ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยJonas Jørgensen ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การพยาบาลผู้ที่มีนึกคิดและการรับรู้ผิดปกติ : Dementia, Delirium
โดย อาจารย์ นิตยา ศรีจำนง
2
ความผิดปกติจากความเสื่อมด้านเชาวน์ปัญญาแบ่งตามลักษณะของ การเกิดอาการ : 1. Delirium เนื่องจากสมองเสียการทำหน้าที่ ทำให้มีการรับรู้ไม่ดี สับสนงุนงง(Disorientation) อาจมีอาการกลัวหรือ อาการ Hallucination (มี อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว/ชั่วคราว/สามารถรักษาให้ หายได้)
3
2. Dementia สาเหตุจากภาวะเสื่อมของสมอง : มีอาการค่อยเป็นค่อยไป มีการสูญเสียด้านปัญญาอย่างถาวร รักษาไม่หาย
4
Delirium : อาการและอาการแสดง
1. มีความผิดปกติด้านสติสัมปชัญญะและการรู้ตัว : - มีการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ไม่ดี - มีความผิดปกติด้านความสามารถในการสนใจสึ่งใด สิ่งหนึ่ง 2. มีอาการบ่งบอกความผิดปกติของเชาวน์ปัญญา (Cognition) : - การรับรู้ (Perception) อาจมีอาการ ประสาทหลอน (Haiiucination)/ แปลสิ่งที่เห็นผิด(Illution)..เห็นเชือกเป็นงู ความคิด (Thinking) ไม่สามารถหาเหตุผลตัดสินใจได้
5
- ความจำ (Memory) : ความจำปัจจุบัน 1) การรับข้อมูล (register) 2) การเก็บจำข้อมูล ( retain) 3) การเรียกใช้ข้อมูล (recall information) 3. อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย : ร่าเริงเกินไป โกรธ กลัว เกลียด เปลี่ยนได้โดยเฉียบพลันโดยที่ผู้อื่น ไม่คิด 4. มีปัญหาการนอน : ไม่ยอมนอน นอนไม่หลับ หรือ หลับๆตื่นๆ
6
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะ Delirium
1. ติดเชื้อในสมอง/กระแสเลือด 2. หยุดสิ่งเสพติดทันที : สุรา/สารเสพติด จากการใช้เป็น เวลานาน ทำให้เกิดอาการขาด…สุรา 3. ได้รับสารพิษ : ตะกั่ว ปรอท จากสัตว์ 4. พิษจากการเผาผลาญสารอาหารไม่หมด : เบาหวาน ที่น้ำตาลสูงมาก/ต่ำมาก/ภาวะอินซูลินมากเกินไป 5. ภาวะออกซิเจนต่ำ/เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองตีบตัน เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ 6. ฮอร์โมนไทรอยด์สูงหรือต่ำเกินไป
7
7. ภาวะไม่สมดุลของสารเกลือแร่ในร่างกาย 8
7.ภาวะไม่สมดุลของสารเกลือแร่ในร่างกาย 8. ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือน 9. โรคลมชัก 10. เนื้องอกในสมอง : แผลในเนื้อสมอง ฝี เลือดออกในชั้นดูรา 11. ภาวะเลือดจางอย่างรุนแรง 12. การแพ้สารบางอย่างรุนแรง เช่น แพ้ซีรัม (Serum sickness)
8
ประเภทของ Delirium 1. Delirium due to a general medical condition
ภาวะเสื่อมด้านสติปัญญาเนื่องจากได้รับยาเพื่อการรักษาโรค อาการแสดงออกมีดังนี้ : การรับรู้สับสน มีการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ไม่ดี ความสนใจสั้นลง การรับรู้เวลาไม่ดี 2. Substance-induced Delirium ภาวะเสื่อมทางปัญญาและการมีสติรู้ตัวน้อยจากการได้รับสาร บางชนิด : เสพสุรา แอมเฟตตามีน กัญญา โคเคน สารหลอน ประสาทอื่น
9
3.Delirium due to multiple ethiologies
ภาวะการมีสติรู้ตัวน้อยจากหลายสาเหตุ : เกิดจากยา/สมอง ได้รับการกระทบกระเทือนจากการเสพสุราเรื้อรัง ภาวะขาด สุราจากที่เคยใช้อยู่อย่างเรื้อรัง สมองเสื่อม(Dementia) สาเหตุจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง มีความเสื่อมด้านความจำ : มีอาการดังนี้อย่างน้อย 1 อาการ ของความเสื่อมด้าน ภาษา(Aphasia)/ การความคุมการ เคลื่อนไหว (Apraxia)/การแยกแยะสิ่งของ(Agnosia)
10
Dementia of the Alzheimer,s Type ภาวะสมองเสื่อมถาวร ไม่สามารถรักษาให้หายได้ เกณฑ์การวินิจฉัย : Aphasia/Apraxia/Agnosia/Mnemonic disturbance (recentmemory/remote memory) อาการแสดงออก : เดินเรื่อยเปื่อย ไม่มีจุดมุ่งหมาย มี พฤติกรรมซ้ำๆ รื้ค้นของ ซ่อนของ อยู่ไม่นิ่ง ทะเลาะ เบาะแว้ง ฉุนเฉียว แก้เสื้อผ้า พฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม
11
สาเหตุของสมองเสื่อม Alzheimer
- พันธุกรรม - ปัจจัยอื่นๆ : - สมองได้รับความกระทบกระเทือน - โรคไขข้ออักเสบ - เพศหญิงเสี่ยงกว่าเพศชาย 2 เท่า ผู้ที่มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มเป็นสมองเสื่อมน้อย กว่า - การใช้สมองมากๆโอกาสสมองเสื่อมจะน้อย
12
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมีการรับรู้ผิดปกติ มีความบกพร่องในการดูแลตนเองเนื่องจากมีอาการสับสน วุ่นวาย นอนหลับได้ไม่เพียงพอมีอาการประสาทหลอนและแปลภาพผิด อาจเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นเนื่องจากควบคุมอารมณ์ไม่ได้จากการเสียหน้าที่ของสมอง ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากมีความจำเสื่อม
13
การพยาบาลผู้ที่มีความเสื่อมด้านเชาวน์ปัญญา
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องที่มีแสงสว่างเพียงพอ มีของใช้เฉพาะที่จำเป็น เพื่อป้องกันอันตราย/อุบัติเหตุ ไม่เปลี่ยนผู้ดูแลบ่อยๆเพื่อลดอาการสับสน วุ่นวาย พูดคุยกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอและให้ผู้ป่วยอยู่ใกล้กับผู้อื่นเพื่อกระตุ้นการรับรู้และป้องกันความเสื่อมของเชาวน์ปัญญา
14
การพยาบาลผู้ที่มีความเสื่อม
ด้านเชาวน์ปัญญา จัดให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย มีคนอยู่ใกล้ชิดพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือเพื่อป้องกันอันตราย/อุบัติเหตุ จัดให้มีคนช่วยเหลือในการดูแลตนเองในระยะแรกๆ และกระตุ้นให้ดูแลตนเองให้มากขึ้น
15
Thank you for your attention
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.