องศาเซลเซียส เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถดูแลรักษาอุณหภูมิสินค้าให้เป็นไปตามที่ตกลงไว้ จึงเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา ทำให้สินค้าไม่ได้มาตรฐานสินค้าแช่แข็งส่งออกของผู้เอาประกันภัยซึ่งอาจมีมาตรฐานสูงกว่ามาตรฐานของกรมปศุสัตว์หรือเจ้าของสินค้ารายอื่น จำเลยที่ 1 จะอ้างมาตรฐานของกรมปศุสัตว์มากล่าวอ้างให้ไม่ต้องรับผิดชอบตามสัญญาไม่ได้ พนักงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับรถเฉี่ยวชนตู้สินค้าห้องเย็นที่บรรจุสินค้าจนชำรุดอันเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าในตู้โดยตรง ทั้งจำเลยที่ 2 ย่อมทราบดีว่าสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าห้องเย็นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่รักษาอุณหภูมิภายในตู้ให้ได้ตามที่กำหนดไว้เสมอ เมื่อจำเลยที่ 2 ทำให้ตู้สินค้าห้องเย็นนี้เสียหายก็มีหน้าที่ต้องแก้ไขซ่อมแซมเพื่อป้องกันมิให้สินค้าเสียหาย หากจำเลยที่ 2 รีบซ่อมแซมอย่างเหมาะสมด้วยวิธีเพียงใช้แผ่นโลหะปะเข้าแทนที่ในส่วนที่ผนังตู้ขาดด้านนอกแล้วยึดแผ่นโลหะด้วยวิธียิงด้วยเครื่องยิงหมุดแล้วฉีดโฟมเข้าไปในช่องว่างระหว่างโลหะด้านในและด้านนอกเฉพาะจุดที่ฉีกขาดนั้น อันเป็นวิธีการดังที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ให้ความเห็นไว้ในบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงว่า สามารถทำได้โดยง่าย ใช้เวลาเพียง 10 นาที เท่านั้น ก็น่าเชื่อว่าจะบรรเทาความเสียหายได้มาก แต่จำเลยที่ 2 กลับปล่อยให้ตู้สินค้าห้องเย็นมีส่วนที่ชำรุดถึงโลหะชั้นในและไม่มีฉนวนกันความร้อนเป็นเวลานานถึง 10 ชั่วโมง พนักงานของจำเลยที่ 2 จึงมาช่วยซ่อมแซมตู้สินค้าห้องเย็น แต่ก็ทำเพียงนำแผ่นฟอยล์ซึ่งมีเพียงแถบกาวมาปิดทับผนังตู้สินค้าห้องเย็นตรงที่ได้รับความเสียหายเท่านั้น ซึ่งเห็นได้ว่าไม่ใช่วิธีการแก้ไขที่ถูกต้อง ส่วนจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลรักษาตู้สินค้าห้องเย็นให้สินค้าของผู้เอาประกันภัยอยู่ในสภาพที่ดีมีอุณหภูมิที่ตั้งค่า ลบ 24 องศาเซลเซียส ได้ทราบเหตุตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2546 ก็ดำเนินการเพียงแจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบ และร่วมกับพนักงานของจำเลยที่ 2 นำแผ่นฟอยล์ซึ่งมีแถบกาวไปปิดตู้สินค้าห้องเย็นตรงที่ได้รับความเสียหายเท่านั้น หลังจากนั้นได้แต่ตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องทำความเย็น โดยไม่ดำเนินการเยียวยาอย่างอื่น ถือได้ว่ายังไม่ได้กระทำการให้เพียงพอแก่หน้าที่ในอันที่จะรักษาอุณหภูมิสินค้าให้ได้ตามที่สัญญาไว้ อันถือได้ว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ด้วยเช่นกัน
8
คำพิพากษาฎีกาที่ 534/2534 จำเลยซึ่งขับรถยนต์โดยสาร กับ ส
คำพิพากษาฎีกาที่ 534/2534 จำเลยซึ่งขับรถยนต์โดยสาร กับ ส. ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายนั่งซ้อนท้ายมาต่างประมาทด้วยกัน มิใช่เป็นการร่วมกันกระทำละเมิด ผู้ตายมิได้มีส่วนทำความผิดด้วย และความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายอันเดียวกันเป็นหนี้อันจะแบ่งแยกจากกันชำระมิได้ ผู้ทำละเมิดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม (ป.พ.พ มาตรา 301ประกอบมาตรา 291) จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยกับ ส. จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับ ส. ด้วยกันเอง
9
คำพิพากษาฎีกาที่ 3558/2537 จำเลยที่ 1 เป็นคนขับรถยนต์คันหนึ่ง จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 3 และเป็นคนขับรถยนต์อีกคันหนึ่งซึ่งได้เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 ในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 1ขับรถยนต์เฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2เป็นคนขับในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3เป็นเหตุให้รถยนต์จำเลยที่ 2 เสียหลักแล่นไปชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้จนได้รับความเสียหาย โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วจึงรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องจำเลย แม้จะได้ความว่าเหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ด้วยเท่าๆกับความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ที่โจทก์ได้เอาประกันภัยไว้จึงต้องถือว่า จำเลยที่ 1และ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างและจำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในผลแห่งละเมิดดังกล่าวทั้งหมดเช่นกัน และโดยสิ้นเชิง
10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2545
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/ (เลือกฟ้องใครก็ได้ ไม่ฟ้องใครก็ได้) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างซึ่งได้กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายจนต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก จึงเป็นกรณีที่บุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิง แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สินเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 (วางหลักพร้อมคำอธิบายหลักที่สำคัญสำหรับการวินิจฉัยกรณีนี้) สำหรับกรณีของจำเลยก็เช่นเดียวกัน(เพราะอะไร...แวะอธิบายตรงนี้นิดนึงจะ Perfect)ถือว่า(ข้อสรุปประเด็น)เป็นลูกหนี้ร่วมกับ ธ. ลูกจ้างผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยหรือ ธ. ลูกจ้างผู้ทำละเมิดคนใดคนหนึ่งได้โดยลำพังเพียงคนเดียวโดยไม่ฟ้อง ธ. ลูกจ้างผู้ทำละเมิดเป็นจำเลยด้วยก็ย่อมทำได้ ไม่ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2509 หนี้รายเดียวกันแต่มีผู้จำนองหลายรายถือว่าเป็นหนี้ร่วม เพราะ เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากผู้จำนองคนใดโดยสิ้นเชิงหรือโดยส่วนก็ได้ตามหลักมาตรา (วินิจฉัย)ดังนั้นโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิง หรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 จำเลยจะอ้างว่าหนี้จำนองรายนี้ซึ่งเป็นหนี้ร่วม โจทก์จะต้องฟ้องบังคับจำนองร่วมกันไปคราวเดียวกันดังนี้ย่อมไม่ได้
11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2510 ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีละเมิดให้โจทก์จำเลยทั้งสองจึงเป็นลูกหนี้ร่วมกัน(เพราะ?...บรรยายล้อไปกับหลักกฎหมาย) จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้นเชิง(ควรอธิบายเพิ่มว่ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเป็นอย่างไร) จำเลยจะแบ่งชำระให้โจทก์เป็นส่วน ๆ เฉพาะของจำเลยแต่ละคนหาได้ไม่เมื่อความรับผิดร่วมกันของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์มีอย่างนี้ ผู้ร้องกับ บ. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์เสร็จสิ้นเชิงตามคำพิพากษา เช่นเดียวกัน (ตามหลัก ) ดังนั้นจะให้ผู้ร้องกับ บ. รับผิดใช้ค่าสินไหมให้โจทก์เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 โดยแบ่งคนละครึ่งกับจำเลยที่ 2 ไม่ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติว่าด้วยส่วนแบ่งความรับผิดในเมื่อมีการเรียกร้องในระหว่างผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกัน คือ จำเลยทั้งสองด้วยกันเองมิใช่บทบัญญัติให้จำเลยทั้งสองซึ่งต้องรับผิดร่วมกัน แบ่งแยกกันใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์รับไปตามส่วนของจำเลยแต่ละคน ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จะอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคสามนี้มาอ้างว่าผู้ร้องมีความรับผิดเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 หาได้ไม่
12
“ลูกหนี้ร่วม” (ไม่แท้) โดยสภาพและ ถูกบัญญัติรับรองตามกฎหมาย
ลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 301 เป็น “ความรับผิดในหนี้ที่แบ่งกันชำระหนี้มิได้”(หนี้ที่แบ่งแยกกันรับผิดมิได้) หนี้ดังกล่าวมิได้เกิดจาก “สัญญาหรือความตกลงว่าจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมโดยตรง” หรือ “มีกฎหมายบัญญัติให้รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม” แต่เป็นหนี้ที่ตามสภาพลูกหนี้ตามมาตรานี้ต้องร่วมกันชำระหนี้มิเช่นนั้นการชำระหนี้จะไม่ต้องตามความประสงค์แท้จริงแห่งมูลหนี้(ม.215) เช่น หนี้งดเว้นกระทำการ หรือหนี้ที่ต้องส่งมอบทรัพย์ที่แบ่งไม่ได้ ถ้าลูกหนี้แบ่งกันชำระหนี้(คนละที)จะต้องเปลี่ยนแปลงสภาพทรัพย์นั้นจะไม่ต้องความความประสงค์แห่งมูลหนี้ เช่น สัญญาจ้างให้มาร้องเพลงคู่ สัญญาจ้างทีมแพทย์ผ่าตัด หรือหนี้ที่ตามกฎหมายถือว่าแบ่งกันชำระหนี้ไม่ได้ เช่น สิทธิยึดหน่วง (244) สิทธิจำนอง (717) ส่วนควบ (144) หุ้นในบริษัท (1118) ภาระจำยอม (1394) มาตรา 301 ถ้าบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดเช่นอย่างลูกหนี้ร่วมกัน (ร่วมกันทั้งความรับผิด(ม.291) และร่วมกันการชำระหนี้ (ม.301)) (เทียบเคียง) มาตรา 682 วรรคสอง ...ถ้าบุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันไซร้ท่านว่าผู้ค้ำประกันเหล่านั้นมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้ถึงว่าจะมิได้เข้ารับค้ำประกันรวมกัน
13
มาตรา ๑๔๔ ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น มาตรา ๒๔๔ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะใช้สิทธิของตนแก่ทรัพย์สินทั้งหมดที่ยึดหน่วงไว้นั้นจนกว่าจะชำระหนี้สิ้นเชิงก็ได้ มาตรา ๗๑๗ แม้ว่าทรัพย์สินซึ่งจำนองจะแบ่งออกเป็นหลายส่วนก็ตาม ท่านว่าจำนองก็ยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนด้วยกันอยู่นั่นเอง ถึงกระนั้นก็ดี ถ้าผู้รับจำนองยินยอมด้วย ท่านว่าจะโอนทรัพย์สินส่วนหนึ่งส่วนใดไปปลอดจากจำนองก็ให้ทำได้ แต่ความยินยอมดั่งว่านี้หากมิได้จดทะเบียน ท่านว่าจะยกเอาขึ้นเป็นข้อต่อสู้แก่บุคคลภายนอกหาได้ไม่ มาตรา ๑๑๑๘ อันหุ้นนั้น ท่านว่าจะแบ่งแยกหาได้ไม่ ถ้าบุคคลมีจำนวนแต่สองคนขึ้นไปถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ท่านว่าต้องตั้งให้คนใดคนหนึ่งในจำนวนนั้นแต่คนเดียวเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานเป็นผู้ถือหุ้น อนึ่ง บุคคลทั้งหลายซึ่งถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ต้องร่วมกันรับผิดต่อบริษัทในการส่งใช้มูลค่าของหุ้น มาตรา ๑๓๙๕ ถ้ามีการแบ่งแยกสามยทรัพย์ ท่านว่าภาระจำยอมยังคงมีอยู่เพื่อประโยชน์แก่ทุกส่วนที่แยกออกนั้น แต่ถ้าภาระจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตามรูปการเพื่อประโยชน์แก่ส่วนใดไซร้ ท่านว่าเจ้าของภารยทรัพย์จะเรียกให้พ้นจากภาระจำยอมอันเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนนั้นก็ได้
14
หนี้แบ่งไม่ได้ (Indivisible obligation)คือ หนี้ซึ่งลูกหนี้ไม่อาจแบ่งชำระเป็นส่วนๆได้ เพราะ
โดยสภาพของหนี้ (ทางกายภาพ หรือทางความคิด) / ส่งมอบรถยนต์/ สัตว์ทั้งหลาย/ ภาระจำยอม / หนี้งดเว้นกระทำการ/ หุ้นในบริษัท/ สิทธิจำนอง/สิทธิยึดหน่วง/ หนี้ที่ต้องชำระด้วยการทำนิติกรรมให้ หรือ โดยเจตนาของลูกหนี้ มักเป็นหนี้ที่คู่สัญญามุ่งที่ “ความสำเร็จของงานเป็นสำคัญ” แม้โดยสภาพอาจแบ่งได้ แต่เจตนาให้ชำระหนี้ทั้งหมดในคราวเดียว) / ค่าเช่าจ่ายครั้งละ 3 งวด/ สัญญาจ้างก่อสร้างบ้านทั้งหลังให้เสร็จ/ จ้างวาดรูป/ จ้างตัดผม/ จ้างซ่อมมือถือ ดังนั้นลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดในคราวเดียวกันหรือมิเช่นนั้นก็ไม่ชำระหนี้เลย หากเจ้าหนี้ยังทำงานไม่สำเร็จ ถือว่าชำระหนี้ตอบแทนไม่เสร็จก็จะขอรับค่าจ้างบางส่วนไม่ได้เช่นกัน หนี้แบ่งได้ (Divisible obligation) คือ หนี้ที่อาจแบ่งได้แม้โดยที่ตามความเป็นจริงนั้นยังไม่ได้แบ่งเป็นส่วนๆเพียงแต่ว่าอาจจะแบ่งได้เท่านั้น เช่น เมื่อแบ่งแล้วแต่ละส่วนมักจะสมบูรณ์ในตัวเองลำพัง (ดู ม. 141) เช่น หนี้เงินถือเป็นหนี้ที่ “ยังไม่ได้แบ่งแยก” (Undivided) แต่ถ้าจะแบ่งก็เป็นหนี้ที่แบ่งได้ (Divisible) / ข้าวสาร น้ำตาล ดังนั้นกรณีที่มีลูกหนี้หลายคนผูกพันต้องรับผิดในหนี้ที่แบ่งแยกได้ ลูกหนี้แต่ละคน (ไม่ใช่ลูกหนี้ร่วม) ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า “ต้องรับผิดเพียงคนละส่วนเท่าๆกันตามนัยแห่งมาตรา 290
15
มาตรา 291 มาตรา 301 ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิงไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียวก็ดี เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกแต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิง ถ้าบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดเช่นอย่างลูกหนี้ร่วมกัน ข้อสังเกต มาตรา 291 ใช้กับหนี้แบ่งชำระได้หรือไม่ก็ได้ มาตรา 301 บัญญัติเฉพาะ “หนี้อันจะแบ่งชำระมิได้” ผลที่ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งจะได้รับเป็นการส่วนตัวจึงยากจะเกิดขึ้นกับลูกหนี้ตาม มาตรา 301 ซึ่งแตกต่างจากลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 291 หนี้ตามมาตรา 301มีลักษณะ “หนี้ที่แบ่งกันชำระมิได้” ทำให้ลูกหนี้ทั้งหลายนั้นต้อง “รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน” ดังนั้นเมื่อเกิดอะไรขึ้นกับสิทธิ-หน้าที่ของลูกหนี้ร่วมมาตรา 301 นี้ ลูกหนี้ร่วมก็ต้องได้หรือเสียสิทธิ-หน้าที่ด้วยกัน เช่น ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยทั้งหมดก่อนถึงกำหนดชำระหนี้ โดยไม่อาจโทษลูกหนี้ได้ตามมาตรา 219 ก็ย่อมทำให้ลูกหนี้ทั้งหมดหลุดพ้นจากการชำระหนี้ไปพร้อมกัน การขอปฏิบัติการชำระหนี้หรือบอกกล่าวแก่เจ้าหนี้ว่าพร้อมชำระหนี้แล้วก็ต้องทำด้วยกันทุกคน และเจ้าหนี้ปฎิเสธไม่รับชำระหนี้โดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายก็จะทำให้เจ้าหนี้ผิดนัดมาตรา (ม.207)
16
1. สัญญา สัญญาที่ไม่มีชื่อ สัญญาแชร์เปียหวย และสัญญาชกมวย เป็นต้น
ที่มาของลูกหนี้ร่วม: การเป็นลูกหนี้ร่วมมีที่มาได้หลายกรณีทั้งจากสัญญาและข้อกฎหมาย มาตรา 618ถ้าของนั้นได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดท่านว่าผู้ขนส่งทั้งนั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในการสูญหาย บุบสลาย หรือส่งชักช้า มาตรา 682ท่านว่าบุคคลจะยอมเข้าเป็นผู้รับเรือน คือเป็นประกันของผู้ค้ำประกันอีกชั้นหนึ่ง ก็เป็นได้ ถ้าบุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันไซร้ท่านว่าผู้ค้ำประกันเหล่านั้นมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้ถึงว่าจะมิได้เข้ารับค้ำประกันรวมกัน มาตรา 967ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดีรับรองก็ดี สลักหลังก็ดี หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง มาตรา 1050การใด ๆ อันผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนนั้น ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในการนั้น ๆ ด้วย และจะต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้ อันได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะจัดการไปเช่นนั้น มาตรา 1077อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองจำพวก ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ (๑) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งมีจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นจำพวกหนึ่ง และ (๒) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวนอีกจำพวกหนึ่ง มาตรา 1088ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวน 1. สัญญา สัญญาที่ไม่มีชื่อ สัญญาแชร์เปียหวย และสัญญาชกมวย เป็นต้น เอกเทศสัญญา (บางลักษณะมีบทบัญญัติให้มีการรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม บางลักษณะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนั้นจึงต้องมีข้อตกลงกันให้รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไว้เป็นการเฉพาะต่างหากด้วย)
17
เอกเทศสัญญา หรือสัญญามีชื่อ
ยืม (loan) ยืมใช้คงรูป (loan for use) ยืมใช้สิ้นเปลือง (loan for consumption) กู้ยืม (loan of money) ฝากทรัพย์ (deposit) เจ้าสำนักโรงแรม (innkeeper) ค้ำประกัน (suretyship) จำนอง (mortgage) จำนำ (pledge) เก็บของในคลังสินค้า (warehousing) ตัวแทน (agency) นายหน้า (brokerage) ประนีประนอมยอมความ (compromise) การพนัน (gambling) ขันต่อ (betting) สลากกินแบ่ง (lottery) บัญชีเดินสะพัด (current account) ประกันภัย (insurance) ประกันชีวิต (life insurance) ประกันวินาศภัย (casualty insurance) ตั๋วเงิน (bill) ตั๋วแลกเงิน (bill of exchange) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (promissory note) เช็ค (cheque) หุ้นส่วน (partnership) บริษัท (company) สมาคม (association) กฎหมายอื่น ๆ ขายตรง (direct sale) ตาม พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (agricultural futures) ตาม พระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2545 ซื้อขาย (sale) ขายตามคำพรรณา (sale by description) ขายตามตัวอย่าง (sale by sample) ขายทอดตลาด (sale by auction) ขายเผื่อชอบ (sale on approval) ขายฝาก (sale with right of redemption) แลกเปลี่ยน (exchange) ให้ (gift) ให้โดยเสน่หา (gratuitous gift) ให้โดยพินัยกรรม (gift by will) เช่าทรัพย์ (hire of property) เช่าซื้อ (hire-purchase) จ้างแรงงาน (hire of service) จ้างทำของ (hire of work) รับขน (carriage)
18
นิติกรรมฝ่ายเดียวอาจเป็นที่มาของ “ลูกหนี้ร่วม” ได้
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่ นาย ก. และนาย ข. 1 แปลง โดยกำหนดเงื่อนไขว่าทั้งนาย ก. และนาย ข.จะรับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมนี้ก็ต่อเมื่อทั้งสองคนจะต้องร่วมกันรับผิดใช้หนี้แก่เจ้าหนี้ของผู้ทำพินัยกรรม ดังนั้นหากทั้งสองคนยินดีและตกลงรับที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นมรดกตามพินัยกรรมก็ต้อง “ผูกพันเป็นลูกหนี้ร่วมกันชำระหนี้ของเจ้ามรดก” โดยสิ้นเชิง (ศาสตราจารย์ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อ้างใน คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์:หนี้ (ศาสตราจารย์ ดร.สุนทร มณีสวัสดิ์, 2557)
19
กรณีลูกหนี้ร่วมกันตามสัญญา
สัญญา(ต่อ) แม้จะมิได้ตกลงกันไว้ว่า “จะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็ตาม” ก็ให้บุคคลเหล่านี้รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ประเด็นสำคัญคือ จะต้องเป็นสัญญาเดียวกัน มิใช่ต่างสัญญากัน ข้อสัญญาร่วมกันรับผิดนี้อาจจะจำกัดจำนวนที่จะร่วมกันรับผิดก็ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 3347/2529 จำเลยที่ 3ค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวน เมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์อื่นๆแห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้วจะรับผิดไปเกิน 100,000บาท ข้อความตอนต่อไปที่ว่า “ยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1”หมายถึงในจำนวน 100,000 บาทจะรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วม หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่ หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยที่ 3 ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7ครึ่งต่อปีในระหว่างผิดนัด (224 ว.หนึ่ง) เมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้ทวงถามเมื่อใด จำเลยที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง มาตรา 297 กรณีลูกหนี้ร่วมกันตามสัญญา (ข้อสันนิษฐาน) ถ้าในสัญญาอันหนึ่งอันใดมีบุคคลหลายคนร่วมกันผูกพันตนในอันจะทำการชำระหนี้ไซร้ หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องรับผิดเช่นอย่างเป็นลูกหนี้ร่วมกัน แม้ถึงว่าเป็นการอันจะแบ่งกันชำระหนี้ได้
20
ความแตกต่างของ มาตรา 290 กับมาตรา 297
มาตรา 290 เป็นเรื่องที่ “หนี้รายเดียวกัน” โดยไม่มีการกำหนดโดยชัดแจ้งในสัญญาว่า “ผูกพันร่วมกันหรือไม่” และเกิดสงสัยว่าผูกพันร่วมกันหรือไม่ กฎหมายจึงบัญญัติว่า “ไม่ผูกพันร่วมกัน ให้แยกกันรับผิดสำหรับลูกหนี้ หรือแยกกันทรงสิทธิสำหรับเจ้าหนี้” ถ้าการชำระหนี้เป็นการอันจะแบ่งกันชำระได้และมีบุคคลหลายคนเป็นลูกหนี้ก็ดี มีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ก็ดี เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านว่าลูกหนี้แต่ละคนจะต้องรับผิดเพียงเป็นส่วนเท่าๆ กันและเจ้าหนี้แต่ละคนก็ชอบที่จะได้รับแต่เพียงเป็นส่วนเท่าๆ กัน หนึ่ง สอง สามไปยืมเงินจากสี่มา 6,000 บาทโดยไม่มีข้อตกลงอะไรเลยว่าจะร่วมกันใช้หนี้ ดังนั้นเมื่อมีข้อสงสัยว่า “ผูกพันร่วมกัน”หรือไม่? ก็ไม่ต้องไปคิดเลยแต่กฎหมายบัญญัติให้ “ต่างคนต่างรับผิดคนละ 2,000 บาท ความแตกต่างของ มาตรา 290 กับมาตรา 297 มาตรา 297 เป็นเรื่องที่บุคคลหลายคนร่วมกันผูกพันตนโดยสัญญาในอันจะทำการชำระหนี้ ดังนั้นเมื่อสัญญาเป็นเช่นกัน แต่มีข้อสงสัยในผลของความรับผิดควรจะเป็นอย่างไร (หากไม่ชัดแจ้ง) จึงต้องกำหนดให้ “รับผิดอย่างเช่นลูกหนี้ร่วม” มาตรา 297 ถ้าในสัญญาอันหนึ่งอันใดมีบุคคลหลายคนร่วมกันผูกพันตนในอันจะทำการชำระหนี้ไซร้ หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องรับผิดเช่นอย่างเป็นลูกหนี้ร่วมกัน แม้ถึงว่าเป็นการอันจะแบ่งกันชำระหนี้ได้ หนึ่ง สอง สามไปยืมเงินจากสี่มา 6,000 บาทโดยมีข้อตกลงว่าจะร่วมกันใช้หนี้ ดังนั้นจึงไม่มีข้อสงสัยว่าผูกพันร่วมกันหรือไม่ แต่มีข้อสงสัยว่านายสี่จะไปทวงใครได้ก่อน ทวงได้ทั้งหมด หรือทวงได้ทีละคน ถ้าหนึ่งใช้หนี้แล้ว ยังทวงหนึ่งได้อีกรอบหรือไม่? กรณีนี้ให้ถือว่า “รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม” ตามนัยของมาตรา 291 นั้นเอง
21
2. ละเมิด มาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น มาตรา 427 บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วยโดยอนุโลม มาตรา 429 บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น มาตรา 430 ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร มาตรา 432 ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทำละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้น คนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วย อนึ่ง บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิด ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำละเมิดร่วมกันด้วย ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น
22
3. กฎหมายครอบครัวและมรดก
4. กฎหมายอื่นๆ มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้ (1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ (2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส (3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน (4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน มาตรา 1745 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทเหล่านั้นมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันจนกว่าจะได้แบ่งมรดกกันเสร็จแล้ว และให้ใช้มาตรา 1356 ถึงมาตรา 1366 แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับ เพียงเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติแห่งบรรพนี้ มาตรา 1365 ถ้าเจ้าของรวมต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อบุคคลภายนอกในหนี้อันเกี่ยวกับทรัพย์สินรวม หรือในหนี้ซึ่งได้ก่อขึ้นใหม่เพื่อชำระหนี้เดิมดั่งว่านั้นก็ดี ในเวลาแบ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จะเรียกให้เอาทรัพย์สินรวมนั้นชำระหนี้เสียก่อน หรือให้เอาเป็นประกันก็ได้ พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 45 ถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชําระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใด ๆ ก็ตาม ท่านว่าเจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน ภาษีโรงเรือนและที่ดินคือ ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น โรงเรือน หมายความถึง บ้าน ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน แฟลต อาพาร์ทเมนท์ คอนโดมิเนียม หอพัก สนามม้า สนามมวย คลังสินค้า เรือนแพ ฯลฯ สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ หมายถึง สิ่งปลูกสร้างอื่น ที่ก่อสร้างติดที่ดินถาวร เช่น ท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ คานเรือ ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่ก่อสร้างติดที่ดินถาวร ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หมายถึง ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น และบริเวณต่อเนื่องซึ่งใช้ด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่ดิน หมายความรวมถึง ทางน้ำ บ่อน้ำ สระน้ำ
23
ผลการเป็นลูกหนี้ร่วม
ผลที่ลูกหนี้ร่วมทุกคนได้รับร่วมกัน ผลที่ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งได้รับเป็นส่วนตัว
24
1 ผลที่ลูกหนี้ร่วมทุกคนได้รับร่วมกัน
(เหตุลักษณะคดี) ลูกหนี้ร่วมทุกคนจะได้รับประโยชน์ด้วยกันหมด หากมีลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งคนใดกระทำการกับเจ้าหนี้ ดังต่อไปนี้ ชำระหนี้ทั้งหมด (ทำให้หนี้ระงับ) หรือชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน (ก็เป็นคุณแก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นเพียงเท่าส่วนที่ชำระหนี้ไปนั้นด้วยเช่นกัน) กระทำการอย่างอื่นแทนการชำระหนี้อันมีผลให้หนี้ระงับก็เป็นคุณแก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นๆด้วย เช่น ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งชำระหนี้ด้วยอย่างอื่น (ม. 321) ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งขอแปลงหนี้ใหม่ (ม. 349) การประนีประนอมยอมความ (ม.850) การวางทรัพย์ (ไม่ทำให้หนี้ระงับ แต่ทำให้หลุดพ้นจากหนี้) การหักกลบลบหนี้(ม ) (โดยลูกหนี้คนนั้น(เท่านั้น)ต้องแสดงเจตนาไปยังเจ้าหนี้ คนอื่นแสดงเจตนาเองไม่ได้ ม.292 ว.สอง) มาตรา 292 การที่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งชำระหนี้นั้น ย่อมได้เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่นๆ ด้วย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่การใดๆ อันพึงกระทำแทนชำระหนี้ วางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ และหักกลบลบหนี้ด้วย ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องอย่างไร ลูกหนี้คนอื่นๆ จะเอาสิทธิอันนั้นไปใช้หักกลบลบหนี้หาได้ไม่
25
การวางทรัพย์ (ม ) ผลของการวางทรัพย์ ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องชำระ ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดและไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้หลังจากวันที่วางทรัพย์ และเจ้าหนี้มีสิทธิมารับทรัพย์ที่วางภายใน 10 ปี นับแต่ได้รับคำบอกกล่าวการวางทรัพย์ หากเจ้าหนี้ไม่มารับ หนี้เป็นอันระงับ ผู้วางทรัพย์มีสิทธิมารับเงินคืน และเมื่อเจ้าหนี้มารับเงินแล้ว ผู้วางทรัพย์ต้องมารับค่าใช้จ่ายที่วางไว้คืนภายใน 1 เดือน มิฉะนั้น เงินค่าใช้จ่ายที่วางประกันไว้จะตกเป็นของแผ่นดิน แม้จะได้มีการวางทรัพย์แล้วก็ตาม ผู้วางทรัพย์ก็ยังมีสิทธิที่จะขอถอนหรือขอรับทรัพย์ที่วางคืนได้ แต่มีข้อยกเว้น สำหรับกรณีที่ผู้วางทรัพย์ได้แสดงเจตนาสละสิทธิที่จะถอนไว้ หรือเจ้าหนี้ได้แจ้งต่อสำนักงานวางทรัพย์ว่าจะรับทรัพย์ที่วางนั้นแล้ว หรือการวางทรัพย์ตามคำสั่งศาล หรือหากบุคคลใดวางทรัพย์แทนลูกหนี้ บุคคลนั้นจะถอนการวางทรัพย์ได้ต่อเมื่อลูกหนี้ยินยอม กรณีเหล่านี้ไม่อาจขอถอนการวางทรัพย์หรือขอคืนทรัพย์ที่วางได้ เหตุที่ต้องมีการวางทรัพย์ เพราะเจ้าหนี้บอกปัดหรือปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ เช่น ผู้เช่าจ่ายค่าเช่าบ้านไม่ได้เพราะเจ้าของบ้านบ่ายเบี่ยงไม่รับค่าเช่าเพื่อหาเหตุจะยกเลิกการเช่า หรือเพราะเจ้าหนี้ไม่สามารถจะรับชำระหนี้ได้เพราะเจ้าหนี้ไม่อยู่หรือไปต่างประเทศไม่ทราบจะกลับมาเมื่อใด หรือเพราะไม่สามารถจะรู้ถึงสิทธิของเจ้าหนี้ หรือรู้ตัวเจ้าหนี้ได้แน่นอนโดยมิใช่ความผิดของตน เช่น เจ้าหนี้ตาย ลูกหนี้ไม่ทราบว่าใครเป็นทายาท เป็นต้น ทรัพย์ที่สามารถนำมาวางได้ ได้แก่ เงินและทรัพย์สินอื่นๆไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่จะส่งมอบกันได้ตามกฎหมาย กรณีทรัพย์ที่วางเป็นเงิน อาจวางทรัพย์ด้วยเงินสด เช็ค แต่การวางทรัพย์ด้วยเช็ค ถ้าเรียกเก็บเงินไม่ได้ ถือว่าไม่มีการวางทรัพย์ไว้เลย ส่วนการวางทรัพย์เป็นทรัพย์สินอย่างอื่นจะไม่ขอนำมากล่าวในที่นี้ คนที่จะวางทรัพย์ได้ คือตัวลูกหนี้เอง หรือผู้รับมอบอำนาจจากลูกหนี้ หรือบุคคลภายนอกที่เต็มใจชำระหนี้แทนลูกหนี้ เว้นแต่สภาพของหนี้ที่จะชำระหนี้นั้นไม่อาจให้บุคคลภายนอกชำระแทนได้
26
นายแดง เขียว เหลืองเป็นลูกหนี้ร่วมต่อนายขาวอยู่ 30,000 บาท แดงนำเงินไปชำระหนี้ต่อนายขาวโดยชอบแล้ว 10,000 บาท หนี้คงเหลือเพียง 20,000 บาท แต่ถ้าแดงนำเงินไปชำระหนี้ทั้งหมดก็ย่อมทำให้หนี้ระงับและเป็นคุณประโยชน์แก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นด้วยเช่นกัน นายแดงได้นำสร้อยคอทองคำของตนไปขอตีใช้หนี้คิดเป็นเงิน 20,000 บาท ทำให้หนี้เดิม 30,000 บาทคงเหลือเพียง 10,000 บาท ดังนั้นการนำสร้อยไปตีใช้หนี้ก็ถือเป็นการกระทำของลูกหนี้คนหนึ่งที่เป็นคุณประโยชน์แก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นเพราะทำให้หนี้ที่ทุกคนต้องร่วมรับผิดลดเหลือเพียง 10,000 บาทเท่านั้น ถ้านายเหลืองเดินทางนำเงินไปชำระหนี้นายขาวจำนวน 30,000 บาทแต่นายขาวไม่ยอมรับชำระหนี้ นายเหลืองจึงนำเงินทั้งหมดดังกล่าวไปวางทรัพย์ที่สำนักงานวางทรัพย์ย่อมเป็นผลทำให้หนี้ดังกล่าวระงับไปและผลของการระงับนั้นย่อมเป็นคุณประโยชน์แก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นๆโดยหลุดพ้นจากการชำระหนี้ไปด้วย แต่ถ้าได้วางทรัพย์ไว้เพียงบางส่วนเท่านั้น เช่นวางทรัพย์ไว้เพียงแค่ 10,000 บาทก็ถือเป็นประโยชน์เพียงจำนวนเท่าที่วางทรัพย์ไว้เท่านั้น เจ้าหนี้จึงยังคงมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ร่วมคนใดชำระหนี้ 20,000 บาทที่เหลือได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน นายแดง เขียว เหลืองเป็นลูกหนี้นายขาวร่วมกันจำนวน 30,000 บาท ต่อมานายขาวบังเอิญขับรถชนรถของนายแดง(ลูกหนี้) ได้รับความเสียหาย 5,000 บาท แต่นายขาวไม่มีเงินพอและต้องรีบไปจึงได้ทำสัญญาตกลงกันโดยคุยกันผ่าน Line Application ชัดเจนว่านายขาวตกลงชดใช้หนี้ให้แต่นายแดงขอหักกลบลบหนี้ที่ถึงกำหนดชำระหนี้ 10,000 บาทที่นายแดง เขียว เหลืองต้องร่วมกันชำระหนี้งวดแรกให้แก่ตน นายขาวก็ตอบตกลงเป็นหลักฐานไว้ ผลการตกลงทำให้หนี้ร่วมกันระหว่างทั้งสามคนกับนายขาวถูกหักกลบลบไป 5,000 บาทจึงคงเหลือที่ต้องร่วมกันชดใช้สิ้นเชิงอีก 25,000 บาท (ทั้งนี้ต้องดูหลักเกณฑ์การหักกลบลบหนี้ด้วย และลูกหนี้ที่เป็นเจ้าหนี้ของเจ้าหนี้ต้องเป็นผู้แสดงเจตนาใช้สิทธินั้นเองเท่านั้น ลูกหนี้คนอื่นไม่อาจใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้แทนได้) (เจ้าหนี้เงินกู้(นายขาว))ก็ขอให้สิทธิหักกลบได้เช่นเดียวกัน)
27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2551 บริษัท ร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2551 บริษัท ร. นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่โจทก์โดยลงลายมือชื่อสลักหลัง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและบริษัท ร. ผู้สลักหลังจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 914 และมาตรา 967 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 อันถือได้ว่าเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่อีกประการหนึ่ง โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัท ร. ชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้บริษัท ร. รับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายให้รับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทย่อมหมดสิ้นไปด้วย ทั้งนี้เพราะสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทของโจทก์ได้ระงับสิ้นไปแล้ว (ป.พ.พ. ม.291, ม.292, ม.349, ม.850, ม.967) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2511 ค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่ามีกำหนดอายุความเท่าใดจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้อัตราหนึ่ง ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้เข้าค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่1 อีกอัตราหนึ่งดังนี้หาทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดต่อโจทก์ไม่ จำเลยที่ 2 ที่ 3 มีความรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันการที่จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นบัญชีเดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดอยู่ตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ภายในจำนวนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันไว้ แม้โจทก์ยอมรับการชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 จำนวนหนึ่งและปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 เสียนั้นก็หาใช่เป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จนถึงกับให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่เพราะหนี้รายนี้ยังมิได้ชำระโดยสิ้นเชิงการปลดหนี้ดังกล่าวคงเป็นประโยชน์เพียงเท่าส่วนที่ได้ปลดไปเท่านั้น (ดู ม. 681/1 แก้ไขปี 57 ให้ผู้ค้ำรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเป็นโมฆะ)
28
1 ผลที่ลูกหนี้ร่วมทุกคนได้รับร่วมกัน
(เหตุลักษณะคดี) “การปลดหนี้” เป็นการกระทำของเจ้าหนี้ที่มีผลทำให้หนี้ระงับ การปลดหนี้ให้กับลูกหนี้คนใดคนหนึ่งก็จะทำให้ลูกหนี้คนนั้นหลดพ้นจากหนี้ไปทั้งหมด และมีผลเป็นคุณแก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นๆด้วย เพียงแต่ไม่เป็นคุณถึงทั้งจำนวน หากแต่ได้รับประโยชน์ร่วมกันเพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ได้รับการปลดหนี้เท่านั้น เว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น (ทั้งเป็นคุณหรือเป็นโทษ) เช่น ตกลงกันให้การปลดหนี้ให้ลูกหนี้ร่วมคนใดให้เป็นคุณแก่ลูกหนี้ร่วมทุกคนทั้งจำนวนก็จะทำให้ลูกหนี้ร่วมทุกคนหลุดพ้นจากหนี้นั้น มาตรา 293 การปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่นๆ เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ได้ปลดให้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น ปลดหนี้ด้วยวาจา ปลดหนี้ด้วยการทำเป็นหนังสือ
29
1 ผลที่ลูกหนี้ร่วมทุกคนได้รับร่วมกัน
ข้อสังเกต กรณีเจ้าหนี้ผิดนัดย่อมหมายถึง “ลูกหนี้ยังไม่ได้ชำระหนี้” เพียงแต่ ลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ หรือได้บอกกล่าวการขอปฏิบัติการชำระหนี้ แต่เจ้าหนี้ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับโดยมีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย (ม.207) มาตรา 209 ถ้าได้กำหนดเวลาไว้เป็นแน่นอนเพื่อให้เจ้าหนี้กระทำการอันใดท่านว่าที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้นั้นจะต้องทำก็แต่เมื่อเจ้าหนี้ทำการอันนั้นภายในเวลากำหนด มาตรา 210 ถ้าลูกหนี้จำต้องชำระหนี้ส่วนของตนต่อเมื่อเจ้าหนี้ชำระหนี้ตอบแทนด้วยไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้จะได้เตรียมพร้อมที่จะรับชำระหนี้ตามที่ลูกหนี้ขอปฏิบัตินั้นแล้วก็ดี หากไม่เสนอที่จะทำการชำระหนี้ตอบแทนตามที่จะพึงต้องทำ เจ้าหนี้ก็เป็นอันได้ชื่อว่าผิดนัด หากเจ้าหนี้ผิดนัดกับลูกหนี้ร่วมคนหนึ่ง ผลของการผิดนัดย่อมเป็นคุณแก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นๆด้วย แต่มิได้หมายความว่าเจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดกับลูกหนี้คนอื่นด้วยโดยตรง 1 ผลที่ลูกหนี้ร่วมทุกคนได้รับร่วมกัน (เหตุลักษณะคดี) มาตรา 294 การที่เจ้าหนี้ผิดนัดต่อลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งนั้น ย่อมได้เป็นคุณประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่นๆ ด้วย
30
2 ผลที่ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งได้รับเป็นการเฉพาะตัว (เหตุเฉพาะตัว)
การปฏิบัติการที่จะมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมคนนั้น การให้คำบอกกล่าว การผิดนัด การหยิบยกอ้างความรับผิด การชำระหนี้อันเป็นพ้นวิสัยทางฝ่ายลูกหนี้ร่วมคนหนึ่ง กำหนดอายุความหรืออายุความสะดุดหยุดลง สิทธิเรียกร้องเกลื่อนกลืนกันไปกับหนี้สิน การพิจารณาพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ผู้ถูกฟ้องล้มละลาย เว้นแต่ขัดสภาพแห่งหนี้นั้นเอง ผลคือย่อมไม่ถือการปฏิบัติการนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัว เช่น การผิดนัดของเจ้าหนี้ตามมาตรา 301 มาตรา 295 ข้อความจริงอื่นใด นอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๙๒ ถึง ๒๙๔ นั้น เมื่อเป็นเรื่องเท้าถึงตัวลูกหนี้ร่วมกันคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น เว้นแต่จะปรากฏว่าขัดกับสภาพแห่งหนี้นั้นเอง ความที่ว่ามานี้ เมื่อจะกล่าวโดยเฉพาะก็คือว่าให้ใช้แก่การให้คำบอกกล่าวการผิดนัด การที่หยิบยกอ้างความผิด การชำระหนี้อันเป็นพ้นวิสัยแก่ฝ่ายลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่ง กำหนดอายุความหรือการที่อายุความสะดุดหยุดลง และการที่สิทธิเรียกร้องเกลื่อนกลืนกันไปกับหนี้สิน
31
การให้คำบอกกล่าวต่างๆของเจ้าหนี้
คือ การให้คำบอกกล่าวที่เป็นการปฏิบัติ(กระทำ)ของเจ้าหนี้ อาจเป็นการบอกกล่าวเพื่อให้มีผล(ต่อมา)ในทางกฎหมาย เช่น การบอกกล่าวโอนสิทธิเรียกร้อง (ม.306) / การบอกกล่าวบังคับจำนอง (ม.728 (แก้ไขใหม่)) การบอกกล่าวให้ชำระหนี้ก่อนสัญญา การบอกกล่าวให้ชำระค่าเช่าก่อนเลิกสัญญาเช่า การให้คำบอกกล่าวต่างๆของเจ้าหนี้ ประเด็นคือ การบอกกล่าวเหล่านี้เป็นเพียงเรื่องเฉพาะตัวลูกหนี้แต่ละคน ดังนั้นหากจะให้ผลในทางกฎหมายที่สมบูรณ์จากการบอกกล่าวนั้น เจ้าหนี้จำต้องบอกกล่าวแก่ลูกหนี้ร่วมทุกคน นาย ก. และข. ทำสัญญาขายรถยนต์ให้ นาย ค. โดยมีกำหนดส่งมอบกันเมื่อ ค.กลับมาจากต่างประเทศ กรณีนี้แม้ ค. จะกลับจากต่างประเทศแล้วอันอาจถือได้ว่าหนี้ถึงกำหนดชำระหนี้ แต่ ม. 204 วรรคแรก นาย ค.ก็ต้องเตือนให้ ก.และข.ชำระหนี้ด้วยการส่งมอบรถยนต์นั้นก่อนภายในกำหนดลูกหนี้จึงจะเป็นผู้ผิดนัด หากปรากฎว่า นาย ค. ได้เตือนแต่เพียง ก. ผู้เดียวให้ชำระหนี้ เมื่อไม่มีการชำระหนี้จนพ้นกำหนด นาย ก. แต่ผู้เดียวที่ถือว่าเป็นผู้ผิดนัด ไม่มีผลไปถึงนาย ข. ด้วย
32
การผิดนัด หมายถึง “ลูกหนี้ผิดนัด” การหยิบยกอ้างความรับผิด
ถ้าเจ้าหนี้เตือนลูกหนี้ร่วมคนใดให้ชำระหนี้ ลูกหนี้ร่วมคนดังกล่าวไม่ยอมชำระหนี้ก็ถือว่าเป็นเพียงผลเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมคนนั้นให้ “ตกเป็นผู้ผิดนัดเฉพาะตัว” ลูกหนี้ร่วมคนอื่นหาตนเป็นผู้ผิดนัดด้วยไม่ ผลอื่น เช่น ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยตาม ม.217 ย่อมใช้บังคับแก่ลูกหนี้คนที่ผิดนัด ส่วนลูกหนี้ร่วมคนอื่นที่ไม่ผิดนัดก็จะเป็นเรื่องของ ม. 218 และ 219 เท่านั้น กรณี “เจ้าหนี้ผิดนัด” มีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้ว ดู ม. 294 การผิดนัด หมายถึง “ลูกหนี้ผิดนัด” หมายถึงการกล่าวหาให้ต้องรับผิดอันเกิดจากการกระทำใดของลูกหนี้ร่วมคนใดก็เป็นเรื่องส่วนตัวของลูกหนี้ร่วมคนนั้น อาทิ หนี้ที่ต้องกระทำการนำของที่ยืมมาไปคืนเจ้าหนี้ แต่ปรากฎว่าลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งไม่ดูแลรักษาทรัพย์นั้นให้ดีทำให้ได้รับความเสียหาย แตกสลายบางส่วน ก็ถือเป็น “ความรับผิดเฉพาะตัว” ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งนำทรัพย์ที่ยืมเจ้าหนี้มาไปใช้ในทางผิดกฎหมาย เช่น ยืมรถจักรยานยนต์ไปวิ่งราวทรัพย์ การกล่าวหาว่าผู้เช่า(ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่ง)ทำผิดหน้าที่เกี่ยวกับการใช้ การดูแลซ่อมแซมทรัพย์ที่เช่าเสียหาย การหยิบยกอ้างความรับผิด
33
การชำระหนี้อันเป็นพ้นวิสัยของทางฝ่ายลูกหนี้ร่วม
ลูกหนี้ร่วมทุกคนมีหน้าที่ “ชำระหนี้ร่วมกันและแทนกัน” ดังนั้นแม้ลูกหนี้ร่วมบางคนชำระหนี้ไม่ได้เพราะเหตุสุดวิสัย ลูกหนี้ร่วมคนอื่นที่ยังอยู่ในวิสัยจะชำระหนี้ได้ก็ยังมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ต่อไป หาได้หลุดพ้นจากความรับผิดเช่นลูกหนี้ร่วมคนแรกไม่ เพราะเป็นเหตุเฉพาะตัวของลูกหนี้คนนั้นเท่านั้น ตย. ลูกหนี้ชื่อ ก. ได้รับอุบัติเหตุพิการสาหัสตลอดชีวิต ไม่สามารถขับรถแข่งให้กับทีมต่อไปได้ตามสัญญาเจ้าของค่ายรถแข่ง ก.อาจหลุดพ้นจากการชำระหนี้ แต่เพื่อนนักแข่งในทีมอีกหลายคนยังทำการแข่งแทนได้อยู่ตามสัญญาถือว่า ลูกหนี้ร่วมคนอื่นยังต้องแข่งต่อ เว้นแต่ ถ้าการพ้นวิสัยเป็นเรื่องที่เกิดจากโดยสภาพแห่งหนี้นั้นเอง อาทิ สินค้าที่กำลังส่งมาชำระหนี้ทางเรือเกิดสูญหายทั้งหมดเพราะเรือล่มหลังโดยพายุถล่ม ถือการเป็นการพ้นวิสัยโดยสภาพ ลูกหนี้ร่วมย่อมหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวง (ม. 219) การชำระหนี้อันเป็นพ้นวิสัยของทางฝ่ายลูกหนี้ร่วม
34
กำหนดอายุความหรือการที่อายุความสะดุดหยุดลง
แม้ความเป็นลูกหนี้ร่วมอาจเกิดจากสัญญาเดียวกัน แต่ก็มีอีกหลายลักษณะที่ “ลูกหนี้ร่วมเกิดจากมูลหนี้ต่างกัน” ผลคือ “อายุความที่ต้องรับผิดของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนจึงอาจแตกต่างกันได้ หากลูกหนี้คนใดยกอายุความขึ้นต่อสู้และเป็นผลก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมคนนั้นเท่านั้นตาม ม. 295 นี้ แต่ถ้านำหลักวิฯแพ่ง ม. 59 และ 245 (1) มาปรับแก่คดีย่อมถือว่า “ลูกหนี้ร่วมคนอื่นได้รับประโยชน์จากการยกอายุความขึ้นต่อสู้” ด้วย เช่น หนี้บัตรเครดิตอาจมีอายุความ 2 ปี แต่เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความจะทำให้อายุความขยายออกไปอีก 10 ปี ขึ้นอยู่กับว่าลูกหนี้ร่วมคนใดได้ตกลงประนีประนอมยอมความบ้างหรือไม่ โจทก์ในฐานะบริษัทประกัน(ผู้รับประกันภัยค้ำจุน)ที่รับช่วงสิทธิของผู้ถูกละเมิดมาฟ้องผู้ทำละเมิดและบริษัทประกันภัยที่ผู้ทำละเมิดเอาประกันภัยอยู่ อายุความฟ้องคดีจึงแตกต่างกัน หากจะฟ้องผู้ทำละเมิดต้องฟ้องภายใน 1 ปี(ม. 448 ว.แรก) ส่วนฟ้องบริษัทผู้รับประกันภัยมีอายุความรับผิด 2 ปี (ม.882ว.แรก) ดังนั้นศาลพิพากษาให้บริษัทประกันภัยจากค่าสินไหมทดแทนได้ แม้ว่าไม่สามารถฟ้องผู้ทำละเมิดเพราะเลยระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันทำละเมิดก็ได้ตาม
35
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2506 การจ้างว่าความไม่ใช่เป็นสัญญาจ้างแรงงานแต่เป็นสัญญาจ้างทำของ สิทธิเรียกร้องที่หมอความหรือทนายความจะเรียกเอาค่าธรรมเนียมและค่าที่ได้ออกทดรองไป มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15) จำเลยให้การเพียงว่า 'คดีของโจทก์ขาดอายุความ' ถือว่าจำเลยได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกล่าวให้แจ้งชัดในคำให้การว่ากำหนดอายุความให้เริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใด การเป็นทนายความว่าความให้จำเลยตลอดทั้งสามศาลตามธรรมดา ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ให้ทนายความเป็นผู้ดำเนินการในการบังคับคดีด้วยแล้วหน้าที่ของทนายก็จะต้องสิ้นสุดลงในเมื่อมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดและต้องถือว่าตัวความได้รับมอบการที่ทำของทนายความในเมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดชั้นฎีกากำหนดอายุความเรียกร้องสินจ้างของทนายความก็ย่อมเริ่มนับแต่วันศาลฎีกาพิพากษา จำเลยหลายคนเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ แต่จำเลยคนหนึ่งแต่ผู้เดียวเป็นผู้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลจะนำการยกอายุความขึ้นต่อสู้ของจำเลยผู้นั้นมาเป็นมูลยกฟ้องคดีสำหรับจำเลยอื่นที่ไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ไม่ได้ (ป.วิ.พ. ม.59, ม.177 ป.พ.พ. ม.165 (15), ม.169, ม.193, ม.295, ม.575, ม.582, ม.583, ม.587, ม.602)
36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2538 โจทก์มีวัตถุประสงค์ให้บริการสินเชื่อแก่บุคคลทั่วไปในรูปของบัตรเครดิตโดยโจทก์ออกบัตรให้แก่สมาชิกแล้วสมาชิกสามารถนำบัตรไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรโดยสมาชิกไม่ต้องชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดโจทก์เป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังและสมาชิกสามารถนำบัตรไปถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ธนาคารโดยผ่านเครื่องฝากถนนเงินอัตโนมัติได้ซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์และโจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วยโจทก์จึงเป็นผู้ค้ารับทำการงานต่างๆให้แก่สมาชิกการที่โจทก์ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(7)เดิม จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้การที่จำเลยที่2ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือได้ว่าจำเลยที่1ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกันเมื่อปรากฏว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วตามที่จำเลยที่2ฎีกาแม้จำเลยที่1มิได้ฎีกาศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247
37
กำหนดอายุความหรือการที่อายุความสะดุดหยุดลง (ต่อ)
กรณีอายุความสะดุดหยุดลง คือ กรณีที่จะทำให้อายุความของสิทธิเรียกร้องนั้นหยุดการนับระยะเวลาต่อเนื่องไว้ จนกว่าพฤติการณ์นั้นจะสิ้นไปหรือมีเหตุตามกฎหมายให้กลับมานับระยะเวลานั้นต่อจากเวลาก่อนที่สะดุดหยุดลง หรือให้เริ่มต้นนับใหม่ อายุความสะดุดหยุดลงอาจเกิดจาก “การกระทำของเจ้าหนี้” ก็ได้เช่น การฟ้องคดีทำให้อายุความของสิทธิเรียกร้องนั้นสะดุดหยุดลง ดังนั้นหากเจ้าหนี้เลือกจะฟ้องลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งเป็นคดีก็ย่อมมีผลให้ “สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีเหนือลูกหนี้ร่วมคนนั้นสะดุดหยุดลงในระหว่างการฟ้องร้องดำเนินคดี” แต่อายุความของลูกหนี้ร่วมคนอื่นที่ไม่ถูกฟ้องย่อมเดินหรือนับระยะเวลาต่อไป หากพ้นอายุความก็ทำให้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ร่วมคนอื่นนั้นสิ้นสุดไปตามกฎหมาย อายุความสะดุดหยุดลงอาจเกิดจาก “การกระทำของลูกหนี้” ก็ได้ เช่น การที่ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งรับสภาพหนี้หรือชำระหนี้บางส่วนเป็นการทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเช่นกัน แต่มีผลเป็นเรื่องส่วนตัวของลูกหนี้ร่วมคนนั้นโดยไม่มีผลถึงลูกหนี้ร่วมคนอื่น
38
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2536 การที่ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันนั้น ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้ว่าให้มีผลไปถึงลูกหนี้ด้วย แม้จำเลยในฐานะลูกหนี้จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ค้ำประกัน กำหนดอายุความของลูกหนี้แต่ละคนก็ต้องเป็นไปเพื่อคุณและโทษเฉพาะแต่ลูกหนี้คนนั้นเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 295การที่ผู้ค้ำประกันผ่อนชำระหนี้ให้กับโจทก์ จึงไม่ทำให้อายุความที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยสะดุดหยุดลงด้วย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2536 โจทก์เป็นพ่อค้าฟ้องเรียกเอาเงินค่าสินค้าจากจำเลยทั้งสองจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) เดิม การที่จำเลยทั้งสองทำหนังสือขอผัดผ่อนค่าโทรทัศน์สีจึงเป็นการรับสภาพหนี้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม ภายหลังจากอายุความ 2 ปี ครบบริบูรณ์แล้วจำเลยที่ 1 ทำหนังสือและลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียวว่าจะนำเงินค่าโทรทัศน์สีที่ค้างชำระให้ภายในเดือนตุลาคม 2531 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ เป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ลบล้างสิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในอันที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 เดิม และข้อต่อสู้เรื่องอายุความของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความแล้ว
39
หนี้เกลื่อนกลืนกัน มาตรา 353 ถ้าสิทธิและความรับผิดในหนี้รายใดตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกัน ท่านว่าหนี้รายนั้นเป็นอันระงับสิ้นไป เว้นแต่เมื่อหนี้นั้นตกไปอยู่ในบังคับแห่งสิทธิของบุคคลภายนอก หรือเมื่อสลักหลังตั๋วเงินกลับคืนตามความในมาตรา 917 วรรค 3 หนี้เกลื่อนกลืนกัน ตามมาตรา 353 มีผลทำให้ “หนี้ระงับ” วิธีหนึ่ง แต่ในบริบทของมาตรา 295 นี้ถือว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมคนนั้น ลูกหนี้ร่วมคนอื่นคงได้รับประโยชน์เฉพาะส่วนของลูกหนี้คนนั้นที่ได้ทำการเกลื่อนกลืนหนี้นั้นหักออกไปลักษณะเดียวกับการปลดหนี้ เช่น การรับโอนมรดก (ผู้รับโอนได้ทรัพย์มรดก ในขณะที่ตนเองก็เป็นเจ้าหนี้มรดกที่ควรได้รับชำระหนี้จากผู้รับทรัพย์มรดก) หรือ การโอนสิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้อาจได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากเจ้าหนี้ทำให้ตนเองเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้นั้นในที่สุด บริษัทจำกัดเข้าควบรวมกิจการเข้าด้วยกันทำให้สิทธิหน้าที่ที่สองบริษัทเคยมีต่อกันกลายเป็นเกลื่อนกลืนกันเป็นของบริษัทใหม่ (ม.1243) หนึ่ง สอง และสามในฐานะลูกหนี้ร่วมของสี่ ปรากฎว่านายสี่เสียชีวิตลงได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นายหนึ่ง ดังนี้สิทธิเรียกร้องในหนี้ร่วมดังกล่าวที่นายสี่เคยมีต่อนายหนึ่งก็เป็นอัน “ระงับ” เพราะการเกลื่อนกลืนกัน แต่หามีผลถึงนายสอง และสามให้ได้สิทธิหนี้ระงับไปไม่ แต่นายหนึ่ง(ในฐานะเจ้าหนี้คนใหม่)ก็คงมีสิทธิเรียกให้นายสองและสามชำระหนี้เพียงสองส่วนที่เหลือ เพราะหนี้หนึ่งในสามส่วนนั้นเป็นส่วนที่ตนจะต้องรับผิดและได้เกลื่อนกลืนกันไปแล้ว
40
กรณีอื่นนอกเหนือจาก มาตรา 295
กรณีเจ้าหนี้ถอนฟ้องลูกหนี้ร่วมคนใดก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้คนนั้นเท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2518 ผู้สั่งจ่ายเช็ค ผู้สลักหลัง หรือผู้รับประกันด้วยอาวัล ต้องร่วมรับผิดต่อผู้ทรงและผู้ทรงก็มีสิทธิฟ้องหรือเรียกร้องจากบุคคลดังกล่าวเรียงตัวหรือรวมกันก็ได้ โดยมิได้พักต้องดำเนินการตามลำดับที่บุคคลดังกล่าวมาผูกพัน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คจะต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยทั้งสองแล้ว ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ไปนั้น ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด ลูกหนี้คนหนึ่งขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปก่อนที่หนี้จะถึงกำหนดเพราะรู้แจ้งชัดว่า “ตนไม่อาจชำระหนี้ได้ทันตามกำหนด” ให้ถือว่าผลการขยายระยะเวลานั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวลูกหนี้คนนั้นและไม่มีผลไปถึงลูกหนี้คนอื่นด้วย การฟ้องคดีล้มละลาย ถ้าลูกหนี้ร่วมถูกฟ้องล้มละลาย การที่จะพิจารณาว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม ม. 9 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ หรือไม่ต้องเป็นการพิจารณาเฉพาะรายบุคคลและเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมคนนั้นๆเท่านั้น
41
มาตรา 295 ข้อความจริงอื่นใด นอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๙๒ ถึง ๒๙๔ นั้น เมื่อเป็นเรื่องเท้าถึงตัวลูกหนี้ร่วมกันคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น เว้นแต่จะปรากฏว่าขัดกับสภาพแห่งหนี้นั้นเอง… การปฏิบัติการที่จะมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมคนนั้น การให้คำบอกกล่าว การผิดนัด การหยิบยกอ้างความรับผิด การชำระหนี้อันเป็นพ้นวิสัยทางฝ่ายลูกหนี้ร่วมคนหนึ่ง กำหนดอายุความหรืออายุความสะดุดหยุดลง สิทธิเรียกร้องเกลื่อนกลืนกันไปกับหนี้สิน การพิจารณาพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ผู้ถูกฟ้องล้มละลาย เว้นแต่ขัดสภาพแห่งหนี้นั้นเอง ผลคือย่อมไม่ถือการปฏิบัติการนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัว เช่น การผิดนัดของเจ้าหนี้ตามมาตรา 301 ถ้าหนี้นั้นแบ่งชำระหนี้กันไม่ได้ ถ้าการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยสำหรับลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งย่อมถือว่าเป็นพ้นวิสัยทั้งหมด หรือหนี้ที่ละเว้นการกระทำการ เช่น ไม่ปลูกสร้างอาคารปิดบังแสงแดด ถ้าลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งฝ่าฝืนปลูกสร้างอาคารบังแสงผู้อื่น ลูกหนี้ร่วมคนอื่นต้องร่วมรับผิดด้วย เพราะหากให้มีผลต่อลูกหนี้เป็นการเฉพาะบุคคลย่อมถือว่าการบังคับใช้มาตรา 295 นี้ขัดต่อสภาพแห่งหนี้ในส่วนที่เป็นข้อยกเว้นมาตรา 295 นั้นเอง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.