งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Fundamental Logistics Management

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Fundamental Logistics Management"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Fundamental Logistics Management

2 ความหมายของโลจิสติกส์ (Logistics)
โลจิสติกส์ (logistics) มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า logistique ที่มีรากศัพท์คำว่า โลเชร์ (loger) หมายถึง การเก็บ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการขนส่งสินค้าทางการทหาร ในการส่งกำลังบำรุง ทั้ง เสบียง อาวุธ กำลังพล เพื่อสนับสนุนการรบ หรือกิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ จากอีกที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง อาจมีการจัดเก็บระยะเวลานานหรือระยะเวลาชั่วคราว เช่น เอกสาร สินค้า สำเร็จรูป วัตถุดิบ เป็นต้น

3 ความหมายของโลจิสติกส์ (Logistics)
คำนิยามของ The Council of Logistics Management กระบวนการวางแผนการดำเนินงาน การควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษา สินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการ ผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

4 ระดับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จำแนกไว้ 4 ระดับ ดังนี้ การกระจายสินค้า (Physical Distribution) การบูรณาการโลจิสติกส์ภายใน (Internally Integrated Logistics) การบูรณาการโลจิสติกส์ภายนอก (Externally Integrated Logistics) การจัดการโลจิสติกส์ข้ามชาติ (Global Logistics Management)

5 การกระจายสินค้า (Physical Distribution)
การพัฒนาที่มุ่งเน้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าสำเร็จรูปจากผู้ผลิตไป ยังผู้บริโภค ซึ่งจะครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขนส่ง (Transportation) การจัดเก็บ สินค้า (Warehousing) การจัดการวัสดุ (Supply Management) และการบรรจุ ภัณฑ์ (Packaging) ในระดับนี้จะยังไม่มุ่งเน้นการพัฒนาในส่วนที่เป็นสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบ (Raw Material) และสินค้าระหว่างผลิต (Work in Process)

6 การบูรณาการโลจิสติกส์ภายใน (Internally Integrated Logistics)
เป็นระดับการพัฒนาที่บูรณาการกิจกรรมโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนกระบวนการผลิต (Production) โดยจะบูรณาการการจัดการภายในบริษัทตั้งแต่กิจกรรมการวางแผนผลิต การจัดซื้อวัตถุดิบ จนถึงการกระจายสินค้าส่งถึงผู้บริโภคเพื่อเพิ่มความถี่หรือความสามารถในการ ระบายสินค้าอันจะส่งผลทำให้ปริมาณสินค้าคงคลังลดลงได้ การพัฒนาในระดับนี้จำเป็นต้องใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบซอฟท์แวร์ช่วยในการ บริหารจัดการกิจกรรมทั้งระบบด้วย

7 การบูรณาการโลจิสติกส์ภายนอก (Externally Integrated Logistics)
เป็นระดับการพัฒนาที่มีการบูรณาการการขนส่งทุกรูปแบบ (Mode) อย่างมีระสิทธิภาพ เช่น การกำหนดให้มีจุดขนถ่ายสินค้าที่ได้มาตรฐาน รวมถึงนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ใน การบูรณาการข้อมูลระหว่างบริษัทคู่ค้า (Partner) นอกจากนี้ยังมีการใช้บริการจากผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (Third Party Logistics Provider) เฉพาะด้านด้วย

8 การจัดการโลจิสติกส์ข้ามชาติ (Global Logistics Management)
เป็นระดับการพัฒนาที่เกิดจากบริษัทข้ามชาติเพื่อแก้ปัญหาเรื่องต้นทุนในประเทศ เริ่มหาแหล่งวัตถุดิบ หรือ แรงงานที่มีต้นทุนต่ำกว่าในต่างประเทศ ด้านการขนส่งจะมีการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพด้วยการบริการจัดการ การขนส่งใน รูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึงการส่งเสริมการส่งสินค้าผ่านแดน นอกจากนี้ยังมีการให้ความสำคัญกับผลกระทบของการขนส่งต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยด้านการขนส่ง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายภายในและระหว่างประเทศ และมีการพึ่งพาผู้ให้ บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศด้วย

