งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Application of Software Package in Office

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Application of Software Package in Office"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 278206 Application of Software Package in Office
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) อ.ธารารัตน์ พวงสุวรรณ

2 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational database)
ปี ค.ศ.1970 โดย ดร.เอดการ์ คอดด์ (Edgar F. Codd) เป็นรูปแบบที่ทำความเข้าใจได้ง่าย สามารถจัดการกับข้อมูลได้โดยใช้คำสั่งง่าย ๆ ส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้ กับส่วนของการเก็บข้อมูลจริงนั้นมีความเป็นอิสระต่อกัน นั่นคือในมุมมองของผู้ใช้จะไม่รู้สึกถึงรายละเอียดที่ซับซ้อนของการเก็บจริง ภาษาที่ใช้ในการเรียกดูข้อมูลเป็นลักษณะคล้ายภาษาอังกฤษ และไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นลำดับขั้นตอน เช่น ภาษา SQL

3 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational database)
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ นั้นจะอยู่ในรูปแบบของตาราง 2 มิติประกอบด้วย แถว (ROW) และ คอลัมน์ (COLUMN) คอลัมน์ (COLUMN) แถว (ROW)

4 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational database)
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ใช้ DBMS เป็นพื้นฐานของโมเดลเชิงสัมพันธ์ เรียกว่า “ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management System : RDBMS)

5 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง รีเลชั่น (Relation) แอทตริบิวต์ (Attribute) โดเมน (Domain) ทัพเพิล (Tuple) ดีกรี (Degree) คาร์ดินัลลิตี้ (Cardinality)

6 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
รีเลชั่น หมายถึง การกำหนดตารางที่ประกอบด้วยคอลัมน์และแถว หรือตาราง 2 มิติ

7 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ลักษณะของรีเลชั่น เป็นตาราง 2 มิติ แต่ละช่องของตารางต้องบรรจุข้อมูลเพียงค่าเดียว ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับคอลัมน์ หรือแถวใด ๆ ข้อมูลในแต่ละแถวต้องไม่ซ้ำกัน ข้อมูลในแต่ละคอลัมน์จะต้องเป็นข้อมูลประเภทเดียวกัน

8 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
แอทตริบิวต์ คือ คุณสมบัติของรีเลชั่น หรือคอลัมน์ของตารางนั่นเอง หรืออาจเทียบได้กับฟิลด์ในแฟ้มข้อมูล นักศึกษา (รหัสนักศึกษา, ชื่อ-นามสกุล, เพศ, เบอร์ติดต่อ)

9 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
โดเมน (Domain) คือการระบุขอบเขตข้อมูลที่เป็นไปได้ให้แก่แอทตริบิวต์ หนึ่ง ๆ เพื่อเป็นการรับประกันความถูกต้องข้อมูลในระดับหนึ่ง เช่น โดเมนของแอทตริบิวต์เพศ คือ ชาย หรือ หญิง อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โดเมนของเงินเดือนอาจารย์จะต้องมีค่าไม่เป็นศูนย์ และ ไม่ติดลบ โดเมนของชื่อสมาชิกจะต้องเป็นตัวอักษรเท่านั้น

10 โดเมน (Domain) คุณสมบัติของ Domain แต่ละโดเมนจะถูกกำหนดด้วย ชื่อ, ชนิดข้อมูล(data type) และ รูปแบบ (Format) ดังตัวอย่าง ชื่อ ชนิดข้อมูล รูปแบบ Dept_name String 15 Char Salary Integer 8 digits

11 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ทัพเพิล (Tuple) คือ แถว หรือระเบียน ในตาราง ดีกรี (Degree) คือ จำนวนแอทตริบิวต์ในรีเลชั่น ดีกรีอาจชี้ให้เห็นถึงความละเอียดของรายการข้อมูลก็ได้ คาร์ดินัลลิตี้ (Cardinality) คือจำนวนแถว หรือจำนวนทัพเพิล ภายในตารางหนึ่ง ๆ คาร์ดินัลลิตี้ชี้ให้เห็นถึงจำนวนรายการข้อมูลในตารางหนึ่ง ๆ

12 ดีกรี(degree) และคาร์ดินัลลิตี(Cardinality) ของ Relation
Dept_no Dept_name Location 10 การเงิน กรุงเทพ 20 วิจัย เชียงใหม่ 30 ขาย ชลบุรี Cardinality

13 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
คีย์หลัก (Primary key) แอทตริบิวต์ที่ใช้เพื่อการเจาะจงข้อมูลแถวใดแถวหนึ่งในตาราง โดยที่คีย์หลัก อาจประกอบด้วยแอทตริบิวต์ 1 ตัวหรือมากกว่า 1 ตัว ที่สามารถใช้เป็นตัวเจาะจงบอกว่ากำลังอ้างอิงถึงทัพเพิลไหนหรือแถวไหน อาศัยคีย์หลักเพื่อชี้เฉพาะเจาะจงว่าต้องการระบุถึงข้อมูลแถวใดแถวหนึ่งในรีเลชั่น

