งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวิเคราะห์งาน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวิเคราะห์งาน."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวิเคราะห์งาน

2 การวิเคราะห์งาน กระบวนการที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบซึ่งถูกนำมาใช้ในการศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงาน เพื่อที่จะได้สารสนเทศของงานนั้น เพียงพอต่อการที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมอื่นในอนาคต 

3 สารสนเทศของงานที่สำคัญ
1. เอกสารพรรณนาลักษณะงาน (Job Description)  2. เอกสารระบุข้อกำหนดของงาน (Job Specification) 3. มาตรฐานการทำงาน (Job Standard) 4. การประเมินค่างาน (Job Evaluation)

4 1. เอกสารพรรณนาลักษณะงาน
1. เอกสารพรรณนาลักษณะงาน  (Job Description)  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ขอบเขตของงาน และกระบวนการปฏิบัติงาน ตลอดจนเหตุผลและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานนั้น

5 1. เอกสารพรรณนาลักษณะงาน
1. เอกสารพรรณนาลักษณะงาน  (Job Description)  ลักษณะงานจะประกอบด้วยข้อความที่สำคัญดังต่อไปนี้ ตำแหน่งงาน  หน้าที่  ความรับผิดชอบ  คุณลักษณะของงาน  เงื่อนไขสภาวะแวดล้อม 

6 2. เอกสารระบุข้อกำหนดของงาน
2. เอกสารระบุข้อกำหนดของงาน  (Job Specification) ระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในหน้าที่นั้น โดยเอกสารระบุข้อกำหนดของงานจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้เป็นแนวทางในการสรรหาบุคลากรที่เหมาะสม

7 2. เอกสารระบุข้อกำหนดของงาน
2. เอกสารระบุข้อกำหนดของงาน  (Job Specification) ส่วนประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้ การศึกษา ประสบการณ์   ความรู้   ความสามารถ ความชำนาญ   คุณสมบัติทางกายภาพ   ความพร้อมทางจิตใจ  

8 3. มาตรฐานการทำงาน  (Job Standard) การนำข้อมูลจากการวิเคราะห์งานมาใช้เป็นเกณฑ์สำหรับกำหนดแนวทางในการทำงาน โดยบุคลากรจะทราบถึงความต้องการขององค์การที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตน จึงไม่ก่อให้เกิดความสับสนในการทำงานขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างสอดคล้องกันและมีประสิทธิภาพ

9 4. การประเมินค่างาน  (Job Evaluation) การนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์งานมาใช้เปรียบเทียบความสัมพันธ์และหาความสำคัญของแต่ละคน และสามารถจัดทำระบบการจ่ายค่าจ้างและผลตอบแทนที่เป็นธรรม โดยการเปรียบเทียบข้อมูลกับทั้งภายในองค์การและเปรียบเทียบกับตลาดแรงงาน

10 การวิเคราะห์งานเพื่อไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆขององค์กร

11 1. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
2. การสรรหาและการคัดเลือกบุคลากร 3. การฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากร 4. การประเมินผลการปฏิบัติงาน 5. การกำหนดค่าตอบแทน 6. การส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน 7. การออกแบบงาน หัวข้อ 2 8. ประโยชน์อื่นๆ

12 กระบวนการในการวิเคราะห์งาน

13 ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนที่ 1 การระบุงาน (Job Identification) ระบุงานและขอบเขตของงานที่ตนต้องการจะทำการศึกษา(Job Study) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  การสังเกต (Observation Method) การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire Method) แบบสอบถามแบบปลายเปิด แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์ (Interview Method) ส่วนบุคคล เป็นกลุ่ม การประชุม (Conference Method) การศึกษาจากบันทึกงานประจำวัน (Diary Method) การทดลองปฏิบัติงาน (Job Experiment Method)

14 ขั้นตอนที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)
ขั้นตอนที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูล  (Data Collection) การปฏิบัติการโดยพยายามเก็บรวบรวมข้อมูลจากงานที่ทำการศึกษาตามวิธีการที่ได้วางแผนไว้ ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำสารสนเทศของงาน (Job Analysis Information) ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจะถูกนำมาใช้ประกอบการศึกษาและวิเคราะห์งาน ถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบที่สำคัญ ได้แก่ เอกสารพรรณนาลักษณะงาน เอกสารระบุข้อกำหนดของงาน และมาตรฐานการทำงาน