9 วัตถุประสงค์ของงานด้านโลจิสติกส์
สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ลดความแปรปรวนของกระบวนการต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด จัดเก็บสินค้าคงคลัง หรือ วัสดุคงคลังอื่นๆ ในปริมาณน้อยที่สุด บริหารจัดการการเคลื่อนย้ายวัสดุ สินค้าต่างๆ ให้เหมาะสม วัตถุประสงค์อื่นๆ ที่องค์กรคาดหวัง หรือ โซ่อุปทานคาดหวัง

10 สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
เป็นวัตถุประสงค์หลักในการให้บริการลูกค้า ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเวลาที่ เหมาะสม โดยที่ในการดำเนินการจะมุ่งเน้นที่ความรวดเร็วในการส่งมอบ การจัดให้มีสินค้าคงคลัง อย่างเพียงพอ หรืออาจจะต้องจัดหาศูนย์กระจายสินค้าที่ใกล้กับกลุ่มลูกค้า ที่จะสามารถ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ และการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าที่ค่อนข้างแม่นยำ

11 ลดความแปรปรวนของกระบวนการต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด
ความแปรปรวนในกระบวนการอาจจะเกิดจากความล่าช้าในการรับค้าสั่งซื้อจากลูกค้า ความ ล่าช้าจากการส่งผิด เหตุการณ์ผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไขทำให้เกิดความขัดข้องในกระบวนการ ผลิต ในการดำเนินงานจึงอาจจะมุ่งเน้นไปที่การจัดการข้อมูลให้มีความถูกต้อง แม่นยำ ใช้เวลา รับ-ส่งข้อมูลสั้น

12 บริหารจัดการการเคลื่อนย้ายวัสดุ สินค้าต่างๆ ให้เหมาะสม
ระบบโลจิสติกส์ที่จะต้องออกแบบเพื่อเอื้อต่อการลดปริมาณการจัดเก็บสินค้าคงคลัง วางแผนการ ดำเนินการให้จัดส่งสินค้าโดยตรงไปยังลูกค้าโดยไม่ต้องทำการจัดเก็บ หรือ การเพิ่มอัตราในการใช้ หรือการหมุนรอบของวัสดุคงคลังให้มีการหมุนรอบได้เร็วขึ้น

13 บริหารจัดการการเคลื่อนย้ายวัสดุ สินค้าต่างๆ ให้เหมาะสม
การเคลื่อนย้าย และการขนส่งสินค้า จัดได้ว่า เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดต้นทุน ทางโลจิสติกส์มาก ที่สุด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวางแผน การเคลื่อนย้ายหรือ การขนส่งให้มีความเหมาะสม ลดต้นทุนใน การขนส่งได้ เช่น การรวมการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าที่อยู่ใกล้กัน การวางแผนการเคลื่อนย้าย สินค้าภายในคลังสินค้า หรือการวางแผนการขนส่งให้เหมาะสม

14 วัตถุประสงค์อื่นๆ ที่องค์กรคาดหวัง หรือ โซ่อุปทานคาดหวัง
วัตถุประสงค์ต่างๆ เหล่านี้ อาจจะขัดแย้งกันระหว่างองค์กรต่างๆ ที่อยู่ใน โซ่อุปทานเดียวกัน ดังนั้น สมาชิกของโซ่อุปทานจำเป็นจะต้องทำการหารือกัน เพื่อให้ได้ซึ่งวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ ร่วมกัน เพื่อทำการออกแบบ โซ่อุปทาน และกิจกรรมโลจิสติกส์ให้เหมาะสม สามารถตอบสนอง วัตถุประสงค์ในการดำเนินการได้

15 กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ (Logistics Activities)
เป็นกิจกรรมสนับสนุนการทำงานภายในองค์กร เพื่อให้ทุกหน่วยงานภายในเชื่อมโยงเข้าหากัน รวมถึงการเชื่อมโยงภายนอกองค์กรทั้งด้านอุปสงค์และอปทาน โดยกิจกรรมหลักด้านโลจิสติกส์ (Key Logistics Activities) สามารถแบ่งออกเป็น 13 กิจกรรม ดังนี้

16

17 กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ (Logistics Activities)
การติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ (Logistics Communications) การบริการลูกค้า (Customer Service) กระบวนการสั่งซื้อ (Order processing) การคาดการณ์ความต้องการ (Demand forecasting) การจัดซื้อ (Procurement) การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) การบริหารการขนส่ง (Traffic and Transportation)

18 กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ (Logistics Activities)
การบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ (Warehousing and Storage) โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) การจัดเตรียมอะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆ (Parts and Services Support) การเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า (Plant and Warehouse Site Selection) การขนถ่ายวัตถุดิบและเคลื่อนย้ายสินค้าภายใน (Material Handling) การบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ (Packaging)

19 การติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ (Logistics Communications)
เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการทางธุรกิจ ทำให้เกิดกระบวนการทางโลจิสติกส์ การสื่อสารภายนอกองค์กร องค์กรได้ให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับลูกค้าหรือกับผู้ขาย การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร เพื่อให้มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานทางด้านโลจิสติกส์ การสื่อสารเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดต้นทุนขึ้นได้ เช่น การรับข้อมูล และส่งต่อข้อมูลที่ผิดพลาด ทำให้ ฝ่ายผลิตหรือจัดส่งนำส่งสินค้าผิดรายการหรือผิดจำนวน มีผลต่อระดับการให้บริการหรือความพึงพอใจ ของลูกค้า การติดต่อสื่อสารที่ดีส่งผลให้องค์กรเกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะทำให้เกิดการดำเนินงานที่ ต่อเนื่อง เกิดการเชื่อมโยงและการไหลของข้อมูล ส่งผลให้กระบวนการเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

20 การบริการลูกค้า (Customer Service)
เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า กิจกรรมนี้ครอบคลุมตั้งแต่การนำส่งสินค้าที่ถูกต้อง ถูกจำนวน ถูกสถานที่ ถูกเวลาตรงตามเงื่อนไข ที่ตกลงกันไว้ ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ประสิทธิภาพในการให้บริการจะมากหรือน้อยนั้นต้องขึ้นอยู่กับกิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์อื่น ประกอบด้วย เช่น กิจกรรมการขนส่งที่ช้าจะส่งผลให้ระดับความพึงพอใจของลูกค้าลดลง

21 กระบวนการสั่งซื้อ (Order processing)
กระบวนการในการจัดการคำสั่งซื้อ ครอบคลุมตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า การติดต่อสื่อสาร กับลูกค้า การตรวจสอบยอดสินค้าคงคลัง รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้า กิจกรรมนี้เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างองค์กรกับลูกค้า ดังนั้นมีผลต่อระดับความพึงพอใจของลูกค้าได้ ง่าย จึงควรใช้เวลาในกระบวนการนี้ให้สั้นและหลีกเลี่ยงความผิดพลาดให้ได้มากที่สุด

22 การคาดการณ์ความต้องการ (Demand forecasting)
เป็นการพยากรณ์ความต้องการในตัวสินค้าหรือบริการของลูกค้า นับว่าเป็นกิจกรรมที่มี ความสำคัญในการสร้างผลกำไรหรือทำให้องค์กรขาดทุนได้ การคาดการณ์ความต้องการช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดทิศทางในการดาเนินงาน กล่าวคือ สามารถวางแผนความต้องการใช้ทรัพยากรในแต่ละกระบวนการได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ ปริมาณการจัดเก็บสินค้าคงคลังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

23 การจัดซื้อ (Procurement)
การจัดซื้อเป็นกิจกรรมในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบเพื่อจัดซื้อสินค้าและวัตถุดิบนั้นๆ รวมไปถึงการบริหารอุปทานโดยรวมตั้งแต่การคัดเลือกผู้ขาย การเจรจาต่อรองราคาหรือเงื่อนไข ปริมาณในการสั่งซื้อ และการประเมินคุณภาพของผู้ขายสินค้าและวัตถุดิบนั้นๆ วัตถุประสงค์เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรได้รับสินค้าหรือวัตถุดิบที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการไปใช้ ในการปฏิบัติงานขององค์กรตามส่วนงานต่างๆ ด้วยต้นทุนที่เหมาะสมที่สุดทั้งในตัวสินค้าหรือ วัตถุดิบเอง และกระบวนการจัดซื้อ