14 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
คุณสมบัติของแอทตริบิวต์ที่เป็นคีย์หลัก (1) ค่าของข้อมูลทุกแถวในแอทตริบิวต์ที่ทำหน้าที่เป็นคีย์หลักต้องไม่ซ้ำกัน (2) แอทตริบิวต์ที่เป็นคีย์หลักอาจประกอบขึ้นจากแอทตริบิวต์มากกว่า 1 แอทตริบิวต์ เพื่อให้ได้เป็นค่าที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละแถว เรียกว่า Composite key (3) แอทตริบิวต์ที่เป็นคีย์หลักจะต้องไม่เป็นค่าว่าง (null values)

15 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ตารางลูกค้า ลูกค้า (รหัสลูกค้า, ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, โปรโมชัน, เบอร์ติดต่อ, หมายเลขประจำตัวประชาชน)

16 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ตารางการลงทะเบียน การลงทะเบียน (รหัสนักศึกษา, รหัสวิชาที่ลงทะเบียน, รหัสผู้สอน, สถานที่, วันที่เรียน

17 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
คีย์นอก (Foreign key) ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างรีเลชันจะอาศัยแอทตริบิวต์ตัวหนึ่งซึ่งไปสัมพันธ์กับคีย์หลักในรีเลชันอื่น เกิดเป็นการเชื่อมโยงระหว่างรีเลชัน แอทตริบิวต์นี้เรียกว่า คีย์นอก คือ แอทตริบิวต์ที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชัน คือ กลุ่มของแอทตริบิวต์ในรีเลชันหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นคีย์หลัก และไปปรากฏในอีกรีเลชั่นหนึ่ง

18 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
คุณสมบัติของคีย์นอก (1) ค่าที่ปรากฏในแอทตริบิวต์ที่เป็นคีย์นอกในรีเลชันหนึ่งจะต้องมีค่าเท่ากับค่าในแอทตริบิวต์ที่เป็นคีย์หลักในแถวใดแถวหนึ่งในอีกรีเลชัน หนึ่ง (2) ค่าที่ปรากฏในแอทตริบิวต์ที่เป็นคีย์นอกอาจเป็นค่าว่างได้ (3) ทั้งคีย์นอกและคีย์หลักในอีกรีเลชันที่สัมพันธ์กันไม่จำเป็นต้องมีชื่อแอทตริบิวต์เดียวกันก็ได้ แต่จำเป็นต้องมีโดเมนเดียวกัน

19 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

20 ความสัมพันธ์ของข้อมูล
ความสัมพันธ์ของข้อมูลแบ่งเป็น 3 ประเภท ซึ่งการออกแบบ ฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างเชิงสัมพันธ์ หรือ (Relation database) ก็คือการออกแบบตารางเพื่อเก็บข้อมูลกลุ่มต่าง ๆ โดยจะต้องสามารถกำหนดความสัมพันธ์ให้ระหว่างกลุ่มข้อมูลเหล่านั้น 1) ความสัมพันธ์แบบ 1:1 (One to One ) 2) ความสัมพันธ์แบบ 1:N (One to Many) 3) ความสัมพันธ์แบบ M:N (Many to Many)

21 บัตรประจำตัวนักศึกษา
ความสัมพันธ์ของข้อมูล 1) ความสัมพันธ์แบบ 1:1 (One to One ) ความสัมพันธ์แบบ 1:1 (One to One) คือความสัมพันธ์ของข้อมูล 2 ตัว ที่มีลักษณะ 1 ต่อ 1 หรือข้อมูลตัวหนึ่ง จะมีความสัมพันธ์กับข้อมูลอีก ตัวหนึ่งได้เพียงค่าเดียวเท่านั้น 1 นักศึกษา บัตรประจำตัวนักศึกษา

22 ความสัมพันธ์ของข้อมูล
2) ความสัมพันธ์แบบ 1:N (One to Many) ความสัมพันธ์แบบ 1:N (One to Many) คือ ความสัมพันธ์ซึ่งข้อมูลตัวหนึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อมูลตัวอื่นได้หลายอย่าง N ชื่อลูกค้า บัญชีธนาคาร

23 ความสัมพันธ์ของข้อมูล
3) ความสัมพันธ์แบบ M:N (Many to Many) ความสัมพันธ์แบบ M:N (Many to Many) คือ ความสัมพันธ์ซึ่งข้อมูลตัวหนึ่งมีหลายค่า และมีความสัมพันธ์กับข้อมูลตัวอื่นได้หลายอย่าง เช่น มีวิชาที่เปิดสอนหลายวิชา แต่ละวิชามีนักศึกษาหลายคนลงเรียน ใน 1 คอร์ดเปิดสอนได้หลายวิชา วิชาภาษาอังกฤษ วิชาเคมี วิชาฟิสิกส์ นศ.หลายคน ลงได้หลายวิชา สมชาย สมปอง สมศักดิ์ สมทรง สมทรง แต่ละรายวิชา น.ศ. สามารถลงได้หลายคน

24 ความสัมพันธ์ของข้อมูล
3) ความสัมพันธ์แบบ M:N (Many to Many) M N วิชาเรียน นักศึกษา

25 กฎที่ใช้จัดเก็บในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ในการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นั้น มีข้อกำหนด เพื่อสร้างความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูล (Integrity) ในฐานข้อมูลดังนี้

26 กฎที่ใช้จัดเก็บในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
เป็นไปตามกฎความคงสภาพของการอ้างอิง (Referential integrity rule) กฎข้อที่ 1 ทุกเทเบิลต้องมีคีย์หลัก (Primary Key)

27 กฎที่ใช้จัดเก็บในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
กฎข้อที่ 2 คีย์หลักในแต่ละเทเบิลจะไม่อนุญาตให้เป็นค่าว่าง

28 กฎที่ใช้จัดเก็บในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
กฎข้อที่ 3 ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเทเบิล 2 เทเบิลในฐานข้อมูล เชิงสัมพันธ์สามารถกำหนด (Foreign Key) ซึ่งอาจจะมีค่า NULL (ไม่มีข้อมูล) หรือมีค่าตรงกับคีย์หลักในอีกเทเบิลหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กัน

29 กฎที่ใช้จัดเก็บในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

30 มุงหลังคา ไม่ใช่ ข้อมูลที่มีในตารางประเภทความชำนาญ
รูปแสดงรีเลชันที่ผิดกฎความคงสภาพของการอ้างอิง

31 MS Access 2007 เป็นโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management) ที่มีความสามารถทั้งจัดการฐานข้อมูลและสร้างโปรแกรมในตัวเดียวกัน เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องการเขียนโปรแกรมมากนัก เนื่องจากมีวิธีการใช้งานง่ายและสะดวกต่อผู้ใช้

32 ความสามารถของโปรแกรม Microsoft Access
มีเครื่องมือต่างๆ ในการจัดการฐานข้อมูลรวมถึงสร้างโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว และใช้งานง่ายซึ่งอาจจะไม่ต้องเขียนโปรแกรมเลย มีเครื่องมือในการ สอบถามข้อมูลต่างๆ จากฐานข้อมูล เพื่อนำผลลัพธ์ไปทำงานบางอย่าง เช่น เราอาจจะต้องการทราบว่ายอดขายสินค้าแต่ละอย่างเป็นเท่าไร และให้พิมพ์ออกมาเป็นรายงาน เป็นต้น สามารถสร้างเครื่อง มือในการติดต่อกับผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม เช่น การแสดงข้อมูลลูกค้าให้ผู้ใช้งานแก้ไขข้อมูลได้ เป็นต้น ช่วยในการสร้าง รายงานจากฐานข้อมูลได้ เพื่อใช้ในการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์ชื่อ และที่อยู่ลูกค้า เพื่อทำฉลากติดซองจดหมายส่งข้อมูลไปยังลูกค้า เป็นต้น

33 ขั้นตอนการสร้างฐานข้อมูลด้วย ACCESS
ออกแบบฐานข้อมูล สร้างตารางและกำหนดความสัมพันธ์ สร้างฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูล สร้างคิวรีเพื่อดึงข้อมูลที่ต้องการ จัดทำรายงาน

34 การเข้าสู่โปรแกรม

35 1 2 19/04/62 Microsoft Access

36 Table ใช้สำหรับกำหนดโครงสร้างตาราง
Forms ใช้สร้างหน้าจอสำหรับบันทึกข้อมูลหรือแสดงข้อมูล Report ใช้สร้างรูปแบบรายงานต่าง ๆ Queries ใช้สืบค้นหรือเรียกดูข้อมูลตามเงื่อนไข 19/04/62 Microsoft Access

37 การใช้งานโปรแกรม ACCESS 2007
เมื่อ click ที่แถบ Create จะเห็นเครื่องมือทั้ง 4 ดังนี้ query

38 แบบฝึกหัด ให้นิสิตออกแบบตารางและความสัมพันธ์ของตาราง เพื่อเก็บข้อมูลดังต่อไปนี้ ตารางนิสิต เก็บข้อมูลเกี่ยวกับนิสิต ตารางรายวิชาเรียน เก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชา ตารางอาจารย์ผู้สอน เก็บข้อมูลเกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอน โดยกำหนดความสัมพันธ์ดังนี้ นิสิตหนึ่งคนสามารถลงทะเบียนเรียนได้หลายรายวิชา รายวิชาหนึ่งสามารถมีนิสิตลงทะเบียนเรียนได้หลายคน อาจารย์คนหนึ่งสามารถสอนได้หลายรายวิชา รายวิชาหนึ่งสามารถสอนโดยอาจารย์ 1 ท่านเท่านั้น หมายเหตุ กำหนดคีย์หลักสำหรับทุกตารางด้วย


ดาวน์โหลด ppt Application of Software Package in Office

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google