15 คุณสมบัติของนักวิเคราะห์งาน
มีความตื่นตัว มีความรู้และประสบการณ์ มีพื้นฐานด้านการวิจัย มีความเข้าใจในงาน มีบุคลิกภาพเหมาะสม มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร มีทักษะในการวิเคราะห์

16 การออกแบบงาน Job Design
กระบวนการ กำหนดโครงสร้างของงานและการกำหนดกิจกรรมของงานเฉพาะอย่างให้แก่พนักงานแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายขององค์กร

17 การออกแบบงาน Job Design การออกแบบงานจะ ประกอบการตัดสินใจว่า
ใคร (who) ? ทําที่ไหน (where) ? ทําไมจึงทํา (why) ? ทําเมื่อไร (when) ? ทําอะไร (what) ? ทําอย่างไร (how) ? โดยการออกแบบงานจะต้องดําเนินการ เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์งาน

18 กระบวนการออกแบบงาน แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
1. ลักษณะเฉพาะอย่างของแต่ละงาน 2. ลักษณะเฉพาะอย่างของวิธีการปฏิบัติงาน 3. การรวมแต่ละงานให้เป็นงานเฉพาะของแต่ละคน

19 การออกแบบงานควรต้องพิจารณาในด้านต่างๆ ดังนี้
การออกแบบงานควรต้องพิจารณาในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. ขอบเขตของงานและความลึกของงาน (job scope and depth) ขอบเขตของงาน เป็นการแสดงจํานวนและความหลากหลายของงานของพนักงานคนใดคนหนึ่ง ความลึกของงาน หมายถึงเสรีภาพของผู้ปฏิบัติงานที่จะวางแผนและการ จัดการงานของตน ตลอดจนการปรับปรุงทุกด้านด้วยการติดต่อสื่อสารกับฝ่ายต่างๆ 2. การใช้วิธีเทคนิคทางสังคมเพื่อออกแบบงาน (socio technical approach to job design) 2.1 งานที่จัดทําให้พนักงานแต่ละบุคคลต้องมีเหตุผลและมีความหลากหลาย 2.2 พนักงานต้องสามารถที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับงานและเป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 2.3 พนักงานต้องการตัดสินใจได้ด้วยตนเองในขอบเขตงานที่ทำ 2.4 พนักงานต้องการความช่วยเหลือทางสังคมบางอย่างเพียงเล็กน้อย 2.5 พนักงานต้องการสร้างความสัมพันธ์ของงานที่ทำกับชีวิตทางสังคมของเขา 2.6 พนักงานต้องเชื่อว่างานจะนาไปสู่อนาคตที่ต้องการ

20 การออกแบบงานควรต้องพิจารณาในด้านต่างๆ ดังนี้
การออกแบบงานควรต้องพิจารณาในด้านต่างๆ ดังนี้ 3. สภาพแวดล้อมในการทํางานทางกายภาพ (the physical work environment) สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการทํางาน ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น การถ่ายเทอากาศ เสียง และ สี 4. ตารางทํางานที่เป็นทางเลือก (alternative work schedules) ซึ่งมีผลในการเพิ่มผลผลิตหรือลดต้นทุน มีรายละเอียดของแต่ละวิธีการดังนี้ เวลาที่ยืดหยุ่นได้ (flextime) การแบ่งปันงาน (job sharing) ชั่วโมงทํางานต่อสัปดาห์ที่อัดแน่น (condensed work week)

21 สมาชิกในกลุ่ม น.ส.ปวีนุช เหมือนพุฒ รหัสนักศึกษา 56100213
น.ส.ปวีนุช เหมือนพุฒ รหัสนักศึกษา น.ส.พัชรีพร บุญสา รหัสนักศึกษา น.ส.เรณุกา ประเสริฐกรรณ รหัสนักศึกษา น.ส.ลลิดา วาระเพียง รหัสนักศึกษา น.ส.ศุภิสรา ภูสุมาศ รหัสนักศึกษา น.ส.สวรรยา วัฒนกิจเจริญมั่น รหัสนักศึกษา


ดาวน์โหลด ppt การวิเคราะห์งาน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google