24 การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
การบริหารสินค้าคงคลังเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของส่วนงานอื่น รวมถึงมีผลต่อกำไรขาดทุนขององค์กร เช่น หากระดับสินค้าคงคลังสูงทำให้ต้นทุนในการจัดเก็บ ดูแลเพิ่มขึ้น หากสินค้าที่เก็บล้าสมัยจะก่อให้เกิดต้นทุนเพิ่มมากขึ้นอีก ในแง่ของผลกระทบต่อส่วนงานอื่น เช่น หากมีการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่น้อยต้นทุนในการจัดเก็บ ดูแลก็จะต่ำ แต่องค์กรอาจพบว่าต้นทุนในการขนส่งเพิ่มมากขึ้นก็เป็นได้ เพราะปริมาณการจัดเก็บ ที่น้อย ทำให้ความถี่ในการขนส่งสูงขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องพิจารณาประกอบกันไปอยู่เสมอ Inventory management process

25 การบริหารการขนส่ง (Traffic and Transportation)
การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ หรือสินค้าตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการบริโภค หรือการส่งคืนสินค้า ผิดปกติกลับมายังคลังสินค้า รวมถึงการขนย้ายสินค้าเพื่อนำไปยังจุดที่จะทำลาย องค์กรต้องคำนึงถึงรูปแบบลักษณะการเลือกวิธีการขนส่งประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมกับตัวสินค้า รวมถึงเส้นทางในการขนส่งอีกด้วย เช่น ทางอากาศ ทางน้ำ ทางรถไฟ ทางท่อ ทางรถ เป็นต้น เพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของภูมิภาคนั้นๆ เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าองค์กร มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการจัดส่งให้ถูกสถานที่ ถูกเวลาในสภาพที่สมบูรณ์ รวมถึงการควบคุมต้นทุนที่จะเกิดขึ้นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด Intermodal Transportation (Ekol Logistics)

26 การบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ (Warehousing and Storage)
เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในคลังสินค้า ตั้งแต่กระบวนการในการวางโครงสร้างคลังสินค้า การ ออกแบบและจัดวาง การจัดการพื้นที่ภายในคลังสินค้า ระดับของสินค้าคงคลัง การดูแลรักษา อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นในการดำเนินกิจกรรมภายในคลังสินค้าเพื่อให้การ จัดการคลังสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยต้นทุนที่เหมาะสมที่สุด Behind the scenes of an Amazon warehouse

27 โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)
กระบวนการจัดการสินค้าที่ถูกส่งกลับคืน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ว่าสินค้าเสียหาย หรือหมดอายุการใช้งาน องค์กรมีความจำเป็นในการวางนโยบายที่จะรองรับสินค้าที่ถูกส่งคืนหรือขยะพวกนี้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิด ต้นทุนน้อยที่สุด บางครั้งสินค้าเหล่านี้อาจนำกลับมาสร้างประโยชน์โดยการนำมาผ่านกระบวนการ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ก็เป็นได้ ซึ่ง จะช่วยในเรื่องของต้นทุนได้เป็นอย่างดี ในกรณีที่เป็นสินค้าอันตราย มีผลต่อสภาพแวดล้อม ปัจจุบันมีกฎระเบียบที่เคร่งครัดสำหรับเรื่องการทำลายสินค้าให้ เหมาะสมทำให้องค์กรควรตระหนักถึงส่วนนี้ด้วย Return to Value - P.E.T. Bottles Recycling

28 การจัดเตรียมอะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆ (Parts and Services Support)
เป็นส่วนหนึ่งของการบริการหลังการขาย โดยมีการจัดหาชิ้นส่วน อะไหล่ และเครื่องมืออุปกรณ์ ต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสาหรับการให้บริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในกรณีที่สินค้าเกิดชำรุด ไม่ว่าจะเป็นเพราะจากความบกพร่องของกระบวนการผลิตหรือจากการใช้งานของลูกค้าเองก็ตาม เป็นการรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าไว้และรักษาลูกค้าให้คงอยู่กับองค์กรในระยะยาว องค์กรมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบการจัดการในส่วนนี้ที่มีประสิทธิภาพ

29 การเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า (Plant and Warehouse Site Selection)
กิจกรรรมการเลือกที่ตั้งของโรงงานและคลังสินค้าที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเข้าถึง และลดระยะทางการขนส่ง เพื่อเพิ่มระดับสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ อย่างรวดเร็ว

30 การขนถ่ายวัตถุดิบและเคลื่อนย้ายสินค้าภายใน (Material Handling)
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูปภายใน โรงงานหรือคลังสินค้า มีวัตถุประสงค์ในการลดระยะทางในการเคลื่อนย้าย จำนวนครั้งในการเคลื่อนย้าย รวมถึงปริมาณ ของวัตถุที่เคลื่อนย้าย เพื่อให้มีต้นทุนในการจัดการที่ต่ำที่สุด เพราะการเคลื่อนย้ายทุกครั้ง ก่อให้เกิดต้นทุนแก่องค์กรทั้งสิ้น 'Material Handling Made Simple' at Everest Spices with DAIFUKU ASRS

31 การบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ (Packaging)
วัตถุประสงค์ของบรรจุภัณฑ์และหีบห่อตามหลักการตลาดมีไว้เพื่อเป็นการบ่งบอกรายละเอียดของ สินค้าและสร้างการรับรู้ในตัวสินค้า แต่ในด้าน โลจิสติกส์ บรรจุภัณฑ์และหีบห่อนั้นมีไว้เพื่อป้องกันตัวสินค้าจากความเสียหาย และ อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บ การออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อนั้นต้องมี ความเหมาะสมกับอุปกรณ์การขนย้ายและคลังสินค้า เพื่อช่วยในการลดต้นทุนด้านวัตถุดิบ Packaging in Logistics Management

32 บทบาทของโลจิสติกส์ที่มีต่อองค์กร
โลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินการของแต่ละองค์กรในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ด้านการผลิต และปฏิบัติการ (Manufacturing and Operation) ด้านการตลาด (Marketing) ด้านการเงิน (Financial)

33 ด้านการผลิต และปฏิบัติการ (Manufacturing and Operation)
มีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะในด้านการจัดหา (Procurement) วัตถุดิบป้อนสายการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ทั้งวัตถุดิบ (Raw Material) และ สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) การขนถ่ายวัตถุดิบ และเคลื่อนย้ายสินค้าภายใน (Materials handling) เพื่อสนับสนุนการ ผลิตให้เป็นไปอย่างราบรื่น ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้กิจกรรมโลจิสติกส์ เช่น การวางแผนผลิต/ตารางการผลิต (Production planning/scheduling) การพยากรณ์ความต้องการ (Demand forecasting) วัตถุดิบ และการจัดเก็บวัตถุดิบ ยังมีบทบาทสำคัญช่วยสนับสนุนการผลิตสินค้าด้วย

34 ด้านการตลาด (Marketing)
โลจิสติกส์มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการพยากรณ์ความ ต้องการ (Demand forecasting) สินค้า การเติมเต็มคำสั่งซื้อ (Order fulfillment) และการขนส่งสินค้า (Transportation) กิจกรรมโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเวลา และสถานที่ที่ลูกค้าต้องการ ทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจสูงสุด

35 ด้านการเงิน (Financial)
โลจิตสิกส์มีผลกระทบโดยตรงต่อการเงินขององค์กร เช่น รายได้และการลงทุนโดยการมีสินค้าคง คลังที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า จะเป็นตัวผลักดันทำให้องค์กรสามารถเพิ่มรายได้ได้ มากขึ้น การปฏิบัติงานโลจิสติกส์อื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพยังจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ องค์กรได้อย่างมาก ระยะเวลาในการส่งมอบวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่สั้นลง ยังมีส่วนช่วยลดปริมาณสินค้าคงคลัง และลดต้นทุนจมที่เกิดจากการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่มากเกินความจำเป็นอีกด้วย

36 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การสื่อสารพื้นฐาน ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) เป็น การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีโครงสร้างระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผล อัตโนมัติ ถูกใช้โดยบริษัทที่เป็นพันธมิตรกันในโซ่อุปทานเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จำเป็นต่อการ ดำเนินธุรกิจ EDI ทำให้ข้อมูลการซื้อขายของลูกค้ากับบริษัท มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงมาก ไม่ จำเป็นต้องใช้พนักงานในการรับส่งข้อมูลที่ต้องการจะแลกเปลี่ยน

37 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

38 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การวางแผนโซ่อุปทาน การวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) เป็น ระบบสารสนเทศที่อิงธุรกรรมและบูรณาการทั้งระบบธุรกิจ สามารถเก็บข้อมูลของทั้งธุรกิจเข้าสู่ ระบบสารสนเทศไว้ที่เดียวกัน เช่น คำสั่งซื้อลูกค้า สินค้าคงคลัง การเงิน

39 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การจัดการคลังสินค้า ระบบการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System หรือ WMS) เป็นระบบที่นำมาใช้เพื่อควบคุมกิจกรรมดั้งเดิมของการจัดการคลังสินค้า ช่วยจัดการเกี่ยวกับ พนักงานปฏิบัติการในคลัง และรถยก สามารถทำงานในรูปแบบไร้สาย รวมถึงระบบการทำงาน และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ระบบจัดเก็บและหยิบเลือกอัตโนมัติ และระบบขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ

40 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การจัดการสินค้าคงคลัง ระบบพยากรณ์และจัดการสินค้าคงคลัง ระบบสามารถพยากรณ์อุปสงค์ในอนาคตของลูกค้า และ ความต้องการในการถือครองสินค้าคงคลังที่เกี่ยวข้องกัน ผ่านเทคนิควิธีการต่าง ๆ ระบบประเภทนี้จะรับข้อมูลโดยตรงจากการประมวลผลคำสั่งซื้อของฝ่ายขายและระบบจัดการ คลังสินค้า เพื่อประเมินอุปสงค์ของลูกค้าในแต่ละ SKU จึงช่วยให้องค์กรลดการถือครองสินค้า คงคลังลงได้ ปรับปรุงการหมุนเวียนสินค้าคงคลังและผลตอบแทนของเงินลงทุนและลดโอกาสที่จะ เกิดเหตุการณ์สินค้าคงคลังหมด

41 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การขนส่ง การจัดการการติดตามและตรวจสอบกลุ่มยานพาหนะ (Vehicle Fleet Management) ช่วยผู้จัดการฝ่ายขนส่งในการติดตามประสิทธิผลของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง โดยมีการเก็บ ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ระยะทางที่เดินทาง รายละเอียดของพาหนะ น้ำหนักที่ขน เชื้อเพลิงที่ใช้ รายละเอียดพนักงานขับรถ เพื่อนำมาใช้คำนวณสำหรับสร้างดัชนีหลักสำหรับการวัด สมรรถนะยานพาหนะได้

42 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การสร้างความสัมพันธ์ลูกค้า การสร้างความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management หรือ CRM) ระบบสารสนเทศสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้เกิดรูปแบบต่าง ๆ ของการสร้างความสัมพันธ์ลูกค้าตามมา ช่วยให้ สามารถเก็บข้อมูลและจัดกลุ่มลูกค้าได้อย่างเป็นหมวดหมู่ สามารถเข้าถึงลูกค้าและลูกค้าเข้าถึง องค์กรได้ง่ายและรวดเร็ว

43 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ระบบการขายหน้าร้าน ระบบบริหารการขายหน้าร้าน (Point-of-Sale) เป็นระบบที่ช่วยบันทึกธุรกรรมที่จุดขาย ในทันที มีการระบุรายละเอียดของสินค้า บันทึกสินค้า จัดการราคา ทำให้กระบวนการขายสินค้า ทำได้รวดเร็วขึ้น ลดข้อผิดพลาดจากการคิดราคาผิด หรือรวมราคาผิด อีกทั้งยังสามารถประสาน การเติมเต็มสินค้าได้ทันเวลา ทำให้ลดปัญหากรณีที่สินค้าคงคลังหมดจากหน้าร้าน

44 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ (e-Commerce)การค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต ช่วยให้ผู้บริโภค เข้าถึงสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น หรือแม้แต่การติดต่อกันระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ ด้วยกันเอง โดยสามารถแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและการบริการไว้บนเว็บไซต์ ทำให้การทำ การค้าระหว่างกันมีความสะดวกและรวดเร็วขึ้น

45 ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จะเกิดประโยชน์ ต่อ องค์กร และโซ่อุปทานดังต่อไปนี้ สามารถเชื่อมโยงกิจกรรมการดำเนินงานและหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยกัน ช่วยให้เกิดการประสานร่วมมือกันระหว่างองค์กรภายในโซ่อุปทาน ข้อมูลที่ผ่านระบบสารสนเทศสามารถควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องได้ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

46 ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานและส่งผลไปยังการลดต้นทุนในการดำเนินงาน สามารถนำมาใช้สร้างเป็นฐานข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางธุรกิจ ตัวอย่างองค์กรที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการดำเนินงานภายในโซ่อุปทานเพื่อ ก่อให้เกิดการประสานร่วมมือกันและเกิดการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภายในโซ่อุปทาน

47 Walmart


ดาวน์โหลด ppt Fundamental Logistics Management

